ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?
เรารู้ว่าคุณรักลูกมากแค่ไหน แต่สารภาพมาเถอะค่ะ ว่าคุณเองก็อยากมีเวลานอนหลับแบบเต็ม ๆ สักคืนเหมือนกัน การฝึกให้ลูกน้อยหย่านมระหว่างกลางคืนจึงถือเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอให้มาถึง
ควรจะฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนเมื่อไหร่?
ไม่มีช่วงเวลาตายตัวค่ะ ทารกอายุระหว่าง 4-6 เดือนควรสามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ตลอดคืนโดยไม่จำเป็นต้องกินนม คีย์เวิร์ดในที่นี้คือ “จำเป็น” การหย่านมระหว่างคืนเป็นเหมือนการเปลี่ยนนิสัยมากกว่าการลดปริมาณอาหาร ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ตรงที่สามารถติดนิสัยบางอย่างได้หากทำซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง แม้เด็กบางคนอาจจะสามารถหย่านมระหว่างคืนได้เอง แต่บางคนก็ต้องอาศัยตัวช่วยจึงจะเลิกนิสัยนี้ได้
ฝึกอย่างไร?
การฝึกให้ทารกหย่านมก็เหมือนการเลี้ยงลูกนั่นแหละค่ะ ใช่ว่าจะมีวิธีฝึกที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน จุดสำคัญคือการต้องพยายามกำจัด “ปัญหา” ต้นเหตุที่ทำให้ทารกตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนไป
บทความใกล้เคียง: ฝึกให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา
ป้อนให้อิ่ม
ถ้าลูกของคุณกินนมหนึ่งขวดเต็ม หรือเกือบหมดขวดระหว่างคืน ลองให้เขากินเพิ่มอีกขวดก่อนเข้านอน หรือไม่ก็ให้กินอาหารเสริมหรือขนมสำหรับทารกก่อนเข้านอน นี่จะช่วยให้เขาอิ่มจนถึงเช้า
อย่าโอ๋ด้วยอาหาร
เมื่อลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน พยายามกล่อมให้เขาหลับโดยไม่ป้อนอาหาร ลองนวดหน้าผากเขาเบา ๆ เป็นวงกลมหรือตามแนวหน้าผากด้วยนิ้ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้เขารู้สึกสบาย คุณอาจลองไกวแปลให้ลูกหลับ แต่อย่าอุ้มเขาขึ้นมาจากที่นอน
ให้คนอื่นกล่อม
ทารกมักจะเชื่อมโยงแม่เข้ากับการป้อนอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลองให้คุณพ่อกล่อมแทนดู
บทความใกล้เคียง: ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่
ระวังอาหาร
ถ้าคุณอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณควรระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน (รวมถึงน้ำอัดลมและช็อกโกแลต) และพยายามไม่กินอาหารเหล่านี้หลังบ่ายสามโมง คุณกินอะไร ลูกของคุณก็ได้กินเช่นกัน จำไว้ว่าคาเฟอีนส่งผลกับเจ้าตัวเล็กมากกว่ากับคุณ
ให้ลูกได้กลิ่นคุณ
คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเพื่อเขาจะได้นอนหลับสนิทตลอดคืน โดยการแต้มโลชั่นทาผิวที่คุณใช้ไว้ที่ผ้าห่มของเขาเล็กน้อย คุณแม่บางคนยังแขวนเสื้อที่ใส่แล้วไว้ใกล้เปลเพื่อให้ลูกได้กลิ่นอีกด้วย
ทำให้ห้องน่านอน
ทำให้ห้องนอนลูกมืด มีอุณหภูมิพอเหมาะ (ไม่ร้อน หนาว หรืออบเกินไป) และไม่ถูกรบกวนจากการเคลื่อนไหวหรือเสียงดัง
อดทนไว้
บางครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณเอง อย่ารีบวิ่งไปทันทีที่ได้ยินเสียงลูก ปล่อยให้ลูกหัดหลับไปเอง ถ้าลูกยังไม่หยุดร้อง ให้เข้าไปกล่อมเบา ๆ เดี๋ยวเดียวแล้วออกมา คุณอาจจะต้องทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ติดกันสักสองสามคืน แต่ยิ่งทิ้งช่วงไว้นานเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถหลับเองได้โดยไม่ต้องให้ป้อนนม ทุกคน (รวมทั้งเจ้าตัวเล็ก) ก็จะได้นอนยาว ๆ กันสักที
บทความแนะนำ: ทำอย่างไรเมื่อคุณนอนไม่หลับ
ควรจะฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนเมื่อไหร่?
ไม่มีช่วงเวลาตายตัวค่ะ ทารกอายุระหว่าง 4-6 เดือนควรสามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ตลอดคืนโดยไม่จำเป็นต้องกินนม คีย์เวิร์ดในที่นี้คือ “จำเป็น” การหย่านมระหว่างคืนเป็นเหมือนการเปลี่ยนนิสัยมากกว่าการลดปริมาณอาหาร ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ตรงที่สามารถติดนิสัยบางอย่างได้หากทำซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง แม้เด็กบางคนอาจจะสามารถหย่านมระหว่างคืนได้เอง แต่บางคนก็ต้องอาศัยตัวช่วยจึงจะเลิกนิสัยนี้ได้
ฝึกอย่างไร?
