Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

การมองเห็นของเด็ก

การมองเห็นของเด็ก






 
ดวงตาคู่น้อย ประตูสู่การเรียนรู้โลก
 
ทารกไม่ได้เกิดมาแล้วมองเห็นชัดเจนเช่นผู้ใหญ่ทันที แต่ความสามารถในการมองเห็นของทารกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นตัวกระตุ้น



ความสามารถในการมองเห็นที่ดีคือจุดเริ่มต้นนำไปสู่พัฒนาการที่ดีในด้านต่างๆ เช่น ทำให้การประสานงานของมือและตามีประสิทธิภาพ การมองเห็นที่ดีทำให้ทารกเริ่มเอื้อมมือไปหยิบจับวัตถุ ทำให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็นเกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทารกใช้ดวงตาในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองจะเป็นตัวกระตุ้น พัฒนาการทางสมองของลูกและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านกายภาพอื่นๆ ทั้งการนั่ง คว่ำ คลาน หรือการเดิน



ตั้งแต่แรกเกิด เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นของทารกยังไม่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ แต่จะค่อยๆ มีการแผ่ขยายและมีการประสานของเซลล์สมองให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ ถึงเรารู้ว่าระบบการมองเห็นของทารกพัฒนาไปอย่างไร เราก็จะสามารถหาวิธีการที่สอดคล้อง กับพัฒนาการเพื่อช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมในการกระตุ้นระบบการมองเห็นให้กับลูกน้อยได้







พัฒนาการการมองเห็นของทารก



ช่วงเดือนแรกๆ ที่ทารกลืมตามาดูโลก คือช่วงที่ระบบการมองเห็นของลูก พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจากที่มองเห็นชัดเจนได้ในรัศมีแค่ไม่เกิน 12-15 นิ้ว จนสามารถปรับภาพได้อย่างชัดเจนในระยะต่างๆ และเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน ทารกน้อยก็จะมีความสามารถในการมองเห็นได้ดีเกือบจะเท่ากับการมองเห็นของผู้ใหญ่





  • แรกเกิด

ทารกจะมองเห็นภาพชัดเจนในรัศมีแค่ประมาณ 12 นิ้วและสามารถจ้องมองสิ่งของได้นานแค่ 4-11 วินาที และภายใน 4 วัน ลูกน้อยจะสามารถจดจำหน้าคนที่รักมากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นคุณแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเขามาอย่างใกล้ชิดได้



  • ช่วยลูกโดย
    - พยายามสบสายตาแล้วอาจจะพูดคุย ยิ้มแย้มหรือหัวเรากับลูกไปด้วย และช่วงนี้ทารกน้อยสามารถเคลื่อนสายตาตามวัตถุได้บ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะสบดาลูกใกล้ๆ แล้วค่อยๆ เลื่อนหน้าไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เด็กน้อยจะมองตามอย่างสนใจ



  • 1 เดือน
 


มองเห็นชัดเจนได้ไกลขึ้นเป็นรัศมีประมาณ 15 นิ้ว และการมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นนี่เอง ทำให้หนูน้อยพยายามเอื้อมมือไปไขว่คว้าสิ่งของที่มองเห็น ลูกเริ่มจะเรียนรู้ในการโฟกัสสิ่งของ โดยใช้สายตาทั้งสองข้าง ทำงานประสานกัน



ช่วยลูกโดย


     
- พยายามให้ลูกน้อยได้มองเห็นหน้าคุณแม่บ่อยๆ ทั้งใบหน้าจริงๆ ของคุณแม่ หรืออาจจะนำรูปภาพจองคุณแม่มาติดไว้ที่ข้างเตียงนอของลูกได้
     
- นำของเล่นสีสันสดใสมาแขวนไว้ในระยะที่ลูกสามารถเอื้อมมือไขว่คว้าได้ หรือคุณแม่อาจจะนำของเล่นนั้นมาเล่นกับลูก ให้ลูกมองเห็นในระยะใกล้ๆ แล้วก็เลื่อนของเล่นนั้นไปมา ทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือขึ้นบ้าง ลงบ้าง เพื่อฝึกให้ลูกมองตามวัตถุ




