* ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้จากที่นี่ *
การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก
การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก
ในกรณีที่เจ้าของอาวุธปืนซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว
ถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้ทายาทของผู้ตาย หรือ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน หรือใบอนุญาตให้มี หรือใช้อาวุธปืนของผู้ตาย ไปแจ้งการตาย ของเจ้าของปืนให้นายทะเบียนทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่รู้ถึงการตาย ของผู้ตาย ถ้าไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท สำหรับนายทะเบียนที่จะไปแจ้งการตายดังกล่าวได้ ได้แก่ ๑) นายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น ๒) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ ๓) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้แจ้งการตายมีภูมิลำเนาอยู่ เมื่อได้แจ้งการตายต่อนายทะเบียนแล้ว ให้ทายาทผู้ได้รับอาวุธซึ่งเป็น มรดกของผู้ตาย ไปติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๖ เดือน นับแต่วัน ที่ผู้ตาย (เจ้าของปืน)ถึงแก่ความตาย เพื่อขอรับใบอนุญาตใหม่ ทั้งนี้ เพราะ ถึงแม้ว่าทายาทจะได้กรรมสิทธิ์ใบอาวุธปืนนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าเป็นการ มีอาวุธไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ เพื่อขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน(แบบ ป.๔) ซึ่งทางราชการก็จะพิจารณาว่า ทายาทหรือผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะได้จัดการออกใบอนุญาตให้ต่อไป การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน เมื่อเจ้าของอาวุธปืนตาย ให้ผู้ครอบครองอาวุธปืนแจ้งนายทะเบียนท้องที่ ดังต่อไปนี้ - ท้องที่ที่ผู้นั้นตาย หรือ - ท้องที่ที่อาวุธปืน ขึ้นทะเบียนอยู่ หรือ - ท้องที่ที่ผู้ครอบครองอยู่ ขั้นตอนการขอรับโอนมรดกอาวุธปืน 1. ถ้ามีพินัยกรรมให้ดำเนินการตามพินัยกรรม ถ้ามีผู้จัดการมรดกให้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่มีผู้จัดการ หากไม่มี ให้สอบปากคำทายาท และให้ได้สาระสำคัญว่าไม่มีทายาทผู้อื่นคัดค้าน จึงจะดำเนินการต่อไปได้ เว้นมีการโต้เถียง ให้รอไว้จนคดีถึงที่สุด 2. ทายาท ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 ขอรับโอนมรดกอาวุธปืน 3. เรียก ป.4 เก่าคืน ออกใบ ป.4 ให้ใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนอาวุธปืน | ||||||||||||||
ถ้าคุณพ่อยังมีชีวิตอยู่ ต้องไปขอ ใบ ป.3 ก่อน กรุงเทพขอได้ที่ กองทะเบียนอาวุธปืน กรมการปกครอง หรือที่เรียกกันว่าวังไชยา โทรถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ 022811224 ส่วนต่างจังหวัดติดต่อได้ที่นายทะเบียนฝ่ายปกครอง ของอำเภอนั้นๆ
ผู้ที่ขอต้องมีคุณสมบัติดังนี้
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
หลักการพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
การพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวและทรัพย์สิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้.
การพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวและทรัพย์สิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้.
ข้อ 1 คุณสมบัตติของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืน ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ คือ
(1) บุคคลซื่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดตามระมวลกฏหมายอาญาดังต่อไปนี้.
ก. มาตรา 57 ถึงมาตรา111 มาตรา 120 มาตรา 177 ถึงมาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือ
มาตรา 298 ถึงมาตรา 303
ข. มาตรา 254 ถึงมาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันที่ยื่นคำขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็น หรือเพื่อป้องกัน หรือโดยถูกยั่วโทษะ
(2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 7 มาตรา 11 ถึงมาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 29
มาตรา 33 หรือมาตรา38
(3 ) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ในระหว่างห้าปีนับย้อนหลังขึ้นไปจากวันที่ยื่นคำขอสำหรับความผิดอย่างอื่น นอกจากบัญญัติไว้ใน (1)(2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดละหุโทษ
(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้ปืนได้โดยกายพิการ หรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตาม มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
(6) บุคคลซื่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
( บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(10) ภูมิลำเนาของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฏรและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาตไม่น้อยกว่าหกเดือน
ข้อ2 การสอบสวนคุณสมบัติและความจำเป็น ต้องทำการสอบสวนพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่หรือสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 12 และระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 47 บทที่ 3 ข้อ 16 ดังนี้
(1) ผู้ขออนุญาตมีอายุเท่าใด เป็นหัวหน้าครอบครัว หรืออาศัยผู้ใดอยู่
(2) บ้านอยู่ในที่เปลี่ยวหรือไม่ และในบ้านนั้นมีผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนอย่างใดอยู่บ้างแล้วหรือไม่
(3) บ้านที่อยู่เป็นนของผู้รับใบอนุญาตเอง หรือเช่าเขาอยู่
(4) ความประพฤติตามปกติเป็นอย่างไร
(5) เคยต้องโทษทางอาญาอย่างใดบ้างหรือไม่
(6) เกี่ยวข้องกับพวกคนพาลหรือพวกนักเลงหรือไม่
(7) มีหลักทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง ประมาณราคามากน้อยเท่าใด
(8) ประกอบอาชีพทางใด
(9) การขอมีอาวุธปืน เพื่อประโยชน์อย่างใด
(10) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเงิน หรือทรัพย์สมบัติเป็นพิเศษอย่างใด
(11) เคยถูกประทุษร้ายต่อทรัพย์และร่างกาย หรือถูกขู่เข็ญว่าจะทำร้ายอย่างใดบ้างหรือไม่
(12) เป็นคนมีสติไม่ปกติเป็นบางครั้งคราวหรือไม่
(13) เป็นคนมีนิสัยฉุนเฉียว หรือเกะกะระรานเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือผู้อื่นบ้างหรือไม่
(14) เคยได้รับอนุญาตมีอาวุธปืนมาแล้วหรือเปล่า ถ้าเคยมีแล้ว เหตุใดจึงบขออนุญาตอีก
(15) เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ใกล้ชิด เช่น สารวัตรตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร หัวหน้าสถานี กำนันผู้ใหญ่บ้านเห็นสมควรอนุญาตหรือไม่
(16) ถ้าเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องสอบให้ทราบว่า
ก.มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใด
ข.พูดภาษาไทยได้หรือไม่
ค. มีครอบครัวเป็นคนต่างด้าวหรือคนไทยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่
ง. เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ลัทธิใดลัทธิหนึ่ง อันเป็นภัยต่อประเทศหรือไม่
(17) ถ้าเป็นการขอรับมรดก ต้องสอบให้ได้ความว่าได้มีทายาทคนใดคัดค้านการขอรับโอนบ้างหรือไม่ หากมีการคัดค้านก็ให้ระงับการออกใบอนุญาตไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ 3 การสอบสวนผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน เพื่อให้นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตได้พิจารณากลั่นกรองที่จะอนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนได้ถูกต้อง ให้ดำเนินการดังนี้
ก. ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้นายทะเบียนส่งเรื่องให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ดำเนินการดังนี้
(1) พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขออนุญาตเพื่อตรวจสอบประวัติประกอบการพิจารณาด้วย เว้นแต่ผู้ขอเป็นข้าราชการประจำการไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบ
(2) ทำการสอบสวนคุณสมบัติและเหตุผลความจำเป็น รายงานเสนอถึงผู้กำกับการตำรวจนครบาล เพื่อพิจารณาแล้วส่งเรื่องไปยังนายทะเบียนฯดำเนินการต่อไป
การสอบสวนคุณสมบัติ และเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสารวัตรใหญ่ หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่หรือผู้รักษาการแทนที่จะต้องดำเนินการโดยรอบคอบและตรงต่อความเป็นจริง
ข. ในจังหวัดอื่นให้ถือปฏิบัติตามความคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. 2490 และคำสั่งที่ 759/2494 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ 2490 และคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 798/2501 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายนน 2501 เรื่องการอนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำจังหวัด และนายอำเภอ
เป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำอำเภอ การสอบสวนผู้ขออนุญาตให้มีอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน ก่อนที่จะพิจารณาอนุญาตตามความในข้อ 2 ด้วย
ข้อ4 ชนิดและขนาดอาวุธปืน ซึ่งจะอนุญาตให้พิจารณาถึงฐานะ และความจำเป็นของผู้อนุญาตเป็นราย ๆ ไป โดยระลึกว่าการอนุญาตให้เอกชนมีอาวุธปืนนั้นเป็นการอนุญาตตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ 2490
มาตรา 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีไว้เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬา หรือในการยิงสัตว์
การพิจารณาอนุญาตดังกล่าวข้างต้นนี้ มีหลักเกณฑ์ในการอนุญาตสำหรับชนิดและขนาดอาวุธปืนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 13 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0515/13548 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2515 ที่ 0313/ว8583 ลงวันที่ 25 กรกฏาคม 2517 และที่ 0515/ว686 ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2517 ดังนี้
ก. ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือมีหน้าที่ ปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป รับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้ หรือผู้ขออนุญาตเพื่อการกีฬาโดยมีหนังสือรับรองเป็นนักกีฬายิงปืน และมาฝึกซ้อมยิงปืนเป็นประจำจากเลขาธิการ
สมาคมยิงปืน หรือนายสนามยิงปืนนั้น ๆ ในการพิจารณาอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกให้อนุญาตขนาดลำกล้องไม่เกิน .45 หรือ 11 มม.ได้
ข.สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องมีอาวุธปืนพก อนุญาตให้มีได้ลำกล้องไม่เกินขนาด .38 หรือ 9 มม. สำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดกับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฏกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้ออื่น ๆ ด้วย
สำหรับอาวุธปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงแม้ขนาดลำกล้องไม่เกิน .38 หรือ 9 มม. เช่นอาวุธปืนขนาด .357 ก็ไม่ควรอนุญาตเว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการตำรวจ ทหารหรือข้าราชการอื่นซึ่มีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือเป็นข้าราชการในท้องที่กันดาร และผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปรับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้ก็ให้พิจารณาอนุญาตได้ สำหรับในต่างจังหวัดให้นายทะเบียนฯ เสนอขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
ข้อ 5 การอนุญาตให้มีอาวุธปืน ตามปกติควรมีได้เพียงคนละ 2 กระบอก คือ สั้นและยาว แต่ในการพิจารณาอนุญาตมากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคล และควรเข้มงวดกวดขันอย่าให้มีมากเกินความจำเป็นไม่ซ้ำขนาดกันให้วงเล็บวัตถุประสงค์มีและใช้อาวุธปืนในใบอนุญาต (ป.4) ให้ชัดเจน
ข้อ 6 การพิจารณาอนุญาตสำหรับข้าราชการ ตำรวจ ทหารประจำการ ให้มีอาวุธปืนให้ถือปฏิบัติดังนี้
ก. ข้าราชการตั้งแต่สัญญาบัตรขึ้นไป ไม่ต้องดำเนินการตามข้อ 3 แต่ต้องให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าหรือผู้กำกับการตำรวจ หรือผู้บังคับกองพันทหารรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข. ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ต้องสอบสวนตามข้อ 3 เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่สืบสวนและปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นประจำ หรือมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต หรือมีหน้าที่ควบคุมเงิน ไม่ต้องสอบสวนแต่ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ ก.
