การเบ่งคลอด
ระยะก้าวหน้า หรือระยะเบ่งคลอด
ระยะเบ่งคลอดเป็นระยะที่เหนื่อยที่สุดของการคลอด เนื่องจากมดลูกจะมีการหดรัดตัวที่แรงและเร็วที่มาก ทุก 2-3 นาที และจะเจ็บท้องแข็งนาน 60-90 วินาที บางคนจะรู้สึกเหมือนกับว่าการแข็งตัวของมดลูกเกิดโดยไม่หยุดพัก คือ ติดต่อกันไป การเปิดปากมดลูกในระยะนี้จะเร็วมาก เริ่มจาก 3 เซนติเมตร ถึง 10 เซนติเมตร (เปิดเต็มที่) ภายในเวลา 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
ความรู้สึกของคุณในระยะนี้คุณจะรู้สึกปวดที่บริเวณส่วนก้นหรือตุงที่ฝีเย็บและทวารหนัก บางครั้งจะมีอุจจาระออกมาโดยมิได้เบ่งถ่าย มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อนสลับหนาว ปวดร้าวหน้าขามาก และรู้สึกไม่สุขสบาย มีอาการเกร็งสั่นโดยควบคุมไม่ได้ อาจจะมีอาการอาเจียนเวียนศีรษะร่วมด้วย และรู้สึกเหนื่อยล้ามาก
สิ่งที่ผู้คลอดควรปฏิบัติ
- อยู่นิ่งๆ รอเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ช่วยคลอดหรือผู้ดูแลจะบอกให้คุณเบ่งจึงค่อยเบ่งคลอด
- แทนที่จะคิดกังวลอยู่แต่สิ่งที่ต้องกระทำ ควรคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วว่าตัวเองได้ผ่านอะไรมาแล้วบ้าง
- เมื่อเกิดความรู้สึกว่าอยากเบ่ง พยายามผ่อนลมหายใจช้าๆ การเบ่งก่อนเวลาอันสมควรจะทำให้ปากมดลูกบวมมาก และการคลอดจะล่าช้า
- ถ้าคุณไม่ชอบให้ใครจับต้องตัวคุณ คุณควรบอกผู้ดูแลให้ทราบ
ระยะที่สอง
ระยะนี้เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดหมด และทารกเคลื่อนผ่านช่องทางคลอดมาจนถึงช่องคลอด และมองเห็นศีรษะได้ที่ปากช่องคลอด เพียงแต่ออกแรงเบ่งตามจังหวะการหดรัดตัวของมดลูก การคลอดก็จะเกิดขึ้นภายใน 10-30 นาที (บางรายอาจจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง)
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกระยะนี้จะแรงเร็ว และสม่ำเสมอมากขึ้น มดลูกจะแข็งตัวอยู่นาน 60-90 วินาที และติดต่อกัน อาจจะเว้นระยะเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น ความเจ็บปวดจะลดลงบ้าง แต่จะรู้สึกท้องตึงแข็งมากขึ้นและแทบจะไม่รู้สึกว่ามีการคลายตัวของมดลูกเลย
ความรู้สึกของคุณในระยะนี้
ความรู้สึกปวดเบ่งจะมาเป็นอันดับแรกๆ บางคนจะรู้สึกคล้ายมีแรงผลักดันมากมายในช่องท้องและปวดตุงบริเวณทวารหนัก หน้าท้องจะแข็งตึงตลอดเวลา มดลูกโก่งตัวสูง มูกเลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น มองเห็นศีรษะตุงอยู่ที่ปากช่องคลอด มีน้ำออกเปียกแฉะที่ช่องคลอด
สิ่งที่ผู้คลอดควรปฏิบัติ
- ปรับท่านอนให้อยู่ในท่าที่พร้อมจะเบ่งคลอด บางโรงพยาบาลจะย้ายผู้คลอดเข้าห้องคลอด ให้นอนบนเตียงขาหยั่ง บางแห่งจะให้นอนราบและยกศีรษะสูงในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ซึ่งท่าหลังจะสะดวกมากในการเบ่งคลอด
- เมื่อถึงเวลาเบ่ง จงออกแรงเบ่งให้เต็มที่ เพื่อทารกจะได้ผ่านช่องคลอดโดยเร็ว แต่ควรจะเบ่งในเวลาที่ผู้เฝ้าคลอดบอกให้เบ่ง และหยุดพักเบ่งตามคำแนะนำเพื่อจะได้ออมแรงไว้ในระยะยาว
- อย่าปล่อยให้ความอาย หรือการกลั้นอุจจาระปัสสาวะเป็นอุปสรรคในการออกแรงเบ่ง ไม่ควรกังวลในกรณีที่มีอุจจาระหรือปัสสาวะออกพร้อมกับการเบ่งคลอด เพราะทุกคนในห้องคลอดมองเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งปกติธรรมดา พร้อมที่จะทำความสะอาดให้ผู้คลอดตลอดเวลา
