Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กรนอันตราย

กรนอันตราย





กรนอันตราย (รักลูก)         

หากเจ้าตัวเล็กนอนกรนคร่อกฟี้แล้วหลับสงบยังไม่ถือว่าอันตรายค่ะ แต่ถ้ากรนพร้อมกับอาการกระสับการส่าย นอนอ้าปากหายใจ พลิกตัวบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน หรือมีท่านอนแปลก ฯลฯ แบบนี้นิ่งนอนใจไม่ได้แล้ว


           นอนกรน มีสาเหตุมาจากอะไร

          อาการนอนกรนเกิดได้หลายสาเหตุค่ะ เช่น ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โต ภูมิแพ้ โรคอ้วน ซึ่งสาเหตุจะแตกต่างไปตามอายุค่ะ

          ซึ่งการนอนกรนในเด็กทารกอาจจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงกะโหลกศีรษะและกระดูกหน้าแคบ โดยจะมีอาการตั้งแต่แรกเกิด

           ถ้าพบในเด็ก 2-6 ปี มักเกิดจากสาเหตุต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต และเกิดจากโรคภูมิแพ้

           ถ้าพบในเด็กอายุมากกว่านี้มักเกิดจากโรคอ้วนค่ะ


           นอนกรน สัญญาเตือนผิดปกติ

          ถ้าเด็กมีอาการกรน แต่นอนหลับสนิทไม่ถือว่าเป็นอันตราย

          แต่ถ้าพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการนอนกระสับกระส่าย นอนอ้าปากหายใจ พลิกตัวบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน หรือมีท่านอนแปลก ๆ เช่น นอนแหงนศีรษะไปด้านหลัง กรนแล้วเสียงหายไป หน้าอกไม่ขยับเหมือนจะหยุดหายใจหรือหน้าอกยุบ แต่ท้องป่อง กรนร่วมกับอาการปากเขียวถือว่าผิดปกติค่ะ

          ซึ่งในเด็กกับผู้ใหญ่ลักษณะจะเหมือนกันค่ะ แต่อาการที่ต่างกันคือในเด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น ผลการเรียนตกต่ำและซนมากกว่าปกติ โดยที่พ่อแม่ไม่ได้สังเกตว่าตอนกลางคืนลูกมีอาการนอนกรนหรือไม่


           นอนกรน ส่งผลเสียอะไรบ้าง

          ระบบทางเดินหายใจ ถ้าสาเหตุการนอนกรนเกิดจากต่อมอะดีนอยด์โตจะทำให้มีการติดเชื้อได้บ่อยขึ้น เพราะต่อมอะดีนอยด์ที่ใหญ่ขึ้นนั้น ส่งผลให้การระบายของสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูกเป็นไปได้ไม่ดี เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อยๆ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือหากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากๆ จนมีอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง จะมีความดันปอดสูงขึ้น ทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ค่ะ

          ระบบประสาทหรือพฤติกรรม เช่น พัฒนาการช้า หรือมีปัญหาด้านการเรียน สมาธิสั้น มีอารมณ์หงุดหงิด พฤติกรรมก้าวร้าว ล้วนมาจากการขาดออกซิเจน ซึ่งมีเซลล์ประสาทบางส่วนถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กค่ะ

          ด้านการเจริญเติบโต เด็กที่นอนกรน และมีปัญหาขาดออกซิเจนเรื้อรัง จะทำให้เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เพราะเด็กต้องออกแรงหายใจมากกว่าปกติ จนทำให้เด็กตัวเล็กและน้ำหนักน้อยค่ะ

          ด้านการเผาผลาญพลังงาน โดยเฉพาะหากมีภาวะอ้วนร่วมด้วย จะมีโอกาสเกิดเบาหวานและไขมันในเลือดสูง



           4 ระดับนอนกรน 

          ระดับที่ 1

          เกิดจากต่อมอะดีนอยด์หรือต่อมทอนซิลโต ทำให้เกิดแรงด้านทานทางเดนิหายใจเยอะขึ้น โดยที่เด็กจะมีเสียงกรนอย่างเดียว ระบบต่างๆ ในร่างไม่ผิดปกติ ไม่ตื่นบ่อยๆ ไม่นอนกระสับกระส่ายตอนกลางคืน

          ระดับที่ 2

          มีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น เด็กจึงมีการนอนกระสับกระส่ายร่วมด้วย