ข้อ 7 การขอรับโอนอาวุธปืน
ก.การรับโอนอาวุธปืนระหว่างบุคคลทั่วไป พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
ข. การรับโอนปืนมรดก ถ้าผู้รับโอนมีคุณสมบัติครบถ้วน และเป็นทายาทโดยตรงต้องการรับโอนไว้ก็อนุญาตได้
ข้อ 8 นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ซึ่งทางการนับเวลาการศึกษานั้นเป็นวันรับราชการ เช่น นักเรียนนายร้อย นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ ควรมีสิทธิได้รับอนุมัติให้มีอาวุธปืนได้ แต่ควรพิจารณาให้เฉพาะเป็นกีฬา หรือในกรณีรับโอนมรดกซึ่งไม่มีทายาทผู้อื่นที่จะรับโอนไว้ได้ หรือผู้ที่ได้รับปริญญาแล้วยังไม่ประกอบอาชีพแต่กำลังศึกษาต่ออีกควรพิจารณาให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 9 การพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับเครื่องกระสุนปืนของบุคคลนั้น ต้องสอบให้ทราบว่าผู้ขออนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งใช้กับอาวุธปืนที่ขออนุญาตหรือไม่ หากไม่มีห้ามออกใบอนุญาตให้ ถ้ามีและจะขออนุญาตต้องเสนอว่ามีเหตุผลจำเป็นเพียงใดสำหรับอัตราที่จะต้องขออนุญาตให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 759/2494 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2494 ข้อ 14ตามกำหนดและอัตราอย่างสูงต่อไป
(1) กระสุนโดด ปืนยาวทุกชนิด อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามา ได้ไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกิน 50 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดนั้น ๆ
ถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 60 นัด แต่การอนุญาตให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 15 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
(2)กระสุนปืนพกทุกชนิดอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาได้ไม่เกิน 50 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ25 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
ถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักร ให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 36 นัด แต่การขออนุญาตนี้ ให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 12 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
(3) กระสุนลูกซองชนิดต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ขนาด ตามรายการในนบัญชีเทียบขนาดกระสุนต่าง ๆ ต่อไปนี้
ขนาดที่ 1 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 25 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 2 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 200 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 50 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 3 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 300 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 75 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 4 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 400 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 100 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
แต่ทั้งนี้ขอรวมกันคราวเดียวทุกขนาดให้อนุญาตไม่เกินปีละ 1,000 นัด แต่การอนุญาตนี้จะอนุญาตไม่เกินคราวละ 250 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
จำนวนที่กำหนดนี้เป็นอันตรายอย่างสูงที่จะอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ส่วนการขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 500 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 25 นัด เฉพาะกระสุนปืนลูกซองตามบัญชีเทียบขนาดที่ 1 กรมตำรวจได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกระสุนปืนที่โดยปกติใช้ล่าสัตว์ใหญ่ จึงให้อนุญาตปีละไม่เกิน 100 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน 10 นัด ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการสงวนพันธ์สัตว์ป่า
(4) กระสุนอัดลมอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้า หรือซื้อภายในราชอาราจักรได้ไม่เกินคราวละ 1,000 สำหรับกระสุนปืนอัดลมชนิดหนึ่ง ๆ
(5) กระสุนลูกกรดทุกชนิดให้อนุญาตสั่งได้ไม่เกินปีละ 100 นัด ถ้าเป็นการซื้อในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 200 นัด แต่ต้องไม่เกินปีละ 1,000 นัด
การอนุญาตกระสุนปืนตามคำสั่งนี้ ได้กำหนดอัตราขึ้นไว้ เพื่อให้เป็นระดับเดียวกันในการอนุญาตตามปกติ แต่ถ้ามี
กรณีซึ่งจะต้องผ่อนผันการออกอนุญาตเป็นพิเศษ เช่น ในกรณีที่คนต่างด้าว หรือข้าราชการสถานฑูตอันมีสัมพันธไมตรีต่อประเทศไทยนำติดตัวเข้ามา ก็ให้พิจารณาผ่อนผันได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายไปแล้วแจ้งให้กรมศุลกากรทราบ
ถ้าเป็นกรณีซื้อภายในราชอาณาจักร เมื่อได้ผ่อนผันไปแล้วให้รายงานเหตุที่ผ่อนผันให้กระทรวงทราบเฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันข้างต้นต้องเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิคุ้มกัน เช่นเจ้าหน้าทื่องค์การระหว่างประเทศ
ข้อ 10 ในกรณีพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่จะพิจารณาสั่งการ
ข้อ 11 ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ มีความสงสัยพฤติการณ์ไม่นาไว้วางใจว่าผู้รับใบอนุญาตคนใดจะเป็นผู้ต้องห้ามในการออกใบอนุญาตตามาตรา 13 (7)( หรือ(9) ก็ให้พนักงานสอบสวนท้องที่รายงานพฤติการณ์ไปยังนายทะเบียนท้องที่ เพื่อเรียกตัวผู้รับอนุญาตมาทำประกันทัณฑ์บน หรือพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นราย ๆ ไป การทำประกันทัณฑ์บน ให้นายทะเบียนท้องที่เรียกตัวผู้รับอนุญาตมาดำเนินการดังนี้
ก. ให้นำหลักฐาน การประกอบอาชีพ และรายได้มาแสดง
ข. ให้นำหลักฐาน ภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ และบัตรประจำตัวมาแสดง
ค. ให้นำบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรองทำสัญญาประกันและให้ผู้ได้รับอนุญาตทำทัณฑ์บนต่อนายทะเบียนท้องที่ โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันทำประกันทัณฑ์บน ถ้าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวหาประกันที่เชื่อถือไม่ได้ หรือไม่ยอมทำทัณฑ์บนภายในเวลาอันสมควรตามที่นายทะเบียนได้กำนดให้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ให้นายทะเบียนท้องที่เพิกถอนใบอนุญาตทุกรายไป
เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ทำสัญญาประกันทัณฑ์บนแล้ว ให้แจ้งสารวัตรใหญ่หรือ สารวัตรสถานีตำรวจท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อสอดส่องพฤติการณ์ และหากปรากฏว่าผู้ทำสัญญาประกันหรือทัณฑ์บนผิดสัญญาประกัน หรือทัณฑ์บน ก็ให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่ แจ้งให้นายทะเบียนท้องที่ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ 12 การเพิกถอนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่เอาใจใส่ตรวจสอบบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหากสงสัยพฤติการณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาตก็รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป
การสอบสวนคดีอาญา ในคดีความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ให้พนักงานสอบสวน สอบสวนผู้ต้องหาให้ปรากฏ ว่าเป็นผู้ใด้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ หากปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาต ก็ให้รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า และเมื่อผลคดีถึงที่สุดเป็นประการใด ให้รายงานนายทะเบียนทราบ เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้นต่อไป
เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนผู้ใดเป็นผู้จะต้องดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่กรุงเทพมหานคร รายงานพฤติการณ์ข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐาน เสนอขอความเห็นชอบจากกรมตำรวจก่อน หากกรมตำรวจเห็นชอบแล้วให้ทำคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วจัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมกับตำรวจท้องที่ที่ผู้รับอนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ แจ้งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้ความคุมดูแลทราบ เพื่อขอรับอาวุธปืนและใบอนุญาตมีและใช้อาวุธปืนมาดำเนินการต่อไป และให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่นั้น ๆ ลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ไม่สามารถติดตามผู้รับใบอนุญาตได้ หรือไม่มีผู้อนุบาล หรือควบคุมดูแล ให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ประกาศคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไว้ ณ ที่ทำการของนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ และที่อยู่ของผู้ได้รับอนุญาต ภายในกำหนด 30 วัน เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ แจ้งสถานีตำรวจดำเนินคดีกับผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป ในกรณีที่ย้ายทะเบียนอาวุธปืน ผู้สั่งเพิกถอนแจ้งให้นายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตทราบเพื่อ
หมายเหตุในทะเบียนคุมต่อไป
ข้อ 13 หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต ให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนนี้เป็นหลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับใช้เป็นแนวทางพิจารณาของนายทะเบียนอาวุธปืนเท่านั้น หากรายใดนายทะเบียนมีเหตุผลอันสมควรว่าผู้ขอมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม หรือมีเหตุผลความจำเป็นไม่เพียงพอ แม้จะเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ
อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ก็ตาม นายทะเบียนจะไม่อนุญาตก็ได้มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
1. ยื่นคำขอ ตามแบบ ป.1 ระบุ ชนิด ประเภท จำนวน พร้อมทั้งแหล่งที่จะขอซื้อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชากรณีเป็นข้าราชการ หรือหนังสือรับรองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีเป็นราษฏรทั่ว ๆ ไป
2. สอบสวนคุณสมบัติ
- สอบสวนในประเด็นเกี่ยวกับการต้องโทษคดีอาญา อาชีพ ความสามารถและความประพฤติ ได้แก่ ( พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 ม.13 )
- สอบสวนสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการพิจารณาด้วย
- ถ้าเป็นเขตกรุงเทพมหานคร กรณีเป็นบุคคลที่ไม่เคยมีอาวุธปืนมาก่อน ต้องส่งเรื่องราวคำร้องให้ตำรวจท้องที่สอบสวนคุณสมบัติ และหลักทรัพย์(ยกเว้นผู้ขอเป็นผู้ใหญ่บ้าน)
- สำหรับต่างจังหวัด ให้นายทะเบียนท้องที่พิจารณาสอบสวนคุณสมบัติอย่างรอบคอบ และรวดเร็ว โดยราษฏรให้สอบสวนจากเจ้าพนักงานปกครองที่ใกล้ชิดเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เฉพาะกรณีสงสัยให้นายทะเบียนพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติร่วมกับผู้บังคับกอง หรือ หัวหน้าสถานีตำรวจ
3. ถ้านายทะเบียนอนุญาตก็ให้ออก ป.3 ให้ไปซื้ออาวุธปืน
4. เมื่อได้รับ ป.3 แล้วจะต้องซื้ออาวุธปืน ณ ท้องที่ หรือ บุคคลที่ระบุไว้ใน ป.3 เท่านั้น เมื่อซื้อแล้วให้นำอาวุธปืนและใบคู่มือประจำปืนไปขอ ออกใบอนุญาต ป.4
5. เมื่อออก ป.4 แล้ว นายทะเบียนต้องเพิ่มรายการลงในทะเบียนอาวุธปืนประจำรายตำบลและประเภทอาวุธปืน
(1) บุคคลซื่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดตามระมวลกฏหมายอาญาดังต่อไปนี้.
