เจ็บก่อนคลอดคุณแม่รู้ได้
เจ็บก่อนคลอดคุณแม่รู้ได้ (Mother & Care)
เมื่อกำหนดคลอดใกล้เข้ามา คุณแม่มักเป็นกังวลกับอาการเจ็บท้องคลอด แล้วก็ไม่แน่ใจว่า เมื่อถึงเวลาจริงแล้วตัวเองจะรับมืออย่างไร หรือจะแยกการเจ็บเตือน เจ็บจริง ออกได้อย่างไร อย่ารอช้าคำตอบอยู่บรรทัดถัดไปแล้วค่ะ
อาการเจ็บเตือน
รู้สึกเจ็บตึงบริเวณหน้าท้องทั้ง 2 ข้าง, เอว และอาจเกิดอาการปวดหน่วงๆ ที่หัวหน่าว เพราะช่วงนี้ทารกกลับศีรษะลงต่ำเข้าไปอยู่อุ้งเชิงกรานแล้ว (ช่วงนี้ คนโบราณ จะใช้คำว่าท้องลด คือ ท้องจะต่ำลง)
ถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกเบียดเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด มีส่วนทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น เกิดอาการท้องแข็งขึ้นได้ หรือถ้าคุณแม่อิ่มมากก็ทำให้ท้องแข็งเช่นกัน
เมื่อใกล้คลอดช่องคลอดจะมีการขยายตัว มีเส้นเลือดเล็ก ๆ แตก ทำให้มีมูกเลือดไหลออกมา มักเป็นสีน้ำตาลมากกว่าสีชมพูหรือแดงสด (เป็นเมือกที่อยู่บริเวณปากมดลูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ผ่านเข้าไปบริเวณช่องคลอด)
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
อาการที่เกิดขึ้นช่วงก่อนคลอดนี้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ ความแรงและความถี่ของอาการก็ไม่เพิ่มขึ้น เป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์ หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนนำไปสู่การคลอดจริง ฉะนั้นถ้ารู้สึกเจ็บหรือปวด ให้ลุกเดิน มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น
อาการเจ็บคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกเริ่มมากขึ้น ระยะเวลาเจ็บนานและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ (ใช้วิธีจับเวลาการปวด เช่น ปวดทุก 15 นาที แล้วก็เริ่มปวดกระชั้นขึ้นเรื่อย ๆ)
เริ่มเจ็บปวดที่หลังแล้วปวดไล่มาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าว และท้องน้อย หรือลงมาหน้าขา
มีอาการปวดท้องน้อย อยากถ่ายอุจจาระ ร่วมกับการถ่ายอุจจาระบ่อย
มูกเลือดที่ออกทางช่องคลอด เป็นมูกเลือดสด เนื่องจากปากมดลูกเริ่มมีการเปิดขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ (เตรียมพร้อมกับการคลอด)
ถุงน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด
อาการเหล่านี้ เป็นอาการที่คุณแม่พบได้ และแสดงให้คุณแม่รู้ได้ถึงอาการเจ็บจริงแล้วค่ะ
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
เมื่อถึงเวลาเกิดอาการเจ็บคลอดขึ้นจริง คุณแม่ควรพยายามทำใจและร่างกายให้ผ่อนคลายมากที่สุด เช่น ช่วงกลางวัน คุณแม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ แต่ไม่ควรเดินทางออกนอกบ้าน สังเกตความถี่ในการบีบตัวของมดลูกว่าเป็นอย่างไร เช่น ถี่มากขึ้น เจ็บมากขึ้นหรือไม่ส่วนช่วงกลางคืน ก็ควรนอนพักผ่อนออมแรงเพื่อการคลอด และวิธีบรรเทาอาการปวด อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบอาการปวด แต่ไม่ควรกินยา และเตรียมตัวให้พร้อมในการไปโรงพยาบาล
4 สัญญาณอันตราย
1.ถ้ามูกเลือดที่ออกมาสีแดงสดและออกในปริมาณมาก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะเลือดที่ออกมา อาจเกิดจากการลอกตัวของรกก่อนเวลาหรือรกเกาะขวางทางคลอด
2.หญิงตั้งครรภ์ที่ถุงน้ำคร่ำแตก (น้ำสีเหลืองจาง ๆ ไหลซึมออกมาทางช่องคลอด) จะมีการแข็งตัวของมดลูกภายใน 12 ชั่วโมง หรือภายใน 24 ชั่วโมง ต้องระวังปากช่องคลอดให้สะอาดและพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.น้ำคร่ำอาจไหลออกมาก่อนที่จะเจ็บครรภ์ หรือหลังมีอาการเจ็บครรภ์ก็ได้ แม้ยังไม่เจ็บครรภ์ก็ควรรีบไปพบคุณหมอ โดยเฉพาะน้ำที่ไหลออกมามีสีเขียวปนเลือดหรือรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ก็ควรรีบไปพบคุณหมอค่ะ
