ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ท่าอากาศยานอุดรธานี หรือ สนามบินอุดร (อังกฤษ: Udon Thani International Airport) ตั้งอยู่ใกล้กับ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตัวสนามบินตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 23) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร สนามบินอุดรธานีได้รับการปรับปรุงและสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีกและเชื่อมต่อกับตัวอาคารเดิมโดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549 ตัวจังหวัดอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร
ประวัติ
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ประมาณปี พ.ศ. 2463–2466 กรมอากาศยาน ทหารบกในสมัยนั้นได้ทำการดัดแปลงเครื่องบินแบบ “เบรเกต์” เป็นเครื่องบินขนส่งพัสดุไปรษณีย์ บินไปยังจังหวัดที่การคมนาคมทางบกยังไปไม่ถึง เช่น ดอนเมือง-นครราชสีมา และได้มีการขยายเส้นทางนครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุดรธานี โดยสนามบินที่ทำการขึ้น-ลง อยู่ในเขตเทศบาลอุดรธานี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการชลประทาน
- ปี พ.ศ. 2475 ย้ายมาสร้างสนามบินใหม่บริเวณตำบลหนองขอนกว้าง(ที่ตั้งกองบินที่ 23 ในปัจจุบัน) โดยมีทางวิ่งเป็นดินลูกรังยาวประมาณ 500 เมตร
- ปี พ.ศ. 2495 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางอากาศในปัจจุบัน) ได้สร้างอาคารวิทยุ และหอบังคับการบิน โดยมีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา
- ปี พ.ศ. 2500 ได้สร้างทางวิ่งใหม่เป็นคอนกรีต ยาว 3,048 เมตร กว้าง 38 เมตร เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
- ปี พ.ศ. 2505 กรมการบินพาณิชย์ (กรมการขนส่งทางอากาศในปัจจุบัน) สร้างอาคารท่าอากาศยานอุดรธานี พร้อมหอบังคับการบิน ระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบริการเครื่องบินทั้งหมด ของท่าอากาศยานอุดรธานีสมบูรณ์เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
- ปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ ได้ซื้อที่ดินประมาณ 400 ไร่ บริเวณถนนอุดร-เลย สร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและหอบังคับการบิน พร้อมลานจอดอากาศยาน สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 2 ลำ พร้อมกัน
- ปี พ.ศ. 2543 - 2545 กรมการบินพาณิชย์ได้ขยายทางวิ่งจากความกว้าง 38 เมตร เป็น 45 เมตร ทางขับกว้าง 23 เมตร ลานจอดอากาศยานพื้นที่ 47,250 ตารางเมตร สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 3 ลำ เครื่องบินแบบ Boeing 737 ได้ 2 ลำ เครื่องบินแบบ ATR ได้ 1 ลำ
ลักษณะทางกายภาพ (ปัจจุบัน)
- ขนาดทางวิ่ง (กว้างคูณยาว) 45 X 3,050 เมตร พื้นผิวเป็นแอสฟัลท์ติคคอนกรีต
- ขนาดทางขับ (กว้างคูณยาว) 23 X 3,050 เมตร พื้นผิวเป็นแอสฟัลท์ติคคอนกรีต
- ขนาดลานจอดอากาศยาน (กว้างคูณยาว) 135 X 350 เมตร พื้นผิวเป็นคอนกรีตสามารถรองรับอากาศยานในชั่วโมงเร่งด่วน ได้แก่ Airbus ได้ 2 ลำ Boeing 737 ได้ 2 ลำ ATR ได้ 3 ลำ พื้นที่ห้องต่างๆ
-ห้องผู้โดยสารขาเข้า 1,124 ตารางเมตร -ห้องตรวจหนังสือเดินทาง 575 ตารางเมตร
-ห้องผู้โดยสารขาออก 1,125 ตารางเมตร -ห้องตรวจหนังสือเดินทาง 450 ตารางเมตร
-ห้อง VIP ขาเข้า 3 ห้อง -ห้อง VIP ขาออก 4 ห้อง
-ภัตตาคาร 345 ตารางเมตร -ร้านค้าชั้นล่าง 17 ร้าน
-ร้านค้าชั้นบน 3 ร้าน -บันไดเลื่อน 5 ชุด
-ลิฟท์โดยสาร 3 ชุด -ลิฟท์ส่งของ 1 ชุด
-สายพานขนส่งสัมภาระขาเข้า 2 ชุด -สายพานขนส่งสัมภาระขาออก 1 ชุด
รายชื่อสายการบิน
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทยสมายล์ | กรุงเทพฯ-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
นกมินิ | เชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ท่าอากาศยานดอนเมือง ภูเก็ต-ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต | ภายในประเทศ |
บางกอกแอร์เวย์ | กรุงเทพฯ-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (เริ่ม 29 พฤศจิกายน 2556) | ภายในประเทศ |
บิสิเนสแอร์ | กรุงโซล-ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน | ระหว่างประเทศ |
สายการบินที่เคยทำการบิน
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | |
---|---|---|
ชื่อไทย | ชื่ออังกฤษ | |
การบินไทย (TG) | Thai Airways International | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่ |
การบินลาว (QV) | Lao Airlines | หลวงพระบาง |
เดินอากาศไทย (TH) | Thai Airways | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, สกลนคร |
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) | Tiger Airways | สิงคโปร์ |
นกแอร์ (DD) | Nok Air | เลย |
พีบีแอร์ (9Q) | PB Air | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่ |
ภูเก็ตแอร์ (9R) | Phuket Air | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่ |
วัน-ทู-โก (OG) | One-Two-Go | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง |
แองเจิลแอร์ไลน์ (8G) | Angel Airlines | เชียงใหม่ |
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ (OX) | Orient Thai Airlines | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง |
การบินไทย (TG) | Thai Airways International | กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ |
ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น