Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

                  เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์


เมื่อคิดจะมีลูก การเตรียมตัวให้พร้อมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เพื่อให้ลูกน้อยสมบูรณ์และเป็นปกติที่สุด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนประมาณ 3 เดือน เพราะในสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ คุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ และเป็นช่วงเวลาที่กระทบกระเทือนต่อลูกในครรภ์ได้ง่ายที่สุดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ การรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและกินอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ

นอกจากนี้ยังควรเตรียมพร้อมในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ด้วย
วัคซีนหัดเยอรมัน คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์ เพราะหัดเยอรมัน หรือ Rubella นั้นอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์พิการได้ โดยเพฉพาะในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังสร้างอวัยวะภายในที่ซับซ้อน ถ้าหากแพทย์พบว่าคุณยังไม่มีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก็จะฉีดวัคซีนให้ แต่คุณควรจะคุมกำเนิดหลังจากฉีดวัคซีนนี้อย่างน้อยอีก 3 เดือน
โรคทางพันธุกรรม หากครอบครัวของคุณพ่อหรือคุณแม่มีประวัติการเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด ทาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจาง เป็นต้น ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อดูว่ามีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคทางพันธุกรรมได้มากน้อยแค่ไหน
โรคประจำตัว หากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือลมชัก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อปรับเปลี่ยนยา และเตรียมพร้อมในการดูแลที่มากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
หยุดใช้ยาคุมกำเนิด หากต้องการมีลูกควรหยุดยาคุมกำเนิด และให้เวลาธรรมชาติปรับสภาพร่างกาย โดยรอให้มีประจำเดือนอย่างน้อย 3 ครั้งก่อนตั้งครรภ์ โดยให้คุณพ่อใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิดในช่วงนั้นแทน
หลีกเลี่ยงงานที่เสี่ยง ควรดูว่ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี ตะกั่ว ยาสลบ หรือเอกซเรย์หรือเปล่า เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะแท้ง หรือเป็นอันตรายต่อลูกได้ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรทำ หรือหากเปลี่ยนงานได้ก็ควรเปลี่ยน
ควบคุมน้ำหนัก คุณแม่ควรมีน้ำหนักในเกณฑ์มาตรฐานอย่างน้อย 6 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และควรพบแพทย์เพื่อควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่ควรลดน้ำหนักเด็ดขาดในระหว่างตั้งครรภ์
กินอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารในครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม และกินผักผลไม้ให้เป็นนิสัย
เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรเลิกเหล้าและบุหรี่ เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้ความสามารถในการมีลูกลดลง และยังมีผลต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย
ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ควรออกกำลังกายด้วยการเดินหรือว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 20 นาที
สัญญาณแบบนี้...ท้องแล้วจ้า
๑๐ สัญญาณ บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ !!!
**หมายเหตุ ผู้หญิงแต่ละคนจะมีสัญญาณบ่งบอกที่แตกต่างกันไป คุณไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณบ่งบอกนี้ครบทุกข้อนะคะ
๑. เต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง
หากคุณตั้งครรภ์ คุณจะสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนม ซึ่งจะเปราะบาง อ่อนไหว และมีความรู้สึกได้ง่ายขึ้นในระยะ ๓ เดือนแรกของการตั้งครรภ์ (หลังจากที่ประจำเดือนขาดประมาณ ๑ สัปดาห์) หรืออาจเกิดอาการบวม—คล้ายๆ กับอาการก่อนเกิดประจำเดือนที่หน้าอกใหญ่ขึ้น

๒. ประจำเดือนน้อยหรือกระปริดกระปอย
หากคุณตั้งครรภ์ ประจำเดือนอาจจะมาน้อยในช่วงที่มีการฝังตัวของไข่ในมดลูก และจะเกิดขึ้นประมาณ ๘-๑๐ วัน ก่อนที่ประจำเดือนปกติจะมา คุณสามารถแยกแยะจากประจำเดือนปกติได้ หากประจำเดือนมาก่อนกำหนด หรือหากประจำเดือนกระปริดกระปอย สีชมพูอ่อน และไม่ได้มาตามขนาดปกติ (ซึ่งอาจจะมามาก)

๓. บริเวณรอบหัวนมคล้ำขึ้นในการตั้งครรภ์ เมื่อถึงระยะเวลาที่รอบเดือนควรจะมา คุณจะสังเกตเห็นบริเวณรอบหัวนม (ที่เป็นวง) จะคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ทารกสามารถสังเกตเห็นหัวนมได้ง่ายขึ้นในการดูดนมมารดา และอาจจะยังสังเกตเห็นหลอดเลือดบริเวณรอบๆ เต้านมชัดขึ้น ตุ่มที่บริเวณรอบหัวนมก็จะมีมากขึ้น อาจจะมากถึง ๔-๒๘ ในรอบหัวนมหนึ่งๆ
๔. เหนื่อยง่ายขึ้น
อาการเหนื่อยได้ง่ายนี้จะเกิดขึ้นในระยะ ๘-๑๐ สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เมื่อคุณตั้งครรภ์กระบวนการเผาผลาญพลังงานจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับการปรับตัวเพื่อให้กำเนิดอีกชีวิตหนึ่ง โดยมากแล้วอาการนี้จะหายไปในสัปดาห์ที่ ๑๒ ครับ

๕. อาการแพ้ท้องและอาเจียนอาการนี้อาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกๆ หลังจากตั้งครรภ์ ซึ่งจะเกิดอาการเวียนศีรษะ อาการนี้มักเป็นอาการที่เข้าใจผิดได้บ่อยๆ ว่าอาจจะไม่ใช่เกิดจากการตั้งครรภ์แต่เป็นเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอหรืออะไรก็ตามแต่ อาการแพ้ท้องนี้เกิดได้ตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
๖. ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ในระยะที่ประจำเดือนขาด ๑-๒ สัปดาห์คุณก็จะพบว่าคุณปัสสาวะบ่อยขึ้น บ่อยกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากทารกกำลังเติบโตอยู่ในมดลูกและกดทับกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง

๗. ท้องผูก
คุณจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลำไส้ตั้งแต่แรกเริ่มตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์จะทำให้ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพน้อยลง

๘. อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น
คุณอาจจะยังรู้สึกเป็นปกติดีตราบเท่าที่ระดับอุณหภูมิยังคงอยู่ในช่วงการประเมินการ แม้จะผ่านช่วงเวลาของการมีประจำเดือนมาแล้ว และเมื่อคุณตั้งครรภ์ ไข่จะตกจากรังไข่ และใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการเดินทางไปถึงมดลูก ซึ่งจะเป็นการไปฝังตัว และในเวลานี้เองที่ร่างกายของคุณจะรู้ได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

๙. ประจำเดือนขาดนี่อาจเป็นสัญญาณแรก โดยเฉพาะถ้าปกติประจำเดือนคุณมาสม่ำเสมอ เมื่อรวมกับสัญญาณอื่นๆ แล้วคุณก็สามารถคาดเดาได้แล้วว่ากำลังตั้งครรภ์ แม้แต่ก่อนทำการตรวจด้วยซ้ำไป
๑๐. ผลจากการทดสอบการตั้งครรภ์
แม้เพียงประจำเดือนขาดไป ๑ วัน และคุณพร้อมที่จะรับรู้ความจริง ก็สามารถไปซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาทดสอบเองได้ที่บ้าน การทดสอบจากปัสสาวะจะมีความแม่นยำมากขึ้นหากตรวจหลังจากปฏิสนธิได้ ๑๐-๑๔ วัน หากคุณไม่สามารถรอจนถึงกระทั่งช่วงที่ประจำเดือนขาด การตรวจเลือดจะมีความแม่นยำ ในช่วง ๘-๑๐ วันหลังจากปฏิสนธิ และคิดอยู่เสมอว่าไม่มีการทดสอบใดที่ได้ผลถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แม้แต่การตรวจเลือด หากคุณตรวจแล้วมีผลว่าไม่ตั้งครรภ์แต่คุณยังรู้สึกเหมือนกับว่าคุณตั้งครรภ์ ให้ตรวจอีกครั้งหลังจากนั้น ๑ สัปดาห์