          ระดับที่ 3

          มีแรงต้านในทางเดินหายใจมาก ร่วมกับการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนแค่บางส่วนเด็กกลุ่มนี้อาจจะมีอาการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกับก๊าซออกซิเจนในเลือดและมีอาการตื่นผวาหรือน้ำหนักไม่ขึ้น

          ระดับที่ 4

          มีการเพิ่มขึ้นของแรงต้านทานทางเดินหายใจ ร่วมกับการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนทั้งหมด จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ทำให้เกิดการลดลงของออกซิเจนและเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในกรแสเลือด ถือเป็นระดับที่รุนแรงมากที่สุดค่ะ


           วินิจฉัยอาการนอนกรน

          1.    เอกซเรย์ดูต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลว่ามีขนาดปกติหรือไม่

          2.    การตรวจการนอน เด็กต้องมานอนที่โรงพยาบาล 1 คืน คุณหมอจะติดเครื่องวัดคลื่นสมอง ติดเครื่องวัดการเคลื่อนไหวของดวงตา เครื่องวัดลมที่ออกจากจมูกกับปาก เครื่องวัดการขยับของทรวงอก เครื่องวัดการขยับของทรวงอก เครื่องวัดคลื่นหัวใจ เครื่องวัดระดับออกซิเจน ซึ่งวิธีวินิจฉัยอาการลักษณะนี้ จะมีค่าใช้จ่ายสูง สำหรับในโรงพยาบาลของรัฐบาลจะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 บาท

          3.    การตรวจวัดออกซิเจน เด็กต้องมานอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อวัดค่าออกซิเจน เด็กที่มีอาการรุนแรงจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง ก๊าซออกซิเจนต่ำ

          4.    การถ่ายวิดีโอ ซึ่งวิธีนี้พ่อแม่สามารถทำได้เองที่บ้าน และถ่ายวิดีโอตอนลูกนอนกรนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

          โดยถ่ายระยะใกล้บริเวณหน้าอก และสังเกตการขึ้นลงของหน้าอก บริเวณหน้าและริมฝีปาก (ดูว่าปากเขียวหรือไม่) และนำวิดีโอนี้ไปให้คุณหมอดูเพื่อประกอบการวินิจฉัยค่ะ


           นอนกรน รักษาได้อย่างไร 

          ในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถรักษาด้วยยาโดย...

           ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อ ทำให้ต่อมอะดีนอยด์มีขนาดลดลง เพราะถ้าโตมากจะติดเชื้อได้ง่าย

           ให้ยาพ่นจมูก เพื่อลดขนาดของต่อมอะดีนอยด์ และรักษาภาวะภูมิแพ้ทางจมูก

           ให้ยาลดอาการบวมในจมูก จะใช้ในคนไข้ที่เป็นภูมิแพ้ทางจมูกเช่นกัน ส่วนในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง หรือมีความผิดปกติของใบหน้าสามารถรักษาด้วยการผ่าตัด

           ผ่าตัดต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์ เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งสะดวก วิธีนี้นิยมใช้ในเด็ก

           ผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโครงหน้า จะทำในคนไข้ที่มีความผิดปกติของโครงกะโหลกศีรษะและกระดูกหน้าแคบ เพื่อขยายขนาดของกะโหลก ให้หายใจโล่งขึ้น

           การเจาะคอ จะทำในรายที่มีอาการรุนแรง เพราะการเจาะคอจะทำเพื่อเบี่ยงให้อากาศที่หายใจ เข้าทางคอ ซึ่งวิธีนี้จะทำเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วยังไม่ได้ผลค่ะ การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

           การใช้เครื่องช่วยหายใจ และหน้ากากขณะนอนหลับ จะใช้วิธีนี้ในช่วงระหว่างรอการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดใหม่ๆ เพราะยังมีการบวมของทางเดินหายใจส่วนบนอยู่

           การลดน้ำหนัก ใช้สำหรับกรณีเด็กอ้วน หลังการรักษาอาการนอนกรนแล้วจะสามารถกลับมาเป็นอีกได้ค่ะ แม้กระทั่งคนไข้ที่ตัดต่อมอะดีนอยด์และทอนซิลไปแล้วก็ตาม (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก) ซึ่งมักจะพบหลังผ่าตัดแล้ว 2-5 ปี เด็กอาจจะเป็นซ้ำอีกได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตลูกว่ามีอาการนอนกรนอีกหรือไม่

          ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดใหม่ๆ จึงต้องตรวจเช็กอยู่เสมอ

