สมัครทำบัตรทอง 2565 ยื่นใช้เอกสารอะไรบ้าง สมัครออนไลน์ได้ไหม
คนไทยทุกคนมีสิทธิรักษาพยาบาลพื้นฐานกับ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยกเว้นว่าจะมีสิทธิรักษากับประกันสังคม และสิทธิบัตรข้าราชการอื่นๆ ซึ่งคุณสามารถสมัครให้กับลูกน้อยวัยแรกเกิดได้ และปี 2565 นี้มีสิ่งที่ทำได้มากกว่าเดิม คือ
- เข้ารักษากับ “หน่วยบริการใหม่” ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดสิทธิทุกวันที่ 15 และ 28 เหมือนปีก่อน
- ประชาชนเลือกหน่วยบริการเองผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
เช็กสิทธิบัตรทอง 2565
หากคุณไม่ทราบสิทธิบัตรทองของตัวเองนั้นอยู่กับสถานพยาบาลใด มีวิธีเช็ก 2 วิธี คือ
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ nhso.go.th กรอกเลขบัตรประชาชน, วันเดือนปีเกิด และข้อความตัวอักษรเพื่อเข้าสู่ระบบเช็กสิทธิบัตรทอง
2. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “สปสช.” เพื่อเช็กสิทธิหน่วยบริการบัตรทอง
วิธีสมัครบัตรทอง 2565
หากต้องการสมัครสิทธิ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ให้กับคนในครอบครัว เตรียมเอกสารและไปสมัครได้ที่สำนักงานเขต ในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานบัตรทองใกล้บ้าน รวมถึงสมัครบัตรทองออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. ก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมเอกสาร
2. ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน (คลิกที่นี่)
3. ตรวจสอบสถานะการสมัคร และสถานพยาบาลที่เกิดสิทธิ
ทําบัตรทองใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารขอทำบัตรทองมี 2 อย่าง ได้แก่
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ได้แก่
1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย
2. หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง
ทําบัตรทองที่ไหนได้บ้าง
ปัจจุบันนี้คุณสามารถเลือกเดินทางไปทำบัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ที่สถานที่สำนักงานตามที่กำหนด หรือผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน สปสช
1. สถานที่ในการทำบัตรสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ บัตรทอง
กรุงเทพมหานคร
คุณสามารถเดินทางไปทำบัตรทองได้ที่สำนักงานเขต จำนวน 19 เขต ตามชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
การทำบัตรทอง ต่างจังหวัด
ภาคเหนือ
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดเชียงใหม่
ภาคกลาง
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสระบุรี
ภาคอีสาน
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดระยอง
ภาคตะวันตก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดราชบุรี
ภาคใต้
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสงขลา
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. สมัครบัตรทองออนไลน์ 2565 ผ่านแอป สปสช.
ขั้นตอนการสมัครบัตรทองออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. ทางผู้สมัครต้องเตรียมบัตรประชาชน และดาวน์โหลดแอปตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
2. เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
3. กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
4. กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
5. กรอกเลขบัตรประชาชน
6. สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน กดลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ
7. คลิกเลือก “ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ”
8. ตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันตรงกับหน้าบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่ กด “ไม่ตรง” หรือ “ตรง”
9. ถ่ายรูปบัตรประชาชน
10. ถ่ายรูปตัวเองถือบัตรประชาชน
11. แนบหลักฐานแสดงที่อยู่ปัจจุบัน และเอกสารอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
12. กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
13. เลือกเครือข่ายหน่วยบริการ
เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ตรวจสอบสถานะลงทะเบียน ตามรอบการลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน เมื่อระบบรับข้อมูลการลงทะเบียนและตรวจสอบหลักฐานแล้ว รอเกิดสิทธิตามรอบที่ระบุไว้ในแอปพลิเคชัน โดยจะมีข้อความส่งมาแจ้งเตือนเขียนว่า “ขณะนี้สิทธิของท่านได้รับการลงทะเบียน ..” หากมีข้อสงสัย โทร 1330
สิทธิ์ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ใช้รักษาอะไรได้บ้าง
- สิทธิการคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- สิทธิในการตรวจและเข้ารักษาพยาบาล ตลอดจนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
- สิทธิได้รับค่าอาหารและห้องสามัญ
- สิทธิในการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ทำฟันปลอม รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม ใส่เพดานเทียมสำหรับผู้ที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
- ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
การสมัคร “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เอาไว้ ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิพื้นฐานของคนไทย เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาจากสถานพยาบาล เป็นทางเลือกเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลได้เบื้องต้น
ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ
หากต้องการลงทะเบียนหรือเปลี่ยนหน่วยบริการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
ผู้ขอลงทะเบียนกรอกแบบคำร้อง ดาวโหลดได้ที่ https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/FM-256-02-007-Rev_05.pdf
ประชาชนพักตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร
เอกสารที่ใช้ : บัตรประจำตัวประชาชน / สูติบัตร (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี)
ประชาชนพักไม่ตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร
เพิ่มเอกสารรับรองที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยในพื้นที่นั้น (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
- ทะเบียนบ้านเจ้าบ้านและหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
- หนังสือรับรองผู้นำชุมชนและบัตรประจำตัวผู้นำชุมชน
- หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง
- ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค (หากเป็นชื่อผู้ขอลงทะเบียนใช้รับรองได้)
- สัญญาเช่าที่พัก (สัญญาเช่าเป็นชื่อผู้ขอลงทะเบียน/ชื่อญาติ สามารถใช้รับรองได้)
สามารถตรวจสอบเครือข่ายหน่วยบริการที่สามารถลงทะเบียนได้ที่ http://mscup.nhso.go.th/mastercup/index.zul
ช่องทางลงทะเบียน
กรุงเทพมหานคร : แอปพลิเคชัน สปสช. / ไลน์ สปสช. @nhso
ต่างจังหวัด : แอปพลิเคชัน สปสช. / ไลน์ สปสช. @nhso
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) / โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (วันเวลาราชการ)
**เมื่อลงทะเบียนแล้ว สิทธิจะเกิดทันที**
หากมีข้อสงสัยในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)
การทำบัตรทอง
ตอบลบผู้ถือบัตรทองจะได้รับการบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ การสาธารณสุข และการอนามัยอันจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค
การป้องกันโรค การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการอื่นใดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่หน่วยบริการจัดขึ้น โดยไปรับบริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ชั้น M สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร 1330
ใช้หลักฐานดังนี้
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรูปถ่ายติดอยู่
สำเนาสูติบัตร ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
กรณีที่พักอาศัยไม่รงกับทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆดังนี้
สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ผู้ขอลงทะเบียนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียน พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ พร้อมสำเนาบัตรผู้นำชุมชนของผู้รับรอง
ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำหรือค่าไฟหรือค่าโทรศัพท์)หรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก หรือสัญญาค่าเช่าที่พัก ที่ระบุชื่อของผู้ขอลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดิม(กรณีที่ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ)
หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
ทั้งนี้ การเลือกหน่วยบริการประจำหลักๆจะยึดตามพื้นที่อยู่อาศัยจริงค่ะ เนื่องจากโครงการฯยึดหลักการ ใกล้บ้านใกล้ใจ ทำให้หน่วยบริการสามารถดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้มีสิทธิเองด้วยค่ะ เมื่อมีการเจ็บป่วยจะสามารถรับบริการจากหน่วยบริการใกล้บ้านได้และจะได้รับการดูแลกรณีส่งเสริมสุขภาพด้วยนะคะ
“ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทองคือประชาชนคนไทยทุกคนที่ยังไม่มีสิทธิใดๆจากหลักประกันอื่น “
ผู้ยกเว้นการใช้สิทธิ์บัตรทอง
ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ
วิธีการใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วย
เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง
แสดงความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง
แสดงบัตรทองพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร หรือใบเกิด)
ควรไปรักษาในเวลาทำการ หรือเวลาที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลกำหนด
กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
เข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
กรณีฉุกเฉินไปรักษาโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ได้ระบุในบัตรทองได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี
บริการที่ได้รับความคุ้มครอง
ตอบลบการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการควบคุมโรค
การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการและภาวะโภชนาการ รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง
การวางแผนครอบครัว (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และการทำหมันถาวร)
ยาต้านไวรัสเอดส์
การเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
การให้คำปรึกษา (counseling) และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำ ด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน
บริการด้านการตรวจวินิจฉัย
การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการ
การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีที่บุตรมีชิวิตอยู่ (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้ สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพ
ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ
การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ
ต้องการลงทะเบียนบัตรทองจะต้องใช้เอกสารและมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
ตอบลบทำไมเราจะต้องไปลงทะเบียนบัตรทองเพื่อสิทธิอะไรบ้างเรามาดูกัน
ถือว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ตั้งแต่เกิดจนกลายเป็นผู้ใหญ่ทุกคนล้วนมักจะมีโรคประจำตัว หรือมีความจำเป็นที่ต้องได้เข้าไปที่โรงพยาบาลอยู่บ่อย ๆ การลงทะเบียนบัตรทองจึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประชาชนชาวไทยเพราะทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง แล้วบัตรทองคืออะไรบัตรทองคือบัตรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าโรงพยาบาลทำให้เรามีค่ารักษาทุกโรคในราคาบัตรทอง 30 บาทเท่านั้น ตั้งแต่ปี2023สามารถเริ่มลงทะเบียนสิทธิบัตรทองตั้งแต่แรกเกิดได้เลย การที่เราลงทะเบียนบัตรทองเอาไว้ก็เพื่อให้เรามีสิทธิในการรักษาพยาบาลได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจ่ายเงินแพงสามารถเช็คสิทธิ์บัตรทองออนไลน์ที่เว็บไซต์ nhso.go.thได้เลย
ลงทะเบียนบัตรทองดีไหมทำได้ที่ไหนฟรีหรือไม่
หากเราต้องการสิทธบัตรทองเราสามารถเข้าไปลงทะเบียนบัตรทองได้ที่สถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้านโดยเตรียมเอกสารที่ใช้ดังนี้ไปด้วย1.บัตรประจำตัวประชาชน, หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ให้เตรียมใบสูติบัตรไปด้วย 2.ทะเบียนบ้านเจ้าบ้านและหนังสือรับรองเจ้าบ้าน, หากไม่มีสามารถใช้สัญญาเช่าที่พักได้, ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ หรือใช้หนังสือรับรองจากผู้ว่าจ้างก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการลงทะเบียนบัตรทอง สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)นั่นเอง เมื่อเราลงทะเบียนบัตรทองเรียบร้อยแล้วเราสามารถใช้สิทธิได้ทันที สำหรับค่าใช้จ่ายในการ ลงทะเบียนนั้นฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในปี2566 หากใครที่สมัครไม่ผ่านอาจจะเพราะมีสิทธิประกันสังคมอยู่จึงไม่สามารถสมัครบัตรทองได้ ถ้าต้องการใช้สิทธิบัตรทองจะต้องรอให้ประกันสังคมหมดอายุเสียก่อน
ใครที่ลงทะเบียนบัตรทองแล้วใช้สิทธิที่ไหนได้บ้าง
นอกจากสมัครตามสถานพยาบาลใกล้บ้านแล้วยังมีช่องทางในการสมัครทางออนไลน์อีกด้วย สามารถลงทะเบียนบัตรทองออนไลน์ได้เลยผ่านทางแอปสปสช. ดาว์นโหลดได้ทั้ง Android และ IOS ได้เลย หรือเราสามารถลงทะเบียนบัตรทองแบบง่าย ๆ ด้วยการสมัครบัตรทองทางไลน์เพียงแอดเพื่อนไปหาไอดี @nsho ได้เลย แล้วบัตรทองใช้ที่ไหนได้บ้างก็ต้องบอกเลยว่าสามารถใช้ได้หลายที่ตั้งแต่ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล, ศูนย์สุขภาพชุมชน, ศูนย์บริการสาธารณสุข, คลินิกเอกชนที่อยู่ในระบบบัตรทอง, และโรงพยาบาลที่เข้าร่วม สามารถโทรสอบถามสิทธิรักษาพยาบาลได้ที่สายด่วนสปสช. 1330 กด 2 ได้เลยเพื่อสอบถามว่าเราสามารถใช้บริการที่ไหนได้บ้าง หรือเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์, เข้าดูในแอปพลิเคชั่นที่เราสมัครและเข้าไปสอบถามผ่านไลน์แล้วเลือกเมนูตรวจสอบสิทธิได้เลย จะเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดทำให้เราสามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทองของเราได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ลงทะเบียนบัตรทองได้สิทธิ์อะไรบ้าง?
หากลงทะเบียนบัตรทองท่านจะได้สิทธิ์เข้ารักษาในโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้เลย!
หลังจากลงทะเบียนบัตรทองแล้ว มีค่าใช้จ่ายไหม?
ท่านที่ใช้สิทธลงทะเบียนบัตรทองจะจ่ายค่ารักษาเพียง 30 บาทเท่านั้น!
หากมีเรื่องด่วนเกี่ยวกับการลงทะเบียนบัตรทองต้องติดต่อทางไหน?
ท่านสามารถสอบถามเรื่องการลงทะเบียนบัตรทองได้ทางเบอร์ 1330 แล้วกด 2 ได้เลย