Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA)


วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร  (TRANSIT VISA)




ชื่อของวีซ่าก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นวีซ่าสำหรับคนเดินทางผ่าน การยื่นคำขอวีซ่าชนิดนี้ก็เหมือนกับ การขอ Tourist Visa ทุกประการ คงมีข้อต่างกันเฉพาะชื่อวีซ่า และเรื่องระยะเวลาการอนุญาตให้พำนัก อยู่ในประเทศไทยขณะเมื่อผ่านด่านตรวจ กับจำนวนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าเท่านั้น วีซ่าชนิดนี้เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่เป็นเวลา 30 วัน ณ ด่านตรวจ และสามารถยื่นคำขออยู่ต่อได้อีก 7 วัน แต่ในกรณีจำเป็นก็อาจคำขออยู่ต่อได้ เช่นเดียวกับ Tourist Visa ดังได้กล่าวมาแล้ว วีซ่าชนิดนี้ไม่สามารถใช้ขอใบอนุญาตทำงานได้ แต่อาจขอเปลี่ยนเป็น NON-IMMIGRANT VISA เช่นเดียวกับ TOURIST VISA



ที่มา : หนังสือเรื่องชาวต่างชาติจะอยู่เมืองไทยได้อย่างไร โดย สุภัทร์ สกลไชย

วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA)


วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว  (TOURIST VISA)
 


วีซ่าชนิดนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว โดยวีซ่าชนิดนี้ต้องยื่นคำขอจากนอก ประเทศไทยเช่นเดียวกับ NON-IMMIGRANT VISA เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยจะได้รับอนุญาต ณ ด่านตรวจ ให้อยู่เป็นเวลา 60 วัน และขออยู่ต่อได้อีก 30 วัน (เฉพาะประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล อิหร่าน ไนจีเรีย โตโก ยูกันดา จะขอเลื่อนการเดินทางออกไปได้อีกเพียง 7 วัน ตามนโยบายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) วีซ่าชนิดนี้สามารถขออยู่ต่อในระยะยาวได้เช่นกันหากมีความจำเป็น เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี (ตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522) เพียงแต่ว่าวีซ่าชนิดนี้ไม่สามารถ ใช้ขออนุญาตทำงานได้เท่านั้นเอง อนึ่ง คนต่างด้าวผู้ที่ถือ TOURIST VISA หากเขาต้องการจะขออนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือเกรงว่าถ้าไม่มี NON-IMMIGRANT VISA ตามที่ได้รับคำบอกเล่าของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว จะไม่สามารถขออยู่ต่อระยะยาวได้ ก็มีสิทธิยื่นคำขอเปลี่ยนวีซ่าประเภทเป็น NON-IMMIGRANT VISA ได้ที่


กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารบี (ด้านทิศใต้) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
โทร 02 141 9910

แต่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทวีซ่าหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง




 
 
ที่มา : หนังสือเรื่องชาวต่างชาติจะอยู่เมืองไทยได้อย่างไร โดย สุภัทร์ สกลไชย

วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA)


วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว   (NON-IMMIGRANT VISA)



วีซ่าชนิดนี้คนต่างชาติจะต้องไปยื่นคำขอที่สถานเอกอัครราชฑูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ โดยต้องระบุแจ้งเหตุผลลงในแบบคำขอวีซ่า ด้วยว่าต้องการจะเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยความมุ่งหมายใด ซึ่งทางราชการได้กำหนดรหัสเป็นอักษรย่อภาษาอังกฤษไว้ สำหรับใส่กำกับลงไปในวีซ่า ตามแต่ละเหตุผลที่ขอวีซ่า ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลหรือความมุ่งหมายตั้งแต่แรกของคนต่างด้าวว่า ต้องการจะขอเข้าประเทศไทยด้วยวัตถุประสงค์ใด และยังจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมทางทะเบียนและการสถิติอีกด้วยNON-IMMIGRANT VISA นี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ชนิดเดียวเท่านั้น ที่สามารถใช้ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้ และ การที่คนต่างชาติจะขอรับใบอนุญาตทำงานได้หรือไม่นั้น จะต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตาม ที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ 

      

"มาตรา 11 คนต่างด้าวซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 7 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาใน ราชอาณาจัก เป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน..."
 