ก. มาตรา 57 ถึงมาตรา111 มาตรา 120 มาตรา 177 ถึงมาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือ
มาตรา 298 ถึงมาตรา 303
ข. มาตรา 254 ถึงมาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันที่ยื่นคำขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็น หรือเพื่อป้องกัน หรือโดยถูกยั่วโทษะ
(2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 7 มาตรา 11 ถึงมาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 29
มาตรา 33 หรือมาตรา38
(3 ) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ในระหว่างห้าปีนับย้อนหลังขึ้นไปจากวันที่ยื่นคำขอสำหรับความผิดอย่างอื่น นอกจากบัญญัติไว้ใน (1)(2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดละหุโทษ
(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้ปืนได้โดยกายพิการ หรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตาม มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
(6) บุคคลซื่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
( บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(10) ภูมิลำเนาของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฏรและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาตไม่น้อยกว่าหกเดือน
ข้อ2 การสอบสวนคุณสมบัติและความจำเป็น ต้องทำการสอบสวนพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่หรือสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 12 และระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 47 บทที่ 3 ข้อ 16 ดังนี้
(1) ผู้ขออนุญาตมีอายุเท่าใด เป็นหัวหน้าครอบครัว หรืออาศัยผู้ใดอยู่
(2) บ้านอยู่ในที่เปลี่ยวหรือไม่ และในบ้านนั้นมีผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนอย่างใดอยู่บ้างแล้วหรือไม่
(3) บ้านที่อยู่เป็นนของผู้รับใบอนุญาตเอง หรือเช่าเขาอยู่
(4) ความประพฤติตามปกติเป็นอย่างไร
(5) เคยต้องโทษทางอาญาอย่างใดบ้างหรือไม่
(6) เกี่ยวข้องกับพวกคนพาลหรือพวกนักเลงหรือไม่
(7) มีหลักทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง ประมาณราคามากน้อยเท่าใด
(8) ประกอบอาชีพทางใด
(9) การขอมีอาวุธปืน เพื่อประโยชน์อย่างใด
(10) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเงิน หรือทรัพย์สมบัติเป็นพิเศษอย่างใด
(11) เคยถูกประทุษร้ายต่อทรัพย์และร่างกาย หรือถูกขู่เข็ญว่าจะทำร้ายอย่างใดบ้างหรือไม่
(12) เป็นคนมีสติไม่ปกติเป็นบางครั้งคราวหรือไม่
(13) เป็นคนมีนิสัยฉุนเฉียว หรือเกะกะระรานเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือผู้อื่นบ้างหรือไม่
(14) เคยได้รับอนุญาตมีอาวุธปืนมาแล้วหรือเปล่า ถ้าเคยมีแล้ว เหตุใดจึงบขออนุญาตอีก
(15) เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ใกล้ชิด เช่น สารวัตรตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร หัวหน้าสถานี กำนันผู้ใหญ่บ้านเห็นสมควรอนุญาตหรือไม่
(16) ถ้าเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องสอบให้ทราบว่า
ก.มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใด
ข.พูดภาษาไทยได้หรือไม่
ค. มีครอบครัวเป็นคนต่างด้าวหรือคนไทยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่
ง. เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ลัทธิใดลัทธิหนึ่ง อันเป็นภัยต่อประเทศหรือไม่
(17) ถ้าเป็นการขอรับมรดก ต้องสอบให้ได้ความว่าได้มีทายาทคนใดคัดค้านการขอรับโอนบ้างหรือไม่ หากมีการคัดค้านก็ให้ระงับการออกใบอนุญาตไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ 3 การสอบสวนผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน เพื่อให้นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตได้พิจารณากลั่นกรองที่จะอนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนได้ถูกต้อง ให้ดำเนินการดังนี้
ก. ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้นายทะเบียนส่งเรื่องให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ดำเนินการดังนี้
(1) พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขออนุญาตเพื่อตรวจสอบประวัติประกอบการพิจารณาด้วย เว้นแต่ผู้ขอเป็นข้าราชการประจำการไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบ
(2) ทำการสอบสวนคุณสมบัติและเหตุผลความจำเป็น รายงานเสนอถึงผู้กำกับการตำรวจนครบาล เพื่อพิจารณาแล้วส่งเรื่องไปยังนายทะเบียนฯดำเนินการต่อไป
การสอบสวนคุณสมบัติ และเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสารวัตรใหญ่ หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่หรือผู้รักษาการแทนที่จะต้องดำเนินการโดยรอบคอบและตรงต่อความเป็นจริง
ข. ในจังหวัดอื่นให้ถือปฏิบัติตามความคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. 2490 และคำสั่งที่ 759/2494 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ 2490 และคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 798/2501 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายนน 2501 เรื่องการอนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำจังหวัด และนายอำเภอ
เป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำอำเภอ การสอบสวนผู้ขออนุญาตให้มีอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน ก่อนที่จะพิจารณาอนุญาตตามความในข้อ 2 ด้วย
ข้อ4 ชนิดและขนาดอาวุธปืน ซึ่งจะอนุญาตให้พิจารณาถึงฐานะ และความจำเป็นของผู้อนุญาตเป็นราย ๆ ไป โดยระลึกว่าการอนุญาตให้เอกชนมีอาวุธปืนนั้นเป็นการอนุญาตตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ 2490
มาตรา 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีไว้เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬา หรือในการยิงสัตว์
การพิจารณาอนุญาตดังกล่าวข้างต้นนี้ มีหลักเกณฑ์ในการอนุญาตสำหรับชนิดและขนาดอาวุธปืนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 13 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0515/13548 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2515 ที่ 0313/ว8583 ลงวันที่ 25 กรกฏาคม 2517 และที่ 0515/ว686 ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2517 ดังนี้
ก. ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือมีหน้าที่ ปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป รับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้ หรือผู้ขออนุญาตเพื่อการกีฬาโดยมีหนังสือรับรองเป็นนักกีฬายิงปืน และมาฝึกซ้อมยิงปืนเป็นประจำจากเลขาธิการ
สมาคมยิงปืน หรือนายสนามยิงปืนนั้น ๆ ในการพิจารณาอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกให้อนุญาตขนาดลำกล้องไม่เกิน .45 หรือ 11 มม.ได้
ข.สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องมีอาวุธปืนพก อนุญาตให้มีได้ลำกล้องไม่เกินขนาด .38 หรือ 9 มม. สำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดกับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฏกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้ออื่น ๆ ด้วย
สำหรับอาวุธปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงแม้ขนาดลำกล้องไม่เกิน .38 หรือ 9 มม. เช่นอาวุธปืนขนาด .357 ก็ไม่ควรอนุญาตเว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการตำรวจ ทหารหรือข้าราชการอื่นซึ่มีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือเป็นข้าราชการในท้องที่กันดาร และผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปรับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้ก็ให้พิจารณาอนุญาตได้ สำหรับในต่างจังหวัดให้นายทะเบียนฯ เสนอขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
ข้อ 5 การอนุญาตให้มีอาวุธปืน ตามปกติควรมีได้เพียงคนละ 2 กระบอก คือ สั้นและยาว แต่ในการพิจารณาอนุญาตมากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคล และควรเข้มงวดกวดขันอย่าให้มีมากเกินความจำเป็นไม่ซ้ำขนาดกันให้วงเล็บวัตถุประสงค์มีและใช้อาวุธปืนในใบอนุญาต (ป.4) ให้ชัดเจน
ข้อ 6 การพิจารณาอนุญาตสำหรับข้าราชการ ตำรวจ ทหารประจำการ ให้มีอาวุธปืนให้ถือปฏิบัติดังนี้
ก. ข้าราชการตั้งแต่สัญญาบัตรขึ้นไป ไม่ต้องดำเนินการตามข้อ 3 แต่ต้องให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าหรือผู้กำกับการตำรวจ หรือผู้บังคับกองพันทหารรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข. ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ต้องสอบสวนตามข้อ 3 เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่สืบสวนและปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นประจำ หรือมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต หรือมีหน้าที่ควบคุมเงิน ไม่ต้องสอบสวนแต่ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ ก.
ข้อ 7 การขอรับโอนอาวุธปืน
ก.การรับโอนอาวุธปืนระหว่างบุคคลทั่วไป พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
ข. การรับโอนปืนมรดก ถ้าผู้รับโอนมีคุณสมบัติครบถ้วน และเป็นทายาทโดยตรงต้องการรับโอนไว้ก็อนุญาตได้
ข้อ 8 นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ซึ่งทางการนับเวลาการศึกษานั้นเป็นวันรับราชการ เช่น นักเรียนนายร้อย นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ ควรมีสิทธิได้รับอนุมัติให้มีอาวุธปืนได้ แต่ควรพิจารณาให้เฉพาะเป็นกีฬา หรือในกรณีรับโอนมรดกซึ่งไม่มีทายาทผู้อื่นที่จะรับโอนไว้ได้ หรือผู้ที่ได้รับปริญญาแล้วยังไม่ประกอบอาชีพแต่กำลังศึกษาต่ออีกควรพิจารณาให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 9 การพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับเครื่องกระสุนปืนของบุคคลนั้น ต้องสอบให้ทราบว่าผู้ขออนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งใช้กับอาวุธปืนที่ขออนุญาตหรือไม่ หากไม่มีห้ามออกใบอนุญาตให้ ถ้ามีและจะขออนุญาตต้องเสนอว่ามีเหตุผลจำเป็นเพียงใดสำหรับอัตราที่จะต้องขออนุญาตให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 759/2494 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2494 ข้อ 14ตามกำหนดและอัตราอย่างสูงต่อไป
(1) กระสุนโดด ปืนยาวทุกชนิด อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามา ได้ไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกิน 50 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดนั้น ๆ
ถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 60 นัด แต่การอนุญาตให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 15 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
(2)กระสุนปืนพกทุกชนิดอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาได้ไม่เกิน 50 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ25 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
ถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักร ให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 36 นัด แต่การขออนุญาตนี้ ให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 12 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
(3) กระสุนลูกซองชนิดต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ขนาด ตามรายการในนบัญชีเทียบขนาดกระสุนต่าง ๆ ต่อไปนี้
ขนาดที่ 1 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 25 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 2 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 200 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 50 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 3 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 300 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 75 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
ขนาดที่ 4 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 400 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 100 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
แต่ทั้งนี้ขอรวมกันคราวเดียวทุกขนาดให้อนุญาตไม่เกินปีละ 1,000 นัด แต่การอนุญาตนี้จะอนุญาตไม่เกินคราวละ 250 นัด สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆ
จำนวนที่กำหนดนี้เป็นอันตรายอย่างสูงที่จะอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ส่วนการขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 500 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 25 นัด เฉพาะกระสุนปืนลูกซองตามบัญชีเทียบขนาดที่ 1 กรมตำรวจได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกระสุนปืนที่โดยปกติใช้ล่าสัตว์ใหญ่ จึงให้อนุญาตปีละไม่เกิน 100 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน 10 นัด ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการสงวนพันธ์สัตว์ป่า
(4) กระสุนอัดลมอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้า หรือซื้อภายในราชอาราจักรได้ไม่เกินคราวละ 1,000 สำหรับกระสุนปืนอัดลมชนิดหนึ่ง ๆ
(5) กระสุนลูกกรดทุกชนิดให้อนุญาตสั่งได้ไม่เกินปีละ 100 นัด ถ้าเป็นการซื้อในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 200 นัด แต่ต้องไม่เกินปีละ 1,000 นัด
การอนุญาตกระสุนปืนตามคำสั่งนี้ ได้กำหนดอัตราขึ้นไว้ เพื่อให้เป็นระดับเดียวกันในการอนุญาตตามปกติ แต่ถ้ามี
กรณีซึ่งจะต้องผ่อนผันการออกอนุญาตเป็นพิเศษ เช่น ในกรณีที่คนต่างด้าว หรือข้าราชการสถานฑูตอันมีสัมพันธไมตรีต่อประเทศไทยนำติดตัวเข้ามา ก็ให้พิจารณาผ่อนผันได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายไปแล้วแจ้งให้กรมศุลกากรทราบ