- พยายามเบ่งคลอดตามคำแนะนำของผู้เฝ้าคลอด หรือเมื่อรู้สึกว่าอยากเบ่ง ก่อนการเบ่งคลอด สูดหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอดในเวลาที่เริ่มรู้สึกว่าท้องเริ่มแข็งตัว และกลั้นไว้จนรู้สึกว่าท้องแข็งเต็มที่ ออกแรงเบ่งลงสู่ส่วนล่างให้เต็มแรงจนรู้สึกว่าไม่สามารถกลั้นลมหายใจได้อีก ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่มดลูกแข็งตัว การสูดหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ ซ้ำๆกัน หลายๆครั้งก่อนที่จะกลั้นหายใจเบ่งจะช่วยให้ปริมาณออกซิเจนมากพอสำหรับการกลั้นใจเบ่งคลอดในแต่ละครั้ง และช่วยไม่ให้ผู้คลอดเหนื่อยจนเกินไป วิธีที่ปลอดภัย คือ หายใจและเบ่งตามคำแนะนำของผู้เฝ้าคลอด
- ในการเบ่งคลอด ไม่ควรเกร็งขาโดยเฉพาะหน้าขาและฝีเย็บ เพราะจะทำให้เกิดแรงต้านการเบ่งในบริเวณปากช่องคลอด
- หยุดเบ่งทันทีที่ได้คำบอกให้หยุด เพราะผู้เฝ้าคลอดจะควบคุมสถานการณ์ได้ถูกต้อง
- พยายามพักร่างกายให้เต็มที่ระหว่างการพักเบ่งคลอด หรือเมื่อผู้เฝ้าคลอดเห็นว่าคุณมีอาการเหน็ดเหนื่อยเกินไป อาจจะให้พักการเบ่งชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยเริ่มใหม่
- อย่าตกใจหรือเสียขวัญ ในการที่มองเห็นศีรษะเด็กโผล่ออกมาแล้วผลุบหายไป การผลุบๆโผล่ๆ นี้เกิดตามจังหวะการเบ่งและการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ระยะที่สาม
ระยะนี้เป็นระยะที่ดูเหมือนว่าความน่ากลัวและวิกฤติการณ์ต่างๆสิ้นสุดลง สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะนี้เป็นสิ่งดีๆ ของชีวิตภายหลังจากผ่านพ้นความทุกข์ยาก เป็นระยะสุดท้ายของการคลอด ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 5 นาที หรือยาวนานจากครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ระยะนี้เป็นนับตั้งแต่ภายหลังการคลอดทารกจนมีการคลอดรก และสิ้นสุดด้วยการเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บ
ความรู้สึกของคุณในระยะนี้
คุณจะรู้สึกอ่อนเพลีย เพราะได้ใช้พลังงานทั้งหมดไปในการคลอด หมดแรงต้องสะสมพลังงานใหม่ กระหายน้ำ แจจะรู้สึกหิวมาก บางคนจะรู้สึกหนาวสั่น มีอาการปวดตุ๊บๆ ที่ท้องน้อย เพราะมดลูกยังคงมีการหดรัดตัวต่อเนื่องทุก 1 นาที เพื่อช่วยให้เกิดการลอกตัวของรก มีเลือดและน้ำไหลออกทางช่องคลอดมากมาย บางคนอาจจะรู้สึกบวมบริเวณแผลฝีเย็บ
สิ่งที่ผู้คลอดควรปฏิบัติ
1. เบ่งคลอดรก ในเวลาที่ได้รับคำบอกเล่าให้ทำ
2. อดทนและพยายามสงบอารมณ์ในระหว่างรอการเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บ
3. ทดลองจับต้อง สัมผัสลูกน้อยเมื่อพยาบาลนำมาให้ เช่น การให้ดูดนม หรือจับต้อง
4. จงภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถประคับประคองตนผ่านพ้นวิกฤติการณ์มาได้ด้วยดี อย่าลืมขอบคุณสามีผู้ดูแลเฝ้าคลอดคุณ
การได้โอบอุ้มลูกน้อยครั้งแรกของคุณจะเป็นความรู้สึกที่ติดตึงในความทรงจำที่ลืมได้ยากในชีวิต
ขั้นตอนต่างๆของการคลอด
คนส่วนใหญ่คิดว่าการคลอดลูกเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพียงรวดเดียว แต่ คุณแม่ทราบหรือไม่ว่าอาการต่างๆ ของการเจ็บท้องคลอด ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดในเวลาเดียว แต่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันค่ะ