การจะได้รับอนุญาตให้ทำงานได้นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าที่ขอเข้ามาในประเทศไทยว่า ต้องไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน คนต่างด้าวผู้ใด หากต้องการจะขอวีซ่าชนิดนี้ก็ต้องไปยื่นคำขอยังสถานเอกอัครราชฑูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ กรอกแบบคำขอวีซ่า แจ้งวัตถุประสงค์ของตน ที่ต้องการขอวีซ่าดังได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่เนื่องจากที่วีซ่าชนิดนี้มีความสำคัญ เพราะสามารถใช้ประกอบคำขอใบอนุญาตทำงาน และจะใช้ขออนุญาตอยู่ต่อในประเทศไทยเป็นเวลานานได้ตามความจำเป็นวีซ่าของไทย ดังกล่าวนี้ในปัจจุบันจะเป็นสติกเกอร์ติดลงไปในหนังสือเดินทาง แต่อาจมีกงสุลไทยบางแห่งซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกงสุลกิติมศักดิ์ที่ยังใช้เป็นตราประทับอยู่ แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน โดยสติกเกอร์หรือรอยตราประทับดังกล่าวจะมีข้อความระบุบอกว่าเป็นวีซ่าประเภทอะไร มีรหัสว่าอะไร เช่น ถ้าขอเพื่อไปทำงานในวีซ่าก็จะระบุว่า NON-IMMIGRANT VISA class B ถ้าขอเพื่อเข้ามาศึกษาก็จะเป็น class ED หรือถ้าเป็น O ก็หมายถึง OTHER คือพวกที่อยู่ใน (10) ดังกล่าวข้างต้น และในวีซ่านั้นจะระบุกำหนดระยะเวลาให้ใช้วีซ่าว่าให้ใช้ตั้งแต่วันที่ออกให้ จนถึงเมื่อใด ระยะเวลาตรงนี้มีผู้เข้าใจผิดกันมาก โดยมักจะเข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่าระยะเวลาที่ระบุไว้นั้น เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาที่ให้ใช้วีซ่าเดินทาง เข้าประเทศไทยเท่านั้นเอง และเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยในระหว่างเวลาที่กำหนดให้ใช้วีซ่า ก็จะได้รับการประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้เป็นเวลา 90 วัน ณ ด่านตรวจ แม้ว่าจะเดินทางเข้า ประเทศไทยในวันสุดท้ายของระยะเวลาให้ใช้วีซ่าที่ระบุไว้นั้นก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกำหนดระยะเวลาการอนุญาตในขั้นต้นสำหรับวีซ่าประเภทนี้
นอกจากนั้นแล้ว หากเห็นว่ามีถ้อยคำเป็นภาษาอังกฤษว่า NO EXTENSION OF STAY (ไม่อนุญาตให้อยู่ต่อ) ที่ปรากฏอยู่ในวีซ่า หากการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตามวีซ่าที่ได้รับไว้ตั้งแต่แรกขณะที่เดินทางเข้ามาจะสิ้นสุดลง คนต่างด้าวนั้นก็มีสิทธิที่จะยื่นคำขออยู่ต่อได้ตามเหตุผล และความจำเป็นของตน ถ้าหากผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นว่า มีเหตุผล หรือความจำเป็นจริง ก็จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ หรือหากว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้อยู่ต่อของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ต่อได้






ที่มา : หนังสือเรื่องชาวต่างชาติจะอยู่เมืองไทยได้อย่างไร โดย สุภัทร์ สกลไชย

ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี

ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี
 
 
ประวัติความเป็นมาของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี
 
 
 
 
 
ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ไม่มีการจัดวางระเบียบกำกับ ตรวจตราคนต่างด้าวเข้ามาสู่ประเทศสยาม ฉะนั้นการเดินทางเข้า-ออกของคนต่างด้าวจึงเป็นไปโดยเสรี
 
  
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จัดตั้งกองตรวจคนเข้าเมืองมณฑล ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดและด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกรมตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๐ เป็นต้นไป ต่อมาได้โอนกรมตรวจคนเข้าเมืองไปรวมขึ้นในบังคับบัญชาของกรมตำรวจภูธร กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๕ เป็นต้นไป
 
  
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธรเป็น กรมตำรวจ และกรมตำรวจคนเข้าเมือง ปรับสถานะเป็นกองตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ เป็นต้นไป 
กองตรวจคนเข้าเมืองมณฑล ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคตะวันออกเฉียงใต้ จึงอยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เปลี่ยนชื่อจากกองตรวจคนเข้าเมืองมณฑลเป็นด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๖ เป็นต้นไป 
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
  
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เพิ่มด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอในภาคเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
  
ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ตั้งตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไป
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ และด่านตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จัดตั้งตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๗ เป็นต้นไป
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดและด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จัดตั้งตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๘๙ เป็นต้นไป
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ด่านตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ จัดตั้งตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๔๙๑ เป็นต้นไป
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดและด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จัดตั้งตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๙๓ เป็นต้นไป
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ จัดตั้งกองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองเขต ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอ ตรวจคนเข้าเมืองตำบล ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๕ เป็นต้นไป โดยกองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองเขต ดูแลด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ด่านตรวจคนเข้าเมืองกิ่งอำเภอ และด่านตรวจคนเข้าเมืองตำบลในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งหมดอยู่ในสังกัดกองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองเขต กองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี ถูกจัดตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งด่านต่าง ๆ อีกจำนวน ๖๒ ด่าน โดยอยู่ภายใต้สังกัด กองกำกับการ ๕ กองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๙๕ ถนนโพธิ์ศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีบ้านพักระดับสารวัตร ๑ หลัง และตึกแถว ๔ ห้อง จำนวน ๑ หลัง
 
 
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองตรวจคนเข้าเมืองได้ปรับโครงสร้างครั้งที่ ๒ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ ๒๒) ได้ปรับเปลี่ยนยกฐานะเป็นกองบัญชาการ เรียกว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมทั้งได้ประกาศยกเลิกด่านและตั้งด่านเพิ่มอีก หนึ่งในด่านนั้นด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานีได้ถูกยกเลิกไปด้วย
 
