Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 - 9 เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 - 9 เดือน

 

What your baby looks like this week



Conception

See what happens inside you during the conception process..

One Month

Your baby is an embryo consisting of two layers of cells from which all her organs and body parts will develop.

Two Months

Your baby is now about the size of a kidney bean and is constantly moving. He has distinct, slightly webbed fingers.

Three Months

By now your baby is about 3 inches long and weighs nearly an ounce. Her tiny, unique fingerprints are now in place.

Four Months

Your baby is now about 5 inches long and weighs 5 ounces. His skeleton is starting to harden from rubbery cartilage to bone.

Five Months

Eyebrows and eyelids are now in place. Your baby would now be more than 10 inches long if you stretched out her legs.

Six Months

Your baby weighs about a pound and a half. His wrinkled skin is starting to smooth out as he puts on baby fat.

Seven Months

By now, your baby weighs about 3 pounds and is more than 15 inches long. She can open and close her eyes and follow a light.

Eight Months

Your baby now weighs about 4 3/4 pounds. His layers of fat are filling him out, making him rounder, and his lungs are well developed.

Nine Months

The average baby is more than 19 inches long and weighs nearly 7 pounds now, but babies vary widely in size at this stage


From :: http://www.babycenter.com/fetal-development-week-by-week


พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 สัปดาห์



พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกน้อยจะสูงประมาณ 2 ซม. แขนและขาของลูกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเคลื่อนไหวไปมาได้แล้ว เปลือกตาเริ่มเป็นรูปร่าง (แม้ว่าลูกจะยังเปิดตาไม่ได้ก็ตาม) และเริ่มเห็นการเจริญเติบโตของหูมากขึ้น ส่วนนิ้วน้อยๆ ของลูกก็จะแยกจากกันและปุ่มฟันจะเติบโตต่อไป นอกจากนี้ ลูกจะเคลื่อนไหวมากขึ้นด้วย โดยหันหัว งอนิ้วเท้า และเปิดปิดปากน้อยๆ ของเขา แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลาที่คุณจะเข้าชั้นเรียนเตรียมคลอด แต่ถ้าต้องร่วมชั้นเรียนหรือมีเวลาว่าง ขอแนะนำให้สำรองที่นั่งไว้ก่อนล่วงหน้า มีชั้นเรียนหลากหลายชนิดให้คุณเลือก สูติแพทย์ สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชั้นเรียนเหล่านี้ในพื้นที่ที่คุณอยู่ได้

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
สำหรับการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และอาหารที่ควรรับประทาน บางอย่างอาจเป็นอันตรายต่อลูก รวมทั้งทำให้คุณไม่สบายด้วย ดังนั้น ความปลอดภัยของอาหารต้องเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง
อาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์
- ไข่ดิบหรือดิบๆ สุกๆ หรืออาหารที่อาจจะทำมาจากส่วนผสมดังกล่าว (รวมถึงไอศกรีมบางชนิดและมายองเนส)
- เนื้อสัตว์ ไก่ และปลาที่ปรุงไม่สุก
- ปลาหรือเนื้อสัตว์ดิบในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ซูชิหรือสเต็กเนื้อที่ไม่สุกดี
อาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกมีดังนี้
- นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ ชีสที่ทำจากนมซึ่งไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือโยเกิร์ต
ตับบด เป็นอาหารที่มีปริมาณวิตามินเอมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลิสทีเรีย (listeria), ปลาดาบ (Swordfish), ปลากระโทงแทง (marlin), ปลาฉลาม และปลาทูน่า ปลาเหล่านี้มีสารปรอทซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อระบบประสาทที่กำลังเติบโตของลูก ถ้าคุณอดใจไม่ไหว ต้องการทานปลาทูน่า ให้ทานอย่างมากที่สุด 2 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ 10 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 10 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกจะมีความสูงประมาณ 3 ซม . และ เนื่องจากสมองของลูกเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จึงทำให้ศีรษะดูมีขนาดใหญ่มาก นิ้วเท้าเริ่มแยกเป็นนิ้วและลูกเคลื่อนไหวมากขึ้นในแต่ละวัน และจะ เริ่มหลับๆ ตื่นๆ พร้อมทั้งบริหารกล้ามเนื้อของตน แขนจะงอบริเวณที่เป็นข้อศอก และถ้ามองเห็นเข้าไปข้างในได้ คุณจะเห็นกระดูกสันหลังของลูกอย่างชัดเจนผ่านผิวหนัง
ร่างกายของคุณจะดูดซึมธาตุเหล็กจากซีเรียลและผักต่างๆ ได้ดีที่สุด หากคุณทานอาหารอื่นที่อุดมไปด้วยวิตามินซีในเวลาเดียวกัน โดยคุณแม่อาจ ดื่มน้ำส้มสักแก้วพร้อมซีเรียลในเวลาอาหารเช้า หรือทานผลไม้สดเป็นอาหารจานแรกก่อนเริ่มอาหารจานหลัก


การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

แม้ว่ามดลูกของคุณจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า และใหญ่ พอๆ กับผลส้มโอ แต่อาจจะยังไม่เห็นท้องของคุณแม่ได้ชัดเจน นัก จริงๆ แล้ว ระยะนี้ อาจยังไม่มีใครรู้ด้วยซ้ำว่าคุณเริ่มตั้งครรภ์แล้ว อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้คุณคงดูแลตัวเองและเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บ้างแล้ว เมื่อพูดถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กนับเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณต้องได้รับ เพราะธาตุเหล็กจะช่วยเพิ่มออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเป็นสิ่งที่ลูกต้องการเพื่อการพัฒนาสมอง หาก คุณขาดธาตุเหล็ก ลูกอาจจะไม่เป็นอะไร แต่คุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย หมดแรง และโดยทั่วไปจะทำให้รู้สึกไม่สบาย
สูติแพทย์อาจแนะนำธาตุเหล็กเสริมให้คุณ ไม่เช่นนั้น คุณแม่ต้องเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กด้วยตัวเอง เช่น ทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผลไม้แห้ง ซีเรียลและขนมปังชนิดโฮลเกรน และผักใบเขียว ให้มากขึ้น และ ที่น่ายินดีก็คืออาหารเหล่านี้ล้วนมีสารอาหารที่สำคัญหลากชนิดนอกเหนือจากธาตุเหล็กอีกด้วย

พัฒนาการทารกในครรภ์11 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์11 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกจะมีลำตัวยาวประมาณ 4 ซม . โดยจะเริ่มโตขึ้นมากในสัปดาห์ต่อไปพอๆ กับใน 11 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าสมอง ปอด ตับ และไตจะมีขนาดเล็กมาก แต่เมื่อลูกโตเป็นรูปร่างแล้ว ลูกจะดูด กลืน และหาวได้แล้วด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถ ‘ หายใจ ’ เอาน้ำคร่ำเข้าไปและถ่ายปัสสาวะด้วย ตอนนี้นิ้วมือของลูกแยกกันแล้ว และในไม่ช้าก็จะกำและแบมือได้ รวมทั้งจับสิ่งต่างๆ ในมดลูก ระบบอวัยวะทั้งหมดจะทำงาน แต่ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเติบโตเต็มที่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเวลาคลอด ลูกจะสาละวนกับการเตะและยืดตัว และการเคลื่อนไหวจะราบรื่นมากขึ้น คุณแม่มีสิทธิ์ที่จะขอย้ายแผนกหรือย้ายโต๊ะชั่วคราวช่วงก่อนหรือหลังคลอด เพื่อสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

