Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีบีบน้ำนมและการเก็บนมแม่ต้องทำอย่างไร

วิธีบีบน้ำนมและการเก็บนมแม่ต้องทำอย่างไร
 
การบีบน้ำนมไม่เพียงแต่ช่วยเก็บน้ำนมส่วนที่ดีไว้เท่านั้น แต่ยังทำให้มีอิสระในการให้ลูกกินนมในเวลาที่คุณสะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเก็บน้ำนมไว้เพื่อใช้ในเวลาอื่นได้อีกด้วยค่ะ
ทำไมคุณแม่จึงควรบีบน้ำนมเก็บไว้




การบีบน้ำนมเก็บไว้เหมาะเป็นอย่างยิ่งในกรณีที่คุณไม่สามารถให้ลูกกินนมได้ตามต้องการ หรือคุณแม่ต้องการพักหรือต้องการให้ลูกทานอาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก รวมถึงกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ในเวลานั้น แต่ต้องการให้ลูกได้รับสารอาหารจากนมแม่ เหตุผลที่ดีอีกประการหนึ่งก็คือเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้สามีได้สร้างความผูกพันกับลูก โดยมีส่วนร่วมในการให้นมลูก



การบีบน้ำนมด้วยมือ


คุณแม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมหรืออาบน้ำ หรือนวดเต้านมเพื่อบรรเทาอาการคัดก่อนเริ่มบีบน้ำนม เมื่อล้างมือและทำความสะอาดภาชนะที่จะเก็บน้ำนมโดยการฆ่าเชื้อแล้ว คุณก็เริ่มบีบน้ำนมได้
  • ประคองเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วนวดคลึงไล่ตั้งแต่ส่วนบนลงมา และคลึงรอบเต้านมรวมทั้งส่วนล่างด้วย
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดบนบริเวณรอบลานหัวนม (บริเวณที่เป็นสีเข้มรอบหัวนม) เบาๆ
  • บีบพร้อมกันแล้วกดเข้าหาตัวเพื่อให้นมไหลออก แต่ควรระวังน้ำนมพุ่งกระจายออกมา




การบีบน้ำนมด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า


การใช้เครื่องปั๊มนมช่วยให้คุณแม่บีบน้ำนมได้เร็วขึ้นและไม่เหนื่อยเท่าการบีบด้วยมือ แต่คุณแม่ต้องใช้น้ำอุ่นประคบที่เต้านมหรือนวดก่อนเพื่อลดอาการคัด และต้องแน่ใจว่าเครื่องปั๊มนมปราศจากเชื้อโรคก่อนนำไปใช้ โดยการบีบน้ำนมด้วยเครื่องควรใช้เวลาประมาณ 15 - 45 นาทีและไม่ควรทำให้คุณรู้สึกเจ็บที่เต้านม แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปั๊มที่คุณใช้ด้วย



การเก็บน้ำนมที่บีบออก


คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมไว้โดยใส่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่แข็ง ส่วนน้ำนมที่นำมาอุ่นให้ร้อนแล้วแต่ไม่ได้ใช้นั้น ควรทิ้งทันที และอย่าลืมเขียนวันที่ที่บีบน้ำนมเก็บไว้ด้วย โดยน้ำนมส่วนใหญ่จะเก็บได้ประมาณ:
  • 72 ชั่วโมงในตู้เย็นช่องธรรมดา
  • หนึ่งเดือนในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว
  • สามเดือนในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบสองประตู (แม้ว่าจำนวนแอนติบอดี้ในน้ำนมจะลดลงแล้วก็ตาม)
หากต้องการละลายน้ำนมที่แช่แข็ง ให้วางไว้ในน้ำร้อนจนกว่าจะละลายจนหมด ตรวจดูอุณหภูมิก่อนที่จะให้ลูกกินและใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าอุ่นนมในไมโครเวฟเพื่อให้ละลายเนื่องจากจะเป็นการทำลายสารอาหาร



ที่มา :: http://www.dumex.co.th/feeding_and_nutrition/breastfeeding/article/how_do_i_express_and_store_breast_milk



การบีบน้ำนม

วิธีบีบน้ำนมและประโยชน์ที่ได้


ผลดี

‘การบีบน้ำนม' เป็นการคั้นน้ำนมออกจากเต้านม โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
  • ลดอาการคัดตึงเต้านม
  • สำรองน้ำนมแม่กรณีมีผู้ช่วยให้นม
  • ให้ลูกดื่มนมแม่จากขวด
  • กระตุ้นการสร้างน้ำนม