 
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในส่วนราชการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้มีการปรับโครงสร้างภายในขึ้นมาใหม่ ในส่วนนี้ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานีได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลักจากถูกยุบเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พร้อมกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอื่น ๆ โดยจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๒ สภาพสถานที่ทำการหลังจากที่มีพระราชกฤษฎีการบังคับใช้ มีสภาพที่ทรุดโทรมเป็นอันมากไม่สามารถจะใช้เป็นที่ทำการได้ จึงได้ติดต่อขอใช้อาคารที่ทำการ อบจ.อุดรธานี หลังเดิมซึ่งในช่วงแรกการประสานด้วยวาจาได้รับการยินยอมให้ใช้พื้นที่ แต่ต่อมาภายหลังได้รับการปฏิเสธ ต่อมาได้ประสานและขอใช้พื้นที่ของอาคารที่ทำการสนามบินนานาชาติอุดรธานี ตามหนังสือขอใช้พื้นที่ของ ตม.จว.อุดรธานี ที่ ๐๐๒๙.๕๓(๑๐)/๕ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่ง ผอ.การท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ได้มีหนังสือตอบรับยินยอมให้ใช้พื้นที่อาคารสนามบินนานาชาติอุดรธานี (หลังเก่า) บางส่วนเป็นที่ทำการ ตม.จว.อุดรธานี ตามหนังสือตอบรับที่ คค.๐๕๐๒.๒๕/๐๘๗๕ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม  ๒๕๕๒
 
 
ธันวาคม ๒๕๕๓ ตม.จว.อุดรธานี ได้ซ่อมแซมอาคารที่ทำการหลังเดิมและปรับปรุงอาคารบ้านพัก ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๙๕ ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แล้วเสร็จ และได้เปิดทำการในเวลาต่อมา
  
  
 
 
 
 
แผนที่ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี
 
 


 



ที่มา   ::  http://udonthani.immigration.go.th/web/index.php/aboutus


การขออยู่ประเทศไทยต่อของชาวต่างชาติ

การขออยู่ประเทศไทยต่อของชาวต่างชาติ




การพักอาศัยภายใน 30 วัน


เดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องขอวีซ่า ถ้ามีการขอตกลงของทั้งสองประเทศ (เประเทศของท่านเเละประเทศไทย)ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 30 วัน

ด่านคนตรวจคนเข้าเมืองทางสนามบินจะได้รับการประทับตราวีซ่า (ไม่เกิน 30 วัน) ในหนังสือเดินทางของคุณ



การพักอาศัยมากกว่า 30 วัน


การพักอาศัยนานกว่า 30 วัน ในประเทศไทย นักท่องเที่ยวต้องมีวีซ่า เช่น วีซ่านักท่องเที่ยว หรือ non-immigrant visa วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับ 60 วัน เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่สามารถขอวีซ่าต่อได้

สามารถพักอาศัยได้ 90 วัน กับวีซ่า non-immigrant visa ภายใน 1 ปี  ซึ่งสามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทยได้หลายครั้งภายในหนึ่งปีเเต่ต้องออกก่อน 90 วันที่วีซ่าหมดกำหนด

การขอต่อวีซ่า (ขอต่อวีซ่าเมื่อเดินทางมาถึง) คือต้องเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากที่วีซ่าหมด เเละเดินทางกลับยังประเทศไทย ซึ่งมีสองวิธี วีธีที่หนึ่งการเดินทางเข้าสายเเดน จะได้รับวีซ่าเพียง 15 วัน วิธีที่สอง การเดินทางเข้าประเทศไทย โดยเครื่องบิน หรือ ถึง ณ สนามบินสุวรรณภูมิ จะได้รับวีซ่า 30 วัน สามารถเดินทางได้บ่อยครั้ง




การขออยู่ประเทศไทยต่อของชาวต่างชาติ



กรณีสามีกลับไปเยี่ยมประเทศไทยกับภรรยา โดยจะอยู่ที่ไทยครั้งละไม่เกิน 90 วันค่ะ โดยสามีเราจะมาไทยด้วย VISA ON ARRIVAL คืออยู่ไทย

ได้ 30 วัน ก่อนวีซ่าหมดอายุ ก็ไปขออยู่ต่อกรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย ซึ่งจะอยู่ต่อได้อีก 60 วันค่ะ (รวมอยู่ต่อได้ทั้งหมด 90 วันค่ะ)

*คนที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปติดต่อยื่นเรื่องขออยู่ต่อได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองใกล้บ้านค่ะ*

*กรณีที่ชาวต่างชาติมีภรรยาเป็นคนไทย และมีทะเบียนสมรส ต้องการมาอยู่ไทยไม่เกิน 90 วัน เราขอแนะนำวิธีนี้ค่ะ เพราะง่าย และสะดวกมากค่ะ*

แต่ถ้าชาวต่างชาติที่มีภรรยาเป็นคนไทยและมีทะเบียนสรส ต้องการอยู่ในไทยไม่เกิน 150 วัน (ประมาณ 5 เดือน) ขอแนะนำให้ขอวีซ่าท่องเที่ยว

(TOURIST VISA) มาก่อนค่ะ เพราะวีซ่านี้จะอยู่ได้ 90 วัน ก่อนครบอายุวีซ่าให้ไปขออยู่ต่อกรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย

จะได้อยู่ต่อเพิ่มอีก 60 วันค่ะ รวมเป็น 150 วันค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมดไปอ่านได้ที่เว็บไซต์สำนักงานตรวจคนเมืองค่ะ

 
http://www.immigration.go.th/





กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรสหรือเยี่ยมบุตร ซึ่งมีสัญชาติไทย


หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

2. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1. แบบคำขอ ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม.

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาทะเบียนบ้าน

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย

5. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร

*ค่าธรรมเนียม 1,900 บาทค่ะ*


สามารถดาวน์โหลดไฟล์ คำขออยู่ต่อของชาวต่างชาติ
แบบฟอร์ม ตม.7 จากลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้ค่ะ





http://www.immigration.go.th/nov2004/download/pdf/tm7.pdf



กรอกข้อมูลพร้อมติดรูปให้ครบถ้วน แล้วนำไปยื่นสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  ใกล้บ้านได้เลยค่ะ     





ที่มา  ::   http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2012/10/H12858018/H12858018.html

เมนูเพื่อพัฒนาการ การเคี้ยวกลืนของลูกน้อย

เมนูเพื่อพัฒนาการ การเคี้ยวกลืนของลูกน้อย





อาหารเด็ก



เมนูเพื่อพัฒนาการการเคี้ยวกลืนของลูกน้อย

(modernmom)
เรื่อง : แม่ส้ม


           Nutrition Baby ฉบับเดือนมกราคม ต้อนรับปี 2556 นี้ ขอเสียงปรบมือดัง ๆ ให้กับคุณแม่จากทางบ้าน ส่งเมนูเข้ามาเพื่อเป็นตัวอย่างให้คุณแม่ Modern Mom ทุกคน สำหรับเมนูในวันนี้ภูมิใจนำเสนอ "เมนูกระตุ้นพัฒนาการเคี้ยวกลืน" สำหรับเด็ก วัย 6-8 เดือน 9-10 เดือน และ 11-12 เดือน จะเป็นเมนูอะไรบ้าง คอยติดตามกัน

แรกเริ่มเสริมอาหาร

           ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเริ่มต้นเมนูอาหารเสริมนอกจากนมแม่ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรเลือกเมนูอาหารชนิดอ่อน ๆ เสริมเมนูผักและผลไม้เพิ่มเติม โดยปรุงอาหารให้เข้มข้นและมีเนื้อสัมผัสบ้าง ไม่ต้องละเอียดเกินไป เช่น กล้วยครูดในน้ำต้มสุก ข้าวสวยบดฟักทอง ฯลฯ แล้วจึงค่อยเพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในขั้นตอนต่อไป

           พัฒนาการเคี้ยวกลืน ช่วงนี้เหงือกของลูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น คุณแม่จะสังเกตว่าลูกจะเริ่มมีอาการคันเหงือก ส่งผลให้จะหยิบจับสิ่งของหรืออาหารเข้าปากเสมอ ดังนั้นคุณแม่จึงควรหาแท่งผัก เช่น แครอท แตงกวา ไว้ให้ลูก อม ๆ ดูด ๆ บ้างก็จะเป็นการช่วยประสาทสัมผัสในช่องปากด้วย

เมนูอาหารก้อนแช่แข็ง

           จากเมนูของคุณแม่น้องภีมที่ส่งมาให้เรานั้น น่าสนใจมากค่ะ เมนูอาหารสำหรับวัย 6-8 เดือน ที่ช่วยกระตุ้นการเคี้ยวกลืนนั้น คุณแม่ใช้วิธีทำเป็นอาหารก้อนแช่แข็งไว้ โดยคุณแม่จะนำข้าวตุ๋น ผักต้มสุก เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ ฯลฯ มาบดให้ละเอียดก่อนนำใส่ถาดแช่แข็ง สำหรับเมนูนี้เหมาะกับคุณแม่ Modern Mom ที่ต้องทำงานไปด้วย การเตรียมอาหารแช่แข็งไว้แบบนี้ทำให้คุณแม่สะดวกมากขึ้นและยังเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกได้อีกด้วยค่ะ

เมนูเสริมกระตุ้นการรับรส

           เมนูอาหารของเด็กวัยนี้เริ่มเข้าสู่อาหารที่หยาบมากขึ้น รวมถึงรสชาติที่เพิ่มมากขึ้นอีกระดับเพื่อพัฒนาการบดเคี้ยวและการรับรู้รสชาติ แต่ด้วยช่วงวัยที่เริ่มใช้พลังงานในร่างกายเยอะ คุณแม่จึงควรเสริมคุณค่าทางอาหารให้มากขึ้น เช่น ข้าวตุ๋นอโวคาโด มันบดผลไม้ เป็นต้น

