Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เจ้าหนูติดหนึบ ลูกติดแม่

เจ้าหนูติดหนึบ ลูกติดแม่ 



ถ้าทารกน้อยแสดงอาการ"ติดหนึบ"หรือ"ไปไหน ไปด้วย" กับคุณล่ะก็ อย่าเพิ่งอารมณ์เสียค่ะ เพราะเรามีวิธีแก้ไขมาบอกกัน


 

คุณแม่ท่านหนึ่งบ่นเรื่องอาการติดแจของลูกชายว่า "ทันทีที่เขาเกิด ฉันก็ไม่มีเวลาส่วนตัวอีกแล้ว แม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำก็ตาม เพราะลูกจะไม่ยอมให้ฉันคลาดสายตาไปจากเขาเลย"...

อาการไปไหนไปด้วยของเด็กนี้พบได้ไม่น้อยค่ะ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่โดยพื้นฐานของเด็กที่เรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นแล้ว จุดนี้อาจเป็นสาเหตุให้เด็กเกิดอาการติดหนึบกับใครบางคน ซึ่งก็มักเป็นแม่ได้ง่าย
นอกจากนี้ในเด็กบางคนเขาอาจต้องการความรัก สัมผัสที่โอบกอดจากแม่มากเป็นพิเศษก็ได้ ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่แม่จะไม่สนองตอบใช่ไหมคะ
ขณะเดียวกันอย่าลืมว่าทารกแรกเกิดใหม่ ย่อมต้องการเวลาที่จะปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่นอกท้องแม่ ช่วงเวลานี้ หัวใจน้อยๆคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความกังวลความเครียดมากทีเดียว ดังนั้น เจ้าหนูจึงยึดเอาแม่ที่แกคุ้นเสียงมาตั้งแต่อยู่ในท้องเป็นที่พึ่งหลัก ผลก็คืออาการติดแม่ไงคะ

ส่วนคุณแม่อีกท่านหนึ่งกลับพบปัญหาที่ต่างออกไป เธอบอกว่า "ลูกสาวไม่เอาคนอื่นเลย แม้แต่พ่อของแกก็ตาม นี่ก็เพิ่งทำให้คุณย่างอนไปแล้ว เพราะพอคุณย่าอุ้มแกก็ร้องลั่นทันที"
ทารกจะมีประสาทสัมผัสที่ไวมากค่ะ เพราะฉะนั้นแกจะรู้ได้ทันทีเลยว่ามือที่อุ้มอยู่นั้นไม่ใช่มือแม่ที่คุ้นเคย แล้วพอรู้ว่าไม่ใช่ แกก็จะเกิดความกลัว กังวล สับสนสารพัด แกจึงร้องเพื่อเรียกหาผู้ที่แกคุ้นเคย จากนั้นด้วยความไม่ไว้ใจ คราวนี้ล่ะแม่ไปไหน หนูก็ไปด้วยสิ
แล้วอย่าลืมบอกคุณพ่อคุณย่าและญาติท่านอื่นๆนะคะว่า ให้เวลาลูกทารกทำความคุ้นเคยหน่อย ไม่นานหรอกค่ะ ซึ่งคุณแม่อาจช่วยได้ เช่น แม้ลูกไม่เห็นตัวคุณ แต่ถ้าได้ยินเสียง ก็พอจะทำให้ความกังวลของลูกลดน้อยไปได้ หรือแม้คนอื่นจะอุ้มลูก แต่ลูกก็ยังเห็นคุณอยู่ใกล้ๆ ค่อยๆปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดลูกน้อยก็จะเลิกติดคุณไปเองค่ะ
  
แต่สำหรับคุณแม่ท่านนี้ ปัญหาลูกติดแจเธอแก้ไขได้แล้วค่ะ ด้วยวิธี "วันหนึ่งฉันเกิดอยากว่ายน้ำขึ้นมา แต่ลูกก็ไม่ยอมห่างจากตัวฉันเลย ทางเจ้าหน้าที่สระว่ายน้ำเลยช่วยแนะวิธี ซึ่งมันก็ได้ผลจริงๆ โดยเขาแนะนำให้สร้างบรรยากาศรอบตัวลูกเช่นที่ลูกคุ้นเคยเมื่ออยู่ที่บ้าน ฉันก็เลยนำโมบายล์ ของเล่นที่ลูกชอบ หมอนนุ่มที่แกติดมาใส่ไว้ในรถเข็นรอบตัวลูก ปรากฏว่าลูกนอนเล่นเพลิน ขณะที่ฉันก็ได้ว่ายน้ำอย่างพอใจด้วยค่ะ"...
  
