Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวดท้องโคลิก (Colic) ในเด็กทารก

ปวดท้องโคลิก (Colic) ในเด็กทารก
 
 
 



 

 
โคลิก เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงอาการปวดท้องจากภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีลมหรือแก๊สในช่องท้อง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยกับเด็กทารก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนไม่ได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่ต้องตื่นขึ้นมาดูแลในตอนกลางคืน





อาการของโรค




โคลิกเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเด็ก แม้ว่าเด็กจะรู้สึกไม่สบายตัวและร้องงอแง แต่ก็เป็นภาวะซึ่งไม่เป็นอันตราย โดยอาการโคลิกจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 เดือน ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งบอกถึงอาการโคลิก คือ

  • เด็กร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังจากที่เด็กกินนมแล้ว
  • ขณะร้องไห้ เด็กจะงอเข่าเข้าหาท้องคล้ายว่ากำลังปวดท้อง
  • เด็กถ่ายอุจจาระหรือมีอาการท้องเฟ้อในช่วงต้นหรือช่วงปลายของการร้องไห้
  • ลักษณะการยิ้มเฝื่อนๆ หรือบริเวณรอบๆ ปากช้ำเป็นสีน้ำเงิน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กท้องอืด ท้องเฟ้อ

 

 

 

สาเหตุ




ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดอาการโคลิก ได้แก่

  • ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่
  • การให้เด็กทารกหย่านมแม่เร็วเกินไป
  • เกิดจากฮอร์โมนในน้ำนมแม่
  • ภูมิแพ้ (แพ้จากอาหารที่ทารกได้รับ หรือจากน้ำนมแม่)
  • เด็กได้รับนมมากเกินไป
  • การกลืนลมเข้าท้องมาก (เช่น รูที่จุกขวดนมผิดขนาด หรือเด็กอยู่ในตำแหน่งการดูดนมผิดท่าจึงทำให้เด็กดูดนมพร้อมกับอากาศเข้าไปในท้องมากเกินไป)
  • การร้องไห้ยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเพราะเด็กจะยิ่งกลืนลมเข้าท้องมาก
  • มีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตั้งแต่เล็ก (วิธีนี้จะทำลายแบคทีเรียชนิดดีซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ที่มีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร จึงอาจมีผลทำให้เป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับเด็กที่จะต้องพัฒนาพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นปกติ)











การรักษา


การรักษาอาการโคลิกด้วยสมุนไพรธรรมชาติดั้งเดิมเป็นวิธีที่ปลอดภัย ใช้กันเป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

  • คาร์โมมายล์ (Chamomile), ผักชีลาว (Dill), ยี่หร่าฝรั่ง (Fennel) หรือจะเป็น เปปเปอร์มินท์ (Peppermint) สามารถใช้ได้ทีละชนิด หรือนำมาผสมรวมกันในรูปแบบของชาแบบเจือจางมากๆ หรือเป็นรูปแบบน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก โดยสามารถผสมกับนมให้เด็กดูดช่วงท้าย
  • อาหารเสริมพรีไบโอติกใส่ในนมหรือผสมนมแล้วแต้มบริเวณหัวนมแม่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการโคลิกที่มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ





การดูแลตนเอง


หากเด็กทารกดูดนมจากขวด รูจุกนมต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันไม่ให้เด็กดูดลมเข้าไปในท้อง ซึ่งเทคนิคก็คือใช้เข็มร้อนๆ ลอดผ่านรูจุกนมโดยเข็มสามารถลอดผ่านได้
ควรพูดคุยกับผู้ที่สามารถให้คำปรึกษา รวมทั้งกุมารแพทย์หรือพยาบาล เรื่องเทคนิคการให้นมบุตรสำหรับคุณและลูก เพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ดี







ข้อควรรู้


ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่


  • ลูกของคุณไม่เคยมีอาการโคลิกมาก่อน
  • อาการโคลิกเกิดขึ้นร่วมกับไข้ ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก
  • เด็กส่งเสียงร้องไห้เจ็บปวด ไม่ใช่การร้องงอแง ซึ่งมาจากการได้รับบาดเจ็บหรือป่วยจากโรคอื่นๆ
  • เด็กมีอายุมากกว่า 3 เดือน และยังมีอาการโคลิกอยู่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านพฤติกรรมหรือโรคภัยต่างๆ
  • เด็กที่เป็นโคลิกมีน้ำหนักลด และไม่หิวนม แสดงว่าเด็กไม่สบาย



 





ที่มา :: http://www.blackmores.co.th/health-topics/Colic















โคลิก (Baby colic) : เด็กร้องร้อยวัน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ
วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา








บทนำ


โคลิก (Colic หรือ Baby colic) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมาก ร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก
โคลิก เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก เกิดในครอบครัวที่มีลูกน้อยคน และ ในพ่อแม่มีการศึกษาสูง








อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโคลิกในเด็ก



 
สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ


  1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  2. เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
  3. ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
  4. เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
  5. เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  6. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิดสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบ ครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
  7. เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
  8. เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
  9. เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมด จึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง
  10. ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิล
  11. เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
  12. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก ซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้




อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก คือ

  1. ระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ (Immature autonomic nervous system) จึงส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ยังไม่สมบูรณ์
  2. บิดา และ/หรือมารดา สูบบุหรี่

 

 

 

แพทย์วินิจฉัยภาวะโคลิกได้อย่างไร

 

การวินิจฉัยภาวะนี้ได้จากประวัติอาการของเด็ก การตรวจร่างกาย และการแยกอาการจากสาเหตุอื่นๆออกไป ซึ่งได้แก่
  1. พบในเด็กอายุ 3 เดือนแรกของชีวิต
  2. อาการเกิดแบบเฉียบพลัน และมักเกิดในเวลาเดิมๆของวันคือ มักเกิดช่วงหัวค่ำ เด็กจะร้องนานเป็นชั่วโมง (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง) อาจารย์อาวุโสของผู้เขียนบอกว่าร้องตั้งแต่บาร์ (ไนท์คลับ) เปิดถึงบาร์ปิด
  3. มีอาการแสดงของการปวดท้อง ท้องอืด ปวดเป็นพักๆ (Colicky pain)
  4. แพทย์ตรวจไม่พบความผิดปกติอย่างอื่น
  5. พ่อแม่มักจะมีบุคลิกเครียดและวิตกกังวล

 

 

ลักษณะอาการร้องของเด็กเป็นอย่างไร

 

เวลาร้อง เด็กจะงอขา งอตัว กำมือ




แพทย์วินิจฉัยแยกโคลิกจากโรคอื่นๆอะไรบ้าง

เนื่องจากอาการของโคลิก เป็นอาการที่มักจะทำให้พ่อแม่ตกใจ และยิ่งเครียดมากขึ้น แพทย์เองเมื่อพบเด็กที่เป็นโคลิกครั้งแรก ต้องหาสาเหตุของโรคหรือภาวะที่จะทำให้เด็กร้องมากๆก่อน เพราะการวินิจฉัยโคลิก จะบอกว่าเป็นโคลิกต้องตัดสาเหตุอื่นที่อาจทำให้พบอาการเหมือนโคลิกออกไปเสียก่อน เช่น การเจ็บป่วยไม่สบาย มีไข้ตัวร้อน มีการอักเสบของหู (เช่น มด แมลงเข้าหู) มีปัญหาในทางเดินหายใจ มีการสำลักสิ่งแปลกปลอมในลำคอ มีภาวะท้องผูก ท้องเสีย มีแผลบริเวณก้น มีอาการคันเนื้อตัวมาก มีอัณฑะบิดตัว (Testicular torsion) หรือมีลำไส้กลืนกัน อาการลำไส้กลืนกัน มักไม่ค่อยพบในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน เด็กอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดปนมูกสีแดงคล้ำคล้ายแยมที่ทำจากผลเคอร์แร้นต์ (Currant jelly stool) เป็นต้น
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโคลิกโดยตัดปัญหาอื่นๆออกไปแล้ว พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่อันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดลง

 

 

