Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

คุณหนูปลอดภัยในยานยนต์

คุณหนูปลอดภัยในยานยนต์
 


 
 
เด็กๆ คือผู้โดยสารที่ผู้ใหญ่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเมื่อโดยสารรถยนต์ เพราะอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในรถ เช่น เข็มขัดนิรภัย หรือถุงลมนิรภัยนั้น ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้กับผู้ใหญ่ จึงไม่สามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็กๆ ซึ่งมีรูปร่างเล็กกว่าได้ และอาจกลับก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กด้วย ในการโดยสารรถยนต์ ควรให้เด็กๆ แรกเกิด - 10 ปี นั่งเบาะหลังเสมอ และนั่งบนที่นั่งที่ออกแบบมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งจะกระชับตัวและมีเข็มขัดยึดเหนี่ยวเด็กให้ติดกับที่นั่ง ช่วยป้องกันการกระทบกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราอาจแบ่งที่นั่งของเด็กได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งเหมาะสมกับอายุและน้ำหนักตัวของเด็กแตกต่างกันไป
 
 



 
ประเภทของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก แรกเกิด - 10 ขวบ
 

 

1. เปลเด็กอ่อนสำหรับรถยนต์ (Infant car bed)

Infant car bed
Infant car bed

เหมาะกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม ควรจัดให้ศีรษะเด็กหันไปทางตอนกลางของรถยนต์เสมอ
 
 

2. ที่นั่งเด็กชนิดนั่งหันไปทางหลังรถ (Rear-facing infant seat)

Rear-facing infant seat
Rear-facing infant seat



ต้องวางไว้เบาะหลัง และให้เด็กนั่งหันไปทางหลังรถเสมอ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 75 เซนติเมตร คือตั้งแต่แรกเกิด - ประมาณ 1 ปี
 
 

3. ที่นั่งเด็กที่หันไปทางหน้ารถ (Forward-facing child seat)

Forward-facing child seat
Forward-facing child seat




ต้องวางไว้ที่เบาะหลัง และให้เด็กนั่งหันไปทางหน้ารถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 9-18 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 75 - 110 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 1-5 ขวบ ที่นั่งประเภทนี้อาจออกแบบให้ใช้ได้ทั้งในแบบที่หันไปทางหน้ารถและหลังรถ โดยผู้ใช้สามารถปรับติดตั้งได้ตามความเหมาะสม
 
 

4. ที่นั่งเสริม (Booster seat)

Booster seat
Booster seat




เป็นที่นั่งสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 18 ถึง 27 กิโลกรัม หรือมากกว่านี้ และสูงประมาณ 110 ถึง 135 เซนติเมตร อายุประมาณ 5 - 10 ขวบ ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ได้พอดีตัวยิ่งขึ้น
 
 
อุ้มทารกไว้กับตัวขณะนั่งรถยนต์ดีไหม?
ไม่ควรอุ้มทารกหรือเด็กไว้ในอ้อมแขนขณะนั่งรถยนต์ เด็กตัวเล็กๆ อาจมีน้ำหนักไม่มากในยามปกติ แต่ในกรณีที่รถชนกัน น้ำหนักของเด็กจะกลายเป็นแรงมหาศาลที่คุณไม่สามารถโอบอุ้มไว้ได้ และเด็กน้อยที่คุณคิดว่าจะปลอดภัยในอ้อมแขน ย่อมหลุดลอยไปกระทบกับสิ่งกีดขวางที่ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
 
 
การเลือกซื้อที่นั่งเด็ก

  • ตรวจสอบคู่มือประจำรถว่ามีคำแนะนำ หรืออุปกรณ์พิเศษใดๆ ในการติดตั้งที่นั่งเด็กหรือไม่
  • ก่อนซื้อ ควรทดลองว่าที่นั่งเด็กที่คุณถูกใจติดตั้งได้เหมาะพอดี กับรถยนต์ของคุณหรือไม่
  • ควรทราบน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก และตรวจสอบกับคำแนะนำที่ให้มากับที่นั่งสำหรับเด็กว่าอยู่ในช่วงที่ตรงกันหรือไม่
  • ถ้าเป็นไปได้ ควรพาเด็กไปด้วยเพื่อให้ทดลองนั่งว่าพอดีตัวหรือไม่
  • ควรใช้เปลเด็กอ่อนสำหรับรถยนต์ ถ้าทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม

 
 

 
ข้อเตือนใจในการเดินทางกับเด็กโดยรถยนต์

  • การติดตั้งที่นั่งเด็กอย่างเหมาะสมไม่ควรรีบร้อน
  • ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี นั่งเบาะหลังเสมอ
  • ที่นั่งเด็กเหมาะสำหรับรถยนต์ซึ่งมีที่นั่งหันไปทางด้านหน้าเท่านั้น อย่านำไปใช้กับรถยนต์ซึ่งมีที่นั่งหันไปทางด้านข้าง หรือด้านหลัง
  • ผู้ใหญ่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยของตนเองให้เรียบร้อยและรัดตัวเด็กอย่างเหมาะสมก่อนออกเคลื่อนรถ
  • อย่าใช้เข็มขัดนิรภัยเส้นเดียวกันคาดผู้ใหญ่ กับเด็กหรือเด็กสองคนไว้ด้วยกัน
  • สายรัดตัวของที่นั่งเด็กต้องแน่นพอดีและพาดข้ามบ่าของเด็ก
  • อย่าพาดอ้อมแขนหรือสอดไว้ใต้แขนเด็ก
  • อย่าดึงตัวเด็กออกจากที่นั่งขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่
  • ถ้าอากาศร้อนหรือจอดกลางแดด ควรมีผ้าคลุมติดรถเพื่อคลุมที่นั่งเด็กเวลาไม่ใช้งาน
  • ก่อนให้เด็กในนั่งที่ ควรตรวจสอบว่าเบาะและส่วนที่เป็นโลหะร้อนเกินไปหรือไม่
 






สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ คือ ไม่ควรอุ้มทารกหรือเด็กไว้ในอ้อมแขนขณะนั่งรถยนต์ เด็กตัวเล็กๆ อาจมีน้ำหนักไม่มากในยามปกติ แต่ในกรณีที่รถชนกัน น้ำหนักของเด็กจะกลายเป็นแรงมหาศาลที่คุณไม่สามารถโอบอุ้มไว้ได้ และเด็กน้อยที่คุณคิดว่าจะปลอดภัยในอ้อมแขน ย่อมหลุดลอยไปกระทบกับสิ่งกีดขวางที่ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต



 





 


ที่มา :: เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรื่อง "คุณหนูปลอดภัยในยานยนต์" โดยบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น จำกัด






 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

6 ความคิดเห็น:


  1. การเดินทางกับเด็กเล็ก







    บรรดาขาเที่ยว พอมีลูก การเที่ยวอาจถูกเว้นวรรคไปชั่วคราว แต่เมื่อลูกแข็งแรงพอที่จะออกนอกบ้านได้ การพาเด็ก ๆ ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ได้เห็นอะไรแปลกใหม่ น่าจะเป็นการดีสำหรับเด็ก ทั้งในด้านสุขภาพกายที่ได้รับอากาศดี ๆ และสุขภาพใจที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ


    แต่การเดินทางกับเด็ก นึกถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ๆ เพราะอุปกรณ์จำพวกเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัยไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเด็ก ดังนั้นเด็กน้อยควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อเพื่อความปลอดภัยในกรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ
    สิ่งจำเป็นเมื่อเดินทางกับเด็กคือ ‘ที่นั่งสำหรับเด็ก (car seat)’ แม้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายชัดเจน แต่หลาย ๆประเทศออกเป็นกฎบังคับใช้ เพื่อความปลอดภัยของลูกรักและทุกคนในรถยนต์
    ที่นั่งสำหรับเด็ก แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

    1. เปลเด็กอ่อนสำหรับรถยนต์ (Infant car bed)
    รูปร่างคล้ายกระบะ เหมาะกับทารกแรกเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด การพาลูกแรกเกิดออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้าน และควรจัดให้ศีรษะเด็กหันไปทางด้านกลางรถยนต์

