Phenomenon Based Learning
Developing Teacher Competences
14-16 พ.ค 2560 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยากร อาจารย์ Tiina Malste และ อาจารย์ Pasi Lkonen ทั้งสองเคยเป็นครูในโรงเรียนมาอย่างยาวนานก่อนผันตัวเองมาเป็นอาจารย์ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจิวาสคิร่า เป็นวิทยากรผู้เชียวชาญจาก Educluster หน่วยงานพัฒนาครูแห่งชาติฟินแลนด์ ที่ทำหน้าที่วิทยากรมาแล้วทั่วโลก
หลังจากวิทยากรแนะนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในการอบรมทั้งสามวันแล้ว จึงลองให้สำรวจตัวตนของเรา ในฐานะครู ทั้งที่เรามองมองตัวเองเป็นครูอย่างไร และ คนอื่นมองเราเป็นครูอย่างไร และแนะนำการใช้คู่มือการอบรม ที่เป็นลักษณะเดียวกับที่นักเรียนฟินแลนด์ใช้ โดยในหนังสือมีเนื้อหาที่เล่าถึงแนวทางการเรียนรู้แบบ Phenomenon Based Learning ไว้เพียงช่วงเริ่มต้น และนอกนั้นเป็นกระดาษเปล่า ที่ระบุขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละหน้าอย่างเป็นขั้นตอน และ แบ่งส่วนการใช้คู่มือการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ เรียบง่าย
แนวทางการเรียนรู้แบบ PBL ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อราว 15 ปีที่แล้ว หลังจากที่ฟินแลนด์ประสบผลสำเร็จอย่างสูงจากการเรียนรู้แบบโครงการ ทำให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ จนสามารถทำคะแนนPISA ได้สูงที่สุดระดับโลกติดต่อกันหลายปี แต่ปัญหาหนึ่งที่พบคือ นักเรียนมักมีลักษณะปัจเจกชนนิยม ไม่ค่อยสามารถคิดเชื่อมโยงตนเองกับสังคมได้มากนัก จึงเกิดแนวคิดของการนำเอา ปารกฏการร์ทางสังคม เข้ามามีบทบาทกับการเรียนรู้ เพิ่มเติมจากเดิมจนเป็นแนวทางของหลักสูตรระดับชาติของฟินแลนด์
จริงๆแล้วการเรียนรู้แบบนี้ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ในแง่ของวิธีการหรือเทคนิค เป็นการนำเอาวิธีการเรียนรู้ Active Learning to 21 Century Skills มาหลอมรวมกันใช้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ต่างออกไปดูเหมือนจะเป็นการก้าวข้ามเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง ไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ อย่างชัดเจน นั่นคือการฝึกให้ผู้เรียน “เรียนรู้วิธีการเรียนรู้”มากกว่า ( Learning how to learn ) การวัดผลการเรียนรู้เพียงเนื้อหาวิชา โดยมีฐานจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เรียน
การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ( Experiential Learning Model by KOLB )
Experience เรียนรู้ผ่านประสบการณ์การลงมือทำด้วยตัวเอง
Observe สะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญ ด้วยการเขียน การอภิปราย และ กิจกรรม
Conclude สรุปบทเรียน และ เชื่อมโยงกับทฏษฏีต่างๆให้ได้
Plan & Try ทดลองแนวทางใหม่ อภิปรายถกเถียง เพื่อหาไอเดียใหม่
ทบทวนตัวตนของคนเป็นครู
การกลับมาทบทวนการให้ความหมาย”ความเป็นครู”ทั้งที่เรามองตัวเอง และ คนอื่นมองเรา สิ่งสำคัญคือความเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด เปลี่ยนบทบาทของการเป็นครูผู้สอน สู้ครูผู้สร้าง(แนวทางการเรียนรู้) ครูไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ต้องเป็น ผู้อำนวยการเรียนให้ได้ นักเรียนเป้นผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่ผู้เสพ
ความต้องการของนักเรียนในยุด 21 Century Skills
8 สมรรถนะแห่งการเรียนรู้ในโลกอนาคต
`1 Learning to Learn ทักษะการเรียนรู้
2 Communication in mother tongue การสื่อสารด้วยภาษาแม่
3 Foreign Language ภาษาต่างประเทศ
4 Social and Civic สังคมและความเป็นพลเมือง