ขอแสดงยินดีกับคุณแม่ที่ตั้งท้องสมกับความตั้งใจ ท่านอาจจะเกิดอาการบางอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางท่านอาจจะกังวลว่าอาการดังกล่าวจะมีผลต่อตัวคุณแม่หรือลูกอาการต่างๆ ทีพบได้มีดังนี้
- อาการแพ้ท้อง
- การเปลี่ยนแปลงทางเต้านม
- อาการปวดหลัง
- ปัสสาวะบ่อย
- อาการปวดท้องน้อย
- อาการปวดศีรษะ
- ริดสีดวงทวาร
- อาการจุกเสียดแน่นท้อง
- นอนไม่หลับ
- ตะคริว
- อาการเหนื่อยหอบ
- การเปลี่ยนผิวหนังในคนท้อง
- อาการบวมและเส้นเลือดขอด

อาการแพ้ท้อง

มักเป็นกันมากในหญิงมีครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก ซึ่งมักจะเป็นในช่วง ๓ เดือนแรก ด้วยความเป็นกังวลที่ทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย แปรปรวนและหงุดหงิดค่อนข้างง่าย หากผู้ใดที่อยู่ใกล้ไม่มีความเข้าใจมักเกิดความรำคาญหรือว่ากล่าวอันเป็นเหตุให้คุณแม่มือใหม่เกิดอาการเครียดขึ้นมาได้

อาการต่างๆ ที่เป็นกันมากมักมีดังนี้ คลื่นไส้อาเจียนตอนเช้าๆ หรือตอนกลางวัน อ่อนเพลียหรือเบื่ออาหาร ร่างกายซูบซีดอิดโรย ตัวดำ หรือเหลืองซีด น้ำหนักตัวลด อาการนี้สามีอาจมีอาการร่วมด้วย ที่เราเรียกว่า แพ้ท้องแทนเมีย นั่นเอง ซึ่งถ้าปล่อยให้อาการเหล่านี้เป็นมากเป็นบ่อย อาจส่งผลกระทบถึงทารกที่กำลังจะคลอดออกมาตัวอาจเล็กลง และเป็นโรคขาดสารอาหารได้ หรืออาจจะคลอดออกมาก่อนกำหนด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเจียนคลื่นไส้มากคือ ร่างกายแม่รับทานอาหารน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายรับสารอาหารได้ไม่เพียงพอ ปฏิกิริยาต่างๆ ที่กล่าวมาจึงเกิดขึ้นได้

ที่มา : หมอชาวบ้าน 01/2006

พาคุณแม่ไปฝากครรภ์ เมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่า คุณกำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ โดยไม่ควรเกิน 3 เดือนนับจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่าครรภ์ปกติและลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งคุณหมอจะทำการตรวจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้กับคุณแม่
  • ชั่งน้ำหนัก เพื่อดูว่าน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์หรือไม่ อย่ากังวลหากน้ำหนักจะลดลงบ้างใน 3 เดือนแรก ซึ่งมักมาจากอาการแพ้ท้อง และหากน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อาจเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้
  • วัดส่วนสูง การฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการวัดส่วนสูง เพื่อเป็นตัวบอกคร่าวๆ ถึงลักษณะของเชิงกราน ถ้าเล็กอาจทำให้คลอดยากได้
  • วัดความดันโลหิต ความดันโลหิตของคุณแม่อาจลดต่ำลงบ้างในระหว่างตั้งครรภ์ แต่หากมีภาวะความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ครรภ์เป็นพิษ ภาวะเครียด กังวล
  • ตรวจเลือด ครั้งแรกจะมีการตรวจเลือดเพื่อหากรุ๊ปเลือดและ Rh กรุ๊ป ตรวจหาภาวะโลหิตจาง ซึ่งจะตรวจซ้ำอีกเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ ตรวจภูมิต้านทานหัดเยอรมัน ตรวจว่าไม่มีโรคทางเพศสัมพันธ์ และดูลักษณะเม็ดเลือดผิดปกติบางชนิด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจน้ำตาล หาภาวะเบาหวาน ตรวจว่ามีโปรตีนในปัสสาวะหรือไม่ เพราะถ้ามีจะบ่งว่าไตทำงานไม่ปกติ ถ้าตรวจพบโปรตีนในช่วงหลังๆ ของการตั้งครรภ์ อาจพบว่าเกิดจากครรภ์เป็นพิษได้
  • ตรวจภายใน ในครั้งแรกเพื่อให้แน่ใจถึงระยะเวลาการตั้งครรภ์ และตรวจปากมดลูกว่าปิดสนิทดี และอาจตรวจเซลล์ปากมดลูกด้วยว่ามีเซลล์ผิดปกติหรือไม่
  • ซักประวัติเกี่ยวกับการขาดประจำเดือน อาการแพ้ท้อง เด็กดิ้น ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อนๆ ประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัว การแพ้ยาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด
  • การตรวจครรภ์อย่างละเอียด และคาดคะเนกำหนดคลอด
  • ให้คำแนะนำ หรือตอบปัญหาต่างๆ ที่คุณแม่เจอในระหว่างตั้งครรภ์ และอาจสั่งยาบำรุง หรือยาอื่นๆ ที่จำเป็น
สำหรับระยะเวลาที่คุณแม่ควรกำหนดในการตรวจตลอดการตั้งครรภ์ คือ ตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรกจนถึง 7 เดือน ควรไปตรวจเดือนละครั้ง ระหว่าง 7-8 เดือนควรไปตรวจทุก 2 สัปดาห์ และเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ควรไปตรวจทุกสัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการครรภ์ผิดปกติ ก็ควรไปพบหมอให้บ่อยกว่าที่กำหนด


ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 1-8
ช่วง 8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะเริ่มมีอาการผิดปกติที่แสดงออกถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งบางทีคุณแม่อาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่า ลูกน้อยถือกำเนิดในครรภ์แล้ว

ซึ่งอาการต่างๆ มักจะเริ่มเมื่อ 1-3 สัปดาห์แรก ซึ่งเป็นช่วงตกไข่และมีการฝังตัวของตัวอ่อน ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด ก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่าตกใจ โดยในสัปดาห์ที่ 4 ประจำเดือนที่เคยมาปกติก็ไม่มา ทำให้คุณแม่บางคนสังเกตได้ว่าตั้งครรภ์ในช่วงนี้ โดยอาจใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ ซึ่งหากมั่นใจแล้วว่าตั้งครรภ์แน่นอน ก็ควรเริ่มกินโฟลิคให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัม โดยมากแพทย์จะสั่งจ่ายให้ หรืออาจจะเลือกกินอาหารที่มีโฟลิคมาก เช่น บร็อคโคลี ผักปวยเล้ง ถั่วต่างๆ ขนมปังโฮลวีต เสริมด้วย
เมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คุณแม่จะเริ่มมีอาการแพ้ท้อง คือ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน จนบางคนไม่สามารถกินอะไรได้เลย ควรแก้ปัญหาด้วยการกินอาหารทีละน้อย แต่กินบ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีอาการแพ้ท้องมาก แพทย์อาจจะสั่งยาแก้แพ้ให้
จนเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 7-8 เป็นช่วงที่คุณแม่อาจสังเกตว่ามีอาการตกขาวมาก จึงควรดูแลอนามัยช่องคลอดให้ดี สังเกตว่ามีตกขาวมากผิดปกติแค่ไหน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อด้วย ก็ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะอาจลุกลามไปถึงโพรงมดลูก ทำให้มีอาการอักเสบ ส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนที่ฝังตัวในผนังมดลูก และมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนช่วง 3 เดือนแรกด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อแน่ใจแล้วว่าตั้งครรภ์ ช่วงเริ่มต้น 8 สัปดาห์แรก คุณแม่ควรไปตรวจเช็คสุขภาพ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกเลือด ต้องไปพบแพทย์ทันที
ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12
ท้องจะยังไม่โตให้เห็น ขนาดของมดลูกระยะนี้มีขนาดเท่าลูกเทนนิส นิ่ม มีเมือกมาปิดบังแถวปากมดลูก เพื่อป้องกันลูกน้อยเอาไว้ ไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปโดยง่าย เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น คลำได้เป็นก้อนใหญ่ เรียกว่า เต้านมคัด
คุณจะรู้สึกเหนื่อย และต้องการพัก คุณพ่อควรช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระการงาน ให้คุณแม่คนใหม่ได้พักบ้าง
ลูกน้อยในท้องแม่ เริ่มก่อรูปร่าง ด้านบนเป็นศีรษะ และใบหน้า มีข้อศอก เข่า นิ้วมือ และนิ้วเท้า ให้เห็นได้แล้ว อวัยวะต่างๆพัฒนาขึ้น แต่ยังไม่สมบูรณ์ ระยะนี้จะมีน้ำหนักไม่ถึง 30 กรัม และยาวประมาณ 3-7 ซ.ม.
ลูกและแม่สื่อสารติดต่อกันทางรก โดยมีสายสะดือเป็นท่อต่อจากตัวลูก ไปยังรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกของแม่ ลูกน้อยจะได้รับอาหาร และออกซิเจนผ่านทางรก เข้าไปทางสายสะดือ ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ลูกน้อยจึงเติบโตขึ้นทุกวันคืน
ในเดือนที่ 2 นี้ คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง ยังรับประทานอาหารไม่ได้ ต้องพยายามรับประทานอาหาร ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ อาจจะรับประทานวันละ 6 มื้อ งดการสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าอย่างเด็ดขาด และไม่ควรซื้อยามากินเอง ยาบางชนิดอาจหยุดยังการพัฒนา อวัยวะของลูก เช่น ยาทาลิโดไมด์ (Talidomite) ทำให้มีความพิการของแขนขา เป็นต้น

