ทำบัตรประชาชน ทะเบียนราษฎร การแจ้งเกิด แจ้งตายย้ายที่อยู่
การขอเลขหมายประจำบ้าน การแจ้งรื้อบ้าน การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การขอตรวจคัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า การแจ้งย้ายออก การแจ้งย้ายออกผู้อื่น การแจ้งย้ายปลายทาง การติดต่อกลุ่มงานทะเบียนราษฎร กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบหมายให้ผู้อืนมาดำเนินการแทน (หนังสือมอบหมาย) | ||
กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
| ||
การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุ การขอมีบัตรครั้งแรก อายุ 15 ปี บริบูรณ์ การขอบัตรครั้งแรกอายุเกิน 16 ปี หลักฐานกรณีบัตรหาย การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน แบบฟอร์ม การขอตรวจ คัดสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน | ||
กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป
| ||
กลุ่มงานทะเบียนราษฎร
| ||
การขอเลขหมายประจำบ้าน เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง ( ถ้ามี ) 3. หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน ( ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2) 4. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งรื้อบ้าน เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 3. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งเกิดเอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 3. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี) ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งตาย เอกสารประกอบ . บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี) 3. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี) 4. บันทึกประจำวันแจ้งความคนตาย (กรณีไม่มีหลักฐานรับรองการตาย) ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การขอตรวจคัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย 3. บัตรประจำตัวทนายความหรือใบอนุญาตเป็นทนายความ (กรณียื่นขอในฐานะทนายความ) 4. กรณีขอคัดของบุคคลอื่น ต้องมีหนังสือมอบหมายจากบุคคลที่จะขอคัดนั้น พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะขอคัด ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งย้ายเข้า เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ 3. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 4. กรณีเจ้าบ้านไม่ได้เป็นผู้แจ้งให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านและให้เจ้าบ้าน ลงชื่อยินยอมในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ 5. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งย้ายออก กรณีย้ายตนเองซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เอกสารประกอบ1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง (ตนเอง) 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งย้ายออก ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งย้ายออกผู้อื่น เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 3. กรณีผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าบ้านให้นำบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านมาแสดงด้วย พร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การแจ้งย้ายปลายทาง เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน 3. หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า (กรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง) ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
| ||
การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุเอกสารประกอบ 1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (สามารถยื่นคำร้องขอคัดและรับรองสำเนาได้ที่เขต ที่ยื่นคำขอ) 2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การขอมีบัตรครั้งแรก อายุ 15 ปี บริบูรณ์เอกสารประกอบ 1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 2. สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา (ที่มีรูปถ่ายติด) 3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง, ของบิดา, ของมารดา (ถ้ามี) 4. ผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง 5. จากข้อ 2. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุดมาแสดงด้วย ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การขอบัตรครั้งแรกอายุเกิน 16 ปีเอกสารประกอบ 1 .ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 2. สูติบัตรฉบับจริง 3. หลักฐานการศึกษา (ที่มีรูปถ่ายติด) 4. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง, ของบิดา ของมารดา (ถ้ามี) 5. บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง 6. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุดมาแสดงด้วย ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
หลักฐานกรณีบัตรหายเอกสารประกอบ 1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 2. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายติดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต), วุฒิการศึกษา (ป.6 – ป.ตรี) 3. หากไม่มีหลักฐานเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2 มาแสดงให้นำผู้รับรองมาให้ถ้อยคำเพื่อยืนยันตัวบุคคล จำนวน 1 คน เช่น เจ้าบ้าน หรือบิดา มารดา หรือพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือที่มีอาชีพมั่นคง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี 4. จากข้อ 3. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุด มาแสดงด้วย หมายเหตุ ชายไทยอายุ 22 – 30 ปี แสดงหลักฐานทางทหาร (สด.8 หรือ สด. 43) ทุกครั้งพร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุด | ||
การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. หนังสือมอบหมายหรือหลักฐานผู้มีส่วนได้เสียแบบคำร้องขอคัดสำเนา | ||
การจดทะเบียนสมรส เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส 3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร) 5. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน 6. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) บิดา – มารดา ต้องมาให้ความยินยอม ึ7. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
การจดทะเบียนหย่า เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า, ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) 3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน, ข้อตกลงการหย่า 4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร) 5. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
การจดทะเบียนรับรองบุตร เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร 3. สูติบัตรของบุตร เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล ของบิดา มารดา และบุตร (ถ้ามี) 4. มารดาและบุตรต้องมาลงชื่อให้ความยินยอม 5. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 6. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้จดบันทึก 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้จดบันทึก 3. เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกที่เป็นต้นฉบับพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสารให้ (เฉพาะกรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ใช่คนสัญชาติไทย) 4. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 5. กรณีบุคคลอื่นดำเนินการแทนให้นำหนังสือมอบหมาย ซึ่งต้องมอบหมายผ่านสถานทูตและ บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบหมายมาแสดงด้วย 6. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง (ติดต่อเจ้าหน้าที่อีกครั้ง) 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 3. หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจากศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีที่เด็กเป็นผู้เยาว์อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) 4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและคู่สมรสของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมพร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน 5. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง (ติดต่อเจ้าหน้าที่อีกครั้ง) 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอม พร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน 5. แบบฟอร์ม คร.1 | ||
การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง 3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา) 4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง 5. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี) ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ | ||
การขอตั้งชื่อสกุล เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อสกุล 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอตั้งชื่อสกุล 3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา) 4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีใบสมรสมาแสดง 5. หลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี) 6. แบบคำขอ แบบ ช.1 | ||
การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา เอกสารประกอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง 2. สูติบัตรของบุตร ( ฉบับจริง ) 3. ผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน และให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย 4. บันทึกการหย่า ( คร .6) เพื่อแสดงว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด ( ถ้ามี ) 5. หลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้านาม จาก “ น . ส .” เป็น “ นาง ” ของมารดา กรณีไม่เคยจดทะเบียนสมรส 6. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี ) 7.แบบคำขอ แบบ ช.1 | ||
การเปลี่ยนชื่อสกุล (กรณีขอตั้งใหม่) เอกสารประกอบ 1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชน 3. ชื่อสกุลที่ตั้งไว้ อย่างน้อย 5 ชื่อ 4. แบบคำขอ แบบ ช.1 | ||