วิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืน
คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยประสบปัญหาเจ้าตัวเล็กไม่ยอมนอน ร้องไห้งอแงตลอดทั้งคืน จนคุณพ่อคุณแม่ต้องตื่นมาผลัดกันอุ้มลูกน้อย และไม่รู้จะทำยังไงกับเจ้าตัวเล็กนี้ดีเพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กทารกแรกเกิด
นิสัยร้องกวนกลางคืนจะเกิดขึ้นได้กับทารกทุกวัย ถ้าเป็นเร็ว จะเริ่มตั้งแต่อายุ 2-3 อาทิตย์ เมื่อเริ่มร้องจะไม่ยอมหยุดง่าย ๆ เด็กจะออกแรงร้องจนหน้าแดง ทำให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกคงเจ็บที่ไหนสักแห่ง ถึงร้องงอหายอย่างนั้น
นิสัยร้องกวนกลางคืนจะเกิดขึ้นได้กับทารกทุกวัย ถ้าเป็นเร็ว จะเริ่มตั้งแต่อายุ 2-3 อาทิตย์ เมื่อเริ่มร้องจะไม่ยอมหยุดง่าย ๆ เด็กจะออกแรงร้องจนหน้าแดง ทำให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกคงเจ็บที่ไหนสักแห่ง ถึงร้องงอหายอย่างนั้น
เมื่อลูกร้องไม่หยุด ลองอุ้มเขย่าเบา ๆ สักพักเด็กมักจะหยุดร้อง คุณย่าคุณยายาอาจห้ามไม่ให้อุ้ม บอกว่าอุ้มบ่อย ๆ เดี๋ยวจะติดมือ แต่เด็กที่ต้องอุ้มบ่อยจนถูกหาว่าติดมือนั้น ไม่ใช่เพราะอุ้มบ่อยจึงติดมือ แต่เป็นเพราะร้องบ่อย จึงต้องอุ้มต่างหาก
บางครั้งถึงจะอุ้ม เด็กก็ยังร้องไม่ยอมหยุด ถ้าเป็นเด็กโตหน่อย (อายุเกิน 1 เดือนขึ้นไป) คุณพ่อคุณแม่พาขึ้นรถยนต์ขับวนสักรอบ เด็กจะหยุดร้องอย่างน่าแปลกใจทีเดียว
ในบางกรณี เด็กอาจร้องเพราะมีแก๊สในลำไส้ ทำให้การกอาหารผ่านไม่ได้ชั่วขณะ ถ้าสวนทวารให้แล้วเด็กหยุดร้อง แสดงว่าสาเหตุที่ร้องอาจเป็นเพราะเรื่องนี้
เรารู้ว่าเด็กไม่ได้ร้องเพราะหิว เพราะเด็กที่กินเก่ง น้ำหนักเพิ่มดี ที่มีนิสัยชอบร้องกวนตอนกลางคืนก็มีไม่น้อย
จากประสบการณ์ กล่าวได้ว่า เด็กจำนวนมากที่มีนิสัยร้องกวน ตอนกลางคืนมักมีคุณแม่ที่มีการศึกษาสูง บางคนก็ว่าเป็นเพราะคุณแม่ ประเภทนี้ เมื่อลูกร้องกวนกลางคืน จะเห็นเป็นเรื่องใหญ่โตพาไปหาหมอ หมอเองมักไม่ชอบคุณแม่ที่มีการศึกษาสูง คุณแม่ประเภทนี้จะห่วงแต่เรื่องงาน จนไม่ค่อยยอมพาลูกเดินเล่น เพราะคิดว่าเสียเวลา เมื่อเด็กเที่ยวเล่นไม่พอ จะร้องกวนตอนกลางคืน
กว่าจะรู้ว่าเด็กร้องตอนกลางคืน เป็นนิสัยของเด็ก คุณพ่อคุณแม่คงเป็นห่วงว่าลูกป่วย เป็นอะไรอยู่หลายวัน สิ่งที่คุณควรทำเมื่อลูกมีนิสัยชอบร้องกวนกลางคืน คือ พาออกเดินเล่นให้มาก จัดห้องให้โปร่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เวลาให้นมระวังอย่าให้ดูดอากาศเข้าไป หลังให้นมต้องจับเรอ ถ้าสวนทวารให้แล้วหยุดร้อง ก็สวนทวารให้ ในช่วงอากาศหนาว อย่าห่มผ้าให้มากเกินไป หรือปล่อยให้หนาวเกินไป ฤดูร้อนให้นอนหมอนน้ำแข็ง