          ขณะที่เด็กนอนกรน ควรจัดให้นอนตะแคง จะทำให้สิ้นไม่ไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือคุณแม่อาจใช้วิธีนำลูกเทนนิสใส่ถุงเย็บติดกับชุดนอน จะทำให้นอนหงายไม่สะดวกจนต้องเปลี่ยนท่านอนเองค่ะ





           นอนกรน ป้องกันได้หรือไม่

          ป้องกันได้ในบางสาเหตุ เช่น ในเด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์หรือต่อมทอนซิลโตผิดปกติ โดยพ่อแม่ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ซากแมงสาบ สัตว์เลี้ยง ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดที่นอน ปลอกหมอนและผ้าห่มบ่อยๆ ค่ะ

          เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่กักเก็บฝุ่นละอองและไรฝุ่น เพื่อป้องกันลูกมีอาการภูมิแพ้หรือในเด็กที่มีปัญหาเรื่องความอ้วนก็ป้องกันด้วยการควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้ทานอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป และควรพาลูกไปออกกำลังกายด้วยค่ะ
ส่วนในสาเหตุที่ป้องกันไม่ได้คือ เด็กที่มีโครงกะโหลกศีรษะและกระดูกหน้าแคบผิดปกติ

          คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยต่ออาการกรนของลูกนะคะ ควรหมั่นสังเกตการนอนหรือพฤติกรรมของลูก หากลูกมีอาการนอนกรนที่ผิดปกติ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยด่วนค่ะ





ที่มา  ::  ข้อมูลจากรักลูก

7 ความคิดเห็น:

  1. สาเหตุของการนอนกรนในเด็ก


    •ต่อมทอมซิล (ที่เห็นเป็นก้อนอยู่ข้างลิ้นไก่ ในลำคอทั้งสองข้าง) หรือต่อมอะดินอยด์ (อยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก) มีขนาดโตมาก เพราะมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณช่องปก ฟัน ช่องคอ ช่องจมูก รวมทั้งโพรงไวนัส

    •ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือภาวะที่มีเนื้องอกในโพรงจมูก เช่นริดสีดวงจมูก หรือมีผนังกั้นจมูกคด ซึ่งมักเกิดร่วมกับเยื่อจมูกบวมโต ทำให้แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ต้องอ้าปากช่วยยิ่งทำให้นอนกรนมากขึ้น
    •บางราย มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้กระดูกใบหน้าเล็ก หรือมีเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจใหญ่ เช่น มีลิ้นโต เป็นสาเหตุให้มี ภาวะอุดตันของทางเดินหายใจได้ในขณะนอนหลับ



    ปัญหาและผลเสียต่อสุขภาพในเด็ก

    ในเด็กการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ไม่มาก หรือ เสียงกรนที่ไม่ดังมากนัก อาจก่อปัญหาการนอนหลับไม่สนิท และสร้างผลเสียต่อสุขภาพเด็กได้ ฉะนั้นจึงไม่อาจคำนึงถึงแค่เสียงกรนที่ดังเท่านั้น (Consider more than an acoustic anoyance)



    ปัญหาที่เกิดกับเด็กที่มีภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือมีการนอนหลับไม่สนิท
    •มีภาวะที่ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวันมากกว่าเด็กทั่วไป (Daytime Sleepness)
    •มีการขาดสมาธิ หรือลักษณะของการอยู่ไม่สุข ก้าวร้าง หดหู่ (Loss of Concentration, Hyperactivity, aggression, depression)
    •เด็กในวัยเรียน มีปัญหาในการเรียน และมีความทนในการออกกำลังกายลดลง



    ...

    ตอบลบ
  2. ...

    •มีการเติบโตไม่สมวัย ทั้งทางด้านส่วนสูง และน้ำหนักทั้งนี้อธิบายได้จาก
    - มีการอักเสบติดเชื้อ ของตอมทอนซิลและ อดีนอยด์บ่อยๆ
    - ภาวะที่นอนหลับไม่สนิท ทำให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะหลับ มีการใช้พลังงานมากขึ้น
    - การลดลงของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ซึ่งจะมีการหลั่งสูงสุดในช่วงการนอนหลับลึก
    - ภาวะการอุดตันในจมูก ทำให้ต้องหายใจทางปาก การรับประทานอาหารไม่สะดวก และทำให้การรับรู้รส และกลิ่นลดลง ความอยากอาหารก็ลดลงด้วย
    - ยังทำให้เกิดการติดเชื้อของหูชั้นกลางและ มีน้ำขัง (20% case มี Postnasal airway obstruction) และมีการอักเสบของโพรงไซนัส เพิ่มขึ้นเนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกขาดความชุ่มชื้น และความอบอุ่น ความสามารถในการกรองเชื้อโรคลดลง ทั้งนี้พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ภายหลังการผ่าตัดต่อมทอมซิล และอะดีนอยด์
    - ภาวะปัสสาวะรดที่นอน (Nocturnal enuresis, Bed-wetting) เนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงมาก ในช่วงที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ

    •มีเสียงพูดไม่ชัด โดยเฉพาะเสียง ม. น. ง. เพราะเป็นเสียง นาสิก ต้องมีลมผ่านออกทางจมูก หรือมีลักษณะเหมือนมีก้อน อมในลำคอ
    •โครงสร้างใบหน้าผิดปกติ (adenoid face) เนื่องจากต่อมอะดีนอยด์โต เกิดลักษณะใบหน้า ยาว แบน จมูกแบน ริมฝีปากสั้น ปากเผยอปิดไม่สนิท มีการหายใจทางปาก และพบว่ามีแนวโน้มต้องจัดฟัน เมื่ออายุมากขึ้น (87%)
    •ภาวะไหลตายในเด็กทารก (SIDS Sudden infant death syndrome) พบว่าส่วนหนึ่งของทารกกลุ่มนี้ มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ อธิบายได้ว่าทารกเหล่านี้ไม่สามารถทนทาน ต่อภาวะการลดลงของออกซิเจน และการเปลี่ยนแปลงของภาวะกรดด่าง (Acid base balance)

    นอกจากนี้ อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ (Premature cardiac morbidity and mortality) ภาวะอื่นที่พบได้คือ ภาวะอกโป่งหรือ ไส้เลื่อนของสะดือ และฝันร้าย


    .

    ตอบลบ

  3. การนอนกรน

    นั้นอาจเป็นเพียงแค่เสียงกรนรบกวนธรรมดา หรือเป็นสัญญาณเตือนถึง ภาวะอันตรายที่คนทั่วไป ไม่เคยนึกถึงหรือ ทราบมาก่อน เสียงกรนเกินจากการสั่นพริ้วสะบัดของลิ้นไก่ และเพดานอ่อนที่สั่นมากกว่าปกติ ขณะกำลังนอนหลับ สาเหตุที่ทำให้เกิดการสั่น เนื่องจาก เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ไม่สามารถผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้อย่างสะดวก ทำให้กระแสลมที่ถูกปิดกั้นนั้น เกิดการหมุนวนทำให้ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน เกิดการสั่นมากกว่าปกติ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น




    อุบัติการของโรคนอนกรน

    จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ผู้ชายนอนกรนมากกว่าผู้หญิง โดยพบว่าผู้ชายที่นอนกรน มีประมาณ 20-50% และมีปัญหาหยุดหายใจ จากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ มีประมาณ 25% ส่วนผู้หญิงที่นอนกรนมีประมาณ 10-20% และมีปัญหาหยุดหายใจประมาณ 10% แต่ถ้าศึกษาจำเพาะลงไปในกลุ่มอายุ 41-65 ปี พบว่าเพศชายมีอัตราการนอนกรนอยู่ที่ประมาณ 50% ในขณะที่เพศหญิง มีอัตราการนอนกรนจะเห็นว่าในผู้สูงอายุ จะมีผู้นอนกรนถึงเกือบครึ่งหนึ่งเลย

    นอกจากนี้จากการศึกษาเปรียบเทียบโรคนอนกรนในระหว่างคนฝรั่งกับคนเอเชีย ในกลุ่มที่มีน้ำหนักและส่วนสูงพอๆกัน พบว่า คนเอเชียมีความรุนแรงของกานนอนกรนมากกว่าฝรั่งอย่างชัดเจน สาเหตุเกิดจากลักษณะโครงสร้างของกระดูกโหนกแก้มแบน ประกอบกับมีคางที่เล็กและถอยไปด้านหลัง ทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอของคนเอเชียแคบมาก เกิดการตีบแคบและอุดตัน ได้ง่ายขณะนอนหลับ

    ในเด็กไทยยังไม่มีการศึกษาถึงอุบัติการของโรคนอนกรน แต่คาดคะเนว่าน่าจะมีไม่น้อยทีเดียว




