SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋
SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋ (modernmom)
โดย: รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ทารก (Sudden Infant Death Syndrome) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ซิดส์ (SIDS) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีรายงานมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงอัตราการตายกว่าปี ละ 2,500 คน แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมาย สุดท้ายก็ยังไม่รู้ต้นเหตุที่แท้จริง และยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ได้ผลดี
ขวบปีแรกเสี่ยงที่สุด
SIDS มักเกิดในเด็กแรกเกิด- 1 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุ 2-4 เดือน ซึ่งเสียชีวิตขณะนอนหลับ คือนอนแล้วไม่ตื่นอีกเลย โดยที่ก่อนนอนนั้นเด็กไม่มีโรคหรืออาการผิดปรกติแต่อย่างไร แต่มักพบว่า เด็กที่เสียชีวิตด้วยโรค SIDS นั้น ส่วนใหญ่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อายุน้อยกว่า 20 ปี ขณะตั้งครรภ์ เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กทารกที่แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย และยังพบในเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อีกด้วย
การนอน...ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับ ต้นๆ
อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็กที่มักพบบ่อยคือ เด็กมีการนอนที่เสี่ยงดังนี้
นอนคว่ำ
ท่าที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กคือการนอนคว่ำ จากการวิจัยพบว่า การนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคการตายฉับพลันของ เด็กทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (Back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี 1992 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจน
เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรจับเด็กนอนคว่ำบ้าง แต่ทำได้เฉพาะในเวลาเด็กตื่นและมีผู้ดูแลเด็กเฝ้าดูอยู่ใกล้ชิด เพื่อให้เด็กได้ลดโอกาสการเกิดภาวะหัวแบน และได้ออกกำลังต้นแขนและหัวไหล่ให้เกิดความแข็งแรงด้วย
ถูกนอนทับ
สำนักงานความปลอดภัยในผู้บริโภค (CPSC) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานการตายของเด็กทารก 58 ราย ที่เกิดจากการถูกนอนทับ (Overlying) โดยผู้ร่วมเตียง ภัยแบบนี้ ถ้าไม่บอกกันคุณพ่อคุณแม่ก็คงคาดไม่ถึงกันนะครับ
ยิ่งวัฒนธรรมไทยเรา พ่อแม่มักนอนเตียงเดียวกับลูกจนโต แต่ต้องรู้นะว่า การปฏิบัติดังกล่าวมีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน
คนที่มีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กทารกคือคนอ้วน มากๆ คนที่กินยานอนหลับ ยาทำให้ง่วงเช่นยาแก้หวัด ยากล่อมประสาท คนเมาเหล้า และเด็กโต เพราะคนเหล่านี้มักหลับสนิทเกินไป นอนทับแล้วไม่ยอมรู้สึกตัว
นอนบนโซฟา
มีเหตุการณ์ทารกอายุ 12 วัน หลับบนแขนอันอบอุ่นของแม่บนโซฟา คุณแม่ก็หลับไปด้วย พอตื่นขึ้นมาพบว่าลูกน้อยแน่นิ่ง อยู่ในท่าคว่ำลงบนโซฟา เมื่อพลิกหงายพบว่าใบหน้าเขียวคล้ำ ไม่หายใจแล้ว
มุมระหว่างพนักพิงและเบาะที่นั่งของโซฟาอาจทำให้ เด็กเสียชีวิตได้ หากเด็กตะแคงหน้าคว่ำเข้าหามุมและกดทับใบหน้า จมูก เด็กทารกไม่มีความสามารถจะพลิกตัวกลับได้ เป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจในเวลาไม่ นาน
เครื่องนอน หมอน มุ้ง
เบาะสำหรับเด็กต้องเป็นเบาะที่มีความแข็งกำลังดี เบาะ ฟูก หมอน หรือผ้าห่มนุ่มๆ หนาๆขนาดใหญ่ ๆ หน้าเด็กอาจคว่ำหน้าลงไปแล้วกดจมูกและปากเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตได้
คุณแม่ควรเลือก ชุดนอนที่หนาอบอุ่น สวมใส่ได้พอดี ทำให้ไม่ต้องใช้ผ้าห่ม หากจะใช้ผ้าห่มต้องเลือกเนื้อผ้าบาง และวิธีใช้ต้องสอดลงใต้เบาะสามด้าน (คือเด็กต้องนอนโดยเอาปลายเท้ามาชิดผนังเตียง) เพื่อไม่ให้ผ้าห่มหลุดลุ่ยมากดใบหน้าเด็ก ส่วนเครื่องนอน ของเล่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะเส้นสายต้องไม่มีความยาวเกินกว่า 15 ซม. เพราะอาจเป็นเหตุให้เกิดการรัดคอเด็กได้
เมื่อไม่นานมานี้ก็ยังอีกกรณีน่าเศร้าครับ คุณพ่อกลับจากที่ทำงานมาดึกดื่น หลังเข้ามาในห้องนอนมืดๆก็พบลูกชายวัย 7 เดือนกำลังนอนกับมารดา จึงเข้าหอมแก้มลูกด้วยความเอ็นดู พบว่าใบหน้าลูกเย็นเฉียบ จับดูมือเท้าก็พบว่ามือเท้าเย็นเฉียบเช่นกัน จึงเปิดไฟดูพบว่าศีรษะลูกมุดรอดสายหูรูดหมอนข้าง สายรัดคอจนหน้าซีดเขียว เสียชีวิตแล้ว!