4.ถ้ามดลูกบีบตัวเบา ๆ ช้า ๆ แล้วคลายตัว แสดงว่าเป็น เพราะมดลูกบีบตัว ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามดลูกบีบตัวจนคุณรู้สึกเจ็บและเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ต้องรีบไปพบคุณหมอ แม้ยังไม่ถึงหรือใกล้กำหนดคลอดก็ตาม
สำหรับอาการเจ็บเตือน เจ็บคลอดที่กล่าวมานั้น คุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการเจ็บคลอดที่แตกต่างกันได้ แต่อย่างน้อย การที่คุณแม่รับรู้ถึงอาการที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว จะช่วยให้คุณแม่รับมือ ดูแลตัวเองและลูกได้เหมาะสมเป็นไปอย่างมีสติค่ะ
เกร็ดเล็กๆทั้ง 5 สัญญาณก่อนคลอด
ควรรู้ไว้ 5 สัญญาณ ก่อนคลอด
เมื่อเข้าสู่ช่วง “ท้องแก่”ก็เตรียมตัวที่จะได้น้องแล้วเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น พอๆ กับที่คุณแม่รู้ว่าตั้งครรภ์นั่นละ เพราะมีทั้งความยินดี และความวิตกกังวลไปพร้อมๆ กันฉะนั้น ถ้าเรารู้ถึงอาการก่อนคลอดไว้ก่อน จะได้ช่วยให้คุณแม่ได้มีเวลาเตรียมตัว ดูแลตนเอง และไม่ตกใจกันเกินไปเมื่อถึงเวลาคลอดจริง
1. ท้องลด มักเกิดขึ้นช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด เพราะลูกกลับศีรษะลงต่ำ เข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ทำให้ท้องคุณแม่ต่ำลงคุณแม่จะรู้สึกหายใจสะดวกขึ้นไม่อึดอัดบริเวณทรวงอกเหมือนที่ผ่านมา แต่มักปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเนื่องจากมดลูกไปเบียดเนื้อ ที่กระเพาะปัสสาวะ และอาจเกิดอาการปวดหน่วงๆ ที่หัวหน่าว
2. ท้องแข็ง เกิดได้หลายสาเหตุ คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการ ท้องแข็งตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 6 ก็เป็นได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นช่วงเดือนที่ 8(ประมาณ สัปดาห์ที่ 32)เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุดซึ่งอาจมีส่วนทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น จึงเกิดอาการท้องแข็งขึ้นมา หรือถ้าคุณแม่รับประทานอิ่มมากก็ท้องแข็งเช่นกัน
วิธีการสังเกตดูว่า ถ้าคุณแม่รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวเบาๆ ช้าๆ แข็งตัวอยู่พอสมควร แล้วก็คลายตัวช้าๆ เป็นวันละหลายครั้ง แต่ไม่เกิน 6-10 ครั้ง ก็แสดงว่าเป็นเพราะมดลูกบีบตัว ไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่ถ้าแข็งจนเจ็บ และเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ ถึงแม้ว่ายังไม่ถึง หรือใกล้กำหนดคลอดก็ตาม
3. มีมูกเลือด เกิดจากมูกที่ปกติอุดอยู่ที่ปากมดลูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ผ่านเข้าไปบริเวณช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อใกล้คลอด ช่องคลอดมีการขยายตัว และมีเส้นเลือดเล็กๆ แตก ทำให้มูกเลือดไหลออกมาบ้าง บางคนอาจไหลก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์
4. น้ำเดิน คือ น้ำคร่ำคือน้ำที่อยู่ในถุง มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่มีกลิ่น เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคร่ำมักแตกเอง มีน้ำไหลออกมา เราจึงเรียกว่า น้ำเดิน ซึ่งอาการน้ำเดินนี้ จะค่อยๆ ไหลซึมออกมาทีละนิด จนคุณไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำเดินหรือเป็นระดูขาว และมักซึมออกมาช่วงลุกจากท่านั่งหรือท่านอน แต่ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกจะมีน้ำเดิน ไหลออกมามากๆ เหมือนปัสสาวะราด น้ำเดินอาจออกมาก่อนเจ็บครรภ์ หรือหลังจากมีอาการเจ็บครรภ์ไปแล้วก็ได้ ซึ่งถ้ามีอาการน้ำเดินถึงแม้ยังไม่เจ็บครรภ์ก็ควรรีบ ไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