อาการร้องตอนกลางคืนมักเป็นเรื่องของนิสัย แต่ถ้าเด็กไม่เคยร้องมาก่อนเลย พออายุได้ 3 เดือน อยู่มาวันหนึ่งเกิดเริ่มนิสัยนี้ขึ้นมา คืนแรกที่ลูกร้องมาราธอน คุณพ่อคุณแม่คงเป็นห่วงจนไม่เป็นอันนอน ถ้าเด็กไม่มีไข้ แสดงว่าไม่ได้เป็นโรคหูอักเสบหรือต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ในกรณีที่เด็กเป็นโรคลำไส้กลืนกัน หรือลำไส้ติดค้าง เด็กจะร้องงอหายเหมือนกันแต่ลักษณะการร้องจะแตกต่างกัน ถ้าเด็กร้องเป็นนิสัย เวลาร้องจะร้องติดต่อกันเรื่องไปไม่หยุด แต่ถ้าเป็นโรคลำไส้อุดตัน เด็กจะร้องแล้วหยุดเป็นช่วงๆ ประมาณช่วงละ 5 นาที และเด็กจะอาเจียนเมื่อให้นม
เมื่อเด็กเริ่มนิสัยร้องกวนกลางคืน คืนแรกคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เห็นลูกร้องอย่างรุนแรง มักจะทนดูอยู่ไม่ไดต้องพาไปหาหมอ ภายหลังจึงทราบว่าไม่ได้ป่วยเป็นอะไร
กุมารแพทย์ฮาร์วีย์ คาร์ป (Harvey Karp) แนะนำว่า การจะทำให้เจ้าตัวเล็กหยุดร้องไห้ตอนกลางคืนให้ได้ผลนั้นต้องใช้หลัก 5 s ซึ่งเป็นหลักที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในแวดวงฮอลลีวู้ด ในหมู่ดารานักแสดงที่มีเจ้าตัวเล็กคอยร้องขับกล่อมยามค่ำคืน พวกเค้าได้หยิบยืมหลักการเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นคุณลุงเพียร์ส บรอสนันด์,คุณป้ามาดอนนา และคุณน้าฮันเตอร์ ไทโล เป็นต้น ซึ่งต้องพบกับความแปลกใจ "โอ้...พระเจ้าจอร์จ มันยอดมาก"
5 วิธีหยุดหนูร้องไห้ตอนกลางคืน
1. ห่อหนูให้กระชับ (Swaddle)
แค่คุณแม่เอาผ้าห่มห่อตัวหนูให้อุ่น หนูก็หยุดร้องแล้ว พูดจริงๆ นะคะ อย่าลืมว่าหนูเคยอยู่ในท้องคุณแม่ และชินกับที่แคบๆ มานานหลายเดือน จู่ๆ จะให้หนูมานอนอ้างว้างข้างนอก หนูจึงยังไม่คุ้นเคย อีกทั้งตอนนี้มือเท้าของหนูก็ขยับไปมาได้แบบฟรีสไตล์แล้ว หนูจึงหวาดผวามากขึ้น แต่ถ้าคุณแม่ช่วยห่อตัวให้หนู หนูจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนกำลังอยู่ในรกของคุณแม่ไงล่ะ แต่อ๊ะ...อ๊ะ ระวังอย่าห่อหนูจนแน่นเกินไปล่ะ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าคุณแม่ร้องไห้แทนหนูไม่รู้นา
2. ให้หนูนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ (Side / Stomach)
เวลาคุณพ่อคุณแม่อุ้มหนู ควรอุ้มให้อกหนูแนบเข้าหาตัวคุณพ่อคุณแม่ เพราะจะทำให้หนูรู้สึกสบายและอบอุ่นใจ อย่าอุ้มหนูแบบนอนหงายนะ ไม่งั้นหนูจะร้อง เพราะไม่มีอะไรอุ่นๆมาอยู่ตรงอกของหนู มันทำให้หนูรู้สึกไม่อบอุ่นและปลอดภัยเลย หรือหากคุณพ่อคุณแม่เมื่อยแขนแล้ว ก็ให้หนูนอนตะแคงก็ได้นะ และควรให้หนูกอดหมอนข้างด้วย เวลาหนูผวาก็ยังมีหมอนข้างอุ่นๆ อยู่ตรงอก เสมือนหนูมีอะไรกอดอยู่ตลอดเวลา มันทำให้หนูนอนสบายมากขึ้นค่ะ
3. กระซิบ ซือ.. ซือ.. เบาๆ ข้างๆ หูหนู (Sibilant)
