เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 11 : เด็กเลี้ยงง่ายหรือเด็กเลี้ยงยาก ขึ้นกับพื้นฐานทางอารมณ์ (temperament) พื้นฐานทางอารมณ์ขึ้นกับคุณภาพการตั้งครรภ์ คุณภาพการคลอด และพันธุกรรม ประเด็นคือเราได้ลูกแบบไหน เรื่องก็แล้วไปแล้ว ลูกคนนี้เป็นของเรา เอาไปคืนโรงพยาบาลไม่ได้ ขอเปลี่ยนก็ไม่ได้ คุณแม่หัวกระเซิงแน่ๆ
หากพบเด็กเลี้ยงยาก ร้องไห้ง่าย นอนหลับยาก ดูดนมก็ยาก ตั้งแต่ช่วง12เดือนแรก คุณแม่หรือตัวแทนของแม่มักต้องใช้พลังมากกว่าคนอื่นในการให้นมและกอดอย่างดีที่สุดและสม่ำเสมอเพื่อให้ทารกรับรู้ว่าโลกเป็นสถานที่ที่ไว้ใจได้(trust) "อย่าห่วง แม่อยู่ที่นี่เสมอ จุ๊บๆ"
คุณแม่ควรสงบนิ่งและไม่เสียอารมณ์ไปกับทารก เพื่อให้เขาค่อยๆปรับตัวเข้ากับอารมณ์ที่สงบนิ่งและคงเส้นคงวาของแม่หรือตัวแทนของแม่ ในทางตรงข้ามหากคุณแม่หรือตัวแทนของแม่อารมณ์เสียไปกับการเลี้ยงบ่อยๆ เขาจะยากขึ้นเรื่อยๆในภายหลัง
เรื่องนี้สำคัญ ได้เด็กเลี้ยงง่ายดูดนมจ๊วบหลับไปเลยก็แล้วไป ชาติที่แล้วทำบุญมาดี ถ้าได้เด็กเลี้ยงยากขอให้ "เย็น" 12 เดือนแรกจะสำคัญที่สุดเสมอเพื่อให้เขา "เย็นลง" ในวันหน้า
หากพบเด็กเลี้ยงยาก ร้องไห้ง่าย นอนหลับยาก ดูดนมก็ยาก ตั้งแต่ช่วง12เดือนแรก คุณแม่หรือตัวแทนของแม่มักต้องใช้พลังมากกว่าคนอื่นในการให้นมและกอดอย่างดีที่สุดและสม่ำเสมอเพื่อให้ทารกรับรู้ว่าโลกเป็นสถานที่ที่ไว้ใจได้(trust) "อย่าห่วง แม่อยู่ที่นี่เสมอ จุ๊บๆ"
คุณแม่ควรสงบนิ่งและไม่เสียอารมณ์ไปกับทารก เพื่อให้เขาค่อยๆปรับตัวเข้ากับอารมณ์ที่สงบนิ่งและคงเส้นคงวาของแม่หรือตัวแทนของแม่ ในทางตรงข้ามหากคุณแม่หรือตัวแทนของแม่อารมณ์เสียไปกับการเลี้ยงบ่อยๆ เขาจะยากขึ้นเรื่อยๆในภายหลัง
เรื่องนี้สำคัญ ได้เด็กเลี้ยงง่ายดูดนมจ๊วบหลับไปเลยก็แล้วไป ชาติที่แล้วทำบุญมาดี ถ้าได้เด็กเลี้ยงยากขอให้ "เย็น" 12 เดือนแรกจะสำคัญที่สุดเสมอเพื่อให้เขา "เย็นลง" ในวันหน้า
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 12 : "ถ้าโลกนี้ไม่ปลอดภัยหนูนอนเฉยๆปลอดภัยกว่า"
ในที่สุดทารกก็อายุ 12 เดือน 12 เดือนแรกของชีวิตเขามีหน้าที่ทางจิตวิทยาคือเรียนรู้ว่าโลกนี้มีแม่(mother) มีสิ่งอื่น(object) รู้จักรอคอย(สำหรับเด็กเลี้ยงยาก) และไว้วางใจสิ่งแวดล้อม(trust)
ทารกต้องวางใจโลกและมั่นใจว่าโลกนี้มีแม่จึงจะพัฒนา เริ่มคลาน เริ่มนั่ง และตั้งไข่ในตอนปลายของขวบปีที่1 พร้อมที่จะก้าวสู่ขวบปีที่ 2
ขวบปีแรกเหมือนฐานแรกของปิรามิดซัคคาราคือใหญ่ที่สุด หนาที่สุด กว้างที่สุด แข็งแรงทนทานที่สุด นี่คือฐานรากของลูกๆของเรา ฐานดีที่เหลือก็สร้างง่าย สบายมาก ฐานไม่ดีที่เหลือก็เตรียมตัวพัง ฐานดีโตไปทุบยังงัยก็ไม่พัง อย่างมากก็สะบักสะบอมตรงยอดๆ แต่ฐานนั้นแน่นปึ้กไม่มีถอย
ภาพจาก en.wikipedia.org
ในที่สุดทารกก็อายุ 12 เดือน 12 เดือนแรกของชีวิตเขามีหน้าที่ทางจิตวิทยาคือเรียนรู้ว่าโลกนี้มีแม่(mother) มีสิ่งอื่น(object) รู้จักรอคอย(สำหรับเด็กเลี้ยงยาก) และไว้วางใจสิ่งแวดล้อม(trust)
ทารกต้องวางใจโลกและมั่นใจว่าโลกนี้มีแม่จึงจะพัฒนา เริ่มคลาน เริ่มนั่ง และตั้งไข่ในตอนปลายของขวบปีที่1 พร้อมที่จะก้าวสู่ขวบปีที่ 2
ขวบปีแรกเหมือนฐานแรกของปิรามิดซัคคาราคือใหญ่ที่สุด หนาที่สุด กว้างที่สุด แข็งแรงทนทานที่สุด นี่คือฐานรากของลูกๆของเรา ฐานดีที่เหลือก็สร้างง่าย สบายมาก ฐานไม่ดีที่เหลือก็เตรียมตัวพัง ฐานดีโตไปทุบยังงัยก็ไม่พัง อย่างมากก็สะบักสะบอมตรงยอดๆ แต่ฐานนั้นแน่นปึ้กไม่มีถอย
ภาพจาก en.wikipedia.org
เลี้ยงลูกให้ดีเพื่อส่งต่อ รร ตอนที่ 13 : วันหนึ่งลูกต้องจากเราไป ลูก "ไปจากเราด้วยขาตนเอง" ครั้งแรกประมาณเดือนที่13หลังจากตั้งไข่ได้ เขาเตาะแตะไป2ก้าวแล้วหันมามองเพื่อให้แน่ใจว่า "แม่ยังอยู่" เขาเตาะแตะต่อไปแล้วหันมามองเป็นระยะ "แม่ยังอยู่" เขาจะไปไกลมากขึ้นเรื่อยๆและหันมามองน้อยลงทุกทีตามเวลาที่ผ่านไป "แม่ยังอยู่" เวลาผ่านไปเขา "ปีกกล้าขาแข็ง" ไปไกลขึ้นๆ
นี่คือปฐมบทของการสร้างสิ่งที่เรียกว่า "สายสัมพันธ์" หรือ "attachment" กับคุณแม่ คือสายใยที่มองไม่เห็นล่ามลูกกับแม่ไว้เสมอไม่ว่าเขาจะเดินจากไปไกลเท่าไรในอนาคต
สายใยนี้คือตัวกำหนดพฤติกรรมอยู่กับร่องกับรอยของเด็กๆ สายใยนี้จะคงอยู่ตลอดไปนานแสนนาน
นี่คือปฐมบทของการสร้างสิ่งที่เรียกว่า "สายสัมพันธ์" หรือ "attachment" กับคุณแม่ คือสายใยที่มองไม่เห็นล่ามลูกกับแม่ไว้เสมอไม่ว่าเขาจะเดินจากไปไกลเท่าไรในอนาคต
สายใยนี้คือตัวกำหนดพฤติกรรมอยู่กับร่องกับรอยของเด็กๆ สายใยนี้จะคงอยู่ตลอดไปนานแสนนาน
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 14 : ทารกวัย 2-3 ขวบ เป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตเพราะเป็นช่วงที่ทารกจะสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแร็งและแน่นแฟ้นที่สุดกับผู้เลี้ยงดู สายสัมพันธ์นี้จะล่ามลูกไว้กับแม่ตลอดไป ยืนยาวไปตลอดกาล เมื่อลูกเติบใหญ่ไปเรียนที่ไกล เขาจะยังคงหันมาดูพ่อแม่เสมอเสมือนหนึ่งเพิ่งเตาะแตะจากไปตอนเดือนที่ 13 จะทำอะไรก็วางใจว่ามีพ่อแม่เป็นกองหลัง จะเหลวไหลก็คิดก่อนทำเพราะพ่อแม่อยู่ในใจ
บัดนี้ลูกมีทั้งแม่และสายสัมพันธ์ที่ล่ามไว้กับแม่แล้ว
แม้ว่าผู้เป็นพ่อแม่จะตายไปแล้ว สายสัมพันธ์ก็คงอยู่
บัดนี้ลูกมีทั้งแม่และสายสัมพันธ์ที่ล่ามไว้กับแม่แล้ว
แม้ว่าผู้เป็นพ่อแม่จะตายไปแล้ว สายสัมพันธ์ก็คงอยู่
เลี้ยงลูกให้ดีเพื่อส่งต่อให้ รร ตอนที่ 15 : ตัวตน(self)
"ตัวตน" มิได้หมายถีงร่างกาย แต่หมายถึงสภาวะของจิตใจที่รับรู้ว่าตนเองเป็นใคร ทำอะไร มาจากไหน แล้วจะไปไหน ตัวตนเป็นพลวัต(dynamic) ไม่อยู่นิ่ง(static)
ทารกพัฒนา "ตัวตน" มาเรื่อยๆตั้งแต่อายุ6เดือนโดยมี "แม่ที่มีอยู่จริง" เป็นเสาหลักและมี "สายสัมพันธ์" ที่ล่ามกับแม่เป็นท่อหล่อเลี้ยง
ทารกจะมีตัวตนที่เข้มข้นอย่างมากเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง จากนั้นจะแยกตัวเองเป็นบุคคลอิสระเมื่อประมาณอายุครบ 3 ขวบ
บัดนี้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว!