5. อาการเจ็บเตือน คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก จะรู้สึกกังวลกับการคลอดมาก โดยเฉพาะอาการเจ็บ ที่มีทั้งเจ็บเตือน เจ็บจริง จึงเกิดอาการไม่แน่ใจว่าจะคลอดหรือยัง ทำให้ไปโรงพยาบาลเก้อกันบ่อยๆ เราจึงรวบรวมอาการเจ็บเตือน เจ็บจริง มาแยกให้เห็นความแตกต่างกันค่ะ อาการที่กล่าวมาทั้งหมด แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท่าน แต่ถ้าคุณแม่มีข้อสงสัย หรือไม่แน่ใจก็ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ
ที่มา :: http://www.thainewmom.com
สัญญาณใกล้คลอด
เมื่อใกล้กำหนดคลอดคุณแม่แต่ละท่านก็คงจะกังวลว่าคลอดเมื่อไรจะได้เตรียมตัวทัน การคลอดอาจจะไม่ตรงกำหนดก็ได้ หากคุณแม่ทราบอาการก่อนคลอดจะทำให้คุณแม่เตรียมตัวได้ทัน
อาการก่อนคลอด
อาการก่อนคลอดในแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน บางท่านพอมีอาการแล้วก็คลอด แต่บางท่านใช้เวลานานถึงจะคลอดซึ่งยังไม่ทราบเหตุผล อาการใกล้คลอดมีดังนี้
- ท้องลด
- มูกเลือดออกทางช่องคลอด
- เจ็บท้องเตือน
- น้ำเดิน
- ปากมดลูกบางและขยาย
ท้องลดหรือที่เรียกว่า Lightening
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ยังไม่ใกล้คลอด ทารกจะรอยอยู่ในมดลูก แต่เมื่อใกล้คลอดเด็กจะเคลื่อนตัวลงในอุ้งเชิงกราน การที่เด็กเคลื่อนตัวลงอุ้งเชิงกรานจะทำให้คุณแม่รู้สึกจะอึกอัดท้องลดลง ท้องมีขนาดเล็กลง และหายใจได้ดีขึ้น แต่คุณแม่จะรู้สึกหน่วงๆบริเวณหัวเหน่าเหมือนเด็กจะไหลออก และมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไปกดกระเพาะปัสสาวะ และกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณแม่จะเกิดอาการท้องลดก่อนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับคุณแม่คนใหม่ แต่บางท่านเมื่อท้องลดก็เข้าสู่กระบวนการคลอดเลยก็ได้โดยเฉพาะผู่ที่ตั้งครรภ์หลังๆ
การที่ท้องลดยังช่วยบอกว่าท่าคลอดของเด็กน่าจะปกติคือเอาหัวลง แต่หากท่าเด็กอยู่ในท่าขวางท้องจะไม่ลด
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ยังไม่ใกล้คลอด ทารกจะรอยอยู่ในมดลูก แต่เมื่อใกล้คลอดเด็กจะเคลื่อนตัวลงในอุ้งเชิงกราน การที่เด็กเคลื่อนตัวลงอุ้งเชิงกรานจะทำให้คุณแม่รู้สึกจะอึกอัดท้องลดลง ท้องมีขนาดเล็กลง และหายใจได้ดีขึ้น แต่คุณแม่จะรู้สึกหน่วงๆบริเวณหัวเหน่าเหมือนเด็กจะไหลออก และมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไปกดกระเพาะปัสสาวะ และกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณแม่จะเกิดอาการท้องลดก่อนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับคุณแม่คนใหม่ แต่บางท่านเมื่อท้องลดก็เข้าสู่กระบวนการคลอดเลยก็ได้โดยเฉพาะผู่ที่ตั้งครรภ์หลังๆ
การที่ท้องลดยังช่วยบอกว่าท่าคลอดของเด็กน่าจะปกติคือเอาหัวลง แต่หากท่าเด็กอยู่ในท่าขวางท้องจะไม่ลด
มูกเลือดออกทางช่องคลอด
ปกติปากมดลูกของคนตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยายทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากช่องคลอดไหลออกมาทางช่องคลอด และเส้นเลือกที่บริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้เวฃาที่ลูกน้อยจะลืมตาแล้ว
ปกติปากมดลูกของคนตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยายทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากช่องคลอดไหลออกมาทางช่องคลอด และเส้นเลือกที่บริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้เวฃาที่ลูกน้อยจะลืมตาแล้ว
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องจริง
