Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัคซีน

วัคซีน

 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีน

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัคซีน

เรียบเรียงโดย ภก.ผศ.ดร.วิสิฐ ตั้งเคียงศิริสิน




รอบตัวเรา เต็มไปด้วยสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส เป็นต้น ร่างกายมนุษย์เรามีระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสภาวะ หรือบางช่วงอายุ ระบบภูมิคุ้มกันอาจทำงานได้ลดลง จนทำให้สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ เข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงอาจมีความจำเป็นต้องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อสุขภาวะที่ดี




การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน คือ การทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

1) การให้ภูมิคุ้มกันจากคน หรือ สัตว์ที่สร้างมาก่อนแล้ว (passive immunization) โดยเรียกสารที่ให้นี้ว่า เซรุ่ม หรือ ซีรั่ม (serum) มักจะใช้ในกรณีที่ได้รับหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมมาแล้ว ตัวอย่างของเซรุ่ม ได้แก่ เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มแก้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น
 
2) การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเอง (active immunization)โดยเรียกสารที่ให้ว่า วัคซีน (vaccine) มักจะใช้ในกรณีป้องกันก่อนสัมผัสสิ่งแปลกปลอม ตัวอย่างของวัคซีน ได้แก่ วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น




ชนิดของวัคซีนวัคซีนแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่




1) ท็อกซอยด์ (toxoids)เป็นวัคซีนที่ได้จากการนำเชื้อโรคมาทำลายความเป็นพิษให้หมดไป แต่ยังมีคุณสมบัติในการนำมากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เช่น พิษจากโรคคอตีบ พิษจากโรคบาดทะยัก เป็นต้น
 
2) วัคซีนชนิดเชื้อตาย (killed vaccine)เป็นวัคซีนที่ได้จากการนำเชื้อโรคมาทำให้ตาย อาจใช้เชื้อทั้งตัวหรือสกัดเอาบางส่วนของเชื้อมาทำวัคซีน เช่น วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้หวัดตามฤดูกาล วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนตับอักเสบบี เป็นต้น
 
3) วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (live attenuated vaccine)เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเชื้อโรค แล้วนำเชื้อโรคมาทำให้อ่อนแรงลง จนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนโปลิโอชนิดกิน เป็นต้น
 
 
 
 
วิธีการให้วัคซีน


1) การรับประทาน เป็นวิธีการให้วัคซีนที่ง่ายที่สุด แต่มีวัคซีนเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถให้ด้วยวิธีนี้ได้ ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ลำไส้ได้ด้วย เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไทฟอยด์
 
2) การพ่นเข้าทางจมูก ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในทางเดินหายใจด้วย เช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่น
 
3) การฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง เป็นการให้วัคซีนที่ใช้ปริมาณน้อย การฉีดทำได้ยาก ต้องมีความชำนาญในการฉีด แต่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี เช่น วัคซีนบีซีจี วัคซีนพิษสุนัขบ้า
 
4) การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ใช้สำหรับวัคซีนที่ไม่มี adjuvant (เป็นสารประกอบ หรือ โมเลกุล ที่ช่วยให้แอนติเจนในวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น)
 
5) การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้สำหรับวัคซีนที่มี adjuvant วัคซีนแต่ละชนิดได้รับการออกแบบมาโดยมีวิธีการให้ที่เหมาะสม การให้วัคซีนจึงต้องทำโดยผู้ชำนาญเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดของวัคซีน

 




ที่มา :: http://www.followsteph.com/wp-content/uploads/2009/11/h1n1Vaccination.jpg
















อยากรู้ไหมว่าในขวดวัคซีนประกอบด้วยอะไรบ้าง???





