Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการทารกน้อยในครรภ์

พัฒนาการทารกน้อยในครรภ์
1 เดือนแรกของพัฒนาการทารกในครรภ์ (3 สัปดาห์นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย)
เป็นช่วงเวลาที่ไข่ได้ผสมกับ
อสุจิกลายเป็นตัวอ่อน โดยไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวช้าๆ ผ่านท่อนำไข่มายังโพรงมดลูก ขณะเคลื่อนตัวก็จะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะกระทั่งถึงโพรงมดลูกไข่จะมีลักษณะเป็นลูกกลม ประกอบไปด้วยเซลล์ราว 100 เซลล์ และยังคงเจริญเติบโตต่อไป ไข่ที่ผ่านการผสมแล้วจะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา จนเมื่อยึดเกาะติดมั่นคงดีแล้วจึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างสมบูรณ์



ช่วงเดือที่ 2 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(เริ่มสังเกตเห็นทารกชัดเจน)
เมื่อไข่ที่ผสมแล้วยึด
เกาะติดฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกเรียบร้อยดีแล้ว ช่วงเดือนที่ 2 ของพัฒนาการทารกในครรภ์นี้ทารกเริ่มมองเห็นเป็นตัวแล้ว การพัฒนาการของทารกในครรภ์สังเกตได้อย่างชัดเจนจากหัวของทารกที่จะโตกว่าส่วนอื่น รูปหน้า มือและเท้า ปรากฎให้เห็น ช่วงปลายเดือนถ้าอัลตราซาวด์จะเห็นการเคลื่อนไหวและจับการเต้นหัวใจได้ ทั้งมองเห็นสายรกโดยรกนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นปอดแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนจากคุณแม่ และยังเป็นเสมือนสายใยที่คอยลำเรียงอาหารจากคุณแม่สู่ทารกในครรภ์อีกด้วย



ช่วงเดือนที่ 3 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(หัวใจจะเป็นรูปเป็นร่างเต็มที่ )
ในเดือนที่ 3 โครงสร้างใบหน้าของทารกเริ่มสมบูรณ์ แต่เปลือกตายังปิดอยู่ การทำงานของระบบสมอง และกล้ามเนื้อเริ่มมีความสัมพันธ์กัน กล้ามเนื้อต่างๆ มีการเจริญเติบโต แขนขาเริ่มยืดออก และเคลื่อนไหวได้ ข้อต่างๆ เริ่มเชื่อมต่อกัน นิ้วมือนิ้วเท้าสมบูรณ์ และเริ่มงอได้ ปลายนิ้วมีเล็บ ทารกจะหัดดูดนิ้ว และเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ โดยตัวทารกนั้นจะลอยอยู่ในน้ำคร่ำภายมดลูก ซึ่งน้ำคร่ำนี้เองทำหน้าที่ปกป้องและห่อหุ้มทารกไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน



ช่วงเดือนที่ 4 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(การเติบโตของทารกที่ใกล้จะสมบูรณ์)
เดือนที่ 4 ของการพัฒนาทารกในครรภ์ แขนและข้อต่อต่างๆ พัฒนาอย่างสมบูรณ์ กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉง แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหว เริ่มมีขนอ่อนปกคลุมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทารก สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เริ่มมีไตที่ทำงานได้เหมือนผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกยังมีจำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมากกว่าเดือนที่แล้วถึง 3 เท่า สามารถเตะ งอนิ้วมือนิ้วเท้า กลอกตาได้อวัยวะเพศพัฒนามากขึ้นจนสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด



ช่วงเดือนที่ 5 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(ทารกเริ่มรู้สึกกับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้)
เดือนที่ 5 พัฒนาการของทารกในครรภ์ จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกแล้วว่าทารกดิ้น หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นระยะๆ โดยฟันจะถูกสร้างขึ้นมาแต่จะอยู่ใต้ขากรรไกร เริ่มมีผมบนศีรษะ กล้ามเนื้อต่างๆ มีความแข็งแรงมากขึ้น ทารกเคลื่อนไหวมากขึ้น ลำตัวทารกช่วงนี้ยาวประมาณ 9 นิ้ว และร่างกายจะผลิตสารสีขาวข้นที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ ขึ้นมาเคลือบเพื่อปกป้องผิวเส้นผม คิ้วและขนตาเริ่มงอกเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัส คือ รับรู้รส ได้กลิ่น และได้ยิน ตายังปิดอยู่แต่รับรู้แสงสว่างจ้าได้ ดังนั้นเวลาคุณพูดแกจะได้ยิน หรือเวลาที่คุณลูบท้องแกก็จะรู้สึกเช่นกัน ช่วงปลายเดือนนั้นทารกยังเริ่มถ่ายปัสสาวะลงสู่น้ำคร่ำได้อีกด้วย

ช่วงเดือนที่ 6 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(การตอบสนองของทารกชัดเจน)
ร่างกายของทารกเริ่มเติบ โตช้ากว่าเดิมเพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ที่น่าอัศจรรย์คือทารกสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวทำให้คุณแม่รู้สึกได้โดย เฉพาะตอนนอนพักทารกสามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เสียงพูด เสียงดนตรี และสามารถตอบสนองการกระตุ้นของแม่ ทารกในช่วงนี้อาจจะดูผอมบาง เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ใต้ผิวหนังน้อย



ช่วงเดือนที่ 7 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(พัฒนาการพร้อมออกสู่โลกกว้าง)
ทารกในครรภ์เดือนที่
7 มีการสร้างไขมาปกคลุมผิวหนัง ลำตัว เพื่อความอบอุ่น และป้องกันผิวหนังจากน้ำ ปอดของทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เปลือกตาเริ่มเปิด และนัยน์ตาพัฒนาไปมากจนมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าทองแม่ได้ เสียงดังๆทำให้ทารกเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไปตามเสียงและแสงไฟ ต่อมรับรสของทารกพัฒนาไปมาก ถ้าทารกเกิดคลอดออกมาช่วงเวลานี้จะมีโอกาศรอดค่อนข้างสูง เพราะอวัยวะสำคัญทั้งหลาย



ช่วงเดือนที่ 8 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(ทารกกลับตัวพร้อมออกมาลืมตาดูโลก)
เดือนที่ 8 แห่งพัฒนาการของทารก ทารก
จะมีขนาด และสัดส่วนใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิด มีความแข็งแรงมากขึ้น ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มกลับหัวเข้าสู่อุ้งเชิงกราน การดิ้นของทารกจะสามารถสังเกตเห็นได้จากหน้าท้องของแม่ ช่วงนี้ก่อนคลอดหนึ่งเดือนคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป็นอาการที่ เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด


ช่วงเดือนที่ 9 ของพัฒนาการทารกในครรภ์(เตรียมตัวเป็นแม่คน)
ในเดือน
นี้ทารกจะอยู่ในท่าที่พร้อมจะคลอด เล็บมีการเจริญเติบโต และยาวครอบคลุมปลายนิ้ว ผมบนศีรษะมีความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ถ้าเป็นครรภ์แรกศีรษะของทารกจะเคลื่อนเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นคุณแม่อาจคลอดตอนไหนก็ได้ในช่วงนี้ ทารกส่วนใหญ่จะคลอดตามกำหนดหรือช้าไป 2 สัปดาห์หลังกำหนด


พัฒนาการทารกในครรภ์
การตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 2
เดือนที่
การตั้งครรภ์เดือนที่ 2

การเจริญและการพัฒนาของทารก

ระยะนี้เป็นระยะสำคัญที่สุดเนื่องจาก จะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นไม่ว่าการติดเชื้อไวรัส ยาที่รับประทาน หรือสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หากเด็กได้รับช่วงนี้ จะเกิดความพิการได้ เด็กจะมีขนาด .08-.8 นิ้ว เริ่มมีการสร้างแขน ขา ตา ในช่วงสัปดาห์ที่7-8 จะเริ่มสร้างนิ้วมือ อาจจะได้ยินเสียงหัวใจเด็กเมื่อตรวจด้วย ultrasound เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สองอวัยวะต่างๆจะพัฒนา เช่น สมอง ตับ หัวใจ กระเพาะ นิ้ว มือ หู และอวัยวะเพศ ในระยะนี้เด็กจะมีขนาด 1 นิ้วเราเรียกระยะนี้ว่า fetus


ภาพถ่ายจากอุลตร้าซาวด์อายุครรภ์2เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

น้ำหนักจะเริ่มเพิ่มขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ยังแพ้ท้องอยู่น้ำหนักอาจจะไม่เพิ่ม เสื้อผ้าจะเริ่มคับ เต้านม ขาจะใหญ่ขึ้นผู้ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดอาการของคนตั้งครรภ์คือ รู้สึกเหนื่อย ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องอืดเพ้อ คัดเต้านม หัวนมจะมีสีคล้ำขึ้น ปวดศีรษะ รู้สึกว่าเสื้อผ้าจะคับ อารมณ์จะยังคงผันผวน บางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องน้ยเป็นระยะเนื่องจากการบีบตัวของมดลูก

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับพ่อบ้าน

พ่อบ้านยังคงมีอารมณ์ผันผวนอยู่ และไม่ทราบวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการของคนท้อง ดังนั้นท่านต้องปรึกษากับพ่อบ้านว่าวิธีบรรเทาอาการควรทำอย่างไร ช่วงนี้พ่อบ้านอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มทุกครั้งที่ท่านไปตามนัด แพทย์จะวัดความความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะ และวัดขนาดของมดลูก แพทย์จะถามถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรจดปัญหาที่เกิดไว้เพื่อถามแพทย์สิ่งที่ต้องปฏิบัติเนื่องจากในระยะนี้สมองเด็กเริ่มมีการพัฒนาท่านจะต้องรับประทานกรดโฟลิกเพื่อป้องกันความพิการทางสมอง
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  • รับประทานอาหารหลายครั้งแทนการรับประทานสามมื้อเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
  • เลือกยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะจะช่วยลดอาการคัดเต้านม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

เมื่อมีอาการแพ้ท้อง มีขนมปังแครกเกอร์แบบเค็มๆไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อคุณแม่ตื่นขึ้นมาให้รับประทานทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง
หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง เนื่องจากคุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการแน่นท้อง ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อยๆแต่รับประทานหลายๆมื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อยๆก็พอ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 – 6 มื้อต่อวัน ดื่มน้ำให้มาก แต่อย่าดื่มน้ำร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด หากเครื่องดื่มทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ลองรับประทานผักผลไม้ เช่น ผักกาดหอมเพราะจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก รับประทานน้ำผลไม้ใส่น้ำแข็ง เชอร์เบท ไอศกรีม โยเกิร์ต นมปั่นแม้ว่าคุณไม่รู้สึกหิว แต่ควรพยายามบังคับให้ตัวเองรับประทาน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้คุณอาเจียนได้ง่ายกว่าที่มีอาหารอยู่ในท้อง อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะรับประทานได้ง่ายกว่า เช่น ขนมปังแห้งๆ กรอบๆ ธัญพืช หรือข้าวสวยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิดอาจทำให้คุณแม่ไม่สบายท้อง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู คุณแม่อาจลองรับประทานไข่ต้มสุกๆ แทนน่าจะดีขึ้นหลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหารให้เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมดูดกลิ่น
วิตามินเสริมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ดังนั้น หากคุณแม่ที่เคยมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก่อนอย่าลืมแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย วิตามิน B จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้น ดังนั้น คุณหมออาจสั่งวิตามิน B complex หรือ B6 ให้ หากทุกวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผลสำหรับคุณแม่ และคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียวิงเวียนและรู้สึกไม่สบายมาก อย่าใช้ยาอะไรที่คุณหมอไม่ได้สั่งให้โดยเด็ดขาด แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกว่ามันเป็นยาธรรมดาที่ใช้ประจำ ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่คุณไม่ทราบ อย่าลืมว่าคุณหมอของคุณยินดีที่จะตอบคำถาม และช่วยดูแลคุณแม่เสมอ


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ปวดปัสสาวะบ่อย

การที่มีฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรนจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบผ่อนคลายมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เป็นกล้ามเนื้อเรียบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีปัสสาวะปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่พบห้องน้ำที่ไหนให้เข้าไว้ก่อน และเมื่อปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งรอ 2 – 3 นาที บางทีคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาอีก

ท้องผูก

หากคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน การที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆและการนอนมากๆในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ ดังนั้น คุณแม่อาจเริ่มที่จะออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเป็นเวลา 15 – 20 นาทีในตอนเช้า แล้วกลับมาดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นๆ และนั่งพัก คุณแม่อาจเริ่มปวดท้องขึ้นมาได้ หรือพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ รับประทานพืชผักที่ให้กากอาหารมากขึ้นก็จะช่วยได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่ท้องผูกเป็นกิจวัตรและใช้ยาระบายมาตลอด ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาระบายทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลทำให้แท้งบุตรได้เลยทีเดียว

รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย

อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คุณแม่อาจคิดว่าคุณหมอกล่าวหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เป็นผู้ร้ายอยู่เสมอ แต่ความเป็นจริงก็คือ เคยมีนักวิจัยทำการทดลองโดยการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าหนูหลับเพราะฮอร์โมนนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวนั่นเอง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อยก็นอนพัก นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถนอนได้ เพราะธรรมชาติต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากการนอนกลางวันเป็นการฝืนใจคุณแม่ ให้ลองนึกว่ามีอีกคนที่กำลังง่วงและอยากจะนอนแล้ว