    2. ที่นั่งเด็กชนิดนั่งหันไปทางหลังรถ (Rear-facing infant seat)
    ต้องวางไว้เบาะหลัง และให้เด็กนั่งหันไปทางหลังรถเสมอ เด็กเล็ก ๆ ควรนั่งที่นั่งเด็กชนิดนี้จนกว่าจะอายุประมาณ 3 ขวบ การที่เด็กเล็กควรนั่งที่นั่งแบบหันหน้าไปทางหลังรถ เพราะศีรษะของทารกมีน้ำหนักถึงครึ่งของน้ำหนักร่างกาย ศีรษะที่ใหญ่กว่าปกติและกล้ามเนื้อบริเวณลำคอที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้คอของเด็กเป็นจุดเปราะบาง ที่นั่งแบบนี้จะถูกออกแบบเพื่อรองรับคอและช่วยกระจายแรงกระแทกออกไปสู่ร่างกาย เมื่อเกิดการชนด้านหน้าขึ้น ร่างกายที่หันหลังอยู่ทุกส่วนจะเป็นการรับแรงกระแทกลำตัวและศีรษะให้เหลือน้อยที่สุด ข้อควรระวังคือ ไม่ควรติดที่นั่งแบบนี้เข้ากับเบาะรถที่ติดถุงลมนิรภัย

    3. ที่นั่งเด็กที่หันไปทางหน้ารถ (Forward-facing child seat)
    ต้องวางไว้ที่เบาะหลัง และให้เด็กนั่งหันไปทางหน้ารถ เหมาะสำหรับเด็กโตเกินกว่าจะนั่งชนิดหันหน้าไปทางหลังรถ ที่นั่งประเภทนี้อาจออกแบบให้ใช้ได้ทั้งในแบบที่หันไปทางหน้ารถและหลังรถ โดยผู้ใช้สามารถปรับติดตั้งได้ตามความเหมาะสม

    4. ที่นั่งเสริม (Booster seat)
    เหมาะสำหรับเด็กที่โตหน่อย ช่วยให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ได้พอดีตัวมากขึ้น



    ...

    ตอบลบ
  2. ...ต่อ...





    ที่นั่งเด็ก แต่ละยี่ห้อเหมาะกับรถยนต์แต่ละยี่ห้อด้วยเช่นกัน ในการเลือกซื้อที่นั่งเด็ก ควรจะให้ผู้ขายติดตั้งในรถยนต์ให้เรียบร้อยก่อนตัดสินใจซื้อ ถ้าเป็นไปได้ควรพาเด็กไปทดลองนั่ง ให้เหมาะกับน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก
    ในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่จะเห็นแม่นั่งอุ้มลูกน้อยไว้บนตัก และนั่งคู่ไปกับคุณพ่อคนขับ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาทั้งคุณแม่และคุณลูกย่อมเป็นอันตราย เมื่อเกิดการชนหรือแรงกระทบ ลูกน้อยอาจหลุดกระเด็นไปจากอ้อมออกแม่และได้รับอันตรายได้ง่าย ไม่ว่าจะเดินทางไกล หรือใกล้ อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงและมาโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการใช้ที่นั่งเด็ก จะทำให้คุณพ่อขับรถได้อย่างสบายใจ เพราะมั่นใจว่าลูกจะปลอดภัยในระดับหนึ่ง การใช้ที่นั่งเด็ก ควรให้ลูกใช้ตั้งแต่ยังเป็นทารก เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นด้วยความไม่คุ้น จะทำให้การเดินทางของคุณอลเวงตั้งแต่ก่อนออกเดินทางเลยทีเดียว

    เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี ‘ต้อง’ นั่งที่นั่งด้านหลังเสมอ และสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ คาดเข็มขัดนิรภัยโดยคาดเด็ก 2 คนไว้ด้วยกัน!

