สอนลูกให้ฉลาดโดยการพูด 2 ภาษา/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
การต้อนรับประเทศไทยสู่อาเซียนโดยการสอนลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา เป็นแนวคิดที่น่าสนใจในโลกปัจจุบันที่ต้องมีการสื่อสารและติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่าน New York Time และพบว่า นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวถึงประโยชน์มากมายในการสอนลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา จนมีข้อสรุปว่าเด็ก 2 ภาษา ฉลาดกว่าเด็กภาษาเดียว การพูด 2 ภาษาจะมีผลต่อสมองในการพัฒนาระบบความจำ ไม่เฉพาะทางด้านภาษาแต่รวมไปถึงการป้องกันโรคความจำเสื่อมด้วยในเวลาเดียวกัน
สิ่งที่ค้นพบใหม่นี้จะมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากการค้นคว้าของนักวิจัย นักการศึกษา ผู้วางนโยบายในศตวรรษที่ 20 ที่พบว่า การสอนเด็กให้รู้จักภาษาที่สองจะแทรกแซง ความสามารถทางด้านการพูด ความจำ รวมทั้งด้านวิชาการและการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
คำว่าแทรกแซงคงจะเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานที่แน่ชัดระบุว่า สมองของเด็ก 2 ภาษาจะมีความคล่องตัวในทั้ง 2 ภาษาอยู่ และมีความตื่นตัวอยู่เสมอ แม้ว่าจะพูดภาษาเดียว ซึ่งอาจจะไปแทรกแซงต่ออีกภาษาหนึ่งได้ แต่การแทรกแซงนี้นักวิจัยได้ค้นพบว่า มันไม่ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งมากแต่จะเป็นผลดีต่อสิ่งที่ซ่อนไว้ นั่นคือ การที่การบังคับให้สมองแก้ปัญหาภายในที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อความแข็งแกร่งต่อกล้ามเนื้อส่วนความจำ
เด็ก 2 ภาษาจะมีความเข้าใจที่ลึกในการแก้ปัญหาที่รบกวนจิตใจได้มากกว่าเด็กภาษาเดียว งานวิจัยนี้ทำโดยนักจิตวิทยา ชื่อ เอแลน และไมเคิล มาติน ในปี 2004 ( Ellen Bialystok and Michelle Martin-Rhee) โดยทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลที่ใช้ 2 ภาษาและภาษาเดียว โดยให้คัดเลือกวงกลมสีฟ้า และสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดงจัดลงในถังขยะ 2 ถัง ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้า และวงกลมสีแดงในคอมพิวเตอร์ โดยคัดเลือกโดยการแยกแยะสี ผลปรากฏว่า เด็กทั้ง 2 กลุ่มสามารถทำได้เหมือนกันแต่เมื่อให้เลือกโดยใช้รูปทรงแทนโดยให้ใส่วงกลมสีฟ้าลงในถังขยะวงกลมสีแดง และสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดงลงในถังขยะสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้า ซึ่งยากกว่าเดิมเพราะมีอุปสรรคที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือสีของถังขยะ ผลปรากฏว่า เด็ก 2 ภาษาสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและทำได้เร็วและดีกว่าเด็กภาษาเดียว
จากการศึกษาค้นคว้ามากมาย พบว่า เด็ก 2 ภาษาพัฒนาความสามารถทางสมอง ซึ่งเรียกว่าสมองส่วนบริหาร คือ สมองส่วนสั่งการ ส่วนวางแผน ส่วนแก้ปัญหาและส่วนการแสดงออกต่างๆ ต่อคำสั่งนั้นๆ ได้ดี ขั้นตอนนี้รวมไปถึงการเพิกเฉยต่อสิ่งที่เข้ามาขัดขวางจุดสนใจต่างๆด้วย โดยเด็ก 2 ภาษาจะมีสมาธิและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่าเด็กภาษาเดียว ตัวอย่างเช่น เด็ก 2 ภาษาจะสามารถจำขั้นตอนทิศทางต่างๆ ได้ดี
กุญแจที่ทำให้เด็ก 2 ภาษาแตกต่างจากเด็กภาษาเดียว คือ เด็ก 2 ภาษาต้องสลับเปลี่ยนภาษาบ่อยๆ เช่น พูดกับพ่อภาษาหนึ่งแล้วพูดกับแม่อีกภาษาหนึ่ง ทำให้ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น สมองจะสั่งการให้ขจัดสิ่งที่เป็นปัญหาออกไปเพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ ประสบการณ์ที่เด็ก 2 ภาษาได้รับจะมีผลต่อสมองตั้งแต่เป็นทารกจนถึงกระทั่งมีอายุมากขึ้น (นั่นหมายรวมถึงคนที่เรียนภาษาที่สองในตอนโตด้วย)
คนที่เรียน 2 ภาษาไม่เพียงแต่สามารถใช้สมองสั่งการให้ทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันเท่านั้น แต่ได้มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกามีการยืนยันด้วยถึงการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของความจำ และพบว่าคนที่พูด 2 ภาษาจะเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าคนที่พูดภาษาเดียว