กินดี อยู่ดี

คนท้อง ต้องรับประทานอาหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อตัวคุณเอง และลูกน้อย โดยปริมาณต้องเพิ่มขึ้น ลูกต้องการอาหารไปสร้างเนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะ อาหารที่มีโปรตีนสูง คือ เนื้อ นม ไข่ เต้าหู้ เนื้อปลา ไก่ เนย ปลากระป๋องที่ไม่มีกระดูก และผักใบเขียวต่างๆ

แคลเซียม

ต้นตอของแคลเซียมที่ดี คือ นมวัว หรือ โยเกิร์ต การดื่มนมเพื่อให้ได้แคลเซียมนั้น มีความสำคัญมากสำหรับคนท้อง ถึงขนาดที่ในรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา มีคูปอง ให้หญิงที่ตั้งครรภ์ไปแลกได้ฟรี โดยได้นมสด 2 ถ้วย และโยเกิร์ต 2 ถ้วย ต่อวัน การที่ให้กินโยเกิร์ต ก็เพื่อให้ได้จุลินทรีย์สุภาพ แม่จะมีจุลินทรีย์ชนิดที่ดีๆ ในตัว เมื่อลูกคลอดผ่านช่องคลอดออกมา ก็จะได้จุลินทรีย์ที่ดีตั้งแต่เกิด (อ่านเพิ่มเติมได้ใน จุลินทรีย์สุขภาพค่ะ)

วิตามิน

วิตามิน มีอยู่ในผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว สตอเบอรี่ เป็นต้น ส่วนวิตามินอื่นๆ คุณหมอจะจัดมาให้คุณแม่รับประทาน เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ ซึ่งจะมีวิตามินรวม แคลเซียม ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิค คุณแม่ไม่ควรหาวิตามินมารับประทานเอง นอกเหนือจากที่แพทย์สั่งนะคะ เพราะวิตามินบางชนิด ถ้ามากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อลูกได้
สำหรับคุณแม่ ที่รับประทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ มากๆไม่ได้ ไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม แนะนำให้ใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยน คือ รับประทานอาหารอย่างอื่นเพื่อให้ได้รับ ปริมาณโปรตีนเพียงพอ รายการอาหารแลกเปลี่ยนมีดังนี้
  • นมถั่วเหลือง 1 ถ้วย
  • ไข่ 1 ฟอง
  • ปลาทูตัวใหญ่ครึ่งซีก หรือตัวเล็ก 1 ตัว
  • เต้าหู้แผ่น หรือ แบบหลอด 1 แผ่น หรือ หลอด
  • ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง 2 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วลิสง 30 เม็ด
ให้รับประทานให้ได้ทั้ง 2 ข้อ ต่อ 1 วัน ก็จะได้รับโปรตีนเพียงพอ ต่อความต้องการใน 1 วัน ค่ะ