           พัฒนาการเคี้ยวกลืน ลูกเริ่มฟันงอก เริ่มเคี้ยวอาหารได้ทั้ง 2 ข้าง เขาสามารถใช้ลิ้นช่วยในการเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น ลูกวัยนี้จะเริ่มเอาปากงับช้อนเล่นได้ แต่ริมฝีปากบนยังทำงานได้ไม่ดีนัก จึงต้องใช้ลิ้นช่วยดุลอาหารบ้าง แต่หลังจากนี้เขาจะสามารถตวัดลิ้นเพื่อผลักอาหารสู่ลำคอได้เอง

เสริมเมนูอาหารจานหลัก

           วัยนี้ลูกเริ่มจะกินอาหารที่หยาบขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ควรปรุงอาหารด้วยการสับให้หยาบแทนการบดและปั่นอย่างที่เคย จะทำให้ระบบขับถ่ายของลูกดีขึ้นตามไปด้วย ช่วงนี้จึงเหมาะมากที่คุณแม่จะเสริมเมนูอาหารประเภทโปรตีนให้กับลูก เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เป็นต้น รวมถึงเพิ่มมื้ออาหารให้มากขึ้น เป็น 3 มื้อต่อวันด้วย

           พัฒนาการเคี้ยวกลืน พัฒนาการของลิ้นช่วงนี้เกือบจะสมบูรณ์ เพราะลูกสามารถใช้ลิ้นตวัดอาหารสู่ช่องปากได้หลายทิศทาง เช่นเดียวกับกรามและขากรรไกร ซึ่งขยับบดอาหารได้คล่องส่วนการกลืนนั้นก็พัฒนาไปมาก เพียง 2-3 วินาที หลังจากที่ลิ้นตวัดน้ำนมและอาหารไปที่ส่วนหลังของคอ ลูกก็จะกลืนได้โดยอัตโนมัติ
อาหารเด็ก

ข้าวครูดฟักทองไข่แดง

6-8 month

เครื่องปรุง

           ฟักทองต้มสุกแช่แข็ง 1 ก้อน

           ไข่แดง 1 ฟอง

           ข้าวสวยแช่แข็ง 1 ก้อน

วิธีทำ

           นำข้าวและผักต่าง ๆ มาต้มให้สุก แล้วนำไปบดจนละเอียด

           นำส่วนผสมทั้งหมดที่ทำไว้ไปใส่ถาดแช่ช่องแข็ง

           เมื่อถึงเวลาที่จะนำไปใช้ประกอบอาหาร ให้นำอาหารก้อนที่แช่แข็งไว้ออกมาอุ่น ด้วยวิธีการต้มหรือนึ่งก็ได้
Modern Mom’s Tips :
           นำฟักทองและข้าวสวยแช่แข็งมาใส่หม้อต้มให้เดือด แล้วใส่ไข่แดงต้มสุกลงไป คนให้เข้ากัน

           ฟักทองให้พลังงานสูง

           ข้าวสวยให้คาร์โบไฮเดรต

           ไข่แดงให้โปรตีน

อาหารเด็ก

หนูน้อยหมวกแดง

9-10 month

เครื่องปรุง

           มันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ

           แครอท 1 ช้อนชา

           บรอกโคลี 1 ช้อนชา

           บีทรูท 1 ช้อนโต๊ะ

           เกลือเล็กน้อย

วิธีทำ

           นำส่วนผสมทั้งหมดไปต้มให้สุก

           แบ่งมันฝรั่งออกเป็น 2 ส่วนแรก นำมาบดให้ละเอียดรวมเข้ากับบรอกโคลี แครอท โรยเกลือเพิ่มรสชาติเล็กน้อย

           นำมันฝรั่งที่เหลือมาบดรวมเข้ากับบีทรูท แล้วจัดวางลงบนก้อนมันฝรั่งผักรวมที่ทำไว้

Modern Mom’s Tips :

           การต้มผักนั้นไม่ควรต้มนานจนเกินไป เพราะจะทำให้ได้คุณค่าลดลง และรสสัมผัสเละเกินไป

           บรอกโคลี ให้วิตามินเอสูง

           แครอทและบีทรูท ให้วิตามินซีสูง

อาหารเด็ก

เกี๊ยวเอ๋ยเกี๊ยวไก่

10-12 month
เครื่องปรุง
           น้ำซุป 1 ถ้วย

           แผ่นเกี๊ยว 7 แผ่น

           ไก่บด 2 น่อง

           ข้าวโพดอ่อน 1 ช้อนโต๊ะ

           แครอท 1 ช้อนโต๊ะ

           น้ำมันงา ½ ช้อนชา

           เกลือปรุงรส

วิธีทำ

           นำน่องไก่และผักทั้งหมดลงไปต้มในน้ำจนสุก

           นำส่วนผสมที่ได้มาบดรวมกันให้ละเอียด ใส่เกลือเพียงเล็กน้อย

           เอาแผ่นเกี๊ยวห่อไก่บด ไก่ 1 ช้อนชาต่อแผ่นเกี๊ยว 1 แผ่น

           นำห่อเกี๊ยวที่ได้มาต้มให้สุก โรยเกลือและน้ำมันงา เพียงเล็กน้อย

Modern Mom’s Tips :

