มาตรการเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566
• ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยจากประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน และผลตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งไม่ต้องลงทะเบียน Thailand Pass ไม่ต้องกักตัว ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ทั้งสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ และไม่ได้รับวัคซีน รวมทั้งผู้เดินทางไม่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพ อย่างไรก็ดี หากผู้เดินทางประสงค์จะซื้อประกันการเดินทาง สามารถดำเนินการได้บนพื้นฐานความสมัครใจ
• เอกสารที่จำเป็นต้องแสดงก่อนขึ้นเครื่องบิน (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ) ดังนี้
(1) หนังสือเดินทาง (2) บัตรโดยสารเครื่องบิน (3) วีซ่าตามวัตถุประสงค์ในการเดินทางเข้าประเทศไทย กรณีเป็นชาวต่างชาติ |
*ทางการไทยยกเลิกการแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน หรือ ผลตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Professional ATK รวมทั้งยกเลิกการแสดงเอกสารประกันที่ครอบคลุมการรักษาโควิด-19
ข้อกำหนดสำหรับผู้เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ประสงค์เข้าประเทศไทย (สถานะ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566)
• หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนการเดินทาง โปรดรักษาให้ไม่มีอาการ เช่น ไม่มีไข้ อุณหภูมิร่างกายเป็นปรกติ จึงจะสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้
กรณีผู้โดยสารแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินในประเทศไทย (ทั้งในรูปแบบ Transit และ Transfer)
• ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่แวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินในประเทศไทย (ทั้งในรูปแบบ Transit และ Transfer) เพื่อเดินทางไปยังประเทศปลายทางโดยไม่ผ่าน ตม. ไทย ไม่ต้องลงทะเบียน Thailand Pass และไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนหรือผลตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงไม่ต้องมีหลักฐานประกันรักษาพยาบาลในวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
• ทั้งนี้ โปรดตรวจสอบรายละเอียดเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการเดินทางกับสายการบินและประเทศปลายทางอีกครั้ง
############################
มาตรการเดินทางเข้าประเทศไทยล่าสุด (สถานะวันที่ 10 ม.ค. 2566)
1. คนไทยและคนต่างชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีน หรือ หลักฐานการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือหลักฐานประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโควิด-19 ในประเทศไทย
2. อย่างไรก็ดี เฉพาะคนต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศ/พื้นที่ ที่กำหนดให้แสดงหลักฐานการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนกลับเข้าประเทศ จะต้องแสดงหลักฐานการมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินอย่างน้อย 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาโควิด-19 ในประเทศไทย
ทั้งนี้ ปัจจุบัน (สถานะวันที่ 10 ม.ค. 2566) ผู้ที่เดินทางจากประเทศไทยเข้ามาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไม่ต้องแสดงหลักฐานการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ดังนั้น คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจากสหพันธ์ฯ จึงไม่ต้องแสดงหลักฐานประกันสุขภาพก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยตามข้อ 2
ที่มา :: https://fukuoka.thaiembassy.org/th/ , http://thai.thaiembassy.de/
มาตรการเดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป
ตอบลบกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ดังนี้
1. ยกเลิกข้อกำหนดตรวจเอกสารรับวัคซีน ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ผู้เดินทางที่มาจากประเทศ/พื้นที่ ที่กำหนดให้มีผลตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นลบ ก่อนเดินออกจากประเทศไทย จะต้องมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินขั้นต่ำ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาพยาบาลในประเทศไทย รวมทั้งการเจ็บป่วยที่เกิดจากโควิด-19 และมีระยะความคุ้มครองในกรมธรรม์ครอบคลุมระยะการพำนักในประเทศไทย บวก 7 วัน
2.1 สำหรับผู้ที่มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือ นักเรียน อาจใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน
2.2 เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้ที่เดินทางจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้นั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
3. ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย และผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องหรือต่อเครื่อง ได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารประกันสุขภาพ
4. สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางความความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหารหรือในภาวะฉุกเฉิน
5. ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระหว่างการเดินทาง ได้รับการแนะนำให้รับการตรวจโควิด-19 เมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย
6. หากมีคำถาม สามารถติดต่อ DDC Hotline 1422 หรือศึกษาข้อมูลล่าสุด ได้ที่ https://ddc.moph.go.th/index.php
* * * * * * *
รายชื่อประเทศที่กำหนดให้ผู้เดินทางมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบก่อนเดินทางออกประเทศไทย
(สถานะ 10 ม.ค. 2566)
1. จีน
2. อินเดีย
เช็กข้อกำหนดโควิด-19 ต่างชาติเข้าไทยเริ่ม 9-31 ม.ค.นี้
ตอบลบกพท.เปิดข้อกำหนด 7 ข้อต่างชาติบินเข้าไทย เริ่มตั้งแต่ 9-31 ม.ค.นี้ ผู้โดยสารอายุมากกว่า 18 ปีต้องแสดงการรับวัคซีน 2 เข็ม หากเคยติดโควิด-19 ต้องไม่เกิน 6 เดือน มีประกันสุขภาพ
วันนี้ (7 ม.ค.2566) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.รกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา 2566 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ออกประกาศ ข้อกำหนดในการเข้าประเทศไทยสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ 7 ข้อดังนี้
ผู้โดยสารอายุมากกว่า 18 ปีต้องแสดงข้อมูลการได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือจดหมายจากแพทย์ที่รับรองว่าหายจากโรคโควิด-19 แล้วไม่เกิน 6 เดือน (180 วัน) ส่วนผู้โดยสารที่ไม่ได้รับวัคซีนต้องมีจดหมายจากแพทย์พร้อมแสดงเหตุผล
ผู้โดยสารที่มาจากประเทศที่มีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ติดโควิด-19 เดินทางกลับเข้าประเทศ จะต้องมีประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโควิดตลอดช่วงระยะเวลาเดินทางในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก 7 วัน สำหรับผู้มาประกอบภารกิจรวมถึงลูกเรืออาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพรับรองแทน
ผู้โดยสารที่ถือพาสปอร์ตไทย ได้รับการยกเว้นในการตรวจสอบเอกสารการได้รับวัคซีนและเอกสารประกันสุขภาพ
ผู้โดยสารที่เปลี่ยนเครื่อง หรือต่อเครื่องได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารการได้รับวัคซีนและเอกสารประกันสุขภาพ โดยผู้โดยสารเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดของประเทศปลายทาง
สายการบินต้องตรวจสอบเอกสารตามที่กล่าวมา ถ้าผู้โดยสารไม่สามารถแสดงเอกสารเหล่านี้ได้สายการบินจะต้องปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารเดินทาง
สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางตามความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหาร หรือในภาวะฉุกเฉิน
ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระหว่างการเดินทาง จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เริ่มใช้วันที่ 9 ม.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 01.00 น. ถึงวันที่ 31 ม.ค.นี้ เวลา 16.59 น.
ปรับมาตรการเข้าประเทศล่าสุด (10 ม.ค. 2566) ยกเลิกตรวจวัคซีนขั้นต่ำ บินกลับประเทศที่ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ ต้องทำประกันสุขภาพ ไม่ห้ามขึ้นเครื่อง แต่สุ่มตรวจขาเข้า ไม่พบต้องทำประกันก่อนเข้าเมือง
ตอบลบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) ฉบับล่าสุดวันนี้ (10 มกราคม 2566) เพื่อแจ้งสายการบินและภาคการบินที่เกี่ยวข้องทั่วโลกทราบมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตามที่มีการปรับปรุงล่าสุดภายหลังได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งประเมินสถานการณ์และกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่เกิดผลกระทบด้านการท่องเที่ยวหรือเกิดอุปสรรคแก่ผู้เดินทางเข้าประเทศเกินความจำเป็น เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยบวกหลายด้าน โดยเฉพาะการรับวัคซีนจำนวนมากทั้งคนไทยและต่างชาติทั่วโลก อีกทั้งไม่พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นต้นเหตุของการระบาดของโรค COVID-19
.
สรุปสาระสำคัญของประกาศฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 ในเรื่องดังกล่าวเปรียบเทียบกับฉบับก่อนหน้า ได้แก่ การยกเลิกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สายการบินไม่ต้องตรวจสอบผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง รวมทั้งจะไม่มีการสุ่มตรวจเมื่อเดินทางมาถึงอีก ซึ่งเป็นไปตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข่าวภายหลังการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางถึงประเทศไทยเที่ยวแรกหลังจากจีนเปิดประเทศ พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา
.
ส่วนประเด็นเรื่องการประกันสุขภาพสำหรับผู้โดยสารเข้าประเทศที่ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศที่มีข้อกำหนดให้ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ได้พิจารณาปรับลดมาตรการให้อ่อนตัวลงในระยะนี้ โดยยังคงเน้นให้ผู้เดินทางเข้าประเทศกลุ่มดังกล่าวต้องมีประกันสุขภาพในวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาโรค COVID-19 ในกรณีติดเชื้อและบวกเพิ่มอีก 7 วัน ซึ่งวงเงินนี้เป็นวงเงินต่ำสุดที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้และพิจารณาแล้วว่าครอบคลุมเพียงพอ
.
อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้การกำหนดให้ผู้โดยสารกลุ่มนี้ต้องมีประกันสุขภาพเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารเองและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล จะยังไม่ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการปฏิเสธการขึ้นเครื่อง ณ สนามบินต้นทาง แต่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ท่าอากาศยานจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
.
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และอาจยกระดับมาตรการใด ๆ เพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม ซึ่งสายการบินจะต้องปรับแนวทางดำเนินการเพื่อให้การนำผู้โดยสารเข้าประเทศเป็นไปตามระเบียบหรือข้อกำหนดที่ประกาศขึ้นภายหลัง
สำหรับรายละเอียดเนื้อหาตามประกาศใน NOTAM ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ดังนี้
NOTAM ฉบับที่ A0071/23
กระทรวงสาธารณสุขปรับมาตรการในการเข้าประเทศไทยสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดังนี้
ตอบลบ1. ยกเลิกข้อกำหนดการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ผู้โดยสารที่มาจากประเทศที่กำหนดผลตรวจ RT-PCR TEST จะต้องมีประกันสุขภาพวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาโควิดตลอดช่วงระยะเวลาเดินทางในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก 7 วัน
2.1 สำหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือ นักเรียน อาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน
2.2 ผู้โดยสารที่ไม่มีประกันสุขภาพจะไม่เป็นเหตุของการถูกปฏิเสธการขึ้นเครื่อง
2.3 เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
2.4 หากมีระเบียบหรือข้อกำหนดอื่นใดจากกระทรวงสาธารณสุข ให้สายการบินดำเนินการตามระเบียบข้อกำหนดนั้น
3. ผู้โดยสารที่ถือหนังสือเดินทางไทย และผู้โดยสารที่เปลี่ยนเครื่องหรือต่อเครื่องได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารประกันสุขภาพ
4. สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางตามความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหาร หรือในภาวะฉุกเฉิน
5. ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด 19 ระหว่างการเดินทาง จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย
6. หากมีคำถาม ข้อสงสัย ติดต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ https://shorturl-ddc.moph.go.th/FeCG0
.
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เริ่มใช้วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 23.59 น.
นอกจากนั้น CAAT ยังได้ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แจ้งมาตรการทางสาธารณสุขในการเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อแจ้งให้สาธารณะและผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้ทราบอย่างเป็นทางการอีกทางหนึ่งด้วย
( รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.caat.or.th/th/archives/70601 )