Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาการเท้าบวมของคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการเท้าบวมของคุณแม่ตั้งครรภ์
 
 
 
อาการเท้าบวมเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะตอนท้องแก่) แต่เป็นแล้วก็อดกังวลไม่ได้ จะเป็นอะไรไหม แล้วเท้าจะกลับมาเหมือนเดิมหรือเปล่า

 


 
 

หนึ่งในอาการที่แม่ตั้งครภ์พบได้บ่อยๆ ก็คือ อาการเท้าบวม ซึ่งมักจะเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 36-37 โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจาก
 

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนบางตัวจากการตั้งครรภ์มีผลให้เซลล์ของเส้นเลือดมีระยะห่างกันมากขึ้น น้ำที่อยู่ในเส้นเลือดจึงรั่วออกไปอยู่บริเวณรอบๆ เส้นเลือดมากขึ้น และคั่งค้างอยู่ในชั้นของไขมัน ทำให้ขาบวมได้

มดลูกขยายขนาด ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นไปกดเส้นเลือดบริเวณขา ทำให้การไหลของเลือดจากส่วนล่างของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง เลือดจึงคั่งอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกาย

แรงดึงดูดของโลก ความจริงข้อนี้คุณแม่หลายๆ คนคงนึกไม่ถึง แต่แรงดึงดูดของโลกที่ทำให้ของเหลวในร่างกายไหลมารวมกันที่บริเวณเท้า ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ขึ้นได้

สัญญาณครรภ์เป็นพิษ แม้ว่าอาการบวมอาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับแม่ท้อง แต่การบวมบางอย่างก็อาจไม่ปกติ เมื่อคุณแม่สังเกตตัวเองแล้วพบว่า แม้จะหลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนนานๆ แล้วเท้ายังคงบวมอยู่ และมีความดันโลหิตสูงด้วย อาจจะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษก็ได้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ

 



ตัวเร่ง ทำเท้าบวม
 
 

 
ใช่ว่าแม่ท้องจะประสบปัญหาเท้าบวมกันทุกคนหรอกนะคะ มีหลายปัจจัยทีเดียวที่อาจจะทำให้คุณแม่ต้องเจอกับปัญหานี้ โดยเฉพาะตัวของคุณเองและกิจกรรมที่ทำ

1.น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เท้าคุณแม่บวมมากตามไปด้วย

2.เดินหรือยืนมากตลอดวัน แบบนี้ตกเย็นจะปวดเมื่อยมากกว่าปกติ ดีไม่ดีอาจจะเป็นตะคริวมากขึ้น เวลาเดินก็เลยยิ่งปวดฝ่าเท้ามากขึ้นด้วย

3.มีเส้นเลือดขอดมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณน่องด้านหลัง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีเท้าจึงบวมมากขึ้นได้

4.นั่งในท่าเดิมนานๆคุณแม่ที่ไม่ค่อยได้เดิน นั่งนานๆ จะมีโอกาสขาบวมมากกว่าคุณแม่ที่เดินไปโน่นมานี่เสียบ้าง การเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ จะทำให้เลือดหรือน้ำที่คั่งอยู่ไหลกลับเข้าสู่เส้นเลือด ได้มากขึ้น อาการบวมก็จะน้อยลง


 
 
 
วิธีบรรเทาบวม
 
 

 
คุณแม่สามารถใช้ 3 วิธีง่ายๆ นี้ช่วยลดอาการเท้าบวมที่เกิดขึ้นได้

 
 
ออกกำลังกาย
 



1.เดินคุณแม่ควรหาจังหวะออกกำลังกายเบาๆ บ้าง เช่น เดินออกกำลังกายหลังมื้อเที่ยง ครั้งละครึ่งชั่วโมง แนะนำให้ลองออกกำลังกายแบบเดินในน้ำเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น เพราะแรงต้านของน้ำจะทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ฝึกกล้ามเนื้อขาได้แบบไม่เหนื่อยเกินไป

2.บริหารขา ระหว่างทำงานคุณแม่ลองหาเก้าอี้ที่มีพนักพิงสบายๆ มาใช้ แล้วเริ่มบริหารขาแบบง่ายๆ ด้วยการยกขาขึ้นให้ขนานพื้นทีละข้าง กระดกเท้าขึ้นลง แล้วหมุนข้อเท้าทวนเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกาสลับกันไป
 