           ใช้น้ำลูบที่ปลายแผ่นเกี๊ยวแล้วห่อ จะทำให้ติดแน่น

           เกี๊ยวไก่ ให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรต

           แครอทและข้าวโพดอ่อน ให้วิตามินซีและแคลเซียมสูง

           ขอยกนิ้วให้เลย สำหรับเมนูจากคุณแม่ฉบับนี้ และสำหรับคุณแม่ Modern Mom ท่านอื่นที่สนใจอยากจะส่ง "เมนูโภชนาการเพื่อลูก" ติดตามหัวข้อประจำเดือนได้ ตามเพจของเรา
เฟซบุ๊ก modernmommag นะคะ




ที่มา  :: 
Vol.18 No.207 มกราคม 2556

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 8 เดือน

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 8 เดือน
 
 
 
 
 

 
 วัยแห่งการเคลื่อนไหวและการล้มอย่างเป็น ธรรมชาติ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องห่วงเพราะว่ากะโหลกของเด็กวัยนี้ยังเป็นกะโหลกอ่อนอยู่ เวลาหัวกระแทกจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ โดยกะโหลกนั้นจะเชื่อมต่อกันสมบูรณ์เมื่อลูกอายุครบ 2 ปี



พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม


วัย 8 เดือนนี้ลูกจะต้องล้มเป็นตุ๊กตาล้มลุกอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่าสรีระของลูกนั้นศีรษะยังมีความใหญ่กว่าร่างกาย ทำให้เวลาลุกขึ้นยืนหรือนั่งโดยไม่มีอะไรพิง เด็กจะหงายหรือคว่ำง่ายๆ จวบจนที่กล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มพัฒนา ทำให้อวัยวะทุกส่วนมีความแข็งแรงขึ้น แม้จะล้มไปบ้างแต่เขาก็จะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตามการยืนได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ลูกตื่นเต้นมาก และอยากลองอยู่ตลอดเวลา จนทำให้คิดว่าลูกอยู่ไม่สุขเอาเสียเลย

คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมเรื่องพื้นเพื่อป้องกันการล้มของลูก รวมทั้งนำเฟอร์นิเจอร์ที่มีล้อออกไป เพราะว่าลูกอาจจะทำให้ลูกเหนี่ยวจนเกิดอุบัติเหตุได้ลูกสามารถควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ดีขึ้น ด้วยการทดลองหยิบ ขว้าง ปา ของลูกเอง เขาจะเล่นสนุกอย่างนี้ได้ทั้งวัน พร้อมกับสังเกตการใช้งานมือของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย




พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

- คลานได้
- เคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยวิธีถัดก้น
- ยืนเกาะเครื่องเรือนและเอื้อมตัวไปพร้อมกับก้าวขาเพื่อทรงตัว
- เกาะเครื่องเรือนและดันตัวยืนขึ้น แต่ต้องใช้คนช่วยจึงจะลงจากท่ายืนได้
- เมื่อจับยืนจะยื่นขาข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า
- นั่งหลังตรงโดยลำพังได้นาน
- ขณะนั่งขาข้างหนึ่งจะเหยียดออก อีกข้างจะงอในท่าพัก
- ลุกขึ้นนั่งได้เองจากการยันแขนขึ้นหรือจากท่าคลาน
- พยายามหยิบลูกปัดเล็กๆ หรือเชือก
- ถือของเล่นเขย่าได้นานอย่างน้อย 3 นาที
- ถือขวดนมเองได้



พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม

วัยนี้จะเริ่มมีความกลัวเข้ามาครอบงำ ซึ่งแสดงว่าลูกเริ่มมีการนึกภาพในใจมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงสติปัญญาและพลังแห่งจินตนาการได้อย่างดี แต่ว่าเวลาที่ลูกกลัวและติดแม่นั้นคุณแม่ไม่ควรทำโทษด้วยการตี แต่ควรสร้างความมั่นใจด้วยน้ำเสียงที่เบาแต่หนักแน่นว่า “เดี๋ยวแม่จะกลับมาตอนเย็น” และต้องรักษาสัญญานั้นเพราะลูกจะจดจำ การรักษาสัญญาเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นคงทางอารมณ์อีกด้วย

หากครอบครัวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น แม่จะต้องกลับไปทำงาน ควรเตรียมตัวให้มีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย เพื่อลดความกังวลและความกลัวของลูกได้



พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม


ลูกจะพูดคำง่ายๆ ซ้ำไปซ้ำมา บางครั้งก็ตะโกนแผดเสียงออกมาเมื่อหัวเราะดีใจ เลียนแบบคนที่อยู่ใกล้คิดและเรียนรู้เข้าใจคำศัพท์ได้มากขึ้น

พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ส่งเสียงเลียนแบบต่างๆ บางครั้งก็ส่งเสียงพูดคุยแม้อยู่คนเดียว
- ส่งเสียงดังเหมือนตะโกน
- จีบปากจีบคอเริ่มเคลื่อนไหวกราม ใช้คำซ้ำๆ อย่างเช่น มามา จิ๊บจิ๊บ
- จะหันหน้าหรือหันตัวเมื่อได้ยินเสียงคุ้นหู




พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม


แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าลูกเป็นเด็กน่ารักเข้ากับคนง่าย แต่เด็กวัยนี้จะระแวงคนแปลกหน้าและร้องไห้โยเยเอาง่ายๆ คุณแม่อาจจะต้องบอกเพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ว่าอย่าเพิ่งพุ่งเข้ามาหาเด็กตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกัน แต่ควรทำความคุ้นเคย พูดคุยด้วย และรอให้เด็กเป็นผู้เข้าหาเองดีกว่า

พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ตีเรียก ยิ้มให้ และหอมภาพในกระจก
- กลัวคนแปลกหน้า กลัวการแยกจาก ติดแม่
- ตะโกนหรือทำเสียงดังเรียกร้องความสนใจ
- สนใจแต่การเล่นของเล่น
- ผลักและปัดสิ่งที่ไม่ต้องการ



พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม

สมองของลูกมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยคุณจะมองเห็นได้จากการเล่นที่ลูกจะชื่นชอบการเล่นเชิงปริมาณ เช่น ใส่ของชิ้นหนึ่งในกระป๋องแล้วหยิบออกมา หรือว่าใส่ของลงไปในกระป๋องเรื่อยๆ อีกทั้งลูกจะคอยสังเกตสิ่งแวดล้อมด้วยการนำตนเองเข้าไปสัมผัสมากขึ้น เช่น การดึงเครื่องเรือนเพื่อยันตัวเองขึ้นมา เด็กจะมีการลองก่อนแล้วว่าเครื่องเรือนนั้นมีความมั่นคงแค่ไหน หรือว่าการลองตบโต๊ะหรือเคาะสิ่งของเพื่อให้เสียงดัง ชอบทำซ้ำไปซ้ำมาจนคุณพ่อคุณแม่รำคาญด้วย

นอกจากนั้นลูกยังชอบมองภาพกลับหัว เชื่อว่าเป็นเพราะเขาติดการมองภาพแบบนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารกตัวเล็กๆ ที่ชอบนอนหงายและมองแต่ภาพกลับหัวนั่นเอง

พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- สำรวจสิ่งของ ดูภายนอกภายใน กว้างยาวลึก
- มองมือตนเองเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น หยิบหรือโยนของสำรวจภาชนะต่างๆ ด้วยการนำของใส่เข้าออก
- จะค้นหาของที่ซ่อนเอาไว้ในที่ง่ายๆ ได้ อย่างเช่น หลังม่าน
- เลียนแบบกิริยท่าทางของคน
- มีลักษณะการเรียนรู้เฉพาะตน ชอบการเรียนรู้
- ชอบเล่นน้ำ
- จดจำเวลาได้จากกิจวัตรประจำวันที่ทำสม่ำเสมอ








ที่มา   : Momypedia : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : คู่มือพัฒนาการเด็ก : คู่มือพัฒนาสมองลูกด้วยสองมือแม่ : หนังสือคู่มือเลี้ยงลูก โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค

 

ผลไม้สำหรับเด็กวัย 6 - 12 เดือน

ผลไม้สำหรับเด็กวัย 6 - 12 เดือน





แม่และเด็ก



ผลไม้สำหรับเด็กวัย 6 - 12 เดือน (modernmom)
 
           เมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือน ฟันหน้า 2 ซี่ล่างเริ่มขึ้นแล้ว เจ้าตัวเล็กจะรู้สึกมันเขี้ยวอยากจะกัด การที่คุณแม่ให้ผลไม้เป็นอาหารเสริมแก่ลูกน้อย จึงเป็นการส่งเสริมให้ฟันขึ้นได้ดีด้วยค่ะ


          ผลไม้เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ลูกเรียนรู้รสหวานจากน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกน้อยเกี่ยวกับการกินผลไม้ สำหรับลูกเล็กควรเริ่มจากน้ำผลไม้คั้นสดดีที่สุด เพราะเจ้าตัวเล็กคุ้นเคยกับการดูดอยู่แล้ว คุณแม่ควรเลือกน้ำผลไม้รสอ่อน ๆ ปริมาณน้อย ๆ แม้ในช่วงวัยต่อไปลูกจะมีพัฒนาการด้านการเคี้ยวกลืนที่ดีขึ้น สามารถกินเนื้อผลไม้ได้ แต่น้ำผลไม้ก็ยังเป็นอาหารที่กินคู่กับผลไม้บดหรือผลไม้หั่นเป็นชิ้นได้ตลอดทุกช่วงวัย



ลูกเล็กวัย 6 เดือน เริ่มต้นง่าย ๆ กับผลไม้ 5 ชนิด



        กล้วย มีคุณสมบัติย่อยง่าย มีใยอาหารแบบละลายน้ำ ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย โดยเฉพาะกล้วยที่สุกจัด จะมีรส หวานและโพแทสเซียมสูง


        ส้ม วิตามินซีในน้ำส้มช่วยการดูดซึมธาตุเหล็ก ตอนที่คุณแม่ป้อนส้มให้ลูก อาจจะเห็นลูกน้อยกะพริบตาถี่ๆ เมื่อลิ้มลอง เพราะส้มมีกรดซิทริคทำให้มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ และภาวะความเป็นกรดจะช่วยให้การย่อยโปรตีนจากนมดีขึ้น


        แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ รสหวานอ่อน ๆ ทำให้ลูกสดชื่น และเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี อีกทั้งมีวิตามินเอด้วย


        มะม่วงสุก มีเบต้าแคโรทีนช่วยบำรุงสายตา มีแอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ด้วย


        อโวคาโด มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม มีวิตามินอี และกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะหัวใจแต่คุณแม่ควรจำกัดปริมาณ ไม่ควรให้ลูกกินมากเกินไป เพราะอโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง



เตรียมผลไม้ให้พร้อม ก่อนป้อน



        คั้นน้ำ ใช้กับผลไม้ประเภทที่มีเส้นใย เช่น ส้มเช้ง ส้มเขียวหวาน และแตงโม


        ครูดและบด เหมาะสำหรับผลไม้เนื้อสุกนิ่ม กากใยน้อย เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก และอโวคาโด


        ปั่น เลือกผลไม้ที่มีน้ำเยอะ กินได้ทั้งน้ำและเนื้อ เช่น สาลี่ กีวี่ แอปเปิล และองุ่น ก่อนปั่นควรปอกเปลือก และอาจจะใส่น้ำสุกเพิ่ม แต่การปั่นในโถปั่นอาจมีฟองอากาศผสมเข้าไป ทำให้คุณค่าอาหารอาจลดน้อยลง และลูกอาจมีลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น หลังกินควรมีกิจกรรมให้ลูกทำบ้าง


        หั่นชิ้นเล็ก เหมาะกับผลไม้ทุกชนิด เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม อะโวคาโด มะม่วงสุก แตงไทย และองุ่น แต่ผลไม้ที่มีเปลือกบางๆ เช่น องุ่นและส้ม คุณแม่ควรลอกเปลือกและแกะเมล็ดออกให้เรียบร้อย

        หั่นเป็นแท่ง มักใช้กับผลไม้ที่นิ่มปานกลาง และไม่เละ เช่น มะม่วง ชมพู่ สาลี่ แอปเปิ้ล และฝรั่ง เพราะลูกจะสามารถจับถือกินเองได้





วัยไหนหม่ำอย่างไร


          นี่คือหัวใจสำคัญ เพราะถึงคุณแม่จะเลือกผลไม้และเตรียมผลไม้ให้เหมาะกับแต่ละชนิดแล้ว แต่การเลือกผลไม้ให้ลูกแต่ละวัยกิน ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับพัฒนาการเคี้ยวกลืนของเจ้าตัวเล็กด้วย ไปดูกันเลยดีกว่าว่า ลูกวัยไหนกินผลไม้อะไร และควรกินแบบไหน


icon อายุ 6-8 เดือน


          ผลไม้ที่ลูกกินควรเป็นผลไม้บด ยี หรือครูด ถ้าคุณแม่บดผลไม้ผ่านตะแกรง จะทำให้มีน้ำมากกว่าเนื้อ ก็อาจจะผสมเนื้อผลไม้รวมลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความข้นหนืด เพราะลูกวัยนี้เริ่มมีทักษะในการใช้ลิ้นตวัดอาหาร และแตะเพดานปากดีขึ้น ลูกจะสามารถกลืนอาหารได้โดยไม่สำลัก

          กินมากแค่ไหน : ควรเริ่มจาก 2–3 ชิ้นเล็ก ๆ จนกระทั่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นถึง 2 ช้อนโต๊ะ
 

icon อายุ 8-10 เดือน
          เจ้าตัวเล็กที่บ้านเริ่มมีฟันเพิ่มขึ้นแล้วล่ะค่ะ คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ให้เจ้าตัวเล็กได้ทดสอบความสามารถของฟัน และคุ้นชินกับอาหารที่มีลักษณะหยาบขึ้น



          กินมากแค่ไหน : ผลไม้หั่นชิ้นเล็กประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำผลไม้คั้นสด 2–4 ออนซ์





icon อายุ 10-12 เดือน


          เจ้าตัวเล็กมีฟันขึ้นเยอะมากกว่าเดิม และเริ่มขบเคี้ยวอาหารจากฟันหน้า เพราะฉะนั้นผลไม้ที่เด็กวัยนี้กินได้ควรเป็นผลไม้เนื้อนิ่มปานกลาง คุณแม่อาจจะหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือเป็นแท่งให้ลูกจับถือกินเอง

          กินมากแค่ไหน : ประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นน้ำผลไม้คั้นสดประมาณ 2–4 ออนซ์

 
          ส่วนผลไม้ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เจ้าตัวเล็กหม่ำคือ ผลไม้ที่ที่มียางและมีเมล็ดเล็ก ๆ ค่ะ


          และถ้าจะให้ดีคุณแม่ควรให้ลูกกินผลไม้หลากหลายสีอย่างน้อย 2-3 ชนิดต่อวัน เพื่อลูกจะได้คุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน ที่สำคัญควรเป็นผลไม้สดและใหม่นะคะ เพราะจะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผลไม้ที่เตรียมไว้นาน ๆ ค่ะ







ที่มา   ::     (modernmom)