Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566

สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus)

 

สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus)






ไซปรัส (อังกฤษCyprusกรีกΚύπρος คีโปรสตุรกีKıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (อังกฤษRepublic of CyprusกรีกΚυπριακή ΔημοκρατίαตุรกีKıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี


ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961




















สาธารณรัฐไซปรัส
REPUBLIC OF CYPRUS




ข้อมูลทั่วไป


ที่ตั้ง
อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ 240 ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย 64 ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี 44 ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ 240 ไมล์



พื้นที่


9,251 ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ทั้งหมด


เมืองหลวง


นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี 2517 โดยตุรกี


ประชากร


838,897 คน (ปี 2555) เป็นเชื้อสายไซปรัสกรีกร้อยละ 77 ไซปรัสตุรกีร้อยละ 18 และอื่น ๆ ร้อยละ 5


ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม
ภาษาราชการ กรีก ตุรกี


ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 78 มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ 18 นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย
วันชาติ 1 ตุลาคม
หน่วยเงินตรา ยูโร (Euro)




การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศไซปรัสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่


แผนที่แสดงการแบ่งเขตการปกครอง/ชื่อเขต
เขตแฟมากุสตา
เขตคีรีเนีย
เขตลาร์นากา
เขตลีมาซอล
เขตนิโคเซีย
เขตแพฟอส





ภูมิหลัง


2503 ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
2517 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจากตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ 36.2% ของเกาะไซปรัส
2526 ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว
2545-ปัจจุบัน สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ

 


การเมืองการปกครอง


ระบบการเมือง สาธารณรัฐ



รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้ารัฐบาล



อำนาจนิติบัญญัติ  ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2503 เป็นกฏหมายสูงสุด


รัฐสภาของไซปรัสเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสกรีก หรือ Vouli Antiprosopan และสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสตุรกี หรือ Cumhuriyet Meclisi


สภาฯ ของไซปรัสกรีก มีทั้งหมด 80 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสกรีก 56 ที่นั่ง และสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสตุรกี 24 ที่นั่ง (ในขณะนี้ มีเพียงตัวแทนจากไซปรัสกรีกในสภา ขณะที่ที่นั่งของฝ่ายไซปรัสตุรกีได้ว่างเว้นไว้ เนื่องจากไซปรัสตุรกีไม่ให้การรับรอง จึงไม่มีการจัดส่งสมาชิกมาเข้าร่วมประชุม แต่ได้มีการจัดตั้งสภาฯ ขึ้นเป็นของตนเอง)


อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (Chief of State and Chief of Government) ไซปรัสมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 นายยนิคอส อนาสตาเซียเดส(Nicos Anastasiades) ชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 โดยเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 นับตั้งแต่ไซปรัสได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2503 


นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน


๑. การเมืองการปกครอง


๑.๑ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือ
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกทั้งหมด ๕๙ คน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่ายไซปรัสกรีกจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ๕๖ คน และตัวแทนจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายมาโรไนต์ ๑ คน นิกายโรมันคาทอลิก ๑ คน และตัวแทนชนชาติอาร์เมเนียน ๑ คน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายนิโคซ์ อะนาสตาซิอาเดส (Nicos Anastasiades) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ประธานาธิบดีไซปรัสมีวาระ ๕ ปี มีสถานะเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีร่วมกับ รองประธานาธิบดี ซึ่งรองประธานาธิบดีจะต้องมาจากฝ่ายไซปรัสตุรกีตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะนี้ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร

๑.๒ รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม ระหว่างพรรค Democratic Rally (DISY) พรรค Democratic Party (DIKO) และพรรค European Party (EVROKO)