ถ้าเป็นกรณีซื้อภายในราชอาณาจักร เมื่อได้ผ่อนผันไปแล้วให้รายงานเหตุที่ผ่อนผันให้กระทรวงทราบเฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันข้างต้นต้องเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิคุ้มกัน เช่นเจ้าหน้าทื่องค์การระหว่างประเทศ
ข้อ 10 ในกรณีพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่จะพิจารณาสั่งการ
ข้อ 11 ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ มีความสงสัยพฤติการณ์ไม่นาไว้วางใจว่าผู้รับใบอนุญาตคนใดจะเป็นผู้ต้องห้ามในการออกใบอนุญาตตามาตรา 13 (7)( หรือ(9) ก็ให้พนักงานสอบสวนท้องที่รายงานพฤติการณ์ไปยังนายทะเบียนท้องที่ เพื่อเรียกตัวผู้รับอนุญาตมาทำประกันทัณฑ์บน หรือพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นราย ๆ ไป การทำประกันทัณฑ์บน ให้นายทะเบียนท้องที่เรียกตัวผู้รับอนุญาตมาดำเนินการดังนี้
ก. ให้นำหลักฐาน การประกอบอาชีพ และรายได้มาแสดง
ข. ให้นำหลักฐาน ภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ และบัตรประจำตัวมาแสดง
ค. ให้นำบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรองทำสัญญาประกันและให้ผู้ได้รับอนุญาตทำทัณฑ์บนต่อนายทะเบียนท้องที่ โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันทำประกันทัณฑ์บน ถ้าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวหาประกันที่เชื่อถือไม่ได้ หรือไม่ยอมทำทัณฑ์บนภายในเวลาอันสมควรตามที่นายทะเบียนได้กำนดให้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ให้นายทะเบียนท้องที่เพิกถอนใบอนุญาตทุกรายไป
เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ทำสัญญาประกันทัณฑ์บนแล้ว ให้แจ้งสารวัตรใหญ่หรือ สารวัตรสถานีตำรวจท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อสอดส่องพฤติการณ์ และหากปรากฏว่าผู้ทำสัญญาประกันหรือทัณฑ์บนผิดสัญญาประกัน หรือทัณฑ์บน ก็ให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่ แจ้งให้นายทะเบียนท้องที่ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ 12 การเพิกถอนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่เอาใจใส่ตรวจสอบบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหากสงสัยพฤติการณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาตก็รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป
การสอบสวนคดีอาญา ในคดีความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ให้พนักงานสอบสวน สอบสวนผู้ต้องหาให้ปรากฏ ว่าเป็นผู้ใด้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ หากปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาต ก็ให้รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า และเมื่อผลคดีถึงที่สุดเป็นประการใด ให้รายงานนายทะเบียนทราบ เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้นต่อไป
เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนผู้ใดเป็นผู้จะต้องดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่กรุงเทพมหานคร รายงานพฤติการณ์ข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐาน เสนอขอความเห็นชอบจากกรมตำรวจก่อน หากกรมตำรวจเห็นชอบแล้วให้ทำคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วจัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมกับตำรวจท้องที่ที่ผู้รับอนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ แจ้งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้ความคุมดูแลทราบ เพื่อขอรับอาวุธปืนและใบอนุญาตมีและใช้อาวุธปืนมาดำเนินการต่อไป และให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่นั้น ๆ ลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ไม่สามารถติดตามผู้รับใบอนุญาตได้ หรือไม่มีผู้อนุบาล หรือควบคุมดูแล ให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ประกาศคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไว้ ณ ที่ทำการของนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ และที่อยู่ของผู้ได้รับอนุญาต ภายในกำหนด 30 วัน เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ แจ้งสถานีตำรวจดำเนินคดีกับผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป ในกรณีที่ย้ายทะเบียนอาวุธปืน ผู้สั่งเพิกถอนแจ้งให้นายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตทราบเพื่อ
หมายเหตุในทะเบียนคุมต่อไป
ข้อ 13 หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต ให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนนี้เป็นหลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับใช้เป็นแนวทางพิจารณาของนายทะเบียนอาวุธปืนเท่านั้น หากรายใดนายทะเบียนมีเหตุผลอันสมควรว่าผู้ขอมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม หรือมีเหตุผลความจำเป็นไม่เพียงพอ แม้จะเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ
อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ก็ตาม นายทะเบียนจะไม่อนุญาตก็ได้มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
1. ยื่นคำขอ ตามแบบ ป.1 ระบุ ชนิด ประเภท จำนวน พร้อมทั้งแหล่งที่จะขอซื้อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชากรณีเป็นข้าราชการ หรือหนังสือรับรองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีเป็นราษฏรทั่ว ๆ ไป
2. สอบสวนคุณสมบัติ
- สอบสวนในประเด็นเกี่ยวกับการต้องโทษคดีอาญา อาชีพ ความสามารถและความประพฤติ ได้แก่ ( พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 ม.13 )
- สอบสวนสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการพิจารณาด้วย
- ถ้าเป็นเขตกรุงเทพมหานคร กรณีเป็นบุคคลที่ไม่เคยมีอาวุธปืนมาก่อน ต้องส่งเรื่องราวคำร้องให้ตำรวจท้องที่สอบสวนคุณสมบัติ และหลักทรัพย์(ยกเว้นผู้ขอเป็นผู้ใหญ่บ้าน)
- สำหรับต่างจังหวัด ให้นายทะเบียนท้องที่พิจารณาสอบสวนคุณสมบัติอย่างรอบคอบ และรวดเร็ว โดยราษฏรให้สอบสวนจากเจ้าพนักงานปกครองที่ใกล้ชิดเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เฉพาะกรณีสงสัยให้นายทะเบียนพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติร่วมกับผู้บังคับกอง หรือ หัวหน้าสถานีตำรวจ
3. ถ้านายทะเบียนอนุญาตก็ให้ออก ป.3 ให้ไปซื้ออาวุธปืน
4. เมื่อได้รับ ป.3 แล้วจะต้องซื้ออาวุธปืน ณ ท้องที่ หรือ บุคคลที่ระบุไว้ใน ป.3 เท่านั้น เมื่อซื้อแล้วให้นำอาวุธปืนและใบคู่มือประจำปืนไปขอ ออกใบอนุญาต ป.4
5. เมื่อออก ป.4 แล้ว นายทะเบียนต้องเพิ่มรายการลงในทะเบียนอาวุธปืนประจำรายตำบลและประเภทอาวุธปืน
หลักฐานการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล
- หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้อปืนและเครื่องกระสุน
- สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4)
ฉบับจริงของอาวุธปืนที่จะโอน
- ผู้โอน(เจ้าของเดิมกับผู้ขอรับโอน) ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่่าตอบแทน เนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐาน พร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย - หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง บัตรประจำตัวประชาชน
และเตรียมเหตุผลที่ต้องการโอน หรือมีปืนด้วย
- สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4)
ฉบับจริงของอาวุธปืนที่จะโอน
- ผู้โอน(เจ้าของเดิมกับผู้ขอรับโอน) ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่่าตอบแทน เนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐาน พร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย - หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง บัตรประจำตัวประชาชน
และเตรียมเหตุผลที่ต้องการโอน หรือมีปืนด้วย
ถ้าขอเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินก็เตรียมหลักฐานการเงินไปด้วยนะค่ะยิ่งมากยิ่งดีค่ะ
หรือจะขอเพื่อการกีฬาก็ได้ค่ะ มีหลายท่านบอกว่าของ่ายกว่า แต่ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มนิดหน่อยค่ะ เช่นต้องมีใบรับรองการเป็นสมาชิกของสนามยิงปืนออกโดย นายสนามนั้น ๆ อย่างน้อย 60 วัน และหนังสือรับรองการผ่านการอบรมการใช้อาวุธปืนด้วยค่ะ
ลองหารายละเอียดในช่องค้นหาเรื่อง โอนปืน เพิ่มเติมนะค่ะ
แต่ส่วนใหญ่โอนจากพ่อสู่ลูกไม่ค่อยมีปัญหาหรอกค่ะ ขอให้ได้สมหวังนะคะ ยังไงโทรไปสอบถามรายละเอียดที่กองทะเบียนอาวุธปืน ก่อนก็ได้นะคะ ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด ข้าราชการเค้ายินดีให้คำปรึกษาคะ
แต่ส่วนใหญ่โอนจากพ่อสู่ลูกไม่ค่อยมีปัญหาหรอกค่ะ ขอให้ได้สมหวังนะคะ ยังไงโทรไปสอบถามรายละเอียดที่กองทะเบียนอาวุธปืน ก่อนก็ได้นะคะ ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด ข้าราชการเค้ายินดีให้คำปรึกษาคะ
ที่มา :: http://www.gunsandgames.com/
กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน
๑. ความหมายของอาวุธปืน
อาวุธปืน หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ยิง ไปทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้
ปีนที่ไม่อาจทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้โดยสภาพ เช่น ปืนเด็กเล่น ไม่ใช่อาวุธปืนตามความหมายของกฎหมาย ตามกฎหมายเรียกว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน"
ปืนที่ใช้ยิงไม่ได้ เช่น ชำรุด ถือเป็น ส่วนหนึ่งของอาวุธปืน แต่พลุ สะดุดส่องแสง แบบเอ็ม ๔๙ Al ไม่มีสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืน และไม่มี สภาพเป็นอาวุธ แต่ถ้ามีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็มีความผิดเช่นกัน
ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนตามกฎหมายให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น
๑) ลำกล้อง
๒) เครื่องลูกเลื่อน หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลูกเลื่อน
๓) เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก
๔) เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุน หรือส่วนประกอบสำคัญของ สิ่งเหล่านี้ แต่พานท้ายปืน
สายสะพาย ไม้ประดับด้ามปืน ไม่ใช่อาวุธปืน
๒. การขออนุญาต
ประชาชนจะมีและใช้อาวุธปืนต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน สำหรับ คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ยื่นคำร้องขอที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำหรับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนต้องขอเพื่อ
- ป้องกันตัวหรือทรัพย์สินของตน
- สำหรับใช้ในการกีฬาหรือล่าสัตว์
๓. ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน
การกระทำผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนเหล่านี้ ได้แก่
๑) ทำ โดยมิได้รับอนุญาต
๒) ซื้อ โดยมิได้รับอนุญาต
๓) มี โดยมิได้รับอนุญาต
๔) ใช้ โดยมิได้รับอนุญาต
๕) สั่ง เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
๖) นำ เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
ความผิดทั้ง ๖ ประการ ถ้าเป็นเพียง
เกี่ยวกับ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน หรือ "มีกระสุนปืน" ก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ครอบครองอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่ง
ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายก็มีความผิดเช่นกัน
คำว่า "มีอาวุธปืน" หมายถึง มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง
"มีกรรมสิทธิ์" หมายถึง เป็นเจ้าของอาวุธปืน
มีไว้ในครอบครอง หมายถึง ยึดถืออาวุธปืนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน
"ยึดถือ" หมายถึง กิริยาที่รับ ถือ หรือเอามารักษาไว้
"ยึดถือเพื่อตน" หมายถึง กิริยาที่จับ ถือ หรือเอาอาวุธปืนมา รักษาไว้ในลักษณะที่แสดงอาการหวง การยึดถือเพื่อตนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการยึดถือไว้โดยเป็นเจ้าของเสมอไป
การรับฝากปืนจากผู้อื่นในระยะเวลาอันสั้น หรือการเอาปืนของผู้อื่น มาถือไว้ชั่วขณะ ไม่ถือว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
การกระทำผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนเหล่านี้ ได้แก่
๑) ทำ โดยมิได้รับอนุญาต
๒) ซื้อ โดยมิได้รับอนุญาต
๓) มี โดยมิได้รับอนุญาต
๔) ใช้ โดยมิได้รับอนุญาต
๕) สั่ง เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
๖) นำ เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
ความผิดทั้ง ๖ ประการ ถ้าเป็นเพียง
เกี่ยวกับ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน หรือ "มีกระสุนปืน" ก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ครอบครองอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่ง
ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายก็มีความผิดเช่นกัน
คำว่า "มีอาวุธปืน" หมายถึง มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง
"มีกรรมสิทธิ์" หมายถึง เป็นเจ้าของอาวุธปืน
มีไว้ในครอบครอง หมายถึง ยึดถืออาวุธปืนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน
"ยึดถือ" หมายถึง กิริยาที่รับ ถือ หรือเอามารักษาไว้
"ยึดถือเพื่อตน" หมายถึง กิริยาที่จับ ถือ หรือเอาอาวุธปืนมา รักษาไว้ในลักษณะที่แสดงอาการหวง การยึดถือเพื่อตนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการยึดถือไว้โดยเป็นเจ้าของเสมอไป
การรับฝากปืนจากผู้อื่นในระยะเวลาอันสั้น หรือการเอาปืนของผู้อื่น มาถือไว้ชั่วขณะ ไม่ถือว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
๔. การครอบครองปืนของผู้อื่น
การครอบครองปืนของผู้อื่นที่ไม่ผิดกฎหมายมี ๓ กรณี คือ
(๑) ผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้อื่น เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาอาวุธนั้นมิให้สูญหาย และผู้ครอบครองนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ที่จะมี และใช้อาวุธปืนได้ เช่น
