วิธีปลูกกะเพราต้นเดียวให้เก็บกินได้ทั้งปี
กะเพรา, โหระพา และแมงลัก นั้นคล้ายๆ กัน
ฝรั่งเรียกกะเพรา, โหระพา และแมงลักนั้นว่าเบซิล (basil) เหมือนกันแต่ต่างกันตรงคำคุณศัพท์ที่แตกต่างกันคือ holy basil (กะเพรา), sweet basil (โหระพา), lemon basil (แมงลัก)
โปรดสังเกตว่ากะเพราเป็นพืชประเภทเบซิลชนิดเดียวที่มีชื่อแปลจากภาษาอังกฤษว่า "เบซิลศักดิ์สิทธิ์" ในขณะที่โหระพาแปลว่าเบซิลหวานและแมงลักแปลว่าเบซิลที่มีกลิ่นมะนาว
เลือกพันธุ์กะเพรา
วิธีการปลูกกะเพราทำได้ง่ายมาก แต่ก่อนอื่นให้เลือกก่อนว่าชอบกะเพราแบบไหน กระเพราขาวใบใหญ่ หรือกะเพราแดงที่กลิ่นเข้มข้นมากกว่า เมื่อตัดสินใจได้แล้วจะได้ลงมือปลูกกัน
วิธีปลูกกะเพรา
การปลูกกะเพราทำได้ทั้งโดยวิธีเพาะเมล็ด และวิธีชำกิ่ง แต่วิธีเพาะเมล็ดกะเพราจะโตช้ากว่า จึงแนะนำให้ใช้วิธีชำกิ่ง
การเลือกกิ่งพันธุ์ให้เลือกกิ่งกลางแก่กลางอ่อนที่ยังไม่เคยออกดอก ตัดกิ่งยาวประมาณ 4-5 นิ้วมาปักชำในกระถาง โดยปักเอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่ม ไม่กี่วันกะเพราก็แตกรากแตกใบ ต้นโตเร็วกว่าวิธีเพาะเมล็ดมาก
เมื่อกะเพราแตกกิ่งดีแล้วจะปลูกในกระถางต่อไปก็ได้ หรือนำไปปลูกลงดินก็ได้ ข้อแตกต่างคือถ้าย้ายมาปลูกลงดินจะได้กะเพราที่ต้นสูงใหญ่กว่า วิธีปลูกลงดินถ้ามีพื้นที่เหลือพอก็ปลูกหลายต้นได้เลย โดยปลูกให้ต้นห่างกัน 20-30 เซนติเมตร
เทคนิคการเก็บกะเพรา
เมื่อกะเพราโตแล้วถึงเวลาจะเก็บมาทำอาหาร มีเทคนิคว่าอย่าใช้วิธีเด็ดใบ แต่ให้ตัดมาทั้งยอดเลย เพราะเมื่อตัดยอดมาแล้วกะเพราจะแตกยอดใหม่และใบหนากว่าเก่า ถ้าเก็บยอดกะเพรามาทำอาหารไม่ทันก็ต้องคอยดูแลตัดยอดทิ้งทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะถ้าเห็นยอดไหนออกดอกต้องตัดทิ้งให้หมดทันที อย่าปล่อยให้กะเพราออกดอกเด็ดขาดเพราะต้นจะโทรมง่ายและหมดอายุเร็ว
คอยดูแลรดน้ำให้พอ ใส่ปุ๋ยบ้าง และคอยตัดยอดตัดดอกทิ้งอย่าให้ออกดอก แค่นี้กะเพราต้นเดียวก็จะต้นสูงใหญ่และอายุยืนเป็นอาหารคู่ครัวได้เป็นปีเลยทีเดียว
กะเพราแดง พืชสมุนไพรรักษาโรคและนิยมนำมาประกอบอาหาร
กะเพราแดงภาษาอังกฤษ : Red Holy Basil
กะเพราแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenufiorum L.
ชื่อเรียกอื่น ๆ : กอมก้อดง (เชียงใหม่), กะเพราขน (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคอีสาน), ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง) ฯลฯ
วงศ์ : Lamiaceae (เดิมคือ Labiatae)
กะเพราแดง เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนยาวกว่าพืชผักทั่วไป โดยเป็นพืชในเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า เช่น เอเชีย แอฟริกา ซึ่งพบมากในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยที่พบมากและขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด กะเพราแดงนับเป็นสมุนไพรในตำรายาไทย โดยสามารถนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากกว่า 10 โรค ถือเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ด นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างเมนูผัดกะเพรา

