Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลูกหัวไม่ทุย หัวเบี้ยว ทำอย่างไรดี

ลูกหัวไม่ทุย หัวเบี้ยว ทำอย่างไรดี
 
 
baby

 


 

ลูกหัวไม่ทุย หัวเบี้ยว ทำอย่างไรดี (M&C แม่และเด็ก)
 
แน่นอนคุณพ่อแม่ คุณปู่ย่าที่บ้านส่วนใหญ่ มีความต้องการที่จะให้ลูกหลานของตนเองนั้นได้รับสิ่งที่ดีในทุก ๆ เรื่อง ไม่เว้นแม้เรื่องความสวยงาม โดยเฉาะในเด็กเล็ก ที่ผู้ปกครองมักมีความกังวลเรื่องลักษณะรูปทรงของศีรษะว่า สวยได้รูปและทุยหรือไม่ จึงนิยมจัดท่าให้เด็กนอนคว่ำ



ซึ่งจากฉบับที่แล้ว อาจทำให้มีข้อสงสัยและกังขากันอย่างมากในเรื่องที่ผมแนะนำให้เด็กนอนหงาย เนื่องมาจากปัญหาการนอนคว่ำ ที่อาจส่งผลเสียหลายอย่างและไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงในมุมมองของผมซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญเรื่องโรคในเด็กครับ กล่าวคือ มีโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตในขณะนอนหลับได้จากภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) แม้ว่าภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยในประเทศของเรา แต่ผมคิดว่าไม่ควรที่จะเสี่ยงดีกว่ามิใช่หรือครับ (สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome ในฉบับที่ 423 ได้ครับ) ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตของลูกน้อยจาก SIDS ได้โดยการให้ลูกนอนหงายครับ และควรให้นอนหงายทั้งการนอนช่วงกลางวันและกลางคืน

คราวนี้ปัญหาหรือคำถามที่ตามมาก็เกิดขึ้นว่า การนอนหงายจะส่งผลถึงลักษณะศีรษะของเจ้าตัวน้อยได้ คราวนี้จะทำอย่างไรให้เทวดาตัวน้อย ๆ ของพ่อแม่มีรูปหัวออกมาสวย หรือหัวไม่เบี้ยว และหากหัวเบี้ยวแล้วจะทำอย่างไร ดังนั้นในฉบับนี้ผมจึงขอเล่าถึงภาวะ "หัวเบี้ยว" เพื่อคลายความสงสัยหรือข้อคำถามจากฉบับก่อนครับ


 
 

หัวไม่ทุย หัวเบี้ยว คืออะไร

หัวไม่ทุยหรือหัวเบี้ยว เป็นหนึ่งในความผิดปกติในหลายแบบของกะโหลกศีรษะครับ ในกลุ่มที่แพทย์เรียกว่า "Skull deformities" หัวไม่ทุย คือ ลักษณะกะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอยแบนราบ ซึ่งทางแพทย์เรียกกระดูกนี้ว่า occiput ดังนั้นท้ายทอยแบนราบ คือ flat occiput ครับ คือภาวะที่กระดูก occiput ทั้งด้านซ้ายและขวาแบนราบไป แต่ถ้าหัวเบี้ยว ก็จะเกิดจากภาวะที่กระดูก occiput เพียงด้านซ้าย หรือด้านขวา ด้านใดด้านหนึ่งแบนราบไป ภาวะนี้พ่อแม่จะกังวลและวิตกมากกว่าครับ เข้าทำนองหัวแบนยังพอรับได้ แต่หัวเบี้ยวนี่ทำใจยาก เนื่องจากมองเห็นได้ชัด ไม่ใช่ไม่สวย แต่แลดูออกจะน่าเกลียดเลยด้วยซ้ำ ในทางการแพทย์ ภาวะนี้จะมีชื่อทางวิชาการแตกต่างกันไป แต่ที่ใช้บ่อยคือ Plagiocephaly ครับ ซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า "หัวเบี้ยว"
 


 

หัวไม่ทุย หัวเบี้ยว เกิดจากอะไร

แบ่งแยกได้ 2 แบบ คือ แบบแรกเกิดตั้งแต่แรกคลอดใหม่ และแบบที่สองจะเกิดขึ้นภายหลัง ในแบบแรกจะพบว่าลักษณะศีรษะของลูกจะผิดปกติ ผิดรูปไปตั้งแต่แรกคลอดเลย สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือหลังคลอดใหม่ ๆ ครับ ซึ่งพบได้น้อยกว่าแบบหลังครับ แบบที่สอง เมื่อแรกคลอดจะปกติดีแต่ต่อมา หัวจะเริ่มผิดปกติ หรือเริ่มเบี้ยว