เราต่างรู้ดีว่าวิตามินเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าการทานวิตามินในปริมาณมากจะเป็นผลดีเสมอไป และย่อมต้องไม่ใช่ช่วงที่คุณตั้งครรภ์ด้วย การทานวิตามินเอและดีมากเกินไปจะเป็นอันตราย ดังนั้นพยายามอย่าวิตามินเสริมโดยไม่ปรึกษาสูติแพทย์ก่อนแต่หากที่ผ่านมาคุณแม่ทานวิตามินหลากชนิดเสริม คุณแม่ต้องตรวจสอบความเหมาะสมว่าสามารถทานได้หรือไม่เมื่อเริ่มพบว่าตั้งครรภ์ โดยควร หยุดทานก่อนจนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย ซึ่ง วิตามินเสริมที่สำคัญที่สุดในช่วงตั้งครรภ์ก็คือ กรดโฟลิค คุณแม่ควรทานอย่างต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์ที่ 12
พัฒนาการทารกในครรภ์12 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์12 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกมีอวัยวะครบหมดทุกส่วนแล้ว และกำลังสร้างอวัยวะเพศภายใน ลูกจะมีลำตัวยาวประมาณ 6 ซม . ใบหน้าเริ่มมีเค้าโครงมากขึ้น และตาซึ่งเริ่มปรากฏอยู่ด้านข้างของศีรษะจะเคลื่อนที่เข้าหากันบนใบหน้า ส่วนหูจะเริ่มอยู่ที่ตำแหน่งด้านข้างของศีรษะ ผมของลูกเริ่มยาวขึ้น และมีเล็บอ่อนๆ ขนาดเล็กขึ้นที่นิ้วมือและนิ้วเท้า ในขณะที่ปากมีปุ่มเล็กๆ 20 ปุ่มซึ่งจะกลายเป็นฟันในอนาคต ลูกอาจจะเริ่มดูดนิ้วโป้งและเคลื่อนไหวมากขึ้น เส้นเสียงสมบูรณ์พร้อม แม้ว่าจะยังไม่เปล่งเสียงจนกว่าจะออกมาสู่โลกภายนอกใน 2-3วินาทีแรก

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
ช่วงเวลานี้เป็นระยะที่ผู้คนส่วนใหญ่จะเริ่มได้รับทราบข่าวดีของคุณ ซึ่งก็เป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะท้องคุณอาจจะเริ่มปรากฏให้เห็นชัดขึ้นแล้ว นั่นเป็นเพราะช่วงสัปดาห์ที่ 12 มดลูกของคุณจะเคลื่อนออกจากอุ้งเชิงกราน ( P elvis) และอยู่เหนือกระดูกหัวหน่าว ( Pubic bone) แต่นี้ต่อไปมดลูกจะใหญ่ขึ้น ทำให้ครรภ์คุณดูอวบอิ่มขึ้น คุณแม่หลายคนกล่าวว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เริ่มรู้สึกว่าการตั้งครรภ์เป็นเรื่องจริงมากขึ้น เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป มดลูกจะมีน้ำหนักมากขึ้นจนกว่าจะถึง 9 เดือนซึ่งจะหนักถึง 907 กรัม ( เปรียบเทียบกับน้ำหนัก 70 กรัมก่อนตั้งครรภ์ ) แต่อย่ากังวลเลย มดลูกจะมีขนาดเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด
พัฒนาการทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
กระดูกอ่อนของลูก ค่อยๆ เจริญเติบโตแล้ว ตอนนี้ขากรรไกรมีเหง้าฟันครบ 32 เหง้า ลูกจะมีความสูงประมาณ 8 ซม. โดยจะเคลื่อนไหวและยืดตัวอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเตะและหมุนตัวด้วย แต่เพราะเขามีขนาดเล็กเกินกว่าที่คุณจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ ไตของลูกจะเริ่มทำงานและเริ่มส่งปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ลูกเริ่มดูดปากกลืนน้ำคร่ำและปล่อยเป็นปัสสาวะออกมา เล็บและผมยาวขึ้น รกยังคงเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจนของลูกค่ะ ในแต่ละสัปดาห์ สัดส่วนของลูกจะเหมือนเด็กแรกเกิดมากขึ้น และตอนนี้ศีรษะมีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของลำตัว


การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ในช่วงระยะนี้ของการตั้งครรภ์ คุณจะรู้สึกว่าเต้านมเริ่มเป็นก้อนเล็กน้อย แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะนั่นเป็นเพียงเพราะต่อมน้ำนม (Mammary glands) และท่อน้ำนมกำลังเติบโตเพื่อให้ทันเวลาคลอดเท่านั้น เต้านมอาจเริ่มผลิตน้ำคัดหลั่งสีเหลืองหรือที่เรียกว่าคอลอสตรัม (Colostrum) ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารและจะเป็นน้ำนมแรกที่เป็นอาหารของลูกหลังจากคลอด ก่อนที่น้ำนมปกติจะเริ่มไหล ที่น่ายินดีก็คือขนาดเต้านมไม่ใช่สิ่งสำคัญ แม้คุณแม่จะมีเต้านมเล็ก แต่ก็ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้หากคุณต้องการ
น้ำหนักทารกในครรภ์
น้ำหนักทารกในครรภ์
น้ำหนักทารกในครรภ์แยกละเอียดเป็นสัปดาห์ ตามนี้นะคะ

8 weeks 1.6 cm 1 gram
9 weeks 2.3 cm 2 grams
10 weeks 3.1 cm 4 grams
11 weeks4.1 cm 7 grams
12 weeks 5.4 cm 14 grams
13 weeks 7.4 cm 23 grams
14 weeks 8.7 cm 43 grams
15 weeks 10.1 cm 70 grams
16 weeks 11.6 cm 100 grams
17 weeks 13 cm 140 grams
18 weeks 14.2 cm 190 grams
19 weeks 15.3 cm 240 grams
20 weeks 16.4 cm 300 grams
21 weeks 26.7 cm 360 grams
22 weeks 27.8 cm 430 grams
23 weeks 28.9 cm 501 grams
24 weeks 30 cm 600 grams
25 weeks 34.6 cm 660 grams
26 weeks 35.6 cm 760 grams
27 weeks 36.6 cm 875 grams
28 weeks 37.6 cm 1005 grams
29 weeks 38.6 cm 1153 grams
30 weeks 39.9 cm 1319 grams
31 weeks 41.1 cm 1502 grams
32 weeks 42.4 cm 1702 grams
33 weeks 43.7 cm 1918 grams
34 weeks 45 cm 2146 grams
35 weeks 46.2 cm 2383 grams
36 weeks 47.4 cm 2622 grams
37 weeks 48.6 cm 2859 grams
38 weeks 49.8 cm 3083 grams
39 weeks 50.7 cm 3288 grams
40 weeks 51.2 cm 3462 grams
41 weeks 51.7 cm 3597 grams
42 weeks 51.5 cm 3685 grams
พัฒนาการทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
ในขณะที่ทั้งครรภ์ของคุณและลูกโตขึ้น ตอนนี้ลูกน้อยจะมีความยาวประมาณ 12 ซม. กระดูกจะเริ่มแข็งขึ้นและมีขนอ่อนที่เรียกว่าลานูโก (lanugo) ปรากฏบนผิวหนังซึ่งยังบางและใสมาก ตอนนี้ร่างกายลูกจะมีปุ่มรับรสและลูกจะเริ่มแสดงสีหน้าต่างๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าเจริญเติบโตขึ้น ขนตาและขนคิ้วก็เริ่มเป็นรูปร่างแล้ว ทำให้เขาดูเป็นเด็กทารกมากขึ้น ช่วงนี้ ลูกจะสาละวนกับการดูดกลืนน้ำคร่ำซึ่งช่วยให้ปอดเจริญเติบโต ส่วนขาจะยาวกว่าแขนและลูกสามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้ทั้งหมดเพื่อให้สามารถขยับตัวได้ในครรภ์