รักษาโคลิกอย่างไร



ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่
  1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
  2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
  3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย (Low-allergen milk)
  4. เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก
  5. หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
  6. ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น Simethicone (ยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด) เป็นยาที่ใช้กันเป็นสามัญทั่วไป ยังใช้กับเด็กบางส่วนได้ดีอยู่ ผู้เขียนมีประ สบการณ์เลี้ยงลูกที่มีอาการโคลิก ได้ให้ยาแก๊สแท็บ (Gastab เป็นชื่อการค้าของยา Sodium bicarbonate ใช้ลดอาการท้องอืด) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มลดอาการท้องอืดเช่นกัน เป็นเม็ดเล็กๆ บดใส่น้ำป้อนให้ได้ผลดี และผู้เขียนให้ผู้ป่วยหลายรายใช้ก็ได้ผล แต่ตามเอกสารงานวิจัยอาจไม่ได้ผล คงเป็นแบบสุภาษิตที่ว่าลางเนื้อชอบลางยา บางคนได้ผล บางคนไม่ได้ผล
  7. ยาชนิดหนึ่งชื่อ Dicyclomine (ยาต้านการทำงานของประสาทควบคุมการบีบตัวของลำไส้) มีการศึกษาว่าใช้ได้ผล แต่ปัญหาคือทำให้เกิดอาการข้างเคียง (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน) ทำให้ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งก็เป็นอายุที่เกิดอาการโคลิกโดยสรุปการรักษาโคลิกค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่ข้อสำคัญ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องทำใจ และต้องใช้เวลา และอดทนในการดูแลเด็ก

*****อนึ่ง การใช้ยาในเด็ก ควรปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ที่ดูแลเด็ก เป็นผู้สั่ง ทั้งชนิด ปริมาณ/ขนาด วิธีใช้ และระยะเวลาในการใช้ยา จะปลอดภัยกว่าซื้อยาใช้เองมาก




ขณะเด็กร้อง ควรทำอย่างไร    ดูแลเด็กอย่างไร

การให้เด็กหยุดร้องในเด็กที่มีอาการโคลิกนั้นค่อนข้างยาก เด็กอาจหยุดร้องเป็นพักๆ
หากเด็กระบายลมออกมาได้ หรือมีการขยับของลำไส้ อาการจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามขณะเด็กร้องให้ทำดังนี้
  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่นเสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดตัวเด็ก หรือเขย่าเบาๆไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง
  6. อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  7. หาคนช่วยดูเด็ก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก

 

 

 

เมื่อไรจะไปพบแพทย์



ควรนำเด็กพบแพทย์/กุมารแพทย์/หมอเด็กเมื่อ
  1. เด็กมีอาการร้องมาก ร้องนานในครั้งแรกซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิก ซึ่งแพทย์จะซักประวัติอาการ ตรวจร่างกาย หรือหาวิธีการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพื่อตัดโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิกออกไป เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  2. เด็กมีการร้องมาก ร้องเป็นพักๆ หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น มีไข้ ตัวร้อน อาเจียน อุจจาระผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีแดงเหมือนแยม (Currant jelly stool) ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน การรีบไปพบแพทย์โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นมีอาการ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น อาจไม่ต้องผ่าตัด
  3. เด็กมีอาการร้องเสียงแหบ มีอาการหายใจผิดปกติ อาจต้องระวังเรื่องการสำลักสิ่งแปลกปลอม ต้องรีบพาไปพบแพทย์/โรงพยาบาล ทันที/ฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม



  1. Jones R, Pollack EF, McIntire SC, Tannenbaum JP, Kriendler J. Colic. http://www.mdconsult.com/das/pdxmd/body/330360663-503/0?type=med&eid=9-u1.0-_1_mt_1016538 . Retrieved on April 15, 2012.
  2. Turner TL, Palamountain S. Clinical features and etiology of colic. http://www.uptodate.com/contents/clinical-features-and-etiology-of-colic?source=search_result&search=Clinical+features+and+etiology+of+colic&selectedTitle=1~104. Retrieved on April 15, 2012.









13 ความคิดเห็น:

  1. การร้อง “โคลิค” (Colic) คืออะไร


    การร้องโคลิค (Colic) หรือที่โบราณเรียกว่า ‘การร้องร้อยวัน’ คือการที่เด็กทารก (อายุต่ำกว่า 5 เดือนและมีสุขภาพ
    สมบูรณ์แข็งแรงดี) ร้องไห้ต่อเนื่องกันนาน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ร้องมากกว่า 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ และอาจร้องติดต่อกัน
    เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาการโคลิคนั้นไม่ใช่โรคนะคะ ไม่จำเป็นต้องให้ลูกทานยาหรือทายาอะไร และ
    ก็จะไม่ส่งผลกระทบในระยะยาวกับลูกน้อยค่ะ แต่แน่นอนว่าในช่วงที่ลูกน้อยเกิดอาการโคลิคนั้น จะเป็นช่วงที่สามารถ
    ทำให้คุณพ่อคุณแม่ (และลูกน้อย) เกิดความเครียดได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียวค่ะ


    การร้องโคลิคนั้นมักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุ 2-3 สัปดาห์ ทารกจะร้องไห้ขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ มักจะร้องในช่วงเวลา
    เดียวกันของทุกๆ วัน ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นช่วงบ่ายหรือเย็น ในขณะที่ร้องนั้น ลูกน้อยจะมีอาการเกร็งท้อง แขน ขา
    และอาจมีการผายลมร่วมด้วยได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เมื่อเกิดในช่วงแรกๆ มักทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่าลูก
    อาจมีลมในท้องหรือปวดท้องได้ แต่เมื่อเกิดซ้ำเป็นประจำมากขึ้น ก็จะสามารถบอกได้ว่าเป็นอาการโคลิคไม่ใช่แค่
    การร้องไห้ธรรมดาหรือร้องเพราะไม่สบาย


    การร้องโคลิคนั้นจะมีช่วงสูงสุดของอาการนี้เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 6 สัปดาห์ จากนั้นเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3-4 เดือน
    อาการนี้ก็จะค่อยๆ ลดลง และจะหายไปได้เองเมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 5 เดือนค่ะ


    โดยสรุป จุดสังเกตสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ว่าลูกน้อยร้องโคลิกหรือไม่ ได้แก่


    • อาการมักเริ่มในช่วงเดือนแรกๆ ตั้งแต่ลูกน้อยอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์

    • ลูกร้องคล้ายกับมีอาการปวดท้อง

    • ลูกน้อยจะร้องนานครั้งละประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง โดยการร้องจะร้องเป็นช่วงๆ วันละหนึ่งถึงสองครั้ง
    ส่วนใหญ่มักเป็นตอนเย็นหรือค่ำ

    • มักจะร้องในช่วงเวลาเดียวกันของทุกๆ วัน และติดต่อกันนานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

    • สภาพร่างกายของลูกน้อยปกติและแข็งแรงดี ไม่ได้ร้องเพราะกำลังหิวหรือไม่สบาย และคุณพ่อคุณแม่
    ไม่สามารถหาสาเหตุอื่นๆ ในการที่ทำให้ลูกน้อยร้องได้

    อาการโคลิคนั้นไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ค่ะ พบประมาณ 20% ของเด็กทั้งหมด สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งใน
    เด็กชายและเด็กหญิง เด็กที่กินนมแม่และเด็กที่กินนมชง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและเด็กที่คลอดช้ากว่ากำหนด ฯลฯ


    แต่ได้มีการสันนิษฐานว่าบางทีอาการโคลิคอาจจะเกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่มีความอ่อนไหว
    มากกว่าเด็กทั่วๆ ไป (คำว่า Colic มาจากภาษากรีกว่า kolikos ซึ่งมีความหมายเป็นนัยเกี่ยวกับส่วนปลายของ
    ลำไส้ใหญ่ (colon)) และประกอบกับการที่อาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยก็เป็นได้


    เนื่องจากในระบบทางเดินอาหารของทารกแรกเกิดนั้นมีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารและน้ำย่อยอยู่น้อยมาก ดังนั้น
    การย่อยโปรตีนในนมวัวหรือในนมแม่อาจทำได้ยาก ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดแก๊สขึ้นได้ นอกจากนี้ การที่ลูกน้อย
    ร้องเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอากาศเข้าไปในท้องมากเกินไป ทำให้เกิดลมในท้องมากขึ้น หากอาการจุกเสียด
    ของลูกน้อยเกิดจากสาเหตุดังกล่าว จะสังเกตเห็นได้ว่าลูกน้อยจะมีอาการแย่ลงหลังมื้ออาหารหรือในช่วงก่อนจะขับถ่าย


    ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นว่าการที่เด็กบางคนร้องโคลิคนั้น อาจเป็นการปลดปล่อยของร่ายกายตามธรรมชาติ
    เด็กบางคนมีความรู้สึกไวต่อสิ่งรอบตัว เช่น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่คลอดยาก ฯลฯ เมื่อสภาพแวดล้อม
    มีการเปลี่ยนแปลง เช่น แสงของท้องฟ้าที่เปลี่ยนไปในช่วงเย็น เค้าก็จะสัมผัสได้ และร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นการ
    ปลดปล่อยความรู้สึกของตัวเอง เป็นต้น


    นอกจากนี้คุณแม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมลูก ก็มีโอกาสทำให้ลูกเสี่ยงต่อการร้องโคลิคมากกว่า
    เด็กคนอื่นๆ ถึง 2 เท่าเลยทีเดียวนะคะ



    ที่มา :: http://www.nestlebaby.com/




    .

