Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

การให้อาหารเสริม

การให้อาหารเสริม
 
 
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยหลายคนจะแนะนำให้เริ่มอาหารเสริม เมื่อทารกอายุ 4 เดือน แต่ทารกส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีโดยการกินนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนหรือนานกว่านั้น ดังนั้นคุณแม่จึงควรเริ่มให้อาหารเสริมเมื่อลูกแสดงทีท่าว่าพร้อมจะเริ่มกินอาหารเสริม มากกว่าที่จะดูตามปฏิทิน นอกจากนี้ทั้งยูนิเซฟและองค์กรด้านสุขภาพเฮลธ์แคนาดา ยังแนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน






เมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มให้อาหารเสริม

ดูที่ลูกของคุณ อย่าดูปฏิทิน



ช่วงที่ดีที่สุดที่จะเริ่มอาหารเสริมคือเมื่อทารกเริ่มแสดงความสนใจจะกินอาหารอื่นๆ ทารกบางคนเริ่มสนใจอาหารที่อยู่ในจานของพ่อแม่ตั้งแต่อายุแค่ 4 เดือน แต่ทารกส่วนใหญ่มักจะเริ่มคว้าหรือพยายามหยิบอาหารที่อยู่ในจานของพ่อแม่ตอน 5 หรือ 6 เดือน เมื่อทารกเริ่มคว้าอาหารและพยายามหยิบใส่ปากตัวเอง นั่นก็น่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะให้เขาเริ่มกินอาหารเสริม ไม่มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษว่าจะต้องให้อาหารเสริมเมื่ออายุเท่านั้นเท่านี้ (เช่น 4 เดือน หรือ 6 เดือน) ดังนั้นคุณแม่ควรดูที่ความต้องการและความพร้อมของลูกมากกว่า

เมื่อคุณแม่เริ่มให้ลูกกินอาหารเสริม ถ้าเขาไม่ยอมกิน ให้รอประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วทดลองใหม่ หรืออาจจะลองเปลี่ยนชนิดของอาหาร ทารกที่มีแนวโน้มแพ้อาหารง่าย อาจไม่ยอมกินอาหารเสริมใดๆ เลยจนกระทั่ง 8-9 เดือนหรือโตกว่านั้น

ทารกกินนมแม่จะมีความพร้อมในการย่อยอาหารเสริมได้เร็วกว่าและได้ดีกว่าทารกกินนมผสม เพราะนมแม่มีเอ็นไซม์ที่ช่วยย่อยไขมัน, โปรตีน และแป้ง นอกจากนี้ทารกกินนมแม่จะมีโอกาสได้รับรู้รสชาติที่หลากหลาย เพราะรสชาติของอาหารต่างๆ ที่แม่กินจะส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ ทำให้ทารกกินนมแม่มีความพร้อมที่จะยอมรับอาหารเสริมได้ง่ายกว่าทารกกินนมผสม นี่คืออีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ของน้ำนมแม่




ควรให้อาหารเสริมแทนการให้นมแม่หรือไม่


ไม่ควร เพราะในระหว่าง 1 ปีแรก อาหารเสริมมีหน้าที่เพียง “ส่งเสริม” นมแม่ ไม่ใช่อาหารหลักหรือทดแทนนมแม่ การให้อาหารเสริม คือการเพิ่มเนื้อเข้าไปในอาหารของทารก ให้เขาได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ และช่วยพัฒนาทักษะการใช้มือร่วมกับสายตาจากการป้อนอาหารด้วยนิ้วมือ ในระหว่างที่ลูกเริ่มกินอาหารเสริม คุณแม่ยังคงต้องให้ลูกได้กินนมแม่เท่าที่เขาต้องการ เพราะน้ำนมแม่จะต้องเป็นอาหารหลักที่ให้สารอาหารแก่ทารกจนกระทั่งเกือบๆ 1 ขวบ การให้ทารกได้กินนมแม่ทุกครั้งที่เขาอยากกิน จะช่วยให้คุณแม่สามารถรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้ด้วย





