เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ตอนที่ 31 : ความสามารถในการคิดระดับสูงอยู่ที่ส่วนยอดสุดของหอไอเฟล อย่าลืมว่าเป็นเช่นเดียวกับทุกเรื่อง อยากได้ข้างบนดีๆก็ต้องสร้างฐานล่างให้ดี
เด็กๆใช้เวลา 2-15 ปี ในการพัฒนาความคิด 12 ขั้นตอน ตามลำดับขั้นคือ animism, ego-centric, magical thinking, phenomenalisticcausalty, placement &displacement, space &time, concrete operation, abstract operation, value, altruistic, creativity, idealistic
จะเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์(creativity)อยู่ขั้นที่ 11 ความหมายคือไม่สร้าง 10 ขั้นแรกให้ดีก็ไม่มีขั้นที่ 11 และอาจจะไม่มีขั้นที่ 12 คืออุดมการณ์หรืออุดมคติ(idealistic) อย่างไรก็ตามขั้นความคิดเหล่านี้ในเด็กแต่ละคนเกิดเร็วหรือช้าต่างๆกันและเหลื่อมซ้อนกัน
บ้านเรามักทุ่มเทไปที่เด็กไม่กี่คนให้เก่งที่สุดโดยมิทันระวังว่าเด็กเก่งแปลว่าอะไร แท้จริงแล้วเราสามารถทำให้เด็กทั้งห้องเก่งด้วยกัน หากเราจะแปลคำว่า "เก่ง" หมายถึง "มีความคิดอ่านที่ดีและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม"
เด็กๆใช้เวลา 2-15 ปี ในการพัฒนาความคิด 12 ขั้นตอน ตามลำดับขั้นคือ animism, ego-centric, magical thinking, phenomenalisticcausalty, placement &displacement, space &time, concrete operation, abstract operation, value, altruistic, creativity, idealistic
จะเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์(creativity)อยู่ขั้นที่ 11 ความหมายคือไม่สร้าง 10 ขั้นแรกให้ดีก็ไม่มีขั้นที่ 11 และอาจจะไม่มีขั้นที่ 12 คืออุดมการณ์หรืออุดมคติ(idealistic) อย่างไรก็ตามขั้นความคิดเหล่านี้ในเด็กแต่ละคนเกิดเร็วหรือช้าต่างๆกันและเหลื่อมซ้อนกัน
บ้านเรามักทุ่มเทไปที่เด็กไม่กี่คนให้เก่งที่สุดโดยมิทันระวังว่าเด็กเก่งแปลว่าอะไร แท้จริงแล้วเราสามารถทำให้เด็กทั้งห้องเก่งด้วยกัน หากเราจะแปลคำว่า "เก่ง" หมายถึง "มีความคิดอ่านที่ดีและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม"
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 32 : วิธีมองโลกและคิดของลูกๆอย่างแรกๆคือ animism หมายถึงอะไรที่เคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต ด้วยความหมายนี้ตุ๊กตารอบตัวที่พ่อแม่นำมาเล่นกับเขาจึงมีชีวิต หนังการ์ตูนที่เขาเห็นจึงมีชีวิต(แต่ห้ามเด็กน้อยกว่า 2 ขวบดูทีวี)
มากกว่านี้ ต้นไม้ก้อนหินก้อนเมฆพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่งที่มีหน้าตาและพูดได้ในนิทานก็มีชีวิต นิทานประกอบภาพที่เขียนภาพและคำโน้มน้าวให้เคลื่อนไหวก็มีชีวิต หนังสือการ์ตูนก็มีชีวิตด้วย
นี่คือวิธีคิดพื้นฐาน ฐานดียอดจึงจะดี ดังนั้นอ่านหนังสือนิทานกับลูกตั้งแต่คืนนี้และอ่านทุกคืนนานที่สุดจนกระทั่งเขาไม่เอาเรา
เราสร้างฐานที่ดีให้ลูกได้ ฐานดี อย่างไรยอดก็ดี
ภาพจาก บ้านหลังน้อยยามค่ำคืน แปลโดย รพินทร ณ ถลาง พิมพ์โดย SCG "ในหนังสือ นกโบยบิน" ในใจลูก นกบินจริงๆ
