รู้จักทารกน้อยแรกคลอด
ลักษณะของทารกแรกคลอด
หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกน้อยออกมาแล้ว คุณจะได้มองดูลูกอย่างเต็มตาล่ะที่นี้ ให้สมกับที่รอคอยมาเป็นเวลานาน เฝ้าสังเกตทุกอิริยาบถและทุกส่วนของร่างกายลูก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเส้นผม, สีผม, ขนาดของมือและเท้า, ลักษณะสีหน้าของลูก ถ้าคุณมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เป็นโอกาสดีที่จะสอบถามจากพยาบาลหรือคุณหมอทันที และคุณหมอเองก็จะต้องตรวจเช็คร่างกายของลูกด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นปรกติดี
ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักระหว่าง 2.5 - 4.5 กก. และมีความยาวตั้งแต่ 48 - 51 ซม.
ลักษณะของทารกแรกคลอดมีดังนี้
- ศีรษะ
ทารกแรกคลอดจะมีศีรษะใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ดูผิดรูป ทั้งนี้เพราะขณะที่ลูกค่อยๆ เคลื่อนมาตามช่องคลอด หัวจะค่อยๆ ถูกบีบไปตามลักษณะช่องคลอด บางครั้งหัวด้านข้างของลูกอาจดูบวม เพราะถูกกด อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสมอง และจะยุบหายไปเองในเวลา 2 สัปดาห์
ส่วนบนของศีรษะลูกที่คลำดูนิ่มๆ เรียกว่ากระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) เป็นส่วนที่กะโหลกยังประสานกันไม่หมด จะค่อยๆ ปิดสนิทเมื่อลูกอายุ 18 เดือน บางทีคุณอาจสังเกตเห็นส่วนนี้เต้นตุบๆ เมื่อลูกหายใจ
- ผิวหนัง
ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีไขเคลือบผิว เพื่อช่วยหล่อลื่นเวลาไหลเคลื่อนผ่านช่องคลอด และช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังได้ ไขนี้จะหลุดลอกออกไปเองตามธรรมชาติในเวลา 1 - 2 วัน
จุดและผื่นต่างๆ จะพบได้ตามปรกติ และจะค่อยๆ จางหายไปจนกลืนไปกับผิวส่วนอื่น
หนังลอก หนังบริเวณมือและเท้าจะลอกออกไปใน 2 - 3 วัน
ขนอ่อนตามตัว (Lanugo) ซึ่งปกคลุมร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง พบมากเป็นพิเศษในทารกคลอดก่อนกำหนด จะค่อยๆ หลุดลอก ออกไปเองภายในเวลา 2 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่
ปาน เมื่อคุณแม่พินิจพิจารณาดูลูกอย่างใกล้ชิด คุณจะเห็นปาน ตามตัวของลูกมีลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนมากเกิดจากกลุ่มเลือด ฝอยใต้ผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด เพราะปรกติ แล้วจะหายไปเอง
ปาน, ปานแดง: เป็นรอยปื้นสีชมพูจางๆ หรือแดง พบบ่อยที่บริเวณจมูก, เปลือกตา และต้นคอด้านหลัง จะจางหายไปในราว 1 ปี
ปานสตรอเบอรี่ (Strawberry marks): จะมีสีแดงคล้ำ บางครั้งปรากฏขึ้น 2 - 3 วันหลังคลอด จะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขวบปีแรก แล้วจะจางหายไปเมื่ออายุราว 5 ขวบ
ปานพอร์ตไวน์สเตน (Port wine stain): เป็นปานแดงชนิดถาวร มีลักษณะเป็นปื้นขนาดใหญ่ มักพบบริเวณหน้าและลำคอของทารก หากมีข้อสงสัย, กังวลเกี่ยวกับปานชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์
