Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

31 ความลับ สำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพดี

31 ความลับ สำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพดี



ตั้งครรภ์



31 Secrets for Healthy Mom (รักลูก)


         


แม่ท้องทั้งหลายโปรดทราบ...เขยิบมามะ ขยับมาใกล้ ๆ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลสุภาพแบบง่าย ๆ และทำได้จริงมาฝาก ที่สำคัญยังเป็นเคล็ดลับที่ใช้ได้จริง เพราะมาจากผลสำรวจจากความคิดเห็นของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่นำไปใช้แล้ว วินาทีนี้อยากสุขภาพดีทั้งตัวคุณแม่และคุณลูกในครรภ์ล่ะก็...พลาดไม่ได้ค่ะ

       


1. อาหาร 5 หมู่ จำเป็นที่สุด! ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ การกินอาหารครบ 5 หมู่ จะช่วยซ่อมแซม บำรุงและรักษาส่วนที่สึกหรอในร่างกายให้สมบูรณ์ คุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และเลือกที่ให้พลังงาน บำรุงเลือด เสริมแคลเซียมรวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของลูกค่ะ

       


2. ฝากครรภ์ทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ทันที เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจสุขภาพ แนะนำวิธีดูแลครรภ์ รับวิตามินบำรุงครรภ์ และทราบถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมา เพื่อจะได้ป้องกันไว้ก่อนค่ะ

       


3. เป็นแม่หนอน (หนังสือ) เมื่อตั้งครรภ์คุณอาจจะรู้สึกกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่เอง และลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้น ควรหาข้อมูลทั้งจากการอ่านหนังสือ ดูเว็บไซต์ต่าง ๆ และการสอบถามคุณหมอ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพครรภ์ให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

       


4. ฟังเพลงผ่อนคลาย การฟังเพลงเป็นวิธีที่ง่ายและช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายจากความเครียด หรือเมื่อมีอารมณ์แปรปรวนจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ หากได้ฟังเพลงสบาย ๆ ก็จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นค่ะ

       


5. ว่ายน้ำ การว่ายน้ำถือเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมาก ไม่มีการกระแทก และในน้ำยังมีแรงดันที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งก็ส่งผลไปถึงการไหลเวียนของเลือดจากคุณแม่ไปสู่ลูกน้อยด้วยค่ะ

       


6. ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง ท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่ทรงตัวได้ยากขึ้น คุณแม่ควรใส่รองเท้ารัดส้น ที่เป็นส้นเตี้ย งดใส่ส้นสูงเพื่อให้เดินได้สะดวกและไม่หกล้ม

       


7. มีคนอยู่เคียงข้าง ไม่ว่าจะเป็นสามี เพื่อน หรือญาติพี่น้อง ก็ล้วนเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญให้กับคุณแม่ได้ทุกคน อาจจะคอยช่วยเหลือ หรืออยู่เคียงข้างเป็นเพื่อนคุย ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกปลอดภัย และลดความกังวลที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้

       


8. Stop!…เลิกเครียด ความเครียดส่งผลกระทบต่อลูกนะ วิจัยหลาย ๆ ชิ้นยังบอกอีกว่าส่งผลให้เด็กเป็นโรคซึมเศร้า อารมณ์ไม่มั่นคง ไม่กล้าเรียนรู้โลกภายนอก เพราะฉะนั้น หยุดเครียดตั้งแต่บัดนี้เลยค่ะ

       


9. กระตุ้นพัฒนาการลูกในท้อง ถึงลูกจะอยู่ในท้องคุณแม่ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการเขาได้ด้วยการสัมผัสท้อง พูดคุย เล่านิทาน ร้องเพลงกับลูกทุกวัน ว่างตอนไหนหรือนึกขึ้นได้เมื่อไร...ทำเลยค่ะ

       


10. นอนหลับให้เพียงพอ คุณแม่ควรนอนให้พอวันละ 8-9 ชั่วโมงจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ระบบย่อยอาหารระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์ด้วยค่ะ

       


11. เล่นโยคะ การเล่นโยคะขณะตั้งครรภ์จะช่วยลดอาการปวดหลัง ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายฝึกลมหายใจเข้า-ออกได้เป็นจังหวะ และยังช่วยให้คลอดง่ายด้วยค่ะ แต่ที่สำคัญคือควรเลือกท่าทางที่เหมาะสำหรับแม่ท้องนะคะ

       


12. ดูแลตัวเองให้สดใส ถึงจะอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ สรีระร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ก็อย่าปล่อยให้ตัวเองทรุดโทรม คุณแม่ควรดูแลตัวเองให้สดใสเสมอ เพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่าการท้องทำให้เราสวยน้อยลง ทั้งยังช่วยเพิ่มกำลังใจให้ตัวเองได้อย่างดี

       


13. ขาดไม่ได้คือโลชั่น ทราบกันดีว่าการตั้งครรภ์จะทำให้ผิวหนังยืดขยายกว่าปกติ จนก่อให้เกิดรอยแตกลาย ดังนั้น คุณจึงควรหมั่นทาเบบี้ออยล์ ครีมบำรุงสูตรอ่อนโยนให้บ่อยครั้ง 4 เวลา เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ได้ยิ่งดี จะช่วยลดการแตกลายได้ชะงัดเลย

       


14. งดดื่มชา กาแฟ นอกจากสารคาเฟอีนในชาและกาแฟจะทำให้คุณแม่นอนไม่หลับแล้ว หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้หัวใจของลูกน้อยเต้นเร็วผิดปกติ และยังขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กที่ใช้สำหรับการเจริญเติบโตของลูกด้วยค่ะ