5 Cultural Awareness and Expression วัฒนธรรมและการแสดงออก
6 Digital ทักษะดิจิตอลและเทคโนโลยี
7 Math and Sciene คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
8 Sense of Initiation and Entrepreneurship ทักษะการเจรจาต่อรองและผู้ประกอบการ
การจัดการห้องเรียนที่ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
1 Physical ห้องเรียนทางกายภาพ การจัดห้องเรียนที่ฟินแลนด์ เน้นรูปแบบที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆได้ทำงานได้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นเรียน เน้นความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้อันหลากหลายตลอดเวลา โดยคำนึงถึง ควรมีลักษณะ โล่ง ปลอดภัย การออกแบบโต๊ะเก้าอี้ หรืออุปกรณ์ในห้งอเรียนคำนึงถึงความปลอดภัย สุขภาวะของนักเรียนเป็นหลัก ทั้งเรื่องลักษณะพื้นผิว สี อุณหภูมิ แบ่งส่วนการเรียนรู้ที่เงียบและกิจกรรเคลื่อนไหว ส่วนที่เป็นส่วนตัว กลุ่ม เป็นต้น
2 Pedagogical วิธีการเรียนการสอน ที่คำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียน ควรมีการออกแบบการเรียนรู้ให้ตอบสนองผู้เรียนที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึง
3 Socio คำนึงถึงมิติด้านสังคม การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ของผู้เรียน ห้องเรียนต้องสร้างความรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการห้องเรียน ไม่สร้างกฏที่เป็นข้อห้ามสำหรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มากมายในห้องเรียนแต่ควรหันมาส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สร้างกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ครูคือโค้ช
การปรับเปลี่ยนบทบาทของครูนับเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ PBL การเรียนรู้ตามแนวทางนี้ ครูจำเป็นต้องเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กอย่างเต็มที่ การปรับเปลี่ยนบทบาทของครู จากผู้สอนไปสู่ครูกระบวนกร คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆแบบพลิกฝ่ามือ มีข้อแนะนำให้ค่อยๆเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ง่ายๆ ก่อน ตามลำดับขั้นต่อไปนี้
Collaborative Learning Method
1 One Teach One Observe ครู1 ผู้สังเกตการณ์ 1
2 Station Teaching การสอนเป็นสถานี แบ่งผู้เรียนเป็นสองส่วน แล้วสอนแยกเนื้อหาโดยครูสองคน แล้วสลับกัน
3 One Teach One Assist ครู 1 ครูผู้ช่วย 1 เป็นการทำงานร่วมกันของครูในวิชาทั่วไปและ ครูพิเศษที่สามารถสอนเด็กที่มีความต้องการที่หลากหลายได้
4 Parallel Teaching การสอนแบบคู่ขนาน
5 Alternative Teaching เป็นการสอนแบบปกติ และการสอนแบบทางเลือก โดยครูสองคน มีไว้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจต้องมีทางเลือก มีชั่วโมงการเตรียมการก่อนเข้าห้องเรียน หรือ หลังจากเลิกเรียนก็ได้ และครูทั้งสองต้องสลับบทบาทหน้าที่กันด้วย
6 Team Teaching ครูหลากหลายวิชา เข่้ามาช่วยกันสอน ต้องช่วยกันออกแบบการสอน และ วางบทบาทที่ชัดเจนและกำหนดขอบเขตร่วมกัน
Phenomenon Based Learning ทำยังไง
เริ่มต้นจากปรากฏการณ์ หรือ ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นจริงที่ผู้เรียนสนใจ โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชาต่างๆภายหลัง แล้วกระตุ้นให้เกิดคำถามที่ผู้เรียนอยากรู้ต่อปรากฏการณ์นั้นๆ เช่น
โรงเรียนของเราปลอดภัยจริงหรือเปล่า ?
ทำไมเราไม่สามารถเลี้ยงไดโนเสาร์ให้เป็นสัตว์เลี้ยงได้ ?
กฏหมายยุติธรรมจริงหรือเปล่า ?
สงครามเริ่มต้นมาจากอะไร ?
อาณาจักรของแมลงในสนามหลังโรงเรียนเป็นอย่างไร?
