Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวดท้องโคลิก (Colic) ในเด็กทารก

ปวดท้องโคลิก (Colic) ในเด็กทารก
 
 
 



 

 
โคลิก เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงอาการปวดท้องจากภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีลมหรือแก๊สในช่องท้อง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยกับเด็กทารก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนไม่ได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่ต้องตื่นขึ้นมาดูแลในตอนกลางคืน





อาการของโรค




โคลิกเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเด็ก แม้ว่าเด็กจะรู้สึกไม่สบายตัวและร้องงอแง แต่ก็เป็นภาวะซึ่งไม่เป็นอันตราย โดยอาการโคลิกจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 เดือน ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งบอกถึงอาการโคลิก คือ

  • เด็กร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังจากที่เด็กกินนมแล้ว
  • ขณะร้องไห้ เด็กจะงอเข่าเข้าหาท้องคล้ายว่ากำลังปวดท้อง
  • เด็กถ่ายอุจจาระหรือมีอาการท้องเฟ้อในช่วงต้นหรือช่วงปลายของการร้องไห้
  • ลักษณะการยิ้มเฝื่อนๆ หรือบริเวณรอบๆ ปากช้ำเป็นสีน้ำเงิน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กท้องอืด ท้องเฟ้อ

 

 

 

สาเหตุ




ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดอาการโคลิก ได้แก่

  • ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่
  • การให้เด็กทารกหย่านมแม่เร็วเกินไป
  • เกิดจากฮอร์โมนในน้ำนมแม่
  • ภูมิแพ้ (แพ้จากอาหารที่ทารกได้รับ หรือจากน้ำนมแม่)
  • เด็กได้รับนมมากเกินไป
  • การกลืนลมเข้าท้องมาก (เช่น รูที่จุกขวดนมผิดขนาด หรือเด็กอยู่ในตำแหน่งการดูดนมผิดท่าจึงทำให้เด็กดูดนมพร้อมกับอากาศเข้าไปในท้องมากเกินไป)
  • การร้องไห้ยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเพราะเด็กจะยิ่งกลืนลมเข้าท้องมาก
  • มีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตั้งแต่เล็ก (วิธีนี้จะทำลายแบคทีเรียชนิดดีซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ที่มีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร จึงอาจมีผลทำให้เป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับเด็กที่จะต้องพัฒนาพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นปกติ)











การรักษา


การรักษาอาการโคลิกด้วยสมุนไพรธรรมชาติดั้งเดิมเป็นวิธีที่ปลอดภัย ใช้กันเป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

  • คาร์โมมายล์ (Chamomile), ผักชีลาว (Dill), ยี่หร่าฝรั่ง (Fennel) หรือจะเป็น เปปเปอร์มินท์ (Peppermint) สามารถใช้ได้ทีละชนิด หรือนำมาผสมรวมกันในรูปแบบของชาแบบเจือจางมากๆ หรือเป็นรูปแบบน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก โดยสามารถผสมกับนมให้เด็กดูดช่วงท้าย
  • อาหารเสริมพรีไบโอติกใส่ในนมหรือผสมนมแล้วแต้มบริเวณหัวนมแม่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการโคลิกที่มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ





การดูแลตนเอง


หากเด็กทารกดูดนมจากขวด รูจุกนมต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันไม่ให้เด็กดูดลมเข้าไปในท้อง ซึ่งเทคนิคก็คือใช้เข็มร้อนๆ ลอดผ่านรูจุกนมโดยเข็มสามารถลอดผ่านได้
ควรพูดคุยกับผู้ที่สามารถให้คำปรึกษา รวมทั้งกุมารแพทย์หรือพยาบาล เรื่องเทคนิคการให้นมบุตรสำหรับคุณและลูก เพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ดี







