ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?
เรารู้ว่าคุณรักลูกมากแค่ไหน แต่สารภาพมาเถอะค่ะ ว่าคุณเองก็อยากมีเวลานอนหลับแบบเต็ม ๆ สักคืนเหมือนกัน การฝึกให้ลูกน้อยหย่านมระหว่างกลางคืนจึงถือเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอให้มาถึง
ควรจะฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนเมื่อไหร่?
ไม่มีช่วงเวลาตายตัวค่ะ ทารกอายุระหว่าง 4-6 เดือนควรสามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ตลอดคืนโดยไม่จำเป็นต้องกินนม คีย์เวิร์ดในที่นี้คือ “จำเป็น” การหย่านมระหว่างคืนเป็นเหมือนการเปลี่ยนนิสัยมากกว่าการลดปริมาณอาหาร ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ตรงที่สามารถติดนิสัยบางอย่างได้หากทำซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง แม้เด็กบางคนอาจจะสามารถหย่านมระหว่างคืนได้เอง แต่บางคนก็ต้องอาศัยตัวช่วยจึงจะเลิกนิสัยนี้ได้
ฝึกอย่างไร?
การฝึกให้ทารกหย่านมก็เหมือนการเลี้ยงลูกนั่นแหละค่ะ ใช่ว่าจะมีวิธีฝึกที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน จุดสำคัญคือการต้องพยายามกำจัด “ปัญหา” ต้นเหตุที่ทำให้ทารกตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนไป
บทความใกล้เคียง: ฝึกให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา
ป้อนให้อิ่ม
ถ้าลูกของคุณกินนมหนึ่งขวดเต็ม หรือเกือบหมดขวดระหว่างคืน ลองให้เขากินเพิ่มอีกขวดก่อนเข้านอน หรือไม่ก็ให้กินอาหารเสริมหรือขนมสำหรับทารกก่อนเข้านอน นี่จะช่วยให้เขาอิ่มจนถึงเช้า
อย่าโอ๋ด้วยอาหาร
เมื่อลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน พยายามกล่อมให้เขาหลับโดยไม่ป้อนอาหาร ลองนวดหน้าผากเขาเบา ๆ เป็นวงกลมหรือตามแนวหน้าผากด้วยนิ้ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้เขารู้สึกสบาย คุณอาจลองไกวแปลให้ลูกหลับ แต่อย่าอุ้มเขาขึ้นมาจากที่นอน
ให้คนอื่นกล่อม
ทารกมักจะเชื่อมโยงแม่เข้ากับการป้อนอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลองให้คุณพ่อกล่อมแทนดู
บทความใกล้เคียง: ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่
ระวังอาหาร
ถ้าคุณอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณควรระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน (รวมถึงน้ำอัดลมและช็อกโกแลต) และพยายามไม่กินอาหารเหล่านี้หลังบ่ายสามโมง คุณกินอะไร ลูกของคุณก็ได้กินเช่นกัน จำไว้ว่าคาเฟอีนส่งผลกับเจ้าตัวเล็กมากกว่ากับคุณ
ให้ลูกได้กลิ่นคุณ
คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเพื่อเขาจะได้นอนหลับสนิทตลอดคืน โดยการแต้มโลชั่นทาผิวที่คุณใช้ไว้ที่ผ้าห่มของเขาเล็กน้อย คุณแม่บางคนยังแขวนเสื้อที่ใส่แล้วไว้ใกล้เปลเพื่อให้ลูกได้กลิ่นอีกด้วย
ทำให้ห้องน่านอน
ทำให้ห้องนอนลูกมืด มีอุณหภูมิพอเหมาะ (ไม่ร้อน หนาว หรืออบเกินไป) และไม่ถูกรบกวนจากการเคลื่อนไหวหรือเสียงดัง
อดทนไว้
บางครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณเอง อย่ารีบวิ่งไปทันทีที่ได้ยินเสียงลูก ปล่อยให้ลูกหัดหลับไปเอง ถ้าลูกยังไม่หยุดร้อง ให้เข้าไปกล่อมเบา ๆ เดี๋ยวเดียวแล้วออกมา คุณอาจจะต้องทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ติดกันสักสองสามคืน แต่ยิ่งทิ้งช่วงไว้นานเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถหลับเองได้โดยไม่ต้องให้ป้อนนม ทุกคน (รวมทั้งเจ้าตัวเล็ก) ก็จะได้นอนยาว ๆ กันสักที
บทความแนะนำ: ทำอย่างไรเมื่อคุณนอนไม่หลับ
ควรจะฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนเมื่อไหร่?