  • 2 เดือน
 
ความจริงแล้วเด็กน้อยสามารถมองเห็นสีต่างๆ ได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังยากเกินไปสำหรับลูกที่จะแยกแยะสีที่มีโทนสีใกล้เคียงกัน เช่น สีแดงกับสีส้ม ด้วยเหตุนี้เองลูกจึงชอบมองสิ่งของที่มีสีขาวสลับดำหรือวัตถุใดก็ตามที่มีสีตัดกันมากๆ นอกจากนี้ลูกยังเริ่มแยกแยะวัตถุที่แตกต่างจากเดิมได้ เช่น วัตถุมีสีหรือรูปร่างที่ต่างกัน ช่วงนี้เราจึงสามารถช่วยลูกน้อยได้โดยหาของเล่นที่สีสดใสมาให้ลูกมองหรือจับเล่น หนูน้อยจะชอบมาก



ช่วยลูกโดย

- นำรูปภาพที่มีสีขาวสลับดำมาให้ลูกดู หรือวางไว้ข้างเตียงลูก
     
 
- นำรูปภาพหรือสิ่งของที่มีสีสันสดใส สีตัดกันมาให้ลูกดู อาจจะแขวนไว้ หรือคุณพ่อคุณแม่ถือไว้ แล้วดูไปพร้อมกับลูกน้อยได้




  • 3 เดือน
 
การมองเห็นเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนปรับระยะการมองภาพใกล้ไกลได้


ช่วยลูกโดย


     
- ทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่หยุดนิ่ง แขวนวัตถุที่มีลักษณะสามมิติ เคลื่อนไหวได้ เช่น โมบายรูปสัตว์ต่างๆ ไว้ให้ลูกเอื้อมคว้าได้ แล้วชี้ชวนให้ลูกดูและเล่น


- เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกได้เห็นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป




  • 4 เดือน
 
พัฒนาการการมองเห็นของทารกค่อนข้างเกือบจะสมบูรณ์ คือสามารถปรับภาพการมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะต่างๆ หนูน้อยเริ่มพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับความลึก ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการทำงาน ของการใช้แขนไขว่คว้าได้ดีขึ้น ลูกจึงสามารถเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของที่อยู่ข้างหน้าได้แม่นยำขึ้น



ช่วยลูกโดย

 
- ทารกชอบมองวัตถุสามมิติมากกว่าวัตถุสองมิติ ช่วงนี้ตุ๊กตาผ้ารูปนก เป็ด ลูกบอล สิ่งของที่มีลักษณะกลม รี มีเหลี่ยมมุมจึงเป็นสิ่งที่หนูน้อยชอบ




  • 5 เดือน – 7 เดือน
 
ช่วงนี้ความสามารถในการมองเห็นของลูกน้อยจะค่อยๆ พัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์ ลูกน้อยสามารถมองเห็นได้แม้กระทั้งวัตถุเล็กๆ หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ หรือบางครั้งแค่เห็นสิ่งของนั้นบางเสี้ยว ไม่ได้เห็นทั้งหมด แต่หนูน้อยก็สามารถจดจำสิ่งของนั้นได้เมื่อเห็นของชิ้นนั้นอีกครั้ง



ช่วยลูกโดย

- ทารกชอบมองขอบเขตของวัตถุมากกว่าจุดกึ่งกลาง ดังนั้นควรหาของเล่นหรือวัตถุที่มีรูปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม ทรงกลม หรือทรงรี เป็นต้น มาให้ลูกได้เล่นอยู่เสมอ





  • 8 เดือน
 
การมองเห็นของลูกพัฒนาขึ้นจนเกือบจะเท่ากับผู้ใหญ่ทั้งในด้านความชัดเจน และการรับรู้เกี่ยวกับความชัดลึก แต่การมองสิ่งของในระยะใกล้ๆ จะดีกว่าการมองสิ่งของที่อยู่ไกลๆ อย่างไรก็ตามการมองเห็นของลูกจะดีพอจนสามารถมองข้ามห้องที่ค่อนข้างกว้างไปสังเกตเห็นผู้คน หรือสิ่งของที่เขาคุ้นเคยได้ ส่วนความสามารถในการรับรู้เรื่องสีก็ดีเกือบจะสมบูรณ์แล้ว สามารถแยกแยะสีในโทนต่างๆ ได้ดี ไม่ได้ชอบเฉพาะสีตัดกันเหมือนช่วงแรกๆ อีกต่อไป


ช่วยลูกโดย

- เมื่ออายุมากขึ้น เด็กจะชอบมองสิ่งของที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นพาลูกน้อยออกไปเดินเล่นนอกบ้านไปดูต้นไม้ ใบหญ้า หรือไปพบเจอผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ก็จะช่วยทั้งเรื่องการมองเห็นและช่วยบริหารสมองให้ลูกอีกทางหนึ่งด้วย และหลังจากนี้ไปพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยก็จะสมบูรณ์มากขึ้นตามลำดับค่ะ