    ชนิดความผิดปกติในการนอนกรน

    การนอนกรนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามความรุนแรงหรือผลเสียต่อสุขภาพ
    1.การนอนกรนธรรมดา คือการกรนที่ทำให้เกิดเสียงกรนธรรมดา ซึ่งจัดว่าเป็นชนิดไม่อันตราย
    2.การนอนกรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย คือการกรนที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน และมีผลเสียต่อสุขภาพด้วย ซึ่งจัดเป็นชนิดอันตราย

    ชนิดแรกเป็นชนิดที่ไม่เป็นอันตราย

    ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญให้ผู้ที่อยู่ใกล้กลุ่มนี้มักมี การอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเวลาเรานอนหลับสนิทจะเป็นเวลาที่กล้ามเนื้อต่างๆ คลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอด้วย ทำให้ลิ้นและลิ้นไก่ตกไปทางด้านหลังโดยเฉพาะในท่านอนหงาย ทำให้ทางเดินหายใจส่วนนี้ตีบแคบลง เวลาหายใจเข้าผ่านตำแหน่งที่แคบ จะทำให้มีการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่ และเพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น







    ชนิดที่สองเป็นการนอนกรนที่เป็นอันตราย

    เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลาหลับ อาจเนื่องจากการที่มีช่องคอแคบมาก เช่น มีเนื้อเยื่อเพดานอ่อน, ลิ้นไก่ หรือโคนลิ้นขนาดใหญ่ และหย่อนยาน หรือเกิดจากต่อมทอมซินที่โตมากจนอุดกั้นช่องคอ หรือบางรายที่มีกระดูกใบหน้าหรือ กรามเล็กทำให้ช่องทางเดินหายใจด้านหลังแคบกว่าปกติ หรือคนที่มีคางสั้นทำให้ลิ้นตกไปทางด้านหลังมากกว่าคนปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงที่กรนเสียงดำ และค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ และจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจนี้ จะทำให้เกิดอันตราย เนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลง ทำให้เกิดความผิดปกติ ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ และสมอง เป็นต้น




    ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองต่อภาวะนี้ โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ทำให้การหลับของคนนอนกรนนั้นถูกขัดขวาง ทำให้ตื่นขึ้นเพื่อหายใจใหม่ โดยมีอาการสะดุ้งตื่นเหมือนสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง หรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ

    เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอีก หลังจากนั้นไม่นานสมองก็เริ่มหลับอีก การหายใจก็จะเริ่มติดขัดอีกทำให้สมองต้องถูกปลุก หรือกระตุ้นอีก การกลับก็จะถูกขัดขวางอีก วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้การนอนหลับสนิทของคนที่นอนกรนไม่ต่อเนื่องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

    ดังนั้นคนนอนกรนจึงตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกว่านอนไม่พอ แม้ว่าจะนอนเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากพอก็ตาม รวมทั้งยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะต่อหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด และสมอง

    ตอบลบ

  4. ผลเสียและปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนกรน
    1.นอนกรนเสียงดัง ทำให้รบกวนผู้ที่อยู่ด้วย บางรายทำให้เกิดปัญหาการดำเนินชีวิตคู่ได้
    2.ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกว่านอนไม่พอ ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ซึ่งเป็นผลเสีย ต่อการเรียน การทำงานหรือเกิดอุบัติเหตุในการขับรถ หรือการควบคุมเครื่องจักรกล
    3.ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถในการจดจำลดน้อยลง หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ
    4.ในเด็กจะมีพัฒนาการของสมองและร่างกายไม่ดี เพราะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ปัสสาวะรดที่นอน
    5.มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดในสมอง (เช่น อัมพาต) และโรคหัวใจขาดเลือด (อาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะหัวใจทำงานผิดปกติ ขณะเกิดภาวะหยุดหายใจในช่วงนอนหลับ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ไหลตาย) ได้มากกว่าคนปกติ เป็นเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร






    คัดลอกจากวารสารทางการแพทย์ Chest 1998:(1) : 9-14
    เรื่อง Mortality and Apnea Index in Obstructive Sleep Apnea :
    Exprience in 385 Male Patients โดย Jiang He et al,



    ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้มากขึ้นหรือรุนแรงขึ้น
    •อายุมาก ทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจบริเวณลำคอ เช่น ผนังด้านข้างของช่องคอ ลิ้นไก่ เพดานอ่อน ลิ้นหย่อนยาน และขาดความตึงตัวทำให้ตกไปขวางทางเดินหายใจได้ง่าย