นอกจากนั้น ต้องไม่นำของเล่นชิ้น เล็กๆ หรือของเล่นประเภทอ่อนนิ่มตัวใหญ่ๆ เช่นตุ๊กตาที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจตกทับกดการหายใจได้ หรือเด็กใช้เป็นฐานในการปีนป่ายจนตกเตียงได้ เช่นกัน
ถึงแม้ว่าโรค SIDS จะเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่น่ากลัว แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่จัดการนอนให้ปลอดภัย ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตราเสี่ยงของการตายเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุได้ครับ
Baby Sleep จัดท่านอนให้สมวัยเบบี๋
ตอบลบจากการศึกษาของนักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าท่านอนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้ ดังนั้นถ้าคุณจัดให้ลูกได้นอนในท่าที่เหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมให้ลูกสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดท่านอนให้ลูก คือ ระดับพัฒนาการตามวัยของลูก โดยสามารถทำได้ดังนี้ง
แรกเกิด – 3 เดือน ลูกสามารถเอียงคอไปมาได้ แต่ยังชันคอได้ไม่ดี ควรจัดให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคง เพื่อให้ลูกสามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อคอของลูกยังไม่แข็งแรง การเคลื่อนไหวของคอจึงเป็นลักษณะหันไปมา ซ้าย – ขวา ดังนั้นการให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงจึงเป็นท่านอนที่เหมาะสมต่อการที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ได้มากที่สุด ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำโดยที่ไม่มีคนดูแลใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายที่เรียกว่า ภาวะ SDS ( Sudden Death Syndrome) ที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่ถูกจับให้นอนคว่ำในช่วงนี้จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้น้อยกว่า และเมื่อโตขึ้นจะมีความช่างสังเกตน้อยกว่าเด็กที่นอนหงาย ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกในช่วงนี้ควรเป็นภาพหรือของเล่นที่มีสีสันสดใสและมีเสียง อาจเคลื่อนไหวในแนวนอนหรือแนวราบก็ได้
4 –6 เดือน ลูกรักวัยนี้มีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ลูกจึงสามารถชันคอ ยกศีรษะ และ หันหน้าไปมาได้ดีขึ้นท่านอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้ดีคือ ท่านอนคว่ำ ลูกจะชอบยกศีรษะขึ้นมองสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า และก้มหน้าลงมองภาพหรือของเล่นที่อยู่บนพื้น ดังนั้นสิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกในช่วงวัยนี้จึงควรเป็นผ้าปูที่นอนที่มีสีสันสดใส มีลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมากเกินไป และควรแขวนของเล่นที่มีเสียงและเคลื่อนไหวได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบเอาไว้ให้ลูกดูด้วย
6 เดือน ขึ้นไป ลูกรักวัยนี้จะมีกล้ามเนื้อคอและหลังที่แข็งแรง สามารถเคลื่อนไหวศีรษะ คอ ไหล่ แขน ขา และ หลังส่วนบนได้ดี สามารถพลิกตัวไปมาได้ ท่านอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับลูกวัยนี้ สามารถทำได้หลายแบบ โดยมักขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการให้ลูกเรียนรู้ โดยอาจให้ลูกนอนหงาย, กึ่งนั่ง กึ่งนอนนอนตะแคง หรือ นอนคว่ำ สิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกเรียนรู้ ควรเป็นของเล่นที่เคลื่อนไหวในแนว 360 องศา
นอกจากการจัดท่านอนและจัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกให้ดีขึ้นแล้ว คุณควรมีส่วนร่วมในทุกๆ กิจกรรมของลูกด้วย เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย จะได้มีความมั่นใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอน
ถ้าเจ้าตัวเล็กของคุณไม่ยอมนอนง่ายๆ แนะนำให้ลองวิธีการต่อไปนี้ค่ะ
•เข้านอนเป็นเวลาทุกวัน เวลาที่เหมาะสมคือ 19.30-20.30 น.