ท้องนอกมดลูก

คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ การท้องนอกมดลูกสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก

การตรวจต่าง ๆ

การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 – 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพจะแสดงในรูปแบบของจุด (Pixel) เช่น ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีขาว ถ้าเป็นเนื้อเยื่อก็จะเป็นส่วนที่มืดมากขึ้น ถ้าเป็นของเหลวก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์คลื่นเสียงจะผ่านผนังหน้าท้องของแม่ไปยังทารกในครรภ์แล้วสะท้อนกลับมาสร้างเป็นภาพให้เห็นทางจอภาพ


การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ในสูติกรรมมี 2 ชนิดคือ

  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2 – 3 เพื่อที่จะได้เห็นภาพของทารกและรกที่ชัดเจนมากขึ้น

  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อที่ได้เห็นภาพ ของปากมดลูก มดลูก ถุงน้ำคร่ำ ตัวอ่อน และโครงสร้างลึกๆของอุ้งเชิงกราน


การตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วๆไปในการตรวจครรภ์จะใช้เพื่อ
  • คาดคะเนอายุครรภ์
  • ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
  • ดูจำนวนของทารก
  • ตรวจครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรือทารกตายในครรภ์
  • เพื่อบอกตำแหน่งของรกและความผิดปกติของรก
  • เพื่อแยกการตั้งครรภ์นอกมดลูกและความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่นๆ
  • มีเลือดออกผิดปกติ
การตั้งครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 3
การตั้งครรภ์ เดือนที่ 3
การตั้งครรภ์เดือนที่ 3

การเจริญและการพัฒนาของทารก

เด็กทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่ท่านยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวหัวใจจะมี4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้ง ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะและถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว


ภาพถ่ายจากอุลตร้าซาวด์ อายุครรภ์ 3 เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่

มื่อไปฝากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจ ขนาดของมดลูกเพื่อเปรียบเทียบกับอายุครรภ์ระยะนี้ยังคงมีอาการของคนแพ้ท้อง จะพบว่าเส้นเลือดที่นม ท้อง ขา เริ่มขยาย ท้องจะเริ่มโต ผู้ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกอยากอาหาร อารมณ์จะผันผวนน้อยลง

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

ระวังเรื่องการใช้ยา

การใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด หากคุณแม่มีโรคประจำตัวใดๆควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย และหากไม่สามารถมาพบคุณหมอได้ในกรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากหมอท่านอื่น ควรบอกคุณหมอด้วยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

การดูแลผิวพรรณป้องกันท้องลาย

ท้องลายเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการขยายออกอย่างรวดเร็วในขณะตั้งครรภ์ และผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่นดีพอก็จะแตกลายได้ จะทำให้คันยิ่งถ้าไปเกาท้องก็จะลายมากขึ้น และเมื่อคลอดผิวหนังมีการหดกลับลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ลายมากขึ้นเหมือนคนที่อ้วนแล้วผอมอย่างรวดเร็ว คนท้องทุกคนไม่จำเป็นที่จะต้องท้องลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวหนังของแต่ละคนด้วยการป้องกันท้องลายสามารถทำได้โดยทาครีมชนิดเข้มข้นและนวดเบาๆ ทาครีมให้ทั่วบริเวณท้อง ต้นขา หน้าอก ก้น ทาบ่อยๆได้ยิ่งดี หากผิวที่แตกจะทำให้คันแต่ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ท้องลายมากขึ้น เวลานอนให้ใช้หมอนเล็กๆหลายๆใบหนุนท้องเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักไว้ จะทำให้ท้องลายน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณท้องด้านข้างท้องลายมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากขนาดของท้องจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเดือนที่ 3 นี้คุณแม่จะยังไม่พบว่าท้องลาย แต่ก็ควรทาครีมอย่างสม่ำเสมอทุกๆวันตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว เตรียมความพร้อมเมื่อผิวต้องขยายออกอย่างรวดเร็วจะได้ไม่แตกลาย นอกจากนี้คุณแม่ควรดูแลเล็บไม่ให้เล็บยาวเพราะจะทำให้เผลอเกาท้องได้ การตัดเล็บควรตัดเป็นเส้นตรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบ ควรแช่มือและเท้าในน้ำอุ่นสักสิบนาทีจะทำให้เล็บอ่อนลงจะช่วยให้ตัดง่ายขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ภาวะเครียด

ความเครียด ความวิตกกังวลในการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการที่การตั้งครรภ์เป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และคุณแม่ยังมีความรักความห่วงใยต่อทารกในครรภ์ คุณแม่อาจไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นหากมีมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกได้ มีรายงานการวิจัยที่รายงานระบุว่า ความเครียดมีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อยเมื่อคลอด เป็นต้น การลดความเครียดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำต่างๆ
การที่คุณแม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากขึ้นจะทำให้คุณแม่สามารถเตรียมรับ หรือเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่า และความเครียดของคุณแม่ก็จะน้อยลง คุณแม่อาจพูดคุยถึงสิ่งที่วิตกกังวลกับคุณพ่อ หรือคุณยาย หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้


การแท้งบุตร

การแท้งคือ การที่มีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนระยะที่ทารกจะสามารถมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอกได้ คุณแม่อาจมีคำถามว่าแล้วเมื่ออายุครรภ์เท่าใดที่ทารกจึงจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด คำตอบอาจไม่ตรงกันในแต่ละประเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ช่วยทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้มีชีวิตอยู่รอดได้นั้นแตกต่างกัน เช่นทารกที่คลอดในสหรัฐอเมริกาตอนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์สามารถมีชีวิตรอดได้ ดังนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงถือเกณฑ์ที่ว่า หากมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ไม่ถึง 20 สัปดาห์และทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัมถือเป็นการแท้ง ส่วนในประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยจะถือว่าการแท้งหมายถึงมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์หรือทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 1000 กรัม

สาเหตุของการแท้ง
ความผิดปกติของทารก ทารกที่แท้งในช่วงไตรมาสแรกมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ โครโมโซมของทารก สาเหตุของการแท้งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของ ทารกและการตั้งครรภ์ไข่ฝ่อ (Blighted ovum) คือ การท้องที่มีการฝังตัวของรกแต่ไม่เกิดตัวเด็ก ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสุ่มเลือกของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่มีความผิดปกติหรืออ่อนแอก็จะตายไป
ความผิดปกติของฮอร์โมน พบว่ามารดาที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำ โดยฮอร์โมนมีผลต่อคุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นแหล่งอาหารสำหรับ การเจริญเติบโต หากฮอร์โมนน้อยเยื่อบุโพรงมดลูก ก็มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ตัวอ่อนก็เจริญต่อไม่ได้จะทำให้เกิดการแท้งขึ้น
มีความผิดปกติของกายวิภาคของมดลูกและ ปากมดลูกของมารดา เช่นโพรงมดลูกมี ผนังกั้นตรงกลางมีมดลูกสองอัน ปากมดลูกสองอัน ช่องคลอดสองอัน หรือมีเนื้องอกของมดลูก
ชนิดของเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน ซึ่งมักพบในชาวผิวขาวมากกว่าผิวเหลือง
การติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ
ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ยกของหนัก และการกระทบกระเทือน