       


15. ดื่มน้ำเยอะ ๆ การดื่มน้ำจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ส่งผ่านสารอาหารจากร่างกายคุณแม่ไปสู่ลูกได้อย่างมีคุณภาพ หากคุณแม่ดื่มน้ำน้อย อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ปากแห้ง และผิวพรรณไม่สดใสได้ค่ะ

       


16. นวดแก้ปวด การนวดผ่อนคลายเบา ๆ เวลาปวดหลัง ปวดขา หรือปวดท้อง จะช่วยลดอาการปวดได้ดีขึ้น และถ้าผู้นวดเป็นคุณพ่อด้วย ก็จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีค่ะ

       


17. คิดก่อนใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา เพราะยาบางชนิดส่งผลกระทบไปสู่ลูกน้อย เช่น ยาแอสไพริน ยาทาสิว และยารักษาโรคไมเกรน อาจส่งผลให้แท้งลูกหรือทำให้ร่างกายลูกไม่สมประกอบได้ค่ะ

       


18. งดของหมักดอง การกินของหมักดองจะทำให้คุณแม่ได้รับโซเดียมสูง มีอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยค่ะ

       


19. ไม่ยกของหนัก หากคุณแม่ยกของหนัก จะทำให้มดลูกถูกกดทับเกิดการบีบตัวของมดลูก หรือมีเลือดออกได้

       


20. หลีกให้ไกลสิงห์อมควัน นอกจากจะไม่สูบบุหรี่แล้ว ยังไม่ควรอยู่ใกล้บริเวณที่มีควันบุหรี่ เพราะสารนิโคตินจะไปทำให้ลูกมีความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืด มีปัญหาด้านพัฒนาการ มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งได้

       


21. ระวังลื่น หกล้ม คุณแม่ต้องระวังในการเดินขึ้น-ลงบันได หรือเดินบนพื้นที่เปียก เพราะมีโอกาสลื่นล้มจนกระทบกระเทือนถึงทารกในครรภ์ค่ะ

       


22. สุขภาพช่องปากก็สำคัญนะ ช่วงตั้งครรภ์มักเกิดปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ควรหมั่นดูแลสุขภาพปากและฟันให้สะอาด เพราะหากมีการติดเชื้อในช่องปาก อาจส่งไปถึงลูกในท้อง

       


23. กินมื้อย่อย แต่บ่อยมื้อ ควรแบ่งการกินอาหารในแต่ละวันเป็นมื้อย่อย ๆ 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อลดปัญหาอาเจียนตอนท้องว่าง และอาการท้องอืด ท้องเฟ้อที่อาหารไม่ย่อยค่ะ

       


24. ไม่กลั้นปัสสาวะ คุณแม่ตั้งครรภ์จะปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนะคะ เพราะทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้

       


25. นอนตะแคงซ้าย ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือนอนตะแคงซ้าย เพื่อไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่จะนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ป้องกันการเป็นลมขณะลุกขึ้นได้

       


26. แชร์ประสบการณ์กับคุณแม่ท้อง ควรพูดคุย แลกเปลี่ยน หรือแชร์ข้อมูลระหว่างคุณแม่ท้องด้วยกัน จะทำให้ช่วยคลายกังวลกับอาการที่เกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์และยังสามารถนำข้อมูลที่เป็นประสบการณ์จริงมาปรับใช้ได้ด้วย

       


27. นอนยกขาสูง คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีอาการขาบวมจากฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หากต้องยืนนาน ๆ ตลอดทั้งวัน จะยิ่งทำให้ขาบวมมากขึ้น วิธีแก้คือนอนยกขาสูง โดยนำหมอนมาหนุนใต้ขา เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

       


28. ใส่ใจเต้านม เมื่อเต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น คุณแม่ควรเปลี่ยนเสื้อชั้นในให้มีขนาดเหมาะสม หากมีน้ำนมไหลออกมาก็ควรดูแลรักษาความสะอาด รวมทั้งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัญหาเต้านม ทั้งหัวนมสั้น หัวนมบอด เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้คลี่คลายก่อนเจ้าหนูจะอุแว้ออกมาค่ะ

       


29. เดินช้า ๆ เพื่อออกกำลังกาย การเดินช้า ๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรงมากขึ้น กล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่น เลือดไหลเวียนดี และเหมาะกับคุณแม่ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนการตั้งครรภ์ด้วยค่ะ

       


30. ระวังอุจจาระแมว ในอุจจาระแมวจะปนเปื้อนไปด้วยพยาธิทอกโซพลาสโมซิส คุณแม่ที่เลี้ยงแมวไม่ควรสัมผัสกับอุจจาระแมวโดยตรง เพราะอาจติดเชื้อและส่งผลให้ลูกพิการ คลอดก่อนกำหนด และมีความผิดปกติของสมองได้ ดังนั้น ช่วงตั้งครรภ์ควรให้คุณพ่อหรือญาติ ๆ ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของเจ้าเหมียวแทนค่ะ

       


31. คุมน้ำหนักให้พอดี ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักขึ้นประมาณ 12-15 กิโลกรัมไม่ควรกินตามใจปาก หรือกินเพิ่มเป็น 2 เท่าเผื่อลูกในท้อง แต่ควรเลือกอาหาร พวกโปรตีน หลีกเลี่ยงแป้งและไขมัน เพราะถ้าคุณแม่มีน้ำหนักมากเกินไป อาจเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน เช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูงค่ะ






ที่มา  ::                ปีที่ 31 ฉบับที่ 361 กุมภาพันธ์ 2556