ในแบบแรกสาเหตุของหัวเบี้ยวชนิดนี้ส่วนใหญ่ เป็นความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา จากการกดทับของมดลูกต่อกะโหลกส่วนท้ายทอยของลูกเป็นเวลานาน จะพบได้ในรายที่แม่มีมดลูกเล็ก กดรัดมาก หรือในรายที่มีลูกแฝด หรืออาจพบหลังคลอดใหม่ ๆ จากการใช้อุปกรณ์ของสูตินรีแพทย์ เช่น การใช้คีมหรือเครื่องสุญญากาศช่วยคลอด ในรายที่มีปัญหาคลอดยากก็เป็นได้ ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะพบได้บ่อยกว่าเด็กทารกครบกำหนด เนื่องจากกะโหลกศีรษะของเด็กไม่แข็งเท่ากับผู้ใหญ่ คือจะไม่แตกร้าวแต่จะกดแล้วบุ๋มได้เหมือนลูกปิงปองครับ

ในรายที่กะโหลกศีรษะผิดรูปเกิดภายหลังคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากการนอนอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ กะโหลกที่มีลักษณะรูปวงรีสวยงามจะเบี้ยวไปโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย และมักจะเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง ถ้านอนด้านนั้นนานมาก หรืออาจจะมีท้ายทอยแบนราบ ถ้านอนหงายเป็นเวลานานครับ เราเรียกหัวเบี้ยวแบบนี้ว่า "Positional skull deformities" ครับ
 


 

หัวเบี้ยวมีลักษณะอย่างไร

หัวเบี้ยว หรือ Plagiocephaly เป็นภาวะที่เกิดจาก ท่าทางการนอนท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะเป็นท่านอนหงาย (ต่อเนื่องจากบทความฉบับที่แล้วครับ) คือภายหลังที่มีการรณรงค์ให้เด็กแรกเกิดมีการนอนหงาย (Back to step) เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับ (SIDS) แล้วปรากฏว่ามีเด็กแรกเกิดมีปัญหาเรื่องกะโหลกศีรษะผิดรูปมากขึ้น ขอย้ำอีกครั้งว่า กะโหลกศีรษะผิดรูป (Skull deformities) นี้จะเกิดหลังคลอด ซึ่งเกิดจากการนอนหงายท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานครับ (positional related) ซึ่งจะมีลักษณะสำคัญคือ แรกเกิดจะปกติหัวทุยดีแต่เมื่อโตขึ้น ท้ายทอยจะแฟบหรือแบนราบไป เด็กที่ศีรษะเบี้ยวจากปัญหานี้จะมีลักษณะคือ ถ้ามองจากด้านบนลงมาจะแล้วสังเกตตำแหน่งของใบหู กระดูกโหนกแก้ม (zygoma) กระดูกท้ายทอย (occiput) กระดูกหน้าผาก (frontal) จะพบว่ากระดูกท้ายทอยจะแบนไม่เท่ากับอีกด้าน กระดูกหน้าผากจะยื่นออกมา และใบหูจะเลื่อนไปด้านหลัง (ดูรูปประกอบ) ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยมากครับ อาจพบได้ 1 ใน 300 รายต่อการคลอดปกติ


 
 

ภาวะอื่นที่ทำให้ลูกหัวเบี้ยว

เด็กปกติทุกคนเวลานอนหงายไม่จำเป็นจะต้องมีหัวเบี้ยวทุกรายครับ ตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ดงไม่ต้องตื่นตกใจมากนัก บางรายเท่านั้นที่มีปัญหา เด็กปกติสามารถหันคอไปมาได้เอง หรือสลับซ้ายทีขวาที ในเด็กบางคนที่เป็นโรคบางชนิด กะโหลกศีรษะนุ่มกว่าปกติ หรือเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือในเด็กบางรายจะมีความผิดปกติของคอ คือมีภาวะคอเอียงตลอดเวลา ที่ทางแพทย์จะเรียกว่า Torticollis ซึ่งเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม แต่สาเหตุที่พบบ่อยมากคือจะมีเลือดออกในกล้ามเนื้อที่บริเวณคอ แล้วหายกลายเป็นพังผืด ให้กล้ามเนื้อด้านตรงข้ามทำงานตลอดเวลา คอจึงเอียง เด็กจะนอนหันหน้าด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา นอกจากนี้จำเป็นต้องแยกจากกะโหลกผิดรูปที่เกิดจากรอยแยกของกะโหลก หรือ suture เชื่อมปิดเร็วกว่าปกติ (premature closure) โดยเฉพาะรอยแยกที่เรียกว่า Lamdoid ครับ (ดูรูปประกอบ) ในรายที่เกิดจากรอยแยกของกะโหลกปิดเร็ว (Lamdoid craniosynostosis จะพบได้น้อยกว่ามากมากครับ หรือ 3 ในแสนรายครับ