    ตอบลบ
  2. โคลิก (Baby colic) : เด็กร้องร้อยวัน

    ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ


    บทนำ


    โคลิก (Colic หรือ Baby colic) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมาก ร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก

    โคลิก เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก เกิดในครอบครัวที่มีลูกน้อยคน และ ในพ่อแม่มีการศึกษาสูง


    อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโคลิกในเด็ก?


    สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ
    1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
    2.เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
    3. ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
    4.เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
    5.เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
    6. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิดสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบ ครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
    7. เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
    8. เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
    9. เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมด จึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง
    10. ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิล
    11.เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
    12. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก ซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้



    ...

    ตอบลบ
  3. ... ต่อ ...


    อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก?


    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโคลิก คือ
    1.ระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ (Immature autonomic nervous system) จึงส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ยังไม่สมบูรณ์
    2. บิดา และ/หรือมารดา สูบบุหรี่

    แพทย์วินิจฉัยภาวะโคลิกได้อย่างไร?


    การวินิจฉัยภาวะนี้ได้จากประวัติอาการของเด็ก การตรวจร่างกาย และการแยกอาการจากสาเหตุอื่นๆออกไป ซึ่งได้แก่
    1. พบในเด็กอายุ 3 เดือนแรกของชีวิต
    2.อาการเกิดแบบเฉียบพลัน และมักเกิดในเวลาเดิมๆของวันคือ มักเกิดช่วงหัวค่ำ เด็กจะร้องนานเป็นชั่วโมง (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง) อาจารย์อาวุโสของผู้เขียนบอกว่าร้องตั้งแต่บาร์ (ไนท์คลับ) เปิดถึงบาร์ปิด
    3. มีอาการแสดงของการปวดท้อง ท้องอืด ปวดเป็นพักๆ (Colicky pain)
    4.แพทย์ตรวจไม่พบความผิดปกติอย่างอื่น
    5. พ่อแม่มักจะมีบุคลิกเครียดและวิตกกังวล

    ลักษณะอาการร้องของเด็กเป็นอย่างไร?


    เวลาร้อง เด็กจะงอขา งอตัว กำมือ

    แพทย์วินิจฉัยแยกโคลิกจากโรคอื่นๆอะไรบ้าง?


    เนื่องจากอาการของโคลิก เป็นอาการที่มักจะทำให้พ่อแม่ตกใจ และยิ่งเครียดมากขึ้น แพทย์เองเมื่อพบเด็กที่เป็นโคลิกครั้งแรก ต้องหาสาเหตุของโรคหรือภาวะที่จะทำให้เด็กร้องมากๆก่อน เพราะการวินิจฉัยโคลิก จะบอกว่าเป็นโคลิกต้องตัดสาเหตุอื่นที่อาจทำให้พบอาการเหมือนโคลิกออกไปเสียก่อน เช่น การเจ็บป่วยไม่สบาย มีไข้ตัวร้อน มีการอักเสบของหู (เช่น มด แมลงเข้าหู) มีปัญหาในทางเดินหายใจ มีการสำลักสิ่งแปลกปลอมในลำคอ มีภาวะท้องผูก ท้องเสีย มีแผลบริเวณก้น มีอาการคันเนื้อตัวมาก มีอัณฑะบิดตัว (Testicular torsion) หรือมีลำไส้กลืนกัน อาการลำไส้กลืนกัน มักไม่ค่อยพบในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน เด็กอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดปนมูกสีแดงคล้ำคล้ายแยมที่ทำจากผลเคอร์แร้นต์ (Currant jelly stool) เป็นต้น

    เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโคลิกโดยตัดปัญหาอื่นๆออกไปแล้ว พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่อันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดลง



    ...

    ตอบลบ
  4. ... ต่อ ...


    รักษาโคลิกอย่างไร?


    ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่
    1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
    2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
    3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย (Low-allergen milk)
    4.เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก
    5. หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
    6.ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น Simethicone (ยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด) เป็นยาที่ใช้กันเป็นสามัญทั่วไป ยังใช้กับเด็กบางส่วนได้ดีอยู่ ผู้เขียนมีประ สบการณ์เลี้ยงลูกที่มีอาการโคลิก ได้ให้ยาแก๊สแท็บ (Gastab เป็นชื่อการค้าของยา Sodium bicarbonate ใช้ลดอาการท้องอืด) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มลดอาการท้องอืดเช่นกัน เป็นเม็ดเล็กๆ บดใส่น้ำป้อนให้ได้ผลดี และผู้เขียนให้ผู้ป่วยหลายรายใช้ก็ได้ผล แต่ตามเอกสารงานวิจัยอาจไม่ได้ผล คงเป็นแบบสุภาษิตที่ว่าลางเนื้อชอบลางยา บางคนได้ผล บางคนไม่ได้ผล
    7. ยาชนิดหนึ่งชื่อ Dicyclomine (ยาต้านการทำงานของประสาทควบคุมการบีบตัวของลำไส้) มีการศึกษาว่าใช้ได้ผล แต่ปัญหาคือทำให้เกิดอาการข้างเคียง (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน) ทำให้ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งก็เป็นอายุที่เกิดอาการโคลิก
    โดยสรุปการรักษาโคลิกค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่ข้อสำคัญ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องทำใจ และต้องใช้เวลา และอดทนในการดูแลเด็ก



    *****อนึ่ง การใช้ยาในเด็ก ควรปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ที่ดูแลเด็ก เป็นผู้สั่ง ทั้งชนิด ปริมาณ/ขนาด วิธีใช้ และระยะเวลาในการใช้ยา จะปลอดภัยกว่าซื้อยาใช้เองมาก

    ขณะเด็กร้อง ควรทำอย่างไร? ดูแลเด็กอย่างไร?




    การให้เด็กหยุดร้องในเด็กที่มีอาการโคลิกนั้นค่อนข้างยาก เด็กอาจหยุดร้องเป็นพักๆ

    หากเด็กระบายลมออกมาได้ หรือมีการขยับของลำไส้ อาการจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามขณะเด็กร้องให้ทำดังนี้
    1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง
    2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่นเสียงดัง แสงรบกวน
    3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
    4. นวดตัวเด็ก หรือเขย่าเบาๆไปมา ลูบหลังให้
    5. เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง
    6. อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
    7. หาคนช่วยดูเด็ก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก



    เมื่อไรจะไปพบแพทย์?


    ควรนำเด็กพบแพทย์/กุมารแพทย์/หมอเด็กเมื่อ

    1.เด็กมีอาการร้องมาก ร้องนานในครั้งแรกซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิก ซึ่งแพทย์จะซักประวัติอาการ ตรวจร่างกาย หรือหาวิธีการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพื่อตัดโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโคลิกออกไป เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
    2.เด็กมีการร้องมาก ร้องเป็นพักๆ หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น มีไข้ ตัวร้อน อาเจียน อุจจาระผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีแดงเหมือนแยม (Currant jelly stool) ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน การรีบไปพบแพทย์โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นมีอาการ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น อาจไม่ต้องผ่าตัด
    3.เด็กมีอาการร้องเสียงแหบ มีอาการหายใจผิดปกติ อาจต้องระวังเรื่องการสำลักสิ่งแปลกปลอม ต้องรีบพาไปพบแพทย์/โรงพยาบาล ทันที/ฉุกเฉิน



    บรรณานุกรม

    1.Jones R, Pollack EF, McIntire SC, Tannenbaum JP, Kriendler J. Colic. http://www.mdconsult.com/das/pdxmd/body/330360663-503/0?type=med&eid=9-u1.0-_1_mt_1016538 . Retrieved on April 15, 2012.
    2.Turner TL, Palamountain S. Clinical features and etiology of colic. http://www.uptodate.com/contents/clinical-features-and-etiology-of-colic?source=search_result&search=Clinical+features+and+etiology+of+colic&selectedTitle=1~104. Retrieved on April 15, 2012.



    .