มากกว่านี้ ต้นไม้ก้อนหินก้อนเมฆพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่งที่มีหน้าตาและพูดได้ในนิทานก็มีชีวิต นิทานประกอบภาพที่เขียนภาพและคำโน้มน้าวให้เคลื่อนไหวก็มีชีวิต หนังสือการ์ตูนก็มีชีวิตด้วย
นี่คือวิธีคิดพื้นฐาน ฐานดียอดจึงจะดี ดังนั้นอ่านหนังสือนิทานกับลูกตั้งแต่คืนนี้และอ่านทุกคืนนานที่สุดจนกระทั่งเขาไม่เอาเรา
เราสร้างฐานที่ดีให้ลูกได้ ฐานดี อย่างไรยอดก็ดี
ภาพจาก บ้านหลังน้อยยามค่ำคืน แปลโดย รพินทร ณ ถลาง พิมพ์โดย SCG "ในหนังสือ นกโบยบิน" ในใจลูก นกบินจริงๆ
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 33 : ถัดจากวิธีคิดประเภท "อะไรที่ขยับได้มีชีวิต" วิธีคิดอีกแบบคือ การคิดเชิงเวทย์มนตร์ หรือ magical thinking เป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานที่สุดของเด็กๆ อะไรๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น การคิดแบบนี้แม้เหลวไหลในสายตาผู้ใหญ่แต่สำคัญมากในเด็กๆ ไม่มีไม่ได้ เพราะนี่คือฐานการคิดระดับสูงในภายหน้า
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 34 :
ถัดจากวิธีคิดประเภทอะไรเคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต (32) และความคิดเชิงเวทย์มนตร์ (33) เด็กเล็กจะเริ่มใช้เหตุผลแต่การให้เหตุผลของเด็กเล็ก 2-5 ขวบ เป็นไปตามวิธีที่เรียกว่าฟินอมินอลลิสติกคอซาลตี (phenomenalistic causalty) นั่นคืออะไรที่เกิดพร้อมกันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน พูดง่ายๆว่าจับแพะชนแกะ เพราะหนึ่งจึงเกิดสอง เพราะสองจึงเกิดสาม นี่คือฐานของเหตุและผลที่ดีในอนาคต แต่ก็เริ่มด้วยแพะชนแกะ
เด็กควรได้รับเสรีภาพในการเล่นและมีโอกาสคิดเชื่อมโยงตามวิธีของตัวเองนานพอ หากเชื่อเพียเจต์ เด็กเล็กใช้เวลาเตรียมฐานนี้ถึงประมาณ 6-7 ขวบก่อนที่จะพร้อมเรียนหนังสืออย่างเป็นระบบ
ขอให้สังเกตว่าเราเห็นวิธีให้เหตุผลแบบจับแพะชนแกะยังหลงเหลือในพวกเราทุกคน หลายครั้งนอกจากพวกเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้วจะโต้เถียงกันแบบแพะชนแกะ เรายังทุ่มเถียงกันอย่างข้างๆคูๆอีกด้วย เสมือนพัฒนาการยังติดขัดไปไม่ถึงที่สุด
ภาพจาก Concervacion de Anfibios
ถัดจากวิธีคิดประเภทอะไรเคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต (32) และความคิดเชิงเวทย์มนตร์ (33) เด็กเล็กจะเริ่มใช้เหตุผลแต่การให้เหตุผลของเด็กเล็ก 2-5 ขวบ เป็นไปตามวิธีที่เรียกว่าฟินอมินอลลิสติกคอซาลตี (phenomenalistic causalty) นั่นคืออะไรที่เกิดพร้อมกันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน พูดง่ายๆว่าจับแพะชนแกะ เพราะหนึ่งจึงเกิดสอง เพราะสองจึงเกิดสาม นี่คือฐานของเหตุและผลที่ดีในอนาคต แต่ก็เริ่มด้วยแพะชนแกะ
เด็กควรได้รับเสรีภาพในการเล่นและมีโอกาสคิดเชื่อมโยงตามวิธีของตัวเองนานพอ หากเชื่อเพียเจต์ เด็กเล็กใช้เวลาเตรียมฐานนี้ถึงประมาณ 6-7 ขวบก่อนที่จะพร้อมเรียนหนังสืออย่างเป็นระบบ