ควรให้อาหารเสริมอย่างไร


ถ้าทารกเริ่มกินอาหารเสริมตอนประมาณ 6 เดือน ก็แทบไม่แตกต่างเลยว่าจะให้เขากินอาหารชนิดไหน และให้กินอะไรก่อนหลัง แต่เพื่อความรอบคอบ ในช่วงแรกๆ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่เครื่องปรุงเยอะๆ หรืออาหารที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการแพ้ (เช่น ไข่ขาว หรือสตรอเบอร์รี่) แต่ถ้าทารกจะหยิบข้าวสวยจากจานของคุณแม่เข้าปาก ก็ยอมให้เขาได้ลองกินข้าวสวยได้ แต่ต้องระวังอย่าให้อาหารร้อนเกินไป

ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มให้อาหารตามลำดับใดๆ ทั้งสิ้น และไม่จำเป็นที่ทารกจะต้องกินอาหารแค่ชนิดเดียวในช่วงใดช่วงหนึ่ง บางทีทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ยอมกินอาหารเสริมสำเร็จรูปสำหรับทารก ถ้าคุณแม่ให้เขากินตอนประมาณ 6 เดือน แต่นี่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล และไม่จำเป็นต้องพยายามจะทำให้เขากินมันให้ได้

อาหารเสริมสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดไม่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นพิเศษ และไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องสิ้นเปลืองเงินไปซื้อหา คุณแม่ควรให้ทารกได้ลองกินอาหารที่เขาอยากกินมากกว่า ในช่วงแรกควรให้ลูกได้สนุกกับการกินอาหาร โดยไม่ต้องกังวลว่าเขาจะกินได้เท่าไร เพราะช่วงแรกๆ อาหารเสริมส่วนใหญ่มักจะไปติดอยู่ตามผมตามหัว หรือไม่ก็หล่นลงพื้นอยู่แล้ว

ถ้าเริ่มให้อาหารเสริมตอนทารกอายุ 6 เดือนหรือโตกว่านั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปั่นอาหารจนละเอียด แค่ใช้ช้อนบดๆ ก็พอแล้ว นอกจากนี้ก็ยังไม่จำเป็นต้องระวังจนเกินเหตุว่าลูกควรจะกินอาหารเสริมเท่าไร ไม่จำเป็นต้องจำกัดให้กินแค่ 1 ช้อนชาถ้าเขาอยากกินมากกว่านั้น






ควรให้อาหารเสริมบ่อยแค่ไหนและปริมาณเท่าไร


ควรให้ทารกกินอาหารเสริมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อลูกเริ่มยอมกินอาหารเสริมบ้างแล้ว (บางทีอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง) คุณแม่ก็ยังต้องให้เขากินนมแม่บ่อยครั้งเหมือนเดิมและเพิ่มอาหารเสริมไปตามความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นของเขา ในช่วงแรกแค่อาจให้กินแค่สองสามคำต่อวัน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ตารางต่อไปนี้เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป (ในกรณีที่เริ่มให้อาหารเสริมหลังอายุ 6 เดือน ก็สามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้เช่นกัน แต่ควรสังเกตและปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมและพัฒนาการของทารก)
อายุ
อาหารเสริม
ของเหลว
0 - 4 เดือนน้ำนมแม่อย่างเดียวน้ำนมแม่อย่างเดียว
4 - 6 เดือนน้ำนมแม่อย่างเดียวให้กินนมแม่ตามปกติ (ตามเวลาและความต้องการของทารก) ถ้าลูกวัย 4-6 เดือนของคุณกำลังจะเริ่มหัดใช้ถ้วย การให้เขาได้จิบนมแม่ที่ปั๊มออกมาจากถ้วยวันละ 1-2 ครั้งก็อาจจะเป็นเรื่องดีและน่าสนุกสำหรับเขา หรืออาจจะให้เขาได้ลองจิบน้ำสะอาดจากถ้วยได้บ้าง แต่อย่าให้น้ำเกิน 2 ออนซ์ใน 24 ชั่วโมง
6 - 7 เดือนให้อาหารเสริมวันละ 1 ครั้งเป็นอย่างมาก แต่คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการให้อาหารเสริม 1 ครั้งทุกสองสามวัน หรือห่างกว่านั้นให้กินนมแม่ตามปกติ (ตามเวลาและความต้องการของทารก) ถ้าคุณแม่ไม่ได้ตั้งใจจะให้ลูกหย่านมในระยะนี้ ก็ไม่ควรให้อาหารเสริมแทนมื้อนมแม่ จำกัดการดื่มน้ำไว้เป็นแค่การจิบจากถ้วยสองสามจิบพร้อมกับ มื้ออาหาร
น้ำผลไม้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับทารกในด้านสารอาหาร เพราะทารกจะได้สารอาหารจากนมแม่อยู่แล้ว แต่ถ้าคุณแม่อยากให้ลูกกินน้ำผลไม้จริงๆ ควรให้จิบจากถ้วยสองสามจิบพร้อมกับมื้ออาหาร ค่อยๆ เริ่มทีละน้อย เช่นเดียวกับการเริ่มให้อาหารเสริมชนิดอื่น ควรเติมน้ำสะอาดลงในน้ำผลไม้เพื่อให้เจือจางลง และไม่ควรให้น้ำผลไม้เกิน 3–4 ออนซ์ต่อวัน
7 - 9 เดือนสังเกตจากความต้องการของทารก ซึ่งจะทำได้ง่าย ถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่ก่อนการให้อาหารเสริม หรือปล่อยให้ทารกได้หยิบหรือตักอาหารกินเอง ถ้าทารกแสดงท่าทีว่าชอบและอยากกิน ก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารเสริมให้เขา แต่ควรจำกัดไม่ให้เกิน 2 ครั้งต่อวัน
9 - 12 เดือนสังเกตจากความต้องการของทารก ซึ่งจะทำได้ง่าย ถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่ก่อนการให้อาหารเสริม หรือปล่อยให้ทารกได้หยิบหรือตักอาหารกินเอง ถ้าทารกแสดงท่าทีว่าชอบและอยากกิน ก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารเสริมให้เขา แต่ควรจำกัดปริมาณแคลอรีที่ทารกจะได้จากอาหารเสริมไม่ให้เกิน 25% ของแคลอรีที่เขาต้องการใน 1 วัน (ทารกบางคนกินอาหารเสริมได้น้อยกว่า 25% เมื่อเขาอายุ 12 เดือน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ)