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอกอาจจะทำให้คุณแม่สับสนว่าใกล้คลอดหรือยัง อาการปวดท้องเตือนอาจจะปวดแบตึงๆส่วนอาการเจ็บท้องจริงอาจจะปวดตั้งแต่หลังมายังหน้าท้อง ปวดจากยอดมดลูกลงไปยังหัวเหน่าลักษณะเหมือนคลื่น
เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้อง คุณแม่ต้องบันทึกเวลาที่เริ่มปวด และเวลาที่หายปวด คุณแม่ที่เริ่มเจ็บท้องจะเจ็บแต่ละครั้งนาน 60-90 วินาที และเจ็บทุก 15-20 นาที หากใกล้คลอดจะมีลักษณะที่เจ็บคือเจ็บทุก 3-4 นาที แต่ละครั้งจะเจ็บนาน 45-60 วินาที หากมีอาการเจ็บดังกล่าว ให้รับไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอกอาจจะทำให้คุณแม่สับสนว่าใกล้คลอดหรือยัง อาการปวดท้องเตือนอาจจะปวดแบตึงๆส่วนอาการเจ็บท้องจริงอาจจะปวดตั้งแต่หลังมายังหน้าท้อง ปวดจากยอดมดลูกลงไปยังหัวเหน่าลักษณะเหมือนคลื่น
ลักษณะของอาการปวด | เจ็บเตือน | เจ็บจริง |
---|---|---|
ความถี่ของการเจ็บ | เจ็บท้องไม่สม่ำเสมอ | เจ็บถี่ทุก 30-70 วินาที เมื่อใกล้คลอดจะเจ็บถี่ขึ้น |
เปลี่ยนท่าแล้วปวดน้อยลงหรือไม่ | อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อคุณเดินหรือเปลี่ยนท่า | อาการปวดไม่สัมพันกับท่า |
ความรุนแรงของอาการปวด | อาการปวดจะปวดไม่มาก | ความรุนแรงจะปวดมากขึ้น |
ลักษณะของอาการปวด | อาการปวดจะเบาๆอยู่บริเวณหน้าท้อง | อาการปวดจะเริ่มที่หลังมายังหน้าท้อง |
เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้อง คุณแม่ต้องบันทึกเวลาที่เริ่มปวด และเวลาที่หายปวด คุณแม่ที่เริ่มเจ็บท้องจะเจ็บแต่ละครั้งนาน 60-90 วินาที และเจ็บทุก 15-20 นาที หากใกล้คลอดจะมีลักษณะที่เจ็บคือเจ็บทุก 3-4 นาที แต่ละครั้งจะเจ็บนาน 45-60 วินาที หากมีอาการเจ็บดังกล่าว ให้รับไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
น้ำเดิน
เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคล่ำจะแตกและมีน้ำไหลออกมา ลักษณะใส ไม่มีกลิ่น อาจจะขุ่นเล็กน้อย ให้จดเวลาที่น้ำเดิน ปริมาณ และลักษณะน้ำให้แพทย์ โดยทั่วไปมักจะคลอดภายใน 24 ชม หลังมีน้ำเดิน
เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคล่ำจะแตกและมีน้ำไหลออกมา ลักษณะใส ไม่มีกลิ่น อาจจะขุ่นเล็กน้อย ให้จดเวลาที่น้ำเดิน ปริมาณ และลักษณะน้ำให้แพทย์ โดยทั่วไปมักจะคลอดภายใน 24 ชม หลังมีน้ำเดิน
ปากมดลูกบางและขยาย
เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเปิดเพื่อให้หัวเด็โผล่อกมาที่ปากมดลูด ปากมดลูกจะบางลง( Effacement 0-100%) และปากมดลูกจะถ่างออก(0-10 ซม) เมื่อปากมดลูกบางสุด Effacement 100% และถ่างออก 10 ซมก็สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอด
เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเปิดเพื่อให้หัวเด็โผล่อกมาที่ปากมดลูด ปากมดลูกจะบางลง( Effacement 0-100%) และปากมดลูกจะถ่างออก(0-10 ซม) เมื่อปากมดลูกบางสุด Effacement 100% และถ่างออก 10 ซมก็สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอด
คลายกังวลก่อนคลอด
ตอบลบช่วงใกล้คลอด เป็นธรรมดาของว่าที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่มีความตื่นเต้นจะได้เห็นหน้าลูก แต่ความตื่นเต้นก็เกิดความกังวลยิบย่อยในเรื่องต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น กลัวการคลอด กลัวลูกจะไม่แข็งแรง กลัวโน่นกลัวนี่สารพัดกลัวจนกลายเป็นคุณแม่ขี้กังวลไปโดยปริยาย
สารพัดความกังวลของว่าที่คุณแม่ข้างต้นนั้น พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ เผยถึงความเสี่ยงโดยอ้างอิงจากงานวิจัยว่า ลูกที่เกิดมาอาจมีโอกาสกังวลเช่นเดียวกับคุณแม่ที่ชอบกังวลขณะตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น ถ้าคุณแม่กังวลลูกก็กังวล แม่สบายใจลูกก็สบายใจ