ดังนั้น การฝึกลูกให้พูดหรือสื่อสารได้มากกว่าหนึ่งภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาต่างประเทศหรือแม้แต่ภาษาถิ่นก็ตาม ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์โดยตรงต่อตัวเด็กและยังส่งผลดีมากมายไปถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
สิ่งที่ค้นพบใหม่นี้จะมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากการค้นคว้าของนักวิจัย นักการศึกษา ผู้วางนโยบายในศตวรรษที่ 20 ที่พบว่า การสอนเด็กให้รู้จักภาษาที่สองจะแทรกแซง ความสามารถทางด้านการพูด ความจำ รวมทั้งด้านวิชาการและการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
คำว่าแทรกแซงคงจะเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานที่แน่ชัดระบุว่า สมองของเด็ก 2 ภาษาจะมีความคล่องตัวในทั้ง 2 ภาษาอยู่ และมีความตื่นตัวอยู่เสมอ แม้ว่าจะพูดภาษาเดียว ซึ่งอาจจะไปแทรกแซงต่ออีกภาษาหนึ่งได้ แต่การแทรกแซงนี้นักวิจัยได้ค้นพบว่า มันไม่ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งมากแต่จะเป็นผลดีต่อสิ่งที่ซ่อนไว้ นั่นคือ การที่การบังคับให้สมองแก้ปัญหาภายในที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อความแข็งแกร่งต่อกล้ามเนื้อส่วนความจำ
เด็ก 2 ภาษาจะมีความเข้าใจที่ลึกในการแก้ปัญหาที่รบกวนจิตใจได้มากกว่าเด็กภาษาเดียว งานวิจัยนี้ทำโดยนักจิตวิทยา ชื่อ เอแลน และไมเคิล มาติน ในปี 2004 ( Ellen Bialystok and Michelle Martin-Rhee) โดยทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลที่ใช้ 2 ภาษาและภาษาเดียว โดยให้คัดเลือกวงกลมสีฟ้า และสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดงจัดลงในถังขยะ 2 ถัง ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้า และวงกลมสีแดงในคอมพิวเตอร์ โดยคัดเลือกโดยการแยกแยะสี ผลปรากฏว่า เด็กทั้ง 2 กลุ่มสามารถทำได้เหมือนกันแต่เมื่อให้เลือกโดยใช้รูปทรงแทนโดยให้ใส่วงกลมสีฟ้าลงในถังขยะวงกลมสีแดง และสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดงลงในถังขยะสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้า ซึ่งยากกว่าเดิมเพราะมีอุปสรรคที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือสีของถังขยะ ผลปรากฏว่า เด็ก 2 ภาษาสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและทำได้เร็วและดีกว่าเด็กภาษาเดียว
จากการศึกษาค้นคว้ามากมาย พบว่า เด็ก 2 ภาษาพัฒนาความสามารถทางสมอง ซึ่งเรียกว่าสมองส่วนบริหาร คือ สมองส่วนสั่งการ ส่วนวางแผน ส่วนแก้ปัญหาและส่วนการแสดงออกต่างๆ ต่อคำสั่งนั้นๆ ได้ดี ขั้นตอนนี้รวมไปถึงการเพิกเฉยต่อสิ่งที่เข้ามาขัดขวางจุดสนใจต่างๆด้วย โดยเด็ก 2 ภาษาจะมีสมาธิและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่าเด็กภาษาเดียว ตัวอย่างเช่น เด็ก 2 ภาษาจะสามารถจำขั้นตอนทิศทางต่างๆ ได้ดี
กุญแจที่ทำให้เด็ก 2 ภาษาแตกต่างจากเด็กภาษาเดียว คือ เด็ก 2 ภาษาต้องสลับเปลี่ยนภาษาบ่อยๆ เช่น พูดกับพ่อภาษาหนึ่งแล้วพูดกับแม่อีกภาษาหนึ่ง ทำให้ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น สมองจะสั่งการให้ขจัดสิ่งที่เป็นปัญหาออกไปเพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ ประสบการณ์ที่เด็ก 2 ภาษาได้รับจะมีผลต่อสมองตั้งแต่เป็นทารกจนถึงกระทั่งมีอายุมากขึ้น (นั่นหมายรวมถึงคนที่เรียนภาษาที่สองในตอนโตด้วย)
คนที่เรียน 2 ภาษาไม่เพียงแต่สามารถใช้สมองสั่งการให้ทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันเท่านั้น แต่ได้มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกามีการยืนยันด้วยถึงการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของความจำ และพบว่าคนที่พูด 2 ภาษาจะเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าคนที่พูดภาษาเดียว
ดังนั้น การฝึกลูกให้พูดหรือสื่อสารได้มากกว่าหนึ่งภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาต่างประเทศหรือแม้แต่ภาษาถิ่นก็ตาม ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์โดยตรงต่อตัวเด็กและยังส่งผลดีมากมายไปถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
ที่มา :: ASTVผู้จัดการออนไลน์