ข้อควรรู้


ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่


  • ลูกของคุณไม่เคยมีอาการโคลิกมาก่อน
  • อาการโคลิกเกิดขึ้นร่วมกับไข้ ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก
  • เด็กส่งเสียงร้องไห้เจ็บปวด ไม่ใช่การร้องงอแง ซึ่งมาจากการได้รับบาดเจ็บหรือป่วยจากโรคอื่นๆ
  • เด็กมีอายุมากกว่า 3 เดือน และยังมีอาการโคลิกอยู่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านพฤติกรรมหรือโรคภัยต่างๆ
  • เด็กที่เป็นโคลิกมีน้ำหนักลด และไม่หิวนม แสดงว่าเด็กไม่สบาย



 





ที่มา :: http://www.blackmores.co.th/health-topics/Colic















โคลิก (Baby colic) : เด็กร้องร้อยวัน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ
วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา








บทนำ


โคลิก (Colic หรือ Baby colic) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมาก ร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก
โคลิก เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก เกิดในครอบครัวที่มีลูกน้อยคน และ ในพ่อแม่มีการศึกษาสูง








อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโคลิกในเด็ก



 
สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ


  1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  2. เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
  3. ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
  4. เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
  5. เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  6. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิดสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบ ครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
  7. เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
  8. เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
  9. เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมด จึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง
  10. ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิล
  11. เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
  12. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก ซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้




อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก คือ

  1. ระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ (Immature autonomic nervous system) จึงส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ยังไม่สมบูรณ์
  2. บิดา และ/หรือมารดา สูบบุหรี่

 

 

 

แพทย์วินิจฉัยภาวะโคลิกได้อย่างไร

 

การวินิจฉัยภาวะนี้ได้จากประวัติอาการของเด็ก การตรวจร่างกาย และการแยกอาการจากสาเหตุอื่นๆออกไป ซึ่งได้แก่
  1. พบในเด็กอายุ 3 เดือนแรกของชีวิต
  2. อาการเกิดแบบเฉียบพลัน และมักเกิดในเวลาเดิมๆของวันคือ มักเกิดช่วงหัวค่ำ เด็กจะร้องนานเป็นชั่วโมง (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง) อาจารย์อาวุโสของผู้เขียนบอกว่าร้องตั้งแต่บาร์ (ไนท์คลับ) เปิดถึงบาร์ปิด
  3. มีอาการแสดงของการปวดท้อง ท้องอืด ปวดเป็นพักๆ (Colicky pain)
  4. แพทย์ตรวจไม่พบความผิดปกติอย่างอื่น
  5. พ่อแม่มักจะมีบุคลิกเครียดและวิตกกังวล

 

 

ลักษณะอาการร้องของเด็กเป็นอย่างไร

 

เวลาร้อง เด็กจะงอขา งอตัว กำมือ




แพทย์วินิจฉัยแยกโคลิกจากโรคอื่นๆอะไรบ้าง

เนื่องจากอาการของโคลิก เป็นอาการที่มักจะทำให้พ่อแม่ตกใจ และยิ่งเครียดมากขึ้น แพทย์เองเมื่อพบเด็กที่เป็นโคลิกครั้งแรก ต้องหาสาเหตุของโรคหรือภาวะที่จะทำให้เด็กร้องมากๆก่อน เพราะการวินิจฉัยโคลิก จะบอกว่าเป็นโคลิกต้องตัดสาเหตุอื่นที่อาจทำให้พบอาการเหมือนโคลิกออกไปเสียก่อน เช่น การเจ็บป่วยไม่สบาย มีไข้ตัวร้อน มีการอักเสบของหู (เช่น มด แมลงเข้าหู) มีปัญหาในทางเดินหายใจ มีการสำลักสิ่งแปลกปลอมในลำคอ มีภาวะท้องผูก ท้องเสีย มีแผลบริเวณก้น มีอาการคันเนื้อตัวมาก มีอัณฑะบิดตัว (Testicular torsion) หรือมีลำไส้กลืนกัน อาการลำไส้กลืนกัน มักไม่ค่อยพบในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน เด็กอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดปนมูกสีแดงคล้ำคล้ายแยมที่ทำจากผลเคอร์แร้นต์ (Currant jelly stool) เป็นต้น
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโคลิกโดยตัดปัญหาอื่นๆออกไปแล้ว พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่อันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดลง

 

 

