เรียนรู้ไปกับมือน้อย ๆ ของลูกเลิฟ
เรียนรู้ไปกับมือน้อย ๆ ของลูกเลิฟ (M&C แม่และเด็ก)
ช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ขวบนี้ ลูกน้อยจะใช้อวัยวะส่วนที่เรียกว่า มือ มาก
เขาสามารถจับสิ่งของ ไขว่คว้า และโบกมือไปมาได้อย่างสะดวก ทุก ๆ วินาที ลูกจะมีพัฒนาการและเปลี่ยนความสามารถในการใช้มือมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ
สัมผัสและคว้าสิ่งของ
ช่วง 6-7 เดือน ลูกน้อยเริ่มที่จะเข้าใจว่า มือของเขานั้นเป็นเครื่องมือของการค้นคว้าและสำรวจ ไม่ใช่แต่เพียงคว้าสิ่งของหรือจับมือหรือนิ้วใส่ปากเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ลูกน้อยแตะหรือพยายามคว้าสิ่งของ แต่ระยะนี้เขาสามารถทั้งคว้า แตะ เอื้อมให้ถึง และรู้จักเคาะเล่น นอกจากนี้ เด็กจะมีพัฒนาการรู้ถึงความแตกต่างของพื้นผิวของของเล่น และชอบที่จะสัมผัสของต่าง ๆ เหล่านั้น
อย่างเช่น การตบโต๊ะ ต่างกับการตบมือบนผ้าห่มนุ่ม ๆ หรือแม้กระทั่งการพยายามจับดอกไม้ออกจากผ้า เนื่องจากเห็นมีลาย มีดอกสีสด ๆ เขาเลยคิดว่าเป็นดอกไม้จริง ๆ ที่สามารถหยิบออกมาได้ นั่นเป็นสัญญาณแสดงว่าเขาพยายามใช้อวัยวะมือสำรวจ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เขามีพัฒนาการเป็นลำดับมากยิ่งขึ้นค่ะ
ก่อนหน้านี้ลูกน้อยแตะหรือพยายามคว้าสิ่งของ แต่ระยะนี้เขาสามารถทั้งคว้า แตะ เอื้อมให้ถึง และรู้จักเคาะเล่น นอกจากนี้ เด็กจะมีพัฒนาการรู้ถึงความแตกต่างของพื้นผิวของของเล่น และชอบที่จะสัมผัสของต่าง ๆ เหล่านั้น
อย่างเช่น การตบโต๊ะ ต่างกับการตบมือบนผ้าห่มนุ่ม ๆ หรือแม้กระทั่งการพยายามจับดอกไม้ออกจากผ้า เนื่องจากเห็นมีลาย มีดอกสีสด ๆ เขาเลยคิดว่าเป็นดอกไม้จริง ๆ ที่สามารถหยิบออกมาได้ นั่นเป็นสัญญาณแสดงว่าเขาพยายามใช้อวัยวะมือสำรวจ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เขามีพัฒนาการเป็นลำดับมากยิ่งขึ้นค่ะ
พัฒนาการสุดเจ๋ง ต้อง...