ประเภทของการแท้ง

การแท้งคุกคาม คือ การที่มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ เป็นอาการแสดงว่ากำลังจะแท้ง หากมาพบแพทย์ทันเวลาและอาการไม่รุนแรงมาก ประมาณ 50% ของผู้ป่วยสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้โดยที่แพทย์จะต้องดูแลเป็นพิเศษ แพทย์อาจให้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อจนกว่าเลือดจะหยุด หรืออาจต้องทำการเย็บผูกปากมดลูก แพทย์อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดการบีบตัวของมดลูก อาจต้องนอนพักในโรงพยาบาลชั่วระยะเวลาหนึ่ง ผู้ป่วยต้องนอนพักมากๆ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักโดยเด็ดขาด หลีกเลี่ยงการเดินทาง การมีเพศสัมพันธ์ และการสวนถ่ายอุจจาระ

การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การที่มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคร่ำรั่วออกมา ปากมดลูกเปิดขยายตัวออก อาจมีชิ้นส่วนของรกออกมาจุกอยู่ที่ปากมดลูก เมื่อมาถึงระยะนี้แล้วจะไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ในที่สุดก็จะแท้งออกมาเอง หรือหากมาพบแพทย์ แพทย์อาจทำการดูดเอาทารกออกมาให้เพื่อให้แท้งครบ

การแท้งไม่ครบ คือ การแท้งที่มีเลือด น้ำคร่ำ และชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ เช่น ทารก รก ถุงน้ำคร่ำบางส่วนหลุดออกมา มีบางส่วนค้างอยู่ภายในมดลูก ซึ่งการแท้งชนิดนี้จะทำให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี เลือดจะไหลออกมาไม่หยุดจนทำให้ช็อกได้ ดังนั้น แพทย์จะให้น้ำเกลือหรือให้เลือดเพื่อทดแทนปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนเลือดแล้วทำการดูดเอาชิ้นส่วนที่เหลือออกมาให้หมด หลังจากนั้นมดลูกจะบีบตัวได้ดีขึ้นเลือดก็จะหยุดไหลไปเอง

การแท้งค้าง คือ การแท้งที่ทารกเสียชีวิตไปแล้วแต่ยังคงค้างอยู่ในโพรงมดลูกต่อไป 4 – 8 สัปดาห์ อันตรายที่เกิดขึ้นจากการแท้งค้างก็คือมารดาจะเกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้าผิดปกติ ทำให้มีเลือดออก เช่นเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีจุดจ้ำเลือดตามผิวหนังทั่วตัว มีบาดแผลแล้วเลือดหยุดยาก วิธีการรักษาแท้งค้าง คือ ต้องรักษาภาวะเลือดแข็งตัวช้าผิดปกติก่อนแล้วจึงทำการดูดเอาทารกและรกออกมา

การระมัดระวังป้องกันการแท้ง
  • ฝากครรภ์กับสูติแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพโดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
  • มารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
  • เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคร่ำออกมาทางช่องคลอด หรือปวดท้องให้รีบมาพบแพทย์
  • ระมัดระวังเรื่องการทำงานหนัก ยกของหนัก การใส่รองเท้าส้นสูง การหกล้ม การกระทบกระเทือนต่างๆ
  • รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ปริมาณมากเพียงพอ ระมัดระวังในการใช้ยาโดยเฉพาะยาระบาย งดสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน นอนให้หลับ


การตรวจต่าง ๆ

การตรวจปัสสาวะ ป็นการตรวจหาระดับน้ำตาล โปรตีน การติดเชื้อ คุณเพียงแต่ปัสสาวะใส่ในภาชนะที่ทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมเอาไว้ให้แล้วเขียนชื่อของคุณแม่ลงไปในสติกเกอร์สำหรับติดบนภาชนะ เมื่อคุณแม่ติดสติกเกอร์ที่มีชื่อคุณแม่อยู่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็เพียงแต่ส่งให้เจ้าหน้าที่เท่านั้น การตรวจปัสสาวะแพทย์อาจให้ทำการตรวจทุกครั้งที่มารับการตรวจครรภ์ หรืออาจให้ตรวจเฉพาะบางครั้งก็ได้ ซึ่งสามารถตรวจได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์

การตรวจเลือด ในเดือนที่ 3 นี้การตรวจเลือดจะกระทำเพื่อดูการติดเชื้อ ภาวะโลหิตจาง ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีปริมาตรของเลือดเพิ่มมากขึ้น ของเหลวและโปรตีนในเลือดจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นประมาณ 40 % ส่วนเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% แต่พลาสม่าอาจเพิ่มขึ้นไม่เพียงพอซึ่งอาจทำให้คุณมีภาวะโลหิตจางได้ การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจางจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น หากมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องมีการให้ยารับประทาน แต่ถ้าหากเป็นรุนแรงก็จำเป็นต้องให้เลือดนอกจากนี้การตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันอาจจำเป็นหากคุณแม่จำไม่ได้ว่า เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ หากคุณแม่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในขณะที่ตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ทารกมีความพิการได้ อย่างไรก็ตามแต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไปแล้วและยังไม่มีภูมิคุ้มกันไม่ต้องกังวล เนื่องจากไม่มีการระบาดของโรคนี้มานานมากแล้ว ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ต้องขอร้องให้คุณหมอฉีดวัคซีนให้ระหว่างที่ตั้งครรภ์เพราะจะทำให้ทารกติดเชื้อและพิการได้ หากตรวจพบว่าคุณมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะต้องตรวจว่าคุณมีตัวเชื้อ (antigen) ของไวรัสหรือไม่ หากมีเมื่อคลอดเราก็เพียงแต่ฉีดยาให้กับทารกหลังคลอดภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมงเท่านั้นทารกก็จะไม่ติดเชื้อ การตรวจเลือดมักทำในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์และตรวจซ้ำอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 4
อายุครรภ์สี่เดือน
การตั้งครรภ์เดือนที่ 4

การเจริญและการพัฒนาของทารก

ผิวหนังเด็กจะมีสีชมพูและใส ขนคิ้วและขนตาเริ่มงอก เริ่มมีการสร้างหูชั้นนอก หน้าตามีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คอยาวขึ้นทำให้หน้าและลำตัวแยกจากกัน ศีรษะจะมีขนาดเล็กลงประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัวเด็กทารกวัยนี้จะสามารถลืมตา กลืนน้ำ มีการนอน ตื่น การเคลื่อนไหว แตะ คุณแม่จะรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวนี้ได้เรียก quickening ให้จดวันที่เด็กเริ่มเคลื่อนไหวไว้ให้แพทย์ประกอบการพิจารณาวันกำหนดคลอดระยะนี้เด็กจะมีขนาดยาว 8-10 นิ้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