ลองใช้วิธีนี้ดูนะคะ นักจิตวิทยาเด็กบอกว่า การสร้างบรรยากาศที่คุ้นเคยให้เด็ก จะช่วยให้ความรู้สึกกังวล ไม่มั่นใจ เพราะแปลกที่แปลกคน ลดลงได้ค่ะ แต่นั่นหมายความว่าผู้ที่เจ้าตัวน้อยติดหนึบไม่หายหน้าหายตัวไปนานเป็นชั่วโมงๆหรือเป็นวันๆนะคะ

อาการติดแจ ไปไหนไปด้วยของลูกนี้ เป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความอดทน ความเข้าอกเข้าใจ และกำลังแรงใจมากทีเดียวค่ะ อย่างไรก็ตามนอกจากเจ้าหนูติดหนับจะเรียกร้องเอากับคุณแม่ที่แกติดแล้ว ตัวคุณแม่ก็ต้องการกำลังใจและกำลังแรงใจจากคุณพ่อคอยช่วยสนับสนุนด้วยค่ะ



 
10 วิธีช่วยให้ปัญหาติดหนึบผ่อนคลาย
 
1.ถ้าลูกไม่ชอบเมื่อถูกคนอื่นอุ้ม คุณต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกว่าคุณไม่หนีไปไหน โดยส่งเสียงให้ลูกได้ยิน หรืออยู่ให้ลูกเห็นใกล้ๆ

2.อย่ากังวลว่าการอุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกร้องหรืออยากให้คุณอุ้มว่าจะเป็นการทำให้ลูกติด เพราะพอลูกโตขึ้นพัฒนาการด้านต่างๆที่มีมากขึ้นจะทำให้ลูกปรับตัวหันไปสนใจสิ่งใหม่ๆที่เข้ามาในชีวิตเอง

3.ให้คุณพ่อหรือญาติพี่น้องช่วยออกแรงและให้กำลังใจยามที่คุณเผชิญกับอาการติดหนึบของลูก อย่าผจญกับลูกที่ติดแจตามลำพัง เพราะจะทำให้คุณเครียดได้

4.ให้กำลังใจคุณพ่ออย่าได้ท้อถอยที่จะเข้าหาลูก แม้ลูกจะแสดงอาการไม่สนพ่อเลยก็ตาม

5.ถ้าคุณมีธุระและจำเป็นต้องทิ้งลูกไว้กับคนอื่น โปรดมั่นใจก่อนว่าคนๆนั้นต้องเข้าใจและรู้วิธีปฏิบัติต่ออาการปฏิเสธของลูก

6.ถ้าลูกจะเลิกติดคุณ ก็เพราะลูกพร้อม แต่ไม่ใช่เป็นเพราะคุณจับลูกแยกออกไป

7.ถ้าคุณเหนื่อยที่จะอุ้มลูกอยู่ตลอดเวลา ก็เปลี่ยนมาให้เขานอนเล่น หรือนั่งเล่นกับพื้น โดยมีคุณอยู่ใกล้ๆ สิคะ

8.แน่ใจว่าคนที่มาช่วยดูแลลูกจะปฏิบัตต่อลูกเหมือนที่คุณทำ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวัน เช่น เวลานอน วิธีอุ้ม เพลงทีร้องกล่อม เป็นต้น

9.ถ้าคุณเปลี่ยนพี่เลี้ยงของลูกคนใหม่ โปรดให้เล่าลูกได้สร้างความคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงใหม่กันก่อน จากนั้นค่อยทิ้งระยะห่างให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง

10.ถ้าพาลูกไปไหนก็ตาม ควรนำของที่ลูกชอบเมื่ออยู่ที่บ้านไปด้วย เพื่อช่วยให้ลูกไม่รู้สึกแตกต่างมากนัก เช่น ตุ๊กตาตัวโปรด ผ้าห่มประจำตัว เป็นต้น



 
เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน
 
คงเป็นปัญหากังวลใจทั้งลูกและแม่เลยล่ะค่ะ ทางที่ดีคุณควรวางแผนก่อนจะกลับไปทำงานสักหน่อย โดยเผื่อเวลาให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยกับพี่เลี้ยง โดยเริ่มจากให้พี่เลี้ยงมาช่วยเลี้ยงขณะที่คุณอยู่กับลูก พอลูกคุ้นสักพัก คราวนี้คุณก็ค่อยๆปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง แล้วก็นานขึ้นๆ จนลูกพร้อมและคุ้นเคยกับการหายไปของคุณ

บอกและสอนให้พี่เลี้ยงลูกรู้จักอุปนิสัยของลูก กิจวัตรประจำวันในแต่ละวันของลูก อะไรที่ลูกชอบ ไม่ชอบ เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างลูกกับพี่เลี้ยง
ขณะเดียวกันคุณก็ควรแสดงให้ลูกเห็นเป็นประจำว่าแม้คุณหายไปช่วงหนึ่ง แต่ตอนเย็นคุณก็จะกลับมาหาลูกใหม่ เล่นกับลูก และอยู่กับลูกตลอด ลูกจะได้คุ้นเคย และมั่นใจไงคะว่าคุณไม่ทิ้งเขาไป




ที่มา   ::     http://tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=2718



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น