การฝึกให้ทารกหย่านมก็เหมือนการเลี้ยงลูกนั่นแหละค่ะ ใช่ว่าจะมีวิธีฝึกที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน จุดสำคัญคือการต้องพยายามกำจัด “ปัญหา” ต้นเหตุที่ทำให้ทารกตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนไป
บทความใกล้เคียง: ฝึกให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา
ป้อนให้อิ่ม
ถ้าลูกของคุณกินนมหนึ่งขวดเต็ม หรือเกือบหมดขวดระหว่างคืน ลองให้เขากินเพิ่มอีกขวดก่อนเข้านอน หรือไม่ก็ให้กินอาหารเสริมหรือขนมสำหรับทารกก่อนเข้านอน นี่จะช่วยให้เขาอิ่มจนถึงเช้า
อย่าโอ๋ด้วยอาหาร
เมื่อลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน พยายามกล่อมให้เขาหลับโดยไม่ป้อนอาหาร ลองนวดหน้าผากเขาเบา ๆ เป็นวงกลมหรือตามแนวหน้าผากด้วยนิ้ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้เขารู้สึกสบาย คุณอาจลองไกวแปลให้ลูกหลับ แต่อย่าอุ้มเขาขึ้นมาจากที่นอน
ให้คนอื่นกล่อม
ทารกมักจะเชื่อมโยงแม่เข้ากับการป้อนอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลองให้คุณพ่อกล่อมแทนดู
บทความใกล้เคียง: ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่
ระวังอาหาร
ถ้าคุณอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณควรระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน (รวมถึงน้ำอัดลมและช็อกโกแลต) และพยายามไม่กินอาหารเหล่านี้หลังบ่ายสามโมง คุณกินอะไร ลูกของคุณก็ได้กินเช่นกัน จำไว้ว่าคาเฟอีนส่งผลกับเจ้าตัวเล็กมากกว่ากับคุณ
ให้ลูกได้กลิ่นคุณ
คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเพื่อเขาจะได้นอนหลับสนิทตลอดคืน โดยการแต้มโลชั่นทาผิวที่คุณใช้ไว้ที่ผ้าห่มของเขาเล็กน้อย คุณแม่บางคนยังแขวนเสื้อที่ใส่แล้วไว้ใกล้เปลเพื่อให้ลูกได้กลิ่นอีกด้วย
ทำให้ห้องน่านอน
ทำให้ห้องนอนลูกมืด มีอุณหภูมิพอเหมาะ (ไม่ร้อน หนาว หรืออบเกินไป) และไม่ถูกรบกวนจากการเคลื่อนไหวหรือเสียงดัง
อดทนไว้
บางครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณเอง อย่ารีบวิ่งไปทันทีที่ได้ยินเสียงลูก ปล่อยให้ลูกหัดหลับไปเอง ถ้าลูกยังไม่หยุดร้อง ให้เข้าไปกล่อมเบา ๆ เดี๋ยวเดียวแล้วออกมา คุณอาจจะต้องทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ติดกันสักสองสามคืน แต่ยิ่งทิ้งช่วงไว้นานเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถหลับเองได้โดยไม่ต้องให้ป้อนนม ทุกคน (รวมทั้งเจ้าตัวเล็ก) ก็จะได้นอนยาว ๆ กันสักที
บทความแนะนำ: ทำอย่างไรเมื่อคุณนอนไม่หลับ
ที่มา : http://th.theasianparent.com
หย่านม เมื่อไหร่ดี
ตอบลบสำหรับระยะการ หย่านม ของเด็กแต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจ หย่านม เร็ว เพียงหนึ่งปี ก็สามารถหย่านมได้ ส่วนบางคน อาจต้องใช้เวลา นานถึงสามปีถึงหย่านมก็มี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และผลกระทบ ที่อาจส่งผลต่อคุณแม่หรือลูก เช่น ความเจ็บป่วยเป็นต้น
ผู้เชียวชาญทางด้านเด็ก (กุมารแพทย์) ให้คำแนะนำว่า ช่วงเวลาของการหย่านม ของเด็กที่ดีนั้น ควรจะหย่านมเด็กเมื่อเด็กสามารถ เคี้ยวกินอาหารที่อ่อนๆ หรืออาหารบดได้แล้ว
การที่จะให้เด็กหย่านมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้อง พยายามฝึกให้เด็ก รู้จักการใช้ถ้วยชาม ช้อนตักข้าวกินเองให้เป็นก่อน ซึ่งเป็นไปได้ควรหัดให้เด็กใช้ถ้วย จาน ช้อน ไปพร้อมๆ กับการใช้ขวดนม ในช่วงที่เด็กมีอายุได้ประมาณ 4 – 6 เดือนเพื่อเด็ก จะได้มีความคุ้นเคยกับ อุปกรณ์
วิธีการหย่านมเด็กที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้เด็กกินอาหารเอง และให้ดูดนม ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในหนึ่งวัน ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า เด็กจะเลิกดูดนม ในช่วงเวลากลางวัน ได้ง่ายกว่าเวลากลางคืน เพราะก่อนที่เด็กจะนอนนั้น การดูดนม จะเป็นการผ่อนคลาย ทำให้เด็กนอนหลับได้ง่าย เด็กบางคนถ้าไม่ได้ดูดนม อาจจะนอนไม่หลับก็ได้
ถ้าคุณแม่มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง การให้เด็กหย่านมช้าจะเป็นผลดีกับเด็ก เป็นอย่างมาก เพราะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่านมแม่นั้นเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
ที่มา : นมผง เอ็นฟาโกลว์