Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

การรับบุตรบุญธรรม

 การรับบุตรบุญธรรม



หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม




1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย

3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อและแม่กรณีที่มีทั้งพ่อและแม่ พ่อหรือแม่ กรณีที่แม่หรือพ่อตายหรือถูกถอนอำนาจการปกครองถ้าไม่มีผู้มีอำนาจผู้ให้ความยินยอม หรือกรณีพ่อหรือแม่ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนการให้ความยินยอมก็ได้ถ้าผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ หรือสถาบันซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั้งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานสงเคราะห์หรือของบุคคลดังกล่าว

4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีที่คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น


ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ

ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต แห่งใดก็ได้

ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ความสามารถที่จะเลี้ยงดูเด็ก ดูสภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ จากนั้นจึงจะออก "หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม"

ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม

ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม

เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียน ด้วย



การรับบุตรบุญธรรม


การรับบุตรบุญธรรม

ชาวบริติชที่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร ซึ่งประสงค์จะรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม (ไม่ว่าจะเป็นเด็กจากบ้านเด็กกำพร้า หรือเด็กที่เป็นลูกติดของคู่สมรสตนเอง หรือเด็กที่เป็นหลานของคู่สมรสตนเอง) ควรยื่นคำขอต่อ Department for Education (สำหรับ Great Britain) หรือ Department of Health (สำหรับ Northern Ireland) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม และจะส่งเรื่องไปที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม 

บุตรบุญธรรมที่ได้มีการจดทะเบียนโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่อบิดามารดาบุญธรรมดังนี้ คือ 
1.    มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียให้ได้รับการศึกษา มีสิทธิได้ใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม และมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย 
2.    มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาบุญธรรม ทำนองเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย 

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาบุญธรรม 
1.    บิดามารดาบุญธรรมมีสิทธิใช้อำนาจปกครองกับบุตรบุญธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับบิดามารดากับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นบุตรบุญธรรมจึงต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรบุญธรรม ทำโทษบุตรบุญธรรมตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน เป็นต้น 
2.    บิดามารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม แต่สามารถรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมแทน 
3.    บิดามารดาบุญธรรมมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมทำนองเดียวกับบิดามารดาซึ่งมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยชอบกฎหมาย 

 

คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

·        ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และแก่กว่าผู้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

·        ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ความยินยอมด้วย

·        กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน

·        กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาได้เลย ทั้งนี้ ไม่มีการจำกัดอายุของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

·        ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสไปให้ความยินยอม
– หากเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
– หากผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติจะต้องมีคู่สมรส ยกเว้นผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
– ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่
– การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทยแล้วเท่านั้น

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

ก. ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก 

ผู้ขอรับเด็กต้องติดต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือหน่วยงานที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย หรือองค์การเอกชนที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเรื่องบุตรบุญธรรม เพื่อจัดหาเอกสารต่างๆ ดังนี้

  • รายงานการศึกษา ภาพครอบครัวของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • หนังสือรับรองความเหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • หนังสือรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนไม่เกินสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลาหกเดือน
  • แบบคำขอรับบุตรบุญธรรม (Application Form)
  • เอกสารรับรองสุขภาพของผู้ขอรับเด็กจากแพทย์
  • เอกสารรับรองการสมรส
  • ทะเบียนหย่า (กรณีได้เคยสมรสมาก่อน)
  • เอกสารรับรองอาชีพและรายได้
  • เอกสารรับรองการเงิน
  • เอกสารรับรองทรัพย์สิน
  • เอกสารรับรองจากผู้อ้างอิง 2 คน
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. คนละ 4 รูป
  • เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศนั้นรับรองการอนุญาตให้เด็กเข้าประเทศได้
  • กรณีติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนจะต้องมีสำเนาในอนุญาตขององค์กร และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์กรนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้

เอกสารทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้ขอรับเด็กอยู่หรือจัดส่งผ่านช่องทางทางการทูต

ข. ฝ่ายที่จะยกเด็กให้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
  • ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส
  • ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาล
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอตามแบบ ปค.14 รับรองว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรและได้เลิกร้างกันไปเป็นเวลานานกี่ปีด้วย
  • หนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)
  • บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค.14
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. ของบิดามารดาเด็กคนละ 1 รูป
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม)