คุณและร่างกายของคุณ

ในสัปดาห์ที่ 15 คุณแม่อาจพบว่ามีน้ำลายมากขึ้นและอาจคัดจมูกมากขึ้นเช่นกัน นั่นเป็นเพราะการเปลี่ยนฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์และเป็นเรื่องปกติในระยะนี้ นอกจากนี้ คุณแม่มีแนวโน้มที่จะเป็นหวัดมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากระบบภูมิต้านทานนั้นต้องดูแลทั้งคุณและลูก เพราะฉะนั้น หากคุณแม่ไม่สบาย ต้องแน่ใจว่าได้อ่านฉลากยาก่อนรับประทานแล้ว เนื่องจากยาบางชนิด อาจไม่ปลอดภัยในการทานช่วงตั้งครรภ์ ทางที่ดีที่สุด คุณแม่ควรปรึกษาสูติแพทย์ก่อนทานยานั้นๆ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 16 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 16 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกมีความสูงประมาณ 15 ซม. แล้ว และมีเล็บมือและเล็บเท้าเล็กๆ ที่ปลายนิ้วมือและเท้าซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอาจจะยังเร็วเกินไปที่คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวไปมาในอยู่ในท้อง แต่จริงๆ แล้วช่วงระยะนี้ลูกสามารถหมุนศีรษะและบริหารกล้ามเนื้อ 40 มัดได้แล้ว และถึงแม้ว่าเปลือกตาของลูกจะยังปิดอยู่ แต่เขาสามารถมองเห็นแสงภายนอกได้ด้วย

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ว่าที่คุณแม่หลายๆ ท่านมักจะบอกว่ามีความรู้สึกอยากทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมากที่สุดในช่วงตั้งครรภ์ นับตั้งแต่แกงเผ็ดไปจนถึงลูกพีชหรือส้มสุกๆ ฉ่ำๆ แต่ถ้าอาการอยากทานอาหารไม่รุนแรงจนเกินไป ก็สามารถตามใจปากได้โดยไม่ต้องกังวล แม้ว่าสามีของคุณอาจจะไม่ชอบใจนักที่ต้องตื่นกลางดึก เมื่อคุณขอให้ช่วยซื้อมะม่วงดองหรือลูกชิ้นปิ้ง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ต้องพยายามทานอาหารครบห้าหมู่ที่มีประโยชน์ ด้วย นอกจากนี้ ว่าที่คุณแม่หลายท่านยังมีอาการ ‘อยากทานของแปลกๆ’ ซึ่งเป็นความรู้สึกอยากทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น แผ่นปูนและสีจากผนัง ดิน ถ่าน ผงซักฟอก และชอล์ก บางครั้งมีคำแนะนำว่าการอยากทานอาหารอย่างรุนแรงเป็นผลจากการขาดแร่ธาตุ วิธีที่ดีที่สุดก็คืออดทนต่อแรงกระตุ้นนั้น และหากคุณรู้สึกว่ามีอาการอยากทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมาก ควรปรึกษาสูติแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
พัฒนาการทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ตอนนี้ลูกน้อยมีลำตัวยาวประมาณ 17 ซม. และเริ่มขมวดคิ้วได้ แขนและขาสมบูรณ์มากขึ้นและเริ่มมีผิวหนังและกามเนื้อ ไตทำงานได้ดีแล้ว ดังนั้น ลูกจึงปัสสาวะหลายครั้งในแต่ละวันเหมือนคุณ โดยปัสสาวะของลูกจะถูกกรองกลับไปที่ตัวคุณผ่านรก และร่างกายของคุณจะจัดการกับของเสียนั้น นอกจากนี้ การได้ยินของลูกก็ดีขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกตอบสนองต่อเสียงที่ดังอย่างฉับพลันจากโลกภายนอกได้

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

อาการท้องผูกในช่วงตั้งครรภ์เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป และอาจเป็นปัญหามากขึ้นตั้งแต่นี้ไปเมื่อลูกเริ่มตัวใหญ่ขึ้น อาหารที่มีใยอาหารสูงสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้ ดังนั้น คุณแม่ควรทานอาหารที่มีใยอาหารสูงทุกมื้อและพยายามทานผักและผลไม้เป็นอาหารว่างระหว่างมื้อข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้าและอาหารระหว่างวันที่อุดมไปด้วยใยอาหาร และอย่าลืมว่าการดื่มน้ำมากๆ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก หากเป็นไปได้ ควรดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรือน้ำปั่นอย่างน้อ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 20 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 20 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ส่วนหนึ่งของสมองลูกที่ควบคุมความรู้สึกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจการเต้นของหัวใจได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกัน ผิวของลูกจะมีเมือกสีขาวหนาปกคลุมหรือที่เรียกว่าสารไขมันเคลือบผิว (Vernix) เพื่อป้องกันผิวอันบอบบางระหว่างการตั้งครรภ์ ตอนนี้ลูกมีความสูงประมาณ 22 ซม. จากหัวถึงเท้า

