Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

วิธีขอทะเบียนบ้าน ทำอย่างไร

 

วิธีขอทะเบียนบ้าน ทำอย่างไร


อยากขอทะเบียนบ้าน แต่ไม่รู้ทำอย่างไร มาดูวิธีขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ และวิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์ เอกสารที่ต้องใช้ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน 


ทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี หลังจากสร้างบ้านเสร็จหรือซื้อบ้านใหม่ สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยขอทะเบียนบ้าน อย่างรู้ว่าทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอทะเบียนบ้านมาให้แล้ว ทั้งเอกสารที่ใช้ขอทะเบียน ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านที่สำนักทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน และวิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปที่สำนักงานด้วยตัวเอง 


ทะเบียนบ้าน มีกี่ประเภท


- ทะเบียนบ้าน ทร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) : ทะเบียนบ้านสำหรับคนที่มีสัญชาติไทย และคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว


- ทะเบียนบ้าน ทร.13 (เล่มสีเหลือง) : ทะเบียนบ้านสำหรับคนต่างด้าว ไม่มีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ที่เข้าเมืองแบบถูกกฎหมายโดยได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 


- ทะเบียนบ้านกลาง : ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ออกโดยผู้อำนวยการทะเบียนกลาง ที่มีการกำหนดให้ทำขึ้นเพื่อลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน 


- ทะเบียนบ้านชั่วคราว : ทะเบียนบ้านที่ออกให้กับบ้านที่สร้างขึ้นในที่สาธารณะหรือบุกรุกป่าสงวนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย สามารถใช้เป็นเอกสารราชการได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้าน 


- ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน : ทะเบียนบ้านที่ออกโดยสำนักทะเบียน ตามข้อกำหนดของผู้อำนวยการทะเบียนกลาง เพื่อใช้ลงรายการบุคคลที่แจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน ทร.14 เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ และให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน หากบ้านใดยังไม่มีให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สร้างบ้านเสร็จ 



เอกสารขอทะเบียนบ้าน 


- บัตรประชาชนของผู้ขอทะเบียนบ้าน ทั้งนี้หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปทำเรื่องเองได้ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านอย่างละ 1 ชุด พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง แนบไปพร้อมใบมอบอำนาจและลงลายมือชื่อพยานจำนวน 2 คน 


- ใบ ท.ร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานในท้องที่ที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ 


- หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (ถ้ามี) เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 ส.ป.ก.4-01 และ ส.ค.1 เป็นต้น ไม่รวม ภ.บ.ท.5 หรือใบภาษีบำรุงท้องที่ 


- ใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน (กรณีปลูกบ้านใหม่) หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกบ้าน (กรณีสร้างบ้านนานแล้ว) หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี) หากไม่มีเอกสารดังกล่าวให้ใช้หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน 


- รูปถ่ายบ้านที่สร้างแล้วเสร็จทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นบ้าน (ขึ้นอยู่กับสถานที่แจ้ง ควรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ก่อน) 


วิธีขอทะเบียนบ้าน


1. ไปยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ปลูกสร้างบ้าน ในกรุงเทพฯ ยื่นเรื่องได้ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขต ต่างจังหวัดยื่นเรื่องไปที่ฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอ 

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ จากนั้นทำการออกเลขที่บ้านพร้อมกับจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน 

3. ส่งมอบทะเบียนบ้านให้กับผู้แจ้งเรื่อง 

4. ทำเรื่องย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้าน 


ทั้งนี้ ในการขอทะเบียนบ้านกรณีทะเบียนบ้านเก่าหายหรือทะเบียนบ้านชำรุด จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท หรือสอบถามข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1548 




สำหรับทะเบียนบ้านของคอนโดนั้น จะมีชื่อหรือไม่มีชื่อเจ้าบ้านก็ได้ แต่หากมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านนั้นจะมีความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการมากกว่า อีกทั้งยังมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการขาย เพราะจะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมิน ให้กับเจ้าของที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี นั่นเอง 


วิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์


เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีประกาศให้สามารถแจ้งขอทะเบียนบ้านออนไลน์ หรือ ทะเบียนบ้านดิจิทัล ตามขั้นตอนดังนี้ 

1. ดาวน์โหลดแอปฯ  DOPA ผ่านทาง App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android 

2. นำบัตรประชาชนไปยื่นเรื่องกับนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด เพื่อยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือและใบหน้า และรับรหัสผ่าน (PIN) สำหรับใช้แอปฯ

3. เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูล ก่อนเข้าสู่แอปฯ และเลือกใช้บริการตามที่ต้องการ