ค. ฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  • สูติบัตรเด็ก
  • ทะเบียนบ้านเด็ก
  • รูปถ่ายเด็กขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. 1 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นขอเพิ่ม)

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง

·        เมื่อได้รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบสมบูรณ์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ (นักสังคมสงเคราะห์) จะพิจารณาว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจน สุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะประมวลรายละเอียดต่างๆ เสนอให้อธิบดีพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็ก หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง คณะกรรมการ ฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่ไปในคราวเดียวกันด้วยเลย

·        กรณีที่ขอรับเด็กกำพร้าของกรมกิจการเด็กและเยาวชน  เมื่อคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็กแล้วคณะกรรมการการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมจะพิจารณาคัดเลือกเด็กกำพร้าของกรม ฯ ให้แก่ผู้ขอรับตามบัญชีก่อนหลัง

·        กรมกิจการเด็กและเยาวชนจะแจ้งประวัติเด็กพร้อมรูปถ่ายให้ผู้ขอรับพิจารณาผ่านหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องนี้มา

·        เมื่อผู้ขอรับแจ้งตอบรับเด็กให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนทราบแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอให้คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับเด็กรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดยขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ก่อนนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรไทยเพื่อทดลองเลี้ยงดู

·        เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์อนุญาต กรมกิจการเด็กและเยาวชน จะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็กมารับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในต่างประเทศจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน  2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรณีลูกติดที่เดินทางมาอยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว ก็จะสามารถลดขั้นตอนนี้ได้บ้างตามสัดส่วนระยะเวลาการเลี้ยงในช่วงที่ผ่านมา)

·        เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาครบ 3 ครั้ง ซึ่งหากปรากฏว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอยู่อาศัยกับครอบครัวผู้ขอรับอย่างมีความสุข พนักงานเจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการ ฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้

·        ผู้ขอรับจะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนจะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงการต่างประเทศผ่านกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยทราบ พร้อมกันนี้ก็แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้กับผู้ขอรับเด็กได้ทราบพร้อมกันนั้นด้วยกรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย การจดทะเบียนสามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย

·        กระทรวงการต่างประเทศจะส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด มาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ และสำหรับผู้ขอรับเด็กที่อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะขอสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด จากผู้ขอรับเด็กไว้เป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วเช่นกันนั้นด้วย


การเลิกรับบุตรบุญธรรม 
การเลิกรับบุตรบุญธรรม มีได้ 3 ประการคือ 
1.    การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลง เกิดจากความตกลงของผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว 
2.    การเลิกเมื่อมีการสมรสกัน แม้ว่ากฎหมายจะห้ามผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่ได้มีความผูกพันทางสายโลหิต การสมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่เสื่อมเสียหรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด การสมรสดังกล่าวมีผลเป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรมตั้งแต่เวลาที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่ต้องจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก 
3.    การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำสั่งศาล ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยมีมูลเหตุตามที่กฎหมายกำหนด 

 



 Child Adoption   ,   Adopted  Child  ,  

CR  ::   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ,  https://london.thaiembassy.org/th/

ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเล (Seafood Curry Omelette)

 

ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเล (Seafood Curry Omelette)



 "ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเลสูตรอร่อย" เมนูข้าวกล่องไปทำงานง่าย ๆ มือใหม่ก็ทำได้ จะทำให้แฟน  หรือทำกินเองก็อร่อย สามารถเตรียมวัตถุดิบแช่ตู้เย็นไว้ได้ตั้งแต่กลางคืน ตอนเช้าก็แค่หุงข้าว แล้วจัดการทำตามสูตรกันเลย ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเลหอม ๆ ราดบนข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยจนอยากขอเบิลแน่นอน 

เมนูข้าวกล่องไปทำงาน

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม 


1. ไข่ไก่ 2-3 ฟอง
2. หมึกสดล้างหั่นแว่น 1 ตัว 
3. กุ้งสดแกะเปลือกผ่าหลัง 3-4 ตัว
4. ใบโหระพา
5. ใบมะกรูดซอย
6. พริกชี้ฟ้าหั่นสำหรับตกแต่ง
7. ผงปรุงรสหมู 1 ช้อนชา
8. น้ำปลา 1 ช้อนชา 
9. พริกแกงเผ็ด 1 ช้อนชา
10. นมข้นจืด 3 ช้อนโต๊ะ
11. น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
12. ข้าวเปล่า


ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเลวิธีทำ

  1. จัดการทำความสะอาดกุ้ง โดยนำหัวและเปลือกกุ้งออกพร้อมกับผ่าหลัง แล้วดึงเส้นดำหลังกุ้งทิ้ง ล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง แล้วพักไว้
  2. นำหมึกไปล้างทำความสะอาด แล้วบั้งหรือหั่นเป็นชิ้นตามชอบแล้วพักไว้
  3. ตอกไข่ใส่ชามแล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา, ผงปรุงรส, พริกแกงเผ็ดและนมข้นจืด ตีผสมให้เข้ากันจนพริกแกงละลายไม่เป็นก้อน
  4. นำกระทะตั้งไฟ พอร้อนใส่น้ำมันแล้วนำหมึกและกุ้งที่พักไว้ลงไปผัดจนสุก ใส่ใบโหระพาตามลงไปผัด
  5. นำไข่ที่ผสมไว้ราดลงไปให้ทั่ว เบาไฟลงเป็นไฟกลางแล้วใช้ตะหวิวค่อย ๆ ตะล่อมไข่เข้ามาตรงกลาง
  6. เมื่อได้ความสุกเยิ้มตามต้องการแล้วใส่ใบมะกรูดซอยลงไปเพิ่มกลิ่นหอม
  7. ตักข้าวใส่กล่องข้าวหรือภาชนะที่จะใช้รับประทาน จากนั้นนำไข่ข้นห่อหมกทะเลสูตรอร่อยราดโปะลงไป แล้วโรยพริกชี้ฟ้าซอยสำหรับตกแต่ง (ไม่มีไม่ต้องใส่ก็ได้)
  8. พร้อมเสิร์ฟ



#ข้าวไข่ข้นห่อหมกทะเล   #ข้าวไข่ข้น   #ห่อหมกทะเล   #เมนูข้าวกล่องสุดฮิต   #วิธีทำห่อหมกทะเลง่ายๆ   #เมนูไข่   #เมนูข้าวกล่องง่ายๆ   #เมนูข้าวกล่องน่ากิน   #เมนูข้าวกล่องทำเอง  #ห่อหมกทะเลไข่ข้น   (Seafood Curry Omelette)


CR   ::   https://food.trueid.net/creator-food/clips/lZ1KY3a5vLW9

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568

บริการกงสุลสัญจร เมืองแมนเชสเตอร์ 2025

บริการกงสุลสัญจร เมืองแมนเชสเตอร์ 2025



บริการกงสุลสัญจร เมืองแมนเชสเตอร์ 29-30 มี.ค. 2568


บริการกงสุลสัญจร เมืองแมนเชสเตอร์

Mobile consular services at Manchester



วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 09.30 - 16.30 น.

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 09.30 - 13.00 น.

วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์

Moss Lane, Kearsley Bolton, Manchester BL4 8SF


Saturday, 29 March 2025 at 09.30-16.30 hrs.

Sunday, 30 March 2025 at 09.30 -13.00 hrs.

Wat Sriratanaram Monastery

Moss Lane, Kearsley Bolton , Manchester BL4 8SF


ลงทะเบียนรับบริการได้ที่ลิงก์บนเว็บไซต์

london.thaiembassy.org

และเฟซบุ๊ก facebook.com/ThaiEmbLondon

ตั้งแต่วันพุธที่ 12 มีนาคม 2568

เวลา 10.00 น เป็นตันไป จนกว่าจะครบจำนวน


london.thaiembassy.org


facebook.com/ThaiEmbLondon



####################################################


การทำหนังสือเดินทาง  (Passport) ในสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน  


หนังสือเดินทางทั่วไป (Passport)





1 เอเคอร์ เท่ากับ กี่ไร่

 

1 เอเคอร์ เท่ากับ กี่ไร่



1 เอเคอร์ เท่ากับกี่ไร่

สำหรับการคำนวณ ไร่ โดยแปลงจาก เอเคอร์เท่ากับกี่ไร่ ให้ใช้สูตรดังนี้

แปลงค่า 1 เอเคอร์ ไปยัง ไร่

1 เอเคอร์ เท่ากับ 2.53 ไร่

แปลงค่า 1 ไร่ ไปยังเอเคอร์

1 ไร่ เท่ากับ 0.40 เอเคอร์


ตารางเปรียบเทียบ แปลงเอเคอร์เป็นไร่

เอเคอร์ไร่
100 เอเคอร์253 ไร่
200 เอเคอร์506 ไร่
300 เอเคอร์759 ไร่
400 เอเคอร์1,012 ไร่
500 เอเคอร์1,265 ไร่
600 เอเคอร์1,518 ไร่
700 เอเคอร์1,771 ไร่
800 เอเคอร์2,024 ไร่
900 เอเคอร์2,277 ไร่
1000 เอเคอร์2,530 ไร่