    •เพศชาย จะกรนมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงจะมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวที่ดี
    •อ้วน ทำให้ไขมันสะสมที่ด้านข้างของช่องลำคอมากขึ้น ทำให้ช่องทางเดินหายใจ แคบลง
    •ภาวะใดที่ทำให้จมูกคัดแน่น จะทำให้การหายใจติดขัดและลำบากมากขึ้น เช่น ผนังกั้นโพรง จมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบ และเนื้องอกในจมูก เป็นต้น
    •สุราและยานอนหลับ จะทำให้กล้ามเนื้อที่เปิดช่องทางเดินหายใจอ่อนแรง ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่าย และมีผลกดการทำงานของสมองทำให้สมองตื่นขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายได้เมื่อเกิดภาวะการหยุดหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลเสียต่อสมองและหัวใจ



    •ลักษณะโครงสร้างของกระดูกใบหน้า คนที่มีคางเล็กหรือกระดูกแก้มแบน จะมีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอแคบ
    •การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของทางเดินหายใจแย่ลง
    •กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีประวัติโรคนอนกรนในครอบครัว จะมีโอกาสเป็นโรคนอนกรนได้มากขึ้น




    ตอบลบ

  5. แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคนอนกรน
    จะทำการตรวจหา 2 ประการ

    ประการแรก คือ ตรวจค้นหาตำแหน่งการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่ทำให้เกิดโรคนอนกรน โดยศัลยแพทย์หู คอ จมูก จะสอบถามเกี่ยวกับการนอนกรน และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เพื่อนำมาคำนวณหามวลของร่างกาย วัดขนาดรอบคอ ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจลักษณะโครงสร้างใบหน้า และกราม ตรวจอย่างละเอียดทางหู คอ จมูก ทั้งหมด รวมทั้งใช้กล้องส่องตรวจขนาดเล็ก เพื่อตรวจดูรายละเอียดของทางเดินหายใจส่วนบน ตั้งแต่จมูกลงไปถึงกล่องเสียงหลอดลมใหญ่ ในบางรายอาจมีการตรวจเอกซเรย์ เพื่อหาตำแหน่งที่ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน




    จากข้อมูลทั้งหมด ถ้ามีลักษณะของการนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย แพทย์จะแนะนำให้ตรวจการนอนหลับที่เรียกว่า Polysomnography (การตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ อาจเรียกอีกชื่อได้ว่า Sleep Laboratory) ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะหลับโดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยผู้ป่วยจะมานอนในห้องปฏิบัติการทั้งคืน

    ปัจจุบันมีเครื่องมือที่มีขนาดเล็กพกติดตัวสำหรับ ตรวจการนอนหลับที่บ้าน เพื่อให้บรรยากาศการนอนหลับเหมือนปกติที่สุด ทำให้ไม่ต้องวิตกกังวล ข้อมูลเกี่ยวกับการนอน และการหายใจ ตลอดจนการทำงานของสมอง และหัวใจ และระดับออกซิเจนในเลือด จะถูกบันทึกไว้ตลอดการนอนหลับทั้งคืน จากข้อมูลเหล่านี้ แพทย์จะทราบว่า ผู้ป่วยมีปัญหารุนแรงมากน้อยเพียงไร

    ตรวจการนอนหลับที่บ้าน คลิ๊กที่นี่ ...




    การรักษาโรคนอนกรน
    •ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกินกณฑ์
    •ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และกล้ามเนื้อแข็งแรงตื่นตัว
    •หลีกเลี่ยงการนอนหงาย โดยพยายามนอนในท่าตะแคงและ นอนศรีษะสูงเล็กน้อย
    •หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทก่อนนอน



    •กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตราย ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย อาจใช้เครื่องที่เรียกว่า Nasal CPAP. (nasal continuous positive airway pressure) ใส่ครอบจมูกขณะหลับ เครื่องนี้จะอัดอากาศที่มีแรงดันเข้าไปในทางเดินหายใจ เพื่อทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบกว้างขึ้น เนื่องจากเครื่องจะสร้างความดันในทางเดินหายใจให้เป็นบวก ตลอดเวลา เป็นการป้องกันการยุบตัวของทางเดินหายใจ จึงทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น และหลับสบายขึ้น วิธีนี้ปลอดภัย และได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย




    ตอบลบ

  6. บริการบันทึกการนอนหลับที่บ้าน






    Sleep test หรือ polysomnograph เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ปัจจุบันสามารถนำเครื่องไปติดตั้งถึงบ้านผู้ป่วย ซึ่งจะมีข้อดีกว่า การตรวจในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล คือบรรยากาศในการนอนเหมือนเดิม และค่าใช้จ่ายถูกกว่า มีข้อเสียคือ กรณีสายสัญญาณหลุดไม่สามารถแก้ไขในคืนนั้นได้ เป็นต้น
    การตรวจการนอนหลับ (sleep study) แบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ 4 ประเภท ตามจำนวนสัญญาณและรูปแบบการตรวจวัด ได้แก่