ยิ่งสำหรับคุณแม่ที่ทำกิ๊ฟ (GIFT) ทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือทำเด็กหลอดแก้ว คุณหมอท่านนี้บอกว่า คุณแม่มักจะมีความกังวลมากเกินไป ตัวฮอร์โมนก็เป็นตัวกระตุ้น ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น จึงสาเหตุสำคัญที่จะทำให้หลุด หรือเกิดการแท้งก็เป็นได้
เพราะฉะนั้น อาการขี้กังวลบ่อย ๆ เป็นสิ่งไม่ควรเกิดขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ปิดหูปิดตา เพราะว่าไม่อยากจะรับรู้อะไร ทางที่ดี เมื่อกังวล หรือคิดว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับครรภ์ หรืออาการที่รู้สึกว่ามันไม่ปกติ ควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุด
"ความสมดุลของการดูแลครรภ์ คือการดูแลตัวเองรวมถึงลูกน้อย โดยการเข้าร่วมกิจกรรมกับคุณแม่ท่านอื่นๆ ถ้าคุณแม่ท้องแรก ที่ยังไม่รู้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไม่มีใครเป็นคู่คิด อย่าเกรงใจหมอเด็ดขาด บางท่านคิดว่ายังไม่ถึงเวลานัด ก็ไม่กล้าที่จะไปปรึกษาแพทย์ ที่จริงแล้ว คุณหมอฝากครรภ์จะมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งคุณแม่และก็คุณลูกในครรภ์อยู่แล้ว" จิตแพทย์ให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ดี หากความเครียด หรือความกังวลเข้าจู่โจมคุณแม่ จิตแพทย์ท่านนี้แนะนำว่า คุณแม่ต้องตั้งสติให้ดี เพราะความกังวลมาจากความคิด เช่น คุณแม่อาจกังวลไปว่าลูกจะพิการ ซึ่งต้องแยกแยะให้ออกว่าเป็นได้ หรือไม่ได้ เพราะบางคนกังวลจากข่าว หรือคำบอกเล่าจากคนอื่น แต่ถ้าคุณแม่มีอาการไม่ปกติ คุณหมอช่วยเป็นที่ปรึกษาที่ดีค่ะ
....ต่อ....
คลายกังวลก่อนคลอด
ตอบลบ....ต่อ....
"คุณแม่ทั้งหลาย อย่าคิดมากค่ะ กังวลได้ แต่กังวลให้สมเหตุสมผล ถ้าคิดวนไปวนมา มันไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าเรื่องไหนคิดว่าป้องกันได้ก็ป้องกัน คิดว่ารับมือได้ก็วางแผนไว้ ที่สำคัญไม่ควรเก็บความกังวล หรือความสงสัยไว้คนเดียว แต่ควรหาคนรอบข้างที่รู้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นที่ปรึกษาก็จะช่วยให้หายกังวลได้ค่ะ" จิตแพทย์ฝาก
สำหรับวิธีคลายความเครียดระหว่างตั้งครรภ์นั้น มีหลายวิธีให้เลือก ซึ่งพญ.เพียงทิพย์ มีทางเลือกดี ๆ มาฝากกันค่ะ
- ถ้าคุณแม่ท่านใดชอบโยคะก็หาโอกาสไปเล่นโยคะที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ใช่โยคะสำหรับคนทั่วไป
- หากคุณแม่อยากไปฟังธรรมะก็เลือกสถานที่อันร่มรื่น เป็นธรรมชาติมากที่สุด ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจไปด้วย
- ส่วนคุณแม่ที่ชอบว่ายน้ำ ก็มีส่วนช่วยในเรื่องสุขภาพของคุณแม่ได้ดีค่ะ เพราะการว่ายน้ำจะมีน้ำผยุงหน้าครรภ์เอาไว้ จึงเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยกว่ากิจกรรมบนบก แต่สำหรับคุณแม่ที่น้ำคร่ำรั่ว ไม่แนะนำให้เล่นค่ะ
อาจหากิจกรรมที่เปิดให้ความรู้เกี่ยวกับเตรียมตัวใกล้ครรภ์ก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีคอร์ส หรือกิจกรรมหลากหลายให้คุณแม่ได้เลือก ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังได้เพื่อนอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมไหนๆ ถ้าคุณแม่ทำแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ต้องทำแล้วมีความสุข สนุกสนาน ร่าเริง เบิกบานใจ ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ยิ่งถ้ามีคุณสามีไปด้วยจะยิ่งทำให้คุณแม่มีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณ : ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
.
