Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

เปิดบัญชี ออมสิน 2566 ขั้นต่ำ 1 บาท ใช้อะไรบ้าง?

 

เปิดบัญชี ออมสิน 2566 ขั้นต่ำ 1 บาท ใช้อะไรบ้าง? 





ธนาคารออมสิน อีกธนาคารหนึ่งที่หลายท่านเลือกที่จะเปิดบัญชีเนื่องจากเป็นธนาคารของรัฐที่ขึ้นชื่อเรื่องการออม โดยเฉพาะการเปิดบัญชีออมสิน เพื่อเปิดให้ลูก หรือท่านอาจจะเปิดบัญชีออมสิน เพื่อขอสินเชื่อ หรือซื้อสลากออมสิน มาดูกันว่าเปิดบัญชีออมสิน กี่บาท



เปิดบัญชีออมสินกี่บาท ขั้นต่ำเท่าไหร่


  • เปิดบัญชีธนาคารออมสิน ตั้งแต่ 1 บาท ขึ้นไป
  • ทำบัตร ATM เริ่ม 200+100 บาท (ไม่ทำก็ได้)
  • เพิ่มประกันชีวิต เริ่ม 599 บาท (ไม่ทำก็ได้)
  • ระวัง ถ้าไม่ใช้บัญชี ภายใน 1 ปี ควรมีเงินค้างไว้ 500 บาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้เสีย 20 บาท/เดือน

สามารถใช้แอป Mymo เพื่อกดเงินไม่ใช้บัตร (ประหยัดค่าบัตร ATM) โอนเงินออมสินออนไลน์ สมัครสินเชื่อภาครัฐ เช็คยอดเงิน รวมถึงซื้อสลากออมสินออนไลน์ได้



เอกสาร เปิดบัญชีออมสิน



  1. บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. เงินเปิดบัญชีออมสิน ขั้นต่ำ 1 บาท
  4. (ถ้าเปิดให้ลูก) ให้นำใบเกิดลูกไปด้วย



ทำบัตร ATM/ประกัน เท่าไหร่บ้าง?

ในกรณีที่คุณต้องการเปิดบัญชีออมสินพร้อมบัตร จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าอยู่ที่ 100 บาท ในขณะที่ค่าธรรมเนียมรายปีเริ่มต้นที่ 200 บาท แต่ละบัตรก็จะมีสิทธิพิเศษที่แตกต่างกัน



ซึ่งแต่ละบัตรก็จะมีสิทธิพิเศษมาแตกต่างกันไป โดยบัตรพื้นฐานที่สุดก็จะไม่มีประกันมาพ่วงด้วย ในขณะที่บัตรที่มีประกันอุบัติเหตุ ชดเชยรายได้ต่างๆก็จะมีค่าธรรมเนียมรายปีที่สูงขึ้นมา


ลูก 7 ขวบ เปิดบัญชีออมสิน ได้


การเปิดบัญชีออมสินให้ลูก หากลูกอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปแล้วก็สามารถไปเปิดบัญชีออมสินได้เนื่องจากอายุ 7 ปีขึ้นไปก็จะมีบัตรประชาชนแล้วเปิดเป็นชื่อของบุตรได้เลย โดยนำบัตรประชาชนลูก ทะเบียนบ้าน




อีกกรณีคือการเปิดบัญชีให้ลูกน้อยอายุยังไม่ถึง 7 ปีบริบูรณ์ จะสามารถเปิดบัญชีเพื่อผู้เยาว์ได้ โดยใช้ชื่อบัญชีเป็นชื่อคุณพ่อหรือชื่อคุณแม่ เพื่อผู้เยาว์ (ชื่อลูก) ในกรณีนี้จะมีเอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชีเป็นบัตรประชาชนคุณพ่อหรือคุณแม่ สูติบัตร และทะเบียนบ้าน




ที่มา   ::    ธนาคารออมสิน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น