ไม่มีช่วงเวลาตายตัวค่ะ ทารกอายุระหว่าง 4-6 เดือนควรสามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ตลอดคืนโดยไม่จำเป็นต้องกินนม คีย์เวิร์ดในที่นี้คือ “จำเป็น” การหย่านมระหว่างคืนเป็นเหมือนการเปลี่ยนนิสัยมากกว่าการลดปริมาณอาหาร ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ตรงที่สามารถติดนิสัยบางอย่างได้หากทำซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง แม้เด็กบางคนอาจจะสามารถหย่านมระหว่างคืนได้เอง แต่บางคนก็ต้องอาศัยตัวช่วยจึงจะเลิกนิสัยนี้ได้
ฝึกอย่างไร?
การฝึกให้ทารกหย่านมก็เหมือนการเลี้ยงลูกนั่นแหละค่ะ ใช่ว่าจะมีวิธีฝึกที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน จุดสำคัญคือการต้องพยายามกำจัด “ปัญหา” ต้นเหตุที่ทำให้ทารกตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนไป
บทความใกล้เคียง: ฝึกให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา
ป้อนให้อิ่ม
ถ้าลูกของคุณกินนมหนึ่งขวดเต็ม หรือเกือบหมดขวดระหว่างคืน ลองให้เขากินเพิ่มอีกขวดก่อนเข้านอน หรือไม่ก็ให้กินอาหารเสริมหรือขนมสำหรับทารกก่อนเข้านอน นี่จะช่วยให้เขาอิ่มจนถึงเช้า
อย่าโอ๋ด้วยอาหาร
เมื่อลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน พยายามกล่อมให้เขาหลับโดยไม่ป้อนอาหาร ลองนวดหน้าผากเขาเบา ๆ เป็นวงกลมหรือตามแนวหน้าผากด้วยนิ้ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้เขารู้สึกสบาย คุณอาจลองไกวแปลให้ลูกหลับ แต่อย่าอุ้มเขาขึ้นมาจากที่นอน
ให้คนอื่นกล่อม
ทารกมักจะเชื่อมโยงแม่เข้ากับการป้อนอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลองให้คุณพ่อกล่อมแทนดู
บทความใกล้เคียง: ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่
ระวังอาหาร
ถ้าคุณอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณควรระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน (รวมถึงน้ำอัดลมและช็อกโกแลต) และพยายามไม่กินอาหารเหล่านี้หลังบ่ายสามโมง คุณกินอะไร ลูกของคุณก็ได้กินเช่นกัน จำไว้ว่าคาเฟอีนส่งผลกับเจ้าตัวเล็กมากกว่ากับคุณ
ให้ลูกได้กลิ่นคุณ
คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเพื่อเขาจะได้นอนหลับสนิทตลอดคืน โดยการแต้มโลชั่นทาผิวที่คุณใช้ไว้ที่ผ้าห่มของเขาเล็กน้อย คุณแม่บางคนยังแขวนเสื้อที่ใส่แล้วไว้ใกล้เปลเพื่อให้ลูกได้กลิ่นอีกด้วย
ทำให้ห้องน่านอน
ทำให้ห้องนอนลูกมืด มีอุณหภูมิพอเหมาะ (ไม่ร้อน หนาว หรืออบเกินไป) และไม่ถูกรบกวนจากการเคลื่อนไหวหรือเสียงดัง
อดทนไว้
บางครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณเอง อย่ารีบวิ่งไปทันทีที่ได้ยินเสียงลูก ปล่อยให้ลูกหัดหลับไปเอง ถ้าลูกยังไม่หยุดร้อง ให้เข้าไปกล่อมเบา ๆ เดี๋ยวเดียวแล้วออกมา คุณอาจจะต้องทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ติดกันสักสองสามคืน แต่ยิ่งทิ้งช่วงไว้นานเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถหลับเองได้โดยไม่ต้องให้ป้อนนม ทุกคน (รวมทั้งเจ้าตัวเล็ก) ก็จะได้นอนยาว ๆ กันสักที
บทความแนะนำ: ทำอย่างไรเมื่อคุณนอนไม่หลับ
ที่มา : http://th.theasianparent.com