ผลเสีย

  • หากบีบน้ำนมมากเกินไปอาจยิ่งทำให้เจ็บคัดเต้านม เพราะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมออกมามากขึ้น
  • ทารกส่วนใหญ่สามารถดูดนมออกจากเต้าได้ดีกว่าอุปกรณ์ใดๆ

ควรทำเมื่อใด

เมื่อนิสัยการดูดนมแม่ของทารกเริ่มเข้าที่ (คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อใดที่ควรบีบน้ำนม)

ทำได้อย่างไร

ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะสัมผัสกับน้ำนมแม่ก่อนเริ่มบีบน้ำนม (คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อ)
บีบด้วยมือ – บาทเดียวก็ไม่ต้องเสีย!
  1. ล้างมือให้สะอาดทั่วถึง จับที่เต้านมและไล่นิ้วจากโคนหัวนมจนถึงบริเวณลานหัวนม
  2. ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดและนวดอย่างนิ่มนวล ในขั้นตอนนี้แม่ไม่ควรรู้สึกเจ็บ
  3. คลายนิ้วออกและทำซ้ำไปเรื่อยๆ เป็นจังหวะ พยายามอย่าให้นิ้วเลื่อนออกจากลานหัวนม น้ำนมจะเริ่มไหลออกมา
  4. หากน้ำนมยังไม่ไหลให้เลื่อนนิ้วกลับขึ้นไปทางหัวนมเล็กน้อย หรือลองเต้านมเบาๆ
  5. บีบน้ำนมใส่ขวดที่ฆ่าเชื้อเรียบร้อย หรือถุงเก็บน้ำนมแม่
บีบด้วยเครื่องปั๊มนม – แม่ควบคุมด้วยตัวเอง
  1. ประกอบเครื่องปั๊มนมตามคำแนะนำของผู้ผลิต (คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมการเลือกเครื่องปั๊มน้ำนม)
  2. สวมถ้วยดูดบนเต้านม
  3. บีบน้ำนมด้วยกลไกบังคับด้วยมือ (แม่อาจต้องรอสักครู่จึงจะมีน้ำนมไหลออกมา)
บีบด้วยเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า – สะดวกและรวดเร็ว
  1. ประกอบเครื่องปั๊มนมตามคำแนะนำของผู้ผลิต (คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมการเลือกเครื่องปั๊มน้ำนม)
  2. สวมถ้วยดูดบนเต้านม
  3. เปิดเครื่อง เครื่องจะดูดน้ำนมออกมา (แม่อาจต้องรอสักครู่จึงจะมีน้ำนมไหลออกมา)
เมื่อน้ำนมเริ่มไหลช้าลงให้สลับไปที่เต้านมอีกข้าง สลับเต้านมไปจนกว่าน้ำนมจะหยุดไหล หรือไหลออกมาช้ามาก
เคล็ดลับ
  • ทำตัวให้ผ่อนคลาย เลือกช่วงเวลาที่ไม่ต้องเร่งรีบ
  • วางรูปลูกน้อยหรือของใช้ลูกไว้ข้างตัว จะช่วยให้น้ำนมไหลออกมาดีขึ้น
  • อาบน้ำอุ่นก่อนบีบน้ำนมจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปที่ทรวงอก และช่วยให้แม่รู้สึกผ่อนคลาย
  • เตรียมน้ำดื่มไว้ใกล้มือ

ควรบีบน้ำนมเมื่อใด

เวลาที่เหมาะสมอาจแตกต่างกัน

เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการบีบน้ำนมของคุณแม่แต่ละคนอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ คุณแม่อาจเลือกบีบน้ำนมในช่วงเช้าเพราะระดับฮอร์โมนสร้างน้ำนมจะเพิ่มสูงสุดในช่วงกลางคืน

ควรบีบน้ำนมเมื่อใด

สำหรับการให้นมช่วงกลางคืน– ควรบีบน้ำนมในช่วงเช้าเพราะเป็นช่วงเวลาที่เต้านมของแม่เต็มที่สุด
เพื่อลดอาการเต้านมคัด – ควรบีบทีละน้อยและทำบ่อยๆ เช่น ก่อนให้นมแต่ละครั้ง แต่อย่าลืมว่าการบีบน้ำนมจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่มากขึ้น
เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ – ภายหลังการให้นมในช่วงกลางวัน
*** พยายามเลือกช่วงเวลาที่ไม่ต้องเร่งรีบ และควรเริ่มบีบน้ำนมหลังจากที่กิจวัตรการดูดนมของลูกเริ่มเข้าที่ซึ่งมักอยู่ที่ราว 6 สัปดาห์ ***