ขอให้สังเกตว่าเราเห็นวิธีให้เหตุผลแบบจับแพะชนแกะยังหลงเหลือในพวกเราทุกคน หลายครั้งนอกจากพวกเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้วจะโต้เถียงกันแบบแพะชนแกะ เรายังทุ่มเถียงกันอย่างข้างๆคูๆอีกด้วย เสมือนพัฒนาการยังติดขัดไปไม่ถึงที่สุด
ภาพจาก Concervacion de Anfibios
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 35 : นอกจากวิธีคิดหรือวิธีทำงานของสมองแบบที่เรียกว่า animism (32) magical thinking (33) และ phenomenalistic causalty(34)แล้ว อีกหนึ่งวิธีที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันตั้งแต่ 2-3 ขวบไปจนถึง 8-9 ขวบคือ egocentricismหมายความว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
เด็กเล็กมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นที่หนึ่ง เป็นต้นเรื่อง เป็นศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมดที่เป็นไปรอบตัว
เมื่อถึงวันที่เขาทำอะไรได้ด้วยตนเอง (autonomy) เขาก็จะทำ จึงเป็นหน้าที่เราช่วยกำหนดกติกา อะไรได้ อะไรไม่ได้ ช่วยให้เขาเรียนรู้ว่านอกจากนัมเบอร์วัน โลกนี้ยังมีคนอื่นที่เราจะอยู่ร่วมกัน
เด็กเล็กมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวหลากหลาย เวลาอ่านหรือเล่านิทานจึงอินมาก เป็นวัยที่เหมาะแก่การอ่านหรือเล่านิทานก่อนนอนที่สุด
เด็กเล็กไปจนถึง8-9ขวบมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นต้นเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้นรอบตัว เวลาพ่อแม่ทะเลาะกันในวันที่เขาป่วยหรือทำข้าวของแตกเสียหาย ด้วยวิธีคิดแบบนี้และจับแพะชนแกะ เขาจะคิดว่าตนเองเป็นต้นเหตุ หากพ่อแม่หย่าร้างกัน เด็กๆมีแนวโน้มโทษตนเองก่อนเพื่อน ดังนั้นจะหย่าก็ชวนเด็กคุยด้วย อย่าอมพะนำ
เวลาลูกโวยวายหรืออยู่ไม่นิ่งที่โต๊ะอาหารหรือในที่สาธารณะ เขากำลังเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พ่อแม่มีหน้าที่ทำให้เขารู้กติกาของจักรวาล เวลาเขาเล่นสนุกเกินขอบเขตพ่อแม่มีหน้าที่ขีดขอบของจักรวาลให้เขาดู
เด็กเล็กมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นที่หนึ่ง เป็นต้นเรื่อง เป็นศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมดที่เป็นไปรอบตัว
เมื่อถึงวันที่เขาทำอะไรได้ด้วยตนเอง (autonomy) เขาก็จะทำ จึงเป็นหน้าที่เราช่วยกำหนดกติกา อะไรได้ อะไรไม่ได้ ช่วยให้เขาเรียนรู้ว่านอกจากนัมเบอร์วัน โลกนี้ยังมีคนอื่นที่เราจะอยู่ร่วมกัน
เด็กเล็กมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวหลากหลาย เวลาอ่านหรือเล่านิทานจึงอินมาก เป็นวัยที่เหมาะแก่การอ่านหรือเล่านิทานก่อนนอนที่สุด
เด็กเล็กไปจนถึง8-9ขวบมีวิธีคิดว่าตนเองเป็นต้นเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้นรอบตัว เวลาพ่อแม่ทะเลาะกันในวันที่เขาป่วยหรือทำข้าวของแตกเสียหาย ด้วยวิธีคิดแบบนี้และจับแพะชนแกะ เขาจะคิดว่าตนเองเป็นต้นเหตุ หากพ่อแม่หย่าร้างกัน เด็กๆมีแนวโน้มโทษตนเองก่อนเพื่อน ดังนั้นจะหย่าก็ชวนเด็กคุยด้วย อย่าอมพะนำ
เวลาลูกโวยวายหรืออยู่ไม่นิ่งที่โต๊ะอาหารหรือในที่สาธารณะ เขากำลังเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พ่อแม่มีหน้าที่ทำให้เขารู้กติกาของจักรวาล เวลาเขาเล่นสนุกเกินขอบเขตพ่อแม่มีหน้าที่ขีดขอบของจักรวาลให้เขาดู
