Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 12 เดือน

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 12 เดือน





หนูน้อยอายุครบปีกลายเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็กที่วุ่นวายอยู่กับการสำรวจโลกอยู่ทั้งวัน ทำให้เวลานอนก็ไม่ยอมนอน เวลากินก็มักจะปฏิเสธ ทำให้คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีลูกล่อลูกชนอยู่เสมอ อีกทั้งต้องระวังเรื่องความปลอดภัย เพราะเขาจะสามารถเดินเตร็ดเตร่ไปทั่วบ้านได้แล้ว



พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม

เมื่อลูกอยู่ที่บ้านอาจจะเดินเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน เพราะว่าอยู่ในสถานที่ที่คุ้นเคย สามารถเดินชะลอเพื่อสำรวจสิ่งที่ตนเองสนใจ และสามารถหยุดมอง นั่ง และเล่นได้อย่างเบิกบานมีความสุข เพราะว่าเขาสามารถเคลื่อนตัวเองไปยังจุดที่น่าสนใจได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงใคร แต่เมื่ออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยลูกอาจจะไม่ยอมเดิน อยู่เกาะติดกับคุณแม่ และมีความรู้สึกกลัวเข้ามาแทรกทั้งๆ ที่อยู่บ้านเคยทำได้ อย่างเช่น จะคลานแทนทั้งๆ ที่เคยเดินได้คล่องแคล่วลูกสามารถใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว โดยเฉพาะนิ้วโป้งและนิ้วชี้ที่จะสามารถหยิบของต่างๆ ได้เต็มมือ มีการหยิบวางอย่างบรรจงและแม่นยำ ถือของต่างๆ ได้เหนียวแน่นและตกยาก


พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 12 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ยืนได้เอง และยืนได้ตรง
- ย่อตัวลงนั่งได้แข้งขัน
- เดินได้ แต่ก็ยังชอบคลาน
- ชอบคลานขึ้นลงบันได
- ใช้มือขณะเดินได้ อย่างเช่น เดินไปพร้อมกับเล่นของเล่น เดินพร้อมกับโบกมือ
- ชอบใช้มือข้างเดียว และอีกข้างก็สามารถทำอย่างอื่นได้
- ใช้นิ้วชี้สิ่งของและผลักของ
- ถอดเสื้อผ้าออกได้เอง
- ชอบเปิดฝากล่องและฝาขวด
- ทำท่าเหมือนว่ายน้ำในอ่างอาบน้ำ



พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม

ลูกจะเริ่มกลับมาติดแม่อีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมข้างนอก การติดแม่แจในวัยนี้ลูกจะไม่ยอมเล่นกันใคร จนทำให้คุณแม่หลายคนคิดมาก แต่พฤติกรรมนี้จะค่อยๆ หายไปเองเมื่อโตขึ้น ลูกจะรู้สึกว่าเริ่มอยู่ได้เมื่อปราศจากแม่ เขาจะปรับตัวและจัดการอารมณ์ของตนเอง  เพื่อนำไปสู่พัฒนาการทางอารมณ์ที่จะเข้มแข็งขึ้นทีละน้อย โดยเฉพาะเวลาที่ลูกโกรธหรือโมโห ต้องปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้อารมณ์ตรงนี้และสงบได้ด้วยตนเอง

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจของทารกวัย 12 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- มีปฏิกิริยารุนแรงเมื่อจับแยกจากแม่
- มีอารมณ์ขัน
- มีอารมณ์แห่งการปฏิเสธมากขึ้น อย่างเช่น ไม่กิน ไม่ไป
- ยืนยันความต้องการของตนเอง



พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม

ลูกยังไม่สามารถพูดเป็นภาษาได้ แต่ก็สามารถฟังคุณพ่อคุณแม่และแปลความหมายที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างแม่นยำ การพัฒนาด้านภาษาของลูกขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ โดยพูดและอธิบายให้ลูกฟังบ่อยๆ ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ โดยเริ่มจากของใกล้ตัวที่สุดคืออวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเขา อย่างเช่น มือ เท้า ท้อง เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และรู้จักบอกความต้องการของตนเองได้ โดยเฉพาะเมื่อตนเองเกิดเจ็บปวดขึ้นมา

พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 12 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- จับดทนเสียงบ่งบอกอารมณ์ได้
- พูดเสียงอื่นๆ ได้มากขึ้น
- พยายามพูดเสียงต่างๆ บางครั้งใช้การแผดเสียงเพื่อเรียนรู้ลำดับของโทนเสียง






พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม

แม้ลูกจะมีความผูกพันกับคุณแม่มาก แต่กลับมักออกฤทธิ์และมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมาเมื่ออยู่กับคุณแม่ ราวกับว่าไม่กลัวใครเมื่อมีคุณแม่อยู่ด้วย อย่างเช่น ชอบตีพี่เลี้ยง สั่งอะไรก็ไม่ยอมทำ เป็นต้น กลับกันคุณจะเห็นว่าเมื่อฝากลูกไว้กับคุณตาคุณยายหรือพี่เลี้ยงเพียงลำพังโดยที่คุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็มักจะได้ยินเสียงบอกเล่าว่าลูกเป็นเด็กน่ารัก ให้ทำอะไรก็เชื่อฟัง แต่พอมาอยู่กับคุณแม่อีกครั้งกลับเป็นเหมือนเดิม สั่งอะไรก็ไม่ยอมทำตามแถมอาจจะก้าวร้าวอีกด้วย พฤติกรรมนี้จะค่อยๆ หายเมื่ออาการติดแม่มีน้อยลงไปเมื่อเขาโตขึ้น


พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 12 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- แสดงอารมณ์มากขึ้น และเข้าใจอารมณ์คนอื่นมากขึ้น
- ระแวงคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ๆ
- เข้าใจการเล่นเกมง่ายๆ เป็นกลุ่ม
- ใครขอของเล่นก็จะให้บ้าง
- บางครั้งก็แยกตัวเล่นคนเดียว
- จะทำสิ่งต่างๆ ได้ดีเมื่อมีคนชมเชยอยู่ข้างๆ



พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม

เมื่อลูกมีพลังงานเยอะเหลือเฟือและโลกใบใหม่ก็น่าสนุกและน่าเรียนรู้ ทำให้เจ้าหนูวัยนี้ส่วนใหญ่นอนยาก และไม่ชอบที่จะเข้านอนสักเท่าไร ทั้งๆ ที่การนอนเป็นส่วนหนึ่งการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และผลิต Growth Hormones ออกมาเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากอยากให้ลูกแจ่มใสคุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดตารางเวลาการนอนของลูกให้ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการนอนที่เป็นสุข ไร้แสงสว่างกวนตาและเสียงรบกวนด้วย

พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 12 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ชอบจับของแยกออกจากกัน อย่างเช่น แกะห่อของเล่น
- เรียนรู้เรื่องการแทนที่ การหมุน และการกลับหัวกลับท้ายของสิ่งของ
- ค้นหาของเล่นที่มองไม่เห็น แต่จำได้ว่ามีอยู่
- จดจำเหตุการณ์ต่างๆ ได้นานขึ้น และจำรายละเอียดได้มากขึ้น
- เริ่มรู้ว่าตนเองใช้มือถนัดด้านไหน
- เมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดผลาด จะหาทางแก้ปัญหา
- สามารถแยกของเล่นตามสีและรูปร่างได้
- รู้ว่าตัวเองแตกต่างจากสิ่งของ
- เลียนแบบกิริยาท่าทางได้ดีขึ้น
- ไม่ค่อยยอมนอน                                               





ที่มา   : Momypedia : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : คู่มือพัฒนาการเด็ก : คู่มือพัฒนาสมองลูกด้วยสองมือแม่ : หนังสือคู่มือเลี้ยงลูก โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค  :   http://www.momypedia.com/

2 ความคิดเห็น:

  1. พัฒนากาทารกอายุ 12เดือน

    พัฒนาการเด่น “ หนูเดินได้แล้ว”
    • ลูกจะเริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และรู้ว่า ตนเองก็เป็นคนหนึ่งคน ที่แยกจากแม่ได้ (sense of self) เขารู้สึกถึงการเป็นตัวตนของเขา และจะมีวิธีที่จะบอกคุณได้ว่า อะไรชอบ อะไรไม่ชอบ และ เขาต้องการอะไรจากคุณ
    •ลูกจะเริ่มพูดคำเดี่ยวๆ ที่มีความหมายได้ อย่างน้อย 2-3 คำ และจะชอบทำเสียงโทนสูงต่ำเหมือนกำลังคุย ด้วยภาษาของเขาเอง ซึ่งผู้ใหญ่จะฟังไม่รู้เรื่อง
    • ประมาณ 3 ใน 5 รายของเด็กที่อายุ 1 ปี จะเริ่มเดินได้เอง ในวันครบรอบวันเกิดของเขา แต่ก็ยังต้องการการฝึกฝนอีกสักพัก ก่อนที่จะเดินได้คล่อง บางครั้งเด็กจะล้ม ซึ่งมักจะมีการร้องไห้ตามมาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่จากเจ็บตัว แต่จะเป็นจากตกใจ หรือหงุดหงิดที่ตนเองยังไม่สามารถเดินไปถึงที่ที่เขาต้องการ และหลายต่อหลายครั้งเด็กที่เริ่มเดินได้แล้ว จะกลับมาใช้วิธีคลานอีก เนื่องจากยังถนัด ที่จะพาตนเองไปไหนตามใจ โดยการคลาน และเขายังพบว่าเขาคลานได้เร็วกว่าเดินในช่วงแรกๆ


    ...