 

 
ปรับพฤติกรรม
 

 
1.ลุกจากโต๊ะบ้าง คุณแม่บางคนนั่งทำงานเพลินจนลืมไปว่าตัวเองนั่งอยู่ท่านี้นานแค่ไหนแล้ว อย่าลืมแปะโน้ตเตือนให้ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เลือดหรือน้ำคั่งอยู่ที่

เท้า ด้านล่าง อ้อ..หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างด้วยนะคะ ท่านั่งแบบนี้ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ไม่เหมาะกับแม่ท้องอย่างเรา

2.ไม่ยืนหรือเดินนานๆ เพราะจะทำให้เลือดคั่งที่เท้าจนบวมได้ ควรนั่งหรือนอนเพื่อพักขาบ้างค่ะ

3.นอนยกขาให้สูง ช่วงกลางคืนเวลานอนควรเอาหมอนสัก 1-2 ใบมาหนุนที่เท้า เพื่อยกเท้าให้ระดับเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ ก็จะช่วยให้เลือดที่คั่งอยู่ไหลกลับเข้าหัวใจได้มากขึ้น

4.ดื่มน้ำมากๆ วันละ 8 แก้วกำลังดี น้ำช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก ช่วยลดอาการบวมได้ค่ะ

5.หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด เพราะการมีเกลืออยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมากนั้น จะทำให้ร่างกายต้องดูดซับน้ำมากตามไปด้วย แต่เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีนให้มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง

6.พยายามควบคุมน้ำหนักของคุณแม่เอง ไม่ให้อยู่ในระดับที่มากเกินกำหนด เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจำนวนไม่น้อยนั้นมาจากน้ำ ของเหลวจำนวนมากพวกนี้มักจะไปสะสมอยู่ที่เท้า การควบคุมน้ำหนักทำให้การหมุนเวียนเลือดในขาดีขึ้นค่ะ
 
 

 
นวดและแช่เท้า
 


1.แช่เท้าในน้ำอุ่น หยดน้ำมันหอมระเหยเพิ่มลงไปอีกนิด ช่วยให้ผ่อนคลายและขยายเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี ลดโอกาสที่เท้าบวมได้
 
 

 
2.นวดกระตุ้นต่อมน้ำเหลือง ช่วยให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองดีขึ้น การนวดแบบนี้ลดอาการเท้าบวมได้

 



 
 
เลือกรองเท้าให้เหมาะ
 

1.ไม่ใส่รองเท้าให้คับเกินไป เมื่อเท้าบวมขึ้นก็ควรจะเปลี่ยนขนาดไปตามเท้าที่ใหญ่ขึ้น

2.รองเท้าส้นสูงเหรอ เก็บไว้ในตู้ก่อนดีกว่าค่ะ เพราะการใส่รองเท้าส้นสูงยิ่งทำให้ต้องเกร็งปลายเท้าและปวดบวมมากขึ้น ควรใส่รองเท้าหุ้มส้นที่สูงประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ เพราะใส่แล้วมีโอกาสหลุดจากเท้าได้ อันตรายนะคะ

3.พื้นส่วนที่รองรับเท้าควรเป็นยางนุ่มๆ แต่ไม่ควรนุ่มมากเกินไป เพราะอาจทำให้ปวดเท้าได้ ถ้าเป็นรองเท้าที่มีปุ่มนวดเท้า น่าจะบรรเทาการปวดได้มากขึ้น กรณีที่ปุ่มนวดเท้านั้นไม่แหลมและแข็งจนเกินไป

ได้วิธีดูแลไปแล้ว เท้าบวมก็ไม่ใช่ปัญหาหนักอกของแม่ท้องอีกต่อไปแล้วค่ะ

 

หมายเหตุ

การนวดฝ่าเท้า เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับแม่ท้องนะคะ เพราะการกดจุดบางจุด อาจมีผลกระทบต่อมดลูก ทำให้แท้งง่าย อย่าเสี่ยงดีกว่าค่ะ

 
 
 
 
 
 
 
ที่มา    ::     นิตยสาร Modern Mom ปีที่ 14 ฉบับที่ 159 มกราคม 2552 และ วิชาการดอทคอม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น