    1. Type 1 sleep study: Full attended polysomnography (³ 7 channels) เป็นการตรวจวัดสัญญาณต่างๆที่ใช้ประกอบในการแปลผลการนอนหลับอย่างครบถ้วน ได้แก่ คลื่นสมอง (electroencephalogram, EEG) คลื่นกล้ามเนื้อลูกตา (electro-oculogram, EOG), คลื่นกล้ามเนื้อคางและขา (chin & leg electro-myogram [EMG]), คลื่นหัวใจ (electrocardiogram, ECG), ลมหายใจ (airflow), การขยับเคลื่อนไหวของทรวงอกและช่องท้อง (chest & abdominal movement), ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (oxygen saturation), ท่าทางการนอน (body position) โดยระหว่างการตรวจนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ เฝ้าสังเกตสัญญาณต่างๆ ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์และกล้องวิดีโอตลอดเวลา
    2. Type 2 sleep study: Full unattended polysomnography (³ 7 channels) เป็นการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ ที่ครบถ้วนเช่นเดียวกับ type I sleep study เพียงแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าในระหว่างการตรวจ
    3. Type 3 sleep study: Limited channel devices (4-7 channels) เป็นการตรวจเฉพาะระบบหัวใจและการหายใจ โดยทำการตรวจได้ทั้งแบบ attended หรือ unattended กล่าวคือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายกับ type I sleep study แต่ไม่มีการติด EEG, EOG, chin & leg EMG
    4. Type 4 sleep study: 1 or 2 channels devices เป็นการตรวจวัดเพียงแค่ 1-2 สัญญาณ โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย oxygen
    saturation ร่วมกับการวัด airflow ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ และมีข้อจำกัดในการใช้มาก




    ภาพการติดอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับ Type 1 , 2








    ขั้นตอนปฎิบัติในการตรวจการนอนหลับ

    1.เมื่อถึงวันนัดหมาย กรุณาอาบน้ำ สระผม (ไม่ใส่ครีมนวด)ไว้ก่อน ชุดนอนควรเป็นแบบเสื้อผ่าหน้า ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น เคยรับประทานยาก็ทานยาตามปกติ
    2.พนักงานจะไปถึงที่นัดหมาย (โดยปกติจะเป็นบ้านของลูกค้าเอง) เวลาประมาณ 20.30 ทุ่ม เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 15 นาที (ไม่จำเป็นต้องติดตั้งในห้องนอน) สำหรับการติดแบบ Type 3 ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 40 นาที สำหรับการติดแบบ Type 2
    3.หลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว สามารถอ่านหนังสือ ดูทีวีหรือเข้าห้องน้ำตามปกติ
    4.เข้านอนตามเวลาปกติ
    5.ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ตื่นนอนตามเวลาปกติ และถอดสายสัญญาณ ต่างๆ ใส่กระเป๋า
    6.พนักงานบริษัท จะไปรับเครื่องกลับตามเวลานัดหมาย
    7.บริษัท จะทำการส่งผลข้อมูลไปให้แพทย์ เพื่อวิเคราะห์ผลต่อไป ภายใน 4 วันทำการ
    ติดต่อนัดหมายกับทางบริษัท ฯ (จองคิว) สายด่วน 083 989 5842


    หมายเหตุ บริษัท ฯ บริการบันทึกข้อมูล ส่วนการวินิจฉัยต้องติดต่อแพทย์เท่านั้น





    บุคคลที่สมควรได้รับการตรวจการนอนหลับ

    1. Loud irregular snoring (นอนกรนเสียงดังไม่สม่ำเสมอ)

    2. Stroke (โรคสมองขาดเลือด)

    3. Pronounced daytime fatique and drowsiness (อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และง่วงหงาวหาวนอนในเวลากลางวัน)

    4. Hypertension (โรคความดันโลหิตสูง)

    5. Impaired concentration irritability (หงุดหงิดง่าย/ไม่มีสมาธิ)

    6. Erectile dysfunction (อวัยวะเพศไม่แข็งตัว)

    7. Diabetes mellitus type II (โรคเบาหวานชนิดที่ 2)

    8. ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะสาธารณะ เช่นนักบิน พนักงานขับรถไฟ พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานขับรถขนส่งสินค้า และ พนักงานที่ต้องควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น