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นกะเพราแดง
กะเพราแดงนอกจากจะเป็นพืชอาหารแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ด้วย อีกทั้งยังถือเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่ให้ความสวยงาม โดยกะเพราแดงนั้นถือเป็นไม้ที่ชาวฮินดูเคารพเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับนางลักษมี พระชายาของพระวิษณุหรือองค์พระนารายณ์ ถูกใช้ในพิธีกรรมบูชาพระวิษณุ ชาวฮินดูจึงเรียกกะเพราว่า Tulasi ที่แปลว่า “ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้” หรืออยู่ในฐานะที่สูงส่งนั่นเอง ในขณะเดียวกันชาวคริสต์ก็ถือว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน โดยถือว่าเป็นลูกไม้ที่งอกออกมาจากหลุมศพพระเยซู นอกจากนี้ในวรรณกรรมโบราณ ว่าถึงตัวเอกในละครที่ตั้งใจรดน้ำต้นกะเพราแดงด้วยหยดน้ำตา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรู้สึกแห่งความฉุน ความโกรธ ความรัก ความอาลัยรักในใบกะเพราแดง
ควรปลูกบริเวณใดของบ้าน
สำหรับการปลูกกะเพราแดงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวันจะดีที่สุด เพราะกะเพราแดงชอบอากาศร้อน หากปลูกไว้ในบริเวณที่โดนแสงแดดแบบเต็มวันจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และถ้าหากปลูกไว้ใกล้ ๆ ครัวก็จะยิ่งทำให้สะดวกต่อการนำมาใช้ประกอบอาหารมากยิ่งขึ้น
ลักษณะของต้นกะเพราแดง
- ลำต้น กะเพราแดงเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ลำต้นของต้นกะเพราแดงมีความแข็งแรง ยิ่งอายุมากก็จะมีต้นที่โตและแข็งแรงมากขึ้น ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลม ๆ มีสีเขียวอมม่วงแดง มีความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 70 เซนติเมตร บริเวณลำต้นจะปกคลุมด้วยขนอ่อน
- ใบ ใบกะเพราแดงเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน โดยใบยอดจะมีขนอ่อน เนื้อใบบาง ใบมีขนาดเล็กกว่าใบกะเพราขาว รูปร่างใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรีขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลมหรือมน ขอบใบหยัก กลิ่นจะหอมแรงกว่ากะเพราทั่วไป
- ดอก ดอกกะเพราแดงจะออกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายมีความเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ส่วนปากล่างจะมี 1 แฉก และปากล่างนั้นจะยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน
- ผล ผลของกะเพราแดงมีลักษณะเป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดมีลักษณะเป็นทรงรีเล็ก ๆ สีดำ

วิธีการปลูก
สำหรับวิธีการปลูกกะเพราแดงสามารถใช้เมล็ดปลูกและชำกิ่ง สำหรับการปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เมล็ดกะเพราแดงที่แห้งแตกมาหว่านลงดินที่จะใช้ปลูก หากได้รับน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะสามารถงอกขึ้นเป็นต้นได้ ซึ่งการขยายพันธุ์กะเพราแดงนั้นจะนิยมใช้เมล็ดในการเพาะต้นกล้า โดยหว่านลงแปลงปลูก หลังจากนั้นรดน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน จนกล้าแตกใบแท้ 2-5 ใบ ก็สามารถขุดต้นกล้าเพื่อย้ายลงในแปลงหรือกระถางตามต้องการ
วิธีการดูแล
- แสง กะเพราแดงชอบอากาศร้อน ดังนั้นควรให้ต้นกะเพราแดงได้รับแสงแดดแบบเต็มวัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและเร็วขึ้น
- น้ำ ควรให้น้ำหลังจากปลูกวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาจให้วันเว้นวันเมื่อต้นกะเพราแดงแตกกิ่งเป็นพุ่มใหญ่
- ดิน กะเพราแดงอยู่ได้กับดินทุกชนิด แต่ถ้าหากใช้ดินร่วนและระบายน้ำได้ดีในการปลูกจะช่วยให้ผลผลิตที่ดีกว่า สำหรับระยะการปลูกนั้นควรเว้นความห่างเพื่อให้กะเพราแตกพุ่ม 30 เซนติเมตร
- ปุ๋ย ให้ปุ๋ยคอก อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ หลังปลูกประมาณ 2-4 สัปดาห์