- บิดานายดำ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมา บิดานายดำตาย นายดำจึงครอบครองอาวุธปืนนั้น เพื่อรอแจ้งการตายภาย ในกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบการตาย และขอรับมรดกของบิดา ดังนี้ นายดำไม่มีความผิด
- นาย ก เป็นผู้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมานาย ก วิกลจริต นาง ข ภริยาของ
นาย ก จึงครอบครองอาวุธปืนของนาย ก เพื่อ รอส่งมอบอาวุธปืนและใบอนุญาตแก่นายทะเบียน นางข ไม่มีความผิด
- เก็บอาวุธปืนมีทะเบียนได้ตั้งใจว่าจะนำไปมอบให้นาย ทะเบียน ก็ถูกจับก่อน ดังนี้ไม่มีความผิด แต่ถ้าผู้เก็บอายุแค่ ๑๕ ปี (ยังมี อาวุธปืนไม่ได้) หรือปืนที่เก็บได้เป็นปืนเถื่อน ดังนี้ถ้าผู้เก็บได้เอามาใช้ก็มีความผิดด้วย
(๒) ครอบครองอาวุธปืนของราชการทหาร และตำรวจ และของ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
(๓) ครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล
รถไฟ และอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบตามกฎหมายแล้ว
หมายเหตุ ควรสังเกตว่ากฎหมายยกเว้นให้แต่อาวุธปืนของทางราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจ มิได้ยกเว้นแก่ตัวราชการ หรือพนักงาน รัฐวิสาหกิจ
๕. การพกพาอาวุธปืน
กฎหมายห้ามมิให้บุคคลพกพา
อาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็น กรณีมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เชนถือ ปืนติดตามคนร้าย หรือไฟไหม้บ้านต้องขนของและปืนหนีออกจากบ้าน หรือ ต้องพกปืนเพื่อป้องกันตัว เพราะนำเงินจำนวนมากติดตัวไปต่างจังหวัด เป็นต้น
แต่มีขอสังเกตว่า ไม่ว่าในกรณีใดกฎหมายห้ามเด็ดขาด มิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพหรือการอื่นใด หมายความว่าถึงแม้จะมีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ติดตัวก็ตาม ก็ไม่สามารถพกพาอาวุธปืนโดยเป”ดเผย หรือพาไปในชุมนุมชน ที่จัดให้มีขึ้น เพื่อการดังกล่าว แต่กฎหมายไม่ห้ามสำหรับเจ้าพนักงานผู้มี
หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หรือประชาชนผู้ได้รับมอบหมายให้มีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือ
ราชการ และมีเหตุจำเป็นต้องมีและใช้อาวุธปืน ในการนั้น
สำหรับผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้พกพาในกรุงเทพฯ คือ อธิบดีกรมตำรวจ ในต่างจังหวัดคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๖. การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ
ผู้ใดประสงค์จะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็ต้องขออนุญาตด้วย การเก็บใน ที่นี้หมายถึงการมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น เช่น การเก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นต้น
การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ
"การเก็บ" ในที่นี้หมายถึง การมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น เช่น การ เก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นต้น ซึ่งผู้ใดที่ต้องการจะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็จำเป็น จะต้องขออนุญาตจากทางราชการด้วย โดยผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ไปขอใบอนุญาตมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ ณ กองทะเบียน กรมตำรวจ ส่วน คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นขอใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่
ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ จะออกให้แก่อาวุธปืนดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ
๑) อาวุธปืนที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้
๒) อาวุธปืนแบบพ้นสมัย เช่น ปืนที่ใช้ในสมัยโบราณ, ปืนที่เป็นของเก่าแก่
๓) อาวุธปืนที่เป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการเพราะฉะนั้นถ้าเป็นอาวุธปืนประเภทอื่น ๆนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนอกจากนี้แล้วกฎหมายยังมีข้อห้าม เกี่ยวกับอาวุธปืนที่มีไว้เพื่อเก็บอีกด้วย คือ๑) ห้ามมิให้ยิงอาวุธปืนนั้
๒) ห้ามมิให้มีเครื่องกระสุนที่จะใช้สำหรับอาวุธปืนที่
จะมีไว้เพื่อเก็บ
หมายเหตุ ผู้ใดที่มีอาวุธไว้เพื่อเก็บโดยมิได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิดต้อง ได้รับโทษตามกฎหมาย
๗. การขออนุญาต
การที่ประชาชนจะมีหรือใช้อาวุธปืนได้โดยถูกกฎหมายนั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน ซึ่งเมื่อทางราชการอนุญาตแล้ว ก็จะได้ออกใบอนุญาตให้ไป ใบอนุญาตที่เกี่ยวกับอาวุธปืนที่สำคัญ
ได้แก่
(๑) ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล
(แบบ ป.๓)
(๒) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.๔)มี ๒ ประเภทด้วยกัน ได้แก่
๑) ใบอนุญาตแบบชั่วคราว มีอายุ ๖ เดือนนับแต่วันที่ออก ใบอนุญาตนั้น
๒) ใบอนุญาตแบบถาวร ใช้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ยังเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้นอยู่
- สถานที่ในการขออนุญาต สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนณ กองทะเบียน กรมตำรวจ ส่วนผี่มี ภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่
เมื่อได้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตต่อทางราชการแล้ว นายทะเบียนก็จะ พิจารณาว่าควรจะออกใบอนุญาตให้ผู้ขอหรือไม่ ซึ่งมีข้อสังเกตที่สำคัญ ๆ ดังนี้
(๑) ในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น จะออกให้ได้ใน ๓ กรณีเท่านั้น คือ
๑) เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองและทรัพย์สิน
๒) เพื่อใช้ในการเล่นกีฬา
๓) เพื่อใช้ในการยิงล่าสัตว์
ถ้าไม่เข้ากรณีใดกรณีหนึ่งในสามกรณีนี้ทางราชการมักจะไม่ ออกใบอนุญาตให้
(๒) ใบอนุญาตหนึ่งใบจะออกให้สำหรับอาวุธปืนหนึ่งกระบอกเท่านั้น
(๓) ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้ ให้แก่อาวุธที่เป็น อาวุธสงคราม
(๔) ผู้ที่จะขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนได้นั้นจะต้องเป็นบุคคล ที่ไม่มีคุณ
สมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย อาทิเช่น บุคคลผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ(อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์) บุคคลที่เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ (คนวิกลจริต.คนจิตฟั่นเฟือน), บุคคลที่ไม่มีอาชีพ และรายได้ คนจรจัด บุคคลผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนอกจากนี้ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่บุคคลนั้น ขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน
- ขั้นตอนในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน ในขั้นแรกนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธ (แบบ ป.๓) และใบอนุญาต ให้มีหรือใช้อาวุธปืนแบบชั่วคราว (แบบ ป.๔ ชั่วคราว) ให้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อ ที่จะได้ให้ผู้ขออนุญาตไปจัดการหาซื้ออาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนมาให้ พร้อมเสียก่อนโดยไม่ผิดกฎหมาย จากนั้นให้ผู้ขออนุญาตนำอาวุธปืนดังกล่าว ไปให้นายทะเบียนตรวจสอบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่จัดหามานั้น มีชนิดและขนาดตรงตามที่ระบุไว้ในแบบ ป.๓ และ ป.๔ ชั่วคราวหรือไม่ ถ้า ตรง
นายทะเบียนก็จะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนอย่างถาวร (แบบ ป.๔ ถาวร) ต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องนำเอาอาวุธปืนไปให้นายทะเบียนตรวจสอบ ภายในกำหนด ๖ เดือนนับแต่วันที่
ได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ ถ้าเกินกำหนด ๖ เดือนดังกล่าวไป ต้องถือว่าผู้ขออนุญาตนั้นมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต
หมายเหตุ
กรณีที่ซื้ออาวุธปืนจากเจ้าของที่ได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ซื้อจะต้อง
ไปขอรับใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนนั้นจากนายทะเบียนก่อน จากนั้นให้ผู้ขอซื้อนำใบอนุญาตให้ซื้อไปขอรับปืนจากผู้ขายได้เลย หรือจะไปหานายทะเบียนพร้อมกันทั้งผู้ซื้อและเจ้าของปืน ซึ่ง นายทะเบียนก็จะทำการออกแบบ ป.๔ ให้ผู้ซื้อต่อไป
๘. การโอนอาวุธปืน
กฎหมายห้ามมิให้โอนอาวุธปืนให้แก่บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน แม้ผู้โอนจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนได้ แต่ถ้า โอนอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตผู้โอนจะมีความผิด
"การโอน" หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์อาวุธปืนของตนให้ผู้อื่นเป็น เจ้าของ
การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก
ในกรณีที่เจ้าของอาวุธปืนซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว
ถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้ทายาทของผู้ตาย หรือ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน หรือใบอนุญาตให้มี หรือใช้อาวุธปืนของผู้ตาย ไปแจ้งการตาย ของเจ้าของปืนให้นายทะเบียนทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่รู้ถึงการตาย ของผู้ตาย ถ้าไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
สำหรับนายทะเบียนที่จะไปแจ้งการตายดังกล่าวได้ ได้แก่
๑) นายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น
๒) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่
๓) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้แจ้งการตายมีภูมิลำเนาอยู่
เมื่อได้แจ้งการตายต่อนายทะเบียนแล้ว ให้ทายาทผู้ได้รับอาวุธซึ่งเป็น มรดกของผู้ตาย ไปติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๖ เดือน นับแต่วัน ที่ผู้ตาย (เจ้าของปืน)ถึงแก่ความตาย เพื่อขอรับใบอนุญาตใหม่ ทั้งนี้ เพราะ ถึงแม้ว่าทายาทจะได้กรรมสิทธิ์ใบอาวุธปืนนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าเป็นการ มีอาวุธไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ เพื่อขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน(แบบ ป.๔) ซึ่งทางราชการก็จะพิจารณาว่า ทายาทหรือผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะได้จัดการออกใบอนุญาตให้ต่อไป
๙. กรณีต้องแจ้งนายทะเบียน
(๑) อาวุธปืนหายหรือถูกทำลายต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน
(๒) ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ต้องขอใบอนุญาตแทน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบเหตุการณ์สูญหาย หรือถูกทำลาย
(๓) ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตาย ทายาทต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบวันตายของผู้ได้รับใบอนุญาต มิฉะนั้นมีความผิด
(๔) ผู้ได้รับใบอนุญาต ย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนภาย ใน ๑๕ วันนับแต่วันย้าย โดยต้องแจ้ง ๒ ที่คือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ ย้ายออกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก และแจ้งต่อนายทะเบียนที่ย้ายเข้า ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้า ใครไม่แจ้งมีความผิด
(๕) ผู้ได้รับใบอนุญาต หากกลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิรับใบอนุญาตใน ภายหลัง เช่นกลายเป็นคนวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ ต้องคืนอาวุธ ปืนและใบอนุญาตต่อนายทะเบียนโดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมีความผิด
(๖) ผู้ใดนำอาวุธปืนมาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบอาวุธปืนแก่ พนักงานศุลกากร หรือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมี ความผิด
๑๐. การเพิกถอนใบอนุญาต
นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ถ้าออกให้โดยหลงผิด หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นคนเคยต้องโทษมาก่อน เป็นต้น เมื่อเพิกถอนแล้วผู้รับอนุญาตต้องมอบปืนและใบอนุญาตคืนแก่นายทะเบียนโดยไม่ชักช้า
อนึ่ง การใหผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือการใช้ใบอนุญาตของผู้อื่น มีโทษ ถึงจำคุก ..
ที่มา ::
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อแผนกอาวุธปืน กองทะเบียนกรมตำรวจ
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
การขออนุญาตพกปืนติดตัว
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ ทางอำเภอยื่นเรื่องราวต่อไปยังจังหวัดพกพาในเขตจังหวัดผู้ว่าราชการเป็นผู้อนุญาต หากทั่วราชอาณาจักรอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้อนุญาตโดยยื่นผ่านกองทะเบียนกรมตำรวจ ( เป็นข้าราชการ ต้องมีคำรับรองความประพฤติและความจำเป็นจากผู้บังคับบัญชา ส่วนนอกนั้นต้องรับรองจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
- ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขออนุญาตมีการใช้อาวุธปืน
- ใบมรณบัตรของผู้ตาย
- หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)
- ต้องแจ้งความภายใน 15 วัน นับแต่วันรับมรดก
เอกสารการขอใบป.12 เจ้าหน้าที่รัฐมือใหม่อยากพกพาปืน
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
3. บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
4. รูปถ่าย (แต่งเครื่องแบบ) ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
5. หนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือรับรอง ดังนี้
- ทหาร , ตำรวจ ยศตั้งแต่พันเอกหรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการพลเรือน/อื่นๆ ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป
- พนักงานองค์การของรัฐ ระดับ ผอ.กอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ส.ส. และ ส.ว.