    ตอบลบ

  7. การรักษาการนอนกรนโดยวิธีผ่าตัด

    การผ่าตัดรักษาโรคนอนกรนมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของการนอนกรน มีรายละเอียดดังนี้ การผ่าตัดแก้ไขทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ แพทย์จะแก้ไขให้ตรงตำแหน่งที่มีการอุดตัน ซึ่งอาจมีอยู่หลายแห่ง แต่ที่สำคัญมีอยุ่ 2 ตำแหน่งคือ บริเวณหลังเพดานอ่อน และบริเวณหลังโคนลิ้น โดยการผ่าตัดมีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำให้ทางเดินหายใจทุกแห่งที่แคบกว้างขึ้น ไม่เกิดการอุดตันขณะนอนหลับอีก ไม่ใช่เพียงแต่ลดเสียงกรนอันน่ารำคาญเท่านั้น

    เสียงกรน เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัย ที่บอกว่า คนนั้นมีปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ การผ่าตัดเพียงเพื่อให้เสียงกรนเบาลง แต่ยังมีการหยุดหายใจอยู่ เช่น การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ในกรณีที่เป็นโรคนอนกรนชนิดมีการหยุดหายใจร่วมด้วย กลับเป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย เพราะเปรียบเสมือน การทำให้ผู้ป่วยยังคงตกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย แต่ปราศจากสัญญาณเตือนภัย

    การผ่าตัดรักษาโรคนอนกรนมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของการนอนกรน มีรายละเอียดดังนี้




    การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนโดยเลเซอร์
    (Laser Assisted Uvulopalatopolasty = LAUP)

    เป็นการผ่าตัดบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อน สามารถทำได้โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ แผลผ่าตัด จะเป็นแผลชนิดเปิดทำให้มีอาการเจ็บมากและแผลหายช้า การทำผ่าตัดวิธีนี้จะทำผ่าตัดทีละน้อย และจะรอดูผลหลังการผ่าตัดประมาณ 2-3 เดือน ถ้าอาการกรนหายไป หรือลดน้อยลงจนยอมรับได้ ก้ไม่ต้องผ่าตัดเพิ่ม แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจจะ ต้องทำซ้ำอีก วิธีเลเซอร์ จะไม่ได้ผลดีนัก ในกรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย จะใช้เฉพาะกรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดธรรมดาเท่านั้น







    การผ่าตัดตกแต่งช่องคอและ เพดานอ่อน
    (Uvulopatatopharyngoplasty = UPPP.)

    เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเพดานอ่อน ลิ้นไก่และผนังด้านข้างของช่องคอ รวมทั้งอาจจำเป็นต้องตัดต่อมทอมซิลออกร่วมด้วย เพื่อทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น การผ่าตัดต้ออาศัยการดมยาสลบ และจะต้องอยู่โรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 1 คืน แผลผ่าตัดจะถูกเย็บปิด แผลจึงหายเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะเจ็บคอหลังผ่าตัดประมาร 1 สัปดาห์ ยังมีการผ่าตัดอีกหลายวิธีที่มีหลักการ คือ เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เช่นการพยายามให้ลิ้นเคลื่อนมาด้านหน้า เพื่อทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นกว้างขึ้น และป้องกันไม่ให้ลิ้นตกลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ

    นอกจากนั้นยังมีการผ่าตัดอื่นๆ ตามสิ่งผิดปกติของผู้ป่วย เช่นการผ่าตัดแก้ไขภาวะอุดตันในโพรงจมูก เพื่อขจัดภาวะทางเดินหายใจอุดตันให้หมดไป เช่น การผ่าตัดแก้ไขกรณีผนังกั้นโพรงจมูกคด หรือการผ่าตัดไวนัสอักเสบ และริดสีดวงจมูก หรือการผ่าตัดลดขนาดเยื่อบุจมูกที่บวมมาก







    การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน (Uvulopalatal Flap)

    เป็นการผ่าตัด เพื่อพับลิ้นไก่ขึ้นสู่ด้านบน บริเวณเพดานอ่อน ทำให้ลิ้นไก่ และเพดานอ่อนส่วนล่างตึงขึ้น กว้างขึ้นไม่ขวางทางเดินหายใจ และไม่สะบัดเวลานอนหลับ มักต้องทำการผ่าตัดโดยการดมยาสลบ และต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

    ตอบลบ