ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012 (2557)
ข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012 ให้ความสำคัญกับภารกิจคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง ซึ่งประกอบด้วยภารกิจทางคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายระดับต่างกัน
และต้องการคำตอบหลายรูปแบบ การเลือกตอบอย่างตรงไปตรงมา การสร้างคำตอบโดยใช้เนื้อหาสาระจากโจทย์ การแสดงวิธีคำนวณ หรือให้คำอธิบายเพื่อ สนับสนุดผลการคำนวณ เอกสารนี้จึงเป็นสื่อการเรียนการสอนหนึ่งที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวัดผลและประเมินผลความรู้และทักษะของ นักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ของโครงการ PISA ในแต่ละข้อนั้นระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก
เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการวัดและประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้มี คุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจ |
ตัวอย่างข้อสอบการอ่านของโครงการ PISA ในแต่ละข้อนั้นระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก
เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชน ให้มีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก |
“ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ: PISA และ TIMSS” ได้นำเสนอหลักการกรอบโครงสร้าง ตลอดจนตัวอย่างข้อสอบวิทยาศาสตร์
ของทั้งสองโครงการนี้ โดยข้อสอบในแต่ละข้อนั้น ระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก (TIMSS 2003 ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมโครงการจึงไม่มีข้อมูล) เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็น แนวทางในการวัดและ ประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้มีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจ |
ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์ (2552)
ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ของโครงการ PISA ในแต่ละข้อนั้นระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก
เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชน ให้มีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจ |
ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA: การอ่าน (2552)
ตัวอย่างข้อสอบการอ่านของโครงการ PISA ในแต่ละข้อนั้นระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก
เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชน ให้มีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก |
“ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ: PISA และ TIMSS” ได้นำเสนอหลักการกรอบโครงสร้าง ตลอดจนตัวอย่าง
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ของทั้งสองโครงการนี้ โดยข้อสอบในแต่ละข้อนั้น ระบุลักษณะเฉพาะของข้อสอบและร้อยละของนักเรียน ประเทศต่างๆ ในเอเชียที่ตอบถูก (TIMSS 2003 ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมโครงการจึงไม่มีข้อมูล) เอกสารนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้ครูนำไปใช้เป็น แนวทางในการวัดและประเมินผลความรู้และทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้มีคุณภาพ และมีศักยภาพในการแข่งขันในเศรษฐกิจ |
ที่มา :: http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/released-items , ข้อสอบ PISA ที่เผยแพร่ได้
การสอบ PISA คือ อะไร
Programme for International Student Assessment หรือ PISA เป็น โครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อม สำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลก ในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยจัดให้มีการทดสอบสมรรถนะเด็กนักเรียนวัย 15 ปี หรือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากทั่วโลก โดยเริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ปี 2000 ในปีที่ผ่านมานักเรียนทั้งหมด 470,000 คน จากโรงเรียนต่างๆใน 65 ประเทศ เข้าร่วมการประเมินเชิงเปรียบเทียบนี้ โดยทุกประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน และมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดโรงเรียนในการสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยPISA มีการประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ใน 3 ด้านคือการอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 (Phase I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่ 2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) กล่าวคือ
การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน ให้น้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%
การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%
การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%
ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้