หมายเหตุ เอกสารฉบับถ่ายเอกสารให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
การขออนุญาตทำใบพกอาวุธปืน ป12
หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องฯ
หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องฯ
เอกสารประกอบการพิจารณาอนุญาตให้บุคคล มีอาวุธปืนติดตัว สำหรับประชาชนทั่วไป
1. รูปถ่ายหน้าตรง แต่งชุดสากล หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
2. บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
4. ป.4 (ภูมิลำเนา ป.4 ต้องถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หนังสือรับรองการทำงาน ลงนามโทยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้
6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ จะใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท โดยการรับรองจากกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ หรือสำเนา ใบทะเบียนการค้า
7. สำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี โดยการรับรองจากกรรมการ ใช้ในกรณี ที่เป็นเจ้าของกิจการหรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือกรรมการผู้รับมอบอำนาจผูกพันบริษัท
และบริษัทดังกล่าว ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10,000,000 บาทขึ้นไป และมีเงินทุนหมุนเวียนในบัญชี กระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไปเท่านั้น
8. บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยการรับรองจากธนาคาร ถ่ายสำเนาทุกหน้า และรับรองทุกหน้าพร้อมตราประทับโดยธนาคาร จำนวน 1,000,000 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่้น้อยกว่า 6 เดือน ติดต่อกันจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
9. สำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรอบปีที่ผ่าน
10. ใบอนุญาตให้มี อวป ติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด
11. ใบรับรองแพทย์ กรณี ผู้ขอ มีอายุึ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
12. หลักฐานแสดงเหตุผลความจำเป็น พิเศษมากกว่าปกติธรรมดา ที่ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบในการพิจารณาอนุญาตให้มี อวป
2. บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
4. ป.4 (ภูมิลำเนา ป.4 ต้องถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หนังสือรับรองการทำงาน ลงนามโทยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้
6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ จะใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท โดยการรับรองจากกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ หรือสำเนา ใบทะเบียนการค้า
7. สำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี โดยการรับรองจากกรรมการ ใช้ในกรณี ที่เป็นเจ้าของกิจการหรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือกรรมการผู้รับมอบอำนาจผูกพันบริษัท
และบริษัทดังกล่าว ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10,000,000 บาทขึ้นไป และมีเงินทุนหมุนเวียนในบัญชี กระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไปเท่านั้น
8. บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยการรับรองจากธนาคาร ถ่ายสำเนาทุกหน้า และรับรองทุกหน้าพร้อมตราประทับโดยธนาคาร จำนวน 1,000,000 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่้น้อยกว่า 6 เดือน ติดต่อกันจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
9. สำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรอบปีที่ผ่าน
10. ใบอนุญาตให้มี อวป ติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด
11. ใบรับรองแพทย์ กรณี ผู้ขอ มีอายุึ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
12. หลักฐานแสดงเหตุผลความจำเป็น พิเศษมากกว่าปกติธรรมดา ที่ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบในการพิจารณาอนุญาตให้มี อวป
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
- บรรลุนิติภาวะ
- สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
- ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
เอกสารประกอบคำขออนุญาต/การขออณุญาตซื้อปืนและเครื่องกระสุนปืน
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน(ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต
ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ข้าราชการทหารหรือตำรวจ
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ควาประพฤติ
และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ที่ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
- ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หลักฐานการประกอบอาชีพ อาทิเช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้างต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน จากผู้ที่มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้างต้องมีเอกสารประกอบตามที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร (Statement) หรือหลักฐานอื่นเพื่อประกอบการพิจารณา
- หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
- พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล
- หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้อปืนและเครื่องกระสุน
- สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ฉบับจริงของอาวุธปืนที่จะโอน
- ผู้โอน(เจ้าของเดิมกับผู้ขอรับโอน) ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทน เนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐานพร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย)
- ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำใบอนุญาต(ป.4) และอาวุธปืนมอบให้นายทะเบียนด้วย
- ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- ถ้ามีผู้จัดการมรดกเสนอได้เลย
- ถ้าไม่มีผู้จักการมรดก ต้องสอบทายาททั้งหมด ว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ
- ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้องเช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อ
นายทะเบียนท้องที่พร้อมเอกสารข้างต้น
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
การแจ้งการย้ายอาวุธปืน
- ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิม และนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่
วันย้ายออกไปและวันที่ไปถึง
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- กรณีใบอนุญาตสูญหาย แจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ที่ใบอนุญาตหาย แล้วนำใบแจ้งความพร้อมคัดสำเนาประจำวันด้วย
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
อัตรค่าธรรมเนียมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
- ปืนยาวประจุปาก ปืนอัดลม ฉบับละ 100 บาท
- ปืนอื่นๆ ฉบับละ 500 บาท
2. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ฉบับละ 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน กระบอกละ 5 บาท
4. ใบอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืน นอกจากกระสุนอัดลม 1 บาท ร้อยละหรือเศษของร้อย
5. ใบแทนใบอนุญาต
- ใบแทนใบอนุญาติให้ทำ ค้าอาวุธปืน ฉบับละ 20 บาท เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
- ใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบซ่อมแซม ฉบับละ 15 บาท หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
- ใบแทนใบอนุญาตอื่นๆ ฉบับละ 5 บาท
หมายเหตุ: ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอื่น นอกจากค่าธรรมเนียมเท่านั้น
สถานที่ติดต่อ : ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง
วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร. 0-2356-9552
วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร. 0-2356-9552
ที่มา :: http://www.gotoknow.org/posts/306364
* ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้จากที่นี่ *
- แบบ ป.1 [ แบบคำขออนุญาตทั่วไป ]
- แบบ ป.1 ขอแก้ไขรายการอาวุธปืนในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_6_p1editcom.pdf
- แบบ ป.1 ขอสลักหลังตัดโอนใบอนุญาต แบบ ป.3 ตอนที่ 3(อาวุธปืนสวัสดิการ)
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_9_p1recp3.pdf
- แบบ ป.1 เรื่อง ขอแจ้งย้ายอาวุธปืน (ย้ายออกนอกท้องที่ กทม.)
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_10_p1outbkk.pdf
- แบบ ป.1 เรื่อง ขอแจ้งย้ายอาวุธปืน (ย้ายเข้าท้องที่ กทม.)
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_11_p1inbkk.pdf
- แบบ ป.1 เรื่อง ขอแจ้งย้ายอาวุธปืน (ย้ายภายในท้องที่ กทม.)
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_12_p1change.pdf
- บันทึกการแสดงเจตนาจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_14rec.pdf
- แบบฟอร์มการขอมีและใช้อาวุธปืนเพื่อการแข่งขันกีฬา
http://www.dopaservice.com/eservice/downdoc/1_2_18rec.pdf
.
การขออนุญาตต่าง ๆ
ตอบลบเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขออนุญาตต่าง ๆ จึงได้จัดทำเอกสารแนะนำดังต่อไปนี้
1. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว
กรุงเทพมหานคร
- ยื่นคำร้องต่อสารวัตรหรือหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่เป็นผู้พิจารณา
ต่างจังหวัด
- ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต
- เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ทางอำเภอจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ทราบ
- ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่
- ต้องขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงด้วย (ถ้ามี)
- เลิกแสดงมหรสพเวลา 24.00 นาฬิกา
2. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
- แล้วนำคำร้องมายื่นต่อเจ้าหน้าที่สถานีตำรวจ หรือสารวัตรท้องที่ เพื่อพิจารณามีความเห็นก่อน แล้วแล้วนำกลับไปยังเขตหรืออำเภอเพื่ออนุญาตต่อไป
3. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อแผนกอาวุธปืน กองทะเบียนกรมตำรวจ
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
4. การขออนุญาตพกปืนติดตัว
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ ทางอำเภอยื่นเรื่องราวต่อไปยังจังหวัดพกพาในเขตจังหวัดผู้ว่าราชการเป็นผู้อนุญาต หากทั่วราชอาณาจักรอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้อนุญาตโดยยื่นผ่านกองทะเบียนกรมตำรวจ ( เป็นข้าราชการ ต้องมีคำรับรองความประพฤติและความจำเป็นจากผู้บังคับบัญชา ส่วนนอกนั้นต้องรับรองจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
5.การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
- ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขออนุญาตมีการใช้อาวุธปืน
- ใบมรณบัตรของผู้ตาย
- หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)
- ต้องแจ้งความภายใน 15 วัน นับแต่วันรับมรดก
...
เอกสารการขอใบป.12 เจ้าหน้าที่รัฐมือใหม่อยากพกพาปืน
ตอบลบกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
3. บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
4. รูปถ่าย (แต่งเครื่องแบบ) ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
5. หนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือรับรอง ดังนี้
- ทหาร , ตำรวจ ยศตั้งแต่พันเอกหรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการพลเรือน/อื่นๆ ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป
- พนักงานองค์การของรัฐ ระดับ ผอ.กอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ส.ส. และ ส.ว.
หมายเหตุ เอกสารฉบับถ่ายเอกสารให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
การขออนุญาตทำใบพกอาวุธปืน ป12
หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องฯ
เอกสารประกอบการพิจารณาอนุญาตให้บุคคล มีอาวุธปืนติดตัว สำหรับประชาชนทั่วไป
1. รูปถ่ายหน้าตรง แต่งชุดสากล หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
2. บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
3. ทะเีบียนบ้าน พร้อมสำเนา
4. ป.4 (ภูมิลำเนา ป.4 ต้องถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หนังสือรับรองการทำงาน ลงนามโทยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้
6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ จะใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเีบียนบริษัท
โดยการรับรองจากกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ หรือสำเนา ใบทะเีบียนการค้า
7. สำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี โดยการรับรองจากกรรมการ ใช้ในกรณี ที่เป็นเจ้าของกิจการ
หรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือกรรมการผู้รับมอบอำนาจผูกพันบริษัท
และบริษัทดังกล่าว ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10,000,000 บาทขึ้นไป
และมีเงินทุนหมุนเวียนในบัญชี กระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไปเท่านั้น
8. บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยการรับรองจากธนาคาร ถ่ายสำเนาทุกหน้า และรับรองทุกหน้าพร้อมตราประทับโดยธนาคาร
จำนวน 1,000,000 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่้น้อยกว่า 6 เดือน ติดต่อกันจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
9. สำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรอบปีที่ผ่าน
10. ใบอนุญาตให้มี อวป ติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด
11. ใบรับรองแพทย์ กรณี ผู้ขอ มีอายุึ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
12. หลักฐานแสดงเหตุผลความจำเป็น พิเศษมากกว่าปกติธรรมดา ที่ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบในการพิจารณาอนุญาตให้มี อวป
...
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
ตอบลบ- บรรลุนิติภาวะ
- สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
- ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
เอกสารประกอบคำขออนุญาต/การขออณุญาตซื้อปืนและเครื่องกระสุนปืน
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน(ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต
ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ข้าราชการทหารหรือตำรวจ
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ
และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ที่ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
- ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- หลักฐานการประกอบอาชีพ อาทิเช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน
หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้างต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน จากผู้ที่มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น
หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้างต้องมีเอกสารประกอบตามที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไรˆ
ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน
เงินฝากธนาคาร (Statement) หรือหลักฐานอื่นเพื่อประกอบการพิจารณา
- หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป
หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
- พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน
มาประกอบการพิจารณา
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
...
การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล
ตอบลบ- หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้อปืนและเครื่องกระสุน
- สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4)
ฉบับจริงของอาวุธปืนที่จะโอน
- ผู้โอน(เจ้าของเดิมกับผู้ขอรับโอน) ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4)
ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทน เนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐาน
พร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน
มาประกอบการพิจารณา
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย)
- ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำใบอนุญาต(ป.4) และอาวุธปืนมอบให้นายทะเบียนด้วย
- ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- ถ้ามีผู้จัดการมรดกเสนอได้เลย
- ถ้าไม่มีผู้จักการมรดก ต้องสอบทายาททั้งหมด ว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ
- ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้องเช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อ
นายทะเบียนท้องที่พร้อมเอกสารข้างต้น
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
การแจ้งการย้ายอาวุธปืน
- ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิม และนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่
วันย้ายออกไปและวันที่ไปถึง
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- กรณีใบอนุญาตสูญหาย แจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ที่ใบอนุญาตหาย แล้วนำใบแจ้งความพร้อมคัดสำเนาประจำวันด้วย
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
...