ระยะต่างๆ ของการคลอดที่แบ่งออกเป็น 3 ระยะนั้น มีอะไรบ้าง
การเจ็บท้องคลอดเป็นกระบวนการของร่างกาย โดยมดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกของคุณแม่จะเปิดขยายเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนผ่านออกมาสู่โลกภายนอก
ระยะที่หนึ่งจะประกอบด้วยระยะย่อยๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วน ระยะที่สองของการคลอด เป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่สาม จะเป็นระยะคลอดทารก
ระยะที่หนึ่งจะประกอบด้วยระยะย่อยๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วน ระยะที่สองของการคลอด เป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่สาม จะเป็นระยะคลอดทารก
ระยะที่หนึ่ง
สำหรับคุณแม่หลายท่าน อาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอด ก็คือ ความรู้สึกปวดหน่วงๆ คล้ายกับการปวดท้องเวลามีประจำเดือน นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือรู้สึกปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย คุณแม่บางท่านอาจท้องเสีย รู้สึกไม่สบาย หรือคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอด ระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารเบาๆ แทน เช่น ซุป ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง และดื่มน้ำมากๆ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าความรู้สึกไม่สบายตัวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มเจ็บท้องคลอด แต่เมื่ออาการเหล่านี้ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการปวดรุนแรงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือที่เรียกว่า การหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ก็จะทราบว่า กำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว
มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด
ในช่วงที่คุณแม่อุ้มท้องอยู่นั้น ที่บริเวณคอมดลูกจะมีมูกอุดกั้นอยู่ ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้น มูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำ หรือเรียกกันว่า มีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นของการคลอดเสมอไป ดังนั้น อย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอด บางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้
หากคุณแม่มีน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด คุณแม่จึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หรือลงแช่น้ำอุ่น
หากน้ำคร่ำเดินแล้ว คุณแม่ควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันที เพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง
หากคุณแม่เข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้น นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อยๆ
โดยปกติแล้ว ในช่วงเริ่มต้น มดลูกจะหดรัดตัวทุกๆ 10 นาที โดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้ว มดลูก ก็ จะหดรัดตัวทุกๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ย เพราะคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป
การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี
การเบ่งคลอด โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด ซึ่งเวลานั้น คุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้ เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอด คุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้นๆ ตื้นๆ คล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้ เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความอ่อนโยนพอสมควรเพื่อไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป จากนั้น เมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่ คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมา คุณหมอจะสำรวจทารก ตัดสายสะดือ และห่อหุ้มลูกน้อยด้วยผ้านุ่มๆ ก่อนจะส่งให้คุณแม่อุ้ม “ยินดีด้วยนะคะ ลูกของคุณแม่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว”
การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด หากคุณแม่ได้โอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่ได้เลยทันที เพราะจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก
การเตรียมตัวเพื่อการคลอด
การฝึกวิธีหายใจ
ประโยชน์ : การหายใจที่ถูกต้อง จะช่วยให้ปอดของคุณแม่มีความจุเพิ่มขึ้น เพราะขณะหายใจเข้ากระบังลมจะถูกยกขึ้น ทำให้การเปลี่ยนอากาศเป็นไปด้วยดี และร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนั้นยังช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณแม่จากความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นในระยะคลอดด้วย วิธีการหายใจที่นิยมใช้มี 4 วิธี ซึ่งจะต้องเลือกใช้ให้สัมพันธ์กับความถี่ ระยะเวลา และความแรงของการหดรัดตัวของมดลูก รวมทั้งระดับความเจ็บปวด
ก่อนใช้และหลังใช้วิธีการหายใจ คุณแม่จะต้อง ห า ย ใ จ ล้า ง ป อ ด ทุกครั้ง โดยสูดลมหายใจเข้าช้าๆทางจมูก ให้เต็มปอด แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปาก
วิธีที่ 1 : การหายใจเข้าโดยใช้ทรวงอก ปฏิบัติดังนี้
1.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
1.2 หายใจเข้าทางจมูกออกทางปาก โดยใช้ทรวงอกช้าๆ 6-8 ครั้งต่อนาทีจนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
1.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
1.2 หายใจเข้าทางจมูกออกทางปาก โดยใช้ทรวงอกช้าๆ 6-8 ครั้งต่อนาทีจนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
วิธีที่ 2 :การหายใจตื้นและเร็วสลับช้าระยะที่มดลูกหดรัดตัวเพิ่มขึ้น และใช้วิธีที่1 ไม่ได้ผล
2.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
2.2 หายใจช้าโดยใช้ทรวงอก(เหมือนกับวิธีที่1)
2.3 เมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ เปลี่ยนมาหายใจโดยใช้ลำคอ (หายใจเข้าทำปาก เสียง"อา" หายใจออกทำปากเสียง "คี"เบาๆ)
2.4 เมื่อมดลูกเริ่มคลายตัว กลับมาหายใจช้าโดย ใช้ทรวงอกอีกครั้ง จนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีกครั้ง
2.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
2.2 หายใจช้าโดยใช้ทรวงอก(เหมือนกับวิธีที่1)
2.3 เมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ เปลี่ยนมาหายใจโดยใช้ลำคอ (หายใจเข้าทำปาก เสียง"อา" หายใจออกทำปากเสียง "คี"เบาๆ)
