Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เปิดขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการสิทธิบัตรทอง ทาง ไลน์ สปสช.

 เปิดขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการสิทธิบัตรทอง ทาง ไลน์ สปสช.







เปิดขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการสิทธิบัตรทอง ทาง ไลน์ สปสช.

1. อ่านข้อตกลง และกดยอมรับ
2. ใส่เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวแรก และตัวเลข 10 ตัว)
3. ตั้งรหัสผ่านของท่าน ตัวเลข 6 หลัก และกดยืนยันรหัสผ่าน 6 หลัก ที่ตั้งเพื่อไว้เข้าใช้งานระบบ
4. กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ใช้กับ Line เพื่อขอรับรหัส OTP (OTP หรือ One Time Password คือชุดรหัสผ่านใช้ครั้งเดียวที่ระบบของเราสร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต โดยเป็นตัวเลขจำนวน 6 หลัก)
5. เมื่อได้รับรหัส OTP แล้วให้ใส่ยืนยัน
จากนั้นก็จะเข้าสู่การเลือก "ที่อยู่ของคุณตรงกับบัตรประชาชน หรือไม่?" มีให้เลือก "ตรง" กับ "ไม่ตรง"
กรณีที่อยู่ "ตรง" กับบัตรประชาชน (คลิกเลือก)
1. ถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน จากกล้อง หรือเลือกจากไฟล์ที่แนบ แล้วทำการอัปโหลดภาพ
2. โปรดถือบัตรประจำตัวประชาชน และถ่ายรูปคู่กับบัตรประชาชน แล้วทำการอัปโหลดภาพ
3. ตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ (หากข้อมูลที่อยู่ไม่ถูกต้อง โทร 1330 เพื่อปรับปรุงข้อมูล)
4. เลือกหน่วยบริการตามรายชื่อที่ปรากฎในระบบ
5. ตรวจสอบข้อมูลการเลือกหน่วยบริการ (กดปุ่มยกเลิกการลงทะเบียนฯ หากต้องยกเลิก)
6. เจ้าหน้าที่รับข้อมูลการลงทะเบียนเรียบร้อย! และจะมีข้อความส่งไปให้ทางไลน์ส่วนตัวว่า แจ้งสถานะการลงทะเบียนฯ ของคุณให้ทราบ หรือเข้ามาตรวจสอบได้ที่ฟังก์ชั่นการเปลี่ยนหน่วยบริการจะมีแทบสีเขียวขึ้นแสดงตามลำดับ
(หมายเหตุ : หากเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารเพิ่มเติม จะมีข้อความแจ้งไปทางไลน์ว่าให้แนบเอกสารเพิ่มเติม ให้เข้ามาดำเนินการในฟังก์ชั่นการเปลี่ยนหน่วยบริการ)
7. ขั้นตอนการดำเนินการรออนุมัติสิทธิจะมี 4 ขั้นตอน (แถบสีเขียว) หากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนสิทธิการรักษาจะอนุมัติอัตโนมัติตามวันที่ที่ระบุไว้
กรณีที่อยู่ "ไม่ตรง" กับบัตรประชาชน (คลิกเลือก)
1. ถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน จากกล้อง หรือเลือกจากไฟล์ที่แนบ แล้วทำการอัปโหลดภาพ
2. โปรดถือบัตรประจำตัวประชาชน และถ่ายรูปคู่กับบัตรประชาชน แล้วทำการอัปโหลดภาพ
3. แนบหลักฐานยืนยันการพักอาศัยเพิ่ม ตามรายละเอียดที่แจ้งในระบบฯ (อัปโหลดภาพ)
4. กรอกที่อยู่ปัจจุบันตามหลักฐานยืนยันการพักอาศัยที่แนบ
5. เลือกหน่วยบริการตามรายชื่อที่ปรากฎในระบบ
6. ตรวจสอบข้อมูลการเลือกหน่วยบริการ (กดปุ่มยกเลิกการลงทะเบียนฯ หากต้องยกเลิก)
7. เจ้าหน้าที่รับข้อมูลการลงทะเบียนเรียบร้อย! และจะมีข้อความส่งไปให้ทางไลน์ส่วนตัวว่า แจ้งสถานะการลงทะเบียนฯ ของคุณให้ทราบ หรือเข้ามาตรวจสอบได้ที่ฟังก์ชั่นการเปลี่ยนหน่วยบริการจะมีแทบสีเขียวขึ้นแสดงตามลำดับ
(หมายเหตุ : หากเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารเพิ่มเติม จะมีข้อความแจ้งไปทางไลน์ว่าให้แนบเอกสารเพิ่มเติม ให้เข้ามาดำเนินการในฟังก์ชั่นการเปลี่ยนหน่วยบริการ)
8. ขั้นตอนการดำเนินการรออนุมัติสิทธิจะมี 4 ขั้นตอน (แถบสีเขียว) หากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนสิทธิการรักษาจะอนุมัติอัตโนมัติตามวันที่ที่ระบุไว้
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำเรื่องย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลของคุณได้แล้ว!
หากใครยังไม่ได้แอดไลน์ สปสช. สามารถพิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือคลิกลิงก์ เพื่อเพิ่มเพื่อนได้ทันที https://lin.ee/zzn3pU6
***ผู้ที่ใช้งานการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ (ย้ายสิทธิ) ผ่านทางไลน์ สปสช. ต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) หรือมีสิทธิว่าง และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1.สายด่วน สปสช. 1330
2.ช่องทางออนไลน์
• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand





ประชาชนสิทธิบัตรทอง เปลี่ยนหน่วยบริการ (สถานพยาบาลประจำของท่าน) ได้ง่ายๆ ผ่านแอป สปสช.




ขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.ได้ด้วยตนเอง


1.กดเมนูลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ ระบบจะแสดงผลที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
•กรณีที่อยู่ปัจจุบันตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน เลือกเมนู “ตรง” ถ่ายรูปบัตรประชาชนโดยใช้กล้องหลัง ถ่ายรูปเซลฟีคู่กับบัตรประชาชนโดยใช้กล้องหน้า
กรณีที่พักอาศัยไม่ตรงกับบัตรประชาชนเลือกเมนู “ไม่ตรง” และแนบหลักฐานการพักอาศัยปัจจุบัน เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือหนังสือรับรองเจ้าของบ้าน หรือสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อดาวน์โหลดแบบคำร้อง ระบุที่อยู่ปัจจุบัน
2.ระบบจะแสดงเครือข่ายหน่วยบริการที่สามารถเลือกได้
3.กดเลือกเครือข่ายหน่วยบริการที่ต้องการ และกดยืนยันการเลือก
ระบบจะแสดงผลว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
4.กดถัดไป
•สิทธิเกิดใหม่ทันทีที่เครือข่ายหน่วยบริการที่เลือกไว้
•หรือเข้าเมนูตรวจสอบสิทธิ เพื่อดูรายละเอียดสิทธิที่เกิดใหม่ได้เช่นกัน
•เปลี่ยนหน่วยแล้วสิทธิเกิดทันที ย้ายได้ 4 ครั้งต่อปี
คลิปวิดิโอ เปลี่ยนหน่วยบริการผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.ได้ด้วยตนเอง
สอบถามขอมูลเพิ่มเติม โทร 1330 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือสอบถามผ่านไลน์ สปสช. เพียงแค่แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือคลิกลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อนได้ทันที https://lin.ee/zzn3pU6


“สมุดบัญชีหาย” ต้องแจ้งความไหม? 2566

 

สมุดบัญชีหายต้องแจ้งความไหม? 2566






สมุดบัญชีหาย” 2566 เปิดตำราอัปเดตล่าสุด หายฉุกเฉิน จำเป้นต้องแจ้งความอยู่ไหม? แต่ละธนาคารจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง​? มีรายละเอียด ดังนี้


คำถาม : ต้องแจ้งความอยู่ไหม?

คำตอบ : ยังต้องแจ้งอยู่ค่ะ ให้ไปแจ้งความที่สน.ใกล้บ้าน ที่โต๊ะแจ้งเอกสารหาย แจ้งธนาคาร สาขา อาจเสียค่าธรรมเนียมแจ้งเอกสารหายราคาประมาณ 10-20 บาท หลังจากนั้นค่อยนำใบแจ้งความไปแจ้งที่สาขาที่เปิดบัญชีครั้งแรก โดยจะต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบแจ้งความ

เจ้าหน้าที่ธนาคารจะให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ พร้อมคิดค่าธรรมเนียมสมุดใหม่ 50-100 บาท



แต่ละธนาคารมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรบ้าง?


1. ธนาคารกสิกรไทย

สมุดบัญชีหาย

  • ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งความแต่อย่างใด
  • ขอออกบัญชีเล่มใหม่ที่สาขาธนาคารที่เปิดบัญชี พร้อมแจ้งพนักงานว่า ทำสมุด บัญชีหาย
  • ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้พนักงาน ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
  • เสียค่าธรรมเนียมประมาณ 50 บาท



2. ธนาคารกรุงไทย

สมุดบัญชีหาย

  • ต้องแจ้งความว่าสมุดหายก่อน
  • นำใบแจ้งความ พร้อมบัตรประชาชนมาติดต่อธนาคารสาขาที่เปิดบัญชี แจ้งพนักงานว่า ทำสมุด บัญชีหาย
  • เสียค่าธรรมเนียม จำนวน 50 บาท


3. ธนาคารไทยพาณิชย์

สมุดบัญชีหาย

  • ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ
  • ไปที่ธนาคารสาขาใกล้บ้าน แจ้งพนักงานว่าทำสมุด บัญชีหาย
  • พนักงานจะขอบัตรประจำตัวประชาชนช เพื่อหากข้อมูลและถ่ายเอกสารเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
  • เสียค่าธรรมเนียมในการจัดทำสมุดบัญชีเล่มใหม่ ประมาณ 100 บาท


4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สมุดบัญชีหาย

  • ไม่จำเป็นต้องแจ้งความขอสมุดเล่มใหม่
  • สามารถติดต่อที่สาขาได้เลย ใช้บัตรประชาชนตัวจริง ขอออกสมุดบัญชีเล่มใหม่ได้ที่ธนาคารกรุงศรีฯ ทุกสาขา
  • เสียค่าธรรมเนียมเพื่อออกสมุดบัญชีใหม่ ประมาณ 100 บาท


5. ธนาคารกรุงเทพ

สมุดบัญชีหาย

  • ต้องแจ้งความก่อน ที่สถานีตำรวจที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่คาดว่าสมุดบัญชีจะหาย
  • นำใบแจ้งความ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไปสาขาที่เปิดบัญชี แจ้งพนักงานเพื่อขอทำสมุดบัญชีใหม่
  • เสียค่าธรรมเนียมในการทำสมุดบัญชีใหม่ ประมาณ 100 บาท


6. ธนาคารออมสิน

สมุดบัญชีหาย

  • ต้องแจ้งความก่อน
  • นำใบแจ้งความ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไปขอทำสมุดบัญชีใหม่ที่สาขาที่เปิดบัญชีไว้
  • เสียค่าธรรมเนียม ประมาณ 50 บาท





CR  ::    https://prinkotakoon.blogspot.com/2023/06/book-bank.html


วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ยกเลิกกรอกใบ ตม.6

 

การยกเลิกการใช้ “ใบ ตม.6” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย





ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6)



โดยให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยพาหนะทางอากาศ ได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2565

ยกเลิก !! กรอกใบ ตม.6 สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย ตั้งแต่ 16 กันยายน 2560 เป็นต้นไป









































































ยกเลิกกรอกใบ ตม.6







ยกเลิกใบ ตม.6 แก้ความแออัดสนามบิน

ยกเลิกใบ ตม.6 แก้ความแออัดสนามบิน

แบบ ตม.6แบบ ตม.6





ของต้องห้าม/ต้องกำกัด ในการนำเข้า ประเทศไทย

 ของต้องห้าม/ต้องกำกัด ในการนำเข้า ประเทศไทย




เดินทางเข้า-ออกประเทศ มีอะไรบ้างที่ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่สนามบิน เพื่อเสียภาษีนำเข้า อะไรบ้างที่ไม่เสีย และถ้าเดินทางออกนอกประเทศต้องยื่นใบสำแดงไหม



 ทุกครั้งเมื่อเดินทางกลับมายังประเทศ เมื่อรับกระเป๋าที่สายพานเสร็จแล้ว ก่อนที่จะเดินออกนอกสนามบินสังเกตไหมว่าจะมีศุลกากร (Customs) อยู่ บางกรณีกลายเป็นประเด็นข่าวในแง่การโดนเรียกเก็บภาษี หลายคนอาจจะมีความงุนงงและสับสนในข้อมูลบางประการอยู่ไม่น้อย ซึ่งความเป็นจริงแล้ว กรมศุลกากรได้มีการประกาศกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างชัดเจน วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นั้นอีกครั้ง จะได้เช็กและตรวจสอบไปด้วยว่า หากเดินทางเข้ามาในประเทศ สิ่งของใดบ้างที่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือเมื่อเดินทางออกนอกประเทศ สิ่งของใดบ้างที่จำเป็นต้องสำแดง เพื่อระวังและไม่เกิดกรณีจ่ายเงินเสียภาษีแบบจุก ๆ อย่างไม่ทันตั้งตัว
ศุลกากร ของต้องสำแดง

ของต้องห้าม/ของต้องจำกัด มีอะไรบ้าง

           สำหรับขาช้อปที่ชอบช้อปสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์เนมต่าง ๆ เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศแล้ว จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำสิ่งของที่ช้อปจากต่างประเทศสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุกากรที่สนามบินเพื่อเสียภาษีนำเข้า หากแต่ก็มีสิ่งของบางอย่างเช่นกันที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ จากเว็บไซต์ customs.go.th บอกรายรายละเอียดเกี่ยวกับ “ของต้องห้าม” และ “ของต้องกำกัด” ไว้ดังนี้
 

  • ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น สารเสพติด วัตถุ หรือสื่อลามก ของลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส
     
  • ของต้องจำกัด หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามาและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น










ประเภทของต้องสำแดง ศุลกากร

ภาพจาก customs.go.th

วิธีการคำนวณอัตราภาษีอากร

           ผู้โดยสารสามารถมาสำแดงของเพื่อเสียภาษีอากร ที่ช่องตรวจมีของต้องสำแดง (ช่องแดง) ในกรณีที่ของมีมูลค่าเกิน 20,000 บาท และหากของนั้นเป็นของต้องกำกัด ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน โดยอัตราภาษีอากรนำเข้าจะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า เช่น กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ดูตัวอย่างการคำนวณภาษีอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ หิ้วของเข้าไทย เสียภาษีเท่าไร แบบไหนไม่ต้องจ่ายภาษี ขาช้อปควรรู้ !

          ทั้งนี้ บทลงโทษของการเลี่ยงภาษี จะมีบทลงโทษแตกต่างกันไป โดยจำแนกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร, ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร, ความผิดฐานสำแดงเท็จ, ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร และความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร สามารถดูรายละเอียดบทลงโทษทางศุลกากรได้ที่นี่  

สิทธิสำหรับผู้โดยสารในการนำของติดตัวเข้ามาทางท่าอากาศยาน

            สำหรับผู้โดยสารขาเข้าประเทศ หลายคนอาจจะสงสัยว่า “เอ๊ะ ! ไม่ได้หิ้วของกลับมาอะไรมากมาย แต่ทำไมถึงยังถูกเรียกอีกนะ” เพราะหลายกรณีตัวอย่างที่เราเห็นว่าผู้โดยสารบางคนเมื่อเข้ามายังในประเทศแล้ว มีการเรียกจัดเก็ยภาษีสำหรับการนำเข้าของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยาน ในประเด็นดังกล่าวกรมศุลกากร ได้ชี้แจงให้ทราบความว่า ผู้โดยสารได้รับยกเว้นอากรสำหรับของส่วนตัวเพื่อใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นของต้องห้าม ของต้องกำกัด และไม่มีลักษณะทางการค้า ขณะเดียวกันถ้าผู้โดยสารนำของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือเป็นของที่มีลักษณะเชิงพาณิชย์ แม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ของดังกล่าวเป็นของต้องเสียภาษีอากร
สิทธิสำหรับผู้โดยสารในการนำของติดตัวเข้ามาทางท่าอากาศยาน

ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมศุลกากร : The Customs Department

การนำเงินออกและเข้า สำหรับผู้โดยสาร ผ่านศุลกากร

ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมศุลกากร : The Customs Department

ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare)

           ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare) หรือช่องเขียว ผู้โดยสารจะผ่านไปได้ก็ต่อเมื่อตรงตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
 

  • ไม่มีเสบียงอาหาร ไม่มีของต้องห้าม และของต้องกำกัดตามข้อกำหนดของกรมศุลกากร
  • ของใช้ส่วนตัวมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ต้องอยู่ในจำนวนที่สมควรแก่ผู้ใช้งาน
  • สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ จำนวนไม่เกิน 1 ลิตร/คน
  • บุหรี่ ไม่เกิน 200 มวน หรือ 1 คอตตอน/คน และยาเส้นไม่เกิน 250 กรัม/คน
  • โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กส่วนตัว 1 เครื่อง/คน นับเป็นของใช้ส่วนตัวที่ไม่ต้องเสียภาษี

ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare)

          ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) หรือช่องแดง ขอที่ต้องสำแดงมีดังต่อไปนี้
 

  • ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าสูงกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษี
  • เครื่องเกมส์ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • กล้องถ่ายภาพ
  • มีการพกพาของต้องห้าม และของต้องกำกัดตามข้อกำหนดของกรมศุลกากร
  • สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มากกว่า 1 ลิตร
  • บุหรี่ เกิน 200 มวน หรือ 1 คอตตอน และยาเส้นเกิน 250 กรัม
  • สินค้าปลอดภาษีที่ซื้อมาจาก Duty Free ในสนามบินห้ามนำกลับมาใช้ในประเทศ ต้องนำไปใช้นอกประเทศเท่านั้น
  • สินค้าที่ถูกซื้อกลับไปเป็นของฝาก ไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไรก็จะต้องเสียภาษีเพราะไม่ถือเป็นของใช้ส่วนตัว
ตรวจกระเป๋าขาเข้า ณ ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง

ภาพจาก customs.go.th

เดินทางออกนอกประเทศจำเป็นต้องแจ้งพนักงานศุลกากรไหม ?

           สำหรับการออกนอกประเทศ เชื่อว่าหลายคนอาจกำลังคิดว่า ถ้าเกิดว่าพกกระเป๋าแบรนด์เนม นาฬิกาแบรนด์เนม กล้องถ่ายรูป และโน๊ตบุ๊ก ซึ่งเป็นของส่วนตัวหรือเป็นของเก่าที่ใช้แล้วติดตัวไปด้วย จำเป็นที่จะต้องแจ้งต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากรทุกครั้งไหม ถ้าไม่อยากเสี่ยงเสียภาษีตอนกลับ

  • ตามประกาศกรมศุลกากร ฉบับ 60/2561 ได้แจงรายละเอียดสำคัญที่ผู้โดยสารที่พึงทราบ ดังต่อไปนี้
ประกาศกรมศุลกากร สิ่งของต้องสำแดง เมื่อเข้าออกประเทศ

ภาพจาก customs.go.th

ประกาศกรมศุลกากร สิ่งของต้องสำแดง เมื่อเข้าออกประเทศ

ภาพจาก customs.go.th

ประกาศกรมศุลกากร สิ่งของต้องสำแดง เมื่อเข้าออกประเทศ

ภาพจาก customs.go.th

ประกาศกรมศุลกากร สิ่งของต้องสำแดง เมื่อเข้าออกประเทศ

ภาพจาก customs.go.th

ประกาศกรมศุลกากร สิ่งของต้องสำแดง เมื่อเข้าออกประเทศ

ภาพจาก customs.go.th

  • ผู้โดยสารที่จะนำของมีค่าซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้ว ออกนอกราชอาณาจักร เช่น กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา (โน้ตบุ๊ก), เครื่องประดับ/นาฬิกา ที่มีมูลค่าสูง, สินค้าแบรนด์เนม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง จะต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากรทุกครั้ง ณ ห้องที่ทำการศุลกากร บริเวณห้องผู้โดยสารขาออก โดยต้องนำภาพถ่ายของสิ่งของที่นำมาแจ้งจำนวน 2 ชุด เพื่อจะได้รับมอบ ใบรับแจ้งของมีค่าที่ผู้โดยสารนำติดตัวอออกไปและนำกลับมาแสดงในวันเดินทางกลับ
     
  • เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ให้แสดงใบรับแจ้งของมีค่าต่อพนักงานศุลกากรช่องแดงในวันเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อขอรับการยกเว้นอากรในฐานะของใช้ส่วนตัว โดยต้องเป็นของเก่าใช้แล้ว และมีจำนวนพอสมควรแก่การเดินทาง
     
  • ของมีค่าหรือของส่วนตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวไปขณะเดินทางออกนอกประเทศ และใช้เป็นปกติวิสัยในระหว่างการเดินทาง หรือเป็นเครื่องประดับการแต่งกายตามปกติ ไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากร
     
  • สำหรับผู้โดยสารขาเข้าจากต่างประเทศ ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน สำหรับไว้ใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและมีจำนวนพอสมควร มีราคารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ให้ได้รับการยกเว้นอากร
     
  • สุรา บุหรี่ หรือซิการ์ เป็นของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน ให้ได้รับการยกเว้นอากรต่อเมื่อไม่เกินปริมาณที่กำหนด


          (ข้อมูลจากเว็บไซต์ customs.go.thกำหนดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่ได้รับยกเว้นอากรมี ดังนี้

          บุหรี่ไม่เกิน 200 มวนหรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัมหรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภทไม่เกิน 250 กรัม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตร ไม่เกิน 1 ลิตร ** หากนำบุหรี่ ยาสูบ หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้ามาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี

          - หากผู้โดยสารมีสิ่งของที่นำติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน ในวันที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 200,000 บาท หรือเป็นของที่มีมูลค่าเกินกว่า 200,000 บาท และนำติดตัวเข้ามาเพียงชิ้นเดียว ให้อยู่ในอำนาจของพนักงานศุลกากรผู้ควบคุมกำกับดูแลการเก็บอากรปากระวางเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จัดเก็บอากรปากระวางได้ ประกอบด้วย อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ (ถ้ามี)

          - ของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรขาออกในเมือง (Duty Free) หรือร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารผู้โดยสารขาออก ณ สนามบิน จะต้องนำออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น หากนำกลับเข้ามาให้ผ่านการตรวจที่ช่องแดง (Goods to Declare) และชำระอากร


          +++ สามารถดูรายละเอียดประกาศเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ customs.go.th

วิธีสำแดงรายการสิ่งของก่อนไปต่างประเทศ

           สำหรับใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แล้วนำของมีค่าส่วนตัวของเก่าติดตัวไปด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา (โน้ตบุ๊ก), เครื่องประดับ/นาฬิกา ที่มีมูลค่าสูง, สินค้าแบรนด์เนม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง เพื่อไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจแล้วไม่เชื่อว่าเป็นของเก่า (ซึ่งอาจตามมาด้วยการเก็บภาษี) แนะนำว่าให้ไปทำเรื่องยื่นสำแดงรายการสิ่งของก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

สถานที่ภายในสนามบินสำหรับทำเรื่องยื่นสำแดงรายการสิ่งของ

           - สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 ประตู 10 ผู้โดยสารขาออก

           - สนามบินดอนเมือง ชั้น 3 ประตูผู้โดยสารขาออก

           - สนามบินต่างจังหวัด สามารถสอบถามได้ที่สนามบินนั้น ๆ

เอกสารที่ใช้สำหรับทำเรื่องยื่นสำแดงรายกาารสิ่งของ
          - แบบฟอร์มศุลกากร

          - ภาพสิ่งของที่เห็นหมายเลข Serial Number (ทำการปริ๊นให้เรียบร้อย จำนวน 2 ชุด)

          - สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)

          - สำเนาบัตรโดยสารขากลับ

          สำหรับใครไม่อยากยื่นสำแดงสิ่งของ แนะนำว่าให้ผู้โดยสารนำสิ่งของมีค่าติดตัวไปตามสมควร (ไม่ควรเกินอย่างละ 1 ชิ้น และมีมูลค่าเหมาะสม) โดยมีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ หรือการใช้งานตั้งแต่อยู่ในประเทศ เผื่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีการขอให้สำแดงเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลา เสียความรู้สึกกับภาษีที่ต้องจ่ายหากมีการสุ่มตรวจเมื่อเข้ามาในประเทศภายหลัง การทำเรื่องยื่นสำแดงก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ที่สำคัญ…ควรเผื่อเวลามาถึงสนามบินล่วงหน้า เพราะคิวอาจจะยาว ทำให้ใช้เวลาในการทำเรื่องพอสมควร ยึดคติที่ว่า “เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด”

ศุลกากร ของต้องสำแดง

การรับฝากของไว้ในอารักขาของศุลกากร (Customs Bond)

           สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และมีของที่ต้องชำระภาษีอากร ของต้องจำกัดซึ่งไม่ประสงค์จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย สามารถนำของดังกล่าวมาเก็บไว้ได้ที่คลังเก็บของ (Customs Bond) ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่เดินทางเข้ามา โดยต้องแสดงตั๋วเดินทางไปประเทศที่สาม ณ เวลาที่นำของมาฝากและชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่กำหนดด้วยในวันเดินทางออกนอกประเทศไทย ซึ่งผู้โดยสารสามารถขอรับของดังกล่าวคืนโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง โดยเป็นของที่อยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
 

  • ผู้ฝากจะต้องมีบัตรโดยสาร (Booking) ในขณะที่นำฝาก
  • ไม่เป็นของต้องห้ามหรือของต้องห้ามนำผ่านประเทศ
  • ผู้ฝากไม่มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือเตรียมการเพื่อลักลอบหนีศุลกากร
  • การรับฝากให้ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
ค่าธรรมเนียมในการรับฝาก
  • น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม 40 บาท/วัน
  • น้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 40 กิโลกรัม 80 บาท/วัน
  • น้ำหนักเกิน 40 กิโลกรัม 150 บาท/วัน
เอกสารที่ต้องนำมาแสดงในการรับของคืนจาก Customs Bond
  • หนังสือเดินทาง (Passport)
  • บัตรที่นั่ง (Boarding Pass) จำนวน 1 ใบ
  • บัตรหมายเลขติดหีบห่อ (TAG) เท่าจำนวนหีบห่อของของที่ฝาก
  • ใบรับฝากของ

    หมายเหตุ เศษของวันนับเป็นหนึ่งวัน

ช่องการทางร้องเรียน

           ในบางกรณีที่คุณเองอาจรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ รวมถึงกาารปฏิบัติงานต่าง ๆ สามารถร้องเรียนเรืื่องดังกล่าวได้หลายช่องทาง ได้แก่
 

  • โทรศัพท์สายด่วนรับเรื่องร้องเรียน 1332
  • Application LINE ID: @customshearing
  • ร้องเรียนด้วยตนเองผ่านศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามโครงการ “ระฆังศุลกากร” ของแต่ละส่วนราชการที่ใช้บริการ
  • ส่งไปรษณีย์มาที่กรมศุลกากร
  • ส่ง E-mail มาที่ ctc@customs.go.th
  • สามารถมาร้องเรียนด้วยตนเองที่กลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรม ณ กรมศุลกากร 
  • ร้องเรียนด้วยตนเองผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี GCC 1111
  • ร้องเรียนไปยังหน่วยราชการอื่น เช่น ป.ป.ช. /สตง.
  • ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน
ศุลกากร ของต้องสำแดง

           ทั้งหมดนี้เป็นกฏระเบียบและเงื่อนไขที่ทางกรมศุลกากรปฏิบัติกันอยู่แล้ว เพียงแต่ประกาศใหม่ได้กำหนดประเภทของมีค่าใช้แล้วให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไป ถ้าคุณไม่มีสิ่งของมีค่าใด ๆ ทั้งที่ใช้แล้วหรือนำเข้ามา ก็สามารถเดินไปช่องเขียวได้ทันที แต่ขอย้ำว่า ! ต้องแน่ใจจริง ๆ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่พบเจอของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 หรือของผิดกฎหมาย จะต้องโดนปรับ และถูกเรียกเก็บภาษีได้ ดังนั้น ถ้าไม่อยากนั่งกุมขมับปวดหัวกับปัญหาเหล่านี้ ควรปฏิบัติการกฎต่าง ๆ ตามพิธีการศุลกากรจะดีที่สุด

หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง