
สอนลูกให้มีวินัย พ่อแม่เริ่มสร้างได้ตั้งแต่เล็กๆ โดยใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ EF (Executive Function) ที่หมายถึง ความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งต้องเป็นเป้าหมายของลูกไม่ใช่ของพ่อแม่ ตามสไตล์ของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ คืออะไร สำคัญต่อการเลี้ยงลูกอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
หลักการของ EF
1. ดูแลตัวเองได้
คือ การให้เด็กได้ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาและฝึกฝนตนเองให้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยบอก มีหลักการ 4 อย่าง ดังนี้
1. ดูแลตัวเองได้
คือ การให้เด็กได้ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาและฝึกฝนตนเองให้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยบอก มีหลักการ 4 อย่าง ดังนี้
- การดูแลร่างกายของตัวเอง เช่น การกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว ปัสสาวะ หรืออุจจาระเองได้ ซึ่งพ่อแม่สามารถฝึกลูกน้อยได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ สำหรับการกินข้าวเอง จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทุกอย่างเป็นชุด หากพ่อแม่ยังคอยป้อนข้าวลูกน้อยอยู่ ก็จะทำให้เด็กไม่เกิดเป็น EF
- การดูแลรอบๆ ร่างกายของตัวเอง สามารถเริ่มกับลูกน้อยที่มีอายุ 3-5 ขวบ เช่น การเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ การเก็บที่นอนให้เข้าที่หลังจากตื่นนอน
- การดูแลงานบ้าน พ่อแม่สามารถเริ่มฝึกให้กับลูกน้อยตั้งแต่อายุ 6-7 ปีขึ้นไป เช่น ล้างจาน ตากผ้า เก็บขยะ กวาดบ้าน ถูบ้าน ซึ่งพื้นฐานของการทำงานบ้านแบบ EF นั่นเป็นการทำให้เด็กได้ขยับนิ้วมือ ขยับสมองมากกว่าการทำให้บ้านสะอาด
- การดูแลนอกบ้าน หรือการทำตามกฎของสังคม เช่น กินข้าวในร้านอาหาร การวิ่งเล่นตามในห้าง และการเข้าคิว

2. เอาตัวรอดได้ จากสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ
- การดูแลรอบๆ ร่างกายของตัวเอง สามารถเริ่มกับลูกน้อยที่มีอายุ 3-5 ขวบ เช่น การเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ การเก็บที่นอนให้เข้าที่หลังจากตื่นนอน
- การดูแลงานบ้าน พ่อแม่สามารถเริ่มฝึกให้กับลูกน้อยตั้งแต่อายุ 6-7 ปีขึ้นไป เช่น ล้างจาน ตากผ้า เก็บขยะ กวาดบ้าน ถูบ้าน ซึ่งพื้นฐานของการทำงานบ้านแบบ EF นั่นเป็นการทำให้เด็กได้ขยับนิ้วมือ ขยับสมองมากกว่าการทำให้บ้านสะอาด
- การดูแลนอกบ้าน หรือการทำตามกฎของสังคม เช่น กินข้าวในร้านอาหาร การวิ่งเล่นตามในห้าง และการเข้าคิว

2. เอาตัวรอดได้ จากสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ
เช่น เป้าหมาย คือ อยากซิ่งมอเตอร์ไซค์ ดังนั้น EF คือขี่มอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย ต้องควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดี หรือ เป้าหมาย คือมีเซ็กส์ในคืนวันวาเลนไทน์ ดังนั้น EF คือ การมีเซ็กส์แบบสวมถุงยางอนามัย โดยผ่านการควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดีและมีสายสัมพันธ์กับแม่ที่แข็งแรง เพราะสายสัมพันธ์ของแม่จะดึงรั้งสติของลูกไว้เสมอ เช่น หน้าแม่ลอยมา
3. มีอนาคตที่สร้างได้
#มองไปข้างหน้า การมีแรงจูงใจ มีความมุ่งมั่น ความหลงใหลในความชอบ
#วางแผน
#ลงมือทำ
#รับผิดชอบ
#ยืดหยุ่น ปรับเป้าหมาย ปรับแผนได้ตลอดเวลา ไม่โทษตัวเอง ไม่โทษผู้อื่น
องค์ประกอบของ EF
1. การควบคุมตัวเอง (self control)
#วางแผน
#ลงมือทำ
#รับผิดชอบ
#ยืดหยุ่น ปรับเป้าหมาย ปรับแผนได้ตลอดเวลา ไม่โทษตัวเอง ไม่โทษผู้อื่น
องค์ประกอบของ EF
1. การควบคุมตัวเอง (self control)
สำคัญที่สุด จะทำได้ต้องผ่านกระบวนการ 3 ส่วนคือ
1 จดจ่อได้นาน (focus)
2 ไม่วอกแวก (distraction)
3 รู้จักประวิงเวลามีความสุข (delayed gratification) หรืออดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากแค่ไหนก็จะทนให้ผ่าน
2. ความจำพร้อมใช้ (working memory)
2 ไม่วอกแวก (distraction)
3 รู้จักประวิงเวลามีความสุข (delayed gratification) หรืออดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากแค่ไหนก็จะทนให้ผ่าน
2. ความจำพร้อมใช้ (working memory)
เมื่อถึงสถานการณ์ ความจำต้องพร้อมใช้เสมอๆ โดยที่พ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาลูกน้อยด้วยการปล่อยให้ลูกได้เล่นและฝึกทำงานบ้าน เพราะทั้งสองกิจกรรมจำเป็นต้องบริหารความจำตลอดเวลา เนื่องจากความจำใช้งานจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลงมือทำ ไม่ได้เกิดจากการนั่งเรียนตามทฤษฎี


3. การคิดวิเคราะห์ยืดหยุ่น (cognitive flexibility)
เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผ่านการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนตัวแปร เปลี่ยนกระบวนการคิด เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ด้วยการส่งเสริมให้ลูกๆ เล่นตั้งแต่ช่วง 2-7 ขวบ และในช่วง 8-12 ปี เนื่องจากทั้งสองช่วงนี้สมองของเด็กจะวางโครงสร้างด้านตรรกะ การใช้เหตุผล แล้วจึงนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นพลิกแพลงต่อไป
นอกจากนี้ คุณหมอยังได้แนะนำกิจกรรมของลูกน้อยหลังจากกลับมาจากโรงเรียน เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะกลับถึงบ้านประมาณ 17:30 น. ทำให้ลูกน้อยมีเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันให้เสร็จ ตั้งแต่เวลา 18.00-21.00 น. รวม 3 ชั่วโมง ตามลำดับ ดังนี้
งานบ้าน : เป็นอันดับแรกๆ ที่พ่อแม่ควรจะบอกให้ลูกน้อยได้ทำ เพราะการให้เด็กได้ทำงานบ้านนั้นจะเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กนึกถึงส่วนรวมมากกว่าตนเอง
การบ้าน : สำหรับวันไหนที่ลูกน้อยไม่มีการบ้าน พ่อแม่อาจหาแบบฝึกหัดเสริมมาให้ลูกได้ทำก็ได้ ส่วน 2 อย่างนี้ ทั้งงานบ้านและการบ้าน ต้องบอกให้เด็กทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะไปเล่น เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และยอมลำบากก่อนสบายทีหลัง
การเล่น : เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในวัยเด็ก เพราะเขาจะได้รู้สึกถึงความผ่อนคลาย พ่อแม่สามารถให้การเล่นที่ลูกน้อยอยากจะทำเป็นรางวัลหลังจากที่ยอมฝืนทำในสิ่งที่ตนไม่สนุกมาก่อนแล้วจนเสร็จ
อ่านนิทานก่อนนอน : ก่อนที่ลูกจะนอน พ่อแม่อาจใช้กิจกรรมนี้เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ และลูก ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยตื่นเต้นมากนัก เพื่อเตรียมส่งลูกเข้านอน
ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักบริหารเวลาทำกิจวัตรเหล่านี้ด้วยตนเอง พ่อแม่ต้องไม่บอกว่าเวลาไหนควรทำอะไร ปล่อยให้เขาได้บริหารจัดการเวลาเอาเอง ซึ่งปกติเด็กมักจะรบทำงานบ้านและการบ้านให้เสร็จเร็วๆ เพราะจะไปเล่นได้นานขึ้น โดยเด็กจะเริ่มลูกรู้จักบริหารเวลาเมื่อมีอายุได้ 2-8 ขวบ
ที่มา :: https://www.sanook.com/women/103709/
การบ้าน : สำหรับวันไหนที่ลูกน้อยไม่มีการบ้าน พ่อแม่อาจหาแบบฝึกหัดเสริมมาให้ลูกได้ทำก็ได้ ส่วน 2 อย่างนี้ ทั้งงานบ้านและการบ้าน ต้องบอกให้เด็กทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะไปเล่น เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และยอมลำบากก่อนสบายทีหลัง
การเล่น : เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในวัยเด็ก เพราะเขาจะได้รู้สึกถึงความผ่อนคลาย พ่อแม่สามารถให้การเล่นที่ลูกน้อยอยากจะทำเป็นรางวัลหลังจากที่ยอมฝืนทำในสิ่งที่ตนไม่สนุกมาก่อนแล้วจนเสร็จ
อ่านนิทานก่อนนอน : ก่อนที่ลูกจะนอน พ่อแม่อาจใช้กิจกรรมนี้เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ และลูก ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยตื่นเต้นมากนัก เพื่อเตรียมส่งลูกเข้านอน
ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักบริหารเวลาทำกิจวัตรเหล่านี้ด้วยตนเอง พ่อแม่ต้องไม่บอกว่าเวลาไหนควรทำอะไร ปล่อยให้เขาได้บริหารจัดการเวลาเอาเอง ซึ่งปกติเด็กมักจะรบทำงานบ้านและการบ้านให้เสร็จเร็วๆ เพราะจะไปเล่นได้นานขึ้น โดยเด็กจะเริ่มลูกรู้จักบริหารเวลาเมื่อมีอายุได้ 2-8 ขวบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น