Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

5 วิธีสำเร็จสู่การเลี้ยงลูกแบบ 2 ภาษา

5 วิธีสำเร็จสู่การเลี้ยงลูกแบบ 2 ภาษา



หลายๆ คนคิดว่าการเลี้ยงลูกให้ได้ 2 ภาษา อาจจะต้องอาศัยการส่งลูกไปเรียนเมืองนอกหรือ โรงเรียนอินเตอร์ราคาแพงลิบลิ่วเท่านั้น แต่รู้มั้ยว่าถ้าเรามีความตั้งใจจริงและมีความสามารถด้านภาษาอยู่แล้ว เราเองก็สามารถสอนให้ลูกเป็นเด็ก 2 ภาษาได้ ในโลกปัจจุบันที่ไร้พรมแดนผนวกกับการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน คำถามก็คือ “จะทำได้อย่างไร จะเริ่มสอนยังไง” คำตอบนั้นง่ายแสนง่าย คือ เริ่มพูดคุยกับเด็กตั้งแต่เขายังเล็กด้วย 2 ภาษานั้น เอาล่ะเรามาเริ่มกันดีกว่า 
 

  1. เริ่มด้วยความเห็นชอบของทั้งคุณพ่อคุณแม่
ภาษาที่ 2 นั้น อาจเป็นภาษาที่คุณพ่อ หรือ คุณแม่พูดได้ฝ่ายเดียว  ควรพูดคุยและทำความเข้าใจกันก่อนว่าการสอนภาษาที่  2 ให้ลูกนั้นมีประโยชน์กับลูกอย่างไร และเห็นชอบทั้งครอบครัวว่าลูกจะเรียน 2 ภาษา เพื่อการเรียนรู้และอนาคต ไม่ใช่ว่าจะเป็นภาษาลับระหว่างลูกกับผู้ปกครองคนใดคนหนึ่ง ทางที่ดีคือการชักชวนให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาเรียนรู้ภาษาที่ 2 ด้วย แม้จะเป็นเพียงความเข้าใจเบื้องต้น ก็ถือว่าเป็นการใช้เวลากับครอบครัวที่มีประโยชน์มากอย่างนึง

 
  1. คุณครูคนแรก: การเรียนรู้เริ่มจากที่บ้าน ควรมีข้อตกลงกันในครอบครัวว่าคนใดจะพูดภาษาที่ 2 กับลูก โดยคนๆ นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาอยู่กับเด็กค่อนข้างมาก  และยึดให้คนๆ นั้นเป็นคุณครูสอนภาษาหลัก ซึ่งอาจจะเป็นคุณแม่ หรือ คุณย่า คุณยาย ในกรณีที่ในบ้านมีคนพูดภาษาที่ 2 ได้หลายคน ก็ยิ่งเป็นการดีในการเปิดโอกาสให้ลูกซึมซับภาษาที่ 2 มากขึ้น นอกจากการพูดคุยทั่วไปแล้ว ยังสามารถสอนภาษาเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การไปซื้อของในตลาด การไปสวนสาธารณะ หรือเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามพัฒนาการ หรือ ความสนใจของเด็ก

  1. สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียนการสอน: การทำความรู้จักกับสังคม หรือ เพื่อน ๆ ที่สอนภาษาที่ 2 เดียวกัน เป็นไอเดียที่ดีอย่างมาก ที่หลายคนอาจมองข้ามไป นอกจากการแชร์ประสบการณ์และเทคนิคการเรียนการสอนแล้ว การเล่นและการมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กที่เข้าใจและพูดคุยภาษาเดียวกัน ยิ่งเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเด็ก      นอกจากนี้อุปกรณ์การเรียนการสอนในภาษาที่ 2 ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในการปูพื้นฐานภาษาของเด็ก เช่น หนังสือนิทาน ซีดีเพลง หนัง หรือ โปสเตอร์ภาษา สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นเครื่องมือการสอนที่ล้วนมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ของลูก

  1. ใช้ความอดทน ค่อยเป็นค่อยไป: พัฒนาการด้านภาษา พอยิ่งมีภาษาที่ 2 เพิ่มขึ้นมาด้วยแล้ว เราต้องใช้เวลาและความเข้าใจ เป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กๆ ทุกคนมีพัฒนาการที่แตกต่าง และมีความสามารถและความถนัดไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องมีความอดทนรอให้ลูกเรียนรู้ภาษาตามเวลาของเขาเอง คอยพูดคุย สนับสนุน และ ชม เมื่อเขาสามารถทำอะไรได้สำเร็จ

  1. การปูพื้นฐานภาษาบนความเป็นจริงพอเริ่มต้นการใช้  2 ภาษา ได้สักพัก คุณพ่อคุณแม่บางคนก็อยากเพิ่มเติมอีกภาษาให้ลูก เพื่อให้ลูกมีต้นทุนความรู้และข้อได้เปรียบทางภาษามากขึ้นไปอีก หลายคนอาจมองว่าแค่ 2 ภาษาก็เพียงพอแล้ว การให้ลูกซึมซับภาษามากมายจะเป็นการผลักดันมากเกินไปหรือเปล่า แต่ความจริงแล้วเด็กเล็กนั้นมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ถึง 4 ภาษาในเวลาเดียวกัน หากคุณพ่อคุณแม่มีทรัพยากรที่จะให้ลูกได้เรียนรู้ และมีความตั้งใจจริง การปูภาษาถึง 3-4 ภาษาก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้  
 

อย่างไรก็ดีมีการวิจัยว่าเด็กเล็กต้องได้รับรู้ภาษา 30% ของเวลาการตื่นนอนโดยประมาณ ถึงจะมีความสามารถพูดภาษานั้นๆ ได้คล่องแคล่ว อย่างไรก็ดีแม้ในช่วงเด็กเล็กลูกน้อยจะมีความสามารถในการเรียนรู้สูง และซึมซับทุกอย่างเหมือนฟองน้ำ  แต่เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่เขาต้องการเวลาพักผ่อนสูงเช่นเดียวกัน การเพิ่มเติมภาษาอาจจะต้องเป็นการดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้น 2 ภาษาที่จำเป็นที่สุดก่อน
 

ส่วนในกรณีที่ที่บ้านไม่มีใครสามารถพูดภาษาที่ 2 ได้ การจ้างพี่เลี้ยงที่เป็นเจ้าของภาษานั้นๆ หรือ การเรียนพิเศษให้ลูกได้ซึมซับภาษาที่ 2 ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ ข้อสำคัญคือเราต้องมีการพูดคุยกับพี่เลี้ยงหรือโรงเรียนภาษา ว่ามีความเห็นที่ตรงกันในหลักการเรียนการสอน และเรามีความคาดหวังอะไรบ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคิอการดูว่าลูกชอบเรียนที่โรงเรียนนั้นไหม หรือ เข้ากันได้ดีกับพี่เลี้ยงหรือเปล่า เพราะถ้าลูกไม่มีความสุข การเรียนภาษาเพิ่มเติมก็อาจกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี แถมยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและยังลดเวลาอันมีค่าของลูกกับครอบครัวอีกด้วย  
 


ที่มา: http://www.omniglot.com







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น