การเก็บน้ำนม

วิธีเก็บน้ำนมเพื่อให้ใช้ได้คุ้มค่า

วิธีเก็บน้ำนม*

จะต้องบีบน้ำนมใส่ในขวดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ หรือในถุงเก็บน้ำนมซึ่งสามารถปิดสนิทและเก็บได้ (กรณีเด็กยังไม่ได้หัดดื่มนมขวด):
  • เก็บในตู้เย็นแช่แข็งด้านใน 1ประตู ได้ไม่เกิน 5วันที่อุณหภูมิ 4องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า
  • เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น 1ประตูได้สูงสุดนาน 2สัปดาห์
  • เก็บในช่องแช่แข็ง(แบบประตูแยก)ที่อุณหภูมิ -14องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3เดือน
  • เก็บในตู้เย็นแช่แข็งพิเศษได้สูงสุด 6เดือน ที่อุณหภูมิ -20องศาเซลเซียส
* ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

เก็บในตู้แช่แข็ง


แช่แข็งน้ำนมแม่ทันทีหลังจากบีบน้ำนมเสร็จ

ละลายนมหลังแช่แข็ง

  • นำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งไปเก็บในตู้เย็นหรือแช่น้ำอุ่น และต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อละลายน้ำแข็งและปล่อยให้คืนตัวที่อุณหภูมิห้องแล้วให้นำมาใช้ทันที หรือนำไปทิ้งหากไม่ได้ใช้
  • ห้ามนำมาแช่แข็งซ้ำ
  • ห้ามละลายน้ำแข็งด้วยไมโครเวฟ เพราะความร้อนที่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้นมลวกปากลูก
  • อย่าลืมเขย่าขวดและวัดอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนนำไปป้อนเด็ก

*** อย่าลืม : เขียนวันที่และเวลาบีบน้ำนมบนขวดบรรจุหรือถุงเก็บน้ำนม ***
อย่าลืมนึ่งฆ่าเชื้อภาชนะที่จะใช้บรรจุน้ำนม คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมในช่องแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำได้ไม่เกิน 5 วัน และสามารถเก็บได้ถึง 2 สัปดาห์หากเก็บในช่องแช่แข็ง หรือ 6 เดือนหากเก็บในตู้แช่แข็ง ปรึกษาข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หากจำเป็นต้องเก็บน้ำนมแช่แข็งกรณีที่ลูกคลอดก่อนกำหนดหรือป่วย

การฆ่าเชื้อ

วิธีการและความสำคัญของการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้นม

วัตถุประสงค์


เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะไม่สบายและท้องเสีย การฆ่าเชื้อช่วยทำความสะอาดอุปกรณ์และกำจัดเชื้อแบคทีเรียซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่ออุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับนม

เมื่อใด

  • จะต้องฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้นมลูกทั้งหมดก่อนนำมาใช้ทุกครั้งตลอด 6 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย
  • ขวดนมและจุกนมจะต้องฆ่าเชื้อก่อนใช้ทุกครั้งตราบเท่าที่ยังคงใช้อยู่

อุปกรณ์ที่จำเป็น

  • เครื่องนึ่งไอน้ำ หม้อฆ่าเชื้อด้วยน้ำเย็น สารฆ่าเชื้อ หรือกระทะขอบตั้งใบใหญ่ที่ไม่เคยใช้ปรุงอาหาร
  • แปรงล้างขวดนมและจุกนม
  • คีมจับจุกนม
  • ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ให้นมทุกชิ้นมีสภาพสมบูรณ์ (เช่น ไม่มีรอยขีดข่วนหรือร้าว)

วิธีทำ

ก่อนฆ่าเชื้อ

  • ล้างมือให้สะอาดและทำความสะอาดพื้นผิวที่ใช้เตรียมขวดนม
  • ล้างอุปกรณ์ให้สะอาดทั่วถึงในน้ำร้อนที่ผสมน้ำยาทำความสะอาด
  • ใช้แปรงขัดขวดนมทั้งด้านในและด้านนอก
  • ใช้แปรงขัดจุกนมและบีบน้ำออกจากหัวจุกนมเพื่อชะล้างคราบนมตกค้าง
  • ล้างอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยน้ำเปล่าอย่างทั่วถึง