เห็นไหมคะว่าไม่ยากเลยในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของลูก เพราะเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิดกับลูกน้อย สบสายตา และเล่นกับลูกอยู่เสมอ ลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการการมองเห็นที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพได้





 


ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สื่อรักของลูกน้อย


สัมผัสทั้ง 5 ของทารกสามารถใช้การได้ตั้งแต่แรกเกิด การเรียนรู้เกิดจากสัมผัสทั้ง 5 นี้เอง การกระตุ้นสัมผัสทั้ง 5 ของลูกด้วยสิ่งใหม่ๆ จึงช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกได้อย่างดีเยี่ยม “และระดับการรับรู้ของทารกจะพัฒนาขึ้นทุกครั้งทีได้รับการกระตุ้น”



 



สัมผัสทางร่างกายของทารก (Sense of Touch)


ทารกสามารถซึมซับความรักของพ่อแม่จากการอุ้ม การกอด การหอม และการสัมผัสที่นุ่มนวลได้ดี เพราะส่วนของสมองที่เกี่ยวกับการรับสัมผัส เริ่มทำงานตั้งแต่แม่มีอายุครรภ์ได้ 4 เดือน จะสังเกตได้ว่าการลูบเบาๆ ที่ท้องแม่ก็กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้

 
เด็กที่พ่อแม่ใกล้ชิดและสัมผัสเป็นประจำจะไม่งอแงและไม่ค่อยป่วย ผลการวิจัยของทิฟฟานี ฟิลด์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเรื่องการสัมผัส แห่งมหาวิทยาลัยไมอามี่ ระบุว่าการนวดเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเป็นเวลา 15 นาทุกวันวันละ 3 ครั้ง จะทำให้ทารกเหล่านี้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วกว่าทารกที่ไม่รับการนวดถึง 47 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่าการนวดน้ำมันให้ทารกจะทำให้ทารกมีความเครียดน้อยกว่าอีกด้วย



ทารกชอบสัมผัสสิ่งที่นุ่มนวล เช่น ผ้านุ่มๆ มากกว่าพื้นผิวที่หยาบ และเมื่อได้สัมผัสกับพื้นผิวที่แปลกๆ ทารกอาจใช้เวลาสักพัก ช่วงเวลานั้นเองที่สมองของทารกมีการเก็บข้อมูลและพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้เวลากับลูก และใช้สัมผัสอันนุ่มนวลสื่อให้เค้ารู้สึกถึงความรักมากมายที่มีให้ เท่ากับเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทั้งทางสมองและอารมณ์ และการให้ลูกทดลองหยิบจับหรือการเล่นกับลูกโดยการหาของนุ่มๆ เช่นขนนกมาเขี่ยเบาๆ ที่แขนและขา ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านสัมผัสที่ผิวหนังได้




 




สัมผัสทางด้านกลิ่นของทารก (Sense of Smell)




แม้จมูกของทารกจะดูเล็กมากๆ แต่ก็ใช้การได้ดีตั้งแต่แรกเกิด เพราะประสาทส่วนที่รับกลิ่นเริ่มทำงานตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ ในขวบปีแรกทารกสามารถแยกกลิ่นที่ต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง โดยจะชอบกลิ่นหอมหวานอย่างวนิลลา และไม่ชอบกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นน้ำมัน หรือเหม็นฉุนอย่างไข่เน่า
สำหรับผู้ใหญ่แล้ว หลายๆ ครั้งที่กลิ่นต่างๆ ทำให้ระลึกถึงความทรงจำที่ประทับใจในอดีต ทารกก็เช่นกัน ตั้งแต่สัปดาห์แรกก็สามารถรับรู้ถึงสัมผัสแห่งความทรงจำนี้ได้ที่จำแม่ได้และมีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับแม่ เพราะแม่มากับอาหารหรือความสุข หรือความสบาย จึงไม่แปลกที่ทารกจะดูรักแม่กว่าใคร กลไกการทำงานของสมองส่วนนี้คือ การจับคู่กลิ่นของ “แม่กับความสุข” โดยกลิ่นของแม่จะกระตุ้นให้สมองของทารกสั่งการให้ประสาทส่งสัญยาณไปยังสมองส่วนความจำและอารมณ์ทำให้สามารถจำแม่ได้และสามารถเชื่อมโยงความสุขต่างๆ กับแม่ได้