ควรให้อาหารเสริม ก่อน หรือ หลัง การให้นม


สิ่งที่เราต้องการในช่วง 1 ปีแรก คือ การให้อาหารเสริมเพื่อ “เสริม” การให้น้ำนมแม่ ไม่ใช่ทดแทนนมแม่ ดังนั้นเมื่อเริ่มให้ลูกได้ลองกินอาหารเสริม กิจวัตรของการให้ลูกกินนมแม่ไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงไป แต่คุณแม่จะให้อาหารเสริมโดยเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างช้าๆ ตามความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นของเขา ทารกจะต้องได้รับปริมาณน้ำนมแม่เท่าเดิม (หรือมากกว่า) เมื่อเขาโตขึ้น และได้รับอาหารเสริมเพิ่มเติมขึ้นจากน้ำนมแม่

จุดประสงค์หลักที่สำคัญมากคือ จะต้องให้น้ำนมแม่เป็นแหล่งสารอาหารหลักของทารกตลอด 1 ปีแรก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อโภชนาการที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงของทารก สารอาหารในน้ำนมแม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาการในช่วง 1 ปีแรก นอกจากนี้คุณประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหลายประการที่ได้จากการกินนมแม่จะสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวของทารก (ยิ่งอาหารของทารกประกอบด้วยนมแม่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเท่าไร เขาก็จะยิ่งได้รับคุณประโยชน์ในด้านสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น)

ถ้าลูกของคุณยังไม่ถึง 1 ขวบ (และคุณแม่ยังไม่คิดจะให้ลูกหย่านม) ควรให้ลูกกินนมแม่ก่อนกินอาหารเสริมทุกครั้ง ทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมตั้งแต่อายุน้อยๆ และทารกที่กินอาหารเสริมปริมาณมากๆ มีแนวโน้มที่จะหย่านมเร็วขึ้น

การให้ลูกกินนมแม่ก่อนอาหารเสริมเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้รอยต่อระหว่างการเริ่มกินอาหารเสริมเป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อที่ปริมาณน้ำนมแม่จะยังคงอยู่ต่อไป และทารกจะยังคงได้กินนมแม่ที่เขาต้องการ