หลังฆ่าเชื้อ

  • ล้างมือก่อนหยิบจับอุปกรณ์ อย่าลืมทำความสะอาดพื้นผิวที่ใช้เตรียมขวดนม
  • นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาเก็บในภาชนะบรรจุ
  • หากยังไม่ได้นำมาใช้ทันทีให้ประกอบขวดนมกับจุกนมและปิดฝาให้สนิท วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ขวดนมและจุกนมปนเปื้อนเชื้อโรคได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการฆ่าเชื้อด้วย

*** ไม่ควรเตรียมนมเผื่อไว้ และควรฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกครั้งก่อนนำมาเตรียมนม ***


การฆ่าเชื้อด้วยวิธีต้ม

  • ระวังน้ำร้อนลวกระหว่างการต้มอุปกรณ์
  • ตรวจสอบว่าอุปกรณ์สามารถต้มได้หรือไม่
  • เติมน้ำสะอาดลงในกระทะ ใบใหญ่ (ต้องไม่เคยใช้ปรุงอาหารมาก่อน)
  • จุ่มอุปกรณ์ทั้งหมดรวมทั้งคีมจับจุกนมลงในน้ำ ระวังอย่าให้มีฟองอากาศขังอยู่
  • ปิดกระทะและต้มอย่างน้อย 10 นาที ระวังอย่าต้มจนน้ำแห้ง อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องจมอยู่ในน้ำเดือด
  • ปล่อยให้อุปกรณ์คลายความร้อนทีละน้อยและให้ปิดฝากระทะไว้ดังเดิม
  • ใช้คีมจับจุกนมประกอบขวดนมเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อุปกรณ์ที่แช่อยู่ในน้ำโดยปิดฝาไว้จะอยู่ในสภาพปลอดเชื้อได้ราว 3 ชั่วโมง


การฆ่าเชื้อด้วยน้ำเย็น

  • เติมน้ำลงในหม้อฆ่าเชื้อด้วยน้ำเย็น (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • เติมสารฆ่าเชื้อตามปริมาณที่กำหนด (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • จุ่มอุปกรณ์ทั้งหมดรวมทั้งคีมจับจุกนมลงในน้ำ ระวังอย่าให้มีฟองอากาศขังอยู่และปิดฝา (นำถาดมาวางทับเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ลอยขึ้นมาจากน้ำ)
  • ต้มน้ำ
  • แช่อุปกรณ์ไว้อย่างน้อย 30 นาที
  • ก่อนนำมาใช้ให้ล้างอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยน้ำต้มที่คลายความร้อนแล้ว
  • อุปกรณ์ที่แช่อยู่ในสารละลายจะอยู่ในสภาพปลอดเชื้อได้ราว 24 ชั่วโมง ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนน้ำทุก 24 ชั่วโมง


การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไมโครเวฟ

  • เติมน้ำตามปริมาณที่กำหนด (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • นำอุปกรณ์รวมทั้งคีมจับจุกนมใส่ภาชนะนึ่ง ระมัดระวังอย่าให้อุปกรณ์อยู่ในแนวตั้งและอุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องแช่อยู่ในน้ำ (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • ปิดฝาหม้อนึ่งและนำเข้าตู้อบไมโครเวฟ ปรับกำลังไฟและเวลาตามที่ระบุ (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • ระวังไอร้อนลวก ห้ามเปิดฝาภาชนะนึ่ง ปล่อยให้อุปกรณ์คลายความร้อนลงเล็กน้อยก่อนเปิดฝา
  • ใช้คีมจับจุกนมประกอบขวดนมเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อุปกรณ์จะอยู่ในสภาพปลอดเชื้อตราบเท่าที่ยังปิดฝาอยู่


เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อไอน้ำระบบไฟฟ้า

  • เติมน้ำตามปริมาณที่กำหนด (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • นำอุปกรณ์รวมทั้งคีมจับจุกนมใส่เครื่องนึ่ง ระมัดระวังอย่าให้อุปกรณ์อยู่ในแนวตั้งและอุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องแช่อยู่ในน้ำ (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
  • ปิดฝาและเปิดเครื่อง
  • ระวังไอร้อนลวก ห้ามเปิดฝาเครื่องนึ่ง ปล่อยให้อุปกรณ์คลายความร้อนลงเล็กน้อยก่อนเปิดฝา
  • ใช้คีมจับจุกนมประกอบขวดนมเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อุปกรณ์จะอยู่ในสภาพปลอดเชื้อตราบเท่าที่ยังปิดฝาอยู่
  • ล้างคราบตกค้างในเครื่องนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนด (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น