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16
อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง และมักหายไปเมื่อท้องได้ครบ 3 เดือน มดลูกขณะนี้มีขนาดเท่ากับ ผลส้มขนาดใหญ่ แต่อาจจะยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานของแม่ คุณจะสังเกตว่า รอบเอวของคุณใหญ่ขึ้น หรือถ้าดูในกระจกจะพบว่าเองไม่คอดเหมือนแต่ก่อน หรือไม่มีเอว เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
คุณแม่ควรถือโอกาส หาซื้อเสื้อคลุมท้องที่หลวมๆ มาใส่ได้แล้ว และควรจะหาซื้อเสื้อยกทรง ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดที่สามารถเปิดด้านหน้า (well filled maternity bra หรือ nursing bra)ให้ลูกดูดนมได้ โดยไม่ต้องถอดเสื้อยกทรง คุณแม่จะได้ใช้ใส่ต่อไปจนถึงระยะให้นมลูกด้วย จะได้ใช้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากเต้านมขยายใหญ่ขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น คุณแม่ควรใส่เสื้อยกทรงเพื่อพยุงเต้านมเอาไว้ เต้านมจะได้ไม่หย่อยยานในภายหลัง
เมื่อไปฝากท้อง คุณหมอก็จะตรวจเต้านม และหัวนม เพื่อเตรียมตัวให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เอง ถ้าหัวนมบอดก็จะได้ให้คำแนะนะการแก้ไข แม่ที่มีหัวนมปกติ ให้เตรียมหัวนมให้ลูกดูด โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ถูที่หัวนมเบาๆ จะได้มีผิวหนังที่แข็งแรง เมื่อลูกดูดหัวนมจะได้ไม่เจ็บ หลังอาบน้ำแล้วควรใช้โลชั่น ทาเต้านม ผิวหนังจะได้ไม่ยืด เกิดเป็นรอยแตก ที่อาจจะเกิดจากการขยายของเต้านม
เมื่อใกล้ครบ 3 เดือน ลูกน้อยของคุณจะมีรูปร่าง และอวัยวะพัฒนาขึ้นมาเกือบสมบูรณ์แล้ว ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหว โดยแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น เพราะลูกจะแตะเท้าจนแม่รู้สึกได้ กำหมัดได้ หันหัวไปมา ตาเคลื่อนไหว มองไปมาได้ ทำหน้าผากย่น มีตุ่มฟันประมาณ 20 ตุ่มเกิดขึ้นใต้เหงือก เพื่อจะพัฒนาเป็นฟันน้ำนมต่อไป ริมฝีปาก และอวัยวะเพศเริ่มพัฒนา
ไตทั้ง 2 ข้าง พัฒนามากพอ จนลูกน้อยของคุณเริ่มถ่ายปัสสาวะแล้ว ไม่ต้องกังวลค่ะ ปัสสาวะที่ลูกน้อยถ่ายออกมานี้ ลูกก็จะกลืนเข้าทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ส่งผ่านสายสะดือ ไปยังแม่ เพื่อให้ไตของแม่ขับของเสีย ต่อไป
ลูกน้อยจะนอนสบาย อยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นน้ำหล่อเลี้ยงภายนอก รวมกับปัสสาวะของลูกนั่นเอง ขณะนี้ ลูกน้อยจะมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม ยาวประมาณ 10 ซ.ม.
เราสามคน อยู่ด้วยกัน
การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ เป็นเรื่องของ “คนสามคน”
ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณจะพบว่า อารมณ์เปลี่ยนแปลง และเกิดอารมณ์ได้หลากหลาย แปรเปลี่ยน จากดีใจที่มีลูก สลับกับความกลัวในการตั้งครรภ์ การคลอด กังวลใจว่าจะทำหน้าที่แม่ได้อย่างไร เลี้ยงลูกอย่างไร
เรื่องอารมณ์เป็นเรื่องธรรมดา สำหรับคนท้อง การตั้งครรภ์ การคลอดเป็นเรื่องธรรมชาติ คนเราได้ผ่านประสบการณ์ อย่างที่คุณจะผ่านมาร่วมหลายพันปี เขาก็ผ่านมาได้ ดังนั้นคุณควรอยู่กับมันอย่างมีความสุขนะคะ ความวิตกกังวล ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มาตั้งใจปฏิบัติตนให้ถูกต้องดีกว่า ค้นหาความรู้เพิ่มเติม เตรียมสถานที่เพื่อลูกรัก ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆกัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กๆน้อยๆ ซึ่งคุณแม่ต้องศึกษาเปรียบเทียบดู หาวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง แต่อย่าลืมว่า เมื่อนำไปใช้จริงๆ คุณจะต้องเลือกที่เหมาะสมกับทั้งคุณและลูกของคุณ เพราะแม่ลูกแต่ละคู่จะไม่เหมือนกัน การตั้งครรภ์ครั้งที่สอง ก็ไม่เหมือนครั้งแรกค่ะ
ผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อเขาจะรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกคล้ายคนกำลังจะเป็นแม่ คือ ผันผวน ผู้เป็นพ่อรู้สึกภูมิใจ ที่เขาได้ให้กำเนิดลูก แต่เขาจะรู้สึกกังวลใจว่า เขาจะเป็นพ่อที่ดีได้เพียงไร แล้วค่ะใช้จ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นอีก ลูกจะสมบูรณ์ไหม ลูกที่เกิดมาจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย ถ้าเป็นชายก็จะเล่นกีฬาอย่างที่พ่อถนัด ถ้าเป็นลูกสาวล่ะ! จะเลี้ยงอย่างไรดี นอกจากนั้นเขาก็เป็นห่วงภรรยาที่เขารัก จะต้องลำบากเจ็บปวดในการคลอด แล้วยังเรื่องเพศสัมพันธุ์ในช่วงที่คุณผู้หญิงตั้งครรภ์นี้ จะเหมือนเดิมหรือไม่ และเรื่องอื่นๆอีกจิปาถะ วิถีชีวิตของคนสองคน กำลังจะเปลี่ยนไป ผู้ที่จะเป็นพ่อควรไปกับภรรยา เวลาไปตรวจครรภ์ เพื่อพูดคุยเรื่องสุขภาพของภรรยา และลูก เรื่องความกังวล และคำถามที่คุณมีอยู่ในใจ ช่วยกันถาม ช่วยกันจดจำ นำมาปฏิบัติ เพื่อลูกน้อยของคุณทั้งสองคน
การถามคำถามกับแพทย์โดยตรง จะทำให้ผู้เป็นพ่อ ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ และได้ข้อมูลที่อาจจะละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเพศสัมพันธุ์ กับภรรยาที่มีรูปร่าง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในช่วงที่ภรรยาตั้งครรภ์ โดยทั่วไป ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องแท้งบุตรง่ายมาก่อน หรือเลือดออกทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธุ์ โดยเลือกท่าที่ไม่ทับหน้าท้อง และไม่กระทำรุนแรง โลดโผน ก็ไม่มีข้อห้ามอะไร ยกเว้นแต่ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
การเจริญเติบโตของ หู
หูชั้นในของลูกน้อย จะเริ่มพัฒนาตอนอายุ 2 เดือน เมื่ออายุประมาณ 10 สัปดาห์ (รูปซ้าย) จะเริ่มเห็นหูส่วนนอก หูชั้นนอกจะ
เริ่มพัฒนา เมื่ออายุ 4 เดือน (รูปกลาง) และพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ในอีก 1 เดือน ต่อมา
การร้องเพลง ให้ลูกฟัง ก็เริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ แต่ไม่มีผลการวิจัย ที่แน่นอนว่าจะมีผลต่อ พัฒนาการของลูกหลังคลอดหรือไม่
ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20
เป็นกึ่งชีวิตในครรภ์ของทารก หรือ ครึ่งทางของการตั้งครรภ์
เมื่อตั้งท้องได้ 4 เดือน ท้องคุณแม่จะใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัด มดลูกจะโตขึ้นมาอยู่กึ่งกลาง ระหว่างสะดือ และหัวหน่าว มดลูกจะมีขนาดเท่าผลส้มโอขนาดเล็ก เต้านมก็เริ่มฝึกทำงาน โดยหลั่งหัวน้ำนม (Colostrum) จากหัวนมติดเสื้อให้เห็นบ้างแล้ว บริเวณรอบหัวนม หรือลานหัวนม (areola) จะขยายใหญ่ขึ้น มีสีเข้มขึ้น และมีตุ่มเล็กๆที่ลานหัวนม ซึ่งเป็นต่อมใต้ผิวหนังที่ขยายตัวใหญ่ขึ้นด้วย คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นโรคอะไร
ช่วงนี้ คุณจะรู้สึกว่าลูกดิ้น ท้องโป่งตรงโน้น โป่งตรงนี้ คุณพ่อที่รักลูกอาจได้ชื่นชม ความแข็งแรง และความกระปรี่กระเปร่า ของชีวิตลูกน้อยในท้อง ด้วยการสัมผัสในช่วงนี้ คุณแม่ควรชี้ชวน ให้คุณพ่อได้มีประสบการณ์ คุณพ่อจะได้รู้จักกับลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้อง
การดิ้นของลูกนั้น คุณแม่ที่รูปร่างบาง จะรู้สึกถึงการดิ้นของลูก ได้ชัดเจน และเร็วกว่า คุณแม่ที่อ้วน เวลาไปตรวจครรภ์ คุณหมอจะถามถึง เรื่องการดิ้นของลูกเสมอ คุณแม่จะต้องคอยสังเกตการดิ้นของลูก เอาไว้ให้ดีด้วย เพราะคุณหมอจะนำไปใช้เป็นเครื่องแสดงความแข็งแรง หรือปัญหาของลูกในท้อง
ลูกน้อยในขณะนี้ มีน้ำหนักตัวประมาณ 150 กรัม และยาวประมาณ 15 ซ.ม. หัวใจเต้นแรง เป็นจังหวะ เขาเคลื่อนไหว แตะ นอนหลับ และตื่น สลับกันไป กลืนและถ่ายปัสสาวะ รู้ไหมคะ ลูกน้อยของคุณขณะนี้มีขนตาแล้ว และที่ศีรษะก็มีผมขึ้นบางๆ ผิวหนังใส สีชมพู ที่ลิ้นมีตุ่มรับรส และมีสายเสียงที่คอหอยค่ะ
ฉันรู้สึกสวยขึ้นค่ะ
เมื่อเข้าช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อย่างเห็นได้ชัด บางคนจะรู้สึกว่าตัวเองสวยขึ้น บางคนดูตัวเองแล้วรู้สึกว่าสวยน้อยลง ถ้าคุณรู้สึกสวยขึ้น สบายใจ และยินดีด้วยค่ะ แต่ถ้าคุณรู้สึกสวยน้อยลงแล้วละก็ ลองอ่านต่อไปซิคะ จะได้เป็นกำลังใจ

การตั้งครรภ์ มีสิ่งที่บอกให้รู้ได้บนใบหน้า ของผู้ที่ตั้งครรภ์ด้วยค่ะ หน้าจะเกิดปื้นดำแถว แก้ม หน้าผาก และสันจมูก จะเกิดเมื่อท้องครบ 4 เดือน ขึ้นไป เรียกกันว่า “หน้ากากของคนท้อง” แล้วคุณยังจะพบว่า มีหลอดเลือดขยายที่ผิวหนัง เห็นเป็นเส้นใยสีเขียวคล้ำ คล้ายใยแมงมุม ที่บริเวณใบหน้า คอ แขนและหน้าอก สิ่งเหล่านี้จะหายไปหลังคลอดค่ะ ไม่ต้องกังวล สบายใจได้ค่ะ ว่าหลังคลอดคนก็จะสวยเหมือนเดิม
คนท้องไม่ควรตากแดด ถ้าจะถูกแดดควรทาครีมกันแสงแดด ที่มีค่า SPE อย่างน้อย 15
สิว
ในช่วงท้อง คนที่เป็นสิวจะมีหน้าเกลี้ยงขึ้นค่ะ แต่คนที่หน้าเกลี้ยงมาก่อนอาจจะมีสิวขึ้น การดูแลให้ฟอกสบู่อ่อนๆ ใช้ครีมทาผิวที่เก็บความชื้น แต่ชนิดที่ไม่เป็นน้ำมันนะคะ ทาเป็นประจำ ถ้าผิวมันก็ให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เอาไขมันออก และอย่าทาครีมที่ผิวหนัง

ผม
ตอนตั้งท้องพบว่า คุณแม่บางคนผมแห้ง บางคนผมบางลง เป็นผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะเป็นต่อเนื่องไปเรื่อยๆระหว่างการตั้งครรภ์ และผมจะกลับมาดกดำเหมือนเดิม เมื่อคลอดลูกไปแล้วประมาณ 4-6 เดือน

แขนของลูกน้อย
แขนจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ภายในเดือนแรกหลัง การปฏิสนธิ จะมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นมาข้างลำตัว 2 สัปดาห์ต่อมา มือก็จะเริ่มพัฒนา ในตอนแรกนิ้วทั้งห้า จะติดกัน และเท่าก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง อีกประมาณ 1 เดือนต่อมา นิ้วจะแยกให้ออกจากกันอย่างชัดเจน และเริ่มมีข้อศอก