2.4 เมื่อมดลูกเริ่มคลายตัว กลับมาหายใจช้าโดย ใช้ทรวงอกอีกครั้ง จนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีกครั้ง
วิธีที่ 3 : การหายใจตื้นและเร็วแล้วเป่าลมออก ระยะที่ปากมดลูกเปิดเกือบหมด(8-9 เซนติเมตรและรู้สึกอยากเบ่ง ปฏิบัติดังนี้)
3.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด1ครั้ง
3.2 หายใจตื้น และเร็วโดยใช้ลำคอติดต่อกัน 4 ครั้ง(อา-คี) สลับกับเป่าลมออกทางปาก 1 ครั้ง คล้ายเป่าเทียน(อา-พู่) จนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
3.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด1ครั้ง
3.2 หายใจตื้น และเร็วโดยใช้ลำคอติดต่อกัน 4 ครั้ง(อา-คี) สลับกับเป่าลมออกทางปาก 1 ครั้ง คล้ายเป่าเทียน(อา-พู่) จนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
วิธีที่ 4 : การหายใจเมื่อเบ่งคลอด
ระยะปากลดลูกเปิด 10 เซนติเมตร และเริ่มเบ่ง ให้ปฏิบัติดังนี้
4.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1-2 ครั้ง
4.2 สูดลมหายใจเข้าทางจมูกให้เต็มที่ กลั้นหายใจ ปิดปาก เบ่งลงเหมือนถ่ายอุจจาระ ขณะเบ่งควรอยู่ในท่าศีรษะสูงกว่าลำตัว นานครั้งละ 6-8วินาที หรือนับ 1-10 ในใจ แล้วผ่อนลมหายใจออก ทางปาก และสูดลมหายใจเข้าแล้วเบ่งซ้ำอีก จนกระทั่งมดลูกคลายตัว จึงหายใจล้างปอดอีกหนึ่งครั้ง
ระยะปากลดลูกเปิด 10 เซนติเมตร และเริ่มเบ่ง ให้ปฏิบัติดังนี้
4.1 เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1-2 ครั้ง
4.2 สูดลมหายใจเข้าทางจมูกให้เต็มที่ กลั้นหายใจ ปิดปาก เบ่งลงเหมือนถ่ายอุจจาระ ขณะเบ่งควรอยู่ในท่าศีรษะสูงกว่าลำตัว นานครั้งละ 6-8วินาที หรือนับ 1-10 ในใจ แล้วผ่อนลมหายใจออก ทางปาก และสูดลมหายใจเข้าแล้วเบ่งซ้ำอีก จนกระทั่งมดลูกคลายตัว จึงหายใจล้างปอดอีกหนึ่งครั้ง
มดลูกหดรัดตัวครั้งหนึ่ง สามารถเบ่งได้ 2-3 ครั้ง การเบ่งที่ถูกวิธีจะช่วยเสริมแรงผลักดัน ที่เกิดขึ้นจากการหดรัดตัวมดลูก ให้เพิ่มขึ้นได้ถึงสามเท่า หากเบ่งในระยะที่ไม่ควรเบ่ง ให้อ้าปาก เพื่อให้ขากรรไกรหย่อน แล้วหายใจออกทางปากชั่วครู่ หรือเป่าลมออกทางปาก
หลักสำคัญในการใช้วิธีการหายใจ
1. เริ่มใช้วิธีการหายใจให้ช้าที่สุด หรือเมื่อรู้สึกเจ็บปวดมาก
2. ใช้การหายใจวิธีที่ 1 ให้นานที่สุด
3. ใช้วิธีการหายใจพร้อมกับการผ่อนคลาย การลูบหน้าท้องและการเพ่งจุดสนใจ
4. การหายใจ ลึกมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แก้ไขโดยใช้มือประกบกัน แล้วหายใจในอุ้งมือหรือหายใจโดยใช้นิ้วกดรูจมูกข้างหนึ่งไว้สักพัก จนกว่าอาการดีขึ้น จึงหายใจตามปกติ
รู้ไว้ก่อนไปคลอด
เมื่อศีรษะของทารกเคลื่อนต่ำลงมาในช่องกระดูกเชิงกราน โดยศีรษะของเด็กจะหมุน เพื่อหันหน้ามาอยู่ทางด้านหลังของแม่ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ กำลังถือกำเนิดขึ้นกระบวนการคลอดแบบธรรมชาติ (Natural Birth หรือ Active Birth) ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจมีความต้องการ คลอดในลักษณะนี้ เพราะถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิต ลูกผู้หญิงที่จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บท้องเบ่งคลอดเอง... และยิ่งมีคนที่รักอยู่เคียงข้างด้วยแล้วคงสุขใจ และอุ่นใจได้ไม่น้อย...