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตของกะเพราแดงได้ประมาณ 2 เดือน หลังจากการปลูก โดยสามารถใช้มือเด็ดยอดอ่อนหรือใช้กรรไกรตัดกิ่ง สามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อย ๆ ในทุก ๆ 20-30 วัน ทั้งนี้กะเพราแดงนั้นเป็นผักที่ค่อนข้างบอบบาง ช้ำและเหี่ยวง่าย ดังนั้นควรเก็บอย่างเบามือแล้วนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้
ประโยชน์และสรรพคุณต่าง ๆ
- สามารถนำกะเพราแดงมาประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้ เช่น ผัดกะเพรา ต้มยำ ต้มโคล้ง แกงเลียง แกงป่า ผัดฉ่า เป็นต้น
- ช่วยป้องกันรักษาดวงตา ป้องกันแก้วตาขุ่น ฟื้นฟูจอประสาทตา บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น รวมถึงลดอาการบวมของเส้นประสาทตาจากการป่วยโรคเบาหวาน
- แก้หวัด แก้ไข้สันนิบาต ช่วยรักษาไข้มาลาเรีย รักษาอาการวิตกกังวล เครียด และซึมเศร้า
- ใช้ใบและยอดกะเพราแดงในการรักษาอาการกรดไหลย้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นหน้าอก แก้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาแผลในกระเพาะ และช่วยให้เจริญอาหาร
- แก้ซางตานขโมย สามารถใช้ใบกะเพราแดงสดมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับยามหาหิงคุ์ นำมาทาที่บริเวณสะดือของเด็กแก้ปวดท้อง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับสตรีหลังคลอดบุตร ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน รักษากลาก เกลื้อน และโรคหูดได้
- สามารถนำมาชงดื่มบำรุงธาตุและลดน้ำตาลในเลือดในปัสสาวะได้
- น้ำคั้นจากใบกะเพราแดงสามารถช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ไข้ ขับลม แก้ปวดหลัง และใช้หยอดแก้ปวดหูได้
- สามารถนำเมล็ดกะเพราแดงมาแช่น้ำพองเป็นเมือกแล้วใช้พอกตาเมื่อมีขี้ผงฝุ่นเข้าตา ไม่ให้ขอบตาบวมช้ำ
- น้ำมันกะเพราแดงสามารถใช้ป้องกันและไล่ยุงได้
- คนไทยสมัยก่อนนิยมทานแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ





ข้อแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลดีควรใส่ปุ๋ยควบคู่กับการแกล้งกระเพรา

1. กระเพราใบเขียว ก้านแดง เป็นพันธุ์ที่มีใบ และดอกเป็นสีขาว แต่มีลักษณะก้านใบ และก้านดอกเป็นสีแดง รวมถึงใบเขียวหรือเขียวอมแดง เป็นกระเพราที่มีกลิ่นฉุน และ เผ็ดร้อน กำลังพอดี เหมาะสำหรับนำมาทำผัดกระเพรา เพราจะได้รสชาติกระเพราที่กลมกล่อม หอมกำลังพอดี

2. กระเพราใบเขียว ก้านเขียวหรือก้านขาว เป็นพันธุ์ที่มีก้านใบ ก้านดอก ใบ เป็นสีเขียว และดอกเป็นสีขาว มีใบใหญ่ รสชาติออกหวาน ไม่ค่อยมีกลิ่นฉุนหรือรสเผ็ด