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24
ช่วงนี้มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นมา สามารถคลำได้ระดับสะดือ หรือต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อย ผิวหนังหน้าท้องของคุณแม่จะถูกยืดมาก ลำไส้ใหญ่ถูกเบียดจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจมีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ มีอาการท้องผูก เมื่อไปตรวจครรภ์ คุณหมอสามารถได้ยินเสียง หัวใจของลูกน้อยของคุณเต้น โดยการใช้หูฟัง ฟังทางหน้าท้องได้ ระหว่างการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 18-20 สัปดาห์
ลูกน้อยระยะนี้ จะดิ้น แตะ หันตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เขามีน้ำหนักตัวประมาณ 300-450 กรัม ยาวประมาณ 20-30 ซ.ม. มีเล็บมือ เล็บเท้า เขานอนและดิ้นเป็นเวลา เผลอๆหนูน้อยก็จะดูดนิ้วมือเล่น อวัยวะต่างๆเติบโตอย่างรวดเร็ว และพัฒนาด้านโครงสร้าง และการทำหน้าที่ได้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลง ของร่างกายแม่ คุณจะเห็นได้ว่า หญิงที่ตั้งครรภ์จะดูออกว่าท้อง เมื่ออายุครรภ์เข้า 4 เดือน หรืออาจจะน้อย กว่านั้น ถ้าเป็นท้องที่สอง ขนาดของท้องที่โตขึ้น จะสท้อนให้เห็น ถึงขนาดของเด็กในท้อง แพทย์จะตรวจดูขนาดของท้องที่โตขึ้น เพื่อดูการเจริญเติบโตของเด็ก มดลูกก็จะขยายเต็มที่ แต่เมื่อคลอดแล้ว ก็จะหดกลับไปสู่ขนาดปกติ
ปัญหา เล็กๆน้อยๆในช่วงตั้งครรภ์
ความไม่สบายตัว อึดอัด เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำใจ ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดกับทุกคน แล้วเขาก็ผ่านไปได้ไม่ยาก
การเปลี่ยนแปลงที่อื่นๆ นอกจากท้องจะเพิ่มขนาดขึ้นทุกวัน ได้แก่
ตกขาว
ตกขาวจะมีมากขึ้นตลอดช่วงตั้งครรภ์ ควรเลือดชุดชั้นในที่เป็นผ้าฝ้าย จะได้ซึมซับได้ดี ควรรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และขาหนีบ ให้สะอาดและซับให้แห้งเสมอ ถ้าทิ้งไว้ อาจมีอาการคัน ถ้าคันมากควรให้สูติแพทย์ตรวจ ส่วนเรื่องการสวนล้างช่องคลอด ไม่แนะนำให้ทำนะคะ เพราะถ้าทำไม่สะอาด อาจมีการติดเชื้อได้
หลอดเลือดโป่ง หรือเส้นเลือดขอด (Varicose vein) จะปรากฎที่ขา โดยมากที่น่อง เส้นเลือดขอดเป็นผลมาจาก เลือดบริเวณขา และปลายเท้าไหลกับเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ และไหลเข้าสู่หัวใจไม่สะดวก หรืออีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือคุณแม่มีน้ำหนักขึ้นมากขณะตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้ โดยการเปลี่ยนท่านั่ง ถ้าต้องนั่งนานๆ ควรมีม้านั่งเตี้ยๆรองขาทั้งสองข้าง พยายามไม่นั่งไขว่ห้าง ถ้าต้องยืนนานๆ ควรขยับข้อเท้าไปมาก และเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อขา เพื่อให้กล้ามเนื้อบีบเลือดดำให้ไหลกลับ เข้าสู่หัวใจ พยายามไม่ลงน้ำหนักที่ขาอย่างน้อย 15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง
เจ็บแสบที่ยอดอก (Heart Burn)
เกิดจากเมื่อตั้งท้อง มดลูกมีขนาดโตขึ้น กระเพาะอาหารที่อยู่ด้านบน จะถูกมดลูกดัน ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ เข้าไปในหลอดอาหาร เกิดการระคายเคืองหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ เหมือนโรคกระเพาะ แต่มาเกิดที่ยอดอกแทน การแก้ไข โดยรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยๆ งดอาหารที่มีไขมัน พวกของทอดและอาหารรสจัด อาจจะดื่มนมพร่องมันเนย ซึ่งจะช่วยลดอาการได้บ้าง ถ้ายังมีอาการอยู่ ควรรับประทานยาลดกรด ก่อนนอน ซึ่งยานี้ควรได้รับการสั่งจากสูติแพทย์ ไม่ควรหาซื้อกินเองตามร้ายขายยานะคะ
ท้องผูก
อาการท้องผูกเกิดจาก ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว บีบตัวน้อยลง คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีกากสูง เช่น ผัก ข้าวซ้อมมือ ผลไม้ เม็ดแมงลัก และลูกพรุน ที่สำคัญควรออกกำลังกาย อาจจะออกด้วยการเดินก็จะดีมาก
ริดสิดวงทวาร
ริดสีดวงทวาร คือ หลอดเลือดที่โป่งเหมือนเส้นเลือดขอด แต่เกิดบริเวณทวารหนัก ซึ่งจะเป็นมากขึ้น เมื่อท้องผูก ต้องเบ่งอุจจาระนาน ถ้าเจ็บมากควรนั่งแช่น้ำอุ่น หรือ นั่งบนหมอนนิ่มๆ และถ้าทนเจ็บไม่ไหว ก็อาจปรึกษากับสูติแพทย์เพื่อรับยาเหน็บมาเหน็บ
ปวดหลัง
เมื่อท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น คุณมักจะต้องแอ่นหลัง ทำให้ปวดกล้ามเนื้อหลัง พยายามเดินตัวตรง ศีรษะตรง และหดท้องเข้ามา ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย ถ้าคุณต้องยกของหนัก หรืออุ้มลูกคนก่อน ควรย่อเข่าลง อย่าก้มลงไปหยิบ หรืออุ้ม จะทำให้ปวดหลังมากขึ้น
ตะคริว
เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่มักเป็นตะคริวตอนกลางคืน เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่น่อง ถ้าคุณแม่ดื่มนม หรือรับประทานโยเกิร์ต ตามที่แนะนำข้างต้น แล้วอาการตะคริวก็จะเป็นน้อยลง หรือไม่เป็นเลย
ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28
เมื่อตั้งครรภ์ครบ 6 เดือน คุณแม่จะรู้สึกว่า ลูกดิ้นแถวสะดือ หรือไม่ก็ต่ำแถวกระเพาะปัสสาวะ และอาจรู้สึกเจ็บแปล๊บๆ แถวหน้าท้องด้านล่าง ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะกล้ามเนื้อมดลูกของคุณแม่ถูกยืด หัวลูกจะลอยสูงเหนืออุ้งเชิงกราน คุณแม่อาจจะอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะถูกมดลูกกด อาการจะเป็นในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆทุเลาลงไปตามลำดับ
คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้น ผิวหนังบริเวณเต้านม หน้าท้อง และต้นขาจะถูกยืดมาก ระวังอย่าเกานะคะ ควรทาโลชั่น หรือครีมเอาไว้ เพื่อช่วยให้ผิวหนังกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังคลอด การดูแลเต้านมก็ให้ใส่ nursing bra เอาไว้ อย่าใช้สบู่ฟอก หรือทาครีมที่หัวนม เพราะอาจทำให้หัวนมแตกได้
ทารกอายุในครรภ์ 6 เดือน จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะนี้มีน้ำหนักตัวประมาณ 450-680 กรัม และลำตัวยาวประมาณ 27-35 ซ.ม. ผิวหนังจะละเอียด มีขนอ่อนขึ้น เรียกว่า lanugo hair และมีสารไขมันเคลือบที่ผิว เรียกว่า vernix อยู่ทั่วตัวและศีรษะ ลูกน้อยของคุณลืมตา และหลับตาได้ หูพัฒนาเต็มที่ จนสามารถได้ยินเสียงต่างๆ แม้ว่าจะอยู่ในท้องแม่ ลายนิ้วมือและเท้าจะปรากฎชัดเจนแล้วในระยะนี้
ในช่วงเดือนที่ 6 นี้ คุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกมากๆ เปิดเพลงที่แม่ชอบ เพื่อลูกจะได้ฟังไปด้วย
คุณแม่ชอบฝัน
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน มักชอบฝันเรื่องต่างๆ ฝันถึงเรื่องลูกว่าเป็นเพศอะไร ฝันว่าได้ไปทำอะไรๆมา หลงลืม ความฝันอาจถูกแปลได้ต่างๆนาๆ ตามความเชื่อ ถ้าคนรอบข้าง ผู้ใหญ่ หรือหมอดู ทำนายฝันให้คุณ ก็ฟังเอาไว้สนุกๆนะคะ อย่าไปเป็นจริงเป็นจังมากนัก ความฝันก็คือความฝัน
ขนอ่อน หรือที่เรียกว่า lanugo hair เป็นขนที่ละเอียด ขึ้นตามตัวเด็ก และสารเคลือบที่ผิว ที่เรียกว่า vernix
ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32
เมื่อเข้าเดือนที่ 7 นับเป็นช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
คุณแม่จะอุ้ยอ้ายมากขึ้น เดินแบบเป็ด อึดอัด ถ่ายไม่สะดวก มีริดสีดวงทวารเกิดขึ้น และยังรู้สึกเจ็บท้องเป็นบางครั้ง เป็นการเจ็บเตือน ที่เรียกทางภาษาแพทย์ว่า Braxton-Hicks contraction บางคนมีอาการคัดจมูก ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมน ที่หลั่งในกระบวนการตั้งครรภ์ค่ะ ไม่ได้เกิดจากเป็นหวัดแต่อย่างใด
เมื่อจวนครบกำหนดคลอด หรือไตรมาสสุดท้ายนี้ คุณแม่อาจจะเกิดอารมณ์วิตกกังวลไปต่างๆนาๆ ว่าการคลอดจะเจ็บไหม การเป็นแม่นี้จะเป็นอย่างไร ลูกที่ออกมาจะครบ 32 หรือไม่ ให้สงสัยหวาดหวั่นไปต่างๆ ซึ่งคุณแม่ควรจะพูดคุยกับผู้ใหญ่ หรือสามี ถึงเรื่องกังวลใจของคุณ สามีซึ่งจะเป็นคุณพ่อในอนาคตอันใกล้นี้ ควรพูดให้กำลังใจ ช่วยดูแลคุณแม่ และช่วยกันศึกษาหาความรู้ ให้ลูกเกิดมาปลอดภัย และแข็งแรง
ทารกในครรภ์ จะตัวใหญ่ ดิ้น แตะ ยืดตัว จนบางครั้งเห็นเป็นก้อนนูนแหลม เคลื่อนไหวที่หน้าท้องแม่ ลูกจะดูดนิ้ว ลืมตา หลับตา บางครั้งอาจจะนั่งไขว่ห้าง ดูดนิ้วด้วย กระดูกของลูกจะแข็งแกร่งขึ้น ผิวหนังสีชมพู แต่ยังเหี่ยวย่น เพราะว่ามีไขมันใต้ผิวหนังน้อย
หนูน้อย 7 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1140-1360 กรัม และจะยาวประมาณ 37.5 ซ.ม.
เข้าไตรมาสที่ 3
เดือนที่ 7 นี้ ถือว่าเป็นการเริ่มเข้าสู่การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 ตอนเช้าตื่นขึ้นมาก็สดชื่นดี แต่พอหลังอาหารกลางวันก็เหนื่อยหมดแรง อยากนอน สำหรับคุณแม่ทำงานออฟฟิศ ก็ลำบากหน่อย หาที่เอนหลังไม่ค่อยได้ เหนื่อยนักจะลาพักก็กลัวจะเสียงาน ว้าวุ่นพอสมควร
ช่วงนี้ข้อเท้าจะบวมใหญ่ขึ้น ขาจะล้า อย่าเพิ่งเบื่อตัวเองนะคะ คุณแม่ที่นั่งโต๊ะทำงาน ก็หาม้านั่งเตี้ยๆ มาวางเอาไว้ใต้โต๊ะ วางเท้าบนม้านั่ง ยกเท้าให้สูงเอาไว้ อาการบวมที่ข้อเท้าจะทุเลาลงค่ะ ถ้าอยู่บ้านก็นั่งเก้าอี้โยก โยกช้าๆ เป็นการออกกำลังกายข้อเท้า และขาได้ดีพอสมควร
ถ้าคุณแม่ต้องนั่งรถ หรือเดินทางไกลๆ นานๆ ควรหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ยืดแข้งยืดขา เป็นระยะๆ ถ้าทำได้นะคะ
ทารกในครรภ์ในวัย 7 เดือน จะมีอวัยวะครบทุกส่วน นอนขดอยู่ในมดลูกของแม่

