Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD)

เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD)





สาเหตุของการทำให้เป็นเด็กไฮเปอร์ สมาธิสั้น

กลุ่มอาการสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD) หรือที่เรียกกันว่า เด็กไฮเปอร์ เกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ

ปัจจุบัน เชื่อว่าว่าอาจจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่พันธุกรรมจะมีผลและมีการถ่ายทอดอย่างไร ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่มีผลต่อสมองทำให้การทำงานของสมองบางส่วนเกิดการบกพร่อง โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง นี้ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันต่อระบบสั่งงานอื่นๆ พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี แต่อาการมักจะเด่นชัด เมื่อเด็กมีอายุ 4 - 5 ปี


และจากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด





ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้


อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1.อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity) ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา เคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นเด็กในวัยก่อนอายุ 4 - 5 ปี จะแยกได้ยาก เนื่องจากความสามารถในการควบคุมตัวเองของเด็กปกติจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ด้านความพร้อมของพัฒนาการ เด็กอายุก่อน 4 ปี จะมีพฤติกรรมซน ดื้อ และเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เนื่องจากสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งสมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะเริ่มทำงานได้เต็มที่หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว สำหรับเด็กปกติเมื่อพ้นช่วงอายุดังกล่าวไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ เด็กจะวอกแวกได้ง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยๆ ก็ทำให้เด็กเสียสมาธิได้ เช่น ขณะกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ หากมีเสียงของตกพื้น เด็กในกลุ่มสมาธิสั้นจะหันไปทางต้นเสียงทันทีขณะอยู่ในห้องเรียน หากมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูทันที มีความไวต่อสิ่งเร้าภายนอก ผ่านตาหรือหูเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง มักจะแสดงออกด้วยอาการเหม่อลอย นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน เหม่อบ่อยอาจแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะทำงาน ใจก็จะไปคิดถึงเรื่องอื่น ทำให้งานเสร็จช้า ต้องค่อยจ่ำจี้จ่ำไช งานจึงจะสำเร็จลุล่วง ซึ่งเด็กที่ไม่ได้เป็น ไฮเปอร์ อาจทำงานไม่สำเร็จก็ได้ เพราะขาดแรงจูงใจ ไม่มีกำลังใจ หรือซึมเศร้า แต่จะสามารถทำกิจวัตรประจำวัน อย่างสม่ำเสมอส่วนเด็กไฮเปอร์อาจมีอาการขี้เกียจได้ เช่นเดียวกัน แต่ความสามารถทำกิจวัตรประจำวันและความตรงต่อเวลามักพบว่ามีความบกพร่องร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอุปนิสัย แต่เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ที่ต่างจากเด็กปกติ

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น พูดแทรกขึ้นในทันทีขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ อยากพูดก็จะพูดเลย ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เพราะไม่สามารถอดทนรอให้การสนทนานั้นจบเสียก่อนไม่ฟังคำพูดหรือคำขอให้จบก่อน ก็จะรีบลุก รีบวิ่งไปหยิบของนั้นมาให้ แสดงออกในลักษณะรีบเร่ง หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น ซึ่งมักเป็นเหตุเกิดอุบัติเหตุต่อกับเด็กได้ง่ายหงุดหงิดง่าย เล่นแรง ต้องแยกระหว่างเด็กปกติด้วย เพราะเด็กปกติ ก็จะอาจดูเจ้าอารมณ์ เมื่อถูกขัดใจ เป็นเพราะพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ของสมองส่วนหน้า ทำให้ไม่สามารถควบคุมการการยับยั้งชั่งใจหรืออธิบายความต้องการความคับข้องใจของตนเองได้เต็มที่ ในเด็กปกติ หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

จากลักษณะอาการสำคัญทั้ง 3 ของกลุ่มเด็กสมาธิสั้น เด็กอาจมีลักษณะครบทั้ง 3 กลุ่ม หรืออาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกัน1 - 2 อาการเลยก็ได้

สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบวินัย และความอดทนอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี ได้เรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ ที่จะช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก

ดังนั้น หากเด็กอายุเกิน 5 ปี และการได้รับการดูแลเอาใจใส่ดี ฝึกระเบียบวินัย และเสริมสร้างความอดทนรอคอย แต่ยังคงอาการซุกซนอยู่ไม่สุขไม่เข็ดจำ เจ็บตัวต่อเนื่อง อาจต้องส่งตรวจประเมินความเสี่ยงสมาธิสั้นโดยผู้เชี่ยวชาญหรือพาไปพบแพทย์




