การปลูกผัก 19 ชนิดหมุนเวียนกินทั้งปี
1. กะเพรา
กระเพราไม่ว่าจะ ใบเขียว ก้านแดง, ใบเขียว ก้านเขียว, ใบแดง ก้านแดง ทั้ง 3 ชนิด ต่างปลูกได้ง่ายประหยัดพื้นที่ และปลูกได้ง่าย หลายวิธี
วิธีปลูก
- ปักชำทำได้โดยเอากิ่งแก่กลางอ่อน ที่เราใช้ในทำกับข้าวเหลือ ลิดใบออกจนหมดนำไปปักชำเอียง 45 องศา จะในกระถาง หรือแปลงก็ได้ กลบดินบางๆ มีฝางคลุมได้ก็จะยิ่งดี
- ปลูกกะเพราด้วยเมล็ด ทำการหว่านเมล็ดจะในกระถาง หรือแปลงก็ได้ ใช้ฟางกลบ หรือปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ รดน้ำตามทันที ด้วยบัวรูเล็กๆ รอจนถึง 1 เดือน ค่อยแยกต้นรอให้ต้นกล้าโตเต็ม
- รดน้ำเช้า – เย็นอย่างสม่ำเสมอ
ประโยชน์: กะเพรา จะช่วยป้องกันหวัดได้ ใบกระเพรายังช่วยคนเป็นเบาหวาน เพราะลดไขมันและระดับเลือดในร่างกาย ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรค, แก้อาการจุกเสียดท้อง และสามารถเพิ่มน้ำนมในคุณแม่หลังคลอดได้ ฯลฯ
2. โหระพา
ตระกูลเดียวกันกับกระเพรา จึงใช้วิธีปลูกและ เพาะรดน้ำเหมือนกัน
ประโยชน์: ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว, แก้วิงเวียนศีรษะ, ลดคอเลสเตอรอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระ, ช่วยให้เจริญอาหาร, เชื่อว่าบำรุงสุขภาพทางเพศได้, และสร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ
3. ต้นหอม
แนะนำให้ปลูกในกระถาง โดยมีสูตรดินง่ายๆ และดีต่อการเจริญเติบโตของต้นหอม ส่วนผสมสินคือ
- เปลือกลิสง 1 ส่วน
- ดินร่วน 2 ส่วน
- ปุ๋ยคอก 2 ส่วน
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปใส่ในภาชะที่จะปลูก กระถาง หรือกระถาง DIY นำต้นหอมมาตัดให้ยาวหัวถึงต้น 2 นิ้ว นำมาปักชำลงในกระถาง รดน้ำวันละ 2 ครั้งไม่ให้แฉะมาก กันรากเน่าในช่วงเวลาเช้าเย็น ลดเหลือวันละ 1 ครั้งหลังใบใหม่งอก
4. ผักชี
- เมล็ดพันธุ์ของผักชีมาบดเล็กน้อยให้แตกออกเป็น 2 ส่วน แล้วก็เอาไปแช่น้ำไว้ 3 ชั่วโมง รอปลูก
- เตรียมดิน หรือนำดินถุงในท้องตลาด พึ่งให้หายชื่นก่อนโดยการตากแดดแล้วมาผสมกับปุ๋ยคอก โดยเตรียมกระถางโดยการนำวัสดุปลูกรองกระถาง เช่น ถ่านหุ่งข้าว กาบมะพร้าว เพื่อระบายน้ำไม่ให้ขังกันรากเน่า แล้วใส่ดินลงไปในกระถาง
- ใส่พันธุ์ของผักชีลงไป คุมดินบางๆ แล้วรดน้ำ ถ้ามีฟางก็คลุมดินจะดีมา ก
5. ผักบุ้ง
- คัดเมล็ดผักบุ้งเอาเมล็ดดีดี โดยการแช่น้ำ
- ดินร่วมผสมปุ๋ยคอก หรือจะใช้ดินถุงก้ได้ ใส่ลงกระถาง ใส่เมล็ดผักบุ้งลงไป อย่าปล่อยให้ขาดน้ำ
- ประมาณ 3-5 วันจะงอกต้น รดน้ำทุกวัน 1 เดือนก็เอามาทำอาหารได้แล้ว