ซือ.. ซือ..เป็นเสียงคล้ายๆ ตอนที่หนูอยู่ในท้องของคุณแม่ หนูจะได้ยินเสียงแบบนี้ ซึ่งทำให้หนูรู้สึกปลอดภัยคล้ายได้อยู่ในที่ที่เคยอยู่ กุมารแพทย์คาร์ปบอกไว้ว่า มันเป็นวิธีการที่ดีกว่าอุ้มหนูแบบเงียบๆ หรือเอาแต่ปลอบหนูไปเรื่อยๆ และหากคุณพ่อคุณแม่ทำเสียงไม่ได้ ก็ให้หนูฟังเสียงเครื่องดูดฝุ่นหรือเสียงเครื่องเป่าผมแทนก็ได้นะ แต่อย่าเป่ามาที่ตัวหนูล่ะ เพราะจะทำให้หนูรู้สึกร้อนจนร้องไห้มากขึ้น
4. แกว่งหนูไปมาสิ (Swinging)
คุณพ่อคุณแม่ลองอุ้มหนูแล้วแกว่งไปมาสิ พร้อมทั้งเอามือลูบหรือตบเบาๆ แล้วอย่าลืมเวลาอุ้มหนูจับคอหนูให้มั่นคงด้วยนะ เพราะคอหนูยังไม่แข็งเลย การอุ้มหนูอย่างรักใคร่ อบอุ่น มั่นคงทำให้หนูรู้สึกปลอดภัย สบายใจ หลับได้ง่าย ไม่ร้องไห้โยเย ขอแค่อย่าแกว่งหนูแรงมาก หรือหมุนตัว เพราะจะทำให้หนูเวียนหัว เลยร้องไห้ไปกันใหญ่
5. ให้หนูดูดนมแม่ด้วยก็ดีนะ (Sucking)
เมื่อหนูอยู่ในผ้าอ้อมหรือผ้าห่มที่ห่อตัวหนูเอาไว้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ทำตามวิธีการถัดมาดังที่กล่าวไว้แล้ว ไม่ว่าจะขั้นตอนใดก่อนหรือหลังก็ตามจนหนูสงบลง ไม่ร้องไห้โยเย ก็อาจจะให้หนูดูดนมคุณแม่ หรือใช้หัวนมปลอมสะอาดๆ ให้หนูดูดก็ได้ แต่จะให้ดีที่สุดก็ต้องเป็นนมของคุณแม่ เพราะท่าที่คุณแม่กอดหนูแนบอก หนูจะรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในรกที่โอบอุ้มหนูไว้ ยิ่งได้เห็นหน้าของคุณแม่ หรือมือน้อยๆ ของหนูสามารถจับหน้าอกแม่ หรือลูบตัวแม่ได้ หนูจะยิ่งสงบลงได้เร็ว
หลักปฏิบัติข้างต้นนี้ช่วยให้หนูสงบลงได้ แถมยังทำให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นอีกด้วย จะได้ไม่กระทบกับการทำงานของคุณพ่อคุณแม่ไงคะ
เจ้าตัวเล็กบางคนแม้นอนกลางวันได้ดี แต่พอตกกลางคืนก็ยังร้องไห้โยเยได้ อาจจะเพราะไม้คุ้นกับสภาพแวดล้อม ที่อยู่ๆ ต้องพ้นจากท้องแม่มาอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรืออาจจะมีโรคภัยที่เค้าต้องร้องไห้เพื่อขอความช่วยเหลือ เพราะเค้ายังช่วยตัวเองไม่ได้ พูดหรือบอกใครก็ไม่ได้
คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตและทำความเข้าใจพฤติกรรมของเค้า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ต้องช่วยประคับประคองให้เค้าเข้าใจชีวิตที่เค้าจะต้องเติบโตต่อไป การมีลูกน้อยเป็นสิ่งที่นำความสุขมาให้กับหลายครอบครัว ขณะเดียวกันเค้าเองก็อยากให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูอย่างเข้าใจ
คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันทะนุถนอมกล่อมเกลาเลี้ยงดูเค้าด้วยความรักความอบอุ่นเป็นพื้นฐาน เพื่อเค้าจะได้เจริญเติบโตอย่างมีสุขภาพกายและใจที่ดีต่อไป และอย่าเพิ่งเบื่อการร้องไห้ของลูกน้อยเลย เพราะนั่นคือการบอกความในใจของเค้า
5 สิ่งรบกวนการนอนหลับของลูกในเวลากลางคืน
ตอบลบแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกลูกให้นอนหลับในเวลากลางคืนและควบคุมทั้งอากาศ เสียง แสงแดด บรรยากาศต่างๆ เพื่อให้ลูกนอนหลับได้นานและยาวขึ้นในช่วงตอนกลางคืน แต่สิ่งที่จะรบกวนของลูกน้อยในยามหลับที่คุณจะต้องเตรียมรับมือยังมีอีกหลายเรื่องค่ะ วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับปัจจัยอื่นๆ อีกค่ะ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้บางข้อคุณพ่อคุณแม่ต้องเจอแน่นอน ดังนั้นการเตรียมตัวรับไว้ล่วงหน้าย่อมจะดีกว่าค่ะ
1. การร้องในลักษณะโคลิก (Colic)
ในวงการแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการร้องไห้ของเด็กในลักษณะที่เรียกว่าโคลิกได้ค่ะ อาการโคลิกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 2 เดือน โดยอาการคือ เด็กจะร้องไห้ซ้ำๆ ในช่วงเวลาเดิมๆ โดยมากจะเป็นช่วงเวลาเย็นๆ ใกล้ค่ำ หรือช่วงรอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืนค่ะ เด็กจะร้องไห้อย่างน่ากลัว งอเข่าเข้าหาลำตัว ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นแม้ว่าจะอุ้มหรือให้นม ส่วนใหญ่แล้วอาการโคลิกจะหายไปเองหลังจากเริ่มเป็นประมาณ 2 เดือนค่ะ หากพบว่าลูกมีอาการโคลิก การฝึกลูกให้เข้านอนด้วยตนเองอาจจะยากสักหน่อยค่ะ ควรที่จะรอให้อาการโคลิกหายไปก่อนค่ะ แล้วจึงค่อยฝึกลูกนะค่ะ โดยอาจจะพาแกเข้านอนก่อนเวลาที่แกจะร้องก็ได้ค่ะ ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า โคลิกนั้นเกิดจากลมในท้องซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวัน ดังนั้นการอุ้มพาดบ่าเพื่อให้เด็กได้เร่อ หรือนอนคว่ำพร้อมกับการลูบหลังลูกเพื่อบรรเทาอาการปวดก็อาจจะช่วยได้ค่ะ แต่หากให้นอนคว่ำก็ต้องระวังอย่าให้ลูกเผลอกดทับจมูกตัวเองจนหายใจไม่ออกนะค่ะ
2. ร้องไห้เพราะว่าปวดฟัน
ฟันที่กำลังเริ่มขึ้นนั้นสร้างความเจ็บปวดให้ลูกจนร้องไห้ตลอด ทำให้ลูกไม่สามารถนอนหลับได้ยาวในช่วงกลางคืน นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือค่ะ เพราะเมื่อฟันของลูกกำลังจะขึ้น คุณอาจจะเตรียมเจลสำหรับทาฟันที่กำลังขึ้นสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อทาแล้วเด็กจะรู้สึกชาเพื่อบรรเทาอาการปวด และให้เด็กนอนหลับในช่วงดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามควรที่จะปรึกษาคุณหมอก่อนนะค่ะ
3. นอนไม่หลับ ร้องไห้ตลอดเพราะลูกป่วย
การป่วยของลูก สามารถแบ่งเป็น ป่วยแบบเฉียบพลันกับป่วยเรื้อรังค่ะ การป่วยแบบเฉียบพลันเช่น เด็กเป็นไข้, ท้องเสีย แพ้อาหาร ฯลฯ ส่วนการป่วยแบบเรื้อรังได้แก่ เด็กที่เป็นโรคประจำตัวเช่น หอบ หืด แล้วอาการกำเริบค่ะ คุณควรที่จะสังเกตและเตรียมรับมือกับอาการป่วยของลูกไว้ให้พร้อมค่ะ
4. ร้องไห้เพราะแปลกที่ เมื่อต้องเดินทางหรือไปค้างคืนที่อื่น