    ตอบลบ
  5. ทำไมลูกของฉันถึงเป็นโคลิค (Colic)

    เราคงจะเคยได้ยินคำว่าโคลิก (Colic) กันมาบ้าง ทราบหรือไม่ว่าโคลิกคืออะไร และลูกของคุณอาจจะเป็นโคลิกได้เช่นกัน วันนี้เรามีคำตอบว่าอาการโคลิกคืออะไร และทำไมลูกของเราจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นอาการโคลิก รวมถึงการป้องกันและการรักษาอาการโคลิก



    โคลิคเป็นอาการของเด็กวัยแรกเกิดที่มีอาการคล้ายปวดท้อง ลำไส้บีบรัดตัวเป็นพักๆ เด็กจะร้องไห้มากโดยไม่มีสาเหตุ โดยมากมักเป็นช่วงเย็นๆ จนถึงดึกๆ เสียงร้องของลูกจะร้องกวนอย่างต่อเนื่อง ทำยังไงก็ไม่หยุด เป็นอาการร้องไห้ที่ไม่ใช่สาเหตุจากการหิว หรือง่วงนอน และเมื่อเราลองจับที่หน้าท้องของลูกจะรู้สึกว่าท้องของลูกแข็งและเกร็งมาก ยิ่งร้องไห้มากเท่าไหร่ อากาศก็จะเข้าไปในลำไส้มาก ท้องก็จะยิ่งแข็ง และผายลมออกมามาก โดยมากอาการโคลิกมักจะเป็นวันละครั้ง และมักจะเป็นช่วงเย็นๆ ถึงดึกๆ และเด็กจะหยุดร้องเองเมื่อผ่านไป 3-4 ชั่วโมงหรือพอซักเที่ยงคืนถึงตี 1 ก็จะหยุดไปเอง หากพาไปหาหมอ ก็จะไม่พบอาการผิดปกติอะไร นั้นคืออาการโดยทั่วไปของโคลิคค่ะ

    ในปัจจุบันทางการแพย์ยังหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการโคลิกไม่พบ ในบางกรณีหมอบางท่านอาจลงความเห็นว่า เป็นเพราะเด็กแพ้อาหารบางอย่างที่คุณแม่กิน แล้วคุณแม่ก็มาให้นมลูก ลูกจึงอาจจะแพ้ได้ เช่น นมวัว อาหารรสเผ็ด เป็นต้น ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนอาหารที่กิน เลิกดื่มนมวัว เลิกดื่มชาหรือกาแฟ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามพ่อแม่อาจจะช่วยลูกด้วยการทำใจให้ผ่องใส อารมณ์ดี อย่าใส่อารมณ์กับลูก อย่าโมโหลูก หรือเขย่าตัวลูกเวลาที่ลูกเกิดอาการโคลิก ขอให้อุ้มลูกเดินไปมาเพื่อให้ลูกผ่อนคลายความเครียด เปิดเพลงเบาๆ หรือพาเดินเล่นนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หากทำทุกอย่างแล้วยังไม่หยุดร้องอาจจะต้องพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาว่าเจ็บป่วยอะไรหรือไม่ค่ะ

    โดยปกติอาการโคลิกนี้จะหายไปเองเมื่อลูกมีอายุประมาณ 3 ถึง 4 เดือนหรือมากกว่านั้น แต่ขอให้มั่นใจว่า แม้ว่าลูกของเราจะมีอาการโคลิกแต่อาการนี้จะหายไปได้เอง ขอให้อดทนและใจเย็นให้มากค่ะ





    ที่มา :: http://www.babytrick.com/


    .

    ตอบลบ
  6. โรคปวดท้องในเด็กอ่อน



    โรคปวดท้องในเด็กอ่อนหรือโรคโคลิค (Colic) คืออะไรลักษณะของโรคโคลิค (Colic) คือ การที่เด็กทารกนั้นร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้องไห้เป็นเวลา 3 วันหรือมากกว่านั้นในหนึ่งสัปดาห์ ประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กจะมีอาการโคลิคที่ว่านี้ ซึ่งปกติแล้วจะเริ่มเป็นตั้งแต่เดือนแรก ต่อเนื่องไปจนถึงประมาณเดือนที่ 3 โดยไม่มีสัญญาณของโรคหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ



    ลักษณะอาการ


    เด็กทารกจะร้องไห้ไม่ยอมหยุดเป็นช่วงเวลานานๆ และมักจะร้องไห้หนักขึ้นในตอนเย็นหลังป้อนอาหาร เด็กเล็กที่มีอาการโคลิคจะแสดงออกโดยการยกเข่าทั้งสองข้างขึ้นและกำหมัดแน่นไปด้วยเวลาร้องไห้ราวกับว่าเจ็บปวด หน้าอาจจะแดงก่ำ เรอเป็นลมออกมาและชันขาขึ้นไปจนถึงท้องบ้างในบางที โรคโคลิคในเด็กทารกนั้นไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายอะไร เด็กทารกจะสามารถรับประทานและเพิ่มน้ำหนักตัวได้ตามปกติ



    สาเหตุ


    สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่มักหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมเด็กทารกบางคนจึงมีอาการโคลิคแต่บางคนกลับไม่เป็นโรคโคลิค แต่มีเด็กที่เป็นโคลิคส่วนหนึ่งอาจจะมีสาเหตุจากการแพ้โปรตีนจากนมวัว (Cow milk protein allergy) บางรายอาจเกิดจากอากาศไหลเข้าไปในลำไส้ กินเร็ว มากเกินไป หรือกลืนอากาศเข้าไปมากทำให้ลมขังอยู่ในช่องท้อง เป็นสาเหตุให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาจเกิดจากลำไส้ทำงานหนักเกินไป

    ทารกนั้นมีประสาทสัมผัสที่ไวในเรื่องของระบบการย่อยอาหารกว่าเด็กทารกคนอื่นๆ อีกสาเหตุที่เป็นไปได้อาจเกิดจากการที่ทารกบางคนอ่อนไหวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจึง อาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั่วไปด้วยการร้องไห้และเนื่องจากการ ทำงานของระบบประสาทยังไม่สมบูรณ์เด็กจึงไม่สามารถหยุดร้องไห้ในทันทีทันใด อาการโคลิคอาจจะหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น และเริ่มคุ้นเคยกับระบบการย่อยอาหารในร่างกาย

    เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่พบว่าอาการโคลิค (Colic)เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเคล็บซิเอ็ลล่า (Klebsiella) ในลำไส้ของทารก งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าในเด็กที่มีอาการโคลิค (Colic)จะพบแบคทีเรียชนิดเคล็บซิเอ็ลล่า(Klebsiella)ในลำไส้มากกว่าเด็กที่ไม่มีอาการ และพบว่าประมาณ 15% ของทารกที่มีสุขภาพดีเป็นเด็กที่มีอาการโคลิคร่วมด้วย นักวิจัยยังกล่าวเสริมว่าอาการโคลิค(Colic)เป็นอาการที่มักจะเริ่มจากความผิดปกติของลำไส้อย่างเรื้อรัง เช่น อาการระคายเคืองของลำไส้และโรคต่างๆ ที่เกิดภายในช่องท้องของทารก



    การรักษา



    โรคปวดท้องในเด็กอ่อนนั้นไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง วิธีที่สามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่


    ? การนวดเบาๆมักได้ผลดีเสมอ โดยการงอแขนและอุ้มลูกน้อยของคุณพาดข้ามแขนหรือพาดข้ามเข่าโดยให้เด็กคว่ำหน้าลง แล้วถูนวดที่ท้องและหลังเบาๆ อาการก็จะดีขึ้น
    ? วางขวดที่ใส่น้ำร้อน (ห่อหุ้มด้วยผ้าอ้อมเด็กอีกที) บนหน้าท้องของเด็ก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการไม่สบายที่เกิดจากโคลิคได้
    ? เด็กทารกบางคนจะชอบให้ห่อหุ้มตัวเขาไว้ด้วยผ้าห่ม เพราะชอบที่จะนอนอย่างอุ่นสบาย
    บางทีถ้าลองเปลี่ยนยี่ห้อของนมผงที่ลูกดื่มเป็นประจำก็อาจได้ผล หรือลองเปลี่ยนจากนมผงมาเป็นนมแม่ก็อาจช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นได้ ปกติแล้วจะไม่มีการใช้ยาเพื่อรักษาอาการโคลิคของเด็ก แต่รูปแบบยาเตรียมอย่างเช่น Simethicone, Colic Drops และ Gripe Water ก็จะสามารถลดอาการโคลิคได้


    การป้องกัน


    วิธีการป้องกันโรคปวดท้องในเด็กอ่อนมีอยู่หลายวิธี เช่น การป้องกันการกลืนลมเข้าไป อย่าป้อนนมมากหรือน้อยเกินไป อุ้มทารกพาดบ่าให้เรอหลังกินนม ใช้ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ ทาบาง ๆ ที่หน้าท้อง


    ในปัจจุบันมีการศึกษาถึงผลทางการแพทย์ของโปรไบโอติกในการป้องกันและบรรเทาโรคปวดท้องในเด็กอ่อน ซึ่งพบว่าโปรไบโอติกจะช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบของลำไส้ ลดอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้โปรไบโอติกยังช่วยป้องกัน จากการแพ้โปรตีนจากนมวัว (Cow milk protein allergy) ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องในทารกบางกลุ่มได้




    ที่มา :: http://www.interpharma.co.th/



    .