6. พริก
คนไทยเราขาดความเร้าร้อนของพริกไม่ได้ พริกก็ไม่ควรจะขาดจากผักสวนครัว พื้นที่น้อยปลูกพริกในกระถาง ก็ไม่ใช่ปัญหา
- นำเมล็ดพันธุ์พริก ที่จะปลูกไปแช่น้ำ สัก 6- 8ชั่วโมง หรือจะแช่ค้างคืนไว้เลยก็ได้
- ผสมดินดินร่วน 2 ส่วน ดินทราย 1 ส่วนและปุ๋ยหมัก 2 ส่วน ให้เข้ากัน รองกระถางด้วยกาบมะพร้าว หรือถ่าน ใส่ดินเข้าไปจนเกือบเต็มเหลือขอบกระถางไว้
- ใช้นิ้วชี้กดให้เป็นหลุมเพื่อลงเมล็ด กดลงไปประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำเช้าเย็นและให้โดนแดด ไม่นานจะได้พริกแล้ว
7. ผักสลัด
ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยขุยมะพร้าวผสมกันได้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ในการเตรียมดิน คลุมรดน้ำไว้ในร่มประมาณ 7 วัน ค่อยนำมาปลูกผักสลัด
- แต่ละถุง และกระถาง นำดินใส่จนเต็มเหลือขอบปากถุง หรือปากกระถาง หยอดเมล็ดผักสลัดลงไปกระถาง หรือถุง 1-2 เมล็ด รดน้ำ ตั้งไว้ในพื้นที่มีแดดรำไร
- รดน้ำเช้าเย็นครบ 7 วันจะมีใบออกมาให้เห็น เมื่อครบ 45 วันจะสามารถนำไปจำหน่ายรับประทานได้
8. แตงกวา
- นำเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่สมบูรณ์ ไปแช่น้ำรอ ระหว่างเตรียมดินลงกระถาง
- ใส่ดินในกระถาง โดยมีสูตร ใช้ดินร่วนปนทรายมา กับปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1 : 1 ผสมให้เข้ากัน
- ในหนึ่งกระถางประมาณให้ใส่ลงไป 4-5 เมล็ด เมื่อต้นเริ่มโตเพียง 5-7 เซนติเมตร ให้เลือกเอาต้นที่แข้งแรงไว้ ต้นไม่สมบูรณ์ถอนทิ้ง ก็หาไม้มาปักเป็นค้างเพื่อให้ต้นเลื้อย รดน้ำ และให้โดนแดด 1 วันสัก 1ชม.
9. คะน้า
- เตรีมดินโดยการผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน หรือใช้ดินสำเร็จรูปถุงๆได้ ใส่กาบมะพร้าวก้นกระถาง และใส่ดินให้เต็มกระถาง
- หย่อนเมล็ดคะน้า กลบดินบางๆ ควรรดน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกเช้า-เย็น
- วางในบริเวณที่มีแสงเพียงพอ ส่วนปุ๋ยที่นำมาบำรุงต้นควรเป็นปุ๋ยที่ธาตุไนโตรเจนสูง
10. แมงลัก
แมงลัก เป็นพืชสวนครัวล้มลุกในสกุลกะเพราและโหระพา มีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย บังกลาเทศ พม่า รวมถึง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออังกฤษ ชื่อสามัญ : Lemon basil, Hoary basil, Hairy basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × africanum Lour. (ชื่อพ้อง Ocimum americanum var. pilosum (Willd.) A.J.Paton, Ocimum basilicum var. anisatum Benth., Ocimum × citriodorum Vis.)
จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา : (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นแมงลัก
แมงลัก เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับใบกะเพรา หรือที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Holy basil ซึ่งถือเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ที่คนอินเดียฮินดูนิยมจุดเทียนบูชาต้นกะเพราในเวลาเย็น การสวดบูชาต้นกะเพรานั้นเปรียบดั่งได้กราบไหว้เทวดาทุกตน ในช่วงเดือนการธิกะ การบูชาหรือการปลูกต้นกะเพราจะทำให้สามารถล้างบาปที่สะสมมาหลายๆ ชาติได้ นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่า ที่ใดที่มีต้นกะเพราขึ้น ที่นั่นเปรียบได้กับที่ควรแก่การแสวงบุญ พระยมราชซึ่งเป็นเทพแห่งความตายจะไม่สามารถย่างกรายเข้ามาได้ บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ที่มีต้นกะเพราขึ้น จะเป็นสถานที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แมงลัก ซึ่งจัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันจึงมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า หากที่ใดที่ปลูกต้นแมงลักไว้ก็จะสามารถป้องกันความชั่วร้ายและเสริมอำนาจบารมีให้มีคนรัก คนเมตตาเสน่ห์หาแก่ผู้อยู่อาศัย
ตำแหน่งที่ควรปลูกต้นแมงลัก
แมงลักเป็นไม้ล้มลุก ที่สามารถปลูกได้ทั่วไปทุกบริเวณของบ้าน แต่จะนิยมปลูกตามริมขอบรั้วบ้านเพื่อเป็นแนวรั้วธรรมชาติและยังเป็นเคล็ดเพื่อช่วยในการคุ้มครองคนในบ้านจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
ส่วนประกอบของต้นแมงลัก
ลักษณะของลำต้น
จะคล้ายกับต้นกะเพรา ต่างกันที่กลิ่นและสีใบจะอ่อนกว่า มีลำต้นสูงประมาณ 30-80 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมทุกส่วน
ใบ
เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอกและช่อจะออกที่ปลายยอด อาจเป็นชื่อเดี่ยวหรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ
ดอก
จะบานจากล่างไปบน กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปากและร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านก่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ดอกตรงกลางจะบานก่อนและช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล มีขนาดเล็ก เรียกว่าเม็ดแมงลัก ซึ่งมีลักษณะกลมรีและมีสีดำ
สายพันธุ์ของต้นแมงลักที่มีปลูกในประเทศไทย
ในประเทศไทยสายพันธุ์แมงลักที่ปลูกจะมีเพียงสายพันธุ์หลักเพียงสายพันธุ์เดียวนั่นก็คือ “ศรแดง” ที่เหลือก็จะเป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง ซึ่งลักษณะสายพันธุ์ศรแดงที่ดีและควรเลือกหามาปลูก จะใบต้องใหญ่พอดี ไม่เล็กเกินไป ดอกสีขาวเป็นชั้น ๆ คล้ายร่มฉัตร
วิธีการปลูก และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก ต้นแมงลัก
แมงลักจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ ทุก 15-20 วัน สถานที่ปลูกควรเป็นที่ดอนที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง แต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวกเพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก และเป็นที่ที่ปราศจากลมแรงเพราะต้นของแมงลักมีความบอบบาง โดยลมจะล้มตายได้ง่าย โดยควรมีการหมั่นตัดแต่งกิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่ อยู่เสมอๆ และหากเป็นช่วงที่ไม่ต้องการให้ออกผลผลิต เพราะยังไม่มีผู้รับ สามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้โดยการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง และเมื่อใดที่มีผลผลิตที่ลดลง คือต้นมีอายุระหว่าง 1-2 ปี ก็ควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน
วิธีการดูแล ต้นแมงลัก
แสง
ต้องการแสงแดดปานกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ใบไหม้
น้ำ
ควรจะให้น้ำสม่ำเสมอ โดยวันละ 1 ครั้ง ในช่วงปกติ และอาจงดให้น้ำในวันที่มีฝนตก
ดิน
ปกติสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่แมงลักจะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี
ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หลังเพาะกล้า 7 วัน และครั้งที่2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-11-11 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากครั้งแรก 15 วัน
ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆ ของแมงลัก
นอกจากจะเป็นไม้ล้มลุก ที่ใช้ประดับตกแต่งบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลได้แล้ว คนไทยส่วนมากรู้จักคำว่า แมงลัก จากเม็ด เพราะถือเป็นส่วนประกอบอาหารที่มีผู้นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดความอ้วนชนิดต่างๆ เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และมันสามารถพองตัวได้มากถึง 45 เท่า เลยทีเดียว นอกจากนี้แมงลักยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ มีสรรพคุณในการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นกรดน้ำดี และยังช่วยเพิ่มการขับออกของกรดน้ำดีด้วย ซึ่งจะไปลดเฉพาะคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) แต่ไม่มีผลใด ๆ กับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี
เม็ดแมงลัก จัดเป็นอาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ที่รับประทานง่าย กลืนง่าย ลื่นคอ และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างพวก ผักผลไม้ เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้การดูดซึมของน้ำตาลลดลง เนื่องจากเม็ดแมงลักทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลงอยู่แล้ว
แมงลักมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ขับถ่ายสะดวก ช่วยชะล้างลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์แก้ปัญหาอุจจาระตกค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เป็นต้น
ใบแมงลักมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้เป็นอย่างดี รักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยการนำใบสดประมาณ 10 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 1 ครั้งประมาณ 1-2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น ตามลำดับ
11. ปูเล่
ปูเล่ เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับกะหล่ำ บางชนิดมีลักษณะคล้ายคะน้า หรือกะหล่ำ มีสีสันแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เป็นพืชที่พบทางภาคใต้ของไทยมาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเชื่อว่าชาวจีนที่อพยพย้ายถิ่นฐานได้นำเข้ามา
ปูเล่ มีโครงสร้างของลำต้นที่สวยงาม ลักษณะใบคล้ายกับใบคะน้าแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียงซ้อนกันเป็นวงกลม ขอบใบหยักแบบห่างๆ หรือถี่ มีหลากหลายสีตามสายพันธุ์ มองดูคล้ายดอกไม้ขนาดใหญ่ เจริญได้ดีในที่แคบๆ จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง หรือในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด เป็นพืชที่ไม่มีดอก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และยังนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือใช้รับประทานเป็นผักสดได้ เนื่องจากไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวเหมือนคะน้า โดยตัดจากใบด้านล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ยาวนานกว่า 2 ปี ส่วนรอยที่ถูกตัดก็สามารถแตกยอดอ่อนออกมาได้อีก
การขยายพันธุ์ปูเล่
ทำได้ด้วยวิธีการปักชำจากแขนง และการเพาะเนื้อเยื่อ
การปักชำจากแขนง
ใช้แขนงอ่อนที่ยาวประมาณ 5 ซม. ซึ่งแตกออกมากจากซอกใบ โดยตัดแขนงที่มีใบติดอยู่ประมาณ 3 ใบขึ้นไป นำไปปักชำในภาชนะปลูกที่มีส่วนผสมของทรายและขี้เถ้าแกลบ รดน้ำพอชุ่ม วางไว้ในที่ร่มรำไรอีกประมาณ 7 วัน แขนงอ่อนจะมีรากออกมา เมื่อต้นเริ่มตั้งตัวได้ในอีกประมาณ 20 วัน ก็ให้ย้ายปลูกในที่ที่ต้องการได้
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
วิธีนี้เหมาะสำหรับการเพิ่มจำนวนต้นในปริมาณมากและต้องการความรวดเร็ว โดยการตัดชิ้นส่วนขนาดเล็กไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ และมีการควบคุมทางวิชาการที่เหมาะสม จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
การดูแลรักษา
ปูเล่ เป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน เจริญได้ดีในดินร่วนที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำและอากาศได้ดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำในปริมาณมาก การปลูกเลี้ยงในกระถางทั้งแบบตั้งและแบบแขวน จะทำให้ต้นปูเล่มีอายุยาวนานขึ้นและดูแลได้ง่าย ควรให้น้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง ให้ปุ๋ยประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เมื่อมีอายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไปก็สามารถเก็บเกี่ยวใบมารับประทานได้แล้ว
การเก็บเกี่ยว
ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดใบด้านล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ประมาณครั้งละ 5-6 ใบ และควรเหลือใบไว้กับต้นประมาณ 12 ใบ เพื่อให้สามารถสร้างอาหารให้กับลำต้นได้ ในเวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็เก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า 2 ปีขึ้น
ประโยชน์
ปูเล่ เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ได้แก่ พลังงาน โปรตีน ไขมัน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ไรโบฟลาวิน วิตามินซี ไทอะมิน และมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด และโรคหวัด เป็นต้น เป็นพืชที่มีสีสันและโครงสร้างของใบที่สวยงาม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางวางหรือแขวนไว้บริเวณระเบียงบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ตามความต้องการได้ ใบของปูเล่มีเส้นใยอยู่น้อย สามารถนำมารับประทานได้แม้เป็นใบแก่ มีรสชาติที่ดี ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว จะนำมารับประทานเป็นผักสด หรือใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ ได้หลากหลายเมนู หรือจะนำไปแปรรูปเป็นผักดองก็ได้
12. ผักกวางตุ้ง
ภาพจาก bit.ly/3co1D41
วิธีการปลูก
- เตรียมถาดพลาสติกสำหรับเพาะกล้า หลังจากนั้นนำดินพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2 : 1 ใส่ดินผสมดังกล่าวในถาดที่เตรียมไว้
- หาเศษไม้เล็กๆ กดลงไปในดิน โดยความลึกประมาณ 0.5 ซม.
