Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

การรับบุตรบุญธรรม

 การรับบุตรบุญธรรม



หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม




1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย

3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อและแม่กรณีที่มีทั้งพ่อและแม่ พ่อหรือแม่ กรณีที่แม่หรือพ่อตายหรือถูกถอนอำนาจการปกครองถ้าไม่มีผู้มีอำนาจผู้ให้ความยินยอม หรือกรณีพ่อหรือแม่ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนการให้ความยินยอมก็ได้ถ้าผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ หรือสถาบันซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั้งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานสงเคราะห์หรือของบุคคลดังกล่าว

4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีที่คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น


ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ

ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต แห่งใดก็ได้

ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ความสามารถที่จะเลี้ยงดูเด็ก ดูสภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ จากนั้นจึงจะออก "หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม"

ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม

ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม

เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียน ด้วย



การรับบุตรบุญธรรม


การรับบุตรบุญธรรม

ชาวบริติชที่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร ซึ่งประสงค์จะรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม (ไม่ว่าจะเป็นเด็กจากบ้านเด็กกำพร้า หรือเด็กที่เป็นลูกติดของคู่สมรสตนเอง หรือเด็กที่เป็นหลานของคู่สมรสตนเอง) ควรยื่นคำขอต่อ Department for Education (สำหรับ Great Britain) หรือ Department of Health (สำหรับ Northern Ireland) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม และจะส่งเรื่องไปที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม 

บุตรบุญธรรมที่ได้มีการจดทะเบียนโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่อบิดามารดาบุญธรรมดังนี้ คือ 
1.    มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียให้ได้รับการศึกษา มีสิทธิได้ใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม และมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย 
2.    มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาบุญธรรม ทำนองเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย 

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาบุญธรรม 
1.    บิดามารดาบุญธรรมมีสิทธิใช้อำนาจปกครองกับบุตรบุญธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับบิดามารดากับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นบุตรบุญธรรมจึงต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรบุญธรรม ทำโทษบุตรบุญธรรมตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน เป็นต้น 
2.    บิดามารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม แต่สามารถรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมแทน 
3.    บิดามารดาบุญธรรมมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมทำนองเดียวกับบิดามารดาซึ่งมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยชอบกฎหมาย 

 

คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

·        ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และแก่กว่าผู้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

·        ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ความยินยอมด้วย

·        กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน

·        กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาได้เลย ทั้งนี้ ไม่มีการจำกัดอายุของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

·        ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสไปให้ความยินยอม
– หากเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
– หากผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติจะต้องมีคู่สมรส ยกเว้นผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
– ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่
– การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทยแล้วเท่านั้น

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

ก. ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก 

ผู้ขอรับเด็กต้องติดต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือหน่วยงานที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย หรือองค์การเอกชนที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเรื่องบุตรบุญธรรม เพื่อจัดหาเอกสารต่างๆ ดังนี้

  • รายงานการศึกษา ภาพครอบครัวของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • หนังสือรับรองความเหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • หนังสือรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนไม่เกินสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลาหกเดือน
  • แบบคำขอรับบุตรบุญธรรม (Application Form)
  • เอกสารรับรองสุขภาพของผู้ขอรับเด็กจากแพทย์
  • เอกสารรับรองการสมรส
  • ทะเบียนหย่า (กรณีได้เคยสมรสมาก่อน)
  • เอกสารรับรองอาชีพและรายได้
  • เอกสารรับรองการเงิน
  • เอกสารรับรองทรัพย์สิน
  • เอกสารรับรองจากผู้อ้างอิง 2 คน
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. คนละ 4 รูป
  • เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศนั้นรับรองการอนุญาตให้เด็กเข้าประเทศได้
  • กรณีติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนจะต้องมีสำเนาในอนุญาตขององค์กร และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์กรนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้

เอกสารทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้ขอรับเด็กอยู่หรือจัดส่งผ่านช่องทางทางการทูต

ข. ฝ่ายที่จะยกเด็กให้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
  • ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส
  • ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาล
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอตามแบบ ปค.14 รับรองว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรและได้เลิกร้างกันไปเป็นเวลานานกี่ปีด้วย
  • หนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)
  • บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค.14
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. ของบิดามารดาเด็กคนละ 1 รูป
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม)

ค. ฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  • สูติบัตรเด็ก
  • ทะเบียนบ้านเด็ก
  • รูปถ่ายเด็กขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. 1 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นขอเพิ่ม)