    ตอบลบ
  7. โรคปวดท้องในเด็กทารก


    โรคปวดท้องในเด็กทารกหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า โคลิค (Colic) คืออะไร

    ลักษณะของโรคโคลิค (Colic) คือการที่เด็กทารก ซึ่งแม้ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรงหรือได้รับการบำรุงเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
    เด็กทารกนั้นร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้องไห้เป็นเวลา 3 วันหรือมากกว่านั้นในหนึ่งสัปดาห์ ประมาณ 1 ใน 5
    ของเด็กจะมีอาการโคลิคที่ว่านี้ ซึ่งปกติแล้วจะเริ่มเป็นตั้งแต่เดือนแรก ต่อเนื่องไปจนถึงประมาณเดือนที่ 3

    ลักษณะอาการ

    เด็กทารกที่ร้องไห้ไม่ยอมหยุดเป็นช่วงเวลานานๆ อาจเป็นไปได้ว่ามีอาการของโคลิคและมักจะร้องไห้หนักขึ้น
    ในตอนเย็นหลังป้อนอาหาร เด็กเล็กที่มีอาการโคลิคจะแสดงออกโดยการยกเข่าทั้งสองข้างขึ้นและกำหมัดแน่น
    ไปด้วยเวลาร้องไห้ ราวกับว่าเจ็บปวด หน้าอาจจะแดงก่ำ เรอเป็นลมออกมาและชันขาขึ้นไปจนถึงท้องบ้างในบางที
    โรคโคลิคในเด็กทารกนั้นไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายอะไร เด็กทารกจะสามารถรับประทานและเพิ่มน้ำหนักตัวได้ตามปกติ
    เพียงแต่อาการร้องไห้อย่างไม่หยุดหย่อนของเด็กๆนั้น เป็นสิ่งที่กระตุ้นความเครียดเมื่อได้ยิน

    ดังนั้นความเข้าใจและกำลังใจจากผู้ปกครองและสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญอาการโคลิคในเด็ก
    อย่างเช่นที่กล่าวมาไม่จำเป็นต้องพึ่งการรักษา อย่างไรก็ตามคุณพ่อหรือคุณแม่ของเด็กนั้นก็สามารถปรึกษา
    และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพได้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยนั้นไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงขึ้น

    สาเหตุ

    ไม่มีใครทราบแน่ชัดถึงสาเหตุว่าทำไมเด็กทารกบางคนจึงมีอาการโคลิคแต่บางคนกลับไม่เป็นโรคโคลิคในเด็กทารก
    อาจเกิดจากลมที่ขังอยู่ในช่องท้อง เป็นสาเหตุให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว หรือโคลิค อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า
    ทารกนั้นมีประสาทสัมผัสที่ไวในเรื่องของระบบการย่อยอาหารกว่าเด็กทารกคนอื่นๆ

    อาการโคลิคอาจจะหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น และเริ่มคุ้นเคยกับระบบการย่อยอาหารในร่างกายอีกสาเหตุที่เป็นไปได้
    อาจเกิดจากการที่ทารกบางคนอ่อนไหวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป เด็กทารกเหล่านี้จึงอาจจะมีปฏิกิริยา
    ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั่วไปด้วยการร้องไห้และเนื่องจากการทำงานของระบบประสาทยังไม่สมบูรณ์
    เด็กจึงไม่สามารถหยุดร้องไห้ในทันทีทันใด

    วิธีการรักษา

    โรคโคลิคของเด็กทารกนั้นไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง คุณอาจทดลองด้วยวิธีต่างๆ

    เพื่อค้นหาว่าวิธีไหนเหมาะ หรือใช้ได้ผลกับลูกของคุณ มีเทคนิคมากมายที่สามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในเด็กโคลิคได้

    • การนวดเบาๆมักให้ผลดีเสมอ คุณควรงอแขนและอุ้มลูกน้อยของคุณพาดข้ามแขนหรือพาดข้ามเข่า
    โดยให้เด็กคว่ำหน้าลง แล้วถูนวดที่ท้องและหลังเบาๆ อาการก็จะดีขึ้น

    • วางขวดที่ใส่น้ำร้อน (ห่อหุ้มด้วยผ้าอ้อมเด็กอีกที) บนหน้าท้องของเด็ก บางทีจะช่วยบรรเทาอาการไม่สบาย
    ที่เกิดจากโคลิคได้ (ควรอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิด)

    • เด็กทารกบางคนจะชอบให้คุณห่อหุ้มตัวเขาไว้ด้วยผ้าห่ม เพราะชอบที่จะนอนอย่างอุ่นสบาย
    สำหรับเด็กคนอื่นๆ เพียงแค่ไกวเปลไปมาเบาๆก็ทำให้ผ่อนคลายได้แล้ว

    • การรักษาด้วยวิธี Cranial Osteopathy ซึ่งเป็นการรักษาโดยการเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนกระดูกศีรษะ
    อาจเป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งต้องกระทำโดยแพทย์ผู้ที่มีความชำนาญและได้รับใบอนุญาตเท่านั้น

    ในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เองนั้น อาจพบว่า การเปลี่ยนการรับประทานอาหารของแม่ก็ช่วยบรรเทาโรคโคลิค
    ของเด็กอ่อนได้ ผักบางชนิดเช่น Parsnips ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการโคลิคในเด็กได้ ถ้าคุณลองตัดอาหาร
    บางรายการออก แล้วค่อยๆลองทานใหม่อีกทีคุณจะสามารถแยกแยะได้ว่าอาหารชนิดไหนที่ทำให้ลูกน้อยของคุณ
    เกิดอาการโคลิคจนร้องไห้งอแงไม่ยอมหยุด

    บางทีถ้าลองเปลี่ยนยี่ห้อของนมผงที่ลูกดื่มเป็นประจำก็อาจได้ผล หรือลองเปลี่ยนจากนมผงมาเป็นนมแม่
    ก็อาจช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติแล้วจะไม่มีการใช้ยาเพื่อรักษาอาการโคลิคของเด็ก แต่รูปแบบยาเตรียมอย่างเช่น
    Colic Drops และ Gripe Water ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา ก็จะสามารถลดอาการโคลิคได้

    ถ้าหากคุณยังกังวลใจเกี่ยวกับ การร้องไห้ของลูกคุณ ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่า
    ลูกของคุณไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง




    ที่มา :: http://th.boots.com/


    .

    ตอบลบ
  8. กลเม็ดสยบลูกร้องโคลิก


    ร้องโคลิก (Colic) หรือ ที่เรียกว่าร้อง 100 วัน พบได้ทั้งเบบี๋ชายและหญิงในปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน ประมาณ 20-30% ของเด็กแรกเกิดจะร้องโคลิก และจะเริ่มร้องโคลิกเมื่ออายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ และรุนแรงขั้นในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วร้องต่อไปเรื่อย ๆ จนหายไปเองเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน
    เด็กที่ร้องโคลิกจะร้องเป็นเวลา เคยร้องเวลาไหน เจ้าตัวน้อยก็ยังคงร้องไห้เวลานั้นทุกวัน แถมยังร้องไห้อย่างดุเดือดเลือดพล่าน แผดเสียง แขนขาเร็ง และงอขาขึ้นมาที่ท้อง ปลอบอย่างไรก็ยังร้องอยู่ แต่พอผ่านไป 3 ชั่วโมงก็หยุดร้องเอาเสียดื้อ ๆ ซึ่งการร้องไห้แบบนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือลูกไม่สบายแต่อย่างใด


    ส่วนสาเหตุของการร้องโคลิกนั้น เกิดจากอะไรยังไม่มีใครรู้แน่ชัดหรอกค่ะ แต่ก็มีข้อสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างก็ว่าอาจจะเกิดจากการที่ลูกอิ่มหรือหิวเกินไป อาหารไม่ย่อย ปวดท้องเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหาร ระบบการทำงานในร่างกายของลูกยังไม่สมบูรณ์ บ้างก็ว่าอาจจะเกิดจากการแพ้นมวัวได้ด้วย ส่วนกุมารแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์แคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ให้ข้อมูลว่าอาการร้องโคลิกของลูกไม่ได้เป็นเพราะมีอาการปวดท้องอย่างเดียว แต่เกิดจากการที่ลูกไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ ก็เลยยังคิดถึงบรรยากาศในท้องของแม่อยู่ การที่ลูกกำลังเรียนรู้โลกใบใหม่ เลยทำให้หนูน้อยหงุดหงิด ขี้โมโหไปนิด เพราะเขาเองก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลยค่ะ


