ของต้องห้าม/ต้องกำกัด ในการนำเข้า ประเทศไทย
เดินทางเข้า-ออกประเทศ มีอะไรบ้างที่ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่สนามบิน เพื่อเสียภาษีนำเข้า อะไรบ้างที่ไม่เสีย และถ้าเดินทางออกนอกประเทศต้องยื่นใบสำแดงไหม
ของต้องห้าม/ของต้องจำกัด มีอะไรบ้าง
สำหรับขาช้อปที่ชอบช้อปสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์เนมต่าง ๆ เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศแล้ว จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำสิ่งของที่ช้อปจากต่างประเทศสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุกากรที่สนามบินเพื่อเสียภาษีนำเข้า หากแต่ก็มีสิ่งของบางอย่างเช่นกันที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ จากเว็บไซต์ customs.go.th บอกรายรายละเอียดเกี่ยวกับ “ของต้องห้าม” และ “ของต้องกำกัด” ไว้ดังนี้
- ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น สารเสพติด วัตถุ หรือสื่อลามก ของลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส
- ของต้องจำกัด หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามาและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น
วิธีการคำนวณอัตราภาษีอากร
ผู้โดยสารสามารถมาสำแดงของเพื่อเสียภาษีอากร ที่ช่องตรวจมีของต้องสำแดง (ช่องแดง) ในกรณีที่ของมีมูลค่าเกิน 20,000 บาท และหากของนั้นเป็นของต้องกำกัด ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน โดยอัตราภาษีอากรนำเข้าจะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า เช่น กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ดูตัวอย่างการคำนวณภาษีอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ หิ้วของเข้าไทย เสียภาษีเท่าไร แบบไหนไม่ต้องจ่ายภาษี ขาช้อปควรรู้ !
ทั้งนี้ บทลงโทษของการเลี่ยงภาษี จะมีบทลงโทษแตกต่างกันไป โดยจำแนกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร, ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร, ความผิดฐานสำแดงเท็จ, ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร และความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร สามารถดูรายละเอียดบทลงโทษทางศุลกากรได้ที่นี่
สิทธิสำหรับผู้โดยสารในการนำของติดตัวเข้ามาทางท่าอากาศยาน
ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare)
ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare) หรือช่องเขียว ผู้โดยสารจะผ่านไปได้ก็ต่อเมื่อตรงตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ไม่มีเสบียงอาหาร ไม่มีของต้องห้าม และของต้องกำกัดตามข้อกำหนดของกรมศุลกากร
- ของใช้ส่วนตัวมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ต้องอยู่ในจำนวนที่สมควรแก่ผู้ใช้งาน
- สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ จำนวนไม่เกิน 1 ลิตร/คน
- บุหรี่ ไม่เกิน 200 มวน หรือ 1 คอตตอน/คน และยาเส้นไม่เกิน 250 กรัม/คน
- โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กส่วนตัว 1 เครื่อง/คน นับเป็นของใช้ส่วนตัวที่ไม่ต้องเสียภาษี
ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare)
ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) หรือช่องแดง ขอที่ต้องสำแดงมีดังต่อไปนี้
- ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าสูงกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษี
- เครื่องเกมส์ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- กล้องถ่ายภาพ
- มีการพกพาของต้องห้าม และของต้องกำกัดตามข้อกำหนดของกรมศุลกากร
- สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มากกว่า 1 ลิตร
- บุหรี่ เกิน 200 มวน หรือ 1 คอตตอน และยาเส้นเกิน 250 กรัม
- สินค้าปลอดภาษีที่ซื้อมาจาก Duty Free ในสนามบินห้ามนำกลับมาใช้ในประเทศ ต้องนำไปใช้นอกประเทศเท่านั้น
- สินค้าที่ถูกซื้อกลับไปเป็นของฝาก ไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไรก็จะต้องเสียภาษีเพราะไม่ถือเป็นของใช้ส่วนตัว
เดินทางออกนอกประเทศจำเป็นต้องแจ้งพนักงานศุลกากรไหม ?