    ในการเดินทางไกล การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอาจเปลี่ยนแปลงเวลานอน เวลากิน (กระทั่งเวลาถ่าย) ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เด็กจะสามารถปรับตัวได้เองภายใน 2-3 วัน หรือปรับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อกลับถึงบ้าน

    สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ ของเล่นชิ้นโปรดของลูก หรือผ้าห่ม ผ้าขนหนูที่ลูก ‘ติด’ เตรียมกิจกรรม หรือของเล่นให้ลูกเล่นขณะอยู่ในรถ เด็กจะได้มีอะไรทำ ไม่ก่อกวนแย่งพวงมาลัย หรือดึงเบรคมือเล่น ส่วนคุณพ่อก็จะได้มีสมาธิในการขับรถอย่างเต็มที่
    นอกจากอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยแล้ว อาหารสำหรับเด็กก็ควรเตรียมให้พร้อม นอกเหนือจากอุปกรณ์การกินแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์การขับถ่ายไว้ให้พร้อมด้วย กระดาษทิชชู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิชชู่เปียก ถ้าลูกโตขึ้นหน่อย การซื้อกระเป๋าหรือเป้หลังใบใหม่ให้ลูกใส่ข้าวของใช้ของตัวเขาเองบางส่วน ลูกจะภูมิใจ รู้สึกถึงความรับผิดชอบที่รับมอบหมาย

    สำหรับคนตั้งครรภ์ หรือ ‘คนท้อง’ โดยปกติแล้ว ควรระมัดระวังดูแลตัวเองและความปลอดภัยของครรภ์ ในช่วง 3 เดือนแรก และ 3 เดือนหลัง ซึ่งในช่วงนั้นถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปไหนไกล ๆ และหลีกเลี่ยงการเดินทางแบบ ‘ลุย’

    คนท้องมักปวดหลัง ปวดฉี่บ่อย และบางคนก็อาจเป็นตะคริว ดังนั้น ควรมีเวลาพักที่ยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำเป็นระยะ และคนใกล้ตัวควรรู้วิธีช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเมื่อว่าที่คุณแม่เป็นตะคริว
    โดยปกติ เมื่อคนท้องเดินทางทางรถยนต์คงไม่ขับรถเอง แต่บางกรณีที่คนท้องมีความจำเป็นต้องขับรถเอง ควรเว้นที่นั่งให้ท้องและพวงมาลัยมีระยะห่างกันมากที่สุด โดยที่เท้ายังสามารถเหยียบคันเร่งและเบรคได้สะดวก การคาดเข็มขัด ควรให้สายเข็มขัดที่หน้าตักอยู่ที่โคนขา ส่วนสายเข็มขัดที่ลำตัว ให้ลงระหว่างอกและพาดลงด้านข้างของท้อง ระวังอย่าให้สายเข็มขัดมาอยู่ตรงใต้แขน เพราะจะทำให้ว่าที่คุณแม่และลูกในครรภ์บาดเจ็บได้

    ในการเดินทาง ไม่ว่าจะกับเด็กเล็ก คนท้อง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความปลอดภัย หากเรารู้เท่าทันและป้องกันไว้ก่อน สิ่งที่คาดไม่ถึงน่าจะเกิดได้น้อยมาก หรือกระทั่งไม่มีเลย ซึ่งจะทำให้การเดินทางพักผ่อนกับลูกน้อยและว่าที่คุณแม่เป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจไปแสนนาน





    .

    ตอบลบ
  3. ใครควรใช้เบาะนั่งนิรภัย

    กรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น น้ำหนักของแรงกระแทกอาจมีมากกว่า 1 ตัน ระบบความปลอดภัยของยานยนต์ส่วนใหญ่ถูกออกแบบสำหรับผู้โดยสาร ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กที่มีอายุมากกว่า12 ปี หรือมี นน.มากกว่า 36 กก. หรือ ความสูงตั้งแต่ 135 ซม. ขึ้นไป โดยแรงกระแทกจะส่งผลกระทบโดยตรง ต่อเด็ก จึงมีการคิดค้นระบบความปลอดภัยที่สามารถช่วยผ่อนแรงกระแทก ขณะรถชน และทำให้เด็กไม่ได้รับอันตรายหรือได้รับอันตรายน้อยที่สุด