เมื่อไปผากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดขนาดของมดลูก วัดความยาวของมดลูก ซึ่งจะต้องตรวจทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาฝากครรภ์

เดือนที่4การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่ เมื่อไปผากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดขนาดของมดลูก วัดความยาวของมดลูก ซึ่งจะต้องตรวจทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาฝากครรภ์อาการโดยทั่วไปของคนท้องจะดีขึ้นเช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปัสสาวะบ่อย คัดเต้านม อาการต่างๆเหล่านี้จะลดลง แต่มีอาการที่คงอยู่เช่น แน่นท้อง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอกจากนั้นยังมีอาการที่เกิดขึ้นใหม่ เช่นคัดจมูก เลือดกำเดาไหล หูอื้อ เลือดออกตามไรฟัน หลังเท้าบวมเล็กน้อย เส้นเลือดขอดที่ขา อาจจะมีริดสีดวงทวาร ตกขาว ในระยะนี้สมควรที่จะชุดคลุมท้องและเตรียกยกทรงหากเต้านมมีขนาดเพิ่มขึ้น แพทย์จะเริ่มได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจเด็กระยะนี้คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น แนะนำให้รับประทานอาหารบ่อยขึ้น แต่ไม่แนะนำให้รับประทานปริมาณอาหารเพิ่ม อาจจะบ่อยเพิ่มเป็นสองเท่า และควรจะรับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อแม่และลูก หากเป็นไปได้ให้จดชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานเพื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานหรือนำไปปรึกาแพทย์ อารมณ์ช่วงนี้ยังผันผวน เสื้อผ้าเดิมเริ่มคับ หลงลืมบ่อยน้ำหนักคุณแม่เริ่มเพิ่มขึ้นในระยะแรกของการตั้งครรภ์น้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มเนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง แต่เมื่อย่างเข้าระยะนี้น้ำหนักควรจะเพิ่มสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม แต่ระยะใกล้คลอดน้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มหรือลดลงซึ่งเป็นเรื่องปกติ คนปกติเมื่อตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-17 กิโลกรัม สำหรับครรภ์แผดอาจจะเพิ่มประมาณ 17 -20 กิโลกรัม โดยเป็นน้ำหนักทารก 3-4 กิโลกรัม น้ำหนักรกและน้ำคล่ำ 1.5-3 กิโลกรัม ไขมัน น้ำ และเลือดประมาณ 7-8 กิโลกรัม


ภาพถ่ายจากอุลตร้าซาวด์ อายุครรภ์ 4 เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับพ่อบ้าน

เริ่มกังวลกับภาระรายจ่าย และกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดู เริ่มเก็บเงินได้แล้วครับ เตรียมตัวศึกษาวิธีการเลี้ยงเด็กได้แล้ว คุณแม่เล่าเรื่องที่ไปตรวจครรภ์ให้พ่อบ้านฟัง รวมทั้งนำเอกสารต่างให้พ่อบ้านดู และชวนพ่อบ้านให้เข้าร่วมฟังการแนะนำที่โรงพยาบาลจัดขึ้น เพื่อพ่อบ้านจะได้เรียนรู้การช่วยเหลือ การดูแลเด็ก บทบาทของพ่อบ้านช่วงนี้ได้แก่
  • หากสูบบุหรี่ต้องงดบุหรี่โดยเด็ดขาดทั้งคุณแม่และพ่อบ้าน
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพทั้งคู่ ไม่รับประทานอาหารจานด่วน
  • ช่วยงานบ้าน งานครัว
  • วางแผนซื้อของใช้
  • วางแผนการใช้จ่าเงิน


การตรวจร่างกาย

หากคุณแม่ไปฝากครรภ์แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดเพื่อว่าเป็นเบาหวานหรือไม่
  • ตรวจวัดระดับความดันโลหิต
  • ตรวจหน้าท้องว่ามดลูกมีการเติบโตตามระยะหรือไม่
  • ชั่งน้ำหนัก
  • การตรวจน้ำคล่ำจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
การตั้งครรภ์ และ พัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 5
5 month
การตั้งครรภ์เดือนที่ 5
การเจริญและการพัฒนาของทารก

เด็กทารกช่วงนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ เด็กเริ่มมีรายนิ้วมือ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตใต้เหงือก ผม ขนคิ้ว ขนตายาวขึ้นเด็กจะมีการตื่นและนอนเป็นเวลา คุณแม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เด็กดุดนิ้วมือเป็น เด็กระยะนี้จะยาว 10-12 นิ้วหนักครึ่งกิโลกรัม



ภาพถ่ายจากอุลตร้าซาวด์ อายุครรภ์ 5 เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

เมื่อไปพบแพทย์จะตรวจเหมือนกับเดือนที่ 4 อย่าลืมจดปัญหาเพื่อไปปรึกษากับแพทย์ อาการของผู้ป่วยจะคล้ายกับเดือนที่ 4แต่จะมีอาการมากขึ้น เช่นการเคลื่อนไหวของเด็กเพิ่มขึ้น ตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดท้องน้อยเนื่องจากเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ปวดหลัง ผิวจะมีสีคล้ำขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

เส้นเลือดขอด ระหว่างการตั้งครรภ์เส้นเลือดดำที่ขาจะต้องรับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปกติ ยิ่งถ้าหากว่าที่คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานด้วยแล้ว และถ้าหากการตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ก็มักจะพบเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นได้เสมอ วิธีที่จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นหรือป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดนั้นสามารถทำได้โดย ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขาสามารถไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เมื่อมีเวลาว่างอยู่ที่บ้าน อาจยกขาสูงพิงไว้กับข้างฝาชั่วขณะหนึ่ง หรือในระหว่างวันก็สามารถทำกายบริหาร ออกกำลังโดยหมุนข้อเท้าไปรอบๆ ทำบ่อยๆ เมื่อนึกขึ้นได้ จะช่วยให้เลือดดำไหลกลับได้ดีขึ้นและไม่ขังอยู่ทำให้เป็นเส้นเลือดขอด