ปัญหาการรวมประเทศไซปรัส


๑.๓ สาธารณรัฐไซปรัส ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ๒๕๐๓ แต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวไซปรัสกรีกกับชาวไซปรัสตุรกี สหประชาชาติได้ส่งกำลังทหารรักษาสันติภาพไปยังไซปรัสในปี ๒๕๐๗ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๑๗ หลังจากฝ่ายกรีกได้ทำรัฐประหารรัฐบาลไซปรัส ตุรกีได้ถือโอกาสดังกล่าว เข้ายึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัส ทำให้ชาวไซปรัสกรีกเป็นจำนวนมากอพยพออกจากดินแดนส่วนนี้ และมีการตั้งระบอบการปกครองตนเองในดินแดนที่ตุรกียึดครอง โดยเรียกตนเองว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus หรือ TRNC) โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสตุรกี และระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงตุรกีให้การรับรองเพียงประเทศเดียว

๑.๔ ขณะนี้เกาะไซปรัสถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑) สาธารณรัฐไซปรัส ๒) TRNC ๓) Green Line เส้นแบ่งแยกดินแดนที่สหประชาชาติดูแลอยู่ และ ๔) เมืองอันเป็นที่ตั้งฐานทัพ ๒ แห่งของสหราชอาณาจักรซึ่งยังคงรักษาอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว ตามเงื่อนไขของการให้เอกราชแก่ไซปรัสในปี ๒๕๐๓ ได้แก่ เมืองอาร์โกรตีรี (Akrotiri) และเมืองดีเกร์เลีย (Dhekelia) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกของเกาะไซปรัสตามลำดับ

๑.๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สาธารณรัฐไซปรัสเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้รวมดินแดนตอนเหนือที่ตุรกียึดครองอยู่ในขณะนี้

๑.๖ สหประชาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาเกาะไซปรัสโดยยึดหลักพื้นฐานของแผนสันติภาพเพื่อ การรวมไซปรัสที่เรียกว่า “แผนอันนัน” (Annan Plan) คือ การมีไซปรัสที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (United Cyprus) บริหารโดยรัฐบาลเดียว (Federal Government) และแบ่งเป็น ๒ รัฐ คือ Greek Cyprus State และ Turkish Cyprus State โดยทั้งสองรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน และมีอำนาจบริหารภายใต้อาณาเขตของตนเอง

๑.๗ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ได้มีการลงประชามติของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและ ชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีเกี่ยวกับการยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ ในขณะที่ชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๗๕.๘ อันเป็นผลให้แผนสันติภาพดังกล่าวล้มเหลว และเกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกเป็น ๒ ส่วนเช่นเดิม อย่างไรก็ดี สาเหตุที่ฝ่ายไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ถึงร้อยละ ๗๕.๘ นั้น เนื่องจากเห็นว่าแผนสันติภาพฯ ไม่มีความเป็นกลาง โดยเข้าข้างฝ่ายตุรกีมากเกินไป รวมถึงการให้ ความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอต่อชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกทางตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นการลดทอนความสำคัญในการให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ปัจเจกบุคคลพึงได้รับ อนึ่ง เป็นที่เชื่อว่า สาเหตุที่แผนสันติภาพฯ ดังกล่าวให้สิทธิประโยชน์เข้าข้างฝ่ายตุรกีมากกว่า มีสาเหตุจากการที่นายดาเนียล ฟริด (Daniel Fried) ผู้แทนสหรัฐฯ ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษในรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเวลาเดียวกัน) ได้เจรจากับฝ่ายตุรกีเพื่อขอนำกำลังทหารสหรัฐฯ ผ่านดินแดนตุรกีเข้าไปทางตอนเหนือของอิรัก โดยมีข้อเสนออันเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเจรจา ได้แก่ การเสนอบริจาคและให้กู้เงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการให้สิทธิตุรกีในไซปรัสภายใต้แผนสันติภาพฯ ดังกล่าว

๑.๘ นอกจากนี้ กรีซยังได้เสนอแผนการรวมเกาะไซปรัสโดยใช้เงื่อนไขของสหภาพยุโรป ได้แก่ การยินยอมให้ฝ่ายไซปรัสกรีกสามารถใช้ท่าเรือและท่าอากาศยานของฝ่ายไซปรัสตุรกี การให้ผู้ลี้ภัย ชาวไซปรัสกรีกกลับไปมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ การที่ตุรกีจะต้องรับรองสาธารณรัฐไซปรัส และการถอนทหารตุรกี