 

ป้องกันไม่ให้ลูกหัวเบี้ยวต้องทำอย่างไร

แม้ว่าภาวะนี้พบน้อย แต่หมอก็พบได้เป็นระยะ แม้เด็กส่วนมากจะพบว่ามีภาวะคอเอียงเสียมากกว่า อย่างไรก็ดีการป้องกันแน่นอนว่าสำคัญที่สุดครับ ในที่นี้ผมจะขอแนะนำผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ในระยะแรกคลอดหรือ 2 - 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด เนื่องจากกะโหลกศีรษะจะอ่อน และเกิดความผิดปกติได้ง่าย ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ

ขณะที่ลูกน้อยนอนหงายเวลาหลับ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคอยช่วยจับศีรษะลูก สลับด้านที่นอนกดทับพลิกไปมาเป็น ระยะ ๆ สลับกันไปครับ และเมื่อเวลาลูกตื่นนอน มีความจำเป็นมากครับที่ต้องพยายามให้ลูกนอนคว่ำ (prone position) และหมอขอแนะนำด้วยว่าต้องคอยจับลูกนอนคว่ำหน้าในขณะตื่น การนอนคว่ำหน้าในเด็กจะทำเฉพาะตอนตื่นนอนเท่านั้นนะครับ ผมขอย้ำ เวลาตื่นนอนเราจะเรียกว่า Tummy time ครับ นอกเหนือจากจะช่วยให้ลูกได้มีโอกาสบริหารกล้ามเนื้อคอ และไหล่เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ ได้ด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็ป้องกันศีรษะเบี้ยวได้อีกด้วย

ในต่างประเทศ หรือพ่อแม่คนไทยบางรายเวลาลูกตื่นนอน มักจะให้ลูกนอนอยู่ในที่นอนเด็ก หรือ car seat ที่จะมีลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน เด็กจะอยู่ในท่านอนหงายตลอดเวลาแม้เวลาตื่นนอน การทำเช่นนี้ไม่แนะนำครับและจะส่งผลต่อรูปศีรษะของเด็กด้วย

การจัดตำแหน่งของศีรษะลูกบนเตียงนอนอาจช่วยได้ ในกรณีเด็กที่มีความจำเป็นต้องนอนหงาย แล้วหันคออยู่ท่าใดท่าหนึ่งตลอดเวลา เช่น อาจเกิดภาวะคอบิด ดังกล่าวข้างต้น การหันศีรษะลูกเพื่อให้มองเห็นกิจกรรมของพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงอาจช่วยให้เด็กมีความพยายาม ที่จะไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งตลอดไปได้


 
 

ถ้าลูกหัวเบี้ยวแล้วต้องทำอย่างไร

ในรายที่มีภาวะศีรษะเบี้ยวตั้งแต่แรกคลอด แต่ภายหลังจากคลอด 2 - 3 เดือน ก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ แต่หากเด็กเหล่านี้ยังนอนหงาย โดยใช้บริเวณท้ายทอยที่แบนราบสัมผัสพื้นต่อไป ภาวะดังกล่าวจะยังคงอยู่ครับ และอาจแย่ลงได้ด้วย การแย่ลงนั้นเกิดจากผิวหนังของศีรษะกดทับบริเวณท้ายทอยครับ ดังนั้น ในรายที่เกิดมีภาวะหัวเบี้ยวแล้ว อาจใช้วิธีนอนคว่ำ เวลาตื่นดังกล่าวข้างต้นหรือใช้วิธีการจัดเตียงแทน โดยให้เด็กนอนหงายนอกเหนือจากนอนคว่ำ แต่จัดท่าให้นอนหงายในท่าที่เด็กไม่ค่อยหันมองออกด้านนอก อาจหันเข้าหากลางห้อง เพื่อให้เด็กมีความพยายามที่จะเปลี่ยนท่านอนตนเอง การทำดังกล่าวจะช่วยได้แก้ปัญหาหัวเบี้ยวได้ แต่จะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือน


ในรายที่ทำตามคำแนะนำดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง การรักษาจะได้ผลดี หากมาพบแพทย์ในช่วงอายุของลูกประมาณ 4 - 12 เดือนครับ เนื่องจากเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะของลูกยังมีความอ่อน สามารถจะปรับเข้ารูปได้ง่าย ๆ ในรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องลงเอยด้วยวิธีการใส่หมวกคล้ายหมวกกันน็อก หรือ (Skull molding helmet) ส่วนการผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้ายและจะทำในรายที่ไม่ได้ผลจริง ๆ หรือมีปัญหาอื่น ซึ่งจะพิจารณาทำน้อยรายมากครับ






 

 
 
 
 

 
ที่มา ::
 
 
 
 
 


 
 
 

3 ความคิดเห็น:

  1. จัดท่านอนเด็กอย่างไรให้หัว(กะโหลก)ดูดี

    ทำไม(แบบว่า)บางคนหัวเบี้ยว

    โรงพยาบาลเด็กหลวงเมลเบิร์น (Royal Children's hospital, Melbourne) กล่าวว่า ภาวะหัวเบี้ยว (uneven head; un- = ไม่; even = สม่ำเสมอ / misshapen; mis- = ผิดปกติ; shapen = จัดรูปทรง) มักจะค่อยๆ หายไปใน 6 สัปดาห์แรก แต่ก็ไม่หายไปทุกราย
    ...

    คำแนะนำทั่วไปคือ เด็กขวบปีแรกควรนอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพื่อป้องกันโรคเด็กตายเฉียบพลันหรือ "ซิดส์ (SIDS / sudden infant death syndrome)" ที่พบบ่อยในเด็กฝรั่ง ซึ่งนอนคว่ำ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลจากการหายใจในท่านอนคว่ำไม่สะดวกเท่าท่าอื่นๆ
    ถึงแม้ว่าจะเป็นการนอนหงายก็ควรเอียงหัวเด็กนิดหน่อย เอียงขวา(ด้านหลัง)ลงสลับกับเอียงซ้าย(ด้านหลัง)ลง จุดสำคัญคือ ควรสลับตำแหน่งหัวเด็กทุกครั้ง (สลับซ้ายขวา)
    ...

    ช่วงที่เด็กตื่นอยู่ (และมีคนเฝ้าดูแล) ควรจัดให้เด็กนอนตะแคงขวาบ้างซ้ายบ้างเป็นหลัก และนอนคว่ำ (ช่วงตื่นและมีคนดูแล) เป็นครั้งคราว เพื่อเปลี่ยนแรงกดต่อกะโหลกศีรษะไปหลายๆ ตำแหน่งเสมอ
    การรักษาเด็กที่มีหัวเอียงมากๆ มีการทำหมวกพิเศษให้สวมใส่วันละ 23 ชั่วโมง ถอดตอนอาบน้ำ (คล้ายๆ กับการใส่ที่ดัดฟัน) มีการปรับเปลี่ยนหมวกทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ใส่นาน 2-5 เดือน > [ rch.org.au ]

    คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเชื่อว่า ภาวะ(แบบว่า)หัวเบี้ยวหรือ 'plegiocephaly [ เพล - จิ - โอ - เค้ฟ - อา - ลี ]' หรือหัวข้างใดข้างหนึ่งแบนลง (flattening / flat head) ทำให้หัวเบี้ยว เกิดจากท่านอน (sleeping positions) ในวัยเด็ก

    ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อัลเบิร์ต เค. โอ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ โพรวิเดนซ์ โรห์ด ไอส์แลนด์ สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กเล็ก 434 คนซึ่งมีหัวเบี้ยว

    ผลการศึกษาพบว่า ภาวะหัวเบี้ยวไม่ได้เป็นจากท่านอน (นอนหงาย) เป็นหลัก ทว่า... เป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยรวมกัน เช่น เพศ ฯลฯ