การไปพักที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องนอนที่เด็กคุ้นเคย อาจจะทำให้คืนนั้นเด็กนอนหลับได้ไม่นานนัก เนื่องจากยังไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่อาจจะแก้ไขด้วยการนำที่นอน หรือสิ่งของที่ลูกติด หรือชอบให้มีเวลานอน (เด็กบางคนติดตุ๊กตา ติดหมอน ติดผ้าห่ม) ก็อาจจะนำสิ่งเหล่านี้ไปด้วยค่ะ
5. ร้องไห้เพราะว่าหิว
เนื่องจากว่าทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน โดยมากมักจะตื่นมากลางดึกเพราะหิวค่ะ หลังจากให้นมยามดึก เด็กโดยมากก็สามารถนอนหลับต่อได้เองค่ะ แต่สำหรับเด็กบางคนที่อายุเกิน 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงตื่นมากลางดึกเพื่อกินนม คงต้องมาดูละค่ะว่า เด็กร้องเพราะหิว หรือว่าเป็นเพราะความเคยชินกันแน่ หากคุณแน่ใจว่าลูกได้รับนมและอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงในเวลากลางวัน แต่ลูกยังคงร้องเพราะติดการทานนมในมื้อดึก ขอให้ลองลดปริมาณนมลง แต่หากว่าลูกไม่ยอมกินนมในตอลนกลางวัน แต่มาเน้นกินนมตอนกลางคืนแทน แสดงว่าระบบการกินของเขาไม่ปกติค่ะ ให้แก้ไขโดยให้ลูกกินน้ำเปล่า หรือผสมนมให้เจือจางในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นในช่วงกลางวัน เมื่อให้นมในตอนกลางวันลูกจะทานนมมากขึ้นเองค่ะ
.
ปัญหาที่พบบ่อยในวัยทารก
ตอบลบเด็กวัยทารกขาดความสามารถในการสื่อสารภาษาและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการเลี้ยงดูจากบิดา มารดาหรือผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ทารกได้อย่างทันท่วงทีพบบ่อยในทารกและบิดา มารดาสามารถช่วยเหลือได้อย่างวิธีง่ายและไม่ยุ่งยากได้แก่
1. ผื่นผ้าอ้อม เนื่องจากผิวทารกมีความเป็นด่างสูงหว่าปกติจึงง่ายต่อการระคายเคืองจากสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความเปียกชื้นเนื่องจากการไม่เปลี่ยนผ้าอ้อมหลังขับถ่าย ทั่งนี้เป็นเพราะในน้ำปัสสาวะและอุจจาระประกอบด้วยสารแอมโมเนียทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวทารก ซึ่งลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็กๆ หรือเป็นปื้นแดง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดผื่นผ้าอ้อม คือ การรักษาความสะอาด เช็ดล้าง ทำความสะอาด บริเวณที่เกิดผื่นได้ง่าย หลังจากทารกขับถ่ายทุกครั้ง
2. ผื่นบริเวณใบหน้า มีลักษณะเป็นตุ่มแดงเล็กๆ หรือบางครั้งเป็นตุ่มขาว พบมากบริเวณแก้มและจะมีลักษณะแดงจัดขึ้นหลังจากการเช็ดล้างบริเวณใบหน้าทารก ถ้าหากไม่มีการอักเสบ บวม หรือมีหนองบริเวณตุ่มผื่นก็จะไม่จำเป็นต้องรักษาเป็นพิเศษ เพียงแต่ดูแลความสะอาดทั่วไป มักจะเป็นๆ หายๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
3. ผด จะพบมากบริเวณซอกคอ หน้าผาก และข้อพับต่างๆของทารกเกิดขึ้นเมื่ออากาศร้อน การขับเหงื่อออกทางผิวหนังของทารก ยังทำงานได้ไม่ดีทำให้เกิดการอุดตัน