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 36 : เด็กเล็กยังมีพัฒนาการของวิธีคิดอีกอย่างหนึ่งคือ placement&displacement
เพียเจต์เขียนว่าหากเราปล่อยรถไฟสามตู้สีเขียว-เหลือง-แดงเข้าอุโมงค์ สำหรับเด็กเล็กแล้วเขาไม่รู้ว่ารถไฟจะออกมาเป็นเขียว-เหลือง-แดงเหมือนขาเข้า พัฒนาการว่าด้วยสถานที่และการเปลี่ยนสถานที่เป็นอีกเรื่องที่ต้องการเวลาพัฒนา
ยางลบของเพื่อนที่โรงเรียนกับยางลบของเพื่อนในกระเป๋าของเราที่บ้าน ไม่แน่ว่าจะเป็นก้อนเดียวกัน
อย่างไรก็ตามหากพ่อแม่พบว่าลูกหยิบของของเพื่อนกลับบ้านก็ต้องจูงมือลูกไปคืนและกล่าวคำ "ขอโทษ" เพื่อให้ลูกรู้จักกติกาและมารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น นี่มิใช่กิริยา"ขโมย" ในความหมายที่ผู้ใหญ่เข้าใจ เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการต่อเนื่องเรื่องความคงที่ของวัตถุและการเคลื่อนย้ายวัตถุ
เพียเจต์เขียนว่าหากเราปล่อยรถไฟสามตู้สีเขียว-เหลือง-แดงเข้าอุโมงค์ สำหรับเด็กเล็กแล้วเขาไม่รู้ว่ารถไฟจะออกมาเป็นเขียว-เหลือง-แดงเหมือนขาเข้า พัฒนาการว่าด้วยสถานที่และการเปลี่ยนสถานที่เป็นอีกเรื่องที่ต้องการเวลาพัฒนา
ยางลบของเพื่อนที่โรงเรียนกับยางลบของเพื่อนในกระเป๋าของเราที่บ้าน ไม่แน่ว่าจะเป็นก้อนเดียวกัน
อย่างไรก็ตามหากพ่อแม่พบว่าลูกหยิบของของเพื่อนกลับบ้านก็ต้องจูงมือลูกไปคืนและกล่าวคำ "ขอโทษ" เพื่อให้ลูกรู้จักกติกาและมารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น นี่มิใช่กิริยา"ขโมย" ในความหมายที่ผู้ใหญ่เข้าใจ เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการต่อเนื่องเรื่องความคงที่ของวัตถุและการเคลื่อนย้ายวัตถุ
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 37 : พ้นจากเรื่อง placement&displacementเด็กเล็กยังต้องเรียนรู้เรื่องอวกาศและเวลาคือ space&time
การเปลี่ยนสถานที่ของวัตถุและการเปลี่ยนตำแหน่งของเวลาเป็นเรื่องเดียวกันก่อนที่จะค่อยๆแยกจากกันในเวลาต่อมา
เด็กเล็กไม่เข้าใจความแตกต่างของยางลบก้อนเดียวกันที่อยู่คนละตำแหน่งในคนละเวลาก่อนที่จะเข้าใจในเวลาต่อมา
เด็กเล็กไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างสัปดาห์ที่แล้ว สามวันก่อน เมื่อวานซืน เมื่อวาน พรุ่งนี้ มะรืน สามวันข้างหน้า หรือเดือนหน้า ก่อนที่จะค่อยๆเข้าใจในเวลาต่อมาเช่นกัน
ความไม่ชัดเจนเรื่องเวลาทำให้เด็กเล็กพูดไม่ตรงความจริงบางครั้ง ซึ่งมิใช่ "โกหก" ในความหมายแบบของผู้ใหญ่
เล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟังมิได้แปลว่าพ่อแม่ต้องเป็นนักวิชาการ พ่อแม่ไม่ต้องรู้อะไรมากก็ได้ถ้าเพียงเล่นกับเขามากๆและไม่ส่งลูกไป รร เร็วเกินไปเพราะมีหลายเรื่องเหลือเกินที่เขาควร "พร้อม" ก่อนไป รร เตรียมความพร้อม
การเปลี่ยนสถานที่ของวัตถุและการเปลี่ยนตำแหน่งของเวลาเป็นเรื่องเดียวกันก่อนที่จะค่อยๆแยกจากกันในเวลาต่อมา
เด็กเล็กไม่เข้าใจความแตกต่างของยางลบก้อนเดียวกันที่อยู่คนละตำแหน่งในคนละเวลาก่อนที่จะเข้าใจในเวลาต่อมา