    กลเม็ดสยบลูกร้องโคลิก

    ตรวจหาสาเหตุ
    ● บอกกล่าวเพื่อนบ้าน
    ● สร้างบรรยากาศ
    ● ห่อตัวให้อุ่น
    ● ให้นมในท่าที่ถูกต้อง
    ● นวดท่า I Love You (อยากรู้ว่าเป็นอย่างไรติดตามได้ใน Modern Mom ฉบับกรกฎาคม 51)

    รับมือตอนลูกร้อง
    ● จับหนูนอนคว่ำ
    ● โอบอุ้มให้ผ่อนคลาย
    ● กล่อมด้วยเสียงเบาและนาน
    ● แกว่งไกวต่อเนื่อง
    ● หาผู้ช่วย

    การเตรียมตัวเมื่อลูกร้องโคลิก
    ● ตั้งสติ
    ● ทำใจให้สบาย
    ● ใช้สัญชาติญาณความเป็นแม่ปลอบโยน
    ● จดบันทึกเพื่อดูเวลาที่ลูกร้อง และวิธีที่ทำให้ลูกหยุดร้อง
    ● หาตัวช่วยอุ้ม




    ที่มา :: นิตยสาร Mondern mom



    .

    ตอบลบ
  9. อาการโคลิคในเด็ก (colic)
    อาการโคลิคในเด็ก (colic) หมายถึง การที่เด็กร้องกวนเป็นเวลาเย็นๆ หรือดึก โดยส่วนใหญ่เด็กมักร้องในช่วงเวลา 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม โดยที่เวลาอื่นเด็กปกติดี เล่นได้ กินได้ บางรายอาจร้องหลังรับประทานนม จึงแตกต่างจากการร้องเพราะหิว ซึ่งมักจะร้องก่อนมื้อนม บางรายการร้องจะเกิดหลังมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงหรือช้ากว่านี้ อาการโคลิคเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-4 สัปดาห์ และหายไปเมื่ออายุได้ 3 เดือน เด็กแต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน พบได้ร้อยละ 20 ของเด็กทั้งชายและหญิง พบได้ทั้งลูกคนโตและคนหลังๆ โดยทั่วไปจะนึกถึงอาการโคลิค เมื่อเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ร้องกวนมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์

    สาเหตุของโรค
    1. สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด
    2. ในอดีตเชื่อว่าเกิดจากระบบทางเดินอาหารของเด็กมีก๊าซมากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนเท่าที่ควร
    3. ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากความเครียดในการปรับตัวของเด็ก และพัฒนาการของสมองที่ยังไม่มากพอ ลักษณะเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกที่มีความไวมากกว่าปกติ และเมื่อเริ่มร้องแล้ว เด็กไม่สามารถหยุดได้ง่ายๆ เนื่องจากพัฒนาการของสมองยังไม่มากพอ
    4. บางคนสันนิษฐานว่าเป็นความพยายามของเด็ก ที่ควบคุมกำลังฝึกการทำงานของปอดและการขยับกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ

    อาการของโรค
    อาการสำคัญคือเด็กร้องต่อเนื่องกันยาวนานกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นตอนใดก็ได้ แต่พบว่ามักเกิดขึ้นในตอนเย็นเป็นส่วนใหญ่ อาการคล้ายเจ็บปวด หรืออาการปวดท้องแบบเจ็บแปลบ แต่จริงๆ แล้วเด็กไม่ได้เจ็บปวดแต่อย่างใด เด็กอาจดิ้น งอแง ผายลม ท้องจะอืดโดยมีลมเต็มท้อง เวลาร้องหน้าจะแดง ขาทั้งสองข้างงอขึ้นและหดเกร็ง เด็กไม่ยอมกินนม อาจมีอาการเกร็งมือ และเท้าบ้างเล็กน้อย และมักพบปัญหาในการนอนร่วมด้วย ถือว่าอาการโคลิคในเด็กไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงแต่อย่างใด จากการศึกษาวิจัย พบว่าเด็กสามารถมีพัฒนาที่เป็นปกติ กินอาหารได้ตามปกติ และน้ำหนักเพิ่มได้ตามปกติแม้ว่าจะมีอาการโคลิคก็ตาม

    วิธีแก้ไขและแนวทางปฏิบัติ
    1. พยายามปลอบโยนเด็กให้สบายใจ เช่น เปิดเพลง, อุ้มกล่อม, ใส่รถเข็นเดินเที่ยวก่อนเวลาที่จะร้องงอแง ปรับอารมณ์ 2-3 วัน จนเด็กเลิกงอแง ที่สำคัญพ่อแม่ต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบไม่วุ่นวาย
    2. เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันได้มาก วิธีที่ได้ผลกับคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้ผลกับคนอื่น จึงควรลองใช้หลากหลายวิธีจนกว่าจะได้ผล
    3. ไม่ควรใช้ยาใดๆ เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้ระบบย่อยของเด็กเสียไปด้วย ยาที่พ่อแม่มักได้รับคำแนะนำให้ใช้ ได้แก่ colic drops, gripe water หรือ dimeticone (Infacol)
    4. ควรไล่ลมหลังดูดนมทุกครั้ง หากให้ลูกดื่มนมจากขวด อาจลองพิจารณาเปลี่ยนสูตรของนมเป็นชนิดอื่นบ้าง เช่น soya-based formula
    5. บางรายอาจเกิดจากอาหาร ซึ่งถ้าสงสัยว่าเป็นสาเหตุให้งดเว้นเสีย
    6. ถ้าสงสัยว่าเกิดจาก lactose intolerance ให้หยุดนมวัวทันที และปรึกษาแพทย์
    7. พ่อแม่ควรดูลักษณะการร้องของลูกให้แน่ชัด บางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้

    เมื่อทราบถึงสาเหตุของอาการโคลิคในเด็กแล้ว คงพอที่จะช่วยคุณพ่อ-คุณแม่ตัดสินใจเลือกขวดนมให้ลูกน้อยได้ง่ายขึ้นนะคะ





    ที่มา :: http://www.babyfirst.co.th/Articles/WhatisColic.html



    .

    ตอบลบ
  10. โคลิค (colic) โรคเด็กร้องไห้ทั้งวัน



    เมื่อลูกมีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ลูกอาจจะร้องกวนมาก โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาเย็นๆ ถึงดึกๆ โดยจะร้องกวนอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหยุด เมื่อจับที่หน้าท้องของลูกขณะที่ลูกร้องจะพบว่าแข็งและเกร็งมาก แต่พอราวๆ เที่ยงคืนหรือตี 1 ลูกจะหยุดร้องเอง เมื่อพาลูกไปปรึกษาเรื่องนี้กับหมอ หมอจะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ในตัวลูกเลยแล้วจะให้การวินิจฉัยว่าลูกเป็น "โคลิค" (colic)

    โคลิค เป็นอาการของเด็กวัยทารกแรกเกิดที่มีอาการคล้ายปวดท้อง ลำไส้บีบรัดตัวเป็นพักๆ ยิ่งร้องไห้มากเท่าไหร่อากาศจะเข้าไปใส่ลำไส้ท้องจะยิ่งแข็งและผายลมออกมา มาก มักจะเป็นวันละครั้ง โดยมากมักเป็นช่วงเวลาเย็นๆ จนถึงค่ำต่อเนื่องไปจนถึงดึกและเด็กจะหยุดร้องเองเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 ชั่วโมง

    ทำอย่างไรดี

    ลองเปลี่ยนท่าอุ้ม ถ้าคุณเคยอุ้มลูกให้หงายในอ้อมแขนลองเปลี่ยนท่าอุ้มโดยอุ้มขึ้นพาดไหล่แล้ว ลูบหลังเบาๆ เดินไปเดินมาหรือให้อุ้มท่าคว่ำลงบนท่อนแขน ท่าอุ้มนี้ควรฝึกให้ชำนาญก่อนนะครับ ท่าอุ้มนี้จะทำให้เด็กหลายคนรู้สึกดีขึ้นและมักดีกว่าท่าอุ้มอื่นๆ เช่น

    ท่าที่ 1 อุ้มลูกให้มองเข้าหาคุณแล้วเอาลูกเข้าในอ้อมกอดให้ความอบอุ่น

    ท่าที่ 2 อุ้มพาดไหล่ แล้วเดินไปมาในขณะเดียวกันเอาฝ่ามือลูบหลังลูกไป มา

    ท่าที่ 3 วางพาดบนแขนคุณ ให้แขนและขาของลูกห้อยลงแล้วพาลูกเดินไปมาโดยที่ฝ่ามือของคุณลูบหลังลูก หรือจะเลือกอุ้มแต่ละท่าสลับกันไปก็ได้นะ