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36

เมื่อตั้งท้องได้ 8 เดือน ดูเหมือนว่าท้องจะโตเต็มที่ ยอดของมดลูกดันอยู่ที่ยอดอก แถวลิ้นปี่ คุณอาจรู้สึกหายใจไม่อิ่ม อึดอัด แล้วยังมีปวดหลัง และปวดหน้าท้อง เพราะลูกเติบโตขนาดตัวใหญ่ขึ้น อาการเจ็บท้องเตือนจะเพิ่มความรุนแรง และความถี่ขึ้น เป็นการฝึกบีบตัวคลอดของมดลูก เต้านมก็ฝึกผลิตน้ำนม เห็นได้จากที่หัวน้ำนม ซึมออกมาจากเต้านมทางหัวนม ท้องที่โตมากในระยะนี้ เป็นอุปสรรคต่อท่าการนอนของคุณแม่ คุณแม่จะหาท่าที่สามารถนอนได้สบายได้ยาก ทนอีกสักหน่อย ลูกของคุณเกือบพร้อมที่จะออกมาชมโลกแล้ว ถ้าอึดอัดมากก็ลองนอนตะแคง ขาข้างหนึ่งทับซ้อนอีกข้างหนึ่งดูซิคะ อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ถ้ายังไม่ดี อาจจะใช้หมอนสอดระหว่างขา จะทำให้สบาย และยังช่วยลดอาการบวมที่ข้อเท้าและเท้าได้อีกด้วย
ทารกที่สมบูรณ์ จะเคลื่อนไหว จะแตะแรงขึ้น หน้าท้องโป่ง แหลม จะพอจะเดาได้ว่า เป็นศอก หรือส้นเท้าที่ลูกยกมายันที่หน้าท้องแม่ กระดูกของลูกจะแข็งมากขึ้น กระดูกที่ศีรษะจะแตกต่างจากกระดูกที่อื่นๆ คือ นิ่ม และยืดหยุ่นได้พอสมควร เล็บลูกน้อยจะยาวเกินปลายนิ้ว ทารกเพศชาย จะพบว่าลูกอัณฑะเคลื่อนตัวจากช่องท้องลงมาอยู่ใน ถุงอัณฑะแล้ว ขณะอยู่ในท้อง ทารกอาจจะสะอึกได้ จนแม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวแบบกระตุกๆ
น้ำหนักตัวจะประมาณ 2000-2300 กรัม และลำตัวยาวประมาณ 42-45 ซ.ม.
เตรียมตัวคลอด
คุณแม่มีใจจดจ่อกับลูกน้อย ที่กำลังจะเกิด คุณแม่อาจไปเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การฝึกคลอด จัดเตรียมบ้านเพื่อต้อนรับสมาชิกคนใหม่ การหาคนช่วยเลี้ยงลูก คนที่เป็นเพื่อนและช่วยเหลือหลังคลอด และแม้แต่สถานฝากเลี้ยงลูกเมื่อตอนต้องกลับไปทำงาน ก็ควรเตรียมหาเอาไว้ตั้งแต่ช่วงนี้ เพราะเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วคุณแม่จะยุ่งมาก จนไม่มีเวลา
ปรึกษาสูติแพทย์ ถึงสถานที่ ที่จะคลอด วิธีการคลอด ฝึกหัดหายใจ จังหวะการเบ่ง เอาไว้ ถ้าคุณต้องการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ที่สำคัญ อย่าลืมเตรียมเต้านม เพื่อให้นมลูก
การออกกำลังกายด้วยการเดิน จะทำให้คุณคลอดง่ายขึ้น เพราะกล้ามเนื้อได้ออกกำลัง ทำให้มีแรงเบ่งคลอดค่ะ
ในทารกอายุ 8 เดือน จะเห็นได้ว่า มีผมขึ้นแล้ว ปอดของเด็กในช่วงนี้ จะเจริญเต็มที่