    (1). ผู้ชายมีแนวโน้มจะมี "หัวเบี้ยว" มากเป็น 2 เท่าของผู้หญิง
    (2). เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ประมาณ 36 สัปดาห์ มีหัวเบี้ยวมากกว่าเด็กที่ครบกำหนดหรือ 40 สัปดาห์
    (3). เด็กที่หัวเบี้ยวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมีกล้ามเนื้อคอเกร็ง หรือไม่สมดุลย์ (ซ้ายไม่เท่ากับขวา) ที่เรียกว่า 'torticollis'
    (4). การสวมใส่ "หมวกกันหัวเอียง" ไม่ทำให้อาการดีขึ้น
    (5). คุณแม่ที่ท้องมาหลายครั้ง (multiple pregnancies) มีโอกาสมีลูกหัวเบี้ยวเพิ่มขึ้น นั่นคือ ลูกคนหลังๆ มีโอกาสหัวเบี้ยวมากกว่าลูกคนแรก


    ที่มา :: http://www.vcharkarn.com/vblog/41533




    .

    ตอบลบ
  2. Baby Sleep จัดท่านอนให้สมวัยเบบี๋


    จากการศึกษาของนักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าท่านอนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้ ดังนั้นถ้าคุณจัดให้ลูกได้นอนในท่าที่เหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมให้ลูกสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดท่านอนให้ลูก คือ ระดับพัฒนาการตามวัยของลูก โดยสามารถทำได้ดังนี้ง



    แรกเกิด – 3 เดือน ลูกสามารถเอียงคอไปมาได้ แต่ยังชันคอได้ไม่ดี ควรจัดให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคง เพื่อให้ลูกสามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อคอของลูกยังไม่แข็งแรง การเคลื่อนไหวของคอจึงเป็นลักษณะหันไปมา ซ้าย – ขวา ดังนั้นการให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงจึงเป็นท่านอนที่เหมาะสมต่อการที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ได้มากที่สุด ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำโดยที่ไม่มีคนดูแลใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายที่เรียกว่า ภาวะ SDS ( Sudden Death Syndrome) ที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่ถูกจับให้นอนคว่ำในช่วงนี้จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้น้อยกว่า และเมื่อโตขึ้นจะมีความช่างสังเกตน้อยกว่าเด็กที่นอนหงาย ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกในช่วงนี้ควรเป็นภาพหรือของเล่นที่มีสีสันสดใสและมีเสียง อาจเคลื่อนไหวในแนวนอนหรือแนวราบก็ได้



    4 –6 เดือน ลูกรักวัยนี้มีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ลูกจึงสามารถชันคอ ยกศีรษะ และ หันหน้าไปมาได้ดีขึ้นท่านอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้ดีคือ ท่านอนคว่ำ ลูกจะชอบยกศีรษะขึ้นมองสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า และก้มหน้าลงมองภาพหรือของเล่นที่อยู่บนพื้น ดังนั้นสิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกในช่วงวัยนี้จึงควรเป็นผ้าปูที่นอนที่มีสีสันสดใส มีลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมากเกินไป และควรแขวนของเล่นที่มีเสียงและเคลื่อนไหวได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบเอาไว้ให้ลูกดูด้วย



    6 เดือน ขึ้นไป ลูกรักวัยนี้จะมีกล้ามเนื้อคอและหลังที่แข็งแรง สามารถเคลื่อนไหวศีรษะ คอ ไหล่ แขน ขา และ หลังส่วนบนได้ดี สามารถพลิกตัวไปมาได้ ท่านอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับลูกวัยนี้ สามารถทำได้หลายแบบ โดยมักขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการให้ลูกเรียนรู้ โดยอาจให้ลูกนอนหงาย, กึ่งนั่ง กึ่งนอนนอนตะแคง หรือ นอนคว่ำ สิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกเรียนรู้ ควรเป็นของเล่นที่เคลื่อนไหวในแนว 360 องศา



    นอกจากการจัดท่านอนและจัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกให้ดีขึ้นแล้ว คุณควรมีส่วนร่วมในทุกๆ กิจกรรมของลูกด้วย เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย จะได้มีความมั่นใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ



    ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอน



    ถ้าเจ้าตัวเล็กของคุณไม่ยอมนอนง่ายๆ แนะนำให้ลองวิธีการต่อไปนี้ค่ะ

    •เข้านอนเป็นเวลาทุกวัน เวลาที่เหมาะสมคือ 19.30-20.30 น.