3. กระเพราใบแดง ก้านแดง เป็นพันธุ์มีก้านใบ ก้านดอก และดอกเป็นสีแดงอมม่วง ใบมีสีแดงม่วงอมเขียว เป็นกระเพราที่มีกลิ่นฉุนมาก และ รสเผ็ดรอนมากที่สุดในกระเพราทั้งหมด เหมาะสำหรับนำมาทำอาหารที่ต้องการปรุงรสให้เผ็ดร้อน เช่น ต้มโคล้ง หรือ ผัดกระเพราที่มีรสจัด

วิธีการปลูกกะเพราด้วยการปักชำ

#วิธีปลูกกะเพราต้นเดียวให้เก็บกินได้ทั้งปี #กะเพราแดง #HolyBasil #กะเพรา #SweetBasil #โหระพา #LemonBasil #แมงลัก #RedHolyBasil
ที่มา :: farmchannelthailand.com , https://stri.cmu.ac.th
https://ittm.dtam.moph.go.th , postnoname.com , http://www.tojeen.com/
วิธีเพาะกะเพราให้งอกไว ใบดกหนาใหญ่ต้นเดียวก็เก็บไม่ทัน
ตอบลบการเพาะเมล็ดสำหรับทำกล้ากะเพรา
ทำแปลงเพาะขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่แปลง ย่อยดินให้ละเอียด คลุกเคล้าปุ๋ยคอกแล้วหว่านเมล็ด ให้ทั่วแปลง หลังเพาะประมาณ 7-10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ดูแลรักษาต้นกล้าอายุต้นกล้าประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้
การเตรียมดินปลูกและการย้ายปลูกกะเพรา
ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร หรือ 1 หน้าจอบ ใส่ปุ๋ยคอกลงแปลงกว้าง 1 เมตร ความยาว แล้วแต่ขนาด แปลง ขุดหลุมปลูกขนาดลึก 1/2 หน้าจอบ ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร นำต้นกล้าลงปลูกในหลุมปลูกแล้วรดน้ำตาม
การดูแลรักษากะเพรา
การใส่ปุ๋ ย เมื่อต้นกะเพราอายุ 10-15 วัน ใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 ช้อนชา ต่อน้ำ 10 ลิตร รดทุก 5-7 วัน และเมื่อต้นกะเพราอายุ 25-30 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชา ต่อต้น ให้ทุก 20-25 วัน โดยโรยห่างโคนต้น 1-2 นิ้ว หรือจะใช้ปุ๋ยคอก อย่างสม่ำเสมอ และน้อยลงก็ได้
การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอทุกวัน ให้แค่พอชุ่ม หรือวันละครั้งก็พอ
การเก็บเกี่ยวกะเพรา
หลังปลูกประมาณ 30-35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้มือหรือกรรไกรตัดกิ่งที่มียอดอ่อนบริโภค และถ้าต้นกะเพราออกดอก ควรหมั่นตัดแต่งออกทิ้ง เพื่อให้กะเพรามีทรงพุ่มที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว
1. กะเพรามี 2 สายพันธุ์คือ กะเพราแดง กับกะเพราขาว
ตอบลบ1.1 กะเพราแดง (Red Holy Basil)
เป็นพันธุ์พื้นบ้าน ลำต้นและใบจะมีสีแดงผสมอยู่ มีกลิ่นฉุนแรง เวลานำมาประกอบอาหารมีกลิ่นหอมมาก แนะนำให้ปลูกนะคะ แล้วคุณจะติดใจ ถ้าคุณอยู่ในเมืองกรุง ก็หาซื้อยากหน่อยค่ะ ฉะนั้นปลูกทานเองเลย#ของดีที่คุณต้องปลูก
กะเพราแดง2
1.2 กะเพราขาว (White Holy Basil)
เป็นสายพันธุ์ที่นิยมทาน และแพร่หลายมาก กลิ่นฉุน แต่จะไม่แรงเท่ากับกะเพราแดง รสชาติเผ็ดร้อนน้อยกว่ากะเพราแดง
กะเพราขาว2
สรรพคุณของกะเพรา
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ช่วยขับลมในกระเพาะ
ทำให้เรอ
แก้อาการหวัด