จะสมบูรณ์หรือเปล่า นาทีทองก็ผ่านไปแล้ว
"ตัวตน" มิได้หมายถีงร่างกาย แต่หมายถึงสภาวะของจิตใจที่รับรู้ว่าตนเองเป็นใคร ทำอะไร มาจากไหน แล้วจะไปไหน ตัวตนเป็นพลวัต(dynamic) ไม่อยู่นิ่ง(static)
ทารกพัฒนา "ตัวตน" มาเรื่อยๆตั้งแต่อายุ6เดือนโดยมี "แม่ที่มีอยู่จริง" เป็นเสาหลักและมี "สายสัมพันธ์" ที่ล่ามกับแม่เป็นท่อหล่อเลี้ยง
ทารกจะมีตัวตนที่เข้มข้นอย่างมากเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง จากนั้นจะแยกตัวเองเป็นบุคคลอิสระเมื่อประมาณอายุครบ 3 ขวบ
บัดนี้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว!
จะสมบูรณ์หรือเปล่า นาทีทองก็ผ่านไปแล้ว
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 16 : ขวบปีแรกเปรียบเหมือนฐานแรกของปิรามิด ขวบปีที่ 2-3 เปรียบเหมือนฐานที่สองของปิรามิด
ขวบปีแรก ลูกพัฒนาความสามารถที่จะไว้ใจ(trust)สิ่งแวดล้อมและแม่
ขวบปีที่ 2-3 ลูกพัฒนาแม่ที่มีอยู่จริง(object) สายสัมพันธ์ (attachment) และตัวตน (self)
สามขวบปีแรกสำคัญมาก ฐานที่แน่น หนาปึ้ก แข็งแรง รองรับชีวิตทั้งหมดที่เหลือ
ขวบปีแรก ลูกพัฒนาความสามารถที่จะไว้ใจ(trust)สิ่งแวดล้อมและแม่
ขวบปีที่ 2-3 ลูกพัฒนาแม่ที่มีอยู่จริง(object) สายสัมพันธ์ (attachment) และตัวตน (self)
สามขวบปีแรกสำคัญมาก ฐานที่แน่น หนาปึ้ก แข็งแรง รองรับชีวิตทั้งหมดที่เหลือ
เลี้ยงลูกให้ดีตอนที่ 17 : ก่อน 3 ขวบหรือแม้เมื่อ 3 ขวบแล้ว หากเด็กปราศจากความมั่นใจว่า "แม่มีจริง" อาจจะทำให้เกิดอาการไม่ยอมไป รร ในวันหน้า
ไม่ไป รร หรือ กลัว รร หรือ school refusal หรือ school phobia เด็กมิได้กลัว รร จริงๆแต่ที่แท้เขากลัวการพลัดพรากจากแม่(separation) เพราะอะไรที่เรียกว่าแม่นั้นไม่ชัด ไม่แน่น ไม่เห็นคือไม่มี จึงไม่ยอมจากแม่เข้ารั้ว รร เสียที
ถ้าพอทำได้ ไม่ควรส่งลูกไป รร หรือสถานเลี้ยงเด็กที่ไหนก่อน 3 ขวบ เพราะเป็นการฝืนความพร้อมตามธรรมชาติ
เวลาเด็กไม่ยอมไป รร มีหลายครั้งที่แม่เองคือตัวปัญหา แม่มีท่าทีติดหรือหลงลูกมากเกินทำให้ตนเองพัวพันลูกเกินพอดีแล้วทำให้ลูกงอแงเวลาไป รร
ภาพจากBBC
ไม่ไป รร หรือ กลัว รร หรือ school refusal หรือ school phobia เด็กมิได้กลัว รร จริงๆแต่ที่แท้เขากลัวการพลัดพรากจากแม่(separation) เพราะอะไรที่เรียกว่าแม่นั้นไม่ชัด ไม่แน่น ไม่เห็นคือไม่มี จึงไม่ยอมจากแม่เข้ารั้ว รร เสียที
ถ้าพอทำได้ ไม่ควรส่งลูกไป รร หรือสถานเลี้ยงเด็กที่ไหนก่อน 3 ขวบ เพราะเป็นการฝืนความพร้อมตามธรรมชาติ