เด็กเล็กไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างสัปดาห์ที่แล้ว สามวันก่อน เมื่อวานซืน เมื่อวาน พรุ่งนี้ มะรืน สามวันข้างหน้า หรือเดือนหน้า ก่อนที่จะค่อยๆเข้าใจในเวลาต่อมาเช่นกัน
ความไม่ชัดเจนเรื่องเวลาทำให้เด็กเล็กพูดไม่ตรงความจริงบางครั้ง ซึ่งมิใช่ "โกหก" ในความหมายแบบของผู้ใหญ่
เล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟังมิได้แปลว่าพ่อแม่ต้องเป็นนักวิชาการ พ่อแม่ไม่ต้องรู้อะไรมากก็ได้ถ้าเพียงเล่นกับเขามากๆและไม่ส่งลูกไป รร เร็วเกินไปเพราะมีหลายเรื่องเหลือเกินที่เขาควร "พร้อม" ก่อนไป รร เตรียมความพร้อม
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 38 : ขอให้เข้าใจความเชื่อมโยง ลองนึกภาพทารกที่นอนหงายบนอ้อมกอดแม่แล้วเงยหน้ามองดูใบหน้าของคุณแม่ที่ก้มมองลงมา ด้วยตำแหน่งนี้และด้วยรอยยิ้มของคุณแม่และด้วยการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุดใน3ขวบปีแรก เด็กจะพบว่า 1. ตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (egocentricism) 2. ดลบันดาลให้นมลอยมาหาได้เมื่อหิวแล้วแหกปาก (magical thinking) 3. ขวดนมลอยได้นั้นมีชีวิต (animism) และ 4. ถ้าวันไหนแม่หน้าบึ้งตึงดูเหมือนขวดนมจะลอยมายากหรือช้าหน่อยและเขานั่นเองที่เป็นต้นเหตุ (phenomenalisticcausalty) (ทบทวน32-35)
นอกจากนี้แม่ที่มีอยู่จริง(object constancy) จึงจะเป็นต้นแบบของวัตถุอื่นในจักรวาลที่มีอยู่จริง 5.สามารถระบุตำแหน่ง(placement) และเปลี่ยนตำแหน่ง(displacement) 6.ในอวกาศซึ่งคงที่(space) และเวลาที่มีอยู่จริง (time) (ทบทวน36-37)
ทั้งหมดนี้คือหลักใหญ่ของพัฒนาการที่เรียกว่า preoperationซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 2-8 ขวบ
ด้วยความเร็วช้าต่างๆกันในเด็กแต่ละคน ก่อนที่จะเริ่มมองโลกและจักรวาลอย่างเป็นรูปธรรมตามที่เป็นจริง
ประเด็นคือเด็กช้า ไม่ใช่ความผิดของเขา
นอกจากนี้แม่ที่มีอยู่จริง(object constancy) จึงจะเป็นต้นแบบของวัตถุอื่นในจักรวาลที่มีอยู่จริง 5.สามารถระบุตำแหน่ง(placement) และเปลี่ยนตำแหน่ง(displacement) 6.ในอวกาศซึ่งคงที่(space) และเวลาที่มีอยู่จริง (time) (ทบทวน36-37)
ทั้งหมดนี้คือหลักใหญ่ของพัฒนาการที่เรียกว่า preoperationซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 2-8 ขวบ
ด้วยความเร็วช้าต่างๆกันในเด็กแต่ละคน ก่อนที่จะเริ่มมองโลกและจักรวาลอย่างเป็นรูปธรรมตามที่เป็นจริง
ประเด็นคือเด็กช้า ไม่ใช่ความผิดของเขา
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 39 : อีริคสันเรียกช่วงอายุ 2-3 ขวบว่า autonomy ความหมายคือช่วงอายุที่เด็กเล็กทำอะไรได้ด้วยตนเอง เริ่มด้วยการควบคุมปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งทำได้ทั้งสองทิศทางคือจะอั้นหรือจะปล่อย ภายในเวลาไม่นานเด็กจะพบว่าการอั้นหรือการปล่อยนี้สามารถปั่นหัวพ่อแม่ได้ชะงัดนักนั่นคือจุดเริ่มต้นที่เขาเริ่มควบคุมคนอื่น ในทิศทางตรงข้ามพ่อแม่ก็มีหน้าที่บอกและสอนเขาด้วยว่าเราหรือบ้านหรือสังคมคาดหวังอะไรจากเขา คือปัสสาวะในกระโถนและนั่งกระโถนเมื่อถึงเวลา