รู้ไว้ก่อนไปคลอด
ตอบลบเมื่อศีรษะของทารกเคลื่อนต่ำลงมาในช่องกระดูกเชิงกราน โดยศีรษะของเด็กจะหมุน เพื่อหันหน้ามาอยู่ทางด้านหลังของแม่ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ กำลังถือกำเนิดขึ้นกระบวนการคลอดแบบธรรมชาติ (Natural Birth หรือ Active Birth) ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจมีความต้องการ คลอดในลักษณะนี้ เพราะถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิต ลูกผู้หญิงที่จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บท้องเบ่งคลอดเอง... และยิ่งมีคนที่รักอยู่เคียงข้างด้วยแล้วคงสุขใจ และอุ่นใจได้ไม่น้อย...
หากนับถอยหลังก่อนการคลอดนั้น ในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงแรก อาการ และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ คือ ปากมดลูกบางขึ้น และเริ่มเปิดจนเปิดหมด ซึ่งการคลอดในลักษณะตามธรรมชาตินี้สามารถแบ่งอาการเจ็บท้องได้เป็น 3 ระยะ คือระยะเฉื่อย ระยะเร่ง และระยะปรับเปลี่ยน... เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณดีที่เตือนให้รู้ว่าเจ้าตัวน้อยใกล้ลืมตาดูโลกแล้ว...
ระยะเฉื่อย อาจเริ่มมีมูกเลือดบ้างเพราะปากมดลูกเริ่มเปิด แต่ยังไม่มีน้ำเดิน ส่วนใหญ่คุณแม่มีอาการปวดท้องไม่ค่อยมาก ปวดเป็นพักๆ นาน 8-12 ชั่วโมงในท้องครั้งแรก และ 6-8 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตความถี่ในการเจ็บท้องด้วย
ระยะเร่ง คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีน้ำเดิน อาการปวดท้องมากขึ้น เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรง และถี่ขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งต่อชั่วโมง และจะเจ็บท้องนาน 4-6 ชั่วโมงในท้องแรก และ 2-4 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 4-8 เซนติเมตร ซึ่งในระยะนี้อาจยังไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล
ดัง นั้น บทบาทของคนใกล้ชิดอย่างคุณพ่อในระยะนี้ควรประคองรับน้ำหนักคุณแม่ และหาท่าที่ทำให้รู้สึกสบายสำหรับคุณแม่ หากอยู่ในท่ายืนควรงอเข่าเล็กน้อย ป้องกันอาการตึง และล้าที่ขา ควรยืนแยกเท้าให้ห่างพอสมควร เพื่อการทรงตัว และช่วยให้กระดูกเชิงกรานผายออก
ระยะปรับเปลี่ยน เป็นระยะที่ซับซ้อนที่สุดของการคลอด เพราะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร และเข้าสู่การเบ่งคลอดได้ มดลูกจะหดรัดตัวนานมาก ถุงน้ำคร่ำสามารถแตกได้ ซึ่งช่วยลดอาการตึงถ่วงที่ช่องคลอด ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดซึ่งหากเบ่งแล้วรู้สึกเจ็บแสดงว่าปาก มดลูกยังเปิดไม่เต็มที่ควรหยุดเบ่ง และเปลี่ยนเป็นท่าเข่าชิดหน้าอก นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่มีการปรับเปลี่ยนของอารมณ์ด้วย ซึ่งบางครั้งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
สำหรับ วิธีการผ่อนคลายควรอาบน้ำด้วยฝักบัวในท่ายืน หรือนั่งช่วยบรรเทาความปวด ใช้การนวด ประคบน้ำร้อนบริเวณที่ปวด แช่น้ำอุ่นในอ่าง ใช้กลิ่นบำบัด หรือเปิดเพลงผ่อนคลาย ที่สำคัญควรให้การปลอบโยนอย่างใกล้ชิด
ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้าย หลังจากที่ศีรษะเคลื่อนมาอยู่ใกล้ทวารหนักและปากช่องคลอด ในที่สุดศีรษะของเด็กก็จะค่อยๆ เคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมา
ช่วงนี้ควรรีบไปโรง พยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อเตรียมตัวคลอด เพราะคุณแม่จะเจ็บท้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และไม่เกิน 1 ชั่วโมงในท้องหลัง ซึ่งปากมดลูกจะเปิดหมดแล้ว เป็นระยะที่เด็กเคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมาแล้ว ซึ่งหลังจากทารกคลอดแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อลดขนาด และจะหดตัวต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้จะได้รับการช่วยเมื่อทารกดูดนมแม่ จากนั้นรกจะค่อยๆ ลอกออกจากผนังมดลูก และเคลื่อนลงสู่ช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะคลอดหลังจากการคลอดทารกประมาณ 20 นาที จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบว่าไม่มีส่วนใดติดค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีก...