การตรวจต่าง ๆ
การตรวจปัสสาวะ ในการตรวจปัสสาวะบางครั้งอาจพบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งอาจหมายถึง การเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ เมื่อคุณรับประทานอาหารมากขึ้น มีการเผาผลาญมากขึ้น บางครั้งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้มีน้ำตาลเหลือ และกรองผ่านไตออกมากับปัสสาวะ คุณหมออาจจะให้ตรวจซ้ำ หากผลการตรวจครั้งที่ 2 ปกติ เนื่องมาจากร่างกายสามารถปรับตัวและผลิตอินซูลินออกมาได้เพียงพอ ก็จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจ GTT (Glucose tolerance test) เพื่อยันยันผลการตรวจว่าปกติแน่นอน
การตั้งครรภ์ และ พัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 6
การตั้งครรภ์เดือนที่ 6
การตั้งครรภ์เดือนที่ 6

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารก

เด็กทารกวัยนี้ยังคงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผิวเด็กจะแดงและปกคลุมด้วยขนอ่อน lanugo hair และไขมัน ผมและเล็บเท้าจะเริ่มงอก สมองจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทเริ่มทำงาน ในเด็กหญิงจะเริ่มสร้างไข่ในรังไข่ระยะนี้เด็กจะดูเหมือนคนตัวเล็ก แต่ปอดยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ดังนั้นเด็กจำเป็นต้องอยู่ในมดลูก เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 11-14 นิ้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่

เมื่อไปตรวจตามนัดแพทย์จะตรวจเช่นเดียวกับเดือนที่ 4 อาการต่างๆที่เกิดจะเหมือนกับเดือนที่ 5 แต่จะเคลื่อนไหวมากขึ้นแข็งแรงมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษ Preeclampsia
เป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก และมักพบหลังจากอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการของ preeclampsia ได้แก่ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกิดจากน้ำในร่างกายไม่ใช่จากการเจริญเติบโตของทารก) ข้อต่างๆ รวมถึงมือและเท้าบวม ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmhq ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย Preeclampsia นั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่สามารถรักษาได้ เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นคุณแม่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จะต้องนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลา ต้องได้รับการดูแลเฝ้าระวังระดับของโซเดียมในร่างกาย และจะต้องได้รับยาที่จะช่วยลดความดันโลหิตลงมา ซึ่งมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะนี้ แต่คุณหมอจำเป็นจะต้องตรวจดูอย่างละเอียดก่อนที่จะกลายเป็นภาวะ Eclampsia เพราะถ้าหากคุณมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 mmhq หรือมากกว่าจะทำให้เกิดอันตรายกับระบบประสาทได้ เช่น ทำให้ชัก โคม่า ทำให้ไตล้มเหลวและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว แต่อาการอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากเมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ หากเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 แพทย์อาจแนะนำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยทำการผ่าตัดคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Preeclampsia ที่ไม่รุนแรงบางครั้งเมื่อคลอดแล้วระดับของความดันโลหิตจะลดลงสู่ปกติได้โดยเร็ว บางทีในวันแรกที่คลอดเลยด้วยซ้ำ


ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด

โดยปกติแล้วในระหว่างการตั้งครรภ์ปากมดลูกจะปิดอยู่เสมอจนกระทั่งเริ่มเจ็บครรภ์จะคลอด ปากมดลูกจึงจะเริ่มเปิดออก ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเกิดจากการที่ทารกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นและมีแรงกดดันลงไปที่ปากมดลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้ การแท้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ แต่ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุของการแท้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากทารกยังไม่พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอก ถ้าปากมดลูกเปิดโดยที่ไม่มีการบีบรัดตัวของมดลูกแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน การมีเลือดออกทางช่องคลอดก็เป็นอาการแสดงของการที่กำลังจะแท้งซึ่งเกิดจากปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด



การตั้งครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 7
อายุครรภ์ เจ็ด เดือน

การตั้งครรภ์เดือนที่ 7

เป็นการเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ท้องโตมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้น ๆ คุณแม่จะรู้สึกถึงความอุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และตัวมดลูกเองก็จะบีบตัวเป็นระยะห่าง ๆ กัน เป็นการเริ่มต้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับมีการเจ็บปวดเกิดขึ้น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อเจ็บครรภ์คลอดและเข้าสู่กระบวนการคลอด ในช่วงระยะนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า


การตั้งครรภื เดือนที่ เจ็ดภาพถ่ายจากอุลตร้าซาวด์ อายุครรภ์ 7 เดือน


การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่

อาการท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหารมาก และท้องผูกยังคงเป็นอาการที่รบกวนคุณแม่อยู่ ขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะดันกระเพาะอาหารขึ้นไป หากคุณแม่รับประทานอาหารแล้วแน่นท้องมาก ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆอีกครั้งในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์นี้ อาการบวมตามมือและเท้าเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะร่างกายสะสมน้ำไว้มาก อาจจะสังเกตได้จากแหวนที่คับมากขึ้นผิวหนังของคุณแม่จะแพ้ง่ายมากในช่วงนี้ อาจมีผื่นขึ้น หรือเป็นสิว ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากเป็นมากควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนังอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกาย รก และทารก ดังนั้นอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่มักจะสูงกว่าปกติประมาณ 10 – 15 ครั้งต่อนาที คุณแม่บางท่านอาจถูกตรวจพบว่ามีเสียงผิดปกติของการเต้นของหัวใจ แต่มันจะหายไปเมื่อคลอดแล้ว เต้านมของคุณแม่ยังขยายต่อไปอีก รวมถึงต่อมผลิตน้ำนมก็มีความพร้อมแล้วที่จะผลิตน้ำนมออกมาเลี้ยงทารก ในไตรมาสสุดท้ายนี้คุณแม่อาจมีน้ำนมสีเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ ข้อควรระวังก็คือระวังการกระตุ้นที่บริเวณนมเพราะจะทำให้มดลูกบีบตัวและเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
อาการปวดหลังของคุณแม่จะเป็นมากขึ้นและบางทีส่งผ่านลงไปที่ขาทั้งสองข้าง ครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินเข้าสู่ไตรมาสที่สาม อาการเจ็บที่หลังและส่งผ่านลงไปที่ขาอาจเกิดขึ้นได้จากการที่กระดูกสันหลังส่วนล่างนูนออก จากการที่ถูกมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นดัน ทำให้เส้นประสาทเกิดการบาดเจ็บ หรือถูกกด หรือบางทีการที่คุณแม่ก้มยกของโดยท่าทางไม่ถูกต้อง หรือบิดตัวเร็วเกินไป อาจเป็นสาเหตุให้ปวดหลัง และบางครั้งอาการปวดหลังก็หายไปเมื่อทารกเปลี่ยนท่า หากคุณแม่นอนเอนหลังลงไปแล้วทำให้ไม่สุขสบาย นั่นเกิดจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ลงไปกดอวัยวะต่างๆตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เลือดที่ไปหัวใจมีปริมาณน้อยลงลองนอนตะแคงจะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น คุณแม่จะเริ่มลุกจากเตียงลำบากขึ้นให้นอนตะแคงก่อนแล้วใช้มือช่วยดันตัวขึ้นมา หากคุณแม่มีอาชีพที่จำเป็นต้องยืนนานๆ อาจขอถุงเท้าที่ช่วยพยุงขาจากคุณหมอ หรือพยาบาล เนื่องจากอาการของเส้นเลือดขอดอาจเป็นมากขึ้น



คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่
อาการเจ็บเตือน

อาการเจ็บท้องเกิดขึ้นจากการที่มดลูกมีการบีบรัดตัว คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบทารกตึงและแข็งขึ้น อาการที่มดลูกบีบตัวนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ในช่วงไตรมาสที่สามนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นอาการเจ็บเตือนและเจ็บครรภ์จะคลอดจริงๆนั้น แตกต่างกันตรงที่ เจ็บเตือนนั้นปากมดลูกยังคงปิดสนิท แต่เจ็บจริงปากมดลูกจะเปิดออก อาการเจ็บเตือนมดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอจะเกิดขึ้นเมื่อใด เวลาใดก็ได้ แต่เจ็บจริงนั้น มดลูกจะหดรัดตัวสม่ำเสมอ และถี่มากขึ้น เจ็บนานขึ้น มดลูกอาจบีบตัวอยู่นานถึงสองนาทีและรุนแรงมากขึ้น การเจ็บเตือนเหมือนเป็นการซ้อมความพร้อมของการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ในการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้น

ทางเลือกในการคลอด
ในกรณีที่การตั้งครรภ์เป็นปกติ คุณแม่สามารถเลือกที่จะคลอดทารกทางช่องคลอดแบบธรรมชาติโดยไม่ใช้เทคโนโลยีใดๆเข้ามาช่วยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ โรงพยาบาลมีอุปกรณ์ต่างๆครบครันที่จะเตรียมพร้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาระงับความรู้สึก อุปกรณ์ช่วยในการคลอดในกรณีที่คลอดยากเช่น คีม (Forceps) แวคคูอัม (Vacuum) หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะที่ต้องทำการช่วยเหลือในทันทีต้องผ่าตัดออกมาก็สามารถใช้ห้องผ่าตัดได้เลย รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่คุณต้องการ เช่นวิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ มีเครื่องมือเตรียมพร้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน มีเครื่องมืออีเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ตรวจสอบสภาวะของทารกในครรภ์ สามารถรองรับทารกที่คลอดออกมาแล้วอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น เมื่อมาถึงโรงพยาบาล คุณแม่จะถูกจัดให้อยู่ในห้องรอคลอดที่สบาย สะอาด มีพยาบาลคอยดูแลและตรวจความก้าวหน้าของการคลอด ตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ เมื่อคลอดทารกจะถูกส่งไปที่แผนกเด็กอ่อนเพื่อทำความสะอาดและ สังเกตอาการ โรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ครบครันจะสังเกตอาการทารกที่คลอดใหม่ทุกรายในตู้อบ เพื่อที่สามารถสังเกตการหายใจของทารกได้อย่างชัดเจน และทารกอยู่ในตู้ที่มีอุณหภูมิอบอุ่นคงที่เหมือนกับในร่างกายของแม่ ทำให้ทารกสามารถปรับตัวกับโลกภายนอกได้ดีขึ้น ดังนั้นหากพบว่าลูกของคุณต้องอยู่ในตู้อบอย่าเพิ่งตกใจ หากทารกอาการปกติแข็งแรงดี แผนกเด็กอ่อนก็จะส่งทารกไปที่ห้องคุณแม่ในแปดชั่วโมง


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) การคลอดก่อนกำหนดคือ การคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เด็กที่คลอดออกมาอาจยัง เจริญเติบโตไม่สมบูรณเต็มที่ ความสมบูรณ์ของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์เมื่อคลอด เด็กที่คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 25 สัปดาห์อาจเสียชีวิต เด็กที่คลอดด้วยอายุครรภ์ น้อยๆแต่รอดชีวิตก็อาจจะมีปัญหาในการหายใจ อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่เด็กที่เป็นแฝดที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนดแต่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจได้รับยากระตุ้นปอดให้สมบูรณ์ก่อนคลอด ทารกที่คลอดออกมา อาจมีน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดเมื่อครบกำหนดแต่ปอดมีความสมบูรณ์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นจากสาเหตุใด

  • การที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • ครรภ์แฝด
  • ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องในขณะตั้งครรภ์ เช่นไส้ติ่งอักเสบ
  • มีน้ำคร่ำปริมาณมากหรือน้อยเกินไป
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 16 สัปดาห์
  • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
  • มารดาอายุน้อยกว่า 16 ปี
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • มารดาสูบบุหรี่
  • ทำงานที่ต้องออกแรงมากๆ

อาการแสดงของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการเกร็งท้องเป็นๆหายๆ เป็นจังหวะ และมีน้ำเดิน การวินิจฉัยสามารถทำได้โดย แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจครรภ์เพื่อดูการบีบตัวของมดลูก ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ ตรวจการบางและขยายตัวของปากมดลูก แพทย์จะทำการยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด หรือจะดำเนินการคลอด ที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของทารก สุขภาพของมารดาและทารก ศักยภาพของหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดอาการวิกฤต (Intensive care nursery) ที่จะสามารถดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

การยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด

  • พักในโรงพยาบาล และมีการสังเกตการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง
  • นอนบนเตียงตลอดเวลา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมดลูก และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ในน้ำเกลือทางเส้นเลือดดำเพื่อให้ยาทางเส้นเลือดที่จะช่วยลดการบีบตัว ของมดลูก
  • ตรวจเลือด ปัสสาวะ และเซลล์จากปากมดลูกเพื่อ ตรวจการติดเชื้อ
  • อัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสภาพของรก สุขภาพของทารก ประเมินอายุของทารก ตรวจความผิดปกติของทารก และท่าของทารก
  • ตรวจน้ำคร่ำเพื่อตรวจการติดเชื้อ และประเมินความสมบูรณ์ของปอดของทารก

แพทย์จะไม่ให้ยาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในกรณีที่

  • มีเลือดออกมากทางช่องคลอด
  • มีความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
  • มีการติดเชื้อในมดลูก
  • ทารกมีความผิดปกติ หรือเสียชีวิตแล้ว
  • สภาวะอื่นๆที่การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้

หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะดูแลตนเองอย่างไร เพื่อป้องกัน การคลอดก่อนกำหนด

  • ไปพบแพทย์ทุกสองสัปดาห์หลังจากที่อายุครรภ์ 20 – 24 สัปดาห์เพื่อตรวจครรภ์
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของงานที่ทำต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
  • หยุดการออกกำลังทุกชนิด ไม่ยกของหนัก ไม่เดินทางไกล
  • ต้องทำใจให้สบายปราศจากความเครียด
  • หาวิธีที่จะจดจำการเกิดการบีบตัวของมดลูกจากการใช้มือสัมผัส ทำการบันทึกการบีบตัวของมดลูก ควาสม่ำเสมอของการบีบตัว และความรุนแรงของการบีบตัว
  • ระวังการกระตุ้นที่บริเวณหัวนม เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัว
  • ระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัว

การตรวจต่าง ๆ

Nonstress Test (NST) คือการประเมินสภาพของทารกในครรภ์จากภายนอก ผ่านจากมารดา และบันทึกการเต้นของหัวใจของทารก เมื่อทารกที่มีสุขภาพแข็งแร็งมีการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจจะสูงขึ้น ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจของทารกอยู่ในช่วง 120 – 160 ครั้ง / นาทีและเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 15 วินาที 2 ครั้งภายใน 20 นาทีการแปลผลคือ Reactive ซึ่งแสดง ถึงทารกมีสุขภาพดี

Nonstress Test จะทำเมื่อใด

  • เมื่อเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมาเช่น ทารกตายในครรภ์
  • เมื่อมารดาสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลง
  • เลยกำหนดคลอดแล้วยังไม่คลอด

Nonstress Test จะให้ผลที่น่าเชื่อถือเมื่อ

  • ทำใน 6 – 8 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • ทำในช่วงเวลาที่ทารกมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดของแต่ละวัน (เช่นหลังจากมารดา รับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง)
การตรวจ Nonstress Test จะมีการติดตัวรับสัญญานที่ผนังหน้าท้องของมารดาสองจุดคือที่ ส่วนยอดของมดลูก และบริเวณที่สามารถได้ยินหัวใจของทารกเต้น มารดาจะได้รับปุ่มสำหรับกดเมื่อได้รู้สึกถึงการดิ้น ของเด็ก เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารกเป็นเวลา ~ 30 นาที ผลจะแสดงเป็นรูป กราฟ และเมื่อมารดากดปุ่มผลของการตรวจก็จะถูกแปลตามสภาวะนั้น

การแปลผล

  • Reactive: ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองครั้งใน 20 นาที ในสองครั้งที่ทารกมีการ เคลื่อนไหวอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นอีก ~15 ครั้งต่อนาทีและสูงขึ้นอย่างน้อย 15 วินาที
  • Nonreactive: ทารกไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจ ในระหว่างที่ทำ

บ่อยครั้งในการตรวจที่จะได้ผล Nonreactive เนื่องจากทารกไม่มีการเคลื่อนไหวเพียงพอ ที่เครื่องจะทำการอ่านผลได้ แพทย์จะทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็ก Active มากขึ้น แต่ถ้าผลยังคงเป็น Nonreactive ก็จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์แบบที่เรียกว่า Biophysical แต่ถ้าผลยังคงไม่ชัดเจนแพทย์ก็จะต้องทำ Contraction Stress Test (CST) และถ้าหากผลการตรวจแสดงว่าทารกมีสุขภาพไม่แข็งแรงแพทย์อาจแนะนำให้ ทำการคลอดก่อนกำหนด
การตั้งครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 8
อายุครรภ์ เดือนที่8
การตั้งครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 8

การเจริญและการพัฒนาของทารก

เด็กยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว กระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะ เคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 16-18 นิ้ว หนักประมาณ 2 กิโลกรัม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่

ช่วงนี้แพทย์จะนัดทุกสองสัปดาห์และจะตรวจร่างกายเหมือนเดือนที่ 5 อาการของคุณแม่จะเหมือนเดือนที่5 แต่จะหายใจตื้น มดลูกจะบีบตัวมากขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์เรื่องวิธีการคลอดรวมทั้งวิธีการระงับการเจ็บปวด
การตั้งครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 9
เดือนที่ เก้า
การตั้งครรภ์เดือนที่ 9

การเจริญและการพัฒนาของทารก

เดือนที่ 9 ช่วงนี้สมองเด็กจะเจริญเติบโตเร็วมากค่ะ ตัว เด็กจะเจริญอย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะคลอด หัวเด็กจะกลับลงพร้อมคลอด ภูมิคุ้มกันจากแม่จะเข้าสู่ลูก เด็กจะเคลื่อนไหวมากขึ้น ปอดแข็งแรงมาก เด็กจะยาวประมาณ 20 นิ้ว หนัก 2.5-4 กิโลกรัมช่วงอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์เด็กสามารถคลอดได้ตลอดเวลา ระยะนี้คุณแม่ จะรู้สึกอึกอัดเพราะเด็กตัวโต และดันกระเพาะ และกำบังลมทำให้แน่นท้องหายใจตื้นและเร็ว อาจจะมีอาการจุกเสียดหน้าอก และท้องผูก

เมื่อไรจะคลอด

ในระยะนี้เด็กพร้อมที่จะคลอดได้ตลอดเวลา คุณแม่ต้องจดเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ดูแลท่านไว้ให้ใกล้โทรศัพท์หรือในตำแหน่งที่หยิบง่าย และอาจจะต้องจดเบอร์โทรของโรงพยาบาลที่ใกล้ คุณแม่ต้องของคำแนะนำจากแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะต้องรีบเข้าโรงพยาบาล เกิดอาการอะไรบ้างที่ต้องแจ้งแพทย์ ช่วงนี้อาจจะมีอาการปวดท้องเตือนซึ่งจะแตกต่างจากอาการปวดท้องคลอดจริงดังนี้

  • อาการปวดท้องจะสม่ำเสมอ วิธีการตรวจคือเมื่อเริ่มปวดท้องให้คุณนับหรือจับเวลาตั้งแต่เริ่มปวดท้องจนปวดท้องครั้งต่อไป จะพบว่าอาการปวดจะมาอย่างสม่ำเสมอ
  • ในหนึ่งชั่วโมงปวดมากกว่า 5 ครั้ง
  • แต่ละครั้งปวดนาน 30-70 วินาที
  • หากคุณเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้น

หากมีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งแพทย์

สำหรับท่านที่มีอาการปวดท้องเตือน ท่านต้องเฝ้าดูอาการดังต่อไปนี้

  • เลือดหรือน้ำออกจากช่องคลอดหรือไม่
  • มดลูกหดเกร็งตลอดเวลา
  • ปวดหลังตลอดเวลาไม่หาย
  • รู้สึกว่าเด็กไหลลงช่องคลอด

หากคุณแม่ไม่แน่ใจให้โทรปรึกษาแพทย์ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้อธิบายอาการได้อย่างถูกต้อง และรับฟังคำแนะนำ

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ ระยะนี้แพทย์จะนัดตรวจทุกสัปดาห์วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในวัดขนาดของมดลูก ความสูงของมดลูก และตรวจว่าปากมดลูกเปิดหรือยัง แพทย์จะถามเรื่องความถี่และความแรงของอาการมดลูกบีบตัว
 
 
ที่มา :: http://www.baby2talk.com
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น