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 37-40 เมื่อครบ 9 เดือน ศีรษะของลูกจะเคลื่อนเข้ามาในอุ้งเชิงกราน ความสูงของยอดมดลูกจะลดลง ที่เรียกกันว่า “ท้องลด” คุณแม่อาจรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ด เกิดเพราะ ศีรษะลูกเคลื่อนมากดกระเพาะปัสสาวะของแม่ แต่คุณอาจรู้สึกหายใจสะดวกขึ้น เนื่องจากมดลูกเคลื่อนตัวลงมา ทำให้ดันกระบังลมและปอดน้อยลง ปากมดลูกเข้าสู่การเตรียมตัวเปิดขยาย สำหรับให้ทารกผ่านออกมา
เมื่อมดลูกมีการบีบตัว ปากมดลูกจะเริ่มนิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมดลูกบีบตัวแรง และถี่ คุณแม่จะรู้สึกเจ็บร้าวไปที่ท้องและหลัง อาการเจ็บท้องจะเกิดขึ้นบ่อยจนคุณรู้สึกเครียด เหนื่อย ช่วงก่อนคลอดเดือนสุดท้ายนี้ คุณหมอจะนัดตรวจ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนถึงกำหนดวันคลอด คุณแม่ควรเตรียมของใช้ สำหรับนำไปใช้ที่โรงพยาบาลเวลาคลอด ใส่กระเป๋าเอาไว้ จะได้หยิบฉวยได้ทันที บุคคลรอบข้าง สามีควรให้กำลังใจ ช่วยให้คุณคลอดลูกอย่างปลอดภัย
และแล้วลูกในท้อง ก็พร้อมที่จะออกมา เผชิญกับโลกภายนอก เสียที เขาจะเติบโตเต็มที่ ผิวหนังเรียบเนียน กระดูกศีรษะนิ่ม และยืดหยุ่น เพื่อที่จะปรับขนาด ให้ลอดช่องเชิงกรานของแม่ เขาจะนอนอยู่ในท่างอตัว เข่าชิดคางและจมูก ต้นขาพับมาบนหน้าท้อง เมื่อถูกมดลูกบีบตัว เป็นแรงผลักให้ลูกค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ช่องเชิงกราน หัวโผล่นำออกมาก่อน แล้วไหล่จะถูกคลอดตามออกมาจนหมดตัว ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500-3000 กรัม และยาวประมาณ 50 ซ.ม.

การเจ็บท้องและการคลอด การเจ็บครรภ์และการคลอด จะแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะที่หนึ่ง
จะเป็นช่วงที่คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้น จะพบท้องแข็งเกร็งเป็นก้อนนูนขึ้นมา เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ ระยะนี้จะกินเวลานาน 8-10 ชั่วโมงในท้องแรก และ 6-8 ชั่งโมงในท้องหลัง การผ่านช่วงเวลานี้จะสำเร็จได้ด้วยดี หากมีการอบรมเรื่องการคลอดมาก่อน ร่วมกับการพยายามผ่อนคลาย สงบใจ และปล่อยตัวตามสบาย
เมื่อ คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด มีมูกเลือดหรือน้ำเดิน ซึ่งเป็นอาการนำมาโรงพยาบาล เมื่อมาถึงห้องคลอด เจ้าหน้าที่จะถามรายละเอียดของการเจ็บครรภ์ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ถี่บ่อยแค่ไหน มีมูกเลือดจากช่องคลอดหรือน้ำเดินหรือไม่ จากนั้นจะมีแพทย์ถามประวัติซ้ำพร้อมตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ อุณหภูมิ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจหน้าท้องและตรวจภายในว่าปากมดลูกเปิดมากแค่ไหนแล้ว จากนั้นจะตรวจปัสสาวะเพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากพบว่าปากมดลูกเปิดไม่มาก จะทำการสวนอุจจาระ แล้วย้ายเข้ารอคลอดในห้องรอคลอด
ห้อง รอคลอด จะมีพยาบาลและแพทย์ มาตรวจการหดรัดตัวของมดลูก และตรวจภายในเป็นระยะ เพื่อดูความก้าวหน้าของการคลอด การคลอดจะเข้าสู่ระยะที่สอง เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ หรือปกติประมาณ 10 เซนติเมตร ในระยะนี้คุณแม่มักจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำงดอาหาร และได้รับน้ำเกลือเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบในการผ่าคลอด และภาวะฉุกเฉินในการสตั้งครรภ์ต่างๆ สำหรับอาการเจ็บครรภ์ในระยะนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึกวิธีต่างๆ หรือใช้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
ระยะที่สอง
เป็น ระยะที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่และจะมีการคลอดของทารกจนเสร็จสิ้น ในระยะนี้คุณแม่จะได้รับการย้ายเข้าสู้ห้องคลอด และนอนอยู่ในท่าเตรียมคลอด ซึ่งจะอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะยกสูง หรือขึ้นขาหยั่ง จากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการคลอดทารกคือ แรงเบ่งของคุณแม่ การเรียนรู้และได้รับการอบรมเรื่องการเบ่งคลอด จะช่วยให้คุณแม่ออกแรงเบ่งตลอดได้ถูกวิธี โดยเมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอด มดลูกเริ่มหดรัดตัว คุณแม่ควรหายใจเข้าลึก กลั้น และเบ่งยาว เมื่อหมดแรงเบ่งสูดหายใจเข้าลึก กลั่น และเบ่งยาวซ้ำ ในการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้งควรเบ่งยาวได้ 2-3 ครั้ง ขณะที่คุณแม่เบ่ง พยาบาลจะช่วยให้กำลังใจ ให้จังหวะ และเชียร์เบ่ง การเบ่งคลอดที่ถูกต้องจะทำให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาอย่างเหมาะสม เมื่อทารกเคลื่อนตัวลงมาที่ปากช่องคลอด แพทย์จะช่วยทำคลอดโดยฉีดยาชาระงับความรู้สึกบริเวณฝีเย็บ และอาจพิจารณาตัดฝีเย็บ เพื่อช่วยเหลือกลไกการคลอด หลังจากนั้น แพทย์จะทำคลอดทารก
เมื่อ ทารกคลอด แพทย์จะทำการดูดน้ำคร่ำในปาก และจมูกของทารกโดยใช้ลูกยางแดง เพื่อเป็นการกระตุ้นทารกและช่วยให้ทารกเริ่มหายใจ จากนั้น จะเช็ดตัวทารกให้แห้ง ห่มผ้าให้อบอุ่น และอาจพิจารณานำทารกมาวางไว้บนหน้าอกคุณแม่ เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก และให้ทารกดูดนมเพื่อกระตุ้นกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม ขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะพิจารณาทำคลอดรกซึ่งจะเป็นการคลอดในระยะที่สาม ระยะที่สองนี้โดยปกติในท้องแรกจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ส่วนในท้องหลังจะใช้เวลา ? -1 ชั่วโมง
ระยะที่สาม
เป็น ระยะที่จะเกิดการคลอดของรก หลังทารกคลอดปกติรกจะเริ่มลอกตัว เมื่อรกลอกตัวแล้วแพทย์จะพิจารณาทำคลอดรก โดยอาจจะทำการกดบริเวณหน้าท้องหรือท้องน้อยของคุณแม่ เพื่อดันไล่รกลงมาที่ช่องคลอด และช่วยทำคลอดรก หลังคลอดรก แพทย์จะทำการตรวจสอบหาบาดแผลในช่องทางคลอด และพิจารณาเย็บซ่อมแซมโดยใช้ยาระงับความรู้สึก โดยมากระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
หลัง จากระยะนี้แล้ว คุณแม่จะพักอยู่ในห้องคลอดต่อไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะได้รับการย้ายเข้าสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด ซึ่งในระยะนี้คุณแม่มักจะหลับ เนื่องจากการเหนื่อยและอ่อนเพลียจากการคลอด การพักผ่อนในโรงพยาบาลมักใช้เวลาเพียง 1 วันหลังคลอดในกรณีที่คลอดปกติทางช่องคลอด จากนั้น แพทย์มักอนุญาตให้คุณแม่และทารกกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้
การเตรียมพร้อมก่อนคลอด
เมื่อ คุณแม่ตั้งครรภ์ราว 8 เดือน ควรตรวจดูว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารกน้อยแล้วหรือยัง คุณจะพบกับเหตุการณ์อะไรบ้างเมื่อเข้าห้องคลอด และควรเตรียมของใช้อะไรที่จำเป็นสำหรับการนอนโรงพยาบาล และของใช้สำหรับการดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด
กระเป๋าเตรียมคลอด
ควรจัดเตรียมพร้อม เพื่อสามารถหยิบฉวยได้ทันที เมื่อต้องการอย่างเร่งด่วน สิ่งของที่ควรเตรียมมีดังนี้
  • ชุดที่จะใส่หลังคลอดกลับบ้าน 1 ชุด
  • ผ้าเช็ดตัวสีเข้ม และผ้าขนหนูเช็ดหน้า 2 ผืน
  • สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน
  • ผ้าอนามัยแบบห่วง
  • หนังสืออ่านเล่น, นิตยสาร, วิทยุเล็กๆ
  • เบอร์โทรศัพท์ของญาติพี่น้อง และเพื่อน
  • ของใช้สำหรับทารก ผ้าอ้อม 2 ผืน เข็มกลัดซ่อนปลาย (หรืออาจใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) เสื้อชุดหมีหรือเสื่อชุดนอน ผ้าขนหนูผืนใหญ่
  • นอกจากนี้อาจเตรียมยกทรง สำหรับให้นมทารก 2-3 ตัว
การเจ็บครรภ์และการคลอด
ในที่สุด การเจ็บครรภ์ และการคลอดก็มาถึง คุณแม่อาจจะรู้สึกหวาดกลัว ตื่นเต้น เพราะจะเป็นช่วงที่มี การเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งหลังจากนั้นจะได้พบกับ ทารกตัวน้อย การผจญกับ การเจ็บครรภ์จะผ่านไปได้ ถ้าคุณแม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน และเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในระยะต่างๆ ของการคลอด การให้กำเนิดลูกน้อย เป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ยิ่งคุณแม่สงบใจ และผ่อนคลายได้มากเท่าไร ก็จะสามารถซึมซับความประทับใจ และผ่านประสบการณ์ ครั้งนี้ได้อย่างน่าจดจำ
การคลอดทางหน้าท้อง
การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอด ทางการแพทย์เรียก ซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section) จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้ เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่า และเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้อง จึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้ และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัด แต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัด ทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอด ก็จะลดความวิตกกังวลลงได้
ในตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอด เริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ ให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะ ย้ายเข้าห้องผ่าตัด เตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบ หรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลัง ซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารก และอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้
การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์ โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วย หลังได้รับยาระงับความรู้สึก แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ ? -1 ชั่วโมง แผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือ แผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าว กับแผลตามขวางหรือแผลบิกินี ซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อย สำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอด และไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหม
การเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ ลักษณะของแผลผ่าตัด แรงตึงของแผล และลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคน ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจ ในเรื่องความปลอดภัย และระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็น หลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว จะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด ปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน 5-7 วันหลังคลอด
บทความโดย น.พ. ภาวิน พัวพรพงษ์