คุณแม่ควรอยู่ในท่า นั่งระหว่างรอให้รกคลอด จะได้โอบอุ้ม และมองเห็นหน้าลูกได้ชัดเจน นอกจากนนี้ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น การที่คุณแม่และลูกได้สัมผัสผิวของกัน และกัน ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นผ่านสัมผัสของแม่ ซึ่งช่วยในการปรับอุณหภูมิของลูก และช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย
เมื่อคุณแม่เข้าใจการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และลักษณะอาการต่างๆ ก่อนคลอดแล้ว ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้ และช่วยให้คุณแม่คนใหม่สามารถรับมือกับช่วงเวลานี้อย่างมีสติ และไม่ตื่นกลัวต่อไป...
.
เทคนิคเตรียมตัวก่อนคลอด
ตอบลบก่อนคลอด เรื่องที่คุณแม่ท้องแรกมักจะกังวลใจ หนึ่งในหลายๆ เรื่องคือเรื่องการคลอดนั่นเอง บ้างได้ยินมาว่าตอนคลอดจะเจ็บมาก คลอดลำบาก ต้องมีท่าทางในการคลอด ต่างๆ นานา ซึ่งการจะคลอดลูกง่ายหรือยากนั้น จริงๆ แล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องแรกควรทราบอย่างยิ่งค่ะ
ปัจจัยแรก
ขึ้นอยู่กับอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ว่ามีขนาดได้มาตรฐานหรือไม่ หากเล็กไปการคลอดก็จะยากขึ้น อย่างไรก็ดี ก่อนคลอดแพทย์ก็จะวัดขนาดของกระดูกอุ้งเชิงกรานในช่วงอายุครรภ์ของแม่แล้ว ซึ่งพอจะบอกได้ว่าขนาดของอุ้งเชิงกรานใช้ได้หรือไม่ หากมีปัญหา แพทย์ที่ทำการคลอดจะได้หาหนทางแก้ไขต่อไป
ปัจจัยที่สอง
ขึ้นอยู่กับขนาดของทารก หากทารกมีขนาดใหญ่มากกว่า 3,500 กรัม การคลอดก็จะยากขึ้นหรืออาจคลอดตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะจะมีความเสี่ยงมาก แพทย์อาจจะพิจารณาวิธีผ่าคลอดให้แม่เป็นทางเลือก
อยากคลอดง่ายทำไงดี
- ควรพยายามดูแลตัวเองให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด เช่น อาบน้ำอุ่น พักผ่อนมากขึ้น หรืออาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางประคบหลังเพื่อช่วยคลายปวด แต่ไม่ควรกินยาแก้ปวด
- ไม่ควรอั้นปัสสาวะนานๆ การที่กระเพาะปัสสาวะว่าง จะมีผลช่วยให้การคลอดเป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากไม่เกิดอุปสรรค์กีดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
- หากรู้สึกหิว ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ หรืออาหารว่างเบา ๆ ไม่ควรทานอาหารหนักเต็มมื้อ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะใช้เวลาในการย่อยนาน ยิ่งหากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นระหว่างการคลอด จะเป็นอุปสรรคในการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ไม่สามารถให้ยาสลบได้
- ควรใช้เวลาที่พักระหว่างการเจ็บครรภ์อย่างคุ้มค่า โดยการนอนให้นิ่งและสงบอารมณ์ เพื่อเก็บพลังไว้ใช้ในการคลอด
- หากคุณแม่ยังสามารถลุกเดินได้ อาจจะลุกเดินรอบ ๆ เตียงบ้างก็ได้ หรือขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากการเกร็งตัว
- หากรู้สึกว่าต้องการระงับอาการปวด ควรบอกแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแล
- พยายามควบคุมการหายใจเข้า ออก ตามวิธีที่พยาบาลในห้องคลอดแนะนำ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น
....ต่อ....