- นำเมล็ดหยอดลงในหลุม โดยหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วนำดินไปกลบพร้อมรดน้ำให้เรียบร้อย
- เมื่อเข้าสู่วันที่ 7-10 ผักกาดเขียวกวางตุ้งเริ่มมีการเจริญเติบโต ควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น
- พอเข้าสู่วันที่ 20-25 สามารถย้ายกล้าลงปลูกในกระถางได้
- เก็บผลผลิตได้เมื่อเข้าสู่วันที่ 40-45
13. คื่นช่าย
ภาพจาก bit.ly/2VBJI3i
วิธีการปลูก
- นำเมล็ดคื่นช่ายแช่น้ำจนจมน้ำ
- นำเมล็ดมาห่อด้วยทิชชู่และใส่ ใ น กล่องพลาสติก
- ปิดฝาแล้วแช่ตู้เย็นประมาณ 1 วันจึงจะสามารถนำมาเพาะในกระถางได้
- คื่นช่ายนั้นจะใช้เวลางอกอยู่ที่ประมาณ 7 วันและใช้ระยะเวลาในการปลูกอยู่ที่ประมาณ 80 วันถึงจะเก็บเกี่ยวได้
- คื่นช่ายสามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินและไร้ดิน การปลูกแบบไร้ดินจะใช้ะบบน้ำไหลเวียนให้ปุ๋ยอินทรีย์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใช้เวลาปลูกประมาณ 50 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ข้อดีคือระยะเวลาการปลูกแบบไร้ดินจะสั้นกว่าการปลูกแบบลงดินถึงเท่าตัว ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน้าฝนหรือน้ำค้าง เก็บเกี่ยวง่ายกว่า
14. ตะไคร้
ภาพจาก bit.ly/3eDlU7U
วิธีการปลูก
- ตะไคร้ที่จะนำมาปลูกจะต้องเป็นต้นตะไคร้ที่มีรากติด แต่ถ้าแยกกอออกมาจากต้นที่สมบูรณ์ ให้แยกหนึ่งออกมาแค่ 3 ต้นเท่านั้น แต่หากตะไคร้ที่ซื้อมาไม่มีราก ต้องตัดโคนต้นให้เหลือความยาวสัก 1½ นิ้ว แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อรอให้รากงอกแล้วค่อยนำไปปลูก
- รองก้นกระถางด้วยวัสดุรองก้นกระถางอย่าง แกลบ หิน หรือใบไม้แห้งไว้ก่อน จากนั้นเทดินลงไปกะระยะให้ได้ครึ่งกระถาง แล้วนำปุ๋ยคอกมาผสมดินให้ทั่ว สุดท้ายเทดินลงไปให้เกือบเต็มกระถาง
- ใช้พลั่วเขี่ยดินตรงกลางให้เป็นหลุม แล้วนำต้นตะไคร้ที่แยกกอหรือต้นที่แช่น้ำเอาไว้มาปลูก กลบดินให้มิดชิด แต่ไม่ต้องแน่นมาก และรดน้ำให้ชุ่ม
- ถ้าต้องการปลูกตะไคร้ขายและอยากได้ลำต้นอวบใหญ่ ต้องดูแลระยะห่างและระบบน้ำให้ดี ๆ เนื่องจากตะไคร้เป็นพืชที่ต้องการน้ำมากจึงจะส่งผลให้ลำต้นมีขนาดใหญ่
15. มะเขือเทศ
ภาพจาก bit.ly/2wKTW90
วิธีการปลูก (จากผลสด)
- เลือกมะเขือเทศที่ผลมีลักษณะสวยงาม ผลมีสีแดงแก่จัดซึ่งพร้อมที่จะโตเป็นต้นอ่อน และนำมาบีบเลือกเอาเฉพาะเมล็ด
- นำเมล็ดวางลงบนดิน โดยให้กระจายตัวออกห่างกันเล็กน้อย กลบด้วยดินบางๆอีกชั้นหนึ่ง รดน้ำให้ชุ่มและต่อเนื่องทุกวันอย่าให้ขาดน้ำ
- ประมาณ 30 วันจะมีต้นกล้าออกมา โดยสังเกตให้มีใบแท้ออกมาประมาณ 3-4 ใบ ให้ย้ายออกจากกระถางเล็กไปในกระถางที่ใหญ่ขึ้น โดยขุดให้มีก้อนดินติดรากไปด้วย
- ให้มะเขือเทศที่มาปลูกในกระถางใหม่เริ่มตั้งตัวได้ ช่วงนี้รดน้ำเบาๆ ให้รากลงดินและคุ้นเคยกับกระถางใหม่ จากนั้นรอเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นมะเขือเทศที่เราปลูกไว้
- มะเขือเทศเป็นพืชที่ชอบน้ำมากหากขาดน้ำจะทำให้หยุดการเติบโตหรือไม่ออกผลทันที
16. สะระแหน่
ภาพจาก bit.ly/3ahXv46
วิธีการปลูก
- เตรียมดินสำหรับการเพาะ โดยนำดินร่วน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย มาคลุกให้เข้ากัน