๑.๙. ท่าทีของรัฐบาลไซปรัสต่อปัญหาข้อพิพาทไซปรัสในขณะนี้ รัฐบาลสนับสนุนให้รื้อฟื้นการหารือกับ TRNC เกี่ยวกับการรวมประเทศ โดยดึงสหภาพยุโรปและตุรกีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย



๒. เศรษฐกิจ


๒.๑ ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีโดยมีภาคบริการเป็นหลักและอุตสาหกรรมเบารองลงมา ชาวไซปรัสเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรไซปรัสมีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีความเป็นอยู่ที่ดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก และมีระบบสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย

๒.๒ ระบบเศรษฐกิจของไซปรัสถูกกำหนดโดยการแบ่งแยกดินแดนเหนือและใต้ โดยเศรษฐกิจในส่วนของสาธารณรัฐไซปรัสมีความเจริญรุ่งเรืองและหลากหลาย รวมทั้งมีนักธุรกิจต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าไปจัดตั้งบริษัทนอกประเทศ (offshore) เพื่อประโยชน์ในด้านภาษีและอากร นอกจากนี้ ไซปรัสยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีนักท่องเที่ยวประมาณ ๒.๔ ล้านคนต่อปี

๒.๓ เศรษฐกิจของไซปรัสเหนือที่ถูกตุรกียึดครองจะมีเศรษฐกิจที่เน้นด้านบริการเป็นหลัก อาทิ การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยมีภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบาเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินแดน ส่วนนี้มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการรับรองและไม่มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลก ยกเว้นตุรกีเพียงประเทศเดียว โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไซปรัสตุรกีในการดำเนินโครงการต่างๆ

๒.๔ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐไซปรัสมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมากในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรป และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคในที่สุด โดยไซปรัสมีเรือจดทะเบียนมากเป็นลำดับ ๔ ของโลก ประมาณ ๒,๘๐๐ ลำ คิดเป็นจำนวนประมาณ ๒๕.๕ ล้าน Gross Registered Tons (GRTs) และได้มีการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณทางทะเลตอนใต้ของเกาะไซปรัส

๒.๕ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันไซปรัสกำลังประสบวิกฤตทางการเงิน สืบเนื่องจากภาคธนาคาร ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าขนาดเศรษฐกิจของไซปรัสประมาณร้อยละ ๘ กล่าวคือ ๑) นโยบายของรัฐบาลไซปรัสที่ผ่านมาให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ชาวต่างชาติแบบเสรีและรัฐบาลเก็บภาษีธุรกิจเพียง ๑๐% เท่านั้น ทำให้ธนาคารในไซปรัสเป็นแหล่งรับเงินฝากเงินจำนวนมาก (รวมทั้งฟอกเงิน) จากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจากรัสเซีย กรีซ เนื่องจากเป็นแหล่งฝากเงินภาษีต่ำ ๒) ภาคธนาคารในไซปรัสมีขนาดใหญ่มากประมาณ ๘ เท่าของขนาดเศรษฐกิจ เงินที่รับฝากจากชาวต่างชาติจำนวนมากนั้น ธนาคารไซปรัสนำไปให้ผู้อื่นกู้ ผู้กู้รายใหญ่ ๆ ได้แก่ ธนาคารและธุรกิจในประเทศกรีซ เมื่อกรีซประสบวิกฤติเศรษฐกิจจนเกือบล้มละลาย ธนาคารไซปรัสได้รับผลกระทบสูงด้วย ส่งผลให้ไซปรัสต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป

๒.๖ ปัจจุบัน กลุ่ม Troika ซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป และสหภาพยุโรป ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือมูลค่า ๑๐ พันล้านยูโร ภายใต้เงื่อนไขที่ไซปรัสต้องระดมเงินจากภายในประเทศไซปรัสเพิ่มเติมอีก มูลค่า ๕.๘ พันล้านยูโร โดยการเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่ามากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ยูโร ของธนาคารหลัก ๒ แห่งของไซปรัสคือ ธนาคาร Popular Bank of Cyprus (Laiki) และธนาคาร Bank of Cyprus (BoC)