ตารางเปรียบเทียบ แปลงไร่เป็นเอเคอร์

ไร่เอเคอร์
1 ไร่0.40 เอเคอร์
2 ไร่0.79 เอเคอร์
3 ไร่1.19 เอเคอร์
4 ไร่1.58 เอเคอร์
5 ไร่1.98 เอเคอร์
6 ไร่2.37 เอเคอร์
7 ไร่2.77 เอเคอร์
8 ไร่3.16 เอเคอร์
9 ไร่3.56 เอเคอร์
10 ไร่3.95 เอเคอร์
11 ไร่4.35 เอเคอร์
12 ไร่4.74 เอเคอร์
13 ไร่5.14 เอเคอร์
14 ไร่5.53 เอเคอร์
15 ไร่5.93 เอเคอร์
16 ไร่6.32 เอเคอร์
17 ไร่6.72 เอเคอร์
18 ไร่7.11 เอเคอร์
19 ไร่7.51 เอเคอร์
20 ไร่7.91 เอเคอร์
21 ไร่8.30 เอเคอร์
22 ไร่8.70 เอเคอร์
23 ไร่9.09 เอเคอร์
24 ไร่9.49 เอเคอร์
25 ไร่9.88 เอเคอร์
26 ไร่10.28 เอเคอร์
27 ไร่10.67 เอเคอร์
28 ไร่11.07 เอเคอร์
29 ไร่11.46 เอเคอร์
30 ไร่11.86 เอเคอร์
31 ไร่12.25 เอเคอร์
32 ไร่12.65 เอเคอร์
33 ไร่13.04 เอเคอร์
34 ไร่13.44 เอเคอร์
35 ไร่13.83 เอเคอร์
36 ไร่14.23 เอเคอร์
37 ไร่14.62 เอเคอร์
38 ไร่15.02 เอเคอร์
39 ไร่15.42 เอเคอร์
40 ไร่15.81 เอเคอร์
41 ไร่16.21 เอเคอร์
42 ไร่16.60 เอเคอร์
43 ไร่17.00 เอเคอร์
44 ไร่17.39 เอเคอร์
45 ไร่17.79 เอเคอร์
46 ไร่18.18 เอเคอร์
47 ไร่18.58 เอเคอร์
48 ไร่18.97 เอเคอร์
49 ไร่19.37 เอเคอร์
50 ไร่19.76 เอเคอร์
51 ไร่20.16 เอเคอร์
52 ไร่20.55 เอเคอร์
53 ไร่20.95 เอเคอร์
54 ไร่21.34 เอเคอร์
55 ไร่21.74 เอเคอร์
56 ไร่22.13 เอเคอร์
57 ไร่22.53 เอเคอร์
58 ไร่22.92 เอเคอร์
59 ไร่23.32 เอเคอร์
60 ไร่23.72 เอเคอร์
61 ไร่24.11 เอเคอร์
62 ไร่24.51 เอเคอร์
63 ไร่24.90 เอเคอร์
64 ไร่25.30 เอเคอร์
65 ไร่25.69 เอเคอร์
66 ไร่26.09 เอเคอร์
67 ไร่26.48 เอเคอร์
68 ไร่26.88 เอเคอร์
69 ไร่27.27 เอเคอร์
70 ไร่27.67 เอเคอร์
71 ไร่28.06 เอเคอร์
72 ไร่28.46 เอเคอร์
73 ไร่28.85 เอเคอร์
74 ไร่29.25 เอเคอร์
75 ไร่29.64 เอเคอร์
76 ไร่30.04 เอเคอร์
77 ไร่30.43 เอเคอร์
78 ไร่30.83 เอเคอร์
79 ไร่31.23 เอเคอร์
80 ไร่31.62 เอเคอร์
81 ไร่32.02 เอเคอร์
82 ไร่32.41 เอเคอร์
83 ไร่32.81 เอเคอร์
84 ไร่33.20 เอเคอร์
85 ไร่33.60 เอเคอร์
86 ไร่33.99 เอเคอร์
87 ไร่34.39 เอเคอร์
88 ไร่34.78 เอเคอร์
89 ไร่35.18 เอเคอร์
90 ไร่35.57 เอเคอร์
91 ไร่35.97 เอเคอร์
92 ไร่36.36 เอเคอร์
93 ไร่36.76 เอเคอร์
94 ไร่37.15 เอเคอร์
95 ไร่37.55 เอเคอร์
96 ไร่37.94 เอเคอร์
97 ไร่38.34 เอเคอร์
98 ไร่38.74 เอเคอร์
99 ไร่39.13 เอเคอร์
100 ไร่39.53 เอเคอร์


เอเคอร์ คืออะไร?