อัตรค่าธรรมเนียมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
ตอบลบ1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
- ปืนยาวประจุปาก ปืนอัดลม ฉบับละ 100 บาท
- ปืนอื่นๆ ฉบับละ 500 บาท
2. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ฉบับละ 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน กระบอกละ 5 บาท
4. ใบอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืน นอกจากกระสุนอัดลม 1 บาท
ร้อยละหรือเศษของร้อย
5. ใบแทนใบอนุญาต
- ใบแทนใบอนุญาติให้ทำ ค้าอาวุธปืน ฉบับละ 20 บาท
เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
- ใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบซ่อมแซม ฉบับละ 15 บาท
หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
- ใบแทนใบอนุญาตอื่นๆ ฉบับละ 5 บาท
หมายเหตุ: ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอื่น นอกจากค่าธรรมเนียมเท่านั้น
สถานที่ติดต่อ : ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง
วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร. 0-2356-9552
...
การขอ ใบพกพา ป.12
ตอบลบสถานที่ทำการใหม่
ฝ่ายอำนวยการ ๕ ตึก ๘ ชั้น ๑ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ตั้งอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ < ฝอ.๕ บก.อก.บช.ก.> ด้านถนนอังรีดูนังค์ ตรงกันข้ามกับโคคาสุกี้
โทรศัพท์ 02-205-1779 , 02-251-2818
เอกสารประกอบการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว สำหรับข้าราชการ
๑. รูปถ่ายหน้าตรงแต่งกายชุดข้าราชการ หรือชุดสากล หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก
ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
๒. สำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
พร้อมสำเนา 1ชุด
๓. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
๔.ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(แบบ ป.4)
กรุณาตรวจสอบภูมิลำเนาให้ถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้านและข้อมูลควรเป็นปัจจุบันทุกรายการ พร้อมสำเนา 1 ชุด
๕. หนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา
๖. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด (ถ้ามี)
๗. ใบรับรองแพทย์ ที่ยืนยันว่าเป็นผู้มีสภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง
กรณีมีอายุตั้งแต่ 75 ปี ขึ้นไป
หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องฯ ให้บุคคลมีอาวุธปืนติดตัว สำหรับประชาชนทั่วไป
1. รูปถ่ายหน้าตรง แต่งชุดสากล หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
2. บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
3. ทะเีบียนบ้าน พร้อมสำเนา
4. ป.4 (ภูมิลำเนา ป.4 ต้องถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หนังสือรับรองการทำงาน ลงนามโทยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้
6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ จะใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเีบียนบริษัท
โดยการรับรองจากกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ หรือสำเนา ใบทะเีบียนการค้า
7. สำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี โดยการรับรองจากกรรมการ ใช้ในกรณี ที่เป็นเจ้าของกิจการ
หรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือกรรมการผู้รับมอบอำนาจผูกพันบริษัท
(คือ สเตทเมนท์ย้อนหลัง 1 ปี นั่นเองค่ะ)
และบริษัทดังกล่าว ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10,000,000 บาทขึ้นไป
และมีเงินทุนหมุนเวียนในบัญชี กระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไปเท่านั้น
(ข้อนี้ ใช้กรณ๊ ยื่นขอในนามเจ้าของกิจการ หากท่านเป็๋นเจ้าของกิจการ)
8. บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยการรับรองจากธนาคาร ถ่ายสำเนาทุกหน้า และรับรองทุกหน้าพร้อมตราประทับโดยธนาคาร
(บัญชีฝากประจำ หรือออมทรัพย์ หรือ สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือสำเนาสลากออมสิน )
จำนวน 1,000,000 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่้น้อยกว่า 6 เดือน ติดต่อกันจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
9. สำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรอบปีที่ผ่าน
(เอาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีไปด้วยค่ะ)
10. ใบอนุญาตให้มี อวป ติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด
(ในกรณี เคยมี ป.12 มาก่อนแล้วน่ะค่ะ)
11. ใบรับรองแพทย์ กรณี ผู้ขอ มีอายุึ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปค่ะ
12. หลักฐานแสดงเหตุผลความจำเป็น พิเศษมากกว่าปกติธรรมดา ที่ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบ
ในการพิจารณาอนุญาตให้มี อวป ติดตัวค่ะ
...
รายละเอียดปลีกย่อยค่ะ
ตอบลบ1. หลังจากยื่นคำร้อง และตรวจเอกสารผ่าน เจ้าหน้าที่ฯ..จะทำจดหมาย
ให้ผู้ร้องฯ ไปยื่นต่อ สถานีตำรวจที่บ้านท่านตั้งอยู่ในเขตนั้น ๆ
ซึ่ง เจ้าพนักงานทางสถานีตำรวจในพิ้นทีท่าน จะต้องหาเวลาไปตรวจสอบข้างเคียง และอื่น ๆ
เพื่อยืนยันว่า ท่านมีความประพฤติ เรียบร้อยหรือไม่ประการใดค่ะ
และจดหมายนี้ จะต้องส่งกลับไปยัง สถานที่ที่ท่านยื่นคำร้องขอมี ป.12 ภายใน 15 วัน ค่ะ**
* ในข้อนี้ ท่านจะต้องจำให้ได้ว่า บ้านของท่านขึ้นกับ ส.น. ใด
หากท่านจำผิด ไม่แน่ใจ และแจ้งผิดไปนะคะ
ท่านจะต้องเดินทางมาใหม่ เืพื่อขอให้ท่านเจ้าหน้าที่ฯ พิมพ์จดหมาย ให้ใหม่ และจ่าหน้าซองใหม่ค่ะ*
2. ในกรณีไม่สะดวกไปยื่นคำร้องต่้อสถานีตำรวจ ในเขตพื้นที่ของท่าน
ท่านสามารถ นำจดหมายรับรองความประพฤติ และเหตุจำเป็นที่จะต้องมี อวป.ติดตัว ซึ่งออกโดย
ข้าราชการชั้นยศ พลตรี ขึ้นไป และต้องเป็นท่านที่ยังอยู่ในราชการค่ะ
3. ค่าธรรมเนียม หากได้รับการอนุมัติ 1,000 บาทค่ะ
4. บัตรมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติ (มิใช่เริ่มนับ จากวันที่ท่านกรอกใบคำร้อง)
5. หากบัตรท่านหมดอายุ คือ ครบ 1 ปี ท่านจะต้องดำเนินการ ใหม่หมด ทุึกขั้นตอนค่ะ
6. หากท่านกรอกใบคำร้องไม่ครบ / หากท่านยื่นเอกสารไม่ครบนะคะ
เรื่องของท่านจะถูกพักไว้ก่อนค่ะ และเจ้าหน้าที่จะโทรติดตามท่านใ้ห้มาเพิ่มเติมค่ะ
7. หากท่านไม่สามารถมาด้วยตัวเองได้ ท่านสามารถให้บุคคลอื่น มาขอใบคำร้องไปกรอก
พร้อมแนบเอกสารครบถ้วน และให้ผู้อื่น มายื่นคำร้องฯ แทนท่านได้ค่ะ
8. ต่างจังหวัด ขั้นตอนคงต่างไปจากนี้นะคะ ดี้ทราบแต่เพียงของส่วนกลางค่ะ
(จากส่วนกลาง..จะทั่วราชอาณาจักรค่ะ / ส่วนจังหวัด มีผลในจังหวัดของท่านค่ะ)
9. เรื่องของท่าน จะถูกส่งไป ที่กระทรวงมหาดไทยค่ะ
10. หากท่านได้รับการอนุมัติ ให้มี ใบป.12 นะคะ
ท่านจะต้อง พกพาอย่าง มิดชิด / ไม่พกไปในเขตชุมชน / โรงมหรสรรสพ ค่ะ
11. สำหรับพลเรือน ไม่อนุญาตขนาด .45 นะคะ
* ที่เห็น จะเป็น ขนาด 9 และ .38 เป็นส่วนใหญ่ค่ะ*
12. ท่านควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ ในอันที่จะเลือก อวป. ที่ท่านต้องการพก นะคะ
ป.12 จะคุมแค่เพียง อวป. กระบอกที่ท่าน เลือกและแนบสำเนาใบ ป.4 ไปค่ะ
...
ตามกฎหมายไม่ห้ามขอ ป. 12 แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี่
ตอบลบการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 (แบบ ป.12) แบ่งเป็น 2 กรณี
และมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งที่ 224/2549 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 เรื่อง จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราช อาณาจักร เป็นการชั่วคราว โดยให้ระงับการออกใบอนุญาตฯ หากบุคคลใดมีความจำเป็นพิเศษมากกว่าปกติธรรมดาและประสงค์จะขออนุญาตมีอาวุธ ปืนติดตัว จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานโดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ดังนั้น การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวตามกรณีดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอ ตามแบบ ป..1 ณ กองบังคับการทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
1.3 เสนอคณะกรรมการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเพื่อพิจารณา
1.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาพร้อมเหตุผลความจำเป็น
1.5 กระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องให้กรมการปกครอง เพื่อพิจารณาตรวจสอบก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1.6 กรมการปกครอง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและเหตุผลความจำเป็น เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผ่านปลัดกระทรวงมหาดไทย) เพื่อพิจารณา
1.7 กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณา
1.8 กรมการปกครอง แจ้งผลการพิจาณาของรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบ
1.9 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกใบอนุญาตและแจ้งผู้ขออนุญาตทราบ
1.10 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
2. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตจังหวัด
2.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีภูมิลำเนา
2.2 นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐาน ส่งเรื่องให้จังหวัดพิจารณา
2.3 จังหวัดตรวจสอบ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งพิจารณา
(ตามนัยหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0302/ว 1777 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2523)
2.4 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาออกใบอนุญาตภายในเขตจังหวัด (แบบ ป.12) และแจ้งให้ ผู้ขออนุญาตทราบ
2.5 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/143/47.PDF เดิม
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/086/83.PDF ใหม่
...
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ตอบลบว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
หน้า ๑
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการควบคุมและตรวจสอบ
ที่รัดกุมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้การพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครองสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ ข้อ ๔ พนักงานฝ่ายปกครอง หมายความถึง พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม
มาตรา ๒ (๑๖) และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา ๒ (๑๗) แห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะในส่วนของกระทรวงมหาดไทย และให้หมายความรวมถึงกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ด้วย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔/๑ ข้อ ๔/๒ และข้อ ๔/๓ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖
“ ข้อ ๔/๑ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ช่วยเหลือราชการในการป้องกันประเทศ รักษาความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน หรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ หมายความถึง
(๑) ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
(๒) ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของกรมการปกครอง สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
...