แพ้ท้องทำอย่างไร อาการแพ้ท้อง
มักเป็นกันมากในหญิงมีครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก ซึ่งมักจะเป็นในช่วง ๓ เดือนแรก ด้วยความเป็นกังวลที่ทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย แปรปรวนและหงุดหงิดค่อนข้างง่าย หากผู้ใดที่อยู่ใกล้ไม่มีความเข้าใจมักเกิดความรำคาญหรือว่ากล่าวอันเป็นเหตุให้คุณแม่มือใหม่เกิดอาการเครียดขึ้นมาได้

อาการต่างๆ ที่เป็นกันมากมักมีดังนี้ คลื่นไส้อาเจียนตอนเช้าๆ หรือตอนกลางวัน อ่อนเพลียหรือเบื่ออาหาร ร่างกายซูบซีดอิดโรย ตัวดำ หรือเหลืองซีด น้ำหนักตัวลด อาการนี้สามีอาจมีอาการร่วมด้วย ที่เราเรียกว่า แพ้ท้องแทนเมีย นั่นเอง ซึ่งถ้าปล่อยให้อาการเหล่านี้เป็นมากเป็นบ่อย อาจส่งผลกระทบถึงทารกที่กำลังจะคลอดออกมาตัวอาจเล็กลง และเป็นโรคขาดสารอาหารได้ หรืออาจจะคลอดออกมาก่อนกำหนด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเจียนคลื่นไส้มากคือ ร่างกายแม่รับทานอาหารน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายรับสารอาหารได้ไม่เพียงพอ ปฏิกิริยาต่างๆ ที่กล่าวมาจึงเกิดขึ้นได้

คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ สำหรับสตรีมีครรภ์ดังนี้

๑. พยายามอย่าให้ท้องว่าง โดยทานอาหารอยู่เสมอแต่ทานทีละน้อยๆ แต่บ่อยๆ หรือมีลูกอมเปรี้ยวหวานไว้ติดตัวเสมอ
๒. ตอนเช้าควรดื่มน้ำนมอุ่นๆ หรือน้ำสุกอุ่นๆ เสมอ
๓. ให้ระมัดระวังควบคุมอารมณ์อย่าให้ฟุ้งซ่าน จะเรียกว่า "เอาธรรมะเข้าข่ม" ก็ได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ในท้องของเรายังมีอีกชีวิตหนึ่งสามารถรับรู้ทุกสิ่งอย่างที่แม่ของเขาได้รับเสมอ
๔. ละลายยาหอมสำหรับสตรีมีครรภ์ให้กินเพื่อแก้อาเจียน หรือกินวิตามินบำรุงจำพวกวิตามินรวม วิตามินบี ๑๒ และบี ๑ แต่ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์นะครับอันนี้
๕. ยาสมุนไพรบำรุงครรภ์ นอกจากยาหอมแล้ว ถ้าอาเจียน ให้ใช้ลูกยอเผาไฟให้สุก (แต่อย่าให้เป็นถ่าน) เอาแช่น้ำให้น้ำออกสีเหลืองๆ เอาเป็นน้ำกระสายละลายยาหอมได้ หรือใช้ดอกบัวหลวงผสมน้ำมะพร้าวอ่อนต้มเพื่อบำรุงครรภ์ได้ หรืออาจจะกินแต่น้ำมะพร้าวอ่อนก็ได้เช่นกัน

คุณแม่มากกว่าครึ่งจะมีอาการแพ้ท้อง บางคนแพ้มาก บางคนแพ้น้อย คนที่แพ้น้อยๆ อาจมีแค่เหม็นอาหารนิดหน่อยวิงเวียนคลื่นไส้เล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับอาเจียน ส่วนคนที่เป็นมากบางทีแทบต้องนอนกอดชักโครก โงหัวขึ้นมาทีไรต้องอาเจียนทุกทีบางคนก็เกิดอาการเหม็นน้ำลายตัวเอง กลืนน้ำลายไม่ได้เลย ไปไหนก็ต้องถือถุง ต้องบ้วนน้ำลายอยู่ตลอดเวลา น้ำลายของตัวเองแท้ๆ แต่ทำไมดันกลืนไม่ลง

อาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์นะครับ ช่วงแรกหลอกให้ดีใจไปก่อน จะมาเริ่มแพ้เมื่อประจำเดือนขาดหายประมาณ ๒ สัปดาห์ หรือถ้านับแบบหมอซึ่งเริ่มเมื่อประจำเดือนมาวันแรก ก็จะเริ่มแพ้เมื่ออายุครรภ์ ๖ สัปดาห์ แล้วแพ้หนักขึ้นเรื่อยๆ ไปหนักสุดในช่วงสัปดาห์ ๙ หลังจากนั้นจะเริ่มดีวันดีคืนจนหายแพ้ตอนอายุครรภ์ ๑๔ สัปดาห์ แต่ก็มีคุณแม่บางคนนะคะที่แพ้ท้องนิดๆ หน่อยๆ ไปจนคลอด

การดูแลตัวกรณีที่อาการไม่มาก

- กินอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง
- งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูง กินอาหารที่มีแป้งสูง
- ให้กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ
- ให้กินอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
- เลือกกินอาหารที่มีรสดี
- อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
- หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ
- งดดื่มน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างกินนอาหาร
- ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ อันนี้มีผลงานการวิจัยของฝรั่ง
- ถ้ามีอาการมากน้ำหนักตัวลดมาก แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน

ข้อมูลทั้งหมดที่ เล่า รวบรวม เรียบเรียงมาให้ได้อ่านกัน น่าจะมีประโยชน์ มากกว่าในการใช้สังเกต ตัวเอง หรือคนรอบข้างที่คุณรัก นะคะ ดีกว่าจะไป สังเกต คนอื่น ซึ่งไม่ใช่เรื่องของเรา

ให้มองการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องของธรรมชาติ และเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล น่าจะเป็นเรื่องที่ดี เป็นมงคลกว่า การวิพากษ์วิจารณ์ ผู้อื่นในทางเสียหายนะค่ะ

ที่มา : หมอชาวบ้าน