โดยทั่วไปการให้กินอาหารเสริมประมาณครึ่งชั่วโมงหลังจากให้กินนมแม่จะค่อนข้างเป็นผลดี เพราะการให้ลูกกินนมแม่หลังให้อาหารเสริม จะทำให้คุณแม่จะสามารถป้อนอาหารเสริมให้ลูกไปได้เรื่อยๆ จนกระทั่งเขาเริ่มแสดงอาการอิ่มหรือไม่อยากกิน (เช่น หันหน้าหนี ปิดปาก ผลักช้อนออก อยากจะลงไปคลาน คายหรือพ่นอาหารออกมา ฯลฯ) การให้อาหารเสริมในลักษณะนี้ จะทำให้ทารกส่วนใหญ่สามารถรักษาสมดุลของปริมาณนมแม่และอาหารเสริมที่เขาจะได้รับได้ดี



เหตุผลที่ควรจะให้ลูกกินนมก่อนกินอาหารเสริม


  • การเริ่มให้อาหารเสริมตั้งแต่ทารกอายุน้อยๆ และให้กินในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ทารกหย่านมเร็วขึ้นไม่ว่าคุณแม่จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การให้ทารกกินอาหารเสริมก่อนการให้กินนมแม่มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การหย่านมที่เร็วขึ้น (ขึ้นอยู่กับว่าบ่อยแค่ไหน และมากเท่าไร ฯลฯ)

  • ทารกส่วนใหญ่ที่กินอาหารเสริมก่อนกินนมแม่ จะกินนมแม่น้อยลง ถึงแม้จะใช้เวลาในการกินนมนานเท่ากันก็ตาม


  • ถ้าให้ลูกกินนมแม่ก่อน คุณแม่ก็จะไม่ต้องกังวลว่าจะให้อาหารเสริมมากเกินไป คุณแม่สามารถให้ทารกกินอาหารเสริมไปได้เรื่อยๆ ให้มากเท่าที่เขาอยากกิน


ในทางกลับกัน การให้อาหารเสริมก่อนให้นมแม่ ก็อาจจะเป็นไปด้วยดีในกรณีต่อไปนี้


  • สามารถควบคุมให้การให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก โดยการจำกัดปริมาณและความถี่ของมื้ออาหารเสริม และค่อยๆ เพิ่มความถี่และปริมาณอย่างช้าๆ


  • คุณแม่วางแผนว่าจะให้ลูกหย่านมตั้งแต่เนิ่นๆ (ระหว่าง 6 - 12 เดือน) หรือคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงให้ลูกหย่านม






ถ้าจะเริ่มให้อาหารเสริมตั้งแต่ 3 เดือน จะเป็นอย่างไร


ในวัยนี้ เพื่อความไม่ประมาทควรให้อาหารเสริมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ลองเริ่มจากอาหารเสริมสำเร็จรูปหรือ อาหารที่บดละเอียดได้ง่ายอย่างกล้วย บางครั้งทารกอาจจะกินจากนิ้วมือของคุณแม่ได้ดีกว่ากินจากช้อน ควรเพิ่มปริมาณอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงแรก แต่เมื่อทารกยอมรับอาหารเสริมได้แล้ว ก็สามารถเพิ่มปริมาณและความหลากหลายของอาหารได้ตามที่ทารกต้องการ

แต่ในขณะที่คุณแม่ตั้งคำถามนี้ขึ้นมา คุณแม่ควรจะต้องถามตัวเองด้วยว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ต้องการให้อาหารเสริมกับลูกตั้งแต่ตอน 3 เดือน บางทีอาจะเป็นเพราะบรรดาคุณย่าคุณยายทั้งหลายที่รู้สึกกระตือรือร้นอยากให้หลานได้เริ่มกิน “อาหารจริงๆ” เสียที แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่จะเริ่มอาหารเสริม แต่ถ้าไม่มีเหตุผลอื่นที่ดีจริงๆ อย่าเริ่มอาหารเสริมตอน 3 เดือน

เหตุผลที่สมควรที่สุดในการเริ่มอาหารเสริมก่อน 5-6 เดือน คือ ทารกน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ และคุณแม่ได้ปรึกษาและขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ทารกกินนมได้เต็มอิ่มมากขึ้นและโตเร็วขึ้น ในกรณีเช่นนี้ การให้ทารกกินอาหารเสริมจะสามารถช่วยปัญหาได้ (ในขณะที่การให้ทารกกินนมผสมไม่มีประโยชน์ และอาจเป็นโทษอีกด้วย โดยเฉพาะถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมผสมจากขวด เพราะทารกที่กินนมจากอกแม่ได้ไม่เต็มอิ่ม จะเริ่มกินจากขวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่ยอมกินนมจากอกแม่อีกเลย) แต่ในขณะเดียวกันคุณแม่ก็ยังต้องให้ลูกกินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมต่อไป และให้เขาได้กินนมแม่เท่าที่เขาต้องการ