หากนับถอยหลังก่อนการคลอดนั้น ในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงแรก อาการ และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ คือ ปากมดลูกบางขึ้น และเริ่มเปิดจนเปิดหมด ซึ่งการคลอดในลักษณะตามธรรมชาตินี้สามารถแบ่งอาการเจ็บท้องได้เป็น 3 ระยะ คือระยะเฉื่อย ระยะเร่ง และระยะปรับเปลี่ยน... เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณดีที่เตือนให้รู้ว่าเจ้าตัวน้อยใกล้ลืมตาดูโลกแล้ว...
ระยะเฉื่อย อาจเริ่มมีมูกเลือดบ้างเพราะปากมดลูกเริ่มเปิด แต่ยังไม่มีน้ำเดิน ส่วนใหญ่คุณแม่มีอาการปวดท้องไม่ค่อยมาก ปวดเป็นพักๆ นาน 8-12 ชั่วโมงในท้องครั้งแรก และ 6-8 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตความถี่ในการเจ็บท้องด้วย
ระยะเร่ง คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีน้ำเดิน อาการปวดท้องมากขึ้น เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรง และถี่ขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งต่อชั่วโมง และจะเจ็บท้องนาน 4-6 ชั่วโมงในท้องแรก และ 2-4 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 4-8 เซนติเมตร ซึ่งในระยะนี้อาจยังไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล
ดัง นั้น บทบาทของคนใกล้ชิดอย่างคุณพ่อในระยะนี้ควรประคองรับน้ำหนักคุณแม่ และหาท่าที่ทำให้รู้สึกสบายสำหรับคุณแม่ หากอยู่ในท่ายืนควรงอเข่าเล็กน้อย ป้องกันอาการตึง และล้าที่ขา ควรยืนแยกเท้าให้ห่างพอสมควร เพื่อการทรงตัว และช่วยให้กระดูกเชิงกรานผายออก
ระยะปรับเปลี่ยน เป็นระยะที่ซับซ้อนที่สุดของการคลอด เพราะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร และเข้าสู่การเบ่งคลอดได้ มดลูกจะหดรัดตัวนานมาก ถุงน้ำคร่ำสามารถแตกได้ ซึ่งช่วยลดอาการตึงถ่วงที่ช่องคลอด ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดซึ่งหากเบ่งแล้วรู้สึกเจ็บแสดงว่าปาก มดลูกยังเปิดไม่เต็มที่ควรหยุดเบ่ง และเปลี่ยนเป็นท่าเข่าชิดหน้าอก นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่มีการปรับเปลี่ยนของอารมณ์ด้วย ซึ่งบางครั้งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
สำหรับ วิธีการผ่อนคลายควรอาบน้ำด้วยฝักบัวในท่ายืน หรือนั่งช่วยบรรเทาความปวด ใช้การนวด ประคบน้ำร้อนบริเวณที่ปวด แช่น้ำอุ่นในอ่าง ใช้กลิ่นบำบัด หรือเปิดเพลงผ่อนคลาย ที่สำคัญควรให้การปลอบโยนอย่างใกล้ชิด
ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้าย หลังจากที่ศีรษะเคลื่อนมาอยู่ใกล้ทวารหนักและปากช่องคลอด ในที่สุดศีรษะของเด็กก็จะค่อยๆ เคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมา
ช่วงนี้ควรรีบไปโรง พยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อเตรียมตัวคลอด เพราะคุณแม่จะเจ็บท้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และไม่เกิน 1 ชั่วโมงในท้องหลัง ซึ่งปากมดลูกจะเปิดหมดแล้ว เป็นระยะที่เด็กเคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมาแล้ว ซึ่งหลังจากทารกคลอดแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อลดขนาด และจะหดตัวต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้จะได้รับการช่วยเมื่อทารกดูดนมแม่ จากนั้นรกจะค่อยๆ ลอกออกจากผนังมดลูก และเคลื่อนลงสู่ช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะคลอดหลังจากการคลอดทารกประมาณ 20 นาที จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบว่าไม่มีส่วนใดติดค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีก...