ทารกที่มีอายุ 2 เดือน จะสามารถแยกกลิ่นได้มากขึ้นและรับรู้ได้ถึงความฉุนมากน้อยของกลิ่นได้ เมื่ออายุมากขึ้นก็สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลิ่นและความทรงจำได้ดีขึ้นพอถึงวัยเริ่มเดินประมาณ 1 ขวบ เมื่อเด็กมีการสัมผัสกับโลกกว้างขึ้น มีการเรียนรู้มากขึ้น สมองและระบบประสาทมีการพัฒนามากขึ้น การเชื่อมโยงของกลิ่นและประสบการณ์ต่างๆ ก็ชัดเจนขึ้น กลิ่นต่างๆ จึงมีความหมายมากขึ้นด้วย เช่น เวลาดมดอกไม้ เด็กจะรู้สึกมีความสุขและอารมณ์ดี โดยเฉพาะถ้าประสบการณ์ของเด็กคนนั้นคือการได้เดินเล่นเก็บดอกไม้กับคุณแม่อย่างมีความสุข แต่ถ้าประสบการณ์ของเขากลายเป็นการเด็กดอกไม้แล้วถูกดุ กลิ่นดอกไม้นั้นก็คงไม่ถูกใจและอาจจะไม่ชอบดมดอกไม้อีกเลย




 



สัมผัสทางด้านการได้ยินของทารก (Sense of Hearing)




ทารกแรกเกิดมีระบบการได้ยินที่ดีเยี่ยม และเช่นเดียวกับสัมผัสด้านอื่นๆ ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้สามารถแยกเสียงที่แตกต่างได้ เช่น เสียงอึกทึกกับความเงียบ เสียงที่มีความถี่สูงจะกระตุ้นการฟังของทารกได้ดีการที่คุณพ่อคุณแม่ทำเสียงน้อยเวลาพูดกับลูกจึงสามารถดึงดูดความสนใจของทารกได้ดีกว่าการทำเสียงราบเรียบ

 
ช่วง 2-3 เดือน ทารกสามารถหาต้นกำเนิดเสียงได้ทำให้เริ่มจับการสนทนาต่างๆ รอบตัวได้บ้าง เด็กสามารถจับเสียงสำเนียงภาษาต่างๆ ได้ จึงสามารถเรียนรู้ได้หลายภาษา ถ้าสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้ได้ยินทุกวัน


 
จากการทดลองของแพททริเชีย เคห์ล ศาสตราจารย์ด้านการฟังและการพูดจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สรุปว่า ถึงแม้ว่าเคยรับรู้สำเนียงภาษาอื่นแต่ไม่ถูกกระตุ้นต่อไป สมองเมื่อไม่ได้ยกเลิกการรับรู้เสียงนั้นแล้วเปลี่ยนเป็นรับรู้เสียงอื่นที่คุ้นเคยกว่า เช่น ทารกที่เติบโตในต่างแดน เมื่ออายุ 2 ขวบกลับมาเติบโตในประเทศไทยก็จะลืมการรับรู้สำเนียงภาษาต่างประเทศไป





 

สัมผัสทางด้านการรับรสของทารก (Sense of Taste)



ทารกแรกเกิดสามารถรับรสได้ดี ถ้าคุณแม่พึ่งรับประทานอาหารรสขมจานใหญ่มา ลูกอาจไม่ยอมทานนมแม่ เพราะทารกสามารถรับรู้รสชาติต่างๆ ผ่านทางน้ำนมแม่หรือแม้กระทั่งผ่านทางน้ำคร่ำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ของโปรดของคุณแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จึงกลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคย และไม่แปลกอะไรที่ลูกก็จะชอบด้วย ดังนั้นขณะที่คุณแม่ชอบตั้งครรภ์หรือให้นมลูกถ้าคุณแม่ทานอาหารได้หลากหลาย ลูกก็จะเป็นเด็กชอบลองอาหารใหม่ๆ ไปด้วย


 




การรับรู้สัมผัสทางด้านการมองเห็นของทารก (Sense of Sight)