    •ทำกิจกรรมก่อนนอนให้เป็นกิจวัตร เช่น อาบน้ำอุ่นๆ เล่านิทานหรือฟังเพลง

    •ปรับไฟห้องให้สลัว วิธีนี้จะทำให้เจ้าตัวเล็กหลับได้ง่ายและนานขึ้น

    •สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มง่วง เช่น ขยี้ตา หรือกะพริบตาถี่ๆ

    •ทำให้เวลานอนเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข บางครั้งเจ้าตัวเล็กจะสัมผัสได้ถ้าคุณพาลูกเข้านอนทั้งที่ยังเครียดกับงาน คุณจึงควรพยายามผ่อนคลายให้มากที่สุด แล้วเปิดเพลงเบาๆ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง




    ขอขอบคุณ สาระประโยชน์ดีๆ จาก นิตยสารบันทึกคุณแม่







    .

    ตอบลบ
  3. ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย


    คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรือ “การตายเฉียบพลันใน
    เด็กทารก” พบได้ในทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตที่ไม่หราบสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากอะไร
    โดยเด็กส่วนมากมักจะเสียชีวิตในขณะที่นอนหลับสนิท ดังนั้นการป้องกันเบื้องต้นจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
    หนึ่งในนั้นก็คือท่านอนของลูกน้อย


    สำหรับท่านอนที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้แก่ “การนอนหงาย” ค่ะ ผลการวิจัยพบว่าการที่ให้ลูกนอนคว่ำนั้น
    มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่ามาก โดยเฉพาะเด็กทารกที่ยังไม่สามารถพลิกศีรษะได้ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะ
    ขาดอากาศหายใจได้นั่นเองค่ะ


    ในกรณีที่ลูกน้อยมักพลิกตัวจากท่านอนหงายไปเป็นท่านอนคว่ำอยู่บ่อยๆ นั้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยดูและ
    คอยจับท่านอนลูกให้เป็นท่านอนหงาย การเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง “หมอนจัดท่านอน” (baby sleep positioners)
    ก็เป็นตัวเลือกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนนิยมค่ะ เพราะช่วยผ่อนแรงและลดความถี่ของคุณพ่อคุณแม่ในการต้องมาดู
    ลูกน้อยในระหว่างที่เค้านอนหลับสนิทได้


    นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระวังสำหรับการนอนหลับของลูกน้อย เช่น


    • ที่นอนและหมอนต้องไม่นุ่มจนเกินไป เพราะที่นอนและหมอนที่นุ่มมากๆนั้นจะทำให้ตัวและศีรษะของลูก
    จมลงไปเมื่อลูกนอน และอาจทำให้หายใจไม่ออกได้

    • ในขณะที่ลูกนอน ควรนำของเล่น ตุ๊กตา ผ้า หรือของที่ไม่จำเป็นออกจากที่นอนของลูก เพื่อป้องกันไม่ให้
    สิ่งของเหล่านั้นไปปิดจมูกลูกน้อยในขณะนอนหลับ

    • ไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่ลูกน้อยอยู่

    • คุณพ่อคุณแม่อาจนำลูกมากล่อมที่โซฟาหรือที่เตียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่เมื่อลูกน้อยหลับแล้ว ไม่ควร
    ให้ลูกน้อยนอนบนที่นอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่หรือบนโซฟา ควรให้นอนบนที่นอนหรือเตียงของลูกโดยเฉพาะ
    และควรนำที่นอนหรือเตียงของลูกมาไว้ในห้องนอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถ
    ช่วยเหลือได้ทัน

    • ปรับอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่หนาวหรือไม่ร้อนจนเกินไป

    • การห่มผ้าให้ลูกน้อยนั้น ควรห่มให้สูงถึงแค่ระดับหน้าอก ไม่ควรห่มผ้าปิดศีรษะลูกน้อย หากกลัวว่าลูกน้อย
    จะหนาวก็ควรให้สวมหมวกให้ลูกน้อยแทนค่ะ นอกจากนี้ผ้าห่มที่ใช้ก็ควรเป็นผ้าห่มสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
    เพราะผ้าห่มที่หนาและหนักของผู้ใหญ่อาจไปกดทับหน้าอกลูกน้อยทำให้หายใจไม่ออกได้ และ เพื่อความ
    ปลอดภัย ควรสอดปลายทั้งสองด้านของผ้าห่มไว้ใต้เบาะที่นอนของลูกด้วยนะคะ




    ที่มา :: http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/baby_sleeping_positions/




    .

    ตอบลบ