ปานมองโกเลีย (Mongolian spot): มักจะพบในทารกที่มีสีผิวคล้ำ เช่นททารกผิวดำ, ทารกเอเชีย มักเป็นบริเวณก้น หรือบริเวณหลัง ส่วนล่างของทารก อาจดูเหมือนรอยเขียวช้ำ ไม่มีอันตรายใดๆ และจะจางหายไปในที่สุด
- เต้านม
บ่อยทีเดียวที่พบทารกมีเต้านมไม่ว่าหญิงหรือชายดูโตกว่าปรกติ และอาจมีน้ำนมไหลออกมาด้วย เนื่องจากฮอร์โมนจากแม่ผ่าน ไปสู่ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และยังมีผลต่อลูกอยู่ในช่วงหลังคลอดนี้ อย่าบีบน้ำนมจากเต้านมของลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการ อักเสบจนเป็นฝีได้ เต้านมจะยุบไปเองในไม่ช้า
- สายสะดือ
สายสะดือจะเหี่ยว, แห้งและหลุดออกไปเอง ประมาณ 10 วัน หลังคลอด ควรเปิดสะดือให้แห้ง จะสะอาดและหลุดง่าย
- อวัยวะเพศ
ทารกชาย หากคลอดครบกำหนด ลูกอัณฑะมักจะลงมา ในถุงอัณฑะตั้งแต่แรกคลอดอยู่แล้ว ถ้าสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ทารกหญิง อาจมีสีคล้ำ บวมเล็กน้อย บางคนมีมูกคล้ายตกขาว บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอดคล้ายๆ ประจำเดือนเมื่ออายุ 2 - 3 วัน เป็นเพราะฮอร์โมนจากคุณแม่ที่ผ่านสายรก (พร้อมฮอร์โมนที่ทำให้เต้านมโต) และจะหายไปเองในเวลา 1 - 2 สัปดาห์
- มือและเท้า
ปลายมือปลายเท้าของทารกแรกเกิดอาจมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากเลือดยังไหลเวียนไม่ดี และมักมีเล็บยาว ทำให้ขีดข่วนหน้า ควรเล็มออกเล็กน้อย ยามลูกนอนหลับ หากจะสวมถุงมือถุงเท้าให้ลูก ต้องสำรวจดูด้านในของถุงมือ ถุงเท้าเสียก่อนว่า ไม่มีเส้นด้ายรุ่งริ่ง เพราะอาจไปรัดนิ้วของลูกได้ ผิวบางส่วนอาจดูแห้งและหลุดลอก ซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน
- การหายใจ
ทารกแรกเกิดมักจะหายใจไม่สม่ำเสมอเหมือนผู้ใหญ่ คือจะหายใจเป็นพักๆ และหยุดเป็นพักๆ ได้ อัตราการหายใจของเด็กแรกเกิด จะเท่ากับ 20 - 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งเร็วกว่าผู้ใหญ่ปรกติ
- อุจจาระ
ทารกแรกเกิดส่วนมากจะถ่ายภายใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียวๆ สีเขียวดำ วันต่อมาจะมีสีจางลง วันที่ 3 - 4 จะมีสีเหลือง ดูเหลว เด็กที่กินนมแม่จะมีอุจจาระสีเหลืองทอง ถ้าทานนมขวดจะเป็นก้อน อาจถ่ายยากสักนิดเมื่อเทียบ กับเด็กที่กินนมแม่ ปรกติทารกแรกเกิดจะถ่ายบ่อย วันละ 3 - 5 ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าท้องเสีย หรือท้องเดิน
- ตัวเหลือง (Jaundice)
อาการตัวเหลืองจะปรากฏขึ้นในวันที่ 3 หลังคลอด ที่นัยน์ตาขาวก็อาจมีสีเหลืองด้วย แต่เหลืองไม่มาก และจะค่อยๆ จางหายไปในเวลา 6 - 7 วัน จนหายไป เมื่อเด็กอายุได้ 1 - 3 สัปดาห์ ถ้าเหลืองจัดหรือมีอาการ ตัวเหลืองนาน ควรรีบปรึกษาแพทย์
การตรวจทารกแรกคลอด
หลังคลอดทารกจะได้รับการตรวจสุขภาพหลาย ครั้งในช่วงสัปดาห์แรก โดยพยาบาลจะชั่งน้ำหนัก เป็นระยะ ตรวจสุขภาพทั่วไป และดูอาการติดเชื้อทุกวัน แพทย์จะทำการตรวจทารกอย่างละเอียดอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงแรกนี้ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าเพื่อหาสิ่งผิด ปรกติที่อาจเกิดขึ้น