•ทำกิจกรรมก่อนนอนให้เป็นกิจวัตร เช่น อาบน้ำอุ่นๆ เล่านิทานหรือฟังเพลง
•ปรับไฟห้องให้สลัว วิธีนี้จะทำให้เจ้าตัวเล็กหลับได้ง่ายและนานขึ้น
•สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มง่วง เช่น ขยี้ตา หรือกะพริบตาถี่ๆ
•ทำให้เวลานอนเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข บางครั้งเจ้าตัวเล็กจะสัมผัสได้ถ้าคุณพาลูกเข้านอนทั้งที่ยังเครียดกับงาน คุณจึงควรพยายามผ่อนคลายให้มากที่สุด แล้วเปิดเพลงเบาๆ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง
ขอขอบคุณ สาระประโยชน์ดีๆ จาก นิตยสารบันทึกคุณแม่
.
จัดท่านอนเด็กอย่างไรให้หัว(กะโหลก)ดูดี
ตอบลบทำไม(แบบว่า)บางคนหัวเบี้ยว
โรงพยาบาลเด็กหลวงเมลเบิร์น (Royal Children's hospital, Melbourne) กล่าวว่า ภาวะหัวเบี้ยว (uneven head; un- = ไม่; even = สม่ำเสมอ / misshapen; mis- = ผิดปกติ; shapen = จัดรูปทรง) มักจะค่อยๆ หายไปใน 6 สัปดาห์แรก แต่ก็ไม่หายไปทุกราย
...
คำแนะนำทั่วไปคือ เด็กขวบปีแรกควรนอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพื่อป้องกันโรคเด็กตายเฉียบพลันหรือ "ซิดส์ (SIDS / sudden infant death syndrome)" ที่พบบ่อยในเด็กฝรั่ง ซึ่งนอนคว่ำ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลจากการหายใจในท่านอนคว่ำไม่สะดวกเท่าท่าอื่นๆ
ถึงแม้ว่าจะเป็นการนอนหงายก็ควรเอียงหัวเด็กนิดหน่อย เอียงขวา(ด้านหลัง)ลงสลับกับเอียงซ้าย(ด้านหลัง)ลง จุดสำคัญคือ ควรสลับตำแหน่งหัวเด็กทุกครั้ง (สลับซ้ายขวา)
...
ช่วงที่เด็กตื่นอยู่ (และมีคนเฝ้าดูแล) ควรจัดให้เด็กนอนตะแคงขวาบ้างซ้ายบ้างเป็นหลัก และนอนคว่ำ (ช่วงตื่นและมีคนดูแล) เป็นครั้งคราว เพื่อเปลี่ยนแรงกดต่อกะโหลกศีรษะไปหลายๆ ตำแหน่งเสมอ
การรักษาเด็กที่มีหัวเอียงมากๆ มีการทำหมวกพิเศษให้สวมใส่วันละ 23 ชั่วโมง ถอดตอนอาบน้ำ (คล้ายๆ กับการใส่ที่ดัดฟัน) มีการปรับเปลี่ยนหมวกทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ใส่นาน 2-5 เดือน > [ rch.org.au ]
คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเชื่อว่า ภาวะ(แบบว่า)หัวเบี้ยวหรือ 'plegiocephaly [ เพล - จิ - โอ - เค้ฟ - อา - ลี ]' หรือหัวข้างใดข้างหนึ่งแบนลง (flattening / flat head) ทำให้หัวเบี้ยว เกิดจากท่านอน (sleeping positions) ในวัยเด็ก
ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อัลเบิร์ต เค. โอ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ โพรวิเดนซ์ โรห์ด ไอส์แลนด์ สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กเล็ก 434 คนซึ่งมีหัวเบี้ยว
ผลการศึกษาพบว่า ภาวะหัวเบี้ยวไม่ได้เป็นจากท่านอน (นอนหงาย) เป็นหลัก ทว่า... เป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยรวมกัน เช่น เพศ ฯลฯ
(1). ผู้ชายมีแนวโน้มจะมี "หัวเบี้ยว" มากเป็น 2 เท่าของผู้หญิง
(2). เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ประมาณ 36 สัปดาห์ มีหัวเบี้ยวมากกว่าเด็กที่ครบกำหนดหรือ 40 สัปดาห์
(3). เด็กที่หัวเบี้ยวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมีกล้ามเนื้อคอเกร็ง หรือไม่สมดุลย์ (ซ้ายไม่เท่ากับขวา) ที่เรียกว่า 'torticollis'
(4). การสวมใส่ "หมวกกันหัวเอียง" ไม่ทำให้อาการดีขึ้น
(5). คุณแม่ที่ท้องมาหลายครั้ง (multiple pregnancies) มีโอกาสมีลูกหัวเบี้ยวเพิ่มขึ้น นั่นคือ ลูกคนหลังๆ มีโอกาสหัวเบี้ยวมากกว่าลูกคนแรก
ที่มา :: http://www.vcharkarn.com/vblog/41533
.
ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
ตอบลบคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรือ “การตายเฉียบพลันใน
เด็กทารก” พบได้ในทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตที่ไม่หราบสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากอะไร
โดยเด็กส่วนมากมักจะเสียชีวิตในขณะที่นอนหลับสนิท ดังนั้นการป้องกันเบื้องต้นจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
หนึ่งในนั้นก็คือท่านอนของลูกน้อย
สำหรับท่านอนที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้แก่ “การนอนหงาย” ค่ะ ผลการวิจัยพบว่าการที่ให้ลูกนอนคว่ำนั้น
มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่ามาก โดยเฉพาะเด็กทารกที่ยังไม่สามารถพลิกศีรษะได้ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะ
ขาดอากาศหายใจได้นั่นเองค่ะ
ในกรณีที่ลูกน้อยมักพลิกตัวจากท่านอนหงายไปเป็นท่านอนคว่ำอยู่บ่อยๆ นั้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยดูและ
คอยจับท่านอนลูกให้เป็นท่านอนหงาย การเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง “หมอนจัดท่านอน” (baby sleep positioners)
ก็เป็นตัวเลือกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนนิยมค่ะ เพราะช่วยผ่อนแรงและลดความถี่ของคุณพ่อคุณแม่ในการต้องมาดู
ลูกน้อยในระหว่างที่เค้านอนหลับสนิทได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระวังสำหรับการนอนหลับของลูกน้อย เช่น
• ที่นอนและหมอนต้องไม่นุ่มจนเกินไป เพราะที่นอนและหมอนที่นุ่มมากๆนั้นจะทำให้ตัวและศีรษะของลูก
จมลงไปเมื่อลูกนอน และอาจทำให้หายใจไม่ออกได้
• ในขณะที่ลูกนอน ควรนำของเล่น ตุ๊กตา ผ้า หรือของที่ไม่จำเป็นออกจากที่นอนของลูก เพื่อป้องกันไม่ให้
สิ่งของเหล่านั้นไปปิดจมูกลูกน้อยในขณะนอนหลับ
• ไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่ลูกน้อยอยู่
• คุณพ่อคุณแม่อาจนำลูกมากล่อมที่โซฟาหรือที่เตียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่เมื่อลูกน้อยหลับแล้ว ไม่ควร
ให้ลูกน้อยนอนบนที่นอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่หรือบนโซฟา ควรให้นอนบนที่นอนหรือเตียงของลูกโดยเฉพาะ
และควรนำที่นอนหรือเตียงของลูกมาไว้ในห้องนอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถ
ช่วยเหลือได้ทัน
• ปรับอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่หนาวหรือไม่ร้อนจนเกินไป
• การห่มผ้าให้ลูกน้อยนั้น ควรห่มให้สูงถึงแค่ระดับหน้าอก ไม่ควรห่มผ้าปิดศีรษะลูกน้อย หากกลัวว่าลูกน้อย
จะหนาวก็ควรให้สวมหมวกให้ลูกน้อยแทนค่ะ นอกจากนี้ผ้าห่มที่ใช้ก็ควรเป็นผ้าห่มสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
เพราะผ้าห่มที่หนาและหนักของผู้ใหญ่อาจไปกดทับหน้าอกลูกน้อยทำให้หายใจไม่ออกได้ และ เพื่อความ
ปลอดภัย ควรสอดปลายทั้งสองด้านของผ้าห่มไว้ใต้เบาะที่นอนของลูกด้วยนะคะ
ที่มา :: http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/baby_sleeping_positions/
.