.
....ต่อ....
ตอบลบบริหารร่างกายให้คลอดง่าย
การบริหารร่างกายก่อนการคลอดเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คุณแม่คลอดง่าย ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่แข็งแรง และช่วยคลายอาการปวดเมื่อยอีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ต้องบริหารร่างกายอย่างไรบ้าง
1. บริหารกล้ามเนื้อขา สะโพกและข้อเท้า
เป็นท่าที่ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขา สะโพก และเท้าของคุณแม่ดีขึ้น
โดยการนั่งพิงหมอน เหยียดขาตรง วางมือข้างลำตัว กระดกเท้าทั้งสองข้างขึ้นลงสลับกัน โดยให้ส้นเท้าวางอยู่กับที่ ขณะกระดกเท้าขึ้นหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเมื่อกดปลายเท้าลง ทำวันละ 8 - 10 ครั้งค่ะ
จากนั้นนั่งท่าเดียวกัน กด ปลายเท้าลง หมุนปลายเท้าและข้อทั้งสองข้างเป็นวงกลม ให้ส้นเท้าอยู่กับที่ ไม่งอเข่าค่ะ โดยหมุนปลายเท้าเข้าหาตัวเอง เมื่อครบรอบแล้วปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกระดกขึ้น แล้วให้หมุนปลายเท้าออกเมื่อครบรอบ ปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกดลง ทำสลับกัน 8 - 10 ครั้งค่ะ
2. บริหารกล้ามเนื้อต้นขา
เป็นท่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขายืด ขยาย มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการนั่งขัดสมาธิวางฝ่ามือตรงเข่า หายใจเข้าหลังตรง และหายใจออกทำ 8 - 10 ครั้ง จากนั้นนั่งขัดสมาธิประกบฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ดึงส้นเท้าชิดตัว มือทั้งสองรองอยู่ใต้หัวเข่า เท้าชิดตัว ใช้มือทั้งสองที่สอดใต้เข่าทั้งสองข้างดันเข่าพร้อมกับสูดลมหายใจเข้า แล้วเปลี่ยนเป็นใช้ฝ่ามือกดเข่าลงช้า ๆ พร้อมกับหายใจออก ทำ 8 - 10 ครั้ง
3. บริหารกล้ามเนื้อสีข้าง
ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อสีข้าง ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และหายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ โดยการนั่งขัดสมาธิ ชูมือขวาขึ้นเหนือศีรษะให้มากที่สุด หลังยืดตรง เอียงตัวมาทางซ้ายให้มากที่สุดพร้อมหายใจเข้า กลับมานั่งตรงตามเดิม และหายใจออกสลับข้างเป็นยกมือข้างซ้าย ทำเช่นเดียวกัน 8 - 10 ครั้ง
4. บริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดอุ้งเชิงกราน และฝีเย็บ
ช่วยให้ฝีเย็บยืดขยายสามารถควบคุมได้ง่าย โดยการขมิบ และคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ ช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปัสสาวะ ขณะขมิบให้หายใจเข้า และขณะคลายให้หายใจออก
5. บริหารกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และบรรเทาอาการปวดหลัง โดยการที่คุณแม่อยู่ในท่าคลาน แขนเท้าพื้นเหยียดตรง หายใจเข้าพร้อมกับโก่งหลังขึ้น ก้มศีรษะ แล้วหายใจออกพร้อมกับแอ่นหลังลงและยกศีรษะขึ้น
6. บริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน
เป็นท่าที่มีประโยชน์สำหรับการคลอดเพราะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนล่างยืดขยายและมีความยืดหยุ่น ทั้งยังลดอาการปวดหลังได้ดี โดยการนอนหงายกับพื้น ชันเข่าแยกขาห่างจากกันเล็กน้อย วางแขนทั้งสองข้างชิดลำตัวสูดหายใจเข้า กลั้นไว้พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา และหน้าท้อง แอ่นหลังขึ้น โดยไหล่และสะโพกแนบติดพื้น หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับกดหลังให้ติดพื้นตามเดิม
คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว เคลื่อนไหวได้สะดวก และอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท นอกจากนี้ การบริหารครั้งแรกควรทำเพียง 10 - 5 นาที วันละ 1 - 2 ท่า เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว หลังจากนั้นค่อยเพิ่มเป็นวันละ 30 - 40 นาที วันละ 4 - 5 ท่า แต่ถ้าหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยต้องรีบหยุดทันทีนะคะ
.