ซึ่งในขณะนี้เปิดใช้งานแล้ว 3 บริการคือ ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชนและบริการของรัฐ จองคิวเพื่อขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า และแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และจะเพิ่มการให้บริการอื่น ๆ ในลำดับถัดไป เช่น การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า-ย้ายออก การแจ้งเกิด-แจ้งตาย เป็นต้น 


ทะเบียนบ้าน ถือเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องมีทุกบ้าน หลังการสร้างบ้านเสร็จ อีกทั้งยังใช้เอกสารสำหรับประกอบการพิจารณาเมื่อต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ฉะนั้นหากใครไม่รู้ว่าจะต้องใช้เอกสารอะไร ไปยื่นเรื่องที่ไหน ก็นำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการพิจารณา สำหรับเตรียมตัวก่อนทำทะเบียนบ้านกันนะคะ หรือเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้นก็มีช่องทางออนไลน์ อย่าง ทะเบียนบ้านดิจิทัล ให้เลือกใช้บริการอีกทางหนึ่งด้วยนะ 




ขอบคุณข้อมูลจาก : bora.dopa.go.th (1) (2) (3)songkhlacity.go.thsammakorn.co.thbangkok.go.thoic.go.thratchakitcha.soc.go.th และ กรมการปกครอง OFFICIAL

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13

 ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13



ปกติคนจะรู้แต่ทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน แต่ชาวต่างชาติเวลาจะขอ ID ต้องใช้เล่มเหลือง

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13 มีไว้ทำไม

แน่นอนว่าเอกสารนี้มีประโยชน์มากมาย คุ้มกับการเสียเวลาดำเนินการแน่นอน ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติ

และใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ชาวต่างชาติที่จะขอท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?


ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท.ร.13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ท.ร.13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้

กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ได้เลย
สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

หนังสือเดินทางฉบับจริง

สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย

ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย

สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมเอกสารยืนยันการถือกรรมสิทธิ์

รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย

หมายเหตุ เอกสารการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจะมีความแตกต่างไปในแต่ละเขตและอำเภอ บางอำเภออาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม

จึงแนะนำให้โทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการไปเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อนเดินทางไปยื่นเอกสาร


ขั้นตอนการยื่นขอท.ร.13

ทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต ส่วนทะเบียนบ้านในต่างจังหวัดใหัติดต่อที่ว่าการอำเภอ โดยควรโทรสอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
ขั้นตอนการดำเนินการ

นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์แก่เจ้าบ้าน ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลยหากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อม)

เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่มทร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่ม

การดำเนินการทั้งหมดจะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ แล้วแต่เขตพื้นที่ที่ดำเนินการ แน่นอนว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาน้อยกว่า

เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความคุ้นเคยในการทำเอกสารนี้ ส่วนการดำเนินเรื่องในอำเภอต่างจังหวัด อาจใช้เวลาดำเนินการนาน 2-4 สัปดาห์



undefined

3. เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ยื่นขอ “ท.ร.13”

สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการยื่นขอ ท.ร.13 นะคะจะแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ

1. กรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ทะเบียนสมรส
  • สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)
  • พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)

เอกสารดังกล่าวต้องให้ทั้ง “เจ้าบ้าน” และ “ชาวต่างชาติ” เตรียมมาให้ครบถ้วนนะคะ

**คู่สมรสชาวไทยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น**

2. กรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
  • หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
  • เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
  • รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง

ในการเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอ ท.ร.13 เบื้องต้นนั้นในแต่ละอำเภอ หรือ จังหวัดอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมน้อง Genie แนะนำว่าควรโทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลานะคะ

undefined

4. ขั้นตอนในการดำเนินการยื่นขอ ท.ร.13

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนะคะ สามารถจำแนกได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. นำเอกสารทั้งหมดที่เราเตรียมมา ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่

2. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความเรียบร้อย และ ความสมบูรณ์ของเอกสารทั้งหมด จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์เจ้าบ้าน และ ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลย หากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อมค่ะ)

3. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่ม ท.ร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่มนั่นเองค่ะ

สำหรับระยะเวลาในการดำเนินการนะคะ จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่เขต หรือ อำเภอนั้นๆด้วยค่ะ

แต่สำหรับในเขตของกรุงเทพมหานครนั้นจะใช้เวลาทำการประมาณ 3 - 5 วันเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีการคุ้นชินในการทำเอกสารอยู่แล้วนั่นเองค่ะ

สถานที่ที่ให้บริการ / ติดต่อ

  • ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด
  • สำนักทะเบียนอำเภอ
  • สำนักทะเบียนท้องถิ่น




CR. ::  www.genie-property.com