จะเห็นว่าเด็กทำได้ก็จะทำ ทำนั่นทำนี่สารพัด เรามีหน้าที่บอกว่าอะไรได้และอะไรไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้เขาภูมิใจมากที่ตนเองทำได้และควบคุมตนเองให้ทำหรือไม่ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ บ้าน หรือสังคมได้ด้วย
เด็กดื้อเป็นหน้าที่ของเขา เขามีหน้าที่ทดสอบและท้าทายกฎระเบียบว่าเราเอาจริงหรือดีแต่พูด ส่วนเรามีหน้าที่สั่งสอน มิใช่ตามใจไปเสียทั้งหมดตั้งแต่แรกแล้วจะมาเรียกร้องเอานั่นเอานี่กับเขาในภายหลังซึ่งเขาหมดความสามารถทำตามไปเสียแล้ว เพราะนาทีทองได้ผ่านไปอีก1เรื่องแล้ว
จะเห็นว่าเด็กทำได้ก็จะทำ ทำนั่นทำนี่สารพัด เรามีหน้าที่บอกว่าอะไรได้และอะไรไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้เขาภูมิใจมากที่ตนเองทำได้และควบคุมตนเองให้ทำหรือไม่ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ บ้าน หรือสังคมได้ด้วย
เด็กดื้อเป็นหน้าที่ของเขา เขามีหน้าที่ทดสอบและท้าทายกฎระเบียบว่าเราเอาจริงหรือดีแต่พูด ส่วนเรามีหน้าที่สั่งสอน มิใช่ตามใจไปเสียทั้งหมดตั้งแต่แรกแล้วจะมาเรียกร้องเอานั่นเอานี่กับเขาในภายหลังซึ่งเขาหมดความสามารถทำตามไปเสียแล้ว เพราะนาทีทองได้ผ่านไปอีก1เรื่องแล้ว
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 40 : ถัดจาก Autonomy อิริคสันเรียกวัย 3-5 ขวบว่า Initiation แปลตามตัวว่าริเริ่มสิ่งใหม่ คือวันเวลาที่เด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กอย่างรวดเร็ว บวกกับการพัฒนาวิธีคิดซึ่งเปี่ยมล้นจินตนาการและเห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง นี่จึงเป็นวัยเกิดมาซนโดยเฉพาะ เด็กมีหน้าที่ "ซน" เพื่อพัฒนาการที่ดี เรามีหน้าที่ "บอก" อะไรได้อะไรไม่ได้
นี่จึงเป็นนาทีทองของการเล่นดินเล่นทรายเล่นในสนามเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของขาและแขน เป็นนาทีทองของการเล่นฉีกกระดาษ ระบายสีอย่างเสรี (มิใช่ไม่สวยได้ศูนย์) ต่อบล็อคไม้ เล่นตุ๊กตุ่นตุ๊กตา เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กกว่าร้อยมัดที่นิ้วมือ คือนาทีทองของการเล่นบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาวิธีคิดให้ระเบิดกระเจิดกระเจิง
อย่าปล่อยโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือการเร่งเรียนมาขวางทางของดีๆเหล่านี้
นี่จึงเป็นนาทีทองของการเล่นดินเล่นทรายเล่นในสนามเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของขาและแขน เป็นนาทีทองของการเล่นฉีกกระดาษ ระบายสีอย่างเสรี (มิใช่ไม่สวยได้ศูนย์) ต่อบล็อคไม้ เล่นตุ๊กตุ่นตุ๊กตา เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กกว่าร้อยมัดที่นิ้วมือ คือนาทีทองของการเล่นบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาวิธีคิดให้ระเบิดกระเจิดกระเจิง
อย่าปล่อยโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือการเร่งเรียนมาขวางทางของดีๆเหล่านี้