    ตอบลบ
  2. •น้ำหนักของลูก ดูจะไม่ค่อยขึ้นมากนักเหมือนเมื่อก่อน เป็นเพราะลูกจะมีกิจกรรม ให้ทำหลายอย่าง ซึ่งจะใช้พลังงานที่ได้ไปในการนี้พอสมควร ไม่เหมือนตอนเล็กๆ ที่จะกินกับนอนเป็นส่วนใหญ่ และพฤติกรรมการทานอาหารก็จะยังไม่แน่นอน บางครั้งจะชอบทานอย่างหนึ่ง ไปหลายมื้อติดๆ กัน แต่อีกวันอาจจะไม่เอาอาหารอย่างเดิมเลย หรือมีสิ่งที่น่าสนใจ ดึงให้เขาไม่อยากนอน ในตอนนั้น ซึ่งคุณควรจะทำตัวสบายๆ อย่าเข้มงวดว่าเขาจะต้องเข้านอนตรงตามเวลา ที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ควรอะลุ่มอะหล่วยบ้าง
    • วัยนี้เด็กบางคนจะเริ่มมีการอาละวาด ลงไปดิ้นกับพื้น เมื่อถูกขัดใจบ้าง (Temper tantrums) ซึ่งอาจทำให้คุณตกใจ และถ้ายิ่งคุณหงุดหงิด อารมณ์เสียใส่เขา ก็จะยิ่งมีการอาละวาดมากขึ้นไปอีก ลูกต้องการคุณช่วยในการสอนให้เขารู้จักการควบคุมอารมณ์ของเขา เมื่อเขาโกรธหรือโมโห ดังนั้นคุณควรจะคุมตัวคุณเองให้ได้ก่อน และพูดหรือโต้ตอบกับเขา ด้วยท่าทีที่สงบเย็น ก็จะช่วยให้ลูกเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ของเขาเองได้ต่อไปในอนาคต
    •ลูกอาจจะดูเป็นเด็กอารมณ์ดีน่ารัก ในช่วงขณะหนึ่ง แต่อีกแป็บเดียว อาจจะงอแงร้องไห้ได้ หรืออาจจะกลายเป็นเด็กที่ดื้อที่สุด ในอีกไม่กี่นาทีต่อมา แต่เขาก็ยังต้องการคนอยู่ใกล้ที่คอยดูแลเขา
    • ในการเล่นกับเด็กคนอื่นๆ จะยังเป็นแบบต่างคนต่างเล่น จะไม่เล่นด้วยกันแบบเด็กโต แต่ก็จะอยากให้มีเด็กคนอื่นอยู่ใกล้ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะถ้ามีเด็กที่โตกว่า มาเล่นกับเขา จะรู้สึกสนุกมาก
    • คุณควรเริ่มการฝึกอบรมสอนลูกให้รู้ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ อะไรถูกอะไรผิด (ไม่ใช่จับมานั่งฟังเทศน์) ที่เรียกว่า Discipline ซึ่งมีความหมายลึกซึ้ง โดยอาศัยความรักความเข้าใจที่คุณมีต่อลูก
    •หลักการก็คือ ความสม่ำเสมอ (consistency) ไม่ใช่ว่า ในกรณีเดียวกันเดี๋ยวได้ เดี๋ยวไม่ได้ คุณควรจะมีเกณฑ์อยู่ในใจ ที่ไปในแนวเดียวกัน ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ (รวมทั้งผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่ดูแลเด็กด้วย) เพื่อให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้กฎเกณฑ์ และกติกาของการอยู่ร่วมกัน และการปฏิบัติตน พยายามใช้วิธีละมุนละม่อมและชัดเจนกับลูก จะช่วยให้เขาเข้าใจได้ดีขึ้น ไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่คนหนึ่งบอกว่าไม่ แต่อีกคนรีบเข้ามาโอ๋ และให้เด็กได้ของนั้นๆ หรือเชียร์ให้เด็กทำตรงข้าม กับที่ห้ามไว้ทันที
    • ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ควรจะหาเวลาพูดคุยกันเอง ถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะได้ “ส่งและรับ เรื่อง” กันทัน เมื่อลูกเกิดอาการงอแงขึ้น ควรใช้วิธีกระตุ้นในเชิงบวก (positive re-enforcement) โดยการสนับสนุนพฤติกรรมที่ดี ให้คงอยู่ และแสดงให้ลูกทราบว่า คุณไม่ชอบ ถ้าเขาแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกมา
    • ควรเก็บการลงโทษ หรือการใช้การกระทำอันเด็ดขาด ในการจัดการกับเขา ไว้เฉพาะในกรณีที่พฤติกรรมที่เขากำลังทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่อาจเกิดอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ และใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
    •เด็กบางคนจะเริ่มติดตุ๊กตานุ่มๆ, ผ้าห่ม, หมอน เพราะเขาจะใช้แทนการมีตัวคุณแม่อยู่ใกล้ตลอดเวลา เนื่องจากเขาโตขึ้นก็จริง แต่ก็ยังจะมี ความรู้สึกไม่อยากแยกจากคุณแม่ (separation anxiety) ซึ่งถึงแม้จะไม่มากเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีอยู่บ้าง และเช่นกัน ใน การกลัวคนแปลกหน้า (stranger anxiety) ก็จะยังคงมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะเมื่อเขาต้องออกไปข้างนอกบ้านกับคุณ จึงควรระวังที่จะไม่ปล่อยเขาไว้โดยลำพัง กับคนที่เขาไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่ใหม่ ที่เขาไม่รู้จักคุ้นเคย
    • อีกไม่นานลูกของคุณก็จะมีอายุครบ 1 ขวบเต็ม จากตอนแรกเกิด ที่เขาไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย มาถึงตอนนี้ ที่เขาพอจะทำอะไรได้เองมากขึ้น เขาเริ่มรู้จักการเป็นตัวของตัวเอง การช่วยตนเอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอีกไม่นานเขาก็จะเป็นคนๆ หนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเขา และไม่มีใครเหมือน และไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร เขาก็คือ ดวงใจของเรานั่นเอง
    • สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะทำได้ต่อไปก็คือ การช่วยกันอบรมเลี้ยงดูเขา ให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ และเป็นคนดีของสังคม ได้ดังที่เราตั้งใจไว้


    ที่มา :: http://www.baby2talk.com

    ตอบลบ