    ให้ทานยา ยาที่หมอให้ลูกทานมีหลายชนิดได้แก่ ยาขับลมในท้องเด็กมีตัวยา คือ Simethicone, ยาแก้กวน มีตัวยาคือ Phenobarb, ยาแก้ปวดท้อง มีตัวยาคือ Dicyclomine

    ยาเหล่านี้บาง ครั้งใช้ได้ผลและบางครั้งอาจจะไม่ได้ผล โดยเฉพาะยาแก้กวนไม่ควรให้ลูกทานติดต่อกันนานๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกกวนมากยิ่งขึ้น ยาขับลมในเด็กให้ผลที่ไม่แน่นอนต่อการรักษาโรคนี้ ลมที่อยู่ในลำไส้ส่วนใหญ่เกิดจากการร้องของลูกแล้วกลืนลมลงไปในกระเพาะ ลำไส้ลูกจะค่อยๆ ขับลมโดยการผายลมหรือโดยการเรอออกมา สำหรับยาแก้ปวดท้องนี้จะลดการบีบตัวของลำไส้อาจจะช่วยลดการร้องได้ แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะถ้าทานมากไปอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกได้


    เปลี่ยนนมช่วยได้ไหม

    ใน ขณะนี้เชื่อว่าที่ลูกปวดท้องนั้นอาจจะเกิดจากการแพ้นมวัว การเปลี่ยนเป็นนมถั่ว เช่น โพรโซบี (Prosobee) ไอโซมิล (Isomil) หรืออัลซอย (Alsoy) หรือ นมสำหรับภูมิแพ้ คือ นูตราไมเจน (Nutramigen) หรือ พรีเจสติมิล (Pregestimil) อาจจะช่วยลดอาการปวดท้องนี้ได้ ในกรณีที่ลูกได้รับแต่นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้รับนมวัว แล้วเกิดอาการโคลิค คุณแม่ควรงดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด เช่น ไอศครีม เนย หรือนมเปรี้ยว แล้วให้ลูกทานแต่นมแม่อย่างเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดท้องของลูกจะดีขึ้น ในกรณีที่อาการของลูกยังไม่ดีขึ้น คุณควรงดอาหารทะเลและไข่ด้วย เมื่อทำเช่นนี้แล้วลูกยังไม่ดีขึ้น เมื่อทำเช่นนี้แล้ว ลูกยังคงมีอาการโคลิคเช่นเดิมควรนำปัญหานี้มาปรึกษากับหมอนะครับ

    ใน กรณีที่คุณเปลี่ยนนมที่ให้ลูกทานจากนมวัวเป็นนมถั่ว หรือนมสำหรับภูมิแพ้แล้วอาการของลูกดีขึ้น ควรให้ลูกทานนมกลุ่มนี้ต่อไปประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนกลับมาทานนมวัวเช่นเดิม ถ้าอาการของลูกกลับมากำเริบอีก ก็ควรจะให้นมถั่วหรือนมสำหรับภูมิแพ้อีกครั้งเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 2 เดือน อาการเหล่านี้มักจะหายไปโดยสิ้นเชิง



    ที่มา.... www.happyhospital.org


    .

    ตอบลบ
  11. รับมือลูกร้องโคลิค


    "Colic" มาจากภาษากรีก( kolikos) ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดที่ลำไส้ส่วนปลาย อาการโคลิคมักเกิดกับเด็กทารกในช่วงย่างเข้าเดือนที่สอง โดยเด็กที่มีอาการโคลิคจะกรีดร้องอย่างสุดเสียง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอาการเจ็บป่วย ใด ๆ และจะร้องต่อเนื่องอยู่เป็นเวลานานเป็นชั่วโมง ๆ และหยุดร้องไปเอง การร้องของเด็กที่มีอาการโคลิคจะร้องในเวลาไล่เลี่ยกันทุกวัน เด็กทารกจะร้องอยู่เป็นเวลา 1-2 เดือน จนย่างเข้าประมาเดือนที่สามการร้องโคลิคก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

    สาเหตุการร้องโคลิคไม่ได้เกิดกับเด็กทารกทุกคนจะเป็นกับเฉพาะบางคนเท่านั้น ซึ่งทางการแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากระบบลำไส้หรือการย่อยอาหารของเด็กทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ทำให้เด็กมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นเฟ้อ พอย่างเข้าเดือนที่ 3-4 ระบบลำไส้และการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นอาการร้องโคลิคก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

    การรับมือ ก่อนอื่นคุณแม่คงต้องเตรียมใจไว้ล่วงหน้าว่าอาการร้องโคลิคของเด็กทารกไม่ใช่อาการเจ็บป่วย ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่พอจะทำได้คือการหาแนวทางรับมือในช่วงเวลาที่ลูกร้อง และขอคำปรึกษาจากคุณหมอเด็กประจำตัว

    เด็กทารกรับประทานนมแม่ อาหารที่คุณแม่รับประทานในวันหนึ่ง ๆ คุณแม่ควรจดบันทึก(เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการรับคำปรึกษาจากคุณหมอเด็ก) ว่าได้รับประทานอาหารอะไรเข้าไปบ้างเนื่องจากอาหารที่คุณแม่รับประทานนอกจากจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายคุณแม่แล้วสารอาหารบางส่วนยังถ่ายทอดสู่เด็กทารกผ่านทางน้ำนม ซึ่งอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปบางอย่างอาจมีผลทำให้เด็กทารกเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือเกิดอาการแพ้ได้

    การแพ้นมวัวหรือไม่ถูกกับนมบางยี่ห้อ เด็กทารกบางคนระบบการย่อยอาหารอาจจะไม่ถูกกับผลิตภันฑ์นมวัวบางยี่ห้อ หรือเด็กอาจจะแพ้นมวัว คุณหมอจะแนะนำให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อนมหรือเปลี่ยนจากการดื่มนมวัวมาเป็นนมประเภทอื่นแทน (ทั้งนี้ต้องอยู่ภายการดูแลให้คำปรึกษาจากคุณหมอเด็กนะคะ)

    รับประทานยาประเภทคลายกล้ามเนื้อ ในบางกรณีคุณหมออาจให้ทานยาที่ช่วยลดการปวดเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ

    อุ้มแนบอกแล้วร้องเพลงกล่อมเบา ๆ พร้อม ๆ กับโยกตัวไปมา ช้า ๆ (ห้ามเขย่าตัวเด็กแรง ๆ นะคะเพราะสมองอาจได้รับการกระทบกระเทือนเป็นอันตรายได้ค่ะ) ในกรณีที่ได้ผลคุณแม่อาจจะใช้เป้อุ้มแบบเบบี้สลิงอุ้มแนบอกแทนก็ได้ค่ะเพื่อช่วยผ่อนแรงช่วยให้อุ้มได้นานขึ้น

    ลองปรับสภาพแวดล้อมให้เด็กรู้สึกเหมือนอยู่ในครรภ์โดย"การห่อตัวเด็ก" เปิดเครื่องดูดฝุ่นให้เกิดเสียง หรี่ไฟในห้องหรือเปิดไฟสลัว ๆ พร้อมกับให้เด็กดูดจุกนมหลอก

    หาตัวช่วยมาเป็นผู้ช่วยเลี้ยง อาจจะเป็นญาติหรือคุณพ่อมาคอยช่วยรับมือในช่วงเวลาที่ลูกร้องเพื่อเป็นแบ่งเบาภาระของคุณแม่ในช่วงเวลาที่ต้องรับศึกหนัก

    รักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกายของคุณแม่ หากว่าวิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่ได้ผลคุณแม่ต้องทำใจยอมรับว่าการร้องโคลิคของลูกเป็นอาการปกติที่ไม่ได้เกิดจาการเจ็บป่วย คุณแม่ไม่ควรเครียดจนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ พาลให้คนที่ป่วยกลับกลายเป็นคุณแม่เสียเอง คิดซะว่าเป็นการรับจ๊อบชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้นค่ะ



    ที่มา :: http://www.kidsd.net/




    .