ช่วยแก้เรื่องกรดไหลย้อน โดยการเอาใบกะเพาประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ แล้วดื่มหลังทานอาหาร 1 แก้วจะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้1
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ชัดเจนว่าการกินใบกะเพราวันละ ½ ขีด สามารถต้านเชื้อไวรัสโควิดได้ แต่อย่างไรก็ตามในใบกะเพรามีสารที่มีประโยชน์มากมายดังที่กล่าวไปข้างต้น
จากการศึกษาวิจัยในประเทศจีนเกี่ยวกับใบกะเพรา ได้วิเคราะห์โครงสร้าง 3 มิติของสารไอเรียนตินในกะเพรา ซึ่งสามารถจับกับตัวรับและยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสได้ แต่ก็เป็นเพียงการศึกษาวิจัยเบื้องต้นเท่านั้น ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกต่อไป
ขนาดลำต้น 60-120 ซม.
การดูแล และการปลูก:
ชอบดินร่วมซุย ชอบแดดจัด ในระยะเริ่มต้นของการเพิ่มลงเมล็ดพันธุ์ในดินให้ปลูกในที่แดด รำไร รอจนต้นอ่อนขึ้นใบได้ซัก 3-4 ใบ จึงค่อยให้โดนแดดจัด หมั่นรดน้ำทุกเช้า หรือเย็น รดน้ำ วันละ 1 ครั้งให้ชุ่ม แต่ไม่แฉะ
การขยายพันธุ์ โดยปลูกจากเมล็ดพันธุ์, ปักชำ หรืออาจซื้อต้นกล้าในกระถางมาปลูก ง่ายและประหยัดเวลา
โหระพา (Thai Basil)
ตอบลบส่วนใหญ่นำมาเป็นส่วนประกอบอาหารทั้งเมนูฝรั่ง ไทย ลาว เช่น สปาเก็ตตี้้มะเขือเทศ , ผัดแกงป่า, ต้มแซบหมู
โหระพา
เนื่องจากแมงลักเป็นพืชปลูกง่าย โดยการเพาะเมล็ด , ปักชำ, หรือ ปลูกจากต้นกล้าผักสวนครัวในกระถาง ก็ยิ่งง่ายและย่นระยะเวลาในการปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตเร็วยิ่งขึ้น
สรรพคุณของโหระพา
ผักโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้ใบสดมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย
ผักโหระพา 1 ขีดมีเบต้าแคโรทีน16 ไมโครกรัม 2 ซึ่งปกติร่างกายเราต้องการสประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน ประโยชน์ของเบต้าแคโรทีน มีดังนี้ ช่วยบำรุงสายตา , ชะลอความแก่, ลดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง , ช่วยกระตุ้นเซลล์ให้สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย3
ลำต้นสูงประมาณ 40-100 ซม.
การดูแลและการปลูก
ชอบดินร่วนซุย
ชอบน้ำแต่ไม่แฉะ
แดดรำไร
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ หรือนำต้นกล้าในกระถางมาลงปลูกเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการปลูกแล้วตาย
แมงลัก (Lemon Basil)
ตอบลบนิยมนำใบแมงลักไปประกอบอาหาร เช่น ผัดฟักทองใส่ไข่, แกงเห็ด,ผักหวานใส่ใบ แมงลัก, แกงเลียง และอื่นๆ
เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมปลูกไว้ในครัวเรือน เป็นพืชอายุสั้น มีประโยชน์ดังนี้
ใบแมงลักมีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ, ช่วยขับลมในลำไส้
เมล็ดแมงลักมีสรรพคุณ เป็นยาระบาย ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย4
ลำต้นสูงประมาณ 50 ซม.
การดูแลและการปลูก
สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนปนทราย และดินร่วน
ชอบดินระบายน้ำดี
ชอบแสงแดดเต็มวัน