การเลือกปฏิบัติ ส่งผลต่อเราอย่างไร ?
ทำธุรกิจอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ?
จากหัวข้อที่เริ่มต้นจากปัญหาต่างๆรอบตัวที่นักเรียนสนใจเป็นกลุ่มย่อยๆ แล้วให้นักเรียนวางแผนการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ผ่านโครงการบนฐานปัญหา ( Problem Based Learning ) โดยรูปแบบอาจเป็นการวิจัยเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว บนการเรียนรู็และการค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยทำหน้าที่ที่ปรึกษา หรือ โค้ช เพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับเนื้อในวิขาต่างๆภายหลัง ค่อยประเมินความก้าวหน้าจากการทำงานร่วมกันของนักเรียน การสะท้อนคิดอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่ครูควรทำหน้าที่คือช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การลงมือทำด้วยตนเอง แล้วชวนกันสรุปผลการเรียนรู้เป็นระยะๆ โดยมีหลักการกว้างๆดังต่อไปนี้
Student Centered Learning Tentets
1 Active มากกว่า Passive เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์การเรียนรู้
2 Deep Listening การฟังอย่างลึกซึ้ง
3 Responsibility & Accountablility ความรับผิดชอบต่อการกระทำ
4 Sense of Autonomy ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นอิสระ
5 Interdependence between teacher and students การพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างครูและนักเรียน
6 Mutual Respect ความเคารพซึ่งกันและกัน
7 Reflection Approach วิธีการสะท้อนการเรียนรู้
การประเมินผู้เรียนอย่างรอบด้าน ที่ไม่ใช่การกากบาทในการสอบวัดผล
ที่ฟินแลนด์ ไม่มีการสอบวัดผลระดับชาติ มีเพียงครั้งเดียวเมื่อจบชั้นมัธยมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย การประเมินผลการเรียนรู้จะเกิดขึ้นตลอดกระบวนการเรียนรู้จากการใคร่ครวญสะท้อนคิดในกระบวนการ การประเมินตนเอง ประเมินเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรืออาจใช้เทคโนโลยี หรือ แอปปลิเคชั่นอันหลากหลายมาช่วยในการสร้างแบบประเมินการเรียนรู้ การประเมินผลร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ ทั้งครูผู้สอน ครูผู้ช่วย ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน นักสังคม นักจิตวิทยา สิ่งสำคัญคือ ที่ฟินแลนด์มองทุกคนในสังคมเป็น”นักการศึกษา” ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน
จากการร่วมกระบวนการอบรมในคราวนี้ สิ่งที่ประทับใจมากๆ ไม่ใช่เทคนิควิธีการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ ตรงกันข้าม กลับเป็นเทคนิคที่วิทยากรย้ำอยู่เสมอคือ ต้องเรียบง่าย ราคาถูก หาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูง สิ่งสำคัญคือ ครูต้องรู้ว่า เราทำสิ่งนี้ไปทำไม
Phenomenon Based Learning จึงไม่ใช่วาทกรรมการศึกษาใหม่ที่สวยหรูอีกคำหนึ่งที่เราต้อวิ่งตาม แต่เป็นฐานคิดเบื้องหลังที่อยู่ภายใต้เทคนิควิธีการที่เราเห็น วิธีคิดที่สะท้อนผ่านวิธีการ ที่เคารพผู้เรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะค้นหาแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง จนสามารถร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับห้องเรียน ชุมชน ร่วมกันสร้างสังคมที่น่าอยู่ร่วมกันในฐานะเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง
นี่สินะ ที่เรียกว่า สังคมประชาธิปไตย
สังคมที่ช่างห่างไกลจากประเทศนี้
ขอขอบคุณ วิทยากรทั้งสองท่านและอ. Timo ล่ามแปลตลอดการอบรม คณะทำงานโครงการผู้นำแห่งอนาคต โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งธรรมศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ที่จัดการอบรมอันน่าประทับใจนี้ เพื่อนๆ ครูอาจารย์ นักการศึกษา ที่มาร่วมอบรมทุกท่าน
ที่มา :: https://www.facebook.com/notes/guay-makhampom/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-phenomenon-based-learning/10154695202475172/