ให้สิ่งของมาก ๆ เพื่อการสำรวจ วัยประมาณ 6 เดือน ลูกจะชอบดูดมือมาก ๆ คุณแม่ควรหยิบยื่นสิ่งของให้ถือ แม้ว่าเขาจะไม่เล่น ต้องพยายามหยิบยื่นให้และให้ถือทั้งสองมือ แต่วัยนี้เมื่อกำลังถือของมือนึงอยู่ และเราอื่นให้กับอีกมือนึง เขาก็จะปล่อยของอีกมือค่ะ
ส่งเสริมให้เด็กสัมผัสและตบ ประมาณ 7 เดือน ปล่อยให้เด็กเล่นบนหญ้า พรม เสื่อหรือพื้นกระดาน ให้ลูกได้ใช้มือสัมผัสถูไปมากับพื้นดังกล่าวหรือถ้าฮาร์ดคอร์หน่อย ก็จับมือเขาตบกันสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน อย่างเจ้าแมวเหมียว ๆ ก็ได้ค่ะ (ระวังโดนมันตบกลับด้วย อิ อิ) หรือตบกับหน้าต่าง สิ่งของต่าง ๆ กลายเป็นมือกลองประจำบ้านไปเลยก็ได้ค่ะ
ให้ของเล่นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ประมาณ 7-8 เดือน ควรให้เด็กใช้นิ้ววาดไปตามรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงแหวน หรือรูปร่างต่าง ๆ ของของเล่น หรือจับของเล่นที่มีเสียงกรุ๋งกริ๋งสั่นไปมา และพยายามให้ทำทั้งสองมือ ต่อมาเด็กจะพัฒนาเคาะของเล่นหลาย ๆ ชิ้นเข้าด้วยกันได้
ให้โอกาสเด็กดูการใช้มือของผู้ใหญ่ ลูกน้อยจะเรียนรู้ฝึกฝนการใช้มือจากของเล่น และการดูตัวอย่างจากพ่อแม่ เขาจะสังเกตและเลียนแบบทำตาม ดังนั้น เราอาจจะใช้สีเทียนลองขีดไปมาบนกระดาษ โดยพยายามหยิบสียื่นให้เขา เขาจะสามารถทำตามได้
ประมาณ 7 เดือน ควรให้ของเล่นที่มีสายเชือกดึงเล่นได้ แต่เขาจะไม่รู้ความหมายของการลากดึงเท่าใดนัก ต่อเมื่อ 6 สัปดาห์ถัดมา เขาเริ่มเรียนรู้และสนุกกับของเล่นแบบนี้ อาจให้ของเล่นที่เป็นรถวิ่งได้และในที่สุดเขาจะเรียนรู้การไถรถให้วิ่งได้อย่างเด็กโตเลยค่ะ
คุณแม่อาจเล่นกลิ้งของที่กลม ๆ ถ่ายน้ำจากแก้วหนึ่งไป ยังอีกแก้วหนึ่ง ลูกน้อยอาจจะเลียนแบบคุณแม่ คุณแม่อาจทำเป็นตัวอย่างและสอนให้เขาตักอาหารใส่ปากด้วยตนเอง รวมทั้งการล้างมือ ล้างหน้า เป็นต้น
คุณแม่อาจเล่นกลิ้งของที่กลม ๆ ถ่ายน้ำจากแก้วหนึ่งไป ยังอีกแก้วหนึ่ง ลูกน้อยอาจจะเลียนแบบคุณแม่ คุณแม่อาจทำเป็นตัวอย่างและสอนให้เขาตักอาหารใส่ปากด้วยตนเอง รวมทั้งการล้างมือ ล้างหน้า เป็นต้น
การช่วยให้เด็กรู้วิธีการปล่อยของ ประมาณปลายเดือนที่ 9 เด็กสามารถเรียนรู้การปล่อยสิ่งของจากมือได้ และเข้าใจคำสั่งจากผู้ใหญ่ "ขอคุณแม่นะคะ" เขาจะหยิบยื่นของให้ทันที คุณแม่ทราบไหมว่า กระบวนการที่เขาจะปล่อยหรือคลายนิ้วออกจากสิ่งของนี้ เป็นการยากแก่เด็ก ๆ มากในระยะแรกเริ่มต้น
ดังนั้น ควรจะเตรียมของเล่นที่ไม่แตกหรือหัก เพราะเด็กจะโยนหรือทิ้งลงกับพื้น หรืออาจเป็นของเล่นที่ยืดหยุ่น ห่อหุ้มหรือทำด้วยผ้านุ่ม ๆ หรือไม้ก็ได้ค่ะ
ดังนั้น ควรจะเตรียมของเล่นที่ไม่แตกหรือหัก เพราะเด็กจะโยนหรือทิ้งลงกับพื้น หรืออาจเป็นของเล่นที่ยืดหยุ่น ห่อหุ้มหรือทำด้วยผ้านุ่ม ๆ หรือไม้ก็ได้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น