การมองเห็นของทารกจะเป็นสัมผัสส่วนที่พัฒนานานที่สุด เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่แรกเกิดทารกเห็นภาพได้ในระยะ 20-30 ซม. หรือประมาณ 1 ฟุตเท่านั้นถ้าใกล้หรือไกลกว่านั้นจะมองได้ไม่ชัด ซึ่งก็พอดีกับระยะห่างของหน้าแม่ขณะให้นมลูกนั่นเอง แม้ทารกจะยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ความคมชัดของใบหน้าที่โดดออกจากแนวผม และความโค้งมนของรูปหน้าคน ก็ดึงดูดสายตาเด็กทารกได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทารกจะชอบมองหน้าพ่อแม่ขณะที่กำลังให้นม


 
ระยะ 3 เดือนทารกจะมองตามสิ่งที่เคลื่อนที่เข้ามามาหาตัวเขาและจะค่อยๆ มองเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหวในแบบอื่นทีละน้อย การมองเห็นจะพัฒนาไปจนเห็นเป็นสีที่ชัดเจนช่วงเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 7 ช่วงนี้เองที่ของเล่นที่มีสีสันสดใสจะเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนการมองเห็น ทารกจึงสนใจของเล่นเป็นพิเศษ และจะเริ่มรู้จักการกะระยะตั้งแต่อายุ 6 เดือน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะเป็นช่วงที่เริ่มคืบคลานไปหาสิ่งต่างๆ ที่สนใจ การมองเห็นในเด็กเล็กจะชัดเจนและไกลขึ้นเรื่อยๆ ตามวัยที่เพิ่มขึ้นจนอายุประมาณ 9 ขวบระบบการมองเห็นจึงจะพัฒนาเต็มที่


 
แม้ว่าพัฒนาการมองเห็นในเด็กเล็กจะใช้เวลาในการเติบโตและพัฒนาจึงต้องการการกระตุ้นการมองเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าขาดสิ่งกระตุ้น สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นก็จะขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การแขวนโมบายล์ที่เตียงเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาการมองเห็นได้ดีก็จริง แต่การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและความรักจากพ่อแม่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะพ่อแม่เป็นของเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจในโลกของทารก พ่อแม่สามารถเล่นกับลูกด้วยการขยับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แลบลิ้นเข้าออกช้าๆ 3-4 ครั้งแล้วคอยดูปฏิกิริยาของลูก ลูกจะพยายามทำตามแม้จะทำได้ไม่ดีนัก แต่ที่แน่ๆ คือลูกได้รับการกระตุ้นการมอง มีการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับได้ซึมซับความอบอุ่นจากพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังนิสัยรักธรรมชาติไปในตัว เพื่อเป็นพื้นฐานอันดีในการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิ่งเร้าต่างๆ จึงควรเป็นสิ่งที่คัดสรรมาแล้ว เช่น ของเล่นที่เป็นไม้ ให้ดูผีเสื้อขยับปีก ให้ทานอาหารรสธรรมดา ให้ฟังเสียงร้องเพลงของแม่ (แม้คุณพ่อจะไม่ชอบ) ใช้เวลาอยู่สวนท่ามกลางธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อเด็กในการพัฒนาจิตใจให้สงบและมั่นคง


 

นอกจากการเลือกสรรแล้ว ยังมีข้อพึงระวังบางประการ



  • สำหรับทารกที่ยังเล็ก การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองด้านการรับสัมผัสต่างๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 2-3 นาที เพราะทารกไม่สามารถรับสิ่งเร้าได้นานกว่านั้น

  • ควรหยุดเมื่อทารกมีอาการเบื่อ โดยสังเกตได้จากถ้าเด็กมีอาการเบื่อ จะเริ่มหันหน้าหนี ไม่มองตาทำหน้าเบะ แอ่นหงายหลัง หรือร้องไห้ เป็นต้น


  • ให้จำไว้ว่าเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ความชอบจึงต่างกัน
 

การกระตุ้นของทารก เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำอย่างพอเหมาะและต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาดคือ เวลาให้นมไม่ใช่เพียงเรื่องของการรับรสเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์รวมของสัมผัสทั้ง 5 ขณะให้นมจึงควรกอดลูกไว้อย่างนุ่มนวล มองตาลูก ลูกไล้เบาๆ และคุยกับลูกด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ปล่อยให้ลูกจับหน้าคุณพ่อคุณแม่ตามสบาย ให้ลูกและคุณใช้เวลานี้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรู้สึกได้ถึงความรักที่มีต่อกันผ่านสัมผัสทั้ง 5 ค่ะ.