การเปลี่ยนเเปลงของคุณแม่
ถึงเวลาที่คุณแม่จะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์แบบละเอียดในสัปดาห์ที่ 20 และคุณอาจจะได้เห็นลูกบนหน้าจอเป็นครั้งแรกแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างมาก ซึ่งช่วงเวลานี้คุณอาจต้องการให้สามีหรือเพื่อนไปด้วยเพื่อมีประสบการณ์ที่น่าจดจำร่วมกันตามปกติ การตรวจในสัปดาห์ที่ 20 นั้นจะเป็นการตรวจหาความผิดปกติ และจุดประสงค์ของการตรวจก็คือเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างราบรื่นดีและลูกมีพัฒนาการตามปกติแพทย์จะตรวจสอบตำแหน่งของรก และประเด็นสำคัญของการตรวจอัลตราซาวนด์ก็คือเพื่อหาความผิดปกติของการเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการของลูกการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 15 -20 นาทีและโดยส่วนใหญ่แพทย์ผู้ทำการตรวจจะชี้ให้คุณดูบางจุดที่หน้าจอ และบางครั้งจะบอกรายละเอียดบางอย่าง เช่น การเต้นของหัวใจและแขนขา นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 แพทย์จะสามารถบอกเพศของลูกได้ แต่สำหรับบางโรงพยาบาลอาจจะไม่แจ้งให้ทราบ ในช่วงการตรวจครรภ์ หากมีประเด็นปัญหาที่สงสัย แพทย์จะแจ้งให้คุณแม่ทราบทันทีและอาจต้องมีการตรวจอัลตราซาวนด์อีกครั้ง บางครั้งจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำแต่ไม่ได้หมายความว่ามีปัญหาร้ายแรงกับลูกของคุณเสมอไป นอกจากนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะขายภาพอัลตร้าซาวน์ลูกเพื่อให้คุณแม่ซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกหรืออวดเพื่อนๆ และญาติพี่น้องด้วย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 22 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 22สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ลูกน้อยในครรภ์ของคุณไม่ใช่ทารกตัวจิ๋วอีกต่อไปแล้ว เพราะตอนนี้ลูกมีลำตัวยาวถึง 27-28 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 255 กรัม เริ่มเป็นรูปร่างสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันความสามารถในการได้ยินและการรับรู้ก็พัฒนาขึ้นตามลำดับ ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มตอบสนองต่อเสียงของคุณแม่มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้ดนตรีตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองของลูก รูปร่างหน้าตาของลูกน้อยในครรภ์จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปร่างหน้าตาของเด็กแรกเกิดทั่วไปมาก ถึงแม้ว่าผิวหนังจะยังคงโปร่งแสงและยังไม่มีการสร้างชั้นไขมันมาห่อหุ้มก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ระหว่างตั้งครรภ์ ผิวหนังจะกักเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติเพื่อช่วยให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ เปล่งปลั่งและชุ่มชื้นมากขึ้น ประกอบกับการไหลเวียนโลหิตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผิวพรรณของคุณแม่แลดูมีเลือดฝาดมากขึ้นกว่าเดิมด้วย จึงเป็นที่มาของคำพูดเปรียบเปรยว่า “ดูมีน้ำมีนวลเหมือนคนท้อง” นั่นเองแต่อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์อาจนำปัญหาสิวเสี้ยนมาเยือนด้วยเช่นกัน เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติจะไปกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างไขมัน (Sebum) มากขึ้น ดังนั้น ควรทาครีมบำรุงผิวแต่พอเหมาะ หากทามากเกินไปอาจทำให้รูขุมขนอุดตันซึ่งจะส่งผลให้ผิวมันและเกิดรอยด่างดำได้ หากคุณแม่มีปัญหาเรื่องสิว ให้หมั่นทำความสะอาดผิวเป็นประจำด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยนและใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่ปราศจากไขมัน หลีกเลี่ยงการขัดถูผิวหรือบีบสิว และขอแนะนำว่าอย่าใช้ครีมรักษาสิวทุกชนิดที่ไม่ได้สั่งจ่ายโดยแพทย์ หลังจากคลอดลูกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผิวของคุณจะกลับสู่สภาพเดิมได้เองนอกจากนี้ ผิวหนังจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสืบเนื่องมาจากการที่ผิวยืดขยายออกและบอบบางมากขึ้น หากคุณแม่มีอาการระคายเคืองผิวหรือผิวแห้ง ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดหรือทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง และดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ อาจจะใช้น้ำมันบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นหลังอาบน้ำด้วยก็ได้ สวมใส่เสื้อผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติที่โปร่งเบาเช่น ผ้าฝ้ายหรือผ้าลินิน หากคุณสงสัยว่าสิ่งของเครื่องใช้บางอย่างอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับผิวคุณ ลองสังเกตและพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เช่น ผงซักฟอกหรือน้ำหอมที่คุณใช้
พัฒนาการทารกในครรภ์ 23 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์23สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ในขณะนี้ ลูกน้อยของคุณกำลังฝึกหายใจโดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าสู่ปอดที่กำลังพัฒนา และสามารถกำมือคว้าสายสะดือทุกครั้งที่สัมผัสกับสายสะดือ ศีรษะได้สัดส่วนพอเหมาะกับลำตัว แขนขาพัฒนาเต็มที่ ในเด็กผู้ชายถุงอัณฑะได้พัฒนาเกือบสมบูรณ์แล้ว ส่วนเด็กผู้หญิงก็มีการพัฒนาของรังไข่ที่ภายในมีเซลล์ไข่อยู่เป็นจำนวนมากอยู่พร้อมแล้วในช่วงนี้ คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าลูกมีการเคลื่อนไหวและเตะท้องมากขึ้น หรืออาจรู้สึกแม้กระทั่งเวลาที่ลูกน้อยกำลังสะอึก ในขณะที่ผิวหนังของลูกน้อยกำลังพัฒนา ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อจะเริ่มทำงาน ขณะนี้ลูกน้อยของคุณมีขนาดลำตัวยาวอย่างน้อย 29 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 480 กรัม

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ต้องการแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ แคลเซียมยังมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาทที่สมบูรณ์อีกด้วยการตั้งครรภ์ระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่ต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร ลูกน้อยของคุณจะเริ่มดึงแคลเซียมจากกระดูกของคุณมาใช้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น ควรสำรวจให้แน่ใจว่าอาหารที่คุณแม่รับประทานมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเป็นจำนวนมากรวมอยู่ด้วยในแต่ละวัน
เพื่อช่วยเสริมระดับแคลเซียมในร่างกาย คุณแม่ควรดื่มนมในถ้วยใส่ซีเรียลอาหารเช้า ทานโยเกิร์ตในช่วงสาย ดื่มนมหนึ่งแก้วหลังอาหารเย็น และโรยหน้าสลัดด้วยชีสสักเล็กน้อย และลองทำอาหารโดยใช้ผลิตภัณฑ์นมในรูปแบบต่างๆ ด้วยก็ยิ่งดี นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมได้แก่ ปลาแซลมอนกระป๋อง พืชผักใบเขียวและถั่วอบ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 24 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 24 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

การได้ยินเสียงของลูกน้อยเริ่มดีขึ้นเพราะลูกสามารถแยกแยะเสียงได้แล้ว สามารถลืมตาได้ ผิวหนังหนาขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงโปร่งใสมองเห็นเส้นเลือดได้อยู่ คุณหมอสามารถฟังและวัดอัตรการเต้นหัวใจของลูกได้ ถุงลมในปอดพัฒนาสมบูรณ์แล้วแต่การทำงานเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจยังไม่สมบูรณ์นักค่ะในขณะนี้ ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 ซม. (เท่ากับความยาวของไม้บรรทัด) และมีน้ำหนักประมาณ 540 กรัม ตามความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลูกน้อยของคุณในขณะนี้ถือว่า ‘สามารถมีชีวิตอยู่ได้’ หมายความว่า หากลูกของคุณคลอดออกมาในขณะนี้ เขาจะมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดในหน่วยอภิบาลเด็กแรกคลอดพิเศษ

