Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

การทำพินัยกรรม

                  การทำพินัยกรรม




















เมื่อท่านเสียชีวิตลง ทรัพย์สินของท่านจะตกทอดสู่ทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิ์ได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ปัญหาที่มักพบอยู่บ่อยครั้ง คือ การโต้แย้งกันในเรื่องของการแบ่งทรัพย์สินในกองมรดกไม่ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้ทรัพย์สินมากกว่าหรือน้อยกว่า ได้ทรัพย์สินที่ดีกว่าหรือด้อยกว่า หลายท่านเล็งเห็นผลที่จะตามมาในอนาคต และเกรงว่าทายาทโดยธรรม หรือบุตรหลานอาจจะทะเลาะเบาะแว้งกัน เนื่องมาจากเรื่องของทรัพย์สินในกองมรดก จึงมีการจัดการทรัพย์มรดกไว้ก่อนตาย รายการโอนให้แก่ทายาท หรืออาจจะทำพินัยกรรมเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกัน

พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย
แบบของพินัยกรรม มี 5 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663
พินัยกรรมในแบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง เป็นแบบที่นิยมทำกันมากที่สุด เนื่องจากสามารถทำได้เองและประหยัดเวลามากที่สุด ส่วนพินัยกรรมในแบบที่สาม แบบที่สี่ และแบบที่ห้านั้น เป็นพินัยกรรมฝ่ายเมือง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอ หรือสำนักงานเขตเป็นผู้จัดทำให้ ซึ่งอาจมีขั้นตอนมาก และมีค่าธรรมเนียมในการจัดทำ แต่ก็ถือว่าได้กระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นคนกลางโดยแท้จริง และเป็นพยานที่มีน้ำหนักมากเมื่อขึ้นเบิกความในศาล
การทำพินัยกรรม จึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้ตรงตามเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และยังกำหนดให้บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ทายาท ไม่ใช่ญาติ และไม่มีความสัมพันธ์ในทางกฎหมายกับเจ้ามรดก สามารถเข้ามารับทรัพย์มรดกได้ด้วย
การทำพินัยกรรมในแบบที่หนึ่ง และแบบที่สองดังกล่าว หากกระทำไปโดยมีข้อบกพร่องในการทำพินัยกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจจะเป็นข้อต่อสู้ในทางกฎหมายทำให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ และทำให้ต้องกลับไปสู่การแบ่งปันทรัพย์มรดก ในแบบปกติ คือ การร้องขอต่อศาล เพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และจะต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนฝ่าย เพื่อให้ผู้จัดการมรดกนำทรัพย์มรดกทุกอย่างมาแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมอย่างถูกต้อง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อีกทั้งผู้จัดการมรดกจะต้องนำทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเท่านั้น จะแบ่งให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกฝ่าย
ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงในเรื่องของทรัพย์มรดกได้ สุดท้ายจะต้องนำทรัพย์มรดกดังกล่าว นำออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาแบ่งปันให้แก่ทายาททุกรายโดยเท่าเทียมกัน
ข้อบกพร่องที่อาจจะสามารถทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะได้มีหลายกรณีครับ ตัวอย่างเช่น
1. การแก้ไขตกเติมพินัยกรรม โดยผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
2. พินัยกรรมมีหลายแผ่น แต่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อเพียงแค่แผ่นสุดท้ายแผ่นเดียว ซึ่งอาจจะถูกโต้แย้งได้ว่าพินัยกรรมแผ่นที่ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อนั้น อาจจะปริ้นต์ออกมาคนละคราวกับแผ่นสุดท้าย ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ โดยเฉพาะเครื่องปริ้นต์เราควรใช้เครื่องเดียวกัน เนื่องจากเครื่องปริ้นแต่ละเครื่องอาจจะมีตำหนิ หรือร่องรอยบนลูกกลิ้งไม่ตรงกัน






3. พินัยกรรมแบบธรรมดา แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ทั้งนี้ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน 2 คนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
4. พินัยกรรมแบบธรรมดา แต่มีผู้รับพินัยกรรมเป็นพยานด้วย
5. พินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำพินัยกรรมและพยานสองคนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพร้อมกัน
6. พินัยกรรมจะต้องทำในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ และปราศจากการบังคับ ขู่เข็ญ หรือ หลอกลวง
7. พินัยกรรมจะต้องระบุวันที่เดือนปีที่ทำพินัยกรรมอย่างชัดเจน
ดังนั้น การทำพินัยกรรมฝ่ายเมือง หรือทำพินัยกรรมโดยให้นักกฎหมายเป็นผู้จัดทำ หรือให้คำแนะนำ จะสามารถลดข้อบกพร่องในพินัยกรรมได้ครับ
8. ปากกาที่ใช้ในการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม พยาน หรือผู้เรียงและพิมพ์พินัยกรรม ควรใช้ปากกาด้ามเดียวกัน เพื่อลดข้อต่อสู้ของอีกฝ่ายว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าวไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน



รูปแบบของการทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดา
- เขียนหรือพิมพ์ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าการอำเภอ

พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
- เขียนเอง (ห้ามพิมพ์) ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าอำเภอ

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
- แจ้งข้อความกับนายอำเภอ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- เก็บพินัยกรรมไว้ที่อำเภอ

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
- นำพินัยกรรมติดต่อนายอำเภอแจ้งว่าทำเอง ต่อหน้าพยาน 2 คน
- นายอำเภอ,พยาน,ผู้ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อบนซอง
- ขอพินัยกรรมกลับบ้านได้

พินัยกรรมทำด้วยวาจา
- ต้องเป็นเหตุคับขัน
- แจ้งข้อความต่อหน้าพยาน 2 คน
- พยานนำข้อความไปติดต่ออำเภอเพื่อทำพินัยกรรมอีกครั้ง

อัตราค่าธรรมเนียม

กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท

กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท





การทำพินัยกรรมมีหลายแบบลองพิจารณาดูว่าจะทำแบบไหน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะจ้างหรือทำเองได้ค่ะ
1.พินัยกรรมและมรดก
หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
-ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
-ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะลงชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้
-ห้ามใช้ตราประทับหรือ เครื่องหมายกากบาทหรือขีดเขียน แทนการลงชื่อในพินัยกรรม
-พยานจะต้องลงชื่ออย่างเดียวเท่านั้น ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือ และห้ามใช้ตราประทับหรือเครื่องหมายอย่างอื่น
-ในกรณีที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ้าเกิดเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ซึ่งจะไม่มีลายนิ้วมือ) โดยมีพยานลงชื่อรับรองความถูกต้องก็ไม่ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ
-การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต 

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้
-การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
-ต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
-ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นแทนการลงชื่อ
-ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการอื่นๆ ในพินัยกรรมได้เพียงคนเดียวและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกครั้ง
-การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่นายอำเภอและต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
-นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้ง และอ่านข้อความ ให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
-ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
-ข้อความที่นายอำเภอจดไว้ ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่ทำ แล้วประทับตราตำแหน่งไว้
อัตราค่าธรรมเนียม
กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
    - เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
    - ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
    กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
    - กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
    - ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง สามารถทำได้ทั้งในและนอกว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ และสำนักงานเขต
-ผู้ทำพินัยกรรมสามารถให้นายอำเภอจัดเก็บรักษาพินัยกรรมนั้นไว้ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอและสำนักงานเขตได้
-เมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตผู้มีสิทธิรับมรดกสามารถยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายอำเภอเพื่อขอรับพินัยกรรม

4.พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ข้อความต้องมีลักษณะเป็นพินัยกรรม เช่น “ได้ยกทรัพย์สมบัติให้แก่ นาย ก.” เป็นต้น พร้อมทั้งลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
-ปิดผนึกพินัยกรรม และลงชื่อทับบริเวณที่ปิดผนึก
-นำพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมทั้งแจ้งว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมเอง จากนั้นแจ้งชื่อและภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมเอง
-นายอำเภอจดคำพูดของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่ง จากนั้นนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงชื่อบนซอง
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-กรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นใบ้ และหูหนวก หรือพูดไม่ได้ สามารถทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ได้โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความด้วยตนเองบนซองพินัยกรรม ต่อหน้านายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
-กรณีผู้ทำพินัยกรรมมีความต้องการขอรับพินัยกรรมแบบเอกสารลับกลับไปทันที ให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในสมุดทะเบียน
อัตราค่าธรรมเนียม
-การทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ เสียอัตราค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา
หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
-การทำพินัยกรรมที่ใช้วาจา จะสามารถทำได้เฉพาะในเหตุคับขัน ที่ทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรได้
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
-พยานต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้, วัน เดือน ปี ของสถานที่ที่ทำพินัยกรรม รวมถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา
-ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานต้องลงลายมือชื่อ หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือ (กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้) และมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน
ระยะเวลา / อายุของพินัยกรรม

-การทำพินัยกรรมด้วยวาจามีระยะเวลา 1 เดือน โดยนับหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

ที่มา  :: https://pantip.com/topic/30216720