- เลือกกิ่งสะระแหน่ที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป จากนั้นนำไปปักลงในภาชนะที่เราเตรียมเพาะ
- ปักกิ่งสะระแหน่ให้เอนทาบกับดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่ระมัดระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป
- นำแกลบมาโรยกลบดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับหน้าดิน
- เมื่อการเพาะปลูกเข้าสู่วันที่ 4-5 ก็จะเริ่มแตกยอดเลื้อยคลุมดิน
- การพรวนดินโคนต้นสะระแหน่ควรระมัดระวังและทำอย่างเบามือ เนื่องจากต้นสะระแหน่เป็นพืชที่มีรากไม่ลึก
- เมื่อต้นที่เพาะเติบโตจนสามารถเก็บได้แล้ว ควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้กับต้นสะระแหน่
17. มะกรูด
ภาพจาก bit.ly/3bsowTO
วิธีการปลูก
- นำผลมะกรูดแก่จัดหรือที่ร่วงหล่นและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาฝานออกให้เนื้อในแยกออกจากกัน โดยที่ต้องระวังไม่ให้เมล็ดมะกรูดเสียหาย ใช้ช้อนคว้านเมล็ดและคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้
- ล้างเม็ดมะกรูดที่เตรียมไว้ด้วยน้ำสะอาด เพื่อชำระล้างผิวเคลือบลื่นให้หลุดออก
- วางเมล็ดมะกรูดที่เราล้างสะอาดแล้วลงบนถาด เกลี่ยทั่วอย่าให้ทับกัน แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 2-4 วัน
- เตรียมดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดีมาผสมกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก เพื่อเทลงในหลุมเพาะกล้าหรือแก้วพลาสติกที่เตรียมไว้
- นำเมล็ดมะกรูดตากแห้งมาเพาะลงในดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป
- ตั้งหลุมเพาะหรือแก้วเพาะไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกขึ้นและออกใบประมาณ 3-4 ใบ ย้ายลงมาปลูกในถุงดำสำหรับเพาะต้นกล้าให้แข็งแรงและสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
- หลังจากที่ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ให้ย้ายมาปลูกลงในกระถางด้วยดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน คลุมหน้าดินด้วยกาบมะพร้าวสับเพื่อป้องกันความชื้นระเหย
- มะกรูดจะออกผลให้เก็บภายใน 1-2 ปี ส่วนต้นมะกรูดที่สูงตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป สามารถนำไปประกอบอาหารได้เลย
- หากกิ่งมะกรูดงอกยาวเกินขนาดกระถาง แนะนำขดกิ่งยาว ๆ นั้นให้เป็นวงกลมในแนวนอนและทาบลงไปบนดิน เพื่อควบคุมขนาดต้นให้เหมาะสม กิ่งที่วางทาบลงไปนั้นจะงอกกิ่งกระโดงขึ้นมาใหม่ ออกใบ ออกผลให้เก็บเกี่ยวตลอดทั้งปี
18. ถั่วงอก
ภาพจาก bit.ly/3co0w4l
วิธีการปลูก
- นำถั่วเขียวมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน
- เตรียมภาชนะสำหรับปลูก เช่นจานหรือกะละมัง ใส่กระดาษหรือทิชชู่เปียกน้ำลงไป
- ใส่เมล็ถั่วเขียวที่แช่น้ำทิ้งไว้เรียบร้อย เกลี่ยให้แบน ใส่กระดาษทิชชู่เปียกน้ำปิดไว้ รดน้ำอีกครั้ง
- สามารถทำซ้ำแบบนี้กันได้ 3 ชั้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำวางทับชั้นบนสุดเอาไว้ปิดด้วยวัสดุทึบแสง และใส่ไว้ในถุงดำ 2 ชั้นมัดให้แน่น
- วางไว้ในที่ร่มอย่าให้โดนแสงแดด เปิดผ้าชุบน้ำและรดน้ำวันละครั้ง
- เมื่อครบ 3 วัน คว่ำภาชนะที่ปลูก แล้วค่อยๆ แกะเอาถั่วงอกออกมาจากกระดาษทิชชู่
- นำไปล้างน้ำให้สะอาดสามารถเอามาปรุงอาหารทานได้
วิธีปลูกขิงในกระถาง ดูแลง่าย โตไว วิธีการเพาะปลูก และดูแลบำรุงดินใส่ปุ๋ยในการปลูกขิง กำจัดแมลงในการปลูกขิง
ขิง เป็นพืขที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส นอกจากนั้นยังมีโปรตีน วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 วิตามินซี และยังเป็นพืชที่มีเส้นใยจำนวนมาก ขิงนั้นจัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณด้านการรักษาโรคเป็นอย่างดี ดังนั้นขิงจึงเป็นพืชที่ควรปลูกไว้ในครัวเรือน
ประโยชน์ของขิง
ขิง ถือเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีรสชาติเผ็ดร้อนและถือเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งอุดมไปด้วย วิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีนและฟอสฟอรัส ซึ่งนอกจากนี้ส่วนประกอบต่างๆ ของขิงนั้นยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ราก ต้น เหง้า ใบ ดอก ผลและแก่น เป็นต้น
- น้ำขิง ช่วยลดอาการท้องอืด
- ช่วยลดอาการเจ็บปวดและบรรเทาอาการไมเกรน
- ขิง มีคุณสมบัติในการช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง
- ขิง สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้
- ขิงผงนั้นสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
พันธุ์ขิงที่นิยมปลูก
1. ขิงไทย ที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ขิงขาว ขิงมาเลย์ ขิงไทย ขิงเผ็ด ขิงเล็ก ขิงเผ็ด หรือขิงดำ ขิงชนิดนี้มีลักษณะที่เห็นชัดคือมีข้อถี่ แง่งขิงมีขนาดเล็กและสั้น แง่งเบียดชิดกันมาก มีเสี้ยนมาก รสชาติค่อนข้างเผ็ด
2. ขิงใหญ่ ขิงหยวกหรือขิงขาว ขิงชนิดนี้มีข้อห่าง แง่งขิงมีขนาดใหญ่แง่งขิงไม่เบียดกันชิด เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อยมากหรือไม่มีเสี้ยน รสเผ็ดน้อย ขิงสดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ส่วนมากมักเป็นขิงชนิดนี้
วิธีการปลูกขิง
-เตรียมรากขิงเพื่อเพาะปลูก โดยเลือกรากขิงให้สด มีความสมบูรณ์และเรียบ
-เตรียมภาชนะเพื่อนำรากขิงที่เตรียมไว้ปลูก แล้วใส่น้ำ นำรากขิงลงไปแช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน
-เตรียมดินใส่กระถางพร้อมปลูก รดน้ำให้ชุ่ม โดยเลือกกระถางที่มีการระบายน้ำได้ดี
-ใช้ไม้ขุดหลุมตามจำนวนหน่อขิงที่เราต้องการปลูก
-หั่นรากขิงที่เตรียมไว้เป็นชิ้นขนาดกำลังดี แล้วนำไปปลูกในกระถาง โดยเว้นระยะห่างกำลังดี
-กลบดินไม่ต้องแน่นมาก ถ้าหน่อนั้นเริ่มมีลำต้นโผล่มา ก็เปิดให้เห็นบ้าง แล้วรดน้ำ
-ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนเมื่อลำต้นแข็งแรง อาจย้ายกระถางให้ใหญ่ขึ้นได้
#กะเพรา #โหระพา #ต้นหอม #ผักชี #ผักบุ้ง #พริก #ผักสลัด #แตงกวา #คะน้า #แมงลัก #ปูเล่ #ผักกวางตุ้ง #คื่นช่าย
#ตะไคร้ #มะเขือเทศ #สะระแหน่ #มะกรูด #ถั่วงอก #ขิง
ที่มา :: https://prinkotakoon.blogspot.com/2023/02/decorative-kale.html , https://ihome108.com/ , www.thaismescenter.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น