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่กำลังพลุ่งพล่านอยู่ในขณะนี้ และอาจรู้สึกค่อนข้างเจ้าอารมณ์ในช่วงนี้ รวมทั้งอาจรู้สึกหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายเป็นพิเศษ ตั้งแต่การชมภาพยนตร์เรื่องโปรดของคุณไปจนถึงการที่คนอื่นดื่มน้ำจากแก้วใบโปรดของคุณ และการสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์นั้นช่างเป็นความรู้สึกอันน่าประหลาดและมหัศจรรย์ซึ่งพลอยทำให้ความรู้สึกต่างๆ ดูเหมือนจริงมากขึ้นตามไปด้วย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 25 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 25 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
ลูกน้อยของคุณกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ใกล้เข้าสู่ไตรมาสที่สาม ซึ่งในขณะนี้ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 34 ซม. และหนักประมาณ 620 กรัม และตอนนี้ ลูกอาจสามารถจดจำเสียงของคุณพ่อได้แล้วด้วย คุณอาจเปิดเพลงเบาๆ ให้ลูกน้อยฟัง เพราะสมองของลูกพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยพยายามเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณแม่เริ่มจดจำสิ่งต่างๆ ได้ตั้งแต่ขณะที่อยู่ในครรภ์ตอนนี้กระดูกส่วนกลางลำตัวของลูกเริ่มแข็งมากขึ้น บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าลูกสะอึกเนื่องจากช่วงนี้ลูกกำลังฝึกการหายใจอย่างขะมักเขม้นเลยทีเดียวค่ะ
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยของคุณยังขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรห่วงถึงเรื่องการมีหน้าท้อง ‘สมบูรณ์แบบ’ อย่างเหล่าดาราดังเลย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำหนักตัวก่อนหน้าที่จะตั้งครรภ์ หากคุณต้องการลดน้ำหนักล่วงหน้า ให้พยายามรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ และพยายามอย่าให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไประหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากทุกๆ คนล้วนมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป จึงไม่มีวิธีการเพิ่มน้ำหนักตายตัวที่สามารถใช้ได้กับทุกคน แต่โดยหลักเกณฑ์ทั่วไปแล้ว หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 11 – 16 กิโลกรัมในช่วง 9 เดือนนี้ และหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มากเกินไป ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7 – 11 กิโลกรัม แต่ขอให้จำไว้เสมอว่า การตั้งครรภ์ไม่ใช่ช่วงเวลาของการลดน้ำหนัก คุณแม่ยังมีเวลาอีกมากในการจัดการกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่คลอดลูกเรียบร้อยแล้ว
พัฒนาการทารกในครรภ์26 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์26 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
อวัยวะที่สำคัญของลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเกิดขึ้นในช่วงนี้จนถึงสัปดาห์ที่ 29 ในขณะนี้ ลูกน้อยของคุณมีลำตัวยาวประมาณ 36 ซม. และหนักประมาณ 650 กรัม ซึ่งโตพอที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ทุกวัน ลูกตื่นและนอนเป็นเวลาแล้ว เริ่มสร้างไขมันใต้ผิวหนังที่จะช่วยรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด แต่น้ำยังซึมผ่านผิวหนังเข้าไปได้อยู่ค่ะ หากลูกของคุณคลอดก่อนกำหนด ในระยะนี้ปอดก็พร้อมที่จะทำงานแล้ว แต่ยังคงจะต้องมีการพัฒนาอีกมาก และอัตราการเต้นของหัวใจจะมีอัตราเฉลี่ยประมาณ 150 ครั้งต่อนาที ซึ่งอาจสูงกว่านี้เล็กน้อยสำหรับเด็กผู้ชายและต่ำกว่านี้เล็กน้อยสำหรับเด็กผู้หญิง
การเปลี่ยนเเปลงของคุณแม่
การออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับรูปร่างและน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้การออกกำลังกายยังส่งผลดีในระหว่างการคลอด และช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างดังเดิมหลังคลอดลูกได้อีกด้วย
แต่ขอให้จำไว้เสมอว่า อย่าหักโหมออกกำลังกายและให้ออกกำลังกายเบาลงเมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น การออกกำลังไม่จำเป็นต้องใช้แรงมากจนเกินไปเพื่อให้รู้สึกว่าได้ประโยชน์ และ การออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำทุกวัน อย่างเช่น การเดิน สามารถช่วยให้คุณกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ นอกจากนี้ การว่ายน้ำก็เป็นการออกกำลังอีกวิธีหนึ่งที่ดีมาก เนื่องจากน้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสระว่ายน้ำบางแห่งมีหลักสูตรการฝึก ‘ออกกำลังกายในน้ำ’ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วยคุณแม่ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่าเวลานี้คุณไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ อย่างที่เคยทำได้เสมอไป ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้กำลังมากในสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำมากๆ และต้องแน่ใจว่าครูฝึกสอนของคุณทราบดีว่าการตั้งครรภ์ของคุณอยู่ในระยะใดแล้ว และหากคุณต้องการทราบว่าการออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสำหรับคุณ สามารถปรึกษาพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ของคุณได้เสมอ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 27 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 27 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ในขณะนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีลำตัวยาวประมาณ 37 ซม. และหนักประมาณ 900 กรัม ช่วงนี้เป็นอีกช่วงที่น้ำหนักตัวลูกน้อยจะเพิ่มค่อนข้างเร็ว ลูกลืมตาได้มากขึ้นสามารถมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าท้องคุณแม่ ในขณะที่การตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สามและเป็นไตรมาสสุดท้าย ลูกน้อยของคุณจะเริ่มได้รับภูมิต้านทานโรคจากแอนติบอดี้ที่ถ่ายทอดผ่านสายสะดือ ภูมิต้านทานโรคนี้จะได้รับการกระตุ้นจากการให้ลูกกินนมแม่และสามารถคุ้มกันโรคจนลูกน้อยมีอายุ 2-3 เดือน

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

หากคุณรู้สึกมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกระหว่างตั้งครรภ์ (Heartburn) นั่นเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ ไม่ใช่คุณเพียงคนเดียวที่มีอาการเช่นนี้ ซึ่งอาการนี้ไม่ใช่อาการอาหารไม่ย่อยธรรมดาทั่วไป แต่เป็นอาการแสบร้อนที่รุนแรงบริเวณกลางทรวงอก สาเหตุมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและมักไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณทรวงอกเมื่อนอนราบกับพื้น ดังนั้น การพยายามนอนพักผ่อนจึงไม่สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงแต่อย่างใด แต่คุณแม่ก็ไม่ควรกังวลจนเกินไป เพราะมีวิธีการหลายอย่างที่ใช้ลดอาการแสบร้อนที่หน้าอกระหว่างตั้งครรภ์ที่ใช้ได้ผล ซึ่งคุณสามารถทดลองนำไปใช้ได้ดังนี้
- รับประทานอาหารมื้อเย็นเร็วขึ้นกว่าเดิม และอย่ารับประทานอาหารทุกชนิดก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง ดื่มนมสักแก้วก่อนนอน
- พยายามนอนยกหัวให้สูงหรือใช้หมอนหนุนโดยอาจใช้หมอน2-3 ใบหนุนหลังและคอของคุณ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- และอย่ารับประทานยารักษาอาการอาหารไม่ย่อยใดๆ โดยไม่ได้ปรึกษากับสูติแพทย์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 28 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 28 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
ขณะนี้ลูกน้อยของคุณมีลำตัวยาวประมาณ 38 ซม. และหนัก 990 กรัม อัตราการเต้นของหัวใจลูกอยู่ที่ 150 ครั้งต่อนาทีและสามารถมองไปรอบๆ รวมทั้งเปิดปิดดวงตาได้แล้ว นอกจากนี้ อวัยวะต่างๆ ฟอร์มตัวขึ้นครบสมบูรณ์แล้ว ประสาทสัมผัสอื่นๆ ของลูกน้อยก็เกือบจะสมบูรณ์แล้ว ลูกสามารถรับรู้รสสัมผัสและจดจำเสียงของคุณได้โดยง่ายในขณะที่ลูกน้อยของคุณเติบโตขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ว่างในครรภ์สำหรับกลับตัวก็ลดน้อยลงทุกขณะ แต่ลูกยังคงเตะครรภ์เมื่อรู้สึกว่ามีสิ่งที่น่าตื่นเต้น และลูกจะหดแขนและขาทั้งสองมาไว้แนบหน้าอกในท่าขดตัวเพื่ออยู่ในท่าที่สบาย


การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
ว่าที่คุณแม่บางท่านอาจเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์ของคุณจะตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะของคุณอย่างสม่ำเสมอ แต่หากคุณมีความเสี่ยงสูง คุณอาจได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานในช่วงสัปดาห์ที่ 28 และหากคุณแม่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ คุณสามารถควบคุมอาการต่างๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ และอาจได้รับการรักษาด้วยยาร่วมด้วยหากคุณแม่มีหมู่เลือด RhD- คุณจะได้รับการฉีดวัคซีน anti-D ในสัปดาห์ที่ 28 วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง (Anaemia) ตัวเหลืองตาเหลือง (Jaundice) ตับและหัวใจล้มเหลวในเด็กแรกเกิดได้
พัฒนาการทารกในครรภ์ 29 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์29สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ขณะนี้ลูกน้อยของคุณมีลำตัวยาวเกือบ 40 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 1 กก. ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ เด็กแต่ละคนจะมีขนาดและน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างต่างกันมาก โดยลูกน้อยของคุณอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 40 และพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยโดยส่วนใหญ่ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วในขณะนี้ อวัยวะทุกส่วนครบถ้วน แต่ยังคงต้องพัฒนาให้เจริญเติบโตเต็มที่ต่อไปเพื่อให้พร้อมสำหรับออกมาลืมตาดูโลก รอบตัวลูกมีไขมันเคลือบอยู่ ถุงลมปอดพัฒนาอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกันกับสายตาที่เริ่มปรับโฟกัสได้แล้วค่ะ
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

แม่ส่วนใหญ่มักนอนไม่หลับระหว่างตั้งครรภ์ อาจใช้วิธีง่ายๆ ในการช่วยให้หลับได้ โดยลองนอนตะแคงบนหมอนหนุนสัก 3 ใบ โดยใบหนึ่งหนุนไว้ระหว่างเข่า ใบหนึ่งหนุนรองไว้ที่ช่องเล็กๆ ด้านหลังและอีกใบหนุนไว้ที่หัว พร้อมดื่มนมอุ่นๆ สักแก้วก่อนเข้านอน และควรหลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟเพราะคาเฟอีนจะยิ่งทำให้นอนหลับยากขึ้น และอาจทำให้คุณปวดปัสสาวะกลางดึกอีกด้วย นอกจากนี้ อาจลองหยดน้ำมันหอมระเหยเจือจางที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ลงในอ่างอาบน้ำ เช่น น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ เพื่อช่วยให้คุณรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์30สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ในขณะนี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 40 ซม. และหนักประมาณ 1.1 กก. แล้ว ช่วงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณเหมือนอยู่ในดินแดนนิทรา เพราะลูกจะใช้เวลากว่าร้อยละ 80 ของการนอนอยู่ในระยะหลับฝัน (Rapid Eye Movement หรือ REM) ในช่วงนี้การพัฒนาของสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เครือข่ายเส้นใยประสาทกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สัญญาณประสาทจากสมองเดินทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของลูกน้อยเมื่อลืมตาดูโลกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
มดลูกของคุณแม่อาจกดทับกระเพาะปัสสาวะและอาจทำให้คุณแม่มีอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกแสบร้อนในขณะปัสสาวะ วิธีที่ดีในการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติคือ ดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ และควรปรึกษากับสูติแพทย์ของคุณด้วย เนื่องจากแพทย์สามารถจ่ายยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยให้แก่คุณได้ ในกรณีที่จำเป็น
พัฒนาการทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ลูกน้อยของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 41 ซม. และเริ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีน้ำหนักตัว 1.5 กก. แล้วในขณะนี้ อวัยวะต่างครบถ้วนสมูรณ์เต็มที่ ปอดแข็งแรงขึ้น ส่วนต่างๆ ของสมองที่ทำหน้าที่ในการจำกำลังเริ่มพัฒนา โดยจากการศึกษาพบว่าเด็กทารกที่เคยได้ยินเสียงเพลงหลักที่ใช้ประกอบละครในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดาตอบสนองต่อเสียงเพลงดังกล่าวเมื่อคลอดออกมา ซึ่งต่างจากเด็กทารกที่ไม่เคยได้ยินเพลงนั้นมาก่อน ความรู้สึกที่คุณมีต่อละครเรื่องนั้นจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

คุณอาจรู้สึกว่าหายใจค่อนข้างลำบากในช่วงนี้ และอาจรู้สึกเช่นนี้เรื่อยไปตลอดช่วงการตั้งครรภ์จนกว่าลูกน้อยของคุณจะคลอด อาการเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 36 สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก แต่สำหรับคุณแม่ที่เคยคลอดลูกมาแล้ว อาการนี้จะหายไปก่อนที่ลูกจะคลอดทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากครรภ์ของคุณแม่มีขนาดใหญ่มากจนกระทั่งไปเบียดกับกระบังลม (ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ) ทำให้มีพื้นที่ไม่มากพอสำหรับอากาศปริมาณมาก สิ่งเดียวที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้ก็คือการพักผ่อนให้มากๆ อาการเหนื่อยหอบอาจเป็นลักษณะอาการของภาวะโลหิตจางได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่ง
พัฒนาการทารกในครรภ์ 32 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 32 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ในขณะนี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 42 ซม. และหนักประมาณ 1.6 กก. ระบบการทำงานทั้งหมดของร่างกายพัฒนาโดยสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอดกับทางเดินอาหารซึ่งยังคงต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตอีก 2-3 สัปดาห์ กลามเนื้อของลูกแข็งแรงมากขึ้น ลูกค่อนข้างเคลื่อนไหวเป็นช่วงเวลาเมื่อลูกน้อยของคุณตื่นขึ้นมา เขาจะลืมตาและทำสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติโดยทั่วไปของเด็กแรกเกิด เช่น จับเท้าและดูดนิ้วหัวแม่มือ ลูกน้อยของคุณยังแสดงความรู้สึกออกมาทางใบหน้าได้อีกด้วย บางทีคุณอาจรู้สึกเพลิดเพลินกับการจินตนาการรูปร่างหน้าตาของลูกน้อยว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อเขาลืมตาดูโลก