ที่มา    ::     http://www.motherandcare.in.th/index.php?mode=board_list&id=468







1 ความคิดเห็น:

  1. การมองเห็นของเจ้าตัวเล็ก



    การมองเห็นนั้นมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการในด้านต่างๆของลูกน้อยค่ะ การมองเห็นที่ดีคือจุดเริ่มต้นสู่พัฒนาการที่ดี
    ในด้านต่างๆ เนื่องจากดวงตาจะรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวลูกน้อย ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้เองที่จะเป็นตัวกระตุ้น
    พัฒนาการทางสมองและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านกายภาพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง คว่ำ คลาน หรือการเดินของลูกน้อย
    ในอนาคต


    สำหรับพัฒนาการด้านการมองเห็นนั้นจะค่อยๆพัฒนาไปตามช่วงอายุของลูกน้อยค่ะ ช่วงแรกๆอาจจะยังมองเห็นไม่ชัดนัก
    แต่เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 6-8 เดือน เค้าก็จะสามารถมองเห็นโลกภายนอกได้ดีเหมือนกับการมองเห็นในผู้ใหญ่ค่ะ ซึ่งจะ
    ขอแบ่งพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยออกเป็นช่วงๆ ดังนี้



    แรกเกิด-1 เดือน: ช่วงนี้การทำงานของตาทั้งสองข้างยังทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้ลูกน้อยมองเห็นภาพชัดเจนในระยะ
    เพียง 8-15 นิ้วเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ช่วงนี้ลูกน้อยจะยังมองไม่ชัด แต่เค้าก็จะสามารถเคลื่อนสายตาตามวัตถุ
    ได้บ้างแล้ว จะสังเกตได้ว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่มองตาลูกใกล้ๆ แล้วค่อยๆ เลื่อนหน้าไปมาทางซ้ายทางขวา ลูกน้อยจะมอง
    ตามอย่างสนใจ


    2-3 เดือน: ช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มจะเรียนรู้ในการโฟกัสสิ่งของต่างๆ และดวงตาทั้งสองข้างก็เริ่มทำงานสัมพันธ์กันได้มากขึ้น
    ความจริงแล้วลูกน้อยสามารถมองเห็นสีต่างๆได้ตั้งแต่แรกเกิด เพียงแต่ยังเป็นการยากเกินไปที่จะแยกสีต่างๆที่มีสี
    ใกล้เคียงกันออกจากกัน และด้วยเหตุนี้เองลูกจึงชอบมองหรือสนใจสิ่งของหรือวัตถุที่มีสีตัดกันมากๆ



    4 เดือน: ลูกน้อยเริ่มพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องระยะความชัดลึก สามารถปรับภาพการมองเห็นได้ในระยะต่างๆได้อย่าง
    ชัดเจนมากขึ้น คุณแม่จะเห็นว่าลูกสามารถใช้มือไขว่คว้าหรือหยิบจับสิ่งของได้ดีขึ้น มีความแม่นยำมากขึ้น



    5 เดือน: ช่วงนี้ลูกน้อยจะสามารถมองเห็นได้แม้วัตถุนั้นจะเป็นชิ้นเล็กๆหรือเป็นวัตถุที่เคลื่อนที่ หรือในบางครั้งแค่ลูกน้อย
    ได้เห็นบางส่วนของวัตถุนั้น ไม่ได้เห็นทั้งหมด แต่ลูกก็จะสามารถจดจำสิ่งของนั้นได้เมื่อเห็นของชิ้นนั้นอีกครั้ง และในช่วงนี้
    ลูกน้อยยังสามารถเริ่มแยกแยะสีสันต่างๆได้มากขึ้นอีกด้วย




    8 เดือน:

    การมองเห็นของลูกน้อยพัฒนาขึ้นจนเกือบจะเท่ากับผู้ใหญ่ทั้งในด้านความชัดเจนและการรับรู้เกี่ยวกับระยะความชัด
    ลึก-ตื้น ใกล้-ไกล อย่างไรก็ตามการมองเห็นสิ่งของในระยะใกล้ๆ จะยังคงดีกว่าการมองสิ่งของที่อยู่ไกลๆ ลูกน้อยจะ
    สามารถมองเห็นผู้คนหรือสิ่งของที่เขาคุ้นเคยที่อยู่อีกฝั่งของห้องได้ นอกจากนี้ความสามารถในการรับรู้เรื่องสีก็ดีจนเกือบ
    จะสมบูรณ์ สามารถแยกแยะสีในโทนต่างๆกันได้





    http://www.nestlebaby.com/


    .

    ตอบลบ