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง

·        เมื่อได้รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบสมบูรณ์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ (นักสังคมสงเคราะห์) จะพิจารณาว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจน สุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะประมวลรายละเอียดต่างๆ เสนอให้อธิบดีพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็ก หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง คณะกรรมการ ฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่ไปในคราวเดียวกันด้วยเลย

·        กรณีที่ขอรับเด็กกำพร้าของกรมกิจการเด็กและเยาวชน  เมื่อคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็กแล้วคณะกรรมการการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมจะพิจารณาคัดเลือกเด็กกำพร้าของกรม ฯ ให้แก่ผู้ขอรับตามบัญชีก่อนหลัง

·        กรมกิจการเด็กและเยาวชนจะแจ้งประวัติเด็กพร้อมรูปถ่ายให้ผู้ขอรับพิจารณาผ่านหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องนี้มา

·        เมื่อผู้ขอรับแจ้งตอบรับเด็กให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนทราบแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอให้คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับเด็กรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดยขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ก่อนนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรไทยเพื่อทดลองเลี้ยงดู

·        เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์อนุญาต กรมกิจการเด็กและเยาวชน จะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็กมารับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในต่างประเทศจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน  2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรณีลูกติดที่เดินทางมาอยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว ก็จะสามารถลดขั้นตอนนี้ได้บ้างตามสัดส่วนระยะเวลาการเลี้ยงในช่วงที่ผ่านมา)

·        เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาครบ 3 ครั้ง ซึ่งหากปรากฏว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอยู่อาศัยกับครอบครัวผู้ขอรับอย่างมีความสุข พนักงานเจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการ ฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้

·        ผู้ขอรับจะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนจะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงการต่างประเทศผ่านกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยทราบ พร้อมกันนี้ก็แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้กับผู้ขอรับเด็กได้ทราบพร้อมกันนั้นด้วยกรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย การจดทะเบียนสามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย

·        กระทรวงการต่างประเทศจะส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด มาให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ และสำหรับผู้ขอรับเด็กที่อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะขอสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด จากผู้ขอรับเด็กไว้เป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วเช่นกันนั้นด้วย


การเลิกรับบุตรบุญธรรม 
การเลิกรับบุตรบุญธรรม มีได้ 3 ประการคือ 
1.    การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลง เกิดจากความตกลงของผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว 
2.    การเลิกเมื่อมีการสมรสกัน แม้ว่ากฎหมายจะห้ามผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่ได้มีความผูกพันทางสายโลหิต การสมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่เสื่อมเสียหรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด การสมรสดังกล่าวมีผลเป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรมตั้งแต่เวลาที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่ต้องจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก 
3.    การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำสั่งศาล ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยมีมูลเหตุตามที่กฎหมายกำหนด 

 



 Child Adoption   ,   Adopted  Child  ,  

CR  ::   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ,  https://london.thaiembassy.org/th/

6 ความคิดเห็น:

  1. สิทธิประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชน

    1. การสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในสถานแรกรับ/สถานสงเคราะห์/สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ/สถานพัฒนาและฟื้นฟู
    1.1 การดูแลเด็กในสถานแรกรับ (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มีสถานแรกรับเด็กชาย-หญิง จำนวน 2 แห่ง ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี
    1.2 การดูแลเด็กอ่อนในสถานสงเคราะห์ (รับเด็กแรกเกิด-5 ปี) มี 8 แห่ง ใน 7 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น สงขลา เชียงใหม่ อุดมธานี และนครศรีธรรมราช
    1.3 การดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็ก (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 15 แห่ง ใน 14 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สระบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา นครศรีธรรมราช และสงขลา
    1.4 การดูแลเด็กในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพเด็กและเยาวชน (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 1 แห่ง ที่จังหวัดศรีสะเกษ
    1.5 การดูแลเด็กในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 4 แห่ง ที่จังหวัดขอนแก่น ระยอง นนทบุรีและปทุมธานี
    1.6การดูแลเด็กในสถานพัฒนาและฟื้นฟู (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 4 แห่ง ที่จังหวัดชลบุรี ลำปาง หนองคายและสุราษฎร์ธานี 1.7 การจัดบริการที่พักชั่วคราวแก่เด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง โดยเป็นสถานแรกรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และเป็นสถานที่รับตัวชั่วคราวตามกฎหมาย 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ดำเนินการในบ้านพักเด็กและครอบครัว 36 แห่งทั่วประเทศ
    2. การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและพัฒนาเด็กในครอบครัวชุมชน
    2.1 สงเคราะห์เด็กในครอบครัว มีการจัดบริการสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน ประสบปัญหาความเดือดร้อนและสงเคราะห์เด็กนักเรียนขาดแคลน ดังนี้
    1. การให้คำปรึกษาแนะนำ
    2. การให้การช่วยเหลือเป็นเงิน สิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์การศึกษา หรือให้การช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของในคราวเดียวกัน ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเด็กหนึ่งคนในครอบครัว และไม่เกิน 3,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน
    2.2 การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์
    เป็นการบริการจัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราวให้กับเด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งมีผู้เลี้ยงดูไว้ในครอบครัว อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปีบริบูรณ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เจริญเติบโตอยู่ในครอบครัวแทนการเลี้ยงดูเด็กไว้ในสถานสงเคราะห์ หากครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจ จะได้รับการสนับสนุนเป็นเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็ก รายละไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน และ/หรือช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กเดือนละไม่เกิน 500 บาท กรณีเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่อุปการะเด็กมากกว่า 1 คน ช่วยเหลือเงินค่าเลี้ยงดูเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และ/หรือช่วยเหลือเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการสงเคราะห์เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ พ.ศ. 2544 และประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เรื่อง อัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็กแก่ครอบครัวอุปถัมภ์ และ/หรือ ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กตามความจำเป็น