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา(Sciatica) ทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณหลังเหนือสะโพกและร้าวลงมาที่ขาทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และอาจจะปวดที่บริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับหรือที่ตำแหน่งที่ลูกอยู่ คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการยกของหนัก และในขณะที่นั่ง ให้นั่งในท่าขัดสมาธิหรือใช้หมอนหนุนช่องเล็กๆ ที่ด้านหลัง
ในเวลานอน ให้สำรวจดูว่าคุณสามารถนอนตะแคงซ้ายได้หรือไม่ เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาระหว่างตั้งครรภ์ได้ คุณอาจพบว่าการนอนโดยมีหมอนรูปลิ่มรองหนุนอยู่ใต้ท้องหรือการใช้ถุงน้ำร้อนหรือถุงน้ำแข็งประคบจะช่วยลดอาการปวดหลังของคุณได้ และควรหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงจะเป็นการดีที่สุด การไปพบนักกายภาพบำบัดก็อาจช่วยบรรเทาอาการของคุณได้ในบางกรณี
พัฒนาการทารกในครรภ์ 33 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 33 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 33 ระบบภูมิต้านทานโรคของลูกน้อยเริ่มแข็งแรงมากขึ้น หลังจากที่ลูกน้อยคลอดออกมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ร่างกายจะมีการพัฒนาระบบภูมิต้านทานโรคขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ผิวหนังของลูกน้อยจะเริ่มหนาขึ้นและรอยเหี่ยวย่นก็เริ่มลดลงมากด้วยเช่นกัน ขณะนี้ ลูกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.9 กก. และมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 44 ซม. (ถึงแม้ว่าขนาดและน้ำหนักตัวของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะแตกต่างกันอย่างมาก) ไขมันที่เคลือบตัวลูกหนาขึ้น ผมและเล็บยาวขึ้น ผวเรียบขึ้นแต่ยังย่นอยู่เล็กน้อย ปอดของลูกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่เตรียมพร้อมออกมาสู่โลกภายนอก
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
เนื่องจากว่าที่คุณแม่ต้องรับภาระหนักในระหว่างตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานเป็นจำนวนมากสำหรับลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่กระฉับกระเฉง แต่ขณะนี้กระเพาะของคุณแม่มีพื้นที่น้อยลง (เนื่องจากลูกน้อยของคุณใช้พื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม)หากคุณไม่สามารถรับประทานอาหารได้มากนัก อาหารว่างที่มีประโยชน์จะช่วยเสริมสร้างพลังงานและสารอาหารระหว่างมื้อได้ คุณแม่จะได้มีพลังงานเต็มที่อยู่เสมอในช่วงที่เหลือของการตั้งครรภ์ลองรับประทานอาหารว่างที่ช่วยเสริมสร้างพลังงานต่อไปนี้เพื่อช่วยให้คุณแม่มีพลังงานเต็มที่ตลอดทั้งวัน
- รับประทานผลไม้จิ้มกับโยเกิร์ต หรือผสมผลไม้หลากหลายชนิด รวมทั้งธัญพืชต่างๆ ลงในโยเกิร์ต
- พกผลไม้อบแห้งถุงเล็กๆ ไว้ในกระเป๋าถือของคุณเพื่อเอาไว้สำหรับขบเคี้ยวขณะที่ออกไปทำธุระนอกบ้าน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 34 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 34 สัปดาห์
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
ใกล้ครบกำหนดคลอดเข้ามาทุกทีแล้ว เหลืออีกเพียงแค่ 6 สัปดาห์เท่านั้น ขณะนี้ลูกน้อยของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 45 ซม. และหนักประมาณ 2 กก. และเป็นช่วงที่ลูกทำน้ำหนักอีกช่วง สำหรับเด็กผู้ชาย ลูกอัณฑะลงมาอยู่ที่ขาหนีบเรียบร้อยแล้ว ขนคิ้วและขนตาขึ้นเต็มเรียบร้อย ผิวหนังเริ่มหนาตัวขึ้นโดยมีชั้นไขมันสะสมอยู่ใต้ผิวหนังเพื่อห่อหุ้มและหล่อเลี้ยงร่างกาย ลูกน้อยของคุณได้รับแอนติบอดี้ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคจากคุณแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและเตรียมพร้อมที่จะออกมาสัมผัสกับโลกกว้างแล้ว
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหรืออาการนอนไม่หลับมักเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นในช่วงนี้ เช่นเดียวกับปัญหาการเป็นตะคริว ปวดข้อ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและปวดปัสสาวะบ่อยเพื่อให้สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่ ควรเปลี่ยนท่านอนโดยเริ่มจากการนอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนเลือด การย่อยอาหาร และการทำงานของตับและไตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และนับจากนี้ไป ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายจะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากการนอนหงายอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น (Palpitations) และอาจทำให้ความดันเลือดต่ำได้ด้วยหนึ่งในวิธีการนอนที่ทำให้รู้สึกสบายมากที่สุดก็คือ นอนงอเข่าเล็กน้อยและใช้หมอนหนุนรองหลังช่วงล่าง ท้อง สะโพกและข้อต่อ การเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนจะกลายเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งในอีก 2-3 เดือนต่อจากนี้ ดังนั้น ควรลดการดื่มน้ำก่อนเข้านอน แต่ควรดื่มน้ำชดเชยในระหว่างวันแทน และก่อนนอน ควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปัสสาวะจนหมดแล้ว
พัฒนาการทารกในครรภ์ 35 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 35 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ในขณะนี้ ลูกน้อยของคุณสามารถตอบสนองต่อแสง เสียง และความเจ็บปวดได้แล้ว ซึ่งในขณะที่ลูกเติบโตขึ้น ปริมาณของน้ำคร่ำในครรภ์ก็จะลดลง เนื่องจากขนาดของร่างกายของลูกน้อยเติบโตจนเกือบเต็มพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ในขณะเดียวกัน ภายในลำไส้ของลูกจะเต็มไปด้วยของเหลวสีเขียวเข้มที่เรียกว่า ‘เมโคเนียม’ (Meconium) ซึ่งเกิดจากของเสียที่ขับออกมาจากตับและลำไส้ โดยลูกอาจถ่ายของเสียเหล่านี้ออกมาระหว่างการคลอดหากรู้สึกเครียด แต่หากไม่ถ่ายออกมา ของเสียเหล่านี้ก็จะรวมอยู่ในผ้าอ้อมผืนแรกที่คุณจะต้องเปลี่ยน