การวินิจฉัยทางการแพทย์

ในการวินิจฉัยจะเปรียบเทียบกับเด็กธรรมดาทั่วไป โดยดูจากการทำงานหรือทำกิจกรรม ที่มักไม่ค่อยสำเร็จและชอบรบกวนเด็กคนอื่นมากกว่าปกติทั่วไป ในการเล่น ก็มักเล่นไม่จบ เช่น เล่นต่อตัวต่อ ซึ่งเด็กทั่วไปในวัย 7 - 8 ปี จะนั่งเล่นตัวต่อจนเป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้นอาจทำไม่สำเร็จ หรือเด็กทั่วไปสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานประมาณ 15 - 30 นาที แต่หากเด็กนั่งเล่นอยู่กับที่ไม่ได้ อาจสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า อยู่ในกลุ่มสมาธิสั้น

แพทย์จะต้องทำการทดสอบและสังเกตจากปัญหาการเรียนเป็นหลัก โดยภาพรวมแพทย์จะประเมินจากอาการและข้อบ่งชี้ของการเป็นสมาธิสั้นก่อน เพื่อดูว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือไม่

เช่นดูว่า เด็กซนมาก ไม่มีสมาธิจดจ่อ ทำอะไรได้ไม่นาน หุนหันพลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย ความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ ชอบทำของหาย หรือลืมเป็นประจำ มีพฤติกรรมไม่สมกับวัยของเด็ก ซึ่งเป็นก่อนอายุ 7 ปี และเป็นต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ทำให้เด็กมีปัญหาในการปรับตัวและการดำรงชีวิตทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

และยังจะต้องประเมินจากหลายอย่าง เพราะอาจจะเป็น ไฮเปอร์เทียม ที่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูก็ได้ เช่น พ่อแม่ตามใจมากเกินไป ไม่ปลูกฝังเด็กเรื่องวินัยในตนเอง เด็กไม่รู้จักควบคุมตนเอง ไม่มีความรับผิดชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นเร้ามากไป ทั้งของเล่นจำนวนมาก ห้องนอนเสียงดัง เป็นต้นอยู่ในภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เช่น แม่เพิ่งจะคลอดน้องใหม่ หรือตัวเองเด็กเองเพิ่งเข้าโรงเรียน หรือได้ยินพ่อแม่ทะเลาะกัน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กเรียกร้องความสนใจ เด็กอาจจะอยู่ไม่นิ่ง จนเข้าใจไปว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ฉลาดมากไปหรือไม่ก็ปัญญาอ่อน เพราะเด็กที่ฉลาดมาก จะเบื่ออะไรได้ง่ายๆ เพราะไม่มีอะไรน่าสนใจแล้วก็จะเปลี่ยนไปทำหรือเล่นอย่างอื่น ทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งไหนได้ง่ายๆ แต่ถ้าเด็กพบสิ่งของหรือกิจกรรมที่ทำให้สนใจขึ้นมา สมาธิก็จะกลับมาได้

และเด็กที่มีปัญหาการเรียน มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนไม่ดีได้ ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายๆ ด้าน ก่อนจะสรุปว่า ปัญหาของเด็กมาจากสิ่งแวดล้อมหรือจากความผิดปกติของเด็กเอง




การรักษาเด็กไฮเปอร์

แพทย์จะดูประวัติอย่างละเอียด ทั้งสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูที่บ้านและพฤติกรรมที่โรงเรียน เพื่อให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ของเด็ก นำไปปรับพฤติกรรมและวิธีการเลี้ยงดู ถ้าพบว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือสมาธิสั้นแบบแท้ แพทย์อาจจะให้ยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมของเด็ก การปรับพฤติกรรมมีดังนี้

- จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ มีตารางในชีวิตประจำวัน ให้เด็กทำตามอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน ถ่ายหนัก-เบา แต่งตัว ทานข้าวและอื่นๆ โดยพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดเป็นคนคอยบอกและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การรู้จักควบคุมตนเอง เป็นการเสริมให้เด็กมีสมาธิในทางอ้อม

- เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม หากิจกรรมให้เด็กทำ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ชกมวย กระโดดเชือก หรือเตะฟุตบอล เพราะเด็กจะไม่สามารถจดจ่อหรืออยู่นิ่งได้นาน

- ทำงานบ้าน หัดให้เด็กรู้จักรับผิดชอบงานในบ้าน เช่น ล้างจาน เก็บเศษใบไม้ ล้างรถ ล้างห้องน้ำ เป็นต้น โดยการจัดตารางงานให้ทำเป็นเวลา เพื่อสร้างระเบียบพื้นฐานในบ้าน ช่วยฝึกวินัยในการตรงต่อเวลา ให้เด็กรู้ว่าต้องทำงานเสร็จเมื่อใด เป็นต้น และเมื่อเด็กทำงานชิ้นไหนสำเร็จด้วยดี ควรมีรางวัลให้เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ

- สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป บางเรื่องเด็กอาจจะไม่รู้และไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น ปิดโทรทัศน์เมื่อดูการ์ตูนจบ หรือกดชักโครกเมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้ว หรืออื่นๆ เพราะเด็กสมาธิสั้นส่วนมาก จะไม่รู้ตัวว่าต้องทำอะไร จนกว่าจะมีคนคอยบอกคอยสอน

- ให้เวลา มีเวลาให้กับเด็ก เล่นกับเด็ก เล่านิทาน หรือพาไปเที่ยวในที่ๆ เด็กอยากไป แต่ไม่ใช่สถานที่อึกทึกวุ่นวาย

- จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ภายในบ้านต้องไม่มีสิ่งรบกวนหรือสิ่งเร้าต่อเด็กมากเกินไป ต้องจัดห้องและบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของเล่นเข้าที่ มีบรรยากาศสบายๆ ไม่วุ่นวาย ไม่เปิดเพลงเสียงดัง และไม่ปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์มากเกินไป

หากเด็กได้รับความเอาใจใส่ เด็กจะรับรู้ได้ถึงความรักและความเข้าใจที่คนใกล้ชิดมีให้ พฤติกรรมต่างๆ เช่น ความก้าวร้าวที่มากับอาการของโรคสมาธิสั้นจะลดลงได้

หากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก จะส่งผลต่อเนื่องไปจนโต อาจกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะมองว่า ตัวเองไร้ค่า อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น คนเกเร ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม ซึ่งคนในสองกลุ่มดังกล่าว มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่อาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ หรือพ่อแม่และคนในครอบครัว มีความเข้าใจจึงดูแลเป็นอย่างดี



การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว

ในการปรับพฤติกรรมของเด็กไฮเปอร์หรือเด็กสมาธิสั้น ควรจะไปไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป กว่าที่พฤติกรรมจะเปลี่ยน หรือเกิดการพัฒนาจะต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในเวลาสั้นๆ พ่อแม่และคนในครอบครัว จึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น แล้วค่อยๆ ลดบทบาทลงทีละน้อยๆ จนเด็กสามารถทำด้วยตนเองได้

นอกจากนั้น ยังต้องสรรหากิจกรรมต่างๆ มาช่วยเสริมทักษะด้านต่างๆ ให้กับเด็ก ต้องเป็นกิจกรรมที่ปลอดความรุนแรง เพราะถ้าเลือกกิจกรรมไม่เหมาะสม จะกลายไปเป็นการกระตุ้นอาการสมาธิสั้นทำให้อาการแย่ลงไปอีก และที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการลงโทษ โดยจะต้องเปลี่ยนการลงโทษเป็นการตกลงกันก่อน เช่น ลดเวลาดูโทรทัศน์ลง เมื่อเด็กไม่ทำตามกติกา เป็นต้น

การฝึกให้เด็กนั่งอยู่กับที่ และทำกิจกรรมอะไรสักอย่างโดยที่เด็กจะค่อยๆ เพิ่มเวลาให้ความสนใจสิ่งนั้นขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 นาทีเป็น 5 นาที เป็น 7 นาทีไปเรื่อยๆ พ่อแม่ควรให้คำชมเชย เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และในที่สุดก็จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่อย่างดี

ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีทั้งความเข้าใจในโรค ในตัวเด็ก และมีความอดทนเพียงพอ ที่จะดูแลและเพื่อให้เด็กหายจากอาการสมาธิสั้นได้




การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

ถ้าไม่ได้รับการรักษา เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการเรียนและนอกจากนั้นยังจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น การคบเพื่อน การอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่น เพราะพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นก่อให้เกิดความรำคาญต่อคนอื่นไม่น้อย



ปัญหาการเรียน

- เมื่อเด็กขาดสมาธิที่จะตั้งใจฟังครู ไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจฟังครูสอนหรือสั่งการบ้าน ส่งผลให้เด็กเรียนไม่เข้าใจ ทำงานส่งครูไม่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ควรเป็น

- การเรียนของเด็กไม่ดี เพราะบทเรียนของวันนี้ ยังไม่ทันจะทำความเข้าใจให้ดี วันรุ่งขึ้นก็มีบทเรียนใหม่เข้ามาอีก ทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน ก็จะกลายเป็นเบื่อแล้วไม่อยากเรียน

- เมื่อไม่มีสมาธิก็จะยุกยิกตลอดเวลา แกล้งเพื่อน ชวนเพื่อนคุย ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี

- เด็กมักถูกครูทำโทษจากพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นที่แสดงออกมา ทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีเพิ่มขึ้นอีก เด็กจึงมักมีปัญหาด้านอารมณ์และความวิตกกังวลตามมา

- เด็กไม่สามารถอดทนนั่งทำข้อสอบที่ยากและน่าเบื่อได้

- เมื่อประเมินผลการเรียน ผลที่ได้ออกมาไม่ดีเท่าเด็กปกติ ก็จะส่งผลต่อเนื่อง ทำให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเอง มองตัวเองว่า ไม่เก่ง ไม่ดี โง่กว่าเพื่อน

- ในเด็กบางคนที่มีไอคิวดี แต่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย เมือ่เด็กไม่ตั้งใจฟังครูสอน แต่ก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งที่แสดงออกเหมือนไม่ได้ตั้งใจฟังเลย ลักษณะอย่างนี้บางครั้งก็กลับกลายไปเป็นผลเสียต่อเพื่อนที่นั่งเรียนอยู่ข้างๆ เพราะในช่วงไม่มีสมาธิก็จะหันไปชวนเพื่อนคุย พลอยทำให้เพื่อนไม่มีสมาธิในการเรียนไปด้วย
และเหมือนเป็นตัวปัญหาของชั้นเรียน ทำให้ความสัมพันธ์ต่อคนอื่นไม่ดีไปด้วย

ถ้าครูไม่เข้าใจก็จะตำหนิลงโทษ เด็กก็จะเสียกำลังใจ ไม่อยากไปเรียน ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจก็จะตามมา เริ่มโดดเรียน หนีเรียน หรือไม่ก็แสดงออกอย่างอื่น เช่น ก้าวร้าว อาละวาด เป็นต้น




สิ่งที่ครูควรทำ

ถือเป็นเรื่องสำคัญ ครูจะต้องจัดลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม

- การวาดรูป ระบายสี หรือศิลปะจะช่วยทำให้เด็กสงบ มีสมาธิมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีในวิชาศิลปะ ครูอาจจะเพิ่มเวลาเรียนวิชาศิลปะให้มากขึ้น

- เด็กไม่ควรอยู่ในห้องที่มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เยอะ แขวนระโยงระยาง ควรจัดให้เรียนให้ห้องที่สงบ โปร่งโล่ง

- ครูต้องเลือกวิชาและจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับเด็ก

- ครูอาจต้องแยกเด็กไฮเปอร์ ออกจากเพื่อนเพื่อไม่ให้รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่น

- ครูต้องคอยสังเกตว่า ยาที่แพทย์ให้มานั้นเด็กกินแล้วเป็นอย่างไร และรายงานผลกลับไปที่แพทย์ด้วย เช่น ยาตัวนี้เด็กกินแล้วไม่ซน แต่ง่วงหลับตลอดวัน ก็ต้องมีการปรับตัวยา เพราะเท่ากับเด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย


สำหรับเด็กไฮเปอร์ ครูจะต้องประสานกับพ่อแม่หรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ของเด็ก และหากครูมีความเข้าใจและให้ความรักเด็กที่เป็นโรคนี้ การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ                                               



บทความที่เกี่ยวข้อง 
 





ที่มา   : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : นิตยสาร Kids & School : หนังสือสำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค : www.autismthai.com - See more at: http://www.momypedia.com/