๒.๗ แม้ว่าไซปรัสจะได้รับเงินช่วยเหลือและรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย แต่การปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อเพื่อขอเงินช่วยเหลือดังกล่าวนั้นจะมีผลร้ายแรงยิ่ง โดยกิจการธนาคารจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ไม่มีเงินทุนจากภายนอกไหลเข้าไปอีก เงินทุนส่วนใหญ่จะหายไปจนไม่มีธุรกิจใดสามารถยืมเงินได้ตามต้องการ และรัฐบาลจะต้องตัดทอนงบประมาณลงอย่างมาก รวมทั้งประชาชนจะเข้าถึงเงินของตนได้เป็นบางส่วนเท่านั้น จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยบริษัทเอกชนอาจไม่สามารถจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติ ธนาคาร สหภาพแรงงานธนาคารขู่ชุมนุมหยุดงาน และอาจปิดบริการนานเกินกว่ากำหนด และนั่นก็จะส่งผลทำให้การทำธุรกิจและการลงทุนชะงักงัน


๓. นโยบายต่างประเทศ

นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญของไซปรัส ได้แก่ สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Partnership for Peace ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างองค์การ NATO กับประเทศนอกกลุ่ม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ NATO ปรับความสัมพันธ์ ให้ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้น จากเดิมรัฐบาลสมัยที่แล้วมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในด้านการเงิน รวมทั้งประสงค์จะกระชับความสัมพันธ์กับจีนในด้านพลังงาน การลงทุน และการท่องเที่ยว



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายโยอานิส คัสซูลีเดส (Ioannis Kasoulides)

ทั้งนี้ รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลของสาธารณรัฐไซปรัสที่ถูกต้อง คือรัฐบาลไซปรัสกรีก

 

เศรษฐกิจ


เศรษฐกิจของประเทศไซปรัสมีความหลากหลายและมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตามประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณการไว้ว่า จีดีพีต่อหัวของไซปรัสน่าจะอยู่ที่ประมาณ 28,381 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มสหภาพยุโรป


นโยบายสำคัญของรัฐบาลไซปรัส คือ ทำให้ประเทศไซปรัสเป็นฐานสำหรับทำธุรกิจของชาวต่างชาติ และ พยายามผลักดันให้ไซปรัสเข้าเป็นหนึ่งในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ได้ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547



เศรษฐกิจการค้า


ดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ปี 2555)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 23.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 26,389 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ -2.3

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.4

สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ

ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ กรีซ (ร้อยละ 23) อังกฤษ (ร้อยละ 10)

สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโตรเลียม เครื่องจักร

ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ กรีซ (ร้อยละ 21) อิสราเอล (ร้อยละ 12) อิตาลี (ร้อยละ 8) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 7) เยอรมนี (ร้อยละ 7) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 7) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 6) จีน (ร้อยละ 5)

 
ทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน

อุตสาหกรรมหลัก การธนาคาร การท่องเที่ยว การเดินเรือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

 


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไซปรัส


พระราชสาส์นแสดงความยินดี ไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไซปรัส ข่าวในพระราชสำนัก วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๖


https://youtu.be/-yfriwCpumE

ในหลวง มีพระราชสาส์นแสดงความยินดี ประธานาธิบดีไซปรัส สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความยินดีไปยังนายนีโคส คริสโตดูลิดีส (Mr. Nikos Christodoulides) ในโอกาสสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไซปรัสคนใหม่ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖



1. ความสัมพันธ์ทั่วไป


    1.1 การทูต


           ไทยและไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2523 ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาครอบคลุมไซปรัส โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส มีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม (อิตาลี) คนปัจจุบันคือ นายสุรพิทย์ กีรติบุตร และมีนาย Elias Panayides เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัส ส่วนเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาง Maria Michail โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และนายปณิธิ วสุรัตน์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำไทย


           สำหรับท่าทีของไทยต่อปัญหาไซปรัส คือ ไทยไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ หรือ Turkish Republic or Northern Cyprus (TRNC) โดยตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC ทั้งนี้ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส ซึ่งไม่รับรองดินแดนส่วนเหนือที่ตุรกีส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองตั้งแต่ปี 2517 และไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจา แก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มและประเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป


   1.2 การเมือง


          ไทยกับไซปรัสมีความสัมพันธ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย ไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนมากนัก อย่างไรก็ดี ไทยกับไซปรัสมีความร่วมมือในกรอบพหุภาคี อาทิ กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting (ASEM)) และการแลกเสียงในองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ


   1.3 เศรษฐกิจ


         1.3.1 การค้า
          ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการค้าของไซปรัสผูกติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เป็นส่วนใหญ่
          มูลค่าการค้าไทย-ไซปรัส ในปี 2555 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับไซปรัสมีมูลค่าเท่ากับ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          สินค้าส่งออกของไทย อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ปลาหมึกสด/กุ้งสดแช่แข็ง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม
          สินค้านำเข้าจากไซปรัส ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เลนซ์ แว่นตา และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ยุทธปัจจัย    

          1.3.2 การลงทุน 
           การลงทุนของไซปรัสในไทยมีเพียงโครงการเดียวในด้านพาณิชย์นาวี มูลค่า 228 ล้านบาท


1.4 การท่องเที่ยว 


      นักท่องเที่ยวไซปรัสมาไทย 2,732 คน (2555)


1.5 คนไทยในไซปรัส 


       มีคนไทยอาศัยอยู่ในไซปรัสประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส


1.6 สังคมและวัฒนธรรม


       ในด้านสังคม สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีคนไทยอยู่ในไซปรัสประมาณ 200 คน โดยในจำนวนนี้ มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ 100 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส



2. ความตกลงกับไทย


     2.1 ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2537)
     2.2 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543)


3. การเยือนที่สำคัญ


     3.1 ฝ่ายไทย
            - วันที่ 25-26 ตุลาคม 2547 นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม เยือนไซปรัสเพื่อยื่นพระราชสาส์นต่อประธานาธิบดี Tassos Papadopoulos

     3.2 ฝ่ายไซปรัส
            - วันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2517 พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัส เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
            - วันที่ 1 - 3 กรกฎาคม 2527 ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย
            - วันที่ 18-20 มีนาคม 2533 นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
            - วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเแวะผ่านไทย
            - วันที่ 18 ธันวาคม 2546 นาย Andreas G. Skarparis เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย
            - วันที่ 18 ธันวาคม 2554 นาง Nafsika Chr. Krousti เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย
            - วันที่ 10 ธันวาคม 2556 นาง Maria Michail เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย

 


หน่วยงานของไทยในไซปรัส


เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงโรม
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส

Royal Thai Embassy
Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy
Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382
Fax (3906) 8620-8399
E-mail : thai.em.rome@pn.itnet.it



สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส


Royal Thai Honorary Consulate
40 Evagoras Ave,
1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus
Tel (357) 2267-4900
Fax (357) 2267-5544
เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.

 

แผนที่

กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul)
Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535
รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540



หน่วยงานของไซปรัสในไทย


สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
The Embassy of the Republic of Cyprus
106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India
Tel. 91-11-4697503, 4697508
Fax 91-11-4628828
Email: cyprus@del3.vsl.net.in

เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นางนาฟสิก้า ครูสติ (Nafsika Chr. Krousti) โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓


สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus)
The Honorary Consulate of the Republic of Cyprus
75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong
Tel. 0-2661-2319-22
Fax 0-2261-8410

กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
อยู่ระหว่างพิจารณาแต่งตั้ง


สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา


สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี

 


สาธารณรัฐไซปรัส

ประเทศไซปรัส

สถานที่ที่ดีที่สุดที่จะอยู่ในสาธารณรัฐไซปรัส

เมืองน่าอยู่ที่สุดใน

สาธารณรัฐไซปรัส

Best places to live in Cyprus

Best places to live in Cyprus




ที่มา     ::   https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2215e39c306000a260  ,  http://www.thaiembassy.it/