    ตอบลบ
  2. 2.3 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
    เป็นการดำเนินงานด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยการจัดหาครอบครัวทดแทนที่มีลักษณะถาวร ซึ่งเป็นครอบครัวบุญธรรมชาวไทยที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือครอบครัวบุญธรรมชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งในด้านกฎหมายและด้านของสังคมของประเทศนั้น ๆ ให้กับเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งที่อยู่ในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เด็กกำพร้าที่อยู่ในความอุปการะขององค์การสวัสภาพเด็ก (เฉพาะครอบครัวบุญธรรมชาวต่างประเทศ) เด็กที่บิดามารดาที่แท้จริงยินยอมยกให้ เนื่องจากไม่สามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูได้และเด็กที่มีคำสั่งศาลแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดาเด็ก โดยดำเนินงานภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522
    2. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533
    3. กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
    4. พระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478
    5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    2.3.1 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของชาวไทย จุดบริการ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
    คุณสมบัติผู้ขอรับบริการ
    1. คุณสมบัติตามกฎหมาย : ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ
    1.1 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ (นับตั้งแต่วันเกิด ถึงวันที่ยื่นคำร้อง)
    1.2 ต้องมีอายุแก่กว่าเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
    1.3 ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    2. คุณสมบัติทางสังคม
    2.1 กรณีขอรับเด็กกำพร้า ควรมีคู่สมรสตามกฎหมาย เพื่อเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ มีทั้งบิดามารดา และไม่ควรมีอายุห่างจากเด็กมากเกินไป
    2.2 มีฐานะการครองชีพและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่นคง / มีที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี / มีเวลาพร้อมให้กับเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม
    2.3.2 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างประเทศ จุดบริการ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สถานเอกอัครราชทูต / หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ / องค์กรสวัสดิภาพเด็กในต่างประเทศ
    คุณสมบัติผู้ขอรับบริการ
    1. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องมีอายุมากกว่าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย15 ปี
    2. จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย กรณีผู้ขอรับฯ ยื่นคำขอในประเทศไทยจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย ๖ เดือน และมีระยะเวลาสำหรับการทดลองเลี้ยงดูเด็กไม่น้อยกว่าหกเดือน
    3. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีบุตรอยู่ในความอุปการะ 3 คนขึ้นไป จะมีการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอฯ
    4. ต้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    5. กรณีขอรับเด็กกำพร้าควรมีคู่สมรสตามกฎหมาย เพื่อเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ มีทั้งบิดามารดาและไม่ควรมีอายุห่างจากเด็กมากเกินไป
    2.4 การอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน
    กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพื่อช่วยในการพัฒนาและคุ้มครองสวัสดิภาพ เด็ก / เยาวชน อายุแรกเกิด-18 ปี ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพเหมาะสมตามวัย เพื่อส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการอนุญาตให้จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน และสนับสนุนการดำเนินงานโดยการตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำ การพัฒนาบุคลากร อาหารเสริมและสื่อพัฒนาการเด็กตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น
    2.5 การจัดบริการสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กปฐมวัย
    เพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรหลานข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เด็กปฐมวัย (0-6 ปี) ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาศักยภาพตามวัยอย่างเหมาะสม