เวลาเด็กไม่ยอมไป รร มีหลายครั้งที่แม่เองคือตัวปัญหา แม่มีท่าทีติดหรือหลงลูกมากเกินทำให้ตนเองพัวพันลูกเกินพอดีแล้วทำให้ลูกงอแงเวลาไป รร
ภาพจากBBC
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 18 : เวลาวิกฤตในการสร้างสายสัมพันธ์ให้แข็งแรงคือตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ หากเด็กขาด "สายสัมพันธ์" ที่แข็งแรงกับแม่ เด็กจะใช้ชีวิตในอนาคตเสมือนหนึ่งเรือที่ไร้สมอหรือสมอปักพื้นไม่แน่นหรือเชือกที่ไม่แข็งแรงพร้อมจะขาด
เด็กจะออกนอกเส้นทางง่ายกว่า เลี้ยวเข้าหาอบายมุขง่ายกว่า ใช้พฤติกรรมเสี่ยง หรือออกจากบ้านแล้วหาทางกลับไม่ถูก(เพราะมัวแต่เที่ยวสนุกเพลิดเพลิน)
ในทางตรงข้ามหากสายสัมพันธ์แข็งแกร่งไปไหนไกลก็กลับมา ถูกอบายมุขล่อลวงก็หันมาดูพ่อแม่(ซึ่งนั่งรออยู่ที่บ้าน) แม้ออกเรือนไปแล้วหรือพ่อแม่ตายหมดแล้ว คำสอนและพ่อแม่ก็ยังอยู่ในใจเป็นสายใยที่ดึงรั้งให้ประคองชีวิตให้ดี
เด็กจะออกนอกเส้นทางง่ายกว่า เลี้ยวเข้าหาอบายมุขง่ายกว่า ใช้พฤติกรรมเสี่ยง หรือออกจากบ้านแล้วหาทางกลับไม่ถูก(เพราะมัวแต่เที่ยวสนุกเพลิดเพลิน)
ในทางตรงข้ามหากสายสัมพันธ์แข็งแกร่งไปไหนไกลก็กลับมา ถูกอบายมุขล่อลวงก็หันมาดูพ่อแม่(ซึ่งนั่งรออยู่ที่บ้าน) แม้ออกเรือนไปแล้วหรือพ่อแม่ตายหมดแล้ว คำสอนและพ่อแม่ก็ยังอยู่ในใจเป็นสายใยที่ดึงรั้งให้ประคองชีวิตให้ดี
เลี้ยงลูกให้ดีๆ ตอนที่ 19 : เด็กที่ตัวตน(self)ไม่แข็งแรงจะอยู่ยาก ปรับตัวยาก ไม่มั่นคง ไม่คงเส้นคงวา ไม่รู้ว่าตนเองคืออะไรจึงไม่รู้จะใช้อะไรไปดำรงชีวิต เศร้าง่าย และสงสัยความมีอยู่ของตนเอง อาการเหล่านี้มากบ้างน้อยบ้างขึ้นๆลงๆ ตัวอย่างร้ายแรง เช่น วัยรุ่นที่กรีดข้อมือตนเองเป็นตัวอย่างของคนที่สงสัยความมีอยู่ของตนเอง คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเชื่อมโยงวิธีเลี้ยงลูกวันนี้กับผลลัพธ์วัยรุ่นในวันหน้า แรกเกิดถึง3ขวบเป็นเวลาสำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ กอด เล่น อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำง่าย ลงทุนน้อย กำไรหลายเท่าตัว
เลี้ยงลูกให้ดี ตอนที่ 20 : ก่อนจะถึงปัญหาเด็กไม่ไป รร เพราะกลัวการพลัดพรากจากแม่เนื่องจากความมีอยู่จริงของแม่ไม่ชัด หรือปัญหาวัยรุ่นกรีดข้อมือเพราะตัวตนไม่ชัด เด็กเล็กอาจจะแสดงออกถึงความไม่ชัดของแม่ก่อนแล้ว เช่น ไม่ให้คุณแม่ปิดประตูห้องน้ำ เพราะไม่เห็นคือไม่มี เด็กบางคนขอคุณแม่ร้องเพลงออกมาจากห้องน้ำถึงยอมให้คุณแม่เข้าห้องน้ำได้
ที่มา :: น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น