เอเคอร์เป็นหน่วยวัดพื้นที่ที่มักใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และบางประเทศอื่น รวมถึงประเทศที่ใช้ระบบวัดภูมิศาสตร์ขั้นสูง เอเคอร์เทียบเท่ากับ 4,047 ตารางเมตร หรือประมาณ 0.405 เฮกตาร์ หรือประมาณ 0.0016 ตารางไมล์ ในการใช้ประโยชน์ หนึ่งเอเคอร์มักจะใช้อธิบายขนาดของพื้นที่ที่ใช้ในการเอาต์ดอร์กิจกรรม เช่น ที่ดินเพาะปลูก หรือพื้นที่สัปปะรด.


ไร่ คืออะไร?

ไร่เป็นหน่วยวัดพื้นที่ที่ใช้ในประเทศไทย หนึ่งไร่เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร หรือ 0.16 เฮกตาร์ และสามารถแบ่งเป็น 4 งาน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวัดพื้นที่ดินทั้งในเชิงการเกษตรและเชิงอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่ดินที่มีขนาด 1 ไร่สามารถจัดสรรได้ในการทำเกษตรหรือนำไปใช้แบ่งขายหรือใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามความต้องการของผู้เรียกใช้หน่วยวัดนี้.


ความแตกต่างระหว่าง เอเคอร์ และ ไร่

เอเคอร์และไร่คือหน่วยการวัดพื้นที่ที่มีการใช้ในทางการเกษตรในการบรรยายขนาดของพื้นที่ที่ใช้ปลูกสัตว์เลี้ยงหรือพื้นที่ป่าไม้. เอเคอร์มาจากกฎหมายทางการเกษตรของอังกฤษเดิม เทียบกับหน่วยไร่ที่ใช้ในประเทศไทย 1 เอเคอร์เท่ากับ 2.47105 ไร่หรือ 4046.86 ตารางเมตร ส่วน 1 ไร่เท่ากับ 0.4047 แฮกตาร์หรือ 1,600 ตารางเมตร. ต่างกันโดยหน่วยวัดเอเคอร์นิยมใช้ในประเทศที่ใช้หน่วยวัดขนาดของสหรัฐและอังกฤษ ในขณะที่หน่วยวัดไร่ถูกใช้ในประเทศไทย


หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก


1 ตารางเซนติเมตร เท่ากับ 100 ตารางมิลลิเมตร

1 ตารางเมตร เท่ากับ 10,000 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 1,000,000 ตารางเมตร


หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ


1 ตารางฟุต เท่ากับ 144 ตารางหลา

1 ตารางหลา เท่ากับ 9 ตารางฟุต

1 เอเคอร์ เท่ากับ 4,840 ตารางหลา

1 ตารางไมล์ เท่ากับ 640 เอเคอร์


หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย



1 ไร่ = 4 งาน

1 ไร่ = 400 ตารางวา

1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร

1 งาน = 100 ตารางวา

1 งาน = 400 ตารางเมตร

1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร

100 ตารางวา = 400 ตารางเมตร

1 วา = 2 เมตร


หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก


1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตร

1 งาน เท่ากับ 400 ตารางเมตร

1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร

1,000,000 ตารางเมตร เท่ากับ 625 ไร่


หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)


1 ตารางนิ้ว เท่ากับ 6.4516 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางฟุต เท่ากับ 0.0929 ตารางเมตร

1 ตารางหลา เท่ากับ 0.8361 ตารางเมตร

1 เอเคอร์ เท่ากับ 4046.856 ตารางเมตร



1 เอเคอร์ เท่ากับ กี่ไร่   ,   #Acre   ,  #Rai  ,  #เอเคอร์   #ไร่   


ที่มา   ::    https://ny3rs.org/area-unit/acre-to-rai/  ,   https://prapasara.blogspot.com/2025/03/acre-rai.html