การมองเห็นของเด็ก
ทารกไม่ได้เกิดมาแล้วมองเห็นชัดเจนเช่นผู้ใหญ่ทันที
แต่ความสามารถในการมองเห็นของทารกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นตัวกระตุ้น
โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นตัวกระตุ้น
- แรกเกิด
ทารกจะมองเห็นภาพชัดเจนในรัศมีแค่ประมาณ 12 นิ้วและสามารถจ้องมองสิ่งของได้นานแค่ 4-11 วินาที และภายใน 4 วัน ลูกน้อยจะสามารถจดจำหน้าคนที่รักมากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นคุณแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเขามาอย่างใกล้ชิดได้
- ช่วยลูกโดย
- - พยายามสบสายตาแล้วอาจจะพูดคุย ยิ้มแย้มหรือหัวเรากับลูกไปด้วย และช่วงนี้ทารกน้อยสามารถเคลื่อนสายตาตามวัตถุได้บ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะสบดาลูกใกล้ๆ แล้วค่อยๆ เลื่อนหน้าไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เด็กน้อยจะมองตามอย่างสนใจ
- ช่วยลูกโดย
- 1 เดือน
มองเห็นชัดเจนได้ไกลขึ้นเป็นรัศมีประมาณ 15 นิ้ว และการมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นนี่เอง ทำให้หนูน้อยพยายามเอื้อมมือไปไขว่คว้าสิ่งของที่มองเห็น ลูกเริ่มจะเรียนรู้ในการโฟกัสสิ่งของ โดยใช้สายตาทั้งสองข้าง ทำงานประสานกัน
- 2 เดือน
- 3 เดือน
- เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกได้เห็นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- 4 เดือน
พัฒนาการการมองเห็นของทารกค่อนข้างเกือบจะสมบูรณ์ คือสามารถปรับภาพการมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะต่างๆ หนูน้อยเริ่มพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับความลึก ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการทำงาน ของการใช้แขนไขว่คว้าได้ดีขึ้น ลูกจึงสามารถเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของที่อยู่ข้างหน้าได้แม่นยำขึ้น
- 5 เดือน – 7 เดือน
ช่วงนี้ความสามารถในการมองเห็นของลูกน้อยจะค่อยๆ พัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์ ลูกน้อยสามารถมองเห็นได้แม้กระทั้งวัตถุเล็กๆ หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ หรือบางครั้งแค่เห็นสิ่งของนั้นบางเสี้ยว ไม่ได้เห็นทั้งหมด แต่หนูน้อยก็สามารถจดจำสิ่งของนั้นได้เมื่อเห็นของชิ้นนั้นอีกครั้ง
- 8 เดือน
การมองเห็นของลูกพัฒนาขึ้นจนเกือบจะเท่ากับผู้ใหญ่ทั้งในด้านความชัดเจน และการรับรู้เกี่ยวกับความชัดลึก แต่การมองสิ่งของในระยะใกล้ๆ จะดีกว่าการมองสิ่งของที่อยู่ไกลๆ อย่างไรก็ตามการมองเห็นของลูกจะดีพอจนสามารถมองข้ามห้องที่ค่อนข้างกว้างไปสังเกตเห็นผู้คน หรือสิ่งของที่เขาคุ้นเคยได้ ส่วนความสามารถในการรับรู้เรื่องสีก็ดีเกือบจะสมบูรณ์แล้ว สามารถแยกแยะสีในโทนต่างๆ ได้ดี ไม่ได้ชอบเฉพาะสีตัดกันเหมือนช่วงแรกๆ อีกต่อไป
เห็นไหมคะว่าไม่ยากเลยในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของลูก เพราะเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิดกับลูกน้อย สบสายตา และเล่นกับลูกอยู่เสมอ ลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการการมองเห็นที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพได้
สัมผัสทางร่างกายของทารก (Sense of Touch)
สัมผัสทางด้านกลิ่นของทารก (Sense of Smell)
สัมผัสทางด้านการได้ยินของทารก (Sense of Hearing)
สัมผัสทางด้านการรับรสของทารก (Sense of Taste)
การรับรู้สัมผัสทางด้านการมองเห็นของทารก (Sense of Sight)
การมองเห็นของทารกจะเป็นสัมผัสส่วนที่พัฒนานานที่สุด เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่แรกเกิดทารกเห็นภาพได้ในระยะ 20-30 ซม. หรือประมาณ 1 ฟุตเท่านั้นถ้าใกล้หรือไกลกว่านั้นจะมองได้ไม่ชัด ซึ่งก็พอดีกับระยะห่างของหน้าแม่ขณะให้นมลูกนั่นเอง แม้ทารกจะยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ความคมชัดของใบหน้าที่โดดออกจากแนวผม และความโค้งมนของรูปหน้าคน ก็ดึงดูดสายตาเด็กทารกได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทารกจะชอบมองหน้าพ่อแม่ขณะที่กำลังให้นม
- สำหรับทารกที่ยังเล็ก การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองด้านการรับสัมผัสต่างๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 2-3 นาที เพราะทารกไม่สามารถรับสิ่งเร้าได้นานกว่านั้น
- ควรหยุดเมื่อทารกมีอาการเบื่อ โดยสังเกตได้จากถ้าเด็กมีอาการเบื่อ จะเริ่มหันหน้าหนี ไม่มองตาทำหน้าเบะ แอ่นหงายหลัง หรือร้องไห้ เป็นต้น
- ให้จำไว้ว่าเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ความชอบจึงต่างกัน
ที่มา :: http://www.motherandcare.in.th/index.php?mode=board_list&id=468