ฟันลูกขึ้นช้าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
ปกติแล้ว เด็กแต่ละคนมีฟันขึ้นช้าหรือเร็วแตกต่างกันไปตามแต่ความพร้อมและโครงสร้างของกระดูกและฟัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นหลังอายุ 6 เดือนไม่นาน โดยมีเกณฑ์ปกติ ดังนี้
|
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าฟันลูกขึ้นช้ากว่ากำหนดมาก เช่น ขวบกว่าแล้วฟันยังไม่งอกเลย อาจต้องให้ทันตแพทย์ตรวจดูว่าในขากรรไกรมีหน่อฟันอยู่หรือไม่ หรือดูว่าลูกมีความผิดปกติอื่นๆ เช่น เนื้อเยื่อของเหงือก มีความหนาแน่นมากจนไปกีดขวางทำให้ฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกยาก หรืออาจเป็นผลของการทำงานที่ผิดปกติของต่อมที่ผลิตฮอร์โมน หากทราบสาเหตุก็จะได้รักษาตั้งแต่ระยะแรก เพื่อให้ฟันของลูกพัฒนาตามปกติต่อไป
ฟันขึ้นเร็ว และฟันขึ้นช้า
โดยปกติเด็กแต่ละคนมีฟันขึ้นช้าหรือเร็วแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่มักไม่เกิน 6 เดือนจากเกณฑ์ปกติ เด็กผู้หญิงฟันจะพัฒนา เร็วกว่าเด็กผู้ชายโดยประมาณ 2 เดือนถึง 10 เดือน เด็กบางคน ฟันขึ้นช้ากว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันมากจนพ่อแม่เป็นห่วง
หาก 8 เดือนแล้วฟันลูกยังไม่ขึ้น คุณแม่อย่านิ่งนอนใจนะคะ เพราะอาจมีสาเหตุความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูก!!!
ฟันน้ำนมที่ขึ้นมาเหนือเหงือกเมื่อทารกคลอดออกมา ก็พบหลายรายเรียกว่า เนแทล ทีธ (Natal Teeth) ซึ่งต่างจาก นีโอแทลทีธ (Neonatal Teeth) ที่ขึ้นก่อนกำหนดในระยะ 30 วันแรก นับจากวันที่ทารกคลอด ส่วนใหญ่ฟันน้ำนมที่ขึ้นเร็วเช่นนี้ จะเป็นฟันซี่หน้าตรงกลาง อาจจะเป็นฟันบนหรือฟันล่าง และมักจะขึ้นมาพร้อมกัน 2 ซี่หรือซี่เดียว สาเหตุยังไม่มีใครทราบแน่นอน แต่สังเกตได้ว่าจะมีคนในครอบครัวเดียวกันที่ฟันขึ้นเร็ว
นักวิจัยพบว่า ฟันที่ขึ้นเร็วส่วนมากจะมีส่วนประกอบทุกอย่าง เหมือนกับฟันที่ขึ้นตามกำหนด เพียงแต่อาจจะโยกเล็กน้อย ฟันที่ขึ้นมาเร็วควรจะเก็บไว้จนกว่าจะหลุดไปเอง แต่บางครั้ง จะก่อปัญหาในการให้ลูกดูดนมมารดา
วิธีแก้อาจทำได้โดยใช้ผ้ากอซหุ้มรอบๆ หัวนม ในขณะให้นมลูก เด็กหลายรายฟันน้ำนมถูกถอนออกก่อนกำหนด และมีผลให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่เร็ว เมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นปุ่มกระดูกที่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก (Eruption Sequestrum) ส่วนใหญ่พบเมื่อฟันกรามขึ้น จะสังเกตเห็นเป็นก้อน หรือปุ่มลักษณะขรุขระสีขาวอยู่กลางร่องฟันแท้ที่กำลังโผล่ขึ้นเหนือเหงือก อาจพบได้ก่อนหรือหลังจากที่ยอดแหลมของฟันจะโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต่อมาเมื่อฟันแท้ขึ้นมาเต็มที่ปุ่มกระดูกดังกล่าวจะหลุดออกเองจากตัวฟันแท้ และละลายตัวไป เปรียบเทียบได้กับจุกก๊อกที่อุดปากขวด แต่ถ้าฟันแท้มีขนาดใหญ่ก็จะมีปุ่มกระดูก (Sequestrum) ที่ใหญ่ด้วย การะละลายของ Sequestrum อาจจะไม่หมดจึงเห็นเป็นปุ่มขาว ลักษณะขรุขระติดอยู่ในเหงือกที่จะเกิดปัญหาคือ เวลาเคี้ยวอาหาร จะทำให้เจ็บ การรักษาไม่จำเป็นต้องใช้ยาใดๆ เพราะอาการดังกล่าว จะหายไปเองเมื่อฟันแท้โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกค่ะ
หากสังเกตว่าฟันเด็กขึ้นช้ากว่ากำหนดมาก อาจต้องให้แพทย์ ตรวจว่าเด็กมีความผิดปกติอื่นๆ เช่น เนื้อเยื่อของเหงือก มีความหนาแน่นมาก (Fibromatosis Gingivae) ซึ่งก็กีดขวาง เป็นอุปสรรคให้ฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกยาก หรืออาจเกิดจาก การขาดวิตามินดีที่เรียกว่า ริกเก็ต (Rickets) ซึ่งพบในเด็ก ที่ถูกเลี้ยงอยู่แต่ในท้อง ไม่ได้ถูกแสงแดด หรือจากการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism) เด็กจะโตช้าและมีการพัฒนาของสมองช้ากว่าปกติ เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นต้นตอและทำการรักษาการพัฒนาของฟัน ก็จะดำเนินต่อไปเป็นปกติ
เด็กบางคนฟันน้ำนมจะติดแน่นอยู่จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มักจะพบบางซี่เช่น ฟันกราม และไม่มีฟันแท้ เมื่ออายุมากขึ้น เข้าวัย 30ปี มีการละลายตัวของรากฟัน ฟันจะโยกและหลุดไปในที่สุด กรณีนี้ต้องใส่ฟันทดแทน
พ่อแม่หลายคนวิตกกังวลเรื่องฟันของลูกขึ้นช้า ควรมาปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีสาเหตุใดที่ทำให้ฟัน ไม่ขึ้นตามกำหนด หากพบว่าเป็นผลของการทำงานผิดปกติ จากต่อมที่ผลิตฮอร์โมน เช่น Endocrine Gland ก็จะได้รักษา ตั้งแต่ระยะแรกเพื่อให้ฟันของเด็กพัฒนาต่อไปตามปกติ
ชนิดของฟัน
|
ฟันน้ำนม ขึ้นเมื่ออายุ
|
ฟันแท้ ขึ้นเมื่ออายุ
| ||
ฟันบน
|
ฟันล่าง
|
ฟันบน
|
ฟันล่าง
| |
ฟันซี่หน้ากลาง
|
7 1/2 เดือน
|
6 1/2 เดือน
|
7-8 ปี
|
6-7 ปี
|
ฟันซี่หน้าข้าง
|
8 เดือน
|
7 เดือน
|
8-9 ปี
|
7-8 ปี
|
ฟันซี่เขี้ยว
|
16-20 เดือน
|
16-20 เดือน
|
11-12 ปี
|
9-10 ปี
|
ฟันกรามน้อยซี่แรก
|
-
|
-
|
10-11 ปี
|
10-12 ปี
|
ฟันกรามน้อยซี่ที่สอง
|
-
|
-
|
10-12 ปี
|
11-12 ปี
|
ฟันกรามใหญ่ซี่แรก
|
12-16 เดือน
|
12-16 เดือน
|
6-7 ปี
|
6-7 ปี
|
ฟันกรามใหญ่ซี่ที่สอง
|
20-30 เดือน
|
20-30 เดือน
|
12-13 ปี
|
11-13 ปี
|
ฟันกรามใหญ่ซี่ที่สาม
|
-
|
-
|
17-21 ปี
|
17-21 ปี
|
ที่มา :: http://mkho.moph.go.th/bbhosp/bbh2012/index.php?option=com_content&view=article&id=89:2012-07-03-02-12-42&catid=24:latest
http://www.enfababy.com/พัฒนาการลูกน้อย/ฟันลูกขึ้นช้าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น