- วัดรอบศีรษะและหาความผิดปรกติ ตรวจดูกระหม่อมหน้า คลำเพดานปาก
- ฟังชีพจรและเสียงปอด
- คุณหมอจะวางมือบนท้องทารก เพื่อตรวจดูว่าไม่มีอวัยวะใดโตเกินปรกติ มักคลำชีพจรที่ขาหนีบด้วย
- ตรวจหาความผิดปรกติของอวัยวะเพศในทารกเพศชายว่า อัณฑะลงในถุงอัณฑะทั้ง 2 ใบเรียบร้อยแล้วหรือยัง
- ขยับแขนขยับขาทารกไปมาอย่างนุ่มนวล เพื่อดูว่าสัดส่วนและแนวแขนขา ว่าเท้าไม่ปุกไม่เป๋
- ตรวจดูข้อสะโพกว่าปรกติ ไม่หลุด โดยงอขากับเข่า แล้วหมุนข้อสะโพกเป็นวงอย่างเบามือ
- คลำแนวกระดูกสันหลังเพื่อตรวจสอบความผิดปรกติ
ทารกแรกเกิดทำอะไรได้บ้าง
การดูดกลืน: มีทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่ทารก แรกคลอดสามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับ การสอน นั่นคือการดูดกลืน
ในช่วง 2 - 3 วันแรก ทารกจะเริ่มเรียนรู้ที่จะ ประสานงานกันระหว่างการดูด, การกลืน และการหายใจ ทารกแรกเกิดจะหันไปหา หัวนมแม่หรือหัวนมยางโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณแม่แตะที่ข้างแก้มลูก และจะอ้าปาก ทันทีที่คุณแตะริมฝีปากบนของลูก
กำมือ: เมื่อเอานิ้วหรือสิ่งของใส่เข้าไปในมือลูก ลูกจะกำแน่นมากไม่ยอมปล่อย หรือเมื่อ เอานิ้วหรือสิ่งของแหย่ไปที่นิ้วเท้าของลูกก็ จะกำแน่นเช่นเดียวกัน
อาการตอบสนองโดยอัตโนมัติของลูกเหล่านี้ (ยกเว้นการดูด) จะหายไปเองหลังอายุ 3 เดือน โดยจะเปลี่ยนเป็นการควบคุมการทำงานของ กล้ามเนื้อได้ดีขึ้นแทน
นอกจากนั้น ทารกแรกเกิดสามารถใช้ประสาท สัมผัสรับรู้เสียง, กลิ่น และรสได้ สามารถจำ กลิ่นของแม่ได้ตั้งแต่แรกเกิด จำหน้าคุณแม่ ได้เมื่ออายุ 2 สัปดาห์ ช่วงแรกของชีวิตลูกจะ ใช้ปากรับรู้สัมผัส ทารกชอบจ้องมองดูผู้คน, ข้าวของต่างๆที่อยู่ใกล้ๆ ทารกชอบมองหน้าคน เป็นพิเศษ ทารกจะมีความสุขมากถ้าได้รับ การสัมผัสเบาๆ เสียงสูงๆ เบาๆ ของพ่อแม่เมื่อ พูดคุยหยอกล้อกับลูกจะทำให้ลูกมีความสุขมาก ลูกจะมีปฏิกิริยากับแสงสว่าง และจะหายใจเร็ว ขึ้นเมื่อได้ยินเสียงที่ถูกใจ และจะสะดุ้งตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดังๆ
ในช่วง 2 - 3 วันแรก ทารกจะเริ่มเรียนรู้ที่จะ ประสานงานกันระหว่างการดูด, การกลืน และการหายใจ ทารกแรกเกิดจะหันไปหา หัวนมแม่หรือหัวนมยางโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณแม่แตะที่ข้างแก้มลูก และจะอ้าปาก ทันทีที่คุณแตะริมฝีปากบนของลูก
กำมือ: เมื่อเอานิ้วหรือสิ่งของใส่เข้าไปในมือลูก ลูกจะกำแน่นมากไม่ยอมปล่อย หรือเมื่อ เอานิ้วหรือสิ่งของแหย่ไปที่นิ้วเท้าของลูกก็ จะกำแน่นเช่นเดียวกัน
อาการตอบสนองโดยอัตโนมัติของลูกเหล่านี้ (ยกเว้นการดูด) จะหายไปเองหลังอายุ 3 เดือน โดยจะเปลี่ยนเป็นการควบคุมการทำงานของ กล้ามเนื้อได้ดีขึ้นแทน