วิธีการดูแล ต้องทำให้ทารกอยู่ในบริเวณที่อากาศไม่ร้อนเกินไปหรือจัดให้มีการระบายอากาศที่ดีในบางครั้งอากาศร้อนควรจะสวมเสื้อผ้าที่บางๆ
4. น้ำตาไหลและมีขี้ตา โดยปกติทารกเริ่มจะมีน้ำตาเมื่ออายุได้ประมาณ 1 เดือน ในช่วงสัปดาห์แรกหลังเกิดอาจจะพบทารกที่มีน้ำตาไหลและมีขี้ตาได้ เนื่องจากการอุดตันของท่อน้ำตา มักเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
วิธีการดูแล ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดทำความสะอาดได้
5. สะอึก พบได้บ่อยในทารกส่วนมากมักจะเกิดหลังการให้นมในเดือนแรกๆ เชื่อกันว่าเกิดจากสาเหตุกล้ามเนื้อกระบังลมซึ่งช่วยในการหายใจของทารกในระยะหดตัวไม่สัมพันธ์กับจังหวะการหายใจเข้าออก เนื่องจากถูกกระตุ้นโดยกระเพาะอาหารที่ขยายตัวขึ้นเมื่อดูดนมเข้าไป
การป้องกันไม่ให้สะอึก ทำได้โดยหลังดูดนมแล้วต้องจับทารกเรอไล่ลมออกทุกครั้ง
6. แหวะนมหรือสำรอก อาการแหวะนมพบได้บ่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารต่อกับหลอดอาหารยังไม่สามารถทำงานได้ดี เมือถูกกระตุ้น เช่น เปลี่ยนท่าเร็วเกินไป เขย่าตัวทารกหรือพลิกตัวทารกไปมา หรืออากาศที่เข้าไปในกระเพาะอาหารขณะดูดนมดันตัวขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดอาการแหวะนมได้ อาการสำรอกก็เกิดจากสาเหตุคล้ายคลึงกัน
วิธีการช่วยเหลือ
1.ป้อนนมในปริมาณที่เหมาะสม
2.หลังจากป้อนนมแล้วไม่ควรเปลี่ยนท่าของทารกไปมา ไม่ควรกระตุ้นบริเวณท้องของทารกและไม่ควรปล่อยให้ทารกร้องไห้มากเกินไปหลังให้นม
3.จับทารกเรอไล่ลมออกจากกระเพาะอาหารทุกครั้งหลังการให้นม
4.จัดให้ทารกนอนหลังการให้นมในท่านอนตะแคงขวา เพื่อส่งเสริมให้น้ำนมไหลตามโค้งของกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น หรือนอนคว่ำตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
7. การร้องไห้มากผิดปกติ อาการร้องไห้มากผิดปกติพบในช่วง 3 เดือนแรก (ร้อง 3 เดือน) อาการที่พบได้บ่อยคือ ทารกจะมีอาการปวดท้อง ท้องจะแข็งตึงจากอากาศในกระเพาะอาหารมีอาการเกร็งแขนขา ส่วนมากเกิดขึ้นในเวลาเย็น บางครั้งจะร้องได้ตั้งแต่เวลาหัวค่ำไปจนถึงดึก ในทารกบางคนอาจร้องไห้ไม่มีสาเหตุ หรือไม่มีอาการแสดงของอาการปวดท้องเลยก็ได้
การช่วยเหลือ
1.จับทารกเรอทุกครั้งหลังการดูดนม
2.ขณะที่ทารกร้องไห้มารดาอุ้มปลอบ
3.หลีกเลี่ยงการให้ทารกอยู่ในอากาศที่อึกทึกครึกโครม
4.ทามหาหิงค์ เพื่อช่วยให้ทารกเรอหรือผายลมออกให้สะดวกยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าปัญหาที่พบบ่อยในวัยทารกสามารถแก้ไขได้ ดังนั้นการที่บิดามารดาและผู้ดูแลมีความรู้ก็จะช่วยให้ดูแลทารก และหาทางช่วยเหลือทารกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
.