    ตอบลบ
  3. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม


    คุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

    1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
    2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
    3. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง
    4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
    5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก
    ในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

    ขั้นตอนการปฏิบัติการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
    1. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อนโดย
    - กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอ
    พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็น
    บุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์
    - กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจ
    ให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด

    * เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำหนังสือแจ้งคำอนุมัติของ
    คณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดก็ได้

    2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถดำเนินการ
    ยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ โดย
    ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

    สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม
    บิดา หรือมารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมมิใช่สายเลือดเดียวกัน แต่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันระหว่างบิดา
    หรือมารดาบุญธรรม กับ บิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก และเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วยเหตุผลบางประการ เช่นเพื่ออนาคต
    ของเด็ก หรือเพื่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมที่ไม่มีบุตรได้มีบุตรสมใจปรารถนา การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กฎหมาย
    จะให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กให้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือมารดาบุญธรรมทันทีนับแต่วันที่
    จดทะเบียน เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา หรือมารดาบุญธรรม โดยที่บิดา หรือมารดาบุญธรรมไม่มี
    สิทธิที่จะมารับมรดกของบุตรบุญธรรม

    นอกจากนี้แล้ว บุตรบุญธรรมยังไม่เสียสิทธิที่พึงมีตามกฎหมายในครอบครัวเดิมแต่อย่างใด คือ ยังมีสิทธิรับมรดก
    ของบิดามารดาที่แท้จริงได้ และบิดามารดาที่แท้จริงมีสิทธิไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนได้ตามสมควร

    ทั้งนี้กฎหมายยังคุ้มครองเด็กโดยบิดา หรือมารดาบุญธรรมจะเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องได้รับความยินยอม
    จากบิดามารดาที่แท้จริงเสียก่อน และจะฟ้องให้มีการเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีเหตุอันควรไม่ได้


    Credit : http://www.bora.dopa.go.th/CallCenTer1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/44-adopted

    ตอบลบ
  4. บุตรบุญธรรม




    มาตรา ๑๕๙๘/๑๙๑ บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๐ การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๑๒ การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
    ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๒๓ ในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนบิดาและมารดา ถ้าสถานสงเคราะห์เด็กไม่ให้ความยินยอม ให้นำความในมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๓๔ ในกรณีที่ผู้เยาว์มิได้ถูกทอดทิ้ง แต่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก บิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดาในกรณีที่มารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง จะทำหนังสือมอบอำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมแทนตนก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้นำความในมาตรา ๑๕๙๘/๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    หนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งจะถอนเสียมิได้ตราบเท่าที่ผู้เยาว์ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้น

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๔๕ ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กในการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา ๑๕๙๘/๒๒ หรือมาตรา ๑๕๙๘/๒๓ จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้นั้นแทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราะห์เด็ก

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๕๖ ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๖ ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
    ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยจะต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้วและมิให้นำมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ มาใช้บังคับ๗

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๗๘ การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

    มาตรา ๑๕๙๘/๒๘ บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
    ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

    ตอบลบ
  5. มาตรา ๑๕๙๘/๒๙ การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตรบุญธรรมนั้น

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๐ ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดานตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว
    ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบุตรบุญธรรมหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บุตรบุญธรรมตาย

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๑ การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
    ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำมาตรา ๑๕๙๘/๒๐ และมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ วรรคสอง มาตรา ๑๕๙๘/๒๒ มาตรา ๑๕๙๘/๒๓ มาตรา ๑๕๙๘/๒๔ หรือมาตรา ๑๕๙๘/๒๖ วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ๙

    การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๒ การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๕๑

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๓ คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้น เมื่อ
    (๑)๑๐ ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
    (๒)๑๑ ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
    (๓)๑๒ ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
    (๔) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
    (๕) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
    (๖) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
    (๗) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๖๔ มาตรา ๑๕๗๑ มาตรา ๑๕๗๓ มาตรา ๑๕๗๔ หรือมาตรา ๑๕๗๕ เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
    (๘)๑๓ ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
    (๙)๑๔ (ยกเลิก)

    ตอบลบ
  6. มาตรา ๑๕๙๘/๓๔ ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้น หรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๕๑๕ การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด
    ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๖ การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล ย่อมมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่ได้จดทะเบียนแล้ว

    มาตรา ๑๕๙๘/๓๗๑๖ เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา ๑๕๙๘/๓๑ หรือนับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น
    ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อนการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิดจะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง
    การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่งหรือผู้ปกครองตามวรรคสองไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
    ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง


    ตอบลบ