นอกจากนั้น ทารกแรกเกิดสามารถใช้ประสาท สัมผัสรับรู้เสียง, กลิ่น และรสได้ สามารถจำ กลิ่นของแม่ได้ตั้งแต่แรกเกิด จำหน้าคุณแม่ ได้เมื่ออายุ 2 สัปดาห์ ช่วงแรกของชีวิตลูกจะ ใช้ปากรับรู้สัมผัส ทารกชอบจ้องมองดูผู้คน, ข้าวของต่างๆที่อยู่ใกล้ๆ ทารกชอบมองหน้าคน เป็นพิเศษ ทารกจะมีความสุขมากถ้าได้รับ การสัมผัสเบาๆ เสียงสูงๆ เบาๆ ของพ่อแม่เมื่อ พูดคุยหยอกล้อกับลูกจะทำให้ลูกมีความสุขมาก ลูกจะมีปฏิกิริยากับแสงสว่าง และจะหายใจเร็ว ขึ้นเมื่อได้ยินเสียงที่ถูกใจ และจะสะดุ้งตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดังๆ
ทารกที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ทารกบางคนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหลัง คลอดในโรงพยาบาล บางครั้งอยู่ในตู้อบภาย ในห้องเด็กอ่อน บางครั้งต้องอยู่ในห้องไอซียู สำหรับเด็กแรกคลอด มักเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้:-
สาเหตุ
เมื่อไปหาลูกซึ่งอยู่ในตู้อบคุณอาจต้องใส่เสื้อกาวน์ และใส่ที่ปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คุณควรล้างมือให้แน่ใจว่าสะอาดจริง และเป่ามือให้แห้งสนิทก่อนจับต้องลูกน้อย
รู้จัก...ทารกแรกคลอด
รู้จัก...ทารกแรกคลอด (M&C แม่และเด็ก)
ฉบับที่แล้วเราได้แนะนำให้คุณแม่เรียนรู้ภาษาของทารกไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด เพื่อที่จะได้รู้ว่า เวลาที่ลูกร้องนั้น เค้ากำลังต้องการสื่ออะไรกับคุณ คราวนี้เราจะชวนคุณแม่ไปทำความรู้จักร่างกายน้อย ๆ ของทารกแรกคลอดกันค่ะ
3 วันแรกในชีวิตลูก
จากสถิติพบว่า เด็กไทยที่คลอดครบกำหนดจะมีน้ำหนักแรกเกิด ประมาณ 2,500-3,000 กรัม แต่สิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตกใจได้ก็คือ พอหลังคลอด ลูกกลับมีน้ำหนักตัวลดลง!!!
เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติค่ะ ช่วง 2-3 วันแรกของชีวิต น้ำหนักของทารกจะลดลงได้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกกำลังปรับตัวกับการรับสารอาหารในรูปแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากตอนอยู่ในครรภ์อย่างสิ้นเชิง แถมยังมีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางเหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ รวมทั้งต้องใช้พลังงานอย่างมากในการหายใจ แต่หลังจาก 3 วันไปแล้ว น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่ม และจะเพิ่มจนเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันเลยทีเดียว
เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติค่ะ ช่วง 2-3 วันแรกของชีวิต น้ำหนักของทารกจะลดลงได้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกกำลังปรับตัวกับการรับสารอาหารในรูปแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากตอนอยู่ในครรภ์อย่างสิ้นเชิง แถมยังมีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางเหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ รวมทั้งต้องใช้พลังงานอย่างมากในการหายใจ แต่หลังจาก 3 วันไปแล้ว น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่ม และจะเพิ่มจนเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันเลยทีเดียว
นอนเก่งแล้วจะหม่ำนมพอไหม
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะนอนเกือบทั้งวันค่ะ เฉลี่ยแล้ววันละ 15-20 ชั่วโมงเลยทีเดียว จะตื่นก็ต่อเมื่อหิว ฉี่หรืออึ จนไม่สบายตัว ถ้ากลัวว่าลูกจะนอนนานจนตื่นมากินนมไม่พอ ลองขยับเนื้อขยับตัว หรือเขี่ยริมฝีปากของเค้าสักนิด เค้าก็จะเริ่มดูดนมได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้ากลัวว่าเค้าดูดตอนหลับแล้วจะสำลัก ก็คงต้องรอให้เค้าตื่นก่อน ระหว่างให้นมควรพูดคุยเล่นกับเค้า จะช่วยให้ตื่นอยู่ได้นานขึ้นซักพักหนึ่ง เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะมีช่วงเวลาตื่นที่นานขึ้นเองค่ะ
และทารกมักถ่ายทุกครั้งหลังกินนม เจ้าตัวเล็กของคุณจึงอาจอึถึงวันละ 6-7 ครั้ง ทารกที่กินนมแม่ อุจจาระจะค่อนข้างนิ่ม ส่วนทารกที่กินนมผงอุจจาระจะแข็งกว่าเล็กน้อย
และทารกมักถ่ายทุกครั้งหลังกินนม เจ้าตัวเล็กของคุณจึงอาจอึถึงวันละ 6-7 ครั้ง ทารกที่กินนมแม่ อุจจาระจะค่อนข้างนิ่ม ส่วนทารกที่กินนมผงอุจจาระจะแข็งกว่าเล็กน้อย
กระหม่อมลูกนุ้มนุ่ม
บริเวณตรงกลางศีรษะทารกแรกเกิดจะมีลักษณะนุ่ม ดังนั้น เวลาที่เขาขยับตัวหรือร้องไห้ จึงเห็นได้ชัดเจนว่ากระหม่อมของเขากำลังเคลื่อนไหวขึ้น ๆ ลง ๆ ทำให้คุณแม่มือใหม่ตกใจได้มาก ทั้งที่เป็นเรื่องปกติค่ะ ถ้าเวลาปกติส่วนของกระหม่อมลูกแบนราบไม่ปูดโปนหรือยุบลงก็ไม่ต้องกังวล
นอกจากนี้ ที่ศีรษะลูกอาจมีคราบไขแข็งติดอยู่ได้ ควรใช้สำลีชุบเบบี้ออยล์ หรือวาสลีนเช็ดทำความสะอาดบ่อย ๆ ภายใน 2 สัปดาห์เจ้าไขที่ว่านี้จะหายไปค่ะ
นอกจากนี้ ที่ศีรษะลูกอาจมีคราบไขแข็งติดอยู่ได้ ควรใช้สำลีชุบเบบี้ออยล์ หรือวาสลีนเช็ดทำความสะอาดบ่อย ๆ ภายใน 2 สัปดาห์เจ้าไขที่ว่านี้จะหายไปค่ะ
ดูแลสะดืออย่างไร ?
สีของสะดือทารก อาจต่างกันไป บางคนเป็นสีดำ ขณะที่บางคนมีสีซีดจนเกือบขาว ความแตกต่างคือ สะดือที่มีสีดำแสดงว่ามีเลือดคั่งอยู่ข้างในมาก ส่วนสะดือสีซีด เหลือง หรือขาว เป็นสะดือที่มีเลือดคั่งอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งไม่ว่าจะสีไหนก็ไม่ได้ทำให้ลูกเจ็บปวดหรอกค่ะ
ระหว่างที่สะดือลูกยังไม่หลุด คุณแม่ควรดูแลสะดือของลูกให้แห้งอยู่เสมอ อย่าให้เปียกชื้น และยังไม่ควรจัดให้ลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำ เพราะเขาอาจปัสสาวะออกมาเปียก หรือตัวเขาอาจกดทับสะดือจนเป็นแผลได้
บางครั้งที่สะดือของลูกอาจมีเลือดซึมออกมาบ้างก็ไม่ต้องวิตก หมั่นใช้แอลกอฮอล์เช็ดก็เพียงพอแล้ว แต่หากมีน้ำเหลืองออกมาด้วย ปรึกษาแพทย์ดีกว่าค่ะ
ระหว่างที่สะดือลูกยังไม่หลุด คุณแม่ควรดูแลสะดือของลูกให้แห้งอยู่เสมอ อย่าให้เปียกชื้น และยังไม่ควรจัดให้ลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำ เพราะเขาอาจปัสสาวะออกมาเปียก หรือตัวเขาอาจกดทับสะดือจนเป็นแผลได้
บางครั้งที่สะดือของลูกอาจมีเลือดซึมออกมาบ้างก็ไม่ต้องวิตก หมั่นใช้แอลกอฮอล์เช็ดก็เพียงพอแล้ว แต่หากมีน้ำเหลืองออกมาด้วย ปรึกษาแพทย์ดีกว่าค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น