สำหรับการออกนอกประเทศ เชื่อว่าหลายคนอาจกำลังคิดว่า ถ้าเกิดว่าพกกระเป๋าแบรนด์เนม นาฬิกาแบรนด์เนม กล้องถ่ายรูป และโน๊ตบุ๊ก ซึ่งเป็นของส่วนตัวหรือเป็นของเก่าที่ใช้แล้วติดตัวไปด้วย จำเป็นที่จะต้องแจ้งต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากรทุกครั้งไหม ถ้าไม่อยากเสี่ยงเสียภาษีตอนกลับ
- ตามประกาศกรมศุลกากร ฉบับ 60/2561 ได้แจงรายละเอียดสำคัญที่ผู้โดยสารที่พึงทราบ ดังต่อไปนี้
- ผู้โดยสารที่จะนำของมีค่าซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้ว ออกนอกราชอาณาจักร เช่น กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา (โน้ตบุ๊ก), เครื่องประดับ/นาฬิกา ที่มีมูลค่าสูง, สินค้าแบรนด์เนม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง จะต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากรทุกครั้ง ณ ห้องที่ทำการศุลกากร บริเวณห้องผู้โดยสารขาออก โดยต้องนำภาพถ่ายของสิ่งของที่นำมาแจ้งจำนวน 2 ชุด เพื่อจะได้รับมอบ ใบรับแจ้งของมีค่าที่ผู้โดยสารนำติดตัวอออกไปและนำกลับมาแสดงในวันเดินทางกลับ
- เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ให้แสดงใบรับแจ้งของมีค่าต่อพนักงานศุลกากรช่องแดงในวันเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อขอรับการยกเว้นอากรในฐานะของใช้ส่วนตัว โดยต้องเป็นของเก่าใช้แล้ว และมีจำนวนพอสมควรแก่การเดินทาง
- ของมีค่าหรือของส่วนตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวไปขณะเดินทางออกนอกประเทศ และใช้เป็นปกติวิสัยในระหว่างการเดินทาง หรือเป็นเครื่องประดับการแต่งกายตามปกติ ไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากร
- สำหรับผู้โดยสารขาเข้าจากต่างประเทศ ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน สำหรับไว้ใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและมีจำนวนพอสมควร มีราคารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ให้ได้รับการยกเว้นอากร
- สุรา บุหรี่ หรือซิการ์ เป็นของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน ให้ได้รับการยกเว้นอากรต่อเมื่อไม่เกินปริมาณที่กำหนด
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ customs.go.th) กำหนดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่ได้รับยกเว้นอากรมี ดังนี้
บุหรี่ไม่เกิน 200 มวนหรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัมหรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภทไม่เกิน 250 กรัม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตร ไม่เกิน 1 ลิตร ** หากนำบุหรี่ ยาสูบ หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้ามาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี
- หากผู้โดยสารมีสิ่งของที่นำติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน ในวันที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 200,000 บาท หรือเป็นของที่มีมูลค่าเกินกว่า 200,000 บาท และนำติดตัวเข้ามาเพียงชิ้นเดียว ให้อยู่ในอำนาจของพนักงานศุลกากรผู้ควบคุมกำกับดูแลการเก็บอากรปากระวางเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จัดเก็บอากรปากระวางได้ ประกอบด้วย อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ (ถ้ามี)
- ของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรขาออกในเมือง (Duty Free) หรือร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารผู้โดยสารขาออก ณ สนามบิน จะต้องนำออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น หากนำกลับเข้ามาให้ผ่านการตรวจที่ช่องแดง (Goods to Declare) และชำระอากร
+++ สามารถดูรายละเอียดประกาศเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ customs.go.th
วิธีสำแดงรายการสิ่งของก่อนไปต่างประเทศ
สำหรับใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แล้วนำของมีค่าส่วนตัวของเก่าติดตัวไปด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา (โน้ตบุ๊ก), เครื่องประดับ/นาฬิกา ที่มีมูลค่าสูง, สินค้าแบรนด์เนม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง เพื่อไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจแล้วไม่เชื่อว่าเป็นของเก่า (ซึ่งอาจตามมาด้วยการเก็บภาษี) แนะนำว่าให้ไปทำเรื่องยื่นสำแดงรายการสิ่งของก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
- สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 ประตู 10 ผู้โดยสารขาออก
- สนามบินดอนเมือง ชั้น 3 ประตูผู้โดยสารขาออก
- สนามบินต่างจังหวัด สามารถสอบถามได้ที่สนามบินนั้น ๆ
- ภาพสิ่งของที่เห็นหมายเลข Serial Number (ทำการปริ๊นให้เรียบร้อย จำนวน 2 ชุด)
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
- สำเนาบัตรโดยสารขากลับ
สำหรับใครไม่อยากยื่นสำแดงสิ่งของ แนะนำว่าให้ผู้โดยสารนำสิ่งของมีค่าติดตัวไปตามสมควร (ไม่ควรเกินอย่างละ 1 ชิ้น และมีมูลค่าเหมาะสม) โดยมีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ หรือการใช้งานตั้งแต่อยู่ในประเทศ เผื่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีการขอให้สำแดงเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลา เสียความรู้สึกกับภาษีที่ต้องจ่ายหากมีการสุ่มตรวจเมื่อเข้ามาในประเทศภายหลัง การทำเรื่องยื่นสำแดงก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ที่สำคัญ…ควรเผื่อเวลามาถึงสนามบินล่วงหน้า เพราะคิวอาจจะยาว ทำให้ใช้เวลาในการทำเรื่องพอสมควร ยึดคติที่ว่า “เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด”
การรับฝากของไว้ในอารักขาของศุลกากร (Customs Bond)
สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และมีของที่ต้องชำระภาษีอากร ของต้องจำกัดซึ่งไม่ประสงค์จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย สามารถนำของดังกล่าวมาเก็บไว้ได้ที่คลังเก็บของ (Customs Bond) ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่เดินทางเข้ามา โดยต้องแสดงตั๋วเดินทางไปประเทศที่สาม ณ เวลาที่นำของมาฝากและชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่กำหนดด้วยในวันเดินทางออกนอกประเทศไทย ซึ่งผู้โดยสารสามารถขอรับของดังกล่าวคืนโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง โดยเป็นของที่อยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ผู้ฝากจะต้องมีบัตรโดยสาร (Booking) ในขณะที่นำฝาก
- ไม่เป็นของต้องห้ามหรือของต้องห้ามนำผ่านประเทศ
- ผู้ฝากไม่มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือเตรียมการเพื่อลักลอบหนีศุลกากร
- การรับฝากให้ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
- น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม 40 บาท/วัน
- น้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 40 กิโลกรัม 80 บาท/วัน
- น้ำหนักเกิน 40 กิโลกรัม 150 บาท/วัน
- หนังสือเดินทาง (Passport)
- บัตรที่นั่ง (Boarding Pass) จำนวน 1 ใบ
- บัตรหมายเลขติดหีบห่อ (TAG) เท่าจำนวนหีบห่อของของที่ฝาก
- ใบรับฝากของ
หมายเหตุ เศษของวันนับเป็นหนึ่งวัน
ช่องการทางร้องเรียน
ในบางกรณีที่คุณเองอาจรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ รวมถึงกาารปฏิบัติงานต่าง ๆ สามารถร้องเรียนเรืื่องดังกล่าวได้หลายช่องทาง ได้แก่
- โทรศัพท์สายด่วนรับเรื่องร้องเรียน 1332
- Application LINE ID: @customshearing
- ร้องเรียนด้วยตนเองผ่านศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามโครงการ “ระฆังศุลกากร” ของแต่ละส่วนราชการที่ใช้บริการ
- ส่งไปรษณีย์มาที่กรมศุลกากร
- ส่ง E-mail มาที่ ctc@customs.go.th
- สามารถมาร้องเรียนด้วยตนเองที่กลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรม ณ กรมศุลกากร
- ร้องเรียนด้วยตนเองผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี GCC 1111
- ร้องเรียนไปยังหน่วยราชการอื่น เช่น ป.ป.ช. /สตง.
- ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน
ทั้งหมดนี้เป็นกฏระเบียบและเงื่อนไขที่ทางกรมศุลกากรปฏิบัติกันอยู่แล้ว เพียงแต่ประกาศใหม่ได้กำหนดประเภทของมีค่าใช้แล้วให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไป ถ้าคุณไม่มีสิ่งของมีค่าใด ๆ ทั้งที่ใช้แล้วหรือนำเข้ามา ก็สามารถเดินไปช่องเขียวได้ทันที แต่ขอย้ำว่า ! ต้องแน่ใจจริง ๆ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่พบเจอของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 หรือของผิดกฎหมาย จะต้องโดนปรับ และถูกเรียกเก็บภาษีได้ ดังนั้น ถ้าไม่อยากนั่งกุมขมับปวดหัวกับปัญหาเหล่านี้ ควรปฏิบัติการกฎต่าง ๆ ตามพิธีการศุลกากรจะดีที่สุด
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
เฟซบุ๊ก กรมศุลกากร : The Customs Department, taxclinic.mof.go.th, customs.go.th, dmk.customs.go.th