หน้า ๒
ตอบลบเล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
(๓) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้อาวุธปืนจากหน่วยราชการที่มอบให้ประชาชนมี
และใช้เพื่อช่วยเหลือราชการ
ข้อ ๔/๒ พนักงานฝ่ายปกครองตามข้อ ๔ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๔/๑ ต้องมีการปฏิบัติ
หน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากปลัดกระทรวงมหาดไทย
อธิบดีกรมการปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
แล้วแต่กรณี โดย
(๑) เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และอยู่ระหว่าง
ปฏิบัติหน้าที่
(๒) เป็นข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือ
กรมการปกครอง ซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อย
ของประชาชน หรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
(๓) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้อาวุธปืนในราชการทหาร ตำรวจ หรือในราชการ
ของกระทรวงมหาดไทย กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง ที่มอบให้ประชาชน
มีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการทหาร ตำรวจ หรือกระทรวงมหาดไทย กองบัญชาการกองอาสารักษา
ดินแดน และกรมการปกครอง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔/๓ ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจออกหนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนได้ตาม
ระเบียบนี้
(๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทย สำหรับบุคคลตามข้อ ๔ และข้อ ๔/๑ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร
และทั่วราชอาณาจักร
(๒) อธิบดีกรมการปกครอง สำหรับบุคคลตามข้อ ๔ และข้อ ๔/๑ (๒) ในเขตกรุงเทพมหานคร
และทั่วราชอาณาจักร
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับบุคคลตามข้อ ๔ และข้อ ๔/๑ เฉพาะในเขตจังหวัด
(๔) นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ สำหรับบุคคลตามข้อ ๔ และ
ข้อ ๔/๑ เฉพาะในเขตอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หน้า ๓
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
“ข้อ ๗ ผู้ที่มีความประสงค์ขอพาและใช้อาวุธปืนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ให้ยื่นคำขอมีหนังสือ
รับรองการพาและใช้อาวุธปืนตามแบบท้ายระเบียบนี้ และให้มีเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
ดังต่อไปนี้
(๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้วครึ่ง จำนวน ๒ รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน)
(๒) สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(๔) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๕) สำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป. ๔) หรือสำเนาหนังสือแสดงหลักฐาน
การเป็นอาวุธปืนของทางราชการ
(๖) สำเนาคำสั่งที่มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจออกหนังสือรับรอง
การพาและใช้อาวุธปืนตามข้อ ๔/๒”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๘ หนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้และให้มีอายุ
สี่ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง หรือกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองพ้นจากหน้าที่ที่ได้รับสิทธิในการพา
และใช้อาวุธปืนตามระเบียบนี้ก็ให้ใบอนุญาตสิ้นสุด และให้ส่งมอบแก่ผู้ออกหนังสือรับรองด้วย”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพา
และใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖
“ ข้อ ๘/๑ สำหรับหนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนที่ออกตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ หรือหากผู้ได้รับหนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนดังกล่าวพ้นจาก
หน้าที่ที่ได้รับสิทธิในการพาและใช้อาวุธปืนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืน
ของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ให้หนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนดังกล่าวสิ้นสุดลง”
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
...
1. คำขอมีหนังสือรับรองการพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง
ตอบลบ2. แบบหนังสือรับรอง การพาและใช้อาวุธปืน
เชิญ Click ที่นี่ค่ะ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/007/1.PDF
กฎกระทรวง : เรื่องใบพาอาวุธปืนของราชการและรัฐวิสาหกิจ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/018/7.PDF
...
ตอบลบหน้า ๘๔
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๘๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
คำสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ ๒๗๓/๒๕๕๓
เรื่อง จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวทั่วราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่ง ที่ ๑๗๙/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ให้จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวทั่วราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว นั้น
เนื่องจากยังมีความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงให้จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว (แบบ ป.๑๒) เป็นการชั่วคราว
โดยให้ระงับการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวทั่วราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หากบุคคลใด
มีความจำเป็นพิเศษมากกว่าปกติธรรมดา และประสงค์จะขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวทั่วราชอาณาจักร
จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานโดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
http://www.gun.in.th/board/index.php?topic=19925.0
...
พระราชบัญญัติอาวุธปืน
ตอบลบพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้มีการแก้ไขฉบับสุดท้ายคือแก้ไขฉบับที่ 8 พ.ศ.2530 มาตราที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน มี 3 มาตรา คือ มาตรา 8 ทวิ เป็นเรื่อง ข้อห้าม ข้อจำกัดในเรื่องการพกปืน มาตรา 22 เป้นบทบัญญัติเรื่องการให้มีอาวุธปืนติดตัว มาตรา 72 ทวิ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 8
การพกปืนไม่ผิดกฎหมายมีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
1. เป็นอาวุธปืนของตนเองและได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย ( ป.4) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคลนั้นผู้ใดประสงค์จะซื้อต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ต้องยืนคำร้อง ป.๑ มีใบอนุญาตให้ซื้อได้ตาม ป.3 และมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ป.4 กำหนดใช้ได้ 3 กรณี คือ สำหรับการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน สำหรับการกีฬา สำหรับการยิงสัตว์
กรณีปืนเถื่อน คือ ปืนไม่มีทะเบียน มีโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท
กรณีปืนผิดมือ คือ ปืนมีทะเบียน (ทะเบียนจะออกให้ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ) แต่อยู่ในความครอบครองของคนอื่น มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
2. ใบพกพา ทั่วราชอาณาจักร หรือ ในเขตจังหวัด ป.12 ผู้ใดประสงค์มีใบพกพาต้องยืนคำร้องแบบ ป.1 ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ใบพกจะออกให้ตามแบบ ป.12 บุคคลที่ควรออกใบอนุญาตให้มีใบพกนั้นนอกจากจะเป็นผู้มีใบป.4 แล้ว ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทย กำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการตั้งแต่ หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือการปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย ข้อยกเว้นในการพกปืน ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ถึงแม้ว่าจะมีใบอะไรต่อมิอะไรถูกต้องก็ตาม มีอยู่ 2 ประการคือ
การพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยเป็นที่ปรากฏต่อสายตา โดยไม่จำกัดว่าเป็นเวลาและสถานที่ใดก็เป็นการผิดกฎหมาย
การพาอาวุธปืนไปในที่ชุมนุมชนที่มีลักษณะพิเศษ อันได้แก่ ชุมนุนชนที่ได้จัดให้กาขึ้นเพื่อนมนัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด แม้จะพกมิดชิดก็ตาม ยอมผิดกฎหมาย
3. พกได้โดยมีข้อยกเว้นตามกฎหมายที่กำหนด ดังนี้
มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ตัวอย่างเช่น ต้องขับไปส่งสินค้าต่างจังหวัด ซึ่งถือว่าต้องมีอาวุธปืนติดตัวไปได้ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการเร่งด่วน เพราะอ้างว่าจำเป็นป้องกันสินค้าของตนซึ่งอาจถูกปล้น กรณีดังกล่าวอาจมีการปล้นหรือไม่มีก็ได้ จึงถือว่าไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ตัวอย่าง กรณี เพิ่งขายของได้เงิน 50,000 บาท และจำเป็นต้องนำเงินไปฝากไว้ธนาคาร และห่างจากบ้านราว 10 กม. เพื่อความปลอดภัยจากโจนปล้น ซึ่งในตามทางเคยมีการก่อคดีปล้นมาก่อน ได้พกปืนมีทะเบียน มีใบอนุญาตให้มีให้ใช้ และไม่มีใบอนุญาต พกติดตัวไปพร้อมกับเงินที่ต้องนำไปฝากธนาคารในวันนั้น ถือว่ากรณี นี้เป็นกรณีความจำเป็นและเร่งด่วนได้
บันทึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0503(ส)/27663 ลง 30 ก.ย.25
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพาพาอาวุธปืนไปที่สาธารณะ มีแนวทางในการสั่งไม่ฟ้อง ดังนี้
ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าไว้ในช่องเก็บของท้ายรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋า ใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนออกจากกัน ใส่กระเป๋าเอกสารไว้นำไว้เบาะหลังรถยนต์
ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัดหลายหมื่นบาทนำติดตัวมา แล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ไว้ในช่องเก็บของด้านหน้ารถเพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน
ห่ออาวุธปืนและซองบรรจุกระสุน แยกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงท้ายรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานบางประเภท ลูกจ้าง เจ้าพนักงานบางประเภท มีสิทธิพกพาอาวุธปืนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต เช่น เจ้าหน้าที่ที่คอยรักษาความสงบเรียบร้อย ทหาร ตำรวจ ซึ่งขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญของรัฐ
เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งพกพาอาวุธปืนไปไหนต่อไหนได้เห็นมีเพียง ทหารเหล่า สห. , เจ้าหน้าที่การเงิน โดยต้องแต่งเครื่องแบบประกอบ ทหารทีมีหน้าที่รักษาการณ์ ภายนอก ภายใน ออกทำการฝึก นอกนั้นไม่รอดตำรวจซักที
...
บทความจาก พ.ต.ต. (หญิง) วรรณวนัช รูปขจร
ตอบลบ< สว.ฝอ.5 บก.อก.บช.ก.>
สารวัตรฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
( ใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว )
เมื่อก่อน งานใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เคยอยูที่กองกำกับการ 1 กองบังคับการทะเบียน ที่อยู่ติดแดนเนรมิต
เนื่องจากปัจจุบันมีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่
ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งและส่วนราชการใหม่
ตอนนี้งานใบอนญาตมีอาวุธปืนติดตัว ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ ฝ่ายอำนวยการ 5 ตึก 8 ชั้น 1
กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งอยูที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เรียกย่อ ว่า ฝอ.5 บก.อก.บช.ก. หาไม่ยาก ด้านถนนอังรีดูนังต์ ตรงข้ามกับโคคาสุกี้เลยค่ะ
ทำหน้าที่เหมือนเดิมเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนติดตัว
แต่ ก็ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ง่าย ๆ นะคะ
ข้าราชการและประชาชนบางท่านอาจยังไม่ทราบ
นึกว่ามาถึง ก็ยื่นเอกสารขออนุญาตฯถ้าเอกสารครบก็จะได้รับอนุญาตเลย ไม่ใช่นะคะ
การที่รัฐ จะออกใบอนุญาตให้ใครสักคนพกอาวุธปืนติดตัวได้นั้นไม่ใช่ง่ายๆ เลย
ต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาอีกมากมายด้วย
เพราะฉะนั้น ตำรวจจึงต้องมีหลักเกณฑ์เคร่งครัดในการพิจารณา
เช่น พอคุณมายื่นขออนุญาตฯ เจ้าหน้าที่จะต้องทำการตรวจประวัติมากมายของคุณ
จากนั้น ต้องมีการพิจารณาเบื้องต้นตามลำดับขั้น
แล้วก็ยังต้องเอาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง พิจารณาในการอนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนติดตัวอีกด้วย
และเนืื่องจากขณะนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ออกคำสั่งให้จำกัดการออกใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ทั่วราชอาณาจักรอยู่
การจะออกใบอนุญาตให้กับใครได้นั้น ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ก็ถือว่า เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันไป ด้วยเลยแล้วกันนะคะ
และถ้าต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว
โทร. 02-205-1779 / 02 -251-2818 ทุกวัน ในเวลาราชการนะคะ
...
ตามกฎหมายไม่ห้ามขอ ป. 12 แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี่
ตอบลบการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 (แบบ ป.12) แบ่งเป็น 2 กรณี
และมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งที่ 224/2549 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 เรื่อง จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราช อาณาจักร เป็นการชั่วคราว โดยให้ระงับการออกใบอนุญาตฯ หากบุคคลใดมีความจำเป็นพิเศษมากกว่าปกติธรรมดาและประสงค์จะขออนุญาตมีอาวุธ ปืนติดตัว จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานโดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ดังนั้น การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวตามกรณีดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอ ตามแบบ ป..1 ณ กองบังคับการทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
1.3 เสนอคณะกรรมการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเพื่อพิจารณา
1.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาพร้อมเหตุผลความจำเป็น
1.5 กระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องให้กรมการปกครอง เพื่อพิจารณาตรวจสอบก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1.6 กรมการปกครอง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและเหตุผลความจำเป็น เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผ่านปลัดกระทรวงมหาดไทย) เพื่อพิจารณา
1.7 กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณา
1.8 กรมการปกครอง แจ้งผลการพิจาณาของรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบ
1.9 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกใบอนุญาตและแจ้งผู้ขออนุญาตทราบ
1.10 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
2. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตจังหวัด
2.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีภูมิลำเนา
2.2 นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐาน ส่งเรื่องให้จังหวัดพิจารณา
2.3 จังหวัดตรวจสอบ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งพิจารณา
(ตามนัยหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0302/ว 1777 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2523)
2.4 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาออกใบอนุญาตภายในเขตจังหวัด (แบบ ป.12) และแจ้งให้ ผู้ขออนุญาตทราบ
2.5 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
คำสั่งระงับชั่วคราว เดิม 18 ก.ค. 51 - 30 มิ.ย. 52
คำสั่งระงับชั่วคราว ใหม่ 1 ก.ค. 52 - 30 มิ.ย. 53
* ขณะนี้ พิจารณาอนุมัติใบ ป12 เฉพาะวิชาชีพ ผู้พิพากษา *
คำสั่ง มท. ที่ 179/2552
ให้ระงับป. 12 ทั่วราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2552ถึง 30 มิถุนายน 2553
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/143/47.PDF เดิม
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/086/83.PDF ใหม่
.