    ข้อแนะนำวิธีการเลือกเบาะนั่งนิรภัย

    เหมาะสมกับน้ำหนักตัวเด็ก (Fits your child)

    เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กมีหลายแบบ แยกออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่ม แตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัวของเด็ก ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ กฎหมายกำหนดวิธีเลือกที่นั่งเด็กให้ถูกต้องคือให้เลือกดูตามน้ำหนักตัว มิใช่พิจารณาเพียงอายุของเด็ก อย่าซื้อเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่มีขนาดใหญ่เกินตัวของเด็ก ที่นั่งเด็กที่ถูกต้องและพอเหมาะกับตัวเด็กเท่านั้น ที่จะมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย เมื่อไรควรเปลี่ยนที่นั่งให้ลูก เมื่อลูกมีน้ำหนักหรือส่วนสูง เกินเกณฑ์ที่เอกสารกำกับผลิตภัณฑ์กำหนด หรือสังเกตเทียบจาก ช่วงขอบตาของลูก ไม่ควรสูงเกินขีดบนสุด ของที่นั่ง



    เหมาะสมกับรถยนต์ (Fits your car)

    รถยนต์ที่เลือกใช้กับเบาะนั่งนิรภัยนั้นต้องมีอุปกรณ์และระบบที่เหมาะสม รองรับในการติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยแต่ละรุ่นที่แตกต่างกัน เช่นระบบ เข็มขัดนิรภัย 3จุด (Safety Belt) หรือ ระบบ ISOFIX เป็นต้น อีกทั้งมี รายละเอียดกำกับไว้กับเบาะนั่งนิรภัยแต่ละรุ่น เพื่อบ่งชี้ให้ทราบถึง ความเหมาะสมกับประเภทรถยนต์แต่ละประเภท ได้แก่ Universal, Semi-universal และ Special Vehicle เป็นต้น

    ง่ายในการติดตั้ง (Easy to install)

    นอกจากจะทำให้สะดวกในการใช้งานแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญมาก ในการช่วยลดข้อยุ่งยากในการติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยแต่ละครั้ง ซึ่งข้อยุ่งยาก เหล่านั้นอาจจะนำมาซึ่งสาเหตุให้เกิดการผิดพลาดในการติดตั้งขึ้นได้ และโดยเฉพาะในกรณีที่การใช้งานจากการถอดเข้าออกบ่อยๆครั้ง ดังนั้น ควรต้องตระหนักด้วยว่าการง่ายในการติดตั้ง จะต้องไม่บดบังหรือลดทอน สมรรถนะความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยนั้นๆให้ลดลง




    .

    ตอบลบ
  4. ข้อแนะนำวิธีการใช้และติดตั้งเบาะนั่งนิรภัย


    ที่ถูกต้องและปลอดภัย

    ติดตั้งถูกตำแหน่ง

    คือ ติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งเบาะที่นั่งด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งของรถยนต์



    ติดตั้งถูกทาง

    เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงน้ำหนักประมาณ13 กิโลกรัมให้เลือกติดตั้ง เบาะนั่งนิรภัยโดยให้เด็กนั่งหันหน้าไปทางเบาะด้านหลังของรถยนต์ (Rearward Facing) และเมื่อน้ำหนักเด็กเพิ่มขึ้นเกินกว่า 13 กก. หรือ อย่างน้อยตั้งแต่ 9 กก.เป็นต้นไป สามารถเลือกติดตั้งโดยให้เด็กหันหน้า ไปทางด้านหน้า (Forward Facing) ของรถยนต์ได้



    ติดตั้งถูกวิธี



    สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป (หรือเริ่มจาก น้ำหนักมากกว่า13 กิโลกรัม)

    สามารถเลือกติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยโดยให้เด็กนั่งหันหน้าไปทางด้านหน้า (Forward Facing) ของรถยนต์ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กบางรุ่นสามารถ ปรับเปลี่ยนเป็นเบาะนั่งเสริม (Booster) ได้และใช้สายเข็มขัดนิรภัย ของผู้ใหญ่ (Safety Belt) ที่ติดมากับรถยนต์รัดตัวเด็กจนกระทั่ง เด็กมีน้ำหนักมากกว่า 36 กิโลกรัม หรืออายุมากกว่า 12 ปี หรือส่วนสูง ระหว่าง 1.35-1.50 เมตรเป็นต้นไป จึงให้เด็กสามารถใช้สายเข็มขัดนิรภัย ของผู้ใหญ่ดังกล่าวรัดตัวเด็กได้เหมือนผู้ใหญ่โดยไม่ต้องใช้ เบาะนั่งเสริมต่อไป



    สำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติทั่วไป

    ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางโดยรถยนต์ ควรให้นอนระดับค่อนข้างราบ และไม่ควรเดินทางเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องเกินกว่า 2 ชั่วโมง หรือถ้ามีความจำเป็นต้องนอนราบควรจัดหาอุปกรณ์ เบาะนั่งนิรภัย ที่ติดตั้งให้ลำตัวของเด็กขนานไปกับเบาะด้านหลังของรถยนต์




    .

    ตอบลบ
  5. Car seat safety: How to choose and use a car seat



    The car seat is an essential piece of child safety equipment. Find out everything you need to know about car safety seats for your child.

    The lowdown on car safety seats

    Unless you plan to walk home from the hospital, you'll need a car seat from day one. By law in all 50 states, your child must be properly restrained in a car seat, usually until he's at least 7 years old. Also, most states now require children to ride in booster seats until they weigh 60 pounds or more, or are a certain age or height.


    If you need more convincing, consider these sobering statistics: In 2009, 179,000 children were injured in auto accidents and more than 1,000 died.

    In fact, car crash injuries are the leading cause of death among children in the United States. The reason? Many children aren't properly restrained, which means that car seats could have prevented many of those deaths.

    And while you may assume that most of these tragedies resulted from fiery, high-speed collisions, the truth is that 75 percent of car accidents happen on local roads or undivided highways, and half of the accidents involving children happen on streets where the speed limit is 44 mph or less.

    So this is one piece of baby gear you'll want to buy long before your water breaks. In fact, it's a good idea to start shopping for a car seat around your sixth to eighth month of pregnancy. That should give you plenty of time to select the right seat.

    Choosing a safety seat

    All car seats currently on the market meet the U.S. government's stringent crash- and fire-safety standards, so any car seat you buy new is technically safe. (The same isn't true for secondhand car seats or car seats purchased more than a few years ago, which may have been designed to meet outdated standards or may have been damaged in an accident or recalled for safety violations.)

    But even if a car seat itself meets the federal government's standards, it can still present safety problems if it's installed or used incorrectly. The safest car seat, therefore, is the one that best fits your child and your car and is easiest for you to use.




    ...

    ตอบลบ
  6. ...


    There are three basic types of car seats to choose from:


    •Baby (or infant-only) car seats: These should always face the rear of the car. They have a weight limit of between 22 and 35 pounds. When your baby reaches the weight or height limits for his infant seat, move him to a rear-facing convertible car seat.


    •Convertible (or infant-toddler) car seats: These function as both rear-facing seats for babies and toddlers and forward-facing seats for older children. Many new ones are designed to hold a child of up to 40 pounds rear-facing and up to 70 pounds forward-facing. It's safest to leave your child rear-facing as long as possible – in fact, the latest guidelines from the American Academy of Pediatrics (AAP) say to keep your child in a rear-facing car seat until the age of 2, or until he reaches the seat's maximum rear-facing height and weight limits.


    •Belt-positioning booster seats: These seats are for kids who are at least 4 and weigh at least 40 pounds. They use the regular car lap and shoulder belts to secure the child. Backless boosters are fine when used with an automobile seat that provides head support.



    To get more details about choosing a car seat, read our articles about infant-only seats, infant-toddler (convertible) seats, and booster seats. Or talk to other parents about car safety in the BabyCenter Community.



    You'll also find great information in the American Academy of Pediatrics' Family Shopping Guide to Car Seats and the National Highway Traffic Safety Administration's coverage of child passenger safety.






    .

    ตอบลบ