ถ้าลูกของฉันไม่ยอมกินอาหารเสริมบางชนิดหรือทุกชนิด


ทารกจำนวนมากเริ่มกินอาหารเสริมได้ช้า ไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับทารกบางคนที่จะต้องใช้เวลาหลายๆ เดือนหลังจากได้ทดลองกินอาหารเสริมครั้งแรก กว่าที่เขาจะยอมกินแต่โดยดี ทารกที่ฟันขึ้นช้าและทารกที่แพ้อาหารง่ายมักจะเริ่มกินอาหารเสริมได้ช้ากว่าคนอื่น ความล่าช้าในการยอมรับอาหารเสริมนี้ อาจจะเป็นกลไกที่ร่างกายของเขาสร้างขึ้นมาป้องกันตัวเองไว้จนกว่าระบบการย่อยอาหารของเขาจะมีความพร้อมที่จะรับกับอาหารชนิดใหม่ๆ

ถ้าลูกน้อยยังคงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเติบโตขึ้นตามที่เขาควรจะเป็น คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล เพราะนั่นแสดงว่าน้ำนมแม่ยังสามารถตอบสนองความต้องการสารอาหารของลูกได้ดี อย่าลืมว่าการให้อาหารเสริมในช่วง 1 ปีแรก ก็ควรจะเป็นแค่การ “เสริม” จากน้ำนมแม่อยู่แล้ว น้ำนมแม่ยังคงต้องเป็นแหล่งอาหารหลักสำหรับทารกใน 1 ปีแรก

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ คือ พยายามให้อาหารเสริมต่างๆ ทารกไปเรื่อยๆ แต่ไม่ต้องกังวลถ้าเขาไม่สนใจกินหรือยอมกินแค่เพียงเล็กน้อย หน้าที่ของคุณแม่มีเพียงอย่างเดียวก็คือ จะให้ลูกน้อยกินอาหารชนิดไหน และจะให้เวลาไหน ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะกินมันหรือเปล่า เรื่องนั้นควรปล่อยให้ลูกเป็นคนตัดสินใจ การบังคับหรือยัดเยียดให้อาหารเสริมให้ทารกเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

ทารกบางคนชอบกินอาหารที่เขาสามารถหยิบและป้อนใส่ปากตัวเองได้มากกว่าอาหารที่คุณแม่ต้องใช้ช้อนตักป้อน นอกจากนี้เด็กทารกจำนวนมากก็จะชอบกินอาหารเสริมที่มาจากอาหารธรรมดาทั่วๆ ไป มากกว่าอาหารสำเร็จรูปสำหรับทารกที่มีรสชาติจืดชืด ดังนั้นคุณแม่อาจจะลองให้ทารกได้กินอาหารที่หลากหลายไปพร้อมๆ กับมื้ออาหารของสมาชิกในครอบครัว

คุณแม่อาจจะรู้สึกสะดวกที่จะเตรียมอาหารเสริมไว้พร้อมให้ทารกได้กินตลอดทั้งวัน เพื่อที่เขาจะได้หยิบกินได้บ่อยๆ ตามต้องการ พ่อแม่บางคนทำอาหารเสริมชนิดต่างๆ ใส่ถาดทำน้ำแข็งหรือถาดมัฟฟิน ทารกบางคนต้องการกินของว่างปริมาณน้อยๆ หลายๆ ครั้งตลอดทั้งวัน มากกว่าการกินอาหารเสริมมื้อใหญ่ๆ 1-3 มื้อ



การให้อาหารเสริมไม่มีเทคนิคตายตัว วิธีที่ดีที่สุดคือ สังเกตและทำตามความต้องการของทารก ให้เขาตัดสินใจเองว่าจะกินอาหารเสริมมากเท่าไร และบ่อยแค่ไหน และต้องไม่ลืมว่าน้ำนมแม่จะต้องเป็นอาหารหลักสำหรับทารกในช่วง 1 ปีแรก



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น