การเปลี่ยนเเปลงของคุณแม่
คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยและซึมเศร้าได้ในขณะนี้ และอาการอารมณ์แปรปรวนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกๆ อาจกลับมาอีกครั้ง ทำให้คุณแม่รู้สึกโมโหง่าย ภาพสวยงามของลูกน้อยที่คุณคาดหวังไว้เกิดขึ้นพร้อมกับช่วงเวลาที่จิตใจต้องการปรับสภาพเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ควรพยายามหากิจกรรมสนุกๆทำ เพื่อช่วยให้คุณคลายความวิตกกังวลและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น หรือไม่ก็พูดคุยกับใครสักคนที่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจ นอกจากนี้ น้ำนมเหลือง (Colostrum) อาจไหลออกมาจากเต้านมของคุณ ซึ่งเป็นน้ำนมส่วนแรกที่ร่างกายของคุณจะสร้างขึ้นไม่นานนักหลังจากคลอดลูก และเป็นน้ำนมที่อุดมด้วยสารอาหารมากที่สุดสำหรับลูกน้อยแรกคลอด ในขณะเดียวกัน รกภายในครรภ์ของคุณแม่ก็เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เมื่อคลอดลูกน้อยออกมา รกจะมีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกของน้ำหนักเด็กแรกเกิด
พัฒนาการทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

หากลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักตามเกณฑ์เฉลี่ย ตอนนี้ลูกอาจจะหนักประมาณ 2.7 กก. และเพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกมีพื้นที่ขยับตัวในครรภ์ของคุณแม่ลดน้อยลงทุกที การเคลื่อนไหวจึงเป็นการบิดตัวไปมามากกว่าการเตะท้อง ลูกกำลังฝึกหายใจเพื่อเตรียมพร้อมที่จะออกมาหายใจภายนอก ส่วนใหญ่แล้วทารกจะกลับหัวลงมาอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้วนในช่วงนี้ใบหน้าของทารกจะเริ่มอ้วนขึ้นและมีขนตา คอก็จะเริ่มหนาขึ้นและสามารถเปิดปิดตาได้ง่ายขึ้นแล้วในตอนนี้ ลูกน้อยของคุณมีลำตัวยาวประมาณ 49 ซม.

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

คุณแม่อาจรู้สึกอยากทำบางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง อย่างการลุกขึ้นมาทำความสะอาดบ้านหรือเพียงแค่ตบๆ หมอน2-3 ใบ เพื่อเตรียมไว้สำหรับเวลาคลอด แต่ใช่ว่าว่าที่คุณแม่จะมีสัญชาตญาณ ‘การจัดเตรียม’ เหมือนกันทุกคน ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตามขอให้ระมัดระวังและอย่าหักโหมจนเกินไป ให้ระวังสารระเหยจากสีและควรหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดจะดีที่สุด เพราะการทรงตัวของคุณระหว่างตั้งครรภ์นั้นไม่มั่นคงเหมือนเดิม
คุณแม่อาจรู้สึกร้อนมากเป็นพิเศษในช่วง
การตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย ทั้งนี้ เกิดจากการที่ร่างกายต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรับน้ำหนักที่มากกว่าปกติและต้องประคองชีวิตน้อยๆ ที่อยู่ในครรภ์ ทำให้ร่างกายของคุณแม่มีเลือดไหลเวียนมากขึ้นและมีการเผาผลาญแคลอรีเพิ่มขึ้นด้วยและเพื่อเป็นการคลายร้อน คุณแม่สามารถลองวิธีต่อไปนี้
- แช่เจลมาส์กไว้ในตู้เย็นและนำมาโปะไว้ที่ตาสักครู่เพื่อช่วยผ่อนคลาย
- เปิดก็อกให้น้ำเย็นไหลผ่านข้อมือ
- พกพัดขนาดเล็กหรือสเปรย์น้ำไว้ในกระเป๋าถือเพื่อช่วยคลายร้อนขณะเดินทาง
- ดื่มน้ำมากๆ เพราะเหงื่อจะทำให้คุณสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว
พัฒนาการทารกในครรภ์ 38 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 38 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ลูกน้อยของคุณเติบโตเต็มที่แล้วและกำลังใช้เวลา 2 สัปดาห์สุดท้ายเพื่อสะสมไขมัน ด้วยความยาวประมาณ 49 หรือ 50 ซม. ลูกจะมีน้ำหนักเกือบ 2.9 กก. ช่วงนี้ ลูกจะได้ยินเสียงคุณ เพราะฉะนั้น ลองพูดคุยและร้องเพลงให้เขาฟัง เพื่อให้เขาคุ้นเคยกับคุณแม่ ตอนนี้ผิวหนังของลูกเป็นสีชมพูแล้ว ผมยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เล็บยาวขึ้น ไขมันที่หุ้มตัวเริ่มลอกออกไปบ้าง หากลูกคลอดออกมาในช่วงนี้ ก็ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

คุณแม่อาจรู้สึกว่าการได้นอนหลับอย่างเพียงพอเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดในเวลากลางวันและการพาดขาขึ้นสูงสามารถช่วยได้บ้าง
ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะเริ่มคงที่แล้ว แต่คุณแม่อาจรู้สึกกังวลหรือเกิดความกลัวในเรื่องอื่นๆ เพราะเริ่มรู้สึกวิตกเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น คุณแม่ตรวจสอบแผนการคลอดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจำทุกอย่างได้ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการพูดคุยกับสามีก็สามารถช่วยลดความกังวลขึ้นได้ระยะนี้อาจเป็นเวลาที่น่าสับสนสำหรับลูกที่เกิดก่อนหน้าที่กำลังรับบทบาทเป็น “พี่” ของน้องคนใหม่ เพราะฉะนั้น การให้พวกเขามีส่วนร่วมกับความตื่นเต้นนี้จะช่วยจัดการกับความรู้สึกอิจฉาที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติของพวกเขาได้ค่ะ
กำหนดคลอด นับยังไงนะ
กำหนดคลอด นับยังไงนะ
กำหนดคลอด นับยังไงนะ

คุณแม่คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า จะเห็นหน้าลูกรักวันไหนกันแน่ วันที่ไปฝากครรภ์ คุณหมอบอกจะคลอดวันนั้นวันนี้ เขานับกันยังไงนะ
โดยปกติ ทารกจะคลอดเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด คือ 40 สัปดาห์ หรือ 280วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้น ในหญิงที่มีประจำเดือนมาตรงและสม่ำเสมอทุก 28 วัน เราจะสามารถคะเนวันคลอดได้ โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป 280 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติเรานิยมนับย้อนหลังไป 3เดือน แล้วบวกอีก 7วัน ก็จะคะเนวันที่และเดือนที่จะคลอดได้ในกรณีที่จำวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้เราอาจคะเนวันคลอดได้จากวันแรกที่แม่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้น โดยทั่วไป แม่จะเริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ในครรภ์แรก และ 18 สัปดาห์ในครรภ์หลัง ดังนั้น เราสามารถคะเนวันคลอดโดยนับจากวันแรกที่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นไปอีก 20 สัปดาห์ ในครรภ์แรกและ ๒๒ สัปดาห์ในครรภ์หลัง วิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีแรก เพราะอาศัยความรู้สึกของแม่เป็นหลักนอกจากนี้ แพทย์สามารถคะเนวันคลอดได้จากการประมาณอายุครรภ์ขณะตรวจ โดยดูจากขนาดของมดลูก รวมทั้งการวัดขนาดของศีรษะและลำตัวของเด็กในครรภ์ โดยอาศัยเครื่องมือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงด้วยค่ะ








ที่มา :: http://www.baby2talk.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น