    ตอบลบ
  12. อาการโคลิค ในเด็กเกิดจากอะไร



    หลายคนคงเคยเห็นเด็กทารกร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า โคลิค (colic) สาเหตุของอาการโคลิคเกิดจากอะไรและจะเกิดกับเด็กทารกทุกคนหรือไม่

    แพทย์หญิง รัตโนทัย พลับรู้การ กุมารแพทย์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายว่าอาการโคลิคที่เกิดกับเด็กนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน โดยทั่วไปโคลิคเป็นอาการที่พบในเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณ 3-4 เดือน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปวดท้องร้องสามเดือน โดยเด็กจะมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงเย็นจนถึงค่ำต่อเนื่องไป จนถึงดึก เด็กจะมีอาการคล้ายปวดท้อง เด็กจะร้องแบบเอาเป็นเอาตาย ขาทั้งสองหงิกงอและหดเกร็ง ร้องจนหน้าแดง และร้องติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่งอาจจะร้องไห้เกือบทุกวัน บางครั้งก็ร้อง 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ เด็กกลุ่มนี้จะทำให้พ่อแม่วิตกกังวลมาก ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของอาการโคลิคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ


    สาเหตุที่ 1 อาจจะเกิดจากการที่เด็กรับประทานอาหารอิ่มเกินไป เช่น เด็กบางคนดื่มนมเยอะพอตกเย็นก็เกิดอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง

    สาเหตุที่ 2 อาจจะเกิดจากการแพ้นมวัวแต่ก็พบว่าไม่เป็นความจริง เพราะว่าในเด็กที่ดื่มนมแม่ก็มีปัญหาการเกิดอาการโคลิกเช่นกัน

    สาเหตุที่ 3 อาจเกิดจากความผิดปกติของลำไส้เนื่องจากลำไส้ของเด็กทารกอาจจะทำงานยังไม่สมบูรณ์


    ดังนั้น การที่จะบอกว่าอาการโคลิคเกิดจากสาเหตุใดนั้นก็ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เมื่อพ่อแม่ที่ประสบปัญหามาปรึกษาแพทย์ ส่วนใหญ่แพทย์จะถามอาการและการตรวจร่างกายเพื่อดูว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเด็กทำงานผิดปกติหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติแพทย์ก็จะให้คำปรึกษากับพ่อแม่ เช่น ต้องตอบสนองต่อเด็กให้เหมาะสม เป็นต้น เพื่อช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีอาการดีขึ้น



    TIPS

    1.อุ้มเด็กอยู่กับเราเสมอ โยกตัวเด็กให้เคลื่อนไหว ไปพร้อมกับตัวเราอาจช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้
    2.ลองอุ้มเคลื่อนไหวเด็กอย่างเป็นจังหวะหรือเต้นตามเสียงเพลง
    3.ให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่แห้งไม่อับชื้น
    4.ให้เด็กอยู่เงียบๆ ในห้องที่ทำให้รู้สึกสบาย
    5.วางเด็กนั่งลงบนตัก ลักษณะคว่ำแล้วลูบหลังเบาๆ
    6.ห่อตัวเด็กด้วยผ้าห่ม เพื่อทำให้ อบอุ่น สบาย และรู้สึกปลอดภัย


    เหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการโคลิคในเด็กได้



    ที่มา :: http://knowledgesharing.thaiportal.net


    .

    ตอบลบ

  13. โคลิก เมื่อเด็กร้อง 3 เดือน



    โคลิก (Colic) ไม่ถือว่าเป็นโรค แต่เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับทารกในช่วงอายุประมาณ 3 เดือนแรก และทำให้คุณพ่อคุณแม่มากมาย

    โคลิก (Colic) ไม่ถือว่าเป็น โรค แต่เป็น อาการ ที่มักเกิดขึ้นกับทารกในช่วงอายุประมาณ 3 เดือนแรก และทำให้คุณพ่อคุณแม่มากมาย (โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่) ที่เจออาการนี้ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจกันถ้วนหน้า จนบางคนกินไม่ได้นอนไม่หลับถึงกับป่วยไปเสียเองทีเดียว

    อาการ

    เนื่องจากการร้องไห้ของเด็กทารกนั้นมาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากความหิว ฉี่ อึ ปวดท้อง ท้องอืด เจ็บ ระคายเคือง หรือไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว สิ่งที่เด็กสื่อออกมาเพื่อบอกพ่อแม่ก็คือ ร้องไห้ ทั้งสิ้น ดังนั้น จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กร้องแบบไหนคืออาการโคลิก และร้องแบบไหนมาจากเหตุผลของความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว?

    ลักษณะที่สังเกตได้ว่าเจ้าตัวน้อยของคุณกำลังเกิดอาการ โคลิก ก็คือ เจ้าหนูจะตั้งหน้าตั้งตาแผดร้องไห้ด้วยอารมณ์รุนแรงเหมือนโมโหสุดเหวี่ยง บางรายเรียกว่าตะเบ็งเสียงร้องอย่างเอาเป็นเอาตายทีเดียว ทั้งกำหมัดแน่น หน้าแดง หน้าท้อง แขน ขา งอและเกร็งจนน่ากลัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเริ่มเกิดเมื่อเด็กอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ และเป็นอยู่นานมากกว่า 3 เดือน โดยจะมีอาการเหล่านี้วันละประมาณ 3 ชั่วโมง (ระยะเวลาในการร้องของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายหรือเย็น) และเกิดขึ้นบ่อยๆ คือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในทารกเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองและค่อย ๆ ดีขึ้นภายในอายุ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีอาการโคลิกโดยที่ไม่ได้มีอาการผิดปกติของโรคอื่นใด จะสามารถทานนมได้เป็นปกติและยังคงมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี

    สาเหตุ

    อาการโคลิกในเด็กนี้ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ชัดเจน เพียงแต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากหลาย ๆ ประการร่วมกัน ตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร จิตวิทยาระบบประสาทและพัฒนาการในทารกย อย่างไรก็ตามอาการโคลิกจะพบได้ในโรคหลายโรค แต่จะเป็นสาเหตุได้น้อยในโคลิก และโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีอาการแบบเฉียบพลัน เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ท้องผูก แพ้นม การขย้อนหรือสำลักอาหาร แผลที่รูทวาร การติดเชื้อในร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ การได้รับอุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก แผลที่ตาดำ แมลงเข้าไปในหู เป็นต้น

    เนื่องจากขณะที่ทารกร้องไห้จะมีท่างอขาไปชิดหน้าท้อง ทำให้มีการสันนิษฐานอีกว่าทารกน่าจะมีความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหาร การที่ทารกร้องไห้มากๆ ทำให้มีการกลืนก๊าซเข้าไปลำไส้มาก เป็นผลให้แน่นท้อง ไม่สบายตัว นอกจากนี้ เนื่องจากยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการนี้ ทำให้มีการสันนิษฐานว่า โคลิก เป็นอาการของเด็กทารกบางกลุ่ม ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ œร้องไห้มากกว่าทารกทั่วไป เท่านั้น ซึ่งหากเป็นจริง การร้องไห้อย่างไม่ลืมหูลืมตาของเด็กกลุ่มนี้ ก็ถือว่าเป็น œเรื่องปกติ สำหรับพวกเขาแล้วล่ะ!

    คำแนะนำ

    คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเผชิญกับอาการโคลิกของลูกน้อย ควรทำความเข้าใจและความความเครียดหรือความกังวลใจลงก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ระบบประสาทและการพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อยก็จะดีขึ้นและอาการโคลิกก็จะหายไปได้เองในที่สุด สิ่งที่พอจะช่วยบรรเทาให้ลูกน้อยคลายจากอาการนี้ได้บ้าง ก็คือ การสร้างบรรยากาศที่สงบและผ่อนคลายให้กับเด็ก เช่น เสียงเพลงบรรเลงเบาๆ เสียงเพลงกล่อม รวมทั้งคำปลอบโยนเบาๆ โอบกอดให้เด็กสัมผัสรับรู้ถึงความอบอุ่นจากอ้อมอกพ่อแม่ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวให้มากที่สุด

    ความจริงแล้ว หากการร้องของเด็กเกิดเพราะอาการโคลิก ก็คงไม่น่าห่วงมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือเขาร้องเพราะโคลิกจริงหรือ? ซึ่งวิธีสังเกตอีกประการหนึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ก็คือ หากเจ้าตัวน้อยของคุณมักมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้งในช่วงเวลาเดียวกัน และมักมีอาการอย่างนี้ซ้ำๆ เป็นประจำ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่านั่นคือการร้องแบบโคลิก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่เด็กร้องอาจจะไม่ใช่ร้องแบบโคลิกทั้งหมด ดังนั้น ควรตรวจสอบหาสาเหตุในเบื้องต้นให้ชัดเจนก่อนจะสรุปสาเหตุจะดีกว่า หรือหากกังวลจริงๆ ก็ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์จะดีกว่าเพื่อความมั่นใจ



    ที่มา :: www.e-magazine.info


    .

    ตอบลบ