คุณแม่ควรอยู่ในท่า นั่งระหว่างรอให้รกคลอด จะได้โอบอุ้ม และมองเห็นหน้าลูกได้ชัดเจน นอกจากนนี้ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น การที่คุณแม่และลูกได้สัมผัสผิวของกัน และกัน ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นผ่านสัมผัสของแม่ ซึ่งช่วยในการปรับอุณหภูมิของลูก และช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย
เมื่อคุณแม่เข้าใจการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และลักษณะอาการต่างๆ ก่อนคลอดแล้ว ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้ และช่วยให้คุณแม่คนใหม่สามารถรับมือกับช่วงเวลานี้อย่างมีสติ และไม่ตื่นกลัวต่อไป...
ระยะเฉื่อย อาจเริ่มมีมูกเลือดบ้างเพราะปากมดลูกเริ่มเปิด แต่ยังไม่มีน้ำเดิน ส่วนใหญ่คุณแม่มีอาการปวดท้องไม่ค่อยมาก ปวดเป็นพักๆ นาน 8-12 ชั่วโมงในท้องครั้งแรก และ 6-8 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตความถี่ในการเจ็บท้องด้วย
ระยะเร่ง คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีน้ำเดิน อาการปวดท้องมากขึ้น เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรง และถี่ขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งต่อชั่วโมง และจะเจ็บท้องนาน 4-6 ชั่วโมงในท้องแรก และ 2-4 ชั่วโมงในท้องสอง ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 4-8 เซนติเมตร ซึ่งในระยะนี้อาจยังไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล
ดัง นั้น บทบาทของคนใกล้ชิดอย่างคุณพ่อในระยะนี้ควรประคองรับน้ำหนักคุณแม่ และหาท่าที่ทำให้รู้สึกสบายสำหรับคุณแม่ หากอยู่ในท่ายืนควรงอเข่าเล็กน้อย ป้องกันอาการตึง และล้าที่ขา ควรยืนแยกเท้าให้ห่างพอสมควร เพื่อการทรงตัว และช่วยให้กระดูกเชิงกรานผายออก
ระยะปรับเปลี่ยน เป็นระยะที่ซับซ้อนที่สุดของการคลอด เพราะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร และเข้าสู่การเบ่งคลอดได้ มดลูกจะหดรัดตัวนานมาก ถุงน้ำคร่ำสามารถแตกได้ ซึ่งช่วยลดอาการตึงถ่วงที่ช่องคลอด ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดซึ่งหากเบ่งแล้วรู้สึกเจ็บแสดงว่าปาก มดลูกยังเปิดไม่เต็มที่ควรหยุดเบ่ง และเปลี่ยนเป็นท่าเข่าชิดหน้าอก นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่มีการปรับเปลี่ยนของอารมณ์ด้วย ซึ่งบางครั้งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
สำหรับ วิธีการผ่อนคลายควรอาบน้ำด้วยฝักบัวในท่ายืน หรือนั่งช่วยบรรเทาความปวด ใช้การนวด ประคบน้ำร้อนบริเวณที่ปวด แช่น้ำอุ่นในอ่าง ใช้กลิ่นบำบัด หรือเปิดเพลงผ่อนคลาย ที่สำคัญควรให้การปลอบโยนอย่างใกล้ชิด
ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้าย หลังจากที่ศีรษะเคลื่อนมาอยู่ใกล้ทวารหนักและปากช่องคลอด ในที่สุดศีรษะของเด็กก็จะค่อยๆ เคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมา
ช่วงนี้ควรรีบไปโรง พยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อเตรียมตัวคลอด เพราะคุณแม่จะเจ็บท้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และไม่เกิน 1 ชั่วโมงในท้องหลัง ซึ่งปากมดลูกจะเปิดหมดแล้ว เป็นระยะที่เด็กเคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมาแล้ว ซึ่งหลังจากทารกคลอดแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อลดขนาด และจะหดตัวต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้จะได้รับการช่วยเมื่อทารกดูดนมแม่ จากนั้นรกจะค่อยๆ ลอกออกจากผนังมดลูก และเคลื่อนลงสู่ช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะคลอดหลังจากการคลอดทารกประมาณ 20 นาที จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบว่าไม่มีส่วนใดติดค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีก...
คุณแม่ควรอยู่ในท่า นั่งระหว่างรอให้รกคลอด จะได้โอบอุ้ม และมองเห็นหน้าลูกได้ชัดเจน นอกจากนนี้ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น การที่คุณแม่และลูกได้สัมผัสผิวของกัน และกัน ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นผ่านสัมผัสของแม่ ซึ่งช่วยในการปรับอุณหภูมิของลูก และช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย
เมื่อคุณแม่เข้าใจการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และลักษณะอาการต่างๆ ก่อนคลอดแล้ว ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้ และช่วยให้คุณแม่คนใหม่สามารถรับมือกับช่วงเวลานี้อย่างมีสติ และไม่ตื่นกลัวต่อไป...
ที่มา :: นิตยสาร Modern Mom ฉบับ สิงหาคม 2551
การเบ่งคลอด
ตอบลบการฝึกกล้ามเนื้อหลังจะช่วยเพิ่มแรงเบ่งและเบ่งได้นานขึ้นก่อนกำหนดคลอด 2-3 เดือนควรฝึกกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง โดยวิธีดังนี้ คือ ให้นั่งลงอย่างช้าๆ เปลี่ยนท่าเป็นท่านั่งคลานโดยหัวเข่าและฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ยันกับพื้นขณะกำลังหายใจออกให้เคลื่อนก้นและเชิงกรานมาข้างหน้าอย่างช้าๆ พร้อมๆ กับการบังคับให้กล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณกระเพาะหดลงโดยแขนและหัวเข่าอยู่คงที่ หลังของคุณจะโค้งนูนขึ้นมาทางด้านหลัง แล้วกลั้นในท่านั้นไว้สัก 10 วินาที จึงค่อยคลายตัวและหายใจเข้า ทำซ้ำและซ้ำอีกประมาณ 10 ครั้ง และควรฝึกทำวันละ 2 เวลา จะช่วยให้คุณมีแรงเบ่งที่ดี
ฝึกกล้ามเนื้อช่องเชิงกราน เพื่อเตรียมตัวเบ่งคลอด
การเบ่งคลอดลูกทางช่องคลอดจำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ เชิงกรานแข็งแรง เพื่อผลักดันให้ลูกคลอดออกมาได้ กล้ามเนื้อรอบเชิงกราน จะช่วยในการบีบตัวของช่องคลอดบริเวณรอบๆ ปากมดลูกและช่วยให้การบีบตัวของลำไส้ขณะจะถ่ายอุจจาระขณะตั้งครรภ์กล้ามเนื้อบริเวณนี้จะอ่อนและขยายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในช่องเชิงกรานบีบรัดตัวตั้งแต่เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ คุณอาจจะนั่ง ยืน หรือนอนในการฝึกกล้ามเนื้อเหล่านี้ โดยพยายามทำวันละ หลายๆ หน ให้ฝึกบังคับกล้ามเนื้อช่องคลอดบีบรัดตัว โดยการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณช้องคลอดนี้จะคล้ายกับว่าช่องคลอดกำลังดูดสิ่งของเข้าสู่ภายในช่องคลอด ลองนึกภาพแล้วทำดูครั้งละ 5-10 หน ควรทำวันละ 3 เวลา
ที่มา :: (http://www.maedek.com)
.