รักษาโคลิกอย่างไร



ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่
  1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
  2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
  3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย (Low-allergen milk)
  4. เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก
  5. หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
  6. ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น Simethicone (ยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด) เป็นยาที่ใช้กันเป็นสามัญทั่วไป ยังใช้กับเด็กบางส่วนได้ดีอยู่ ผู้เขียนมีประ สบการณ์เลี้ยงลูกที่มีอาการโคลิก ได้ให้ยาแก๊สแท็บ (Gastab เป็นชื่อการค้าของยา Sodium bicarbonate ใช้ลดอาการท้องอืด) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มลดอาการท้องอืดเช่นกัน เป็นเม็ดเล็กๆ บดใส่น้ำป้อนให้ได้ผลดี และผู้เขียนให้ผู้ป่วยหลายรายใช้ก็ได้ผล แต่ตามเอกสารงานวิจัยอาจไม่ได้ผล คงเป็นแบบสุภาษิตที่ว่าลางเนื้อชอบลางยา บางคนได้ผล บางคนไม่ได้ผล
  7. ยาชนิดหนึ่งชื่อ Dicyclomine (ยาต้านการทำงานของประสาทควบคุมการบีบตัวของลำไส้) มีการศึกษาว่าใช้ได้ผล แต่ปัญหาคือทำให้เกิดอาการข้างเคียง (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน) ทำให้ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งก็เป็นอายุที่เกิดอาการโคลิกโดยสรุปการรักษาโคลิกค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่ข้อสำคัญ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องทำใจ และต้องใช้เวลา และอดทนในการดูแลเด็ก

*****อนึ่ง การใช้ยาในเด็ก ควรปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ที่ดูแลเด็ก เป็นผู้สั่ง ทั้งชนิด ปริมาณ/ขนาด วิธีใช้ และระยะเวลาในการใช้ยา จะปลอดภัยกว่าซื้อยาใช้เองมาก




ขณะเด็กร้อง ควรทำอย่างไร    ดูแลเด็กอย่างไร

การให้เด็กหยุดร้องในเด็กที่มีอาการโคลิกนั้นค่อนข้างยาก เด็กอาจหยุดร้องเป็นพักๆ
หากเด็กระบายลมออกมาได้ หรือมีการขยับของลำไส้ อาการจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามขณะเด็กร้องให้ทำดังนี้
  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่นเสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดตัวเด็ก หรือเขย่าเบาๆไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง
  6. อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  7. หาคนช่วยดูเด็ก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก

 

 

 

เมื่อไรจะไปพบแพทย์



ควรนำเด็กพบแพทย์/กุมารแพทย์/หมอเด็กเมื่อ
  1. เด็กมีอาการร้องมาก ร้องนานในครั้งแรกซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิก ซึ่งแพทย์จะซักประวัติอาการ ตรวจร่างกาย หรือหาวิธีการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพื่อตัดโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิกออกไป เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  2. เด็กมีการร้องมาก ร้องเป็นพักๆ หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น มีไข้ ตัวร้อน อาเจียน อุจจาระผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีแดงเหมือนแยม (Currant jelly stool) ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน การรีบไปพบแพทย์โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นมีอาการ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น อาจไม่ต้องผ่าตัด
  3. เด็กมีอาการร้องเสียงแหบ มีอาการหายใจผิดปกติ อาจต้องระวังเรื่องการสำลักสิ่งแปลกปลอม ต้องรีบพาไปพบแพทย์/โรงพยาบาล ทันที/ฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม



  1. Jones R, Pollack EF, McIntire SC, Tannenbaum JP, Kriendler J. Colic. http://www.mdconsult.com/das/pdxmd/body/330360663-503/0?type=med&eid=9-u1.0-_1_mt_1016538 . Retrieved on April 15, 2012.
  2. Turner TL, Palamountain S. Clinical features and etiology of colic. http://www.uptodate.com/contents/clinical-features-and-etiology-of-colic?source=search_result&search=Clinical+features+and+etiology+of+colic&selectedTitle=1~104. Retrieved on April 15, 2012.