bot_vacine
เรียบเรียงโดย ภญ.ผศ.ดร.บุษบา เผ่าทองจีน






การตั้งตำรับวัคซีนนั้นใช้แนวทางเช่นเดียวกันกับการเตรียมยา ซึ่งต้องประกอบด้วยตัวยาสำคัญเป็นตัวออกฤทธิ์ และต้องมีสารอื่นๆช่วยให้ตำรับคงตัว โดยในตำรับวัคซีนทุกชนิดประกอบด้วย


1. แอนติเจน (Antigen, antibody generator)เปรียบเสมือนเป็นตัวยาสำคัญที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรค ภูมิคุ้มกันที่สร้างอาจเป็นการสร้างโปรตีนที่เรียกว่า "แอนติบอดี(antibody)" ซึ่งสามารถจับกับแอนติเจนที่เป็นส่วนของสารพิษหรือตัวเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคได้ ทำให้ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อโรคดังกล่าว สำหรับวัคซีนบางชนิด เช่น บีซีจี สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบพึ่งเซลล์ (cell-mediated immunity) ทำให้ร่างกายมีการสร้างกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ เพื่อช่วยในการกำจัดเชื้อโรคได้



แอนติเจนที่นำมาใช้เป็นวัคซีนมีหลายแบบ เช่น


- เชื้อเป็นที่ไม่ก่อโรค (Live-attenuated bacteria หรือ virus) เป็นการนำเชื้อสาเหตุของโรคมาทำให้อ่อนแรงลง หรือ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์จนไม่สามารถก่อโรคได้อีก รวมถึงการเลือกเชื้อสายพันธุ์ใกล้เคียงที่ไม่ก่อโรคในคนแต่สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นได้ ตัวอย่างเช่น วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (Oral Polio) วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ป้องกันโรคคางทูม (Mumps) หัด (Measles) และหัดเยอรมัน (Rubella), วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงจากเชื้อโรทาไวรัส (Rotavirus), วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) บางชนิด


- เชื้อตาย (Killed หรือ inactivated) virus) เป็นการนำเชื้อสาเหตุของโรคมาทำให้ตาย เชื้อจึงไม่สามารถก่อโรคได้อีกเลยแต่สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นได้ ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (Hepatitis A), วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

- ส่วนของเชื้อ (Subunit) เป็นการนำบางส่วนของเชื้อก่อโรคที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาใช้เป็นวัคซีน สำหรับเชื้อไวรัสจะมีการนำส่วนเปลือกหุ้ม (envelop) ของไวรัสที่ประกอบไปด้วยไขมันและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ หรือโปรตีนแคปซิดมาใช้ ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) และวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) เป็นต้น สำหรับเชื้อแบคทีเรียมีการนำเอาส่วนโปรตีนแอนติเจนที่ผิวเซลล์มาใช้ ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันไอกรน (whooping cough หรือ pertussis) หรือการนำเอาส่วนที่เป็นน้ำตาลที่ผิวของเชื้อ (sugar-coating หรือ polysaccharides) มาทำเป็นวัคซีน ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (Hib, Haemophilus influenzae ชนิด b) และ วัคซีนป้องกันโรคไอพีดีจากเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) และอีกแบบหนึ่งเป็นการทำให้โปรตีนของเชื้อที่มีส่วนทำให้เกิดโรค (ชีวพิษ หรือ toxin) นั้นหมดฤทธิ์ลงแต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ ตัวอย่างเช่น ในวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) และบาดทะยัก (Tetanus) การใช้เฉพาะส่วนของเชื้อมีข้อดีคือ ไม่สามารถก่อโรคได้ และช่วยลดผลข้างเคียงอื่นๆ


- ในการคัดเลือกแอนติเจนเพื่อนำมาผลิตเป็นวัคซีน ต้องมีการทดสอบว่าแอนติเจนชนิดนั้นๆสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและมีความปลอดภัย จึงถูกเลือกมาใช้ในการผลิต




2. ส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยให้วัคซีนคงตัว ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นและปลอดภัยขึ้น


2.1 สารถนอมหรือสารกันบูด (Preservatives) ช่วยป้องกันตำรับจากการปนเปื้อนของเชื้อ


2.2 สารเสริมฤทธิ์ (Adjuvants) ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนได้ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสารในกลุ่มนี้อยู่หลายชนิด ทั้งช่วยในการปลดปล่อยสารแอนติเจนอย่างช้าๆ เช่น การเติม อะลั่ม (aluminium salts) ลงในวัคซีนคอตีบ บาดทะยักและไอกรน จะช่วยให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี หรือการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยตรงเพื่อช่วยให้การตอบสนองของร่างกายดีขึ้น เช่น การเติมสาร muramyl dipeptide ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับโครงสร้างผนังเซลล์ของเชื้อไมโคแบคทีเรียม (mycobacterium peptidoglycan)


2.3 สารผสมเพิ่ม (Additives) ช่วยให้ตำรับวัคซีนมีความคงตัวมากขึ้น เช่น เจลาติน (gelatin), อัลบูมิน (albumin), น้ำตาลซูโครส (sucrose), น้ำตาลแลกโทส (lactose) และกรดอะมิโน (glycine) เป็นต้น

แต่ถ้าคนไข้แพ้สารเหล่านี้ เช่นแพ้โปรตีนเจลาติน ต้องหลีกเลี่ยงวัคซีนที่มีสารเหล่านี้อยู่


2.4 สารตกค้างจากกระบวนการผลิต เช่น ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) โปรตีนไข่ (egg protein) โปรตีนจากยีสต์ (yeast protein) ซึ่งในกระบวนการผลิต สารเหล่านี้ต้องถูกกำจัดออกจนหมด แต่อาจมีตกค้างในปริมาณน้อยมากซึ่งก่อให้เกิดการแพ้ได้ เช่น ในการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้เหลืองมีการเพิ่มจำนวนไวรัสในไข่ฟัก หรือในการผลิตโปรตีนแอนติเจนที่ผิวของไวรัสตับอักเสบบีมีการเพิ่มจำนวนในเซลล์ยีสต์ พบว่าอาจมีโปรตีนของเซลล์ผู้ผลิตตกค้างอยู่ จึงอาจทำให้เกิดการแพ้ในบางคนได้ ดังนั้นในการรับวัคซีนจึงต้องรู้ด้วยว่าวัคซีนชนิดนั้นผลิตจากอะไร และมีข้อควรระวังอย่างไร เป็นต้น


ในกระบวนการผลิตอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น neomycin หรือ streptomycin ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ใช้สำหรับผลิตวัคซีน แม้ว่าปริมาณที่ใช้น้อยและไม่ค่อยพบปัญหาการแพ้ยาเกิดขึ้น แต่จำเป็นต้องระวังในคนที่แพ้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้


นอกจากนั้นอาจมีการใช้ formaldehyde ในการทำให้โปรตีนสารพิษจากเชื้อคอตีบและบาดทะยักหมดฤทธิ์ และในกระบวนการผลิตมีการกำจัด formaldehyde ออกจนเกือบหมด อาจมีตกค้างเพียงเล็กน้อยในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปก็อาจได้รับอยู่แล้วจากสิ่งแวดล้อม


สารที่เลือกมาใช้เป็นส่วนประกอบของวัคซีนเหล่านี้ต้องผ่านการศึกษาถึงความปลอดภัยเช่นเดียวกันโดยเฉพาะความปลอดภัยในเด็ก ซึ่งจะเห็นว่าปริมาณที่ใช้นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่พบในสิ่งแวดล้อม หรืออาหารหรือน้ำที่รับประทานเข้าไป


แม้ว่าในการไปรับการฉีดวัคซีน แพทย์หรือพยาบาลจะต้องซักถามประวัติคนไข้อยู่แล้วก็ตาม เพื่อเป็นการไม่ประมาทและเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ลูก หรือบุคคลในครอบครัว เมื่อมีประวัติแพ้อะไรจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ






















ที